ปิโตรเลียม
1. การผลิต
ในปีงบประมาณ 2542 ประเทศไทยสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย วันละ 1,822 ล้านลูกบาศก์ฟุต ก๊าซธรรมชาติเหลว วันละ 46,905 บาเรล และน้ำมันดิบ วันละ 30,786 บาเรล ซึ่งเป็นการผลิตมาจากแหล่งสัมปทาน รวม 28 สัมปทาน 36 แปลงสำรวจ เป็นสัมปทานบนบก 8 สัมปทาน 9 แปลงสำรวจ ในทะเลอ่าวไทย 18 สัมปทาน 25 แปลงสำรวจ และในทะเลอันดามัน 2 สัมปทาน 2 แปลงสำรวจ โดยมีแผนการผลิตปิโตรเลียม 4 ปี ( 2542-2545) ดังนี้
2. การเจาะสำรวจ
ในปีงบประมาณ 2542 ( ตุลาคม 2541 - กันยายน 2542) ได้ดำเนินการเจาะสำรวจปิโตรเลียมรวมทั้งสิ้น 221 หลุม เป็นการเจาะสำรวจบนบก รวม 22 หลุม ในอ่าวไทยรวม 199 หลุม ดังนี้
- หลุมสำรวจ จำนวน 30 หลุม พบก๊าซ จำนวน 20 หลุม พบน้ำมัน จำนวน 4 หลุม พบ ก๊าซและก๊าซธรรมชาติเหลว จำนวน 1 หลุม พบก๊าซธรรมชาติเหลวและน้ำมัน
จำนวน 2 หลุม พบน้ำมันและก๊าซ จำนวน 2 หลุม
- หลุมพัฒนา จำนวน 117 หลุม พบก๊าซ จำนวน 128 หลุม พบน้ำมัน จำนวน 19 หลุมและพบก๊าซและน้ำมัน จำนวน 26 หลุม
- หลุมประเมินผล จำนวน 1 หลุม พบก๊าซ จำนวน 1 หลุม
3. ปริมาณสำรอง
ปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้ว ( Proved Reserve) ปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้ว ( Proved Reserve)
- ก๊าซธรรมชาติ 14.83 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
- ก๊าซธรรมชาติเหลว 242.45 ล้านบาเรล
- น้ำมันดิบ 145.93 ล้านบาเรล
ปริมาณปิโตรเลียมที่ผลิตแล้ว
- ก๊าซธรรมชาติ 4.950 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
- ก๊าซธรรมชาติเหลว 152.357 ล้านบาเรล
- น้ำมันดิบ 130.980 ล้านบาเรล
4. ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม
กรมทรัพยากรธรณีได้ดำเนินการเก็บค่าภาคหลวงปิโตรเลียม เป็นจำนวนเงิน 7,380 ล้านบาท ได้จัดสรรรายได้ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมให้กับองค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต.) เป็นจำนวนเงิน 182.07 ล้านบาท องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นจำนวนเงิน 205.18 ล้านบาท และส่งเข้ารายได้แผ่นดินเป็นจำนวนเงิน 6,992.75 ล้านบาท ( Proved Reserve)
5.1) ได้ออกสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 1/2542/57 ให้แก่บริษัท Santa Fe Energy Resources (Thailand) Ltd. เพื่อสิทธิสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมในแปลงสำรวจในอ่าวไทย หมายเลข B 7/38 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2542 ซึ่งอยู่ติดกับชายฝั่งจังหวัดชุมพร มีพื้นที่ 9,238 ตารางกิโลเมตร โดย 3 ปีแรก จะสำรวจด้วยวิธีวัดความไหวสะเทือนและเจาะหลุมสำรวจ 1 หลุม เงินทุนขั้นต่ำประมาณ 335 ล้านบาทและใน 3 ปีต่อไป จะประมาณผลข้อมูลความไหวสะเทือน ศึกษาด้านธรณีวิทยาและเจาะสำรวจ 1 หลุม เงินทุนขั้นต่ำประมาณ 167 ล้านบาท
5.2) จัดทำสรุปเรื่องการขอพื้นที่ผลิตปิโตรเลียม เสนอคณะอนุกรรมการพิจารณาร่างสัมปทานปิโตรเลียมและปัญหากฎหมาย คณะกรรมการปิโตรเลียม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อพิจารณาอนุมัติรวม 3 พื้นที่ คือ
