ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

พิพาท 4.6 ตร.กม. ถึงผลประโยชน์ทับซ้อนทางทะเล

เอกสารระบุว่า เชฟรอน บริษัทที่ขุดเจาะและสำรวจบ่อน้ำมันส่วนที่เรียกว่า "บล็อค เอ" นอกชายฝั่งของกัมพูชา มีความสนใจอย่างมากในการได้รับสิทธิในการสำรวจบ่อน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนเช่นกัน โดยนายฟลาเฮอร์ตี้ กล่าวว่า พื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทยนั้น เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ดีที่สุดในโลกสำหรับการสำรวจ และอาจเปลี่ยนแปลงกัมพูชาแบบพลิกโฉม ส่วนบล็อค เอ นั้น ไม่มีความสำคัญพอที่จะสำรวจและทำกำไรได้โดยลำพัง

อีกหนึ่งประเด็นการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ การอ้างของนายร็อดแมน บุนดี ทนายความฝ่ายกัมพูชาที่ระบุทำนองว่าการแถลงการณ์ร่วมของนายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในการสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว เท่ากับเป็นการยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนของกัมพูชา
ล่าสุดก็เป็นทางด้านนายนภดลได้ออกมาชี้แจงดังนี้
นายนพดล โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ค โดยอ้างว่าไม่เป็นธรรมที่มีคนมาโพสต์ข้อความด่าตนเองบนหน้าเว็ป ทั้งการดำเนินการในสมัยนั้นเป็นเรื่องดี และหากยอมให้ดำเนินการเสร็จสิ้นในรัฐบาลสมัยนายสมัคร สุนทรเวช ก็ไม่ต้องขึ้นศาลโลก
         
นายนพดล ยังโพสต์ด้วยว่า ขณะที่ทนายเขมรระบุว่าถูกรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ไปรุกรานเขมรแต่กลับไม่มีคนเชื่อ แต่กลับเชื่อว่ารัฐบาลนายสมัครสนับสนุนให้เขมรขึ้นทะเบียนมรดกโลก นอกจากนี้แถลงการณ์ที่ได้ดำเนินการไปนั้นเป็นการให้เขมรยอมรับว่า มีพื้นที่ทับซ้อนอยู่จริง ทั้งที่ก่อนหน้านี้เขมรไม่เคยยอมรับ
         
นอกจากนั้น ที่ทนายเขมรพูดถึงคำแถลงการณ์ร่วมเขาพูดเพียงครั้งเดียว พูดโดยคนๆเดียวจากทั้งหมด สี่คน เขาพูดถึงเพียง 10 วินาทีจากการแถลง 4.30 ชัวโมง ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 10 วินาทีจาก 16,200 วินาที เท่ากับ 0.061% คนที่ด่าผมถ้าไม่มีอคติน่าจะคิดได้ว่า
         
1) ทำไมเวลาเขมรพูดว่ารัฐบาลเก่าไปรุกรานเขา เขาจึงต้องกลับไปศาลโลก ท่านไม่เชื่อ แต่ท่านเชื่อว่ารัฐบาลสมัครไปสนับสนุนเขาให้ขึ้นทะเบียนปราสาทเป็นมรดกโลก
         
2) ที่เขาพูดถึงคำแถลงการณ์ร่วมนั้น เขาพูดสั้นๆนิดเดียว เพียงครั้งเดียว เพียงเพื่อลำดับเหตุการณ์ทั้งหมดเท่านั้นเอง เขาไม่ได้ใช้ประโยชน์ใดๆหรืออ้างเพื่อสนับสนุนท่าทีหรือข้อโต้แย้งทางกฎหมายใดๆของฝ่ายเขมรเลย ดังนั้นจึงไม่มีการเสียประโยชน์ใดๆของฝ่ายประเทศไทย ทั้งๆที่ย้ำมาตลอดว่าคำแถลงการณ์ร่วมนั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมาก เพราะ

