ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

หนุน นโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาลที่ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม (เรื่องเดิม 2554)


มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลงหนุน นโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาลที่ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม ไม่ควรอุดหนุนก๊าซแอลพีจีให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี แนะ ปตท.ควรสร้างโรงแยกก๊าซ ราคาก๊าซหุงต้ม และ กบง.ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับภาคเอกชน
Consumerthai – 11 ม.ค. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยนายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่าจากการที่นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลไทย ได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์ถึงนโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาลที่ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ในภาคขนส่งและครัวเรือน ปล่อยให้ขึ้นราคาภาคอุตสาหกรรมว่าอาจทำให้รถยนต์หันมาใช้แอลพีจีมากขึ้น ทำให้ไทยต้องนำเข้าแอลพีจีในปริมาณมากขึ้นโดยปีที่ผ่านมาไทยนำเข้าถึง 1 ล้านตันต้องใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาอุดหนุนมากขึ้นนั้น
เพื่อให้สังคมได้มีข้อมูลที่รอบด้านมากขึ้นในการพิจารณาถึงปัญหาดังกล่าวมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงใคร่ขอนำเสนอข้อเท็จจริงกับสื่อมวลชนและประชาชนได้รับทราบดังนี้
สาเหตุที่มีการนำเข้าแอลพีจีในช่วงที่ผานมา
    กรณีปัญหาการขาดแคลนก๊าซแอลพีจีที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี2551 และส่งผลต่อเนื่องถึงปัจจุบันมีสาเหตุที่สำคัญ 2 ประการ
    สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ ปกติแล้วผู้ใช้ก๊าซแอลพีจีแบ่งได้เป็น2ส่วนหลักคือ1) ภาคประชาชนประกอบด้วยผู้ใช้ในครัวเรือนและยานยนต์และ 2) ภาคธุรกิจ ประกอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มปิโตรเคมี
    จากข้อมูลกระทรวงพลังงาน พบว่า ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกก๊าซ แอลพีจีตั้งแต่ปี 2535 โดยมีวัตถุดิบหลักคือก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย แต่ในปี 2551 ประเทศไทยกลับต้องนำเข้าก๊าซ แอลพีจี ถึง452,000 ตัน โดยหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องและบมจ.ปตท.ได้ชี้แจงเรื่องนี้ว่า สาเหตุที่ต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีปริมาณมากเป็นเพราะภาคยานยนต์เป็นต้นเหตุหลัก เนื่องจากการใช้ก๊าซประเภทนี้เพิ่มสูงขึ้น แต่จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานพบว่า ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีการใช้ก๊าซแอลพีจีสูงกว่าภาคประชาชนและยานยนต์มาก และใช้ในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
    โดยในปี 2549 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้ก๊าซแอลพีจีอยู่ที่ 8.3แสนตัน พอถึงปี 2551กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีการใช้เพิ่มขึ้นเป็น1.2แสนตัน หรือมีปริมาณเพิ่มขึ้น 4แสนตัน ในขณะที่ปริมาณการใช้ของภาคยานยนต์ในช่วงเวลาเดียวกันเพิ่มขึ้นเพียง 3แสนตัน
    ในช่วงปี 2551 และ 2552 เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจีระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคมของทั้งสองปี จะยิ่งเห็นชัดเจนว่าการใช้ก๊าซแอลพีจีของกลุ่มปิโตรเคมีเป็นภาระต่อระบบพลังงานของประเทศอย่างแท้จริง จนเป็นเหตุให้ต้องมีการนำเข้าก๊าซแอลพีจี ซึ่งเห็นได้ชัดเจนในปี 2552 ที่ปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจีของภาคประชาชนชะลอตัวลง โดยเฉพาะในภาคยานยนต์ที่มีการใช้ลดลงจาก 7.6 แสนตัน เหลือเพียง 6.6 แสนตันหรือลดลงไปมากถึง 1 แสนตันเศษ ในขณะที่ภาคปิโตรเคมีนั้นใช้เพิ่มขึ้นจาก 1.2 แสนตัน เป็น 1.7 แสนตันหรือเพิ่มขึ้นถึงเกือบ5 แสนตันภายในเวลาปีเดียว  ทำให้ก๊าซแอลพีจีที่ผลิตได้ภายในประเทศไม่พอเพียงและต้องมีการนำเข้าก๊าซแอลพีจีเพิ่มขึ้นจาก 4.5 แสนตัน เป็น 7.5 แสนตัน หรือเพิ่มขึ้น 3 แสนตัน