- พื้นที่ผลิตปิโตรเลียมตราด ของบริษัท ยูโนแคล ไทยแลนด์ จำกัด และคณะในแปลง สำรวจในอ่าวไทย หมายเลข 11 พื้นที่ 13 เป็นพื้นที่ 65.2198 ตารางกิโลเมตรและวางท่อขนส่งนอกเขตสัมปทาน
- พื้นที่ผลิตปิโตรเลียมหนองมะขาม ของบริษัท ไทยเชลล์ เอ็กซพลอเรชั่น แอนด์โปร-ดักชั่น จำกัด ในแปลงสำรวจบนบกหมายเลข S1 เป็นพื้นที่ 15.492 ตารางกิโลเมตร
- พื้นที่ผลิตปิโตรเลียมฟูนาน เจ ของบริษัท ยูโนแคล ไทยแลนด์ จำกัด และคณะ ในแปลงสำรวจในอ่าวไทย หมายเลข 13 พื้นที่ 12 เป็นพื้นที่ 11.390 ตารางกิโลเมตร
> 6. การจัดหาแหล่งพลังงานจากต่างประเทศ
6.1) งานด้านการประสานงานและกำกับดูแลการดำเนินการขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย เพื่อเร่งรัดการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เป็นบริเวณที่ไทยและมาเลเซียอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันในบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ครอบคลุมพื้นทีประมาณ 7,250 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่อยู่ห่างจากจังหวัดปัตตานี 180 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสงขลา 260 กิโลเมตร และห่างจากเมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย 150 กิโลเมตร มีการดำเนินงานสำรวจพบแหล่งก๊าซธรรมชาติถึง 15 แหล่ง ในพื้นที่พัฒนาร่วม มีปริมาณสำรองก๊าซสูงถึงกว่า 9.5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็นมูลค่าสูงกว่า 800,000 ล้านบาท ประกอบด้วยแปลงสำรวจจำนวน 3 แปลง คือ แปลง B-17, แปลง A-18 และ แปลง C-19 โดยบริษัทผู้ประกอบการที่ได้รับสิทธิเข้าทำสัญญากับองค์กรร่วม คือ บริษัทผู้ได้รับสัมปทานหรือได้รับสิทธิจากรัฐบาลแต่ละฝ่าย โดยผู้ประกอบการในแต่ละแปลงต่างถือสิทธิ์ฝ่ายละ 50% ดังนี้
- บริษัท Triton oil จากประเทศไทย ( 50%) กับบริษัท Petronas Carigali จากประเทศมาเลเซีย ( 50%) ในแปลงสำรวจ A-18 พื้นที่ประมาณ 3,000 ตารางกิโลเมตร ได้เจาะหลุมสำรวจและหลุมประเมินผลรวม 16 หลุม พบแหล่งก๊าซธรรมชาติ 8 แหล่ง คาดว่ามีปริมาณสำรองก๊าซรวมกันไม่ต่ำกว่า 6.8 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
- บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จากประเทศไทย( 50%) กับ บริษัท Petronas Carigali จากประเทศมาเลเซีย ( 50%) ในแปลงสำรวจ B-17 และ C-19 พื้นที่ประมาณ 4,250 ตารางกิโลเมตร ได้เจาะหลุมสำรวจและประเมินผลรวม 13 หลุม พบแหล่งก๊าซธรรมชาติ 7 แหล่ง คาดว่ามีปริมาณสำรวจก๊าซรวมกันไม่ต่ำกว่า 2.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
6.1.1) การดำเนินการเพื่อขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - ร่างสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติจากแปลง A-18 ในพื้นที่พัฒนาร่วม - การขยายระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม ในพื้นที่ส่วนที่ยังไม่ได้ทำการสำรวจ ของพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ออกไปอีก 3 ปี โดยเห็นชอบให้องค์กรร่วมฯ ออกสัญญาแบ่งปันผลผลิตเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) ให้แก่บริษัทผู้ประกอบการ ผู้ได้รับสัญญาทั้งสองกลุ่ม