                  1) เป็นการบังคับให้เขมรตัดพื้นที่ทับซ้อนออก ไม่นำไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก
                  2) เป็นหลักฐานให้เห็นว่าเขมรยอมรับว่ามีพื้นที่ทับซ้อน ทั้งๆที่เขาไม่เคยยอมรับเลยว่ามีพื้นที่ทับซ้อนมาก่อน
         
                 3) ปัญหาระหว่างไทยและเขมรเรื่องเขตแดนนั้นมันเกิดจากการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียวของเขมร เกิดตั้งแต่ปี 2549 ก่อนรัฐบาลสมัครเข้าบริหาร
ประเทศในปี 2551 แต่วิธีการแก้ปัญหานั้นต่างกัน รัฐบาลสมัครเห็นว่ากัมพูชาขึ้นทะเบียนได้เฉพาะตัวปราสาท แต่พื้นที่ทับซ้อนต้องตัดออกก่อน และควรบริหารจัดการร่วมกันไปพลางก่อนจนกว่าจะปักปันเขตแดนถาวร ถ้าทำแบบรัฐบาลสมัคร บริเวณชายแดนนั้นจะมีแต่สันติภาพ และเขมรจะไม่นำคดีมายื่นตีความต่อศาลโลกอย่างที่เกิดขึ้นในขณะนี้แน่
แม้นายนภดลจะกล่าวอ้างว่าการสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไม่ได้ทำให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบ สำนักข่ายทีนิวส์ก็อยากให้คุณผู้ชมฟังคำอธิบายความของนายร็อดแมน บุนดี ทนายชาวกัมพูชาอีกสักครั้ง ว่าประโยคคำพูดที่บอกว่ามีการเปลี่ยนแปลงแผนที่โดยฝ่ายไทย เมื่อครั้งแถลงการณ์ร่วมกับกัมพูชาได้ส่งผลดีต่อการอเงถึงแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนหรือไม่
และที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือคำแถลงของนายไกรรวี ศิริกุล รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ที่ระบุว่า
เพราะเรื่องดังกล่าวกัมพูชาต้องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งมีพื้นที่อนุรักษ์กินเข้ามาในดินแดนไทยจำนวนมาก รวมถึงพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. และไทยจะชี้ให้ศาลเห็นว่าการประชุมมรดกโลก ณ เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ยูเนสโก้ได้เลื่อนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ออกไป 1 ปี และรับพิจารณาขึ้นทะเบียนปราสาทให้กัมพูชา ในการประชุมที่แคนนาดา โดยมีขอบเขตพื้นที่มรดกโลกเล็กลง
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงย้ำว่า จุดเริ่มต้นของปัญหาข้อพิพาทพื้นที่เขาพระวิหารมาจากการที่กัมพูชาพยายามจะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว ทั้งที่การตัดสินของศาลโลกเมื่อปี 2505 ไม่เคยยอมรับแผนที่ 1:200000 ตร.กม. แต่อย่างใด และการยื่นให้ศาลโลกตีความครั้งนี้  เพื่อพยายามลักไก่เอาพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารด้วย ทั้งนี้ อยากให้ทางฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะ นายกรัฐมนตรี ต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนในประเด็นดังกล่าว เพราะทางทนายฝ่ายกัมพูชา อ้างว่า แถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชาในสมัยรัฐบาลพรรคพลังประชาชนนั้นสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว และไม่ได้ยึดแผนที่หลักเขตแดนสันปันน้ำซึ่งถือว่าเป็นช่องโหว่ที่สำคัญ ทั้งนี้ ขอแนะนำให้ทางฝ่ายไทยนำ MOU 43 มาใช้ในการแถลงหักล้างกัมพูชา เพราะบันทึกความเข้าใจดังกล่าว แสดงว่าทางกัมพูชาไม่มั่นใจในหลักเขตแดนที่ถูกต้อง และยังอยู่ระหว่างการเจราจัดทำหลักเขตแดนอยู่ซึ่งถือว่าเป็นอาวุธสำคัญของฝ่ายไทย
ทั้งนี่หากจะตั้งข้อสังเกตุถึงต้นเหตุที่นายนพดลไปลงนามสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว จนอาจก่อให้เกิดความสูญเสียในการต่อสู้คดีครั้งนี้ของไทย
ก็ต้องมาพิจารณากันว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความผิดพลาด ไม่ทันเล่ห์ของฝ่ายกัมพูชา หรือเป็นเพราะจงใจที่จะช่วยเหลือกัมพูชาเพื่อตกลงผลประโยชน์อันมหาศาลทางทะเล สืบเนื่องจากรายงาน ของบริษัทค้าน้ำมันรายใหญ่ของโลกอย่างเชฟรอนได้ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่าการจัดสรรผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะเกิดขึ้นได้ภายหลังจากข้อพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาได้ข้อยุติ
รายงานสำหรับประเทศไทย เชฟรอนระบุว่า ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย – กัมพูชา เชฟรอนมีผลประโยชน์ประมาณ 30-80% ในบล็อกทั้ง 6 โดยเมื่อต้นปี 2012 โครงการต้องหยุดชะงัด เพื่อรอการแก้ปัญหากรณีพิพาทระหว่างชายแดนของทั้ง 2 ประเทศ

