ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

ปตท.บริษัทพลังงาน เพื่อสังคมไทย !!??


       ปตท.บริษัทพลังงานที่สำคัญสำหรับสังคมไทย
ความเป็นมา
การ ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2521 ตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 เพื่อดำเนินธุรกิจหลักด้านปิโตรเลียมและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับ ปิโตรเลียม อย่างไรก็ตามภายใต้สภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น รัฐบาลได้เล็งเห็นความจำเป็นในการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในกิจการพลังงาน  คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2544 เห็นชอบแผนการจัดตั้งบริษัทเพื่อรองรับการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และในวันที่ 25 กันยายน 2544 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเรื่องการแปลงทุนเป็นทุนเรือนหุ้นของการปิโตรเลียม แห่งประเทศไทย โดยให้จัดตั้ง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) โดยให้ภาครัฐคงสัดส่วนการถือหุ้นใน ปตท.ในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ให้ ปตท.คงสถานะเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติและได้รับสิทธิพิเศษตามสถานะดังกล่าว รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกำกับดูแลในด้านนโยบายของ ปตท. จนกว่าพระราชบัญญัติบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติจะมีผลใช้บังคับ
จนปัจจุบันเมื่อมีการปรับโครงสร้างหน่วยงานรัฐ ปตท.จึงมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน
ปตท.แปลง สภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ภายใต้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 โดยได้จัดตั้งบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 
ทั้ง นี้ นับแต่วันจดทะเบียนจัดตั้งดังกล่าว ปตท.ได้รับโอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด สินทรัพย์ และพนักงานทั้งหมดจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเพื่อให้ ปตท.สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ และอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเมื่อ พ.ศ. 2544 ให้คงอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของ ปตท. ตามที่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยมีอยู่ตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2521 ทั้งนี้ โดยกำหนดให้อำนาจ สิทธิ และประโยชน์ดังกล่าว สิ้นสุดลงเมื่อ ปตท.สิ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณ และต่อมาเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 ได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ในราชกิจจานุเบกษา โดยเนื้อหาสาระสำคัญของพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าว เป็นการงดหรือจำกัดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์บางประการที่ บมจ.ปตท. ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และกำหนดให้อำนาจ สิทธิ และประโยชน์ ของ บมจ.ปตท. เช่น การสำรวจและประกาศเขตระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ  การวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ  ไปใต้  เหนือ  หรือข้ามที่ดินของบุคคลใดๆ ฯลฯ ตามกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยไปเป็นของคณะกรรมการกำกับการใช้ อำนาจของบริษัท ซึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย  ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 3 คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ และมีผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานเป็นกรรมการและเลขานุการ
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 11  ธันวาคม 2550  ได้มีการตราพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 (“พรบ.การประกอบกิจการ พลังงาน”) โดยกิจการก๊าซธรรมชาติ รวมถึงโครงข่ายระบบก๊าซธรรมชาติของ ปตท. จะอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ และเมื่อกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้แล้ว จะมีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (“คณะกรรมการกำกับกิจการฯ”) ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานซึ่งได้แก่ไฟฟ้าและก๊าซ ธรรมชาติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย รวมถึงอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการของผู้รับใบอนุญาต และการใช้อสังหาริมทรัพย์ของผู้รับใบอนุญาต ดังนั้นเมื่อ พรบ. การประกอบกิจการพลังงาน มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย  คณะกรรมการกำกับกิจการฯ จะเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และการประกาศเขตระบบโครงข่ายพลังงานในส่วนของธุรกิจก๊าซธรรมชาติ  แทนคณะกรรมการกำกับดูแลการใช้อำนาจของ ปตท. ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 แต่ทั้งนี้เพื่อให้การประกอบกิจการพลังงานของ ปตท. สามารถดำเนินงานได้ต่อไป ในบทเฉพาะกาลของ พรบ.ประกอบกิจการพลังงานจึงบัญญัติให้พระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 2) มีผลใช้บังคับกับ ปตท. ต่อไป จนกว่า ปตท. จะได้รับใบอนุญาตตาม พรบ.การประกอบกิจการพลังงาน
ภาพรวมการประกอบธุรกิจ
ปตท.เป็น บริษัทที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติแบบครบวงจร (Integrated Gas Company) โดยดำเนินธุรกิจการสำรวจและผลิต การจัดหา การจัดจำหน่ายและการค้าระหว่างประเทศสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำมันและปิโตรเคมี และมีการลงทุนในธุรกิจการกลั่นและปิโตรเคมีในประเทศ และดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ปตท.มีการลงทุนในบริษัทต่างๆ จำนวนรวม 45 บริษัท

