ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

นักวิชาการเมิน..สื่อสังคมออนไลน์ จะสร้างประเด็นสาธารณะได้


เจาะแฟนเพจ นักประท้วง “Social Network” ตัวจริง หรือแค่ขาประจำ แห่งโลกออนไลน์ 



สถาบันคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ให้ความหมายคำว่า “Social Network” ไว้ คือ คือ "การที่ผู้คนสามารถทําความรู้จักและเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง"  
แต่ปัจจุบัน อีกด้านหนึ่งของ “Social Network”ถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการประท้วงหรือคัดค้าน เป็นช่องทางในการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นเดียวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและนำเสนอข้อเรียกร้องของกลุ่ม จากการกระทำของภาครัฐ องค์กรและหน่วยงานต่างๆ
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ได้สำรวจแฟนเพจทางหน้า “Facebook” ที่ยังคงเคลื่อนไหวเรียกร้องแสดงจุดยื่นคัดค้านการดำเนินการของ ภาครัฐ องค์กรและหน่วยงานต่างๆ พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
เพจ “แนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้าน ม.นอกระบบ” เป็นเว็บเพจที่จัดตั้งขึ้นโดยนายนิพิฐพนธ์ คำยศ นิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน และเป็นแกนนำในการคัดค้านไม่ให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ โดยมีแนวร่วมจากมหาวิทยาลัยต่างๆมากมาย อาทิเช่น จุฬาลงกรณ์ ม.ธรรมศาสตร์ มศว. ม.ขอนแก่น ม.บูรพา ม.มหาสารคาม ม.เชียงใหม่ ม.แม่ฟ้าหลวง ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช ม.ราชภัฏเชียงราย ม.นเรศวร ซึ่งมีคนให้ความสนใจเข้ามากดไลค์ ถึงเกือบเจ็ดพันคน และที่ผ่านมาได้มีกิจกรรมการเดินทางไปประท้วงที่รัฐสภา 
นายนิพิฐพนธ์ ให้สัมภาษณ์ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ว่า สาเหตุที่เลือกใช้ Social Network เป็นตัวขับเคลื่อนก็เพราะว่า ปัจจุบันสื่อออนไลน์มีอิทธิพลอย่างมากในทางความคิด อีกทั้งก็มีบุคคลหลากหลายที่ใช้งาน ทำให้เขาสามารถเลือกรับข้อมูลได้ และทำให้เรารู้ว่าคนที่เข้ามาติดตามเรา เขาสนใจและพร้อมจะรับฟังแลกเปลี่ยน เสนอแนะข้อมูล
"มันอาจไม่ทำให้คนมาร่วมขบวนกับเราได้แต่สามารถสื่อสารออกไปในวงกว้างได้" 
ส่วนเรื่องการสร้างทางด่วนพิเศษขั้น3สายเหนือก็มีเพจ“กลุ่มใต้ทางด่วน” ที่ตั้งขึ้นโดยนายโชคชัย หลาบหนองแสง ศิษย์เก่าม.เกษตรฯ เพื่อคัดค้านการก่อสร้างทางด่วนพิเศษขั้น3สายเหนือและมีข้อเสนอให้เปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าแทน มีสมาชิกเข้าร่วมถึงเกือบสี่ร้อยคน