- การเปลี่ยนแปลงอัตราการหักค่าใช้จ่าย ( Cost Recovery Rate) ในการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียม เพื่อช่วยสนับสนุนโครงการ พัฒนาแหล่งก๊าซ Cakevawala ในแปลง A-18
- การงดเว้นกิจกรรมการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียม ในพื้นที่ทับซ้อน 3 ฝ่าย ไทย-มาเลเซีย-เวียดนาม ที่เวียดนามอ้างสิทธิทับซ้อน เข้ามาในพื้นที่พัฒนาร่วมฯ
6.1.2) การพิจารณาแผนการดำเนินงาน และงบประมาณขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย และผู้ประกอบการ ผู้ได้รับสัญญาในแปลงสำรวจหมายเลข A-18 และแปลง B-17 และ C-19
6.1.3) การประสานงานและอำนวยความสะดวกให้แก่บริษัทผู้ประกอบการที่เข้าร่วมประมูลงานก่อสร้างแท่นผลิตก๊าซ และถังเก็บน้ำมันขององค์กรร่วมฯ เพื่อส่งเสริมให้มีการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย
6.1.4) ประสานงานกับกรมสรรพากร กรมศุลกากร และองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านภาษี/อากร
- การแก้ไขปัญหาภาระภาษีมูลค่าเพิ่มให้บริษัทผู้ประกอบการขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
- การหาข้อยุติเกี่ยวกับการบังคับใช้ความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อน ระหว่าง 2 ประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
- การหักภาษี ณ ที่จ่ายของบริษัทผู้ประกอบการองค์กรร่วมฯ
- บัญชีสินค้านำเข้าที่ได้รับการยกเว้นอากร
- การจัดส่งเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
6.2) งานด้านพื้นที่ไหล่ทวีปคาบเกี่ยวกับประเทศอื่น 6.2.1) พื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย-เวียดนาม (ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย) กรมทรัพยากรธรณีได้ประสานงาน กับกระทรวงต่างประเทศและองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย เพื่อหาข้อยุติในเรื่องการแก้ไขปัญหาการจัดทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่ ที่เวียดนามอ้างสิทธิทับซ้อนในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 870 ตารางกิโลเมตร และได้มีการประชุมเจรจา 3 ฝ่าย ครั้งที่ 2 ไปแล้ว สามารถตกลงกันได้ว่า ทั้ง 3 ฝ่ายเห็นชอบในหลักการทำการพัฒนาร่วมฯ นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งคณะทำงาน ( Informal Working Group) 3 ฝ่ายขึ้น โดยมีผู้แทนกรมทรัพยากรธรณีเป็นหัวหน้าคณะ เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมของการพัฒนาร่วมฯ ในพื้นที่ทับซ้อน
6.2.2) พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา กรมทรัพยากรธรณีร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ทำการศึกษาจัด เตรียมข้อมูลทางเทคนิคและทางกฎหมาย ของการอ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของไทยและกัมพูชา เพื่อวางแนวทางแก้ไขปัญหาสัมปทานปิโตรเลียม ในเขตไหล่ทวีปทับซ้อน ไทย-กัมพูชา ต่อไป
9 โครงการ-สินทรัพย์สำคัญของ ปตท.สผ.