รายงานสำหรับประเทศกัมพูชา เชฟรอนระบุว่า  หรือเชฟรอนมีความสนใจ ผลประโยชน์ 30% ในพื้นที่นอกชายฝั่งกัมพูชา บล็อกเอ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว ครอบคลุมเนื้อที่ 1.2 ล้านเอเคอร์ หรือ 4709 ตารางกิโลเมตร ในอ่าวไทยในปี 2011 มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการพูดคุยถึงการได้รับอนุญาต ให้พัฒนาพื้นที่บล็อกเอ โดยการพัฒนาอยู่ระหว่างการก่อสร้าง wellhead platform และคลังเก็ยอุปกรณ์ รวมไปถึงท่อซึ่งคาดว่าจะได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลกัมพูชา และการตัดสินใจลงทุน ในขั้นตอนสุดท้ายราวปี 2012

นอกจากการได้สัมปทานสำรวจและขุดเจาะในพื้นที่บล็อก เอ ในพื้นที่อ่าวไทยฝั่งกัมพูชาแล้ว กลุ่มเชฟรอน ยังถือครองสัมปทานสำรวจและขุดเจาะในพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทยระหว่างไทยกับกัมพูชา โดยรัฐบาลไทยได้ให้สัมปทานแก่กลุ่มเชฟรอนและผู้ร่วมทุนต่างๆ ครอบคลุมพื้นที่ทับซ้อนทั้งหมด นับจาก บล็อก 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 และ 13 ส่วนกัมพูชา ซึ่งแบ่งพื้นที่เขตทับซ้อนกับไทย ออกเป็น 4 แปลง ได้ให้สัมปทานแก่บริษัทต่างชาติครอบคลุมทุกแปลงเช่นเดียวกันกับไทย
การเพ่งเล็งของเชฟรอนในครั้งนี้ก็เป็นผลมาจาก การสำรวจที่พบถึงมูลค่าอันมหาศาลของพลังงานใต้ผืนทะเลแห่งนี้