นายโชคชัย เล่าให้ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ฟังว่า ตัวเองทำกิจกรรมเพื่อสังคมมานานทำให้รู้ว่า Social Network มันมีพลังในการเปลี่ยนแปลงสังคมเยอะมากถ้าใช้ให้ถูก ให้โดนกับกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการสื่อสาร แต่การตอบรับทางSocial Network กับของจริงคนละอย่าง เราต้องไม่ตกหลุมพรางว่า มีคนกดไลค์เยอะ คนให้ความสนใจเยอะ แต่เอาเข้าจริง หากต้องการแอ็คชั่นข้างนอก คนที่กดไลค์ไม่ค่อยได้ออกมา “กดไลค์เยอะ สนใจเยอะ แต่ออกมาไม่ได้” 
ในด้านพลังงานก็มีเพจ "ทวงคืน ปตท.” มีนายศรัลย์ ธนากรภักดี เป็นวิศวกรอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาบุด เป็นผู้ก่อตั้งเพจ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาล และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ยกเลิกการแปรรูป ปตท.โดยมิชอบ ต่อหลักธรรมมาภิบาล และให้ประชาชนมีส่วนกับการกำหนดนโยบาย เพจนี้มีสมาชิกถึงหนึ่งหมื่นกว่าคน 
โดย นายศรัลย์ ระบุกับ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ว่า เพจนี้ตั้งขึ้นมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 54 ตอนแรกเป็นแค่การพูดคุยกันในวงแคบๆ ปัจจุบันกลายเป็นกระแสที่พูดคุยกันในวงกว้างขึ้น 
“สาเหตุที่ต้องใช้Social Network เป็นตัวขับเคลื่อนก็เพราะว่า ตัวเองไม่มีช่องทางในการสื่อสาร และมีบางคนที่คิดว่าจะพึ่งได้ก็ไม่สามารถพึ่งได้” นายศรัลย์ ระบุ
ขณะที่ ด้านทรัพยากรธรรมชาติก็มีเพจ “ป่าสักทอง หยุดเขื่อนแก่งเสือเต้น” ตั้งขึ้นเพื่อคัดค้านและเรียกร้องให้รัฐบาลระงับโครงการสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำที่แก่งเสือเต้น มีผู้ให้ความสนใจถึงเกือบหกร้อยคน 
ส่วนด้านบันเทิง ก็มีการใช้แฟนเพจ เป็นช่องทางในการเรียกร้องเช่นกัน เห็นได้ชัดเจนที่สุดจากกรณีที่ ช่อง 3 สั่งถอดละครเหนือเมฆ 2 ใช้ชื่อว่า "เอาเหนือเมฆ 2 กูคืนมา" มีคนเข้าไปกดไลค์เป็นหลักหมื่น ภายในเวลาไม่กี่วัน เพื่อเรียกร้องให้นำละครมาฉายต่อให้จบ 
หรือล่าสุด กรณีรายการตอบโจทย์ ทางช่องไทยพีบีเอส ก็ เพจ "ทวงคืนตอบโจทย์ฯ:สถาบันพระมหากษัตริย์5 อย่าดูถูกสติปัญญาประชาชน” ที่ตั้งขึ้นเพื่อเรียกร้องให้นำรายการตอบโจทย์ เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ ตอนที่5 กลับมาฉาย มีผู้ให้ความสนใจถึงสองพันกว่าคน 
ทั้งหมดนี้ คือ ตัวอย่างแฟนเพจ นักประท้วง “Social Network” แห่งโลกออนไลน์ ที่ปัจจุบันยังคงเดินหน้าเรียกร้องและคัดค้านต่อต้านนโยบายของรัฐอย่างต่อเนื่อง และเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นอีกช่องทางหนึ่งในสื่อสาร การแสดงความคิด และเสมือนเป็นที่พบปะรวมตัวกันของผู้ที่มีความคิดเห็นที่ตรงกันหรือไม่ตรงกันก็ตาม
ผศ.ดร. พรทิพย์ เย็นจะบก อาจารย์คณะมนุษย์ศาสตร์ ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ได้ระบุในหนังสือเรื่อง “ถอดรหัสลับความคิดเพื่อการรู้เท่าทันสื่อ” ว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้ Social network จำนวนมาก เพราะง่ายต่อการสืบค้นข้อมูล มีความรวดเร็วในการสืบค้น สามารถกระจายข่าวสารได้ในวงกว้าง สามารถเขียนข้อเรียกร้องหรือข้อมูลต่างๆลงไปได้ มีภาพประกอบและเชื่อมโยงเข้าหาแหล่งข้อมูลได้โดยตรง ทำให้คนหลายๆคนได้แสดงความคิดเห็นตอบโต้กันได้อย่างอิสระ และที่สำคัญคือคนไม่ต้องออกไปเดินเรียกร้องข้างนอก ทำให้เป็นสมัยนิยมของคนในปัจจุบัน
“ social network มีพลังต่อมวลชนค่อนข้างมาก แต่ควรจะต้องระวังเรื่องข้อเท็จจริงของข้อมูลที่อาจจะไม่ถูกต้อง เนื่องจากยังไม่มีการตรวจสอบที่ดีพอ” ผศ.ดร.พรทิพย์ ระบุ 
ดังนั้น แม้ว่า การประท้วง ใน social network จะดูมีพลังที่ยิ่งใหญ่ แต่ถ้าไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่สร้างสรรค์ และไม่มีการควบคุมที่ดีพอ โดยเฉพาะการแสดงความเห็นอย่างอิสระ ก็อาจทำให้การสิ่งที่เรียกร้องไปไม่ได้รับการตอบสนองที่ดีกับมาได้ 
นอกจากนี้ ยังมีจุดอ่อนในเรื่องกระแส เพราะธรรมชาติของคนในโลกออนไลน์ มักนิยมชมชอบกับเรื่องใหม่ๆ วิ่งไล่ตามกระแสเป็นหลัก ไม่จริงจังอะไร 
ทำให้การประท้วง แสดงความเห็นด้วย “ปลายนิ้ว” ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ กลายเป็นได้แค่ “งานอดิเรก” ของคนบางคน บางกลุ่ม ไปเท่านั้นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น