นิตยสารผู้จัดการ( กันยายน 2537)
แหล่งน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาตินั้นคือ สินทรัพย์ที่สำคัญของธุรกิจสำรวจและผลิตอย่าง ปตท.สผ. ความเติบโตของบริษัทขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของสินทรัพย์ตัวนี้ในปัจจุบัน แหล่งผลิตที่มีการขุดเจาะนำน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติขึ้นมาใช้ในเชิงพาณิชย์ และที่กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการของ ปตท.สผ. มีอยู่ด้วยกัน 9 โครงการคือ
โครงการเอส 1
นับเป็นโครงการแรกของ ปตท.สผ. โดยร่วมทุนกับไทยเชลล์เอ็กซพลอเรชั่นแอนด์โปรดักชั่น เมื่อปลายปี 2528 ในสัดส่วน 25% บริเวณพื้นที่ 5 จังหวัดภาคกลางตอนบน ซึ่งมีแหล่งสำคัญคือลานกระบือ ในการร่วมทุนนั้น ปตท.สผ. ไม่ต้องชำระค่าใช้จ่ายที่ไทยเชลล์ได้จ่ายไปก่อนหน้าแล้ว
ปัจจุบันมีการผลิตน้ำมันดิบอัตราเฉลี่ยวันละ 22,070 บาร์เรล ก๊าซธรรมชาติอัตราเฉลี่ย 51 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจาะสำรวจเพิ่มเติมเพื่อหาแหล่งปิโตรเลียมต่อไป
โครงการอี 5
ปตท.สผ. เป็นตัวแทนรัฐบาลในการร่วมลงทุน 20% กับบริษัทเอสโซ่เอ็กซพลอเรชั่นแอนด์โปรดักชั่น โครราชอิงค์ บริเวณพื้นที่ อ. น้ำพอง จ. ขอนแก่น เมื่อปี 2533 ปัจจุบันระดับการผลิตประมาณ 60-65 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน คาดว่าในปี 2538 จะมีการเจาะหลุมผลิตเพิ่มเติม เพื่อรักษาระดับการผลิตเดิม
โครงการยูโนแคล 3
อยู่บริเวณอ่าวไทยนอกชายฝั่งทะเล จ. สุราษฎร์ธานี ปตท.สผ. ต้องจ่ายเงินค่าได้สิทธิสัมปทาน 5% ให้กับยูโนแคลไทยแลนด์และมิตซุยออยล์เอ็กซพลอเรชั่นเบื้องต้นประมาณ 384 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นการร่วมทุนจากการเจรจาปกติทางการค้า มิใช่ตามสิทธิพิเศษเหมือนกับ 2 โครงการแรก
ปัจจุบันเจาะหลุมผลิตเพิ่มอีก 22 หลุมเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติในอัตราเฉลี่ย 195 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และคอนเดนเสท 9,000 บาร์เรล/วัน
โครงการบงกช
ปตท.สผ. ร่วมทุนกับบริษัทโทเทลเอ็กซพลอเรชั่นแอนด์โปรดักชั่น บริษัทบีจีไทยแลนด์ บริษัทสแต็ทออยล์ (ประเทศไทย) บริษัทร่วมทุนทั้ง 3 รายนี้ต้องจ่ายเงินในการเข้าถือสิทธิสัมปทานในสัดส่วน 60% แก่ ปตท.สผ. เป็นเงิน 1,554 ล้านบาท ในระยะแรกโทเทลจะเป็นผู้ดำเนินการเอง หลังจากนั้น ปตท.สผ. จะเข้าเป็นผู้ดำเนินการต่อในปี 2541
สัมปทานแหล่งนี้เคยเป็นของบริษัทเท็กซัสแปซิฟิค (ประเทศไทย) จำกัด รัฐบาลไทยได้ให้ ปตท.สผ. ขอซื้อกลับมาเมื่อ 12 กรกฎาคม 2531
แหล่งนี้เริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทเมื่อกลางปีที่แล้วนี้เอง ทาง ปตท.สผ. มีแผนจะเพิ่มระดับการผลิตที่ 350 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในต้นปี 2539 ภายหลังจากที่ได้ลงทุนในส่วนขยายของโครงการแล้ว เนื่องจากพบว่าที่แหล่งนี้มีอัตราไหลของก๊าซธรรมชาติสูงกว่าที่คาดไว้ และมีค่า HEATING VALUE สูงกว่าที่ประมาณไว้
โครงการพีทีทีอีพี 1