แหล่งข่าวผู้เชี่ยวชาญในแวดวง พลังงาน เปิดเผยว่า องค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ได้ว่าจ้างทีมผู้เชี่ยวชาญทำการสำรวจและขุดเจาะและพัฒนาทรัพยากรจากแหล่ง พลังงานในพื้นที่ใกล้เคียงกับบริเวณพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่าง ไทย-กัมพูชา เป็นจำนวน 10 หลุม และพบว่าบริเวณไหล่ทวีปของกัมพูชามีปริมาณก๊าซธรรมชาติกว่า 4 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และน้ำมันกว่า 200 ล้านบาร์เรล
ขณะที่บริเวณไหล่ทวีปฝั่งไทยก็มีการสำรวจและขุดเจาะพบว่ามีปริมาณก๊าซ ธรรมชาติและน้ำมันกว่า 7 แสนล้านบาร์เรล
สอดคล้องกับข้อมูลรายงานของบริษัทเชฟรอนที่ทำไว้เมื่อปี 2548 ว่า ได้มีการค้นพบบ่อน้ำมันและก๊าซขนาดใหญ่ ในพื้นที่ 2,427 ตารางกิโลเมตรทางตอนใต้ของกัมพูชา โดยเฉพาะพื้นที่สัมปทานแปลงเอ เนื้อที่ 6,278 ตารางกิโลเมตร ที่คาดว่าจะมีน้ำมันสำรองถึง 700 ล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติอีก 3-5 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร
ขณะที่ธนาคารโลกประเมินว่าแหล่งพลังงานในกัมพูชาน่าจะมีน้ำมันถึง 2 พันล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติอีก 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต 
เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนมากยิ่งขึ้นเราจะย้อนกลับไปพิจารณาจากที่มาของเรื่องดังนี้
เขตทับซ้อนทางทะเลเกิดขึ้นบนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศและการประกาศ ไหล่ทวีปทางทะเลของแต่ละประเทศชายฝั่งเป็นสำคัญ ในทางกฎหมายนั้นเป็นไปตามอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ.1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982
ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่อยู่ชายฝั่งไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา เวียดนาม และ มาเลเซีย เมื่อมีการประกาศเขตไหล่ทวีปก็ย่อมทำให้เขตที่ประกาศนั้นทับซ้อนกัน
สำหรับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกัมพูชาเกิดขึ้นมาจากการประกาศพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกัมพูชา ซ้ำซ้อนกันดังนี้
ประเทศไทยประกาศทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลเมื่อปี พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) และประกาศเขตไหล่ทวีปเมื่อปี พ.ศ.2516โดยการประกาศว่าให้ยึดเอาหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทยและกัมพูชา หลักสุดท้ายคือหลัก 73ที่ตั้งอยู่ที่แหลมสารพัดพิษ จังหวัดตราด แล้วลากเป็นเส้นตรงจากละติจูดที่ 11 องศา 39ลิปดาเหนือตัดกับลองติจูด102องศา 55ลิปดาตะวันออก ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปยังจุดที่เส้นละติจูดที่ 9 องศา 48 ลิปดา 5 ฟิลิปดา เหนือตัดกับเส้นลองติจูด101องศา 46 ลิปดา 5ฟิลิปดา ตะวันออก พิจารณาตามภูมิประเทศจริงคือ ลากจากหลักเขตสุดท้ายเฉียงตรงลงไประหว่างเกาะกูดกับเกาะกงเรื่อยไปจนถึงกลาง อ่าวไทยวกลงใต้ ไปชนกับที่สิ้นสุดเขตแดนทางบกไทย-มาเลเซีย และนอกจากนี้ในปี 2524ประเทศไทยประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200ไมล์ทะเลโดยวัดจากเส้นฐานของทะเลอาณาเขต
ส่วนกัมพูชา นั้นประกาศเขตไหล่ทวีปก่อนประเทศไทยคือประกาศในปี พ.ศ. 2515 ด้วยวิธีเดียวกันคือ ลากจากหลักเขตทางบกหลักที่ 73แต่เส้นของกัมพูชานั้นลากเป็นเส้นตรงไปทางตะวันตกผ่านกึ่งกลางแล้วหักเข้า ฝั่งบริเวณชายแดนเวียดนามกัมพูชา
ผลจากการที่สองประเทศประกาศเขตไหล่ทวีปก็คือ เกิดพื้นที่ทับซ้อนกันและมี ข้อถกเถียงเรื่องอำนาจอธิปไตย
