ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

แสบ คูณ 3 กลลวง LPG, NGV

แสบ คูณ 3 กลลวง LPG, NGV

ปัญหาขาดแคลนก๊าซแอลพีจี นับตั้งแต่ พ.ศ.2551 ส่งผลสืบเนื่องมาปัจจุบัน คระอนุกรรมการฯตรวจสอบพบข้อเท็จจริงแล้วสรุปเหตุสำคัญ 2 ประการ
ประการที่หนึ่ง ก๊าซแอลพีจีผลิตในประเทศพอเพียงต่อภาคประชาชนครัวเรือนและยานยนต์ แต่เพราะปริมาณการใช้แบบก้าวกระโดดของภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะกลุ่มปิโตรเคมี กระทรวงพลังงานระบุไทยส่งออกก๊าซแอลพีจี ตั้งแต่ พ.ศ.2535 จนถึง พ.ศ.2551 กลับต้องนำเข้า 452,000ตัน
ปตท. อ้างต้นเหตุมาจากภาคยานยนต์ใช้แอลพีจีสูงขึ้น ทั้งที่ตัวเลขจริงมันฟ้อง ในปี พ.ศ.2549 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ใช้แอลพีจี 827,000 ตัน ถึง พ.ศ.2551 ใช้เพิ่มขึ้นเพียง 317,000 ตัน
พ.ศ.2552 ภาคครัวเรือน และภาคยานยนต์ใช้แอลพีจีรวม 666,000 ตัน (พ.ศ.2551 ใช้ 766,000 ตัน) แต่ภาคปิโตรเคมีใช้เพิ่มเป็น 1,700,000 ตัน
ตัวเลขชัดๆ ขนาดนี้ กบง.ยังทู่ชี้ทำตามข้อเรียกร้อง ปตท.สวนทางความน่าจะเป็น คือ 1) นำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ไปชอเชยการนำเข้าก๊าซแอลพีจี 2) กลุ่มปิโตรเคมี ซื้อต่ำกว่าราคาตลาดโลก 3) กลุ่มปิโตรเคมีไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันแม้แต่บาทเดียว

“ปตท.กล่าวหาผู้ใช้ก๊าซแอลพีจีในยานยนต์อย่างด้านๆ คนรู้ทันก็เฉไฉ”

ประการที่สอง ปตท.สร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติโรงที่หกล่าช้า (เพิ่งสร้างเสร็จต้น พ.ศ.2554)
ขณะที่ หลายประเทศทั่วโลกกำหนดการตัดสินใจด้านพลังงานของชาติเป็นอำนาจตรงของประชาชนด้วยการลงประชามติหรือผ่านรัฐสภา (ในฐานะตัวแทนประชาชน) เช่นสัมปทานพลังงานใหม่ของสหรัฐอเมริกาในอ่าวเม็กซิโก สภาคองเกรสต้องพิจารณาเห็นชอบ
สภาคองเกรสยังมีอำนาจยับยั้งการตัดสินใจของเอกชน เช่น ยับยั้งขายกิจการยูโนแคลให้ประเทศจีน และสั่งให้ขายกิจการแก่ บริษัท เชฟรอน ของสหรัฐฯ
กรณี ประเทศเม็กซิโก ต่างชาติจะมาทำธุรกิจพลังงงาน กฎหมายกำหนดให้ต้องทำประชามติก่อน
ส่วนประเทศไทยตั้งแต่การอนุมัติให้สัมปทาน การสำรวจกำหนดนโยบาย เป็นอำนาจสิทธิขาดรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน โดยคำแนะนำจาก คณะกรรมการปิโตรเลียม อ้างตาม พระราชบัญญัติ การปิโตรเลียม* พ.ศ.2514 (ฉบับกไข 17 ตุลาคม 2550) มาตรา 22 กรณีจำเป็นเพียงขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี “ไม่ต้องเสนอรัฐสภาพิจารณา”
ซึ่งกรณีจำเป็นของรัฐมนตรี กับจำเป็นของประชาชน หรือจำเป็นของสมาชิกรัฐสภาอาจไม่ตรงกัน และต่อมา ได้แก้กฎหมายตามหลัง เพราะ 16 ตุลาคม 2550 คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามกระทรวงพลังงานเสนอ
ต่ออายุสัมปทานแหล่งพลังงานในอ่าวไทยออกไปอีก 10 ปีให่แก่ 2 บริษัท ขณะที่อายุสัมปทานเดิมยังเหลือ 5 – 6 ปี ได้แก่

1)กลุ่มบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และคณะผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม เลขที่ 1/2515/5 และ 2/2515/6 แปลงสำรวจหมายเลข 10, 11, 12 และ 13
2)บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตเลียม จำกัด (มหาชน) และคณะผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม เลขที่ 3/2515/7 และ 5/2515/9 แปลงสำรวจหมายเลข 15, 16, และ 17

* พ.ร.บ.การปิดตรเลียม ฉบับแรก พ.ศ.2514 ร่างดดยนาย วอลเตอร์ ลีวาย ตัวแทนบริษัทน้ำมัน สแตนดารด์ ออยล์ ของตระกูลร็อกกี้ เฟลเลอร์ และเป้นที่ปรึกษาะนาคารโลกด้วย