เป็นโครงการแรกที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการเอง (OPERATOR) โดยเริ่มดำเนินการเมื่อกลางปีที่ผ่านมาเช่นกัน
แปลงนี้ ปตท.สผ. ซื้อกิจการมาจากบีพีเอ็กซพลอเรชั่นโอเปอเรติ้ง (ประเทศไทย) ซึ่งค้นพบน้ำมันดิบที่ จ. สุพรรณบุรีและนครปฐม น้ำมันดิบที่ผลิตได้มีจำนวนไม่มากนัก เฉลี่ยไม่เกิน 1,000 บาร์เรล/วัน
โครงการบี 12/27
อยู่ห่างจากชายฝั่ง จ. นครศรีธรรมราช 200 กม. ปตท.สผ. ซื้อสิทธิสัมปทานจากบีพี (45%) เมื่อกลางปีที่แล้วอีกเช่นกัน และได้ให้ยูโนแคลเป็นผู้ดำเนินการ เท่าที่ผ่านมาสำรวจไปแล้ว 11 หลุม พบน้ำมันดิบ 2 หลุม ก๊าซธรรมชาติ 7 หลุม
โครงการบี 5/27
เป็นแหล่งน้ำมันดิบขนาดเล็กบริเวณอ่าวไทย จ. ประจวบคีรีขันธ์ ที่ ปตท.สผ. ถือหุ้นครึ่งหนึ่งร่วมกับบีจีไทยแลนด์ (บริติชก๊าซ) เมื่อปลายปี 2533 ในระยะต้นได้มอบหมายให้บริติชก๊าซเป็นผู้ดำเนินการ จากนั้น ปตท.สผ. จะเข้าเป็นผู้ดำเนินการเองในภายหลังเมื่อมีการผลิตแล้ว
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา หุ้นส่วนทั้งสองได้รับข้อมูลธรณีวิทยา และธรณีฟิสิกส์ ตลอดจนวิศวกรรมปิโตรเลียมเพิ่มเติม และอยู่ระหว่างการขยายเวลาขั้นตอนการสำรวจเพื่อวางแผนต่อไป
โครงการลำปาง-แพร่
เป็นพื้นที่ของกรมการพลังงานทหาร ซึ่ง ปตท.สผ. ได้เข้าสำรวจเมื่อปี 2536 โดยลงทุนเองทั้งหมด หากค้นพบปิโตรเลียมเชิงพาณิชย์และกำหนดพื้นที่ผลิตแล้ว กระทรวงกลาโหมทีสิทธิจะร่วมทุน 20%
โครงการ JDA
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลมาเลเซีย ที่ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจก่อตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงผลประโยชน์ในพื้นที่ JDA นี้ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2522 และเมื่อปี 2534 รัฐบาลทั้งสองได้จัดตั้งคณะกรรมการองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (MTJA) ซึ่งมี ม.ร.ว. เกษมสโมสร เกษมศรี เป็นประธาน และจารุอุดม เรืองสุวรรณ อดีตรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
พื้นที่ JDA มีศักยภาพทางปิโตรเลียมค่อนข้างสูง บริษัทเท็กซัสแปซิฟิคเจ้าของสัมปทานเก่าเคยขุดหลุมสำรวจในแปลง บี-17 1 หลุมและพบก๊าซธรรมชาติแล้ว นอกจากนี้พื้นที่ทางเหนือยังเชื่อมติดกับแหล่งบงกช ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอ่าวไทย
บริษัทร่วมทุนของบริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนลและบริษัทปิโตรนาสคาริกาลี ซึ่งถือหุ้นฝ่ายละ 50% จะเป็นผู้ดำเนินการในแปลงสัมปทาน A-18 ขนาดพื้นที่ 3,000 ตร. กม. บริษัทไตรตันออยล์แห่งประเทศไทยกับบริษัทปิโตรนาสคาริกาลี (ถือหุ้นบริษัทละ 50%) เป็นผู้มีสิทธิสัมปทาน
ผลตอบแทนจากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจะออกมาในรูปสัญญาแบ่งผลผลิต (PRODUCTION SHARING CONTRACT) ซึ่งบริษัททั้งสองฝ่ายลงนามกับ MTJA เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ครั้งที่นายกฯ ชวนเดินทางไปเยือนมาเลเซีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น