อย่างที่เรียนว่าปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะแค่ไทยกับกัมพูชา แต่เกิดขึ้นระหว่าง ไทยกับมาเลเซียด้วย แต่การเจรจาทั้งสองประเทศ ไทย กัมพูชา ประสบความสำเร็จ ในการจัดการเขตทับ ซ้อนทางทะเลโดยการทำเป็นเขตพัฒนาร่วม (joint development area – JDA) จนทุกวันนี้ก็สามารถแบ่งสรรผลประโยชน์กันอย่างลงตัว
ปัจจุบันพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ประกอบด้วยแปลงสำรวจ 3 แปลง คือแปลง A-18, B-17&C-19 และแปลง B-17-01 มีบริษัทผู้ประกอบการที่ได้รับสิทธิเข้าทำสัญญากับองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ดังนี้
1. บริษัท Hess Oil Company of Thailand (JDA) Ltd. (49.5%) Hess Oil Company of Thailand Inc. (0.5%) และ บริษัท PCJDA Ltd. จากประเทศมาเลเซีย (50%) ในแปลงสำรวจ A-18 โดยบริษัท Carigali-Hess Operating Company Sdn.Bhd (Carigali-Hess) เป็นผู้ดำเนินการ
2. บริษัท PTTEP International Ltd. จากประเทศไทย (50%) กับ บริษัท PCJDA Ltd. จากประเทศมาเลเซีย (50%) ในแปลงสำรวจ B-17&C-19
และ3.แปลงสำรวจ B-17-01 โดยบริษัท Carigali - PTTEP Operatng Company Sdn.Bhd. (CPOC) เป็นผู้ดำเนินงาน
อย่างไรก็ตาม ในสมัยพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน พยายามผลักดันการร่วมพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนกับกัมพูชา แต่เนื่องจากสถานการณ์การเมืองภายในของกัมพูชาไม่เอื้ออำนวย
ล่วงเลยมากระทั่งสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ประมาณปี 2543รัฐบาลได้ส่งพล.อ.มงคล อัมพรพิศิษฎ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไปหารือนอกรอบกับกัมพูชาเรื่องเขตทับซ้อนทางทะเลและนำ ไปสู่การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ที่ชะอำ จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 5ตุลาคม พ.ศ. 2543 แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากรัฐบาลนายชวนหมดอายุลงเสียก่อน
รัฐบาลภายใต้รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี 2544ก็ดำเนินการสานต่อแนวทางจนนำไปสู่การทำบันทึกความเข้าใจในวันที่ 18มิถุนายน 2544 หรือที่เรีกว่าเอ็มโอยู 2544
ในบันทึกความเข้าใจนั้นกำหนดว่า รัฐบาลสองประเทศได้กำหนดพื้นที่อ้างสิทธิในเขตทับซ้อนทางทะเลที่จะต้องเจรจา เพื่อแบ่งเขตสำหรับทะเลอาณาเขตและเขตเศรษฐกิจ จำเพาะในพื้นที่ซึ่งอยู่เหนือ เส้นละติจูด 11องศาเหนือขึ้นไปจนถึงเส้นที่กัมพูชาอ้างและส่วนที่อยู่ใต้เส้นนี้ลงไปก็ให้ทำเป็นเขตพัฒนาร่วม
ในสมัยของรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ มีการเปิดเผยโดยวิกิลีกส์ ว่ามีการตกลงทางลับ
ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 โดยได้กล่าวถึงรายละเอียดการไปเยือนกรุงพนมเปญของสภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน และร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงกัมพูชาว่า ผู้แทนบริษัท โคโนโคฟิลิปส์ ยักษ์ใหญ่พลังงานสหรัฐ เรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชา หาทางคลี่คลายข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย โดยระบุว่าบริษัทฯ ถือสัญญาสำรวจพื้นที่ดังกล่าวเป็นเวลาเกือบสิบปี
ในระหว่างการประชุมครั้งนั้น นายเกา คิม ฮอร์น เจ้าหน้าที่ระดับสูงกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ได้แจ้งต่อบริษัทฯว่า รัฐบาลไทยกับกัมพูชาเกือบได้ข้อยุติในเรื่องนี้ ไม่นานนักก่อนรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะถูกรัฐประหารยึดอำนาจ
นายเกากล่าวว่า ทั้งสองเห็นพ้องกัน ในหลักการแบ่งรายได้ในพื้นที่ใกล้ไทยมากที่สุด สัดส่วนไทย 80% กัมพูชา 20% ส่วนพื้นที่ตรงกลางแบ่ง 50-50 และสัดส่วนไทย 20 กัมพูชา 80 สำหรับพื้นที่ใกล้ฝั่งกัมพูชา