โครงสร้างการดำเนินธุรกิจของ ปตท. แบ่งออกเป็นธุรกิจหลักและธุรกิจการลงทุน
ดังต่อไปนี้
ธุรกิจหลัก
กลุ่มธุรกิจสำรวจ ผลิต และก๊าซธรรมชาติ ปตท. และบริษัทในกลุ่มธุรกิจสำรวจ ผลิต และก๊าซธรรมชาติ เป็นผู้ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติอย่างครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่การสำรวจและผลิต การจัดหาจากทั้งในและต่างประเทศ การขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ การแยกก๊าซธรรมชาติ การจัดจำหน่ายและการลงทุนในบริษัทในกลุ่มที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับก๊าซ ธรรมชาติทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ การสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติของกลุ่ม ปตท. ดำเนินการโดยบริษัทย่อย คือ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมใน ประเทศไทย
กลุ่มธุรกิจน้ำมัน การดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจน้ำมันของ ปตท. สามารถจำแนกได้เป็น 2 กิจกรรมหลัก ดังนี้
(1) การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมัน (Oil Marketing)
โดย ครอบคลุมการตลาดค้าปลีก การตลาดพาณิชย์ การตลาดต่างประเทศ และผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543
(2) การค้าระหว่างประเทศ (International Trading)
ได้แก่ การนำเข้าและการส่งออกน้ำมันดิบ/คอนเดนเสท และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซึ่งรวมถึงวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีด้วย
นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจน้ำมันของ ปตท. ยังมีการลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันทั้งในและต่างประเทศ
ธุรกิจการลงทุนปตท. มีการลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกลุ่ม ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นของ ปตท.  และมีการลงทุนในบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสายการเงินและบัญชีองค์กร
เป้าหมายการดำเนินธุรกิจแผน การลงทุนในอนาคตของ ปตท. ส่วนใหญ่ยังคงมุ่งเน้นการลงทุนในกลุ่มธุรกิจสำรวจ ผลิตและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ และเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งประมาณการว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วง 5 ปีข้างหน้า (2551-2555) จะมีความต้องการเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.7 ต่อปี ดังนั้น ปตท.จึงต้องวางแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติให้เพียงพอทั้งจากภายในประเทศและจาก ต่างประเทศ รวมถึงการลงทุนเพิ่มใน โครงการ LNG Receiving Terminal และระบบเครือข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ ประเทศไทย พ.ศ. 2550-2564 (PDP 2007) และเป็นไปตามแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติฉบับที่ 3 ซึ่งใช้เป็นกรอบในการลงทุนก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติทั้งในทะเลและบนบก จำนวนรวม 14 โครงการ ได้แก่ โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 บนบกและในทะเล โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทรน้อย-โรงไฟฟ้าพระนครเหนือและพระนครใต้ โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 บนบก เป็นต้น ทั้งนี้จะทำให้ ปตท. มีความสามารถในการส่งก๊าซฯ ในทะเลและบนบกเพิ่มขึ้นอีก 1,900 และ 2,600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันตามลำดับ โดยโครงการต่าง ๆ ตามแผนแม่บทฯ จะมีผลตอบแทนการลงทุนในส่วนของทุนตลอดอายุโครงการ (Internal Rate of Return on Equity, IRROE) ร้อยละ 12.5
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับก๊าซธรรมชาติและเกิดประโยชน์สูงสุดตลอด สายผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเป็นการสนับสนุนการขยายธุรกิจปิโตรเคมีจากขั้นต้นสู่ขั้นกลางและขั้น ปลาย ปตท.จึงมีแผนการลงทุนโครงการโรงแยกก๊าซอีเทน และโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 6 ซึ่งมีขนาดกำลังการแยกก๊าซฯ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (โดยมีอัตราผลตอบแทนการลงทุนประมาณร้อยละ 12-15) เพื่อผลิตก๊าซอีเทนสำหรับเป็นวัตถุดิบให้กับโครงการอีเทนแครกเกอร์ขนาด 1,000,000 ตันต่อปี ของบริษัท พีทีที โพลีเอทิลีน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และสนับสนุนการขยายธุรกิจปิโตรเคมีของบริษัทในกลุ่มไปยังธุรกิจปิโตรเคมี ขั้นปลายด้วย นอกจากนี้ ปตท.ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (Natural Gas for Vehicle หรือ NGV) เนื่องจากก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดและไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวด ล้อม
นโยบายการลงทุนของ ปตท.
นโยบาย การลงทุนของ ปตท. ในธุรกิจต่างๆ ทั้งในส่วนของการลงทุนใหม่ การขยายหรือเพิ่มกำลังการผลิตเดิม การเข้าซื้อขายหุ้นหรือซื้อขายกิจการนั้น ปตท. พิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ประกอบดังนี้ แนวโน้มการขยายตัวของธุรกิจ การลงทุนที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและให้ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัท โดยการลงทุนนั้นอาจจะเป็นการลงทุนโดย ปตท. หรือผ่านบริษัทในเครือ ปตท.  ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและศักยภาพของแต่ละบริษัทนั้นๆ เป็นสำคัญ 
นโยบายของ ปตท.ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี    
• การดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีของ ปตท.