    ดังนั้น ธุรกิจปิโตรเคมีจึงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ต้องมีการนำเข้าก๊าซแอลพีจีในปริมาณมากแต่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) กลับนำเงินจากกองทุนน้ำมันที่เรียกเก็บจากประชาชนไปชดเชยการนำเข้าดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้ประโยชน์ทั้งจากการซื้อก๊าซต่ำกว่าราคาตลาดโลก อีกทั้งยังไม่ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันแม้แต่บาทเดียว การกระทำของ กบง. ในช่วงที่ผานมาจึงเป็นการผลักภาระให้ประชาชนที่ไม่เป็นธรรมและถือเป็นการใช้เงินของกองทุนน้ำมันอย่างผิดวัตถุประสงค์ตารางเปรียบเทียบปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจีตามประเภทผู้ใช้ (หน่วย1,000 ตัน)
    สาเหตุประการที่สองคือ การขาดแคลนก๊าซแอลพีจีเกิดจากปัญหาในการบริหารจัดการภายใน บมจ.ปตท.เองคือความล่าช้าของการสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งใหม่ ทำให้ไม่สามารถผลิตก๊าซแอลพีจีได้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ด้วยเหตุผลทางธุรกิจของ บมจ.ปตท.เองที่ต้องการให้รัฐบาลประกาศลอยตัวราคาก๊าซแอลพีจีมาโดยตลอดทั้งๆที่ก๊าซแอลพีจีที่ผลิตได้มาจากก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเป็นสำคัญและมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    ตารางแสดงปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ขุดเจาะได้เทียบกับกำลังการรับก๊าซธรรมชาติของโรงแยกก๊าซ
    แหล่งผลิต
    ปริมาณ
    ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ในประเทศไทย(พ.ค.๒๕๕๒)
    ๓,๑๔๖ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน
    กำลังการผลิตรวมของโรงแยกก๊าซ ๕แห่งที่ระยอง
    ๑,๗๗๐ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน
    ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และ ข้อมูลจากเอกสาร บมจ. ปตท. เสนอต่อคณะอนุกรรมาธิการฯ
    ก๊าซแอลพีจี เป็นผลผลิตจากทั้งโรงแยกก๊าซและโรงกลั่นน้ำมัน ผลผลิตส่วนใหญ่มาจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติของปตท.ซึ่งได้จากวัตถุดิบคือก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย  การที่ประเทศไทยมีโรงแยกก๊าซฯ ไม่เพียงพอทำให้ปตท.ต้องนำก๊าซธรรมชาติที่ล้นเกินความจุของโรงแยกก๊าซฯ ไปรวมกับก๊าซมีเทน(ที่มีคุณค่าต่ำกว่า)แล้วส่งไปผลิตไฟฟ้าหรือผลิตเป็นก๊าซเอ็นจีวี
    ดังนั้นหากมีการสร้างโรงแยกก๊าซที่เพียงพอกับก๊าซธรรมชาติที่ขุดเจาะได้ จะทำให้ได้ปริมาณก๊าซแอลพีจีเพิ่มขึ้นกว่า 2 ล้านตันต่อปีซึ่งทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำเข้าแอลพีจีเพิ่มเติมแต่อย่างใด
    “ข้อเท็จจริงหล่านี้ กระทรวงพลังงานและ บมจ.ปตท. ไม่เคยเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบแต่อย่างได ในทางกลับกันมีการกล่าวหามาโดยตลอดว่าผู้ใช้ก๊าซในยานยนต์ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ก๊าซแอลพีจีไม่เพียงพอตลอดมา ทั้งๆที่ก๊าซแอลพีจีถือเป็นพลังงานก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ในประเทศและเป็นพลังงานทางเลือกชนิดหนึ่งที่มีประชาชนมีสิทธิที่จะเลือกใช้และยังช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมีราคาแพงกว่า สมควรที่รัฐบาลจะส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้แอลพีจีเช่นเดียวกับการส่งเสริมการใช้ก๊าซเอ็นจีวี” นายอิฐบูรณ์กล่าว
    ปัญหาในการบริหารกองทุนน้ำมันของ กบง.
    คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กบง.) มีทำหน้าที่ในการกำหนดราคาและอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน มีปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นกรรมการและผู้จัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีอำนาจหน้าที่จ่ายเงินกองทุนและมีผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ
    ขณะเดียวกัน ภายใต้ กบง. จะมีคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอีกคณะหนึ่ง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินและการบริหารจัดการหนี้สินของทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องจ่ายให้กับธุรกิจกิจการพลังงานต่างๆนั่นเอง  ซึ่งคณะอนุกรรมการชุดนี้มีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานอนุกรรมการ และมีผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) เป็นกรรมการ และผู้แทนจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ
    จากการตรวจสอบพบว่าข้าราชการระดับสูงในกระทรวงพลังงานที่เป็นคณะกรรมการและอนุกรรมการใน กบง. ซึ่งมีหน้าที่ในการบริหารเงิน การใช้จ่ายเงิน การกำหนดประเภทเชื้อเพลิงที่จะได้รับการชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเรียกเก็บจากประชาชนนั้นหลายคนเป็นกรรมการหรือประธานกรรมการในบริษัทด้านพลังงานในเครือของ บมจ. ปตท. โดยได้ค่าตอบแทนในรูปเบี้ยประชุมและโบนัสในอัตราที่สูง จึงทำให้เกิดปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนขึ้นในการใช้จ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
    ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ กรณีของนายณอคุณ  สิทธิพงศ์ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงพลังงาน นายณอคุณยังเป็นประธานกรรมการบริษัท ปตท จำกัด(มหาชน) จนเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปลัดกระทรวงพลังงานเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๓ ถึงได้ลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการของ ปตท. แต่ไม่ได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการ และจากการตรวจสอบข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังพบว่านายณอคุณ ปลัดกระทรวงพลังงานคนปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทโรงกลั่นน้ำมันในเครือของ ปตท. และมีส่วนได้เสียในการกำหนดราคาน้ำมันและการชดเชยจากกองทุนน้ำมัน อีกด้วย
    ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ตำแหน่งปลัดกระทรวงพลังงานหรือรองปลัดกระทรวงพลังงานที่นายณอคุณดำรงตำแหน่งมานั้น ยังอยู่ในฐานะประธานอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ซึ่งมีหน้าที่สำคัญคือการพิจารณาเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินและการบริหารจัดการหนี้สินของทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องจ่ายให้กับธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันต่างๆนั่นเอง
    กรณีนายวีระพล  จีรประดิษฐ์กุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ซึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ กบง. และเป็นอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พบว่าปัจจุบันได้เข้าเป็นกรรมการของบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) บริษัทในเครือของ ปตท เช่นกัน
    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้กำหนดหน้าที่ที่รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะในมาตรา ๘๔(๕) ไว้ว่า รัฐต้องกำกับให้การประกอบกิจการมีการแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมและคุ้มครองผู้บริโภค ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งจัดการแก้ไขปัญหาการทับซ้อนทางผลประโยชน์ของข้าราชการระดับสูงกับการประกอบกิจการต่าง ๆ ด้วยการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องมิให้มีการให้ข้าราขการระดับสูงเข้าไปเป็นกรรมการหรือผู้มีอำนาจในกิจการของบริษัทเอกชนได้ มิเช่นนั้นจะเกิดปัญหาการผูกขาดตัดตอนดังเช่นที่เกิดขึ้นในกิจการด้านพลังงานได้
    ซึ่งจากการตรวจสอบการประกอบกิจการพลังงานของ บมจ.ปตท. ซึ่งมีสถานะเป็นทั้งบริษัทเอกชนและถือสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจเนื่องจากรัฐถือหุ้นเกินร้อยละ 50 พบว่า บมจ.ปตท. มีอำนาจในการควบคุมกิจการของบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทที่เกี่ยวข้องมากถึง 48 บริษัท โดยมีทั้งกลุ่มสำรวจและผลิตก๊าซ กลุ่มจำหน่ายก๊าซ กลุ่มค้าน้ำมัน กลุ่มปิโตรเคมีและการกลั่น โดย บมจ.ปตท.ได้ส่งผู้บริหารระดับสูงในกลุ่มของตนเองเข้าไปดำรงตำแหน่งกรรมการหรือประธานกรรมการโดยถ้วนทั่ว ทั้งนี้มีข้าราชการระดับสูงในกระทรวงต่างๆ รวมอยู่ด้วย ดังตัวอย่างที่กล่าวมา


    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น