นอกจากนี้ ครม.มีมติให้กระทรวงพลังงานออกสัมปทานแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มอีก 4 ฉบับ

ทั้งสองกรรีเกิดขึ้นหลังจากรัฐะรรมนุญ พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้แล้ว จึงไม่น่าจะชอบด้วย มาตรา 67 ซึ่งคุ้มครองสิทธิประชาชนในการมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัยากรธรรมชาติ และมาตรา 190 ระบุให้ธุรกรรมสัญญา และพันธะกรณีผูกผันกับต่างประเทศ หรือผูกผันทางการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

“สิ่งเหล่านี้เกิดในรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549”

คณะอนุกรรมาธิการฯตั้งข้อสังเกตต่อกรณีขึ้นค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติ โดย บมจ.ปตท.แม่บทระบบ่ทอส่ง บับที่ 3 พ.ศ.2544 – 2554 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และครม. เมื่อ 4 มิถุนายน 2550 และ 19 มิถุนายน 2550 ตามลำดับ ด้วยงินทุน 165,077 ล้านบาท

ปตท.อ้างความต้องการเพิ่มขึ้นจากภาคการผลิต ภาคขนส่งและบริการ รวมทั้งอ้างความต้องการก๊าซะรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าที่คาดการณืจะเพิ่มขึ้น ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ.2550 – 2564 (Power Development Plan : PDP)
กพช. มีมติ 18 ตุลาคม พ.ศ.2550 เห็นชอบหลักเกณฑ์ข้อกำหนดคำนวณอัตตราบริการส่งก๊าซธรรมชาติ โดยมอบให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ทำ “คู่มือการคำนวณราคาก๊าซะรรมชาติและอัตราค่าบริการส่งก๊าซะรรมชาติ” และมอบอำนาจรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน พิจารณาเห็นชอบ 1 มกราคม พ.ศ.2551 จากนั้น ปตท.ทำขอเสนอปรับอัตราค่าบริการส่งก๊าซฯใหม่ตามคู่มือ เสนอ คระกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กพพ.) 22 เมษายน พ.ศ.2551 จาก 19.7447 บาทต่อล้านบีทียู เป็น 22.5726 บาทต่อล้านบีทียู หรือเพิ่ม 2.8279 บาท (ร้อยละ 14.32) ซึ่งต่อมา กพพ.อนุมัติปรังราคาก๊าซ 2.0219 บาทต่อล้านบีทียู เมื่อ 1 เมษายน 2552

“การปรับอัตราดังกล่าว ส่งผลให้ค่าบริการส่งก๊าซฯเพิ่มจาก 20,000 ล้านบาทในปี 2551 เป็น 22,000 ล้านบาทในปีถัดมา มีกำไรทันที 2 พันล้านบาท เท่ากับผลักภาระใส่ประชาชนทั้งทางตรงละทางอ้อม “

กพพ.อ้างเรื่องนี้ผ่านการพิจารณาของ คณะกรรมการกำกับดูแลอัตราค่าพลังงานและค่าบริการแล้ว (มาจากผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงายคระกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และผู้แทนผู้บริโภค (เช่น ผู้แทนสภาหอการค้าไทย ผู้แทนสมาคสธนาคารไทย และนักวิชาการอิสระ) และรับฟังความเห็นผ่านทางเว็บไซต์เป็นเวลา 3 สัปดาห์ (24 กุมภาพันธ์ ถึง 16 มีนาคม พ.ศ.2552) อ้างตามมาตรา 67 พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550

คณะอนุกรรามธิการฯได้ตั้งข้อสังเกต 5 ข้อ
1) การจัดทำคู่มือการคำนวณราคาก๊าซและอัตราบริการส่งก๊าซใหม่เร่งรีบผิดปกติ ครม. รัฐสภา หรือประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆ ทั้งยังขัดกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดด้วย
กระบวนการทำคู่มือ จนได้รับอนุมัติเมือ่ 1 มกราคม พ.ศ.2551 ดำเนิการในช่วงภาคปรชาชนยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง
สูงสุดเพื่อให้เพิกถอนการแปรรูป ปตท.จำกัด (มหาชน) (ยื่นฟ้อง 31 สิงหาคม พ.ศ.2549) แม้คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เมื่อ 14 ธันวาคม พ.ศ.2550 ไม่เพิกถอนการแปรรูป แต่สั่งให้ ปตท.คืนทรัพย์สินสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้กระทรวงการคลังทั้งหมด รวมระบบท่อก๊าซะรรมชาติ แต่ ปตท.ไม่นำพา
บมจ.ปตท. ว่าจ้าง 2 บริษัทที่ปรึกษา คือ General Electric International Operation Company และ(GEIOC) Shell Global Solution Thailand (SGST) เพื่อศึกษา (ก) ขยายอายุการใช้งานระบบ่ทอส่งก๊าซ (ข) ประเมินมูลค่าสินทรัพย์ระบบท่อที่ขยายอายุการใช้งาน และ (ค) ประมาณค่าใช้จ่ายดำเนินการบำรุงรักษาระบบ่ทอที่ขยายอายุการใช้งาน

ตารางประกอบที่นี้


จากหนังสือ ปล้นขุมทรัพย์อ่าวไทย น.82-91 ประสิทธิ์ ไชยชมพู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น