ในเวลานั้น นายเกาคิดว่า การเจรจาเพิ่มเติมอีก 6 เดือนน่าจะตกลงในประเด็นนี้ได้ อย่างไรก็ตามความสำคัญของเขตแดนซับซ้อนทางทะเลต่ออนาคตของภูมิภาค ถูกตอกย้ำในเอกสารที่รั่วอีกฉบับ ซึ่งให้รายละเอียดการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกัมพูชา กับนายแกรี ฟลาเฮอร์ตี้ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของเชฟรอน ในปี 2550 เช่นกัน
เอกสารระบุว่า เชฟรอน บริษัทที่ขุดเจาะและสำรวจบ่อน้ำมันส่วนที่เรียกว่า "บล็อค เอ" นอกชายฝั่งของกัมพูชา มีความสนใจอย่างมากในการได้รับสิทธิในการสำรวจบ่อน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนเช่นกัน โดยนายฟลาเฮอร์ตี้ กล่าวว่า พื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทยนั้น เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ดีที่สุดในโลกสำหรับการสำรวจ และอาจเปลี่ยนแปลงกัมพูชาแบบพลิกโฉม ส่วนบล็อค เอ นั้น ไม่มีความสำคัญพอที่จะสำรวจและทำกำไรได้โดยลำพัง
แม้รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณจะถูกยึดอำนาจไปแล้ว แต่ความปรารถนาของพ.ต.ท.ทักษิณในการหาประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชาก็ยังคงมีอยู่ ดังที่ปรากฎในความเคลื่อนไหวผ่านรัฐบาลนอมินี
ในสมัยรัฐบาลของสมัคร สุนทรเวช โดยรัฐมนตรีต่างประเทศคือ นพดล ปัทมะก็ได้มีการพบกับ นาย ซก อาน รองนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา เมื่อเดือนมีนาคม 2551และเสนอให้มีการประชุมคณะทำงานและผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคเรื่องเขตทับ ซ้อนทางทะเล
แต่ฝ่ายกัมพูชาไม่สะดวกเพราะไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองของไทย โดยเฉพาะภายหลังที่มีการออกแถลงการณ์ร่วมจากฝ่ายไทยสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ที่ถูกคนไทยต่อต้านอย่างหนัก และยังถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 190
ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ เวชชาชีวะ มีความพยามยามจะดำเนินการต่อในการพบปะระหว่างนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศ และนายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา เมื่อเดือนมกราคม 2552
แต่ระหว่างการเจรจาของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ก็เกิดปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ เพราะกัมพูชาตั้งให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวนายกรัฐมนตรี ฮุน เซนและที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชา ซึ่งเป็นเหตุให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ต้องประกาศลดระดับความสัมพันธ์ เรียกทูตกลับ และ เมื่อรัฐบาลกัมพูชาท้าทายด้วยการเชิญพ.ต.ท.ทักษิณไปเยือนและปฏิเสธการส่งตัวพ.ต.ท.ทักษิณให้ทางการไทยตามคำขอ รัฐบาลอภิสิทธิ์ประกาศยกเลิกเอ็มโอยูปี 2544
และนี่ก็คือข้อเท็จจริงที่คนไทยทั้งประเทศควรทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของข้อพิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทยกับกัมพูชา และที่ปัญหามีความสลับซับซ้อนและคาราคาซังมาโดยตลอดก็เป็นเพราะเงื่อนไขเรื่องผลประโยชน์อันมหาศาลทางทะเล โดยในรายงานของเชฟรอนก็เขียนเอาไว้อย่างชัดเจนว่าการจัดสรรผลประโยชน์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อข้อพิพาทเรื่องดินแดนได้ข้อยุติ
จาก-http://www.tnews.co.th/html/news/55432/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97-46-%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A1-%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น