เริ่ม แรกเป็นการดำเนินงานตามนโยบายรัฐ ซึ่งขณะนั้นรัฐมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนและมุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจปิโตรเคมี ในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า และเนื่องจากการลงทุนดังกล่าวต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก (Capital Intensive) ปตท.ในฐานะหน่วยงานของรัฐจึงเป็นแกนนำในการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น โดยจัดตั้งบริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NPC) ซึ่งใช้อีเทนและโพรเพนจากก๊าซธรรมชาติ เป็นวัตถุดิบ(Gas Base) ในการผลิตสารโอเลฟินส์และต่อมา ได้มีการจัดตั้งบริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC) ซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์จากคอนเดนเสทเป็นวัตถุดิบในการผลิตสารอะโรเมติกส์และ บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด (มหาชน) (TOC) ใช้แนฟทาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสารโอเลฟินส์ (Liquid Base) และในส่วนขยายกำลังการผลิตของ TOC ซึ่งใช้อีเทนจากก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ โดยที่การดำเนินธุรกิจจะแบ่งสายลักษณะธุรกิจตามวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเป็น Gas Base และ Liquid Base และ/หรือแบ่งตามผลิตภัณฑ์ เช่น สายโอเลฟินส์และสายอะโรเมติกส์ ซึ่งสายของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องตั้งแต่ขั้นต้น น้ำถึงปลายน้ำ ทั้งนี้ การที่จะใช้วัตถุดิบชนิดใดเป็นวัตถุดิบในการผลิต หรือการที่จะเลือกผลิตผลิตภัณฑ์ตัวใด จะต้องมีการกำหนดก่อนการเริ่มดำเนินการก่อตั้งบริษัท ก่อสร้างโรงงาน ตลอดจนเลือกเทคโนโลยีที่จะใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากการลงทุนต้องใช้เงินจำนวนมาก
• ใน การดำเนินการที่ผ่านมา การลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีของ ปตท.มีการลงทุนทั้งในส่วนของ ปตท.และการลงทุนโดยผ่านบริษัทร่วมและบริษัทในเครือ
ลักษณะการทำ ธุรกิจเป็นลักษณะปกติทั่วไป (Arm’s Length Basis) จากโครงสร้างการถือหุ้นภายในกลุ่ม ปตท. นอกเหนือจากนโยบายการลงทุนดังกล่าวข้างต้น ปตท.มีการกำหนดทิศทางและนโยบายการดำเนินธุรกิจโดยพยายามสร้างกลไกการป้องกัน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นแนวทางหนึ่งเพื่อสร้างความชัดเจนและป้องกัน ความขัดแย้งของผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น ดังจะเห็นได้ว่า
 1. ราคาของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ มีลักษณะเป็น Commodity มีราคาตลาดอ้างอิงจากแหล่งต่างๆ ลักษณะการซื้อขายเป็นการอ้างอิงจากราคาตลาดโลกโดยใช้แหล่งอ้างอิงที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป
 2. ลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัทในกลุ่มปิโตรเคมีของ ปตท.เป็นไปบนพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใส โดยจัดทำเป็นสัญญาระยะยาว ที่มีเงื่อนไขเป็นไปตามลักษณะธุรกิจปกติ
 3. มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการ โดยมีการบริหารจัดการที่โปร่งใสผ่านคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit committee) ของแต่ละบริษัท มีการคานอำนาจการบริหารจัดการโดยผ่านคณะกรรมการบริษัทซึ่งเป็นผู้อนุมัติการ ลงทุน มีกรรมการอิสระ (ในกรณีเป็นบริษัทมหาชนจำกัด) ที่จะดูแลและรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อย
 4. มีการจัดโครงสร้างในการดำเนินธุรกิจของแต่ละบริษัทที่ชัดเจน เช่น การที่ ปตท.มีทิศทางและนโยบายในการควบรวมกิจการระหว่างบริษัทที่มีลักษณะการดำเนินธุรกิจหรือมีผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันเข้าด้วยกัน
• ปตท. มีทิศทางและนโยบายการปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและบริษัทในเครือ เพื่อให้สอดคล้องกับ
กลยุทธ์หลักของ ปตท.
โดยภายใต้กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี แบ่งออกเป็น
1. สายโอเลฟินส์ที่ ใช้วัตถุดิบจากก๊าซธรรมชาติ (Gas based value chain) โดยกำหนดให้มีการรวมบริษัทที่มีลักษณะการดำเนินกิจการหรือมีผลิตภัณฑ์ที่ คล้ายกัน มีกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน และลักษณะของผลิตภัณฑ์หลักเป็น Commodity เช่น ในกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีจะมีการปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจในรูปแบบ Integrated Value Chain Flagship โดยแบ่งสายลักษณะของวัตถุดิบและ Value chain ซึ่งได้ดำเนินการควบรวมกิจการระหว่าง NPC และ TOC (ปัจจุบันคือ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)) เพื่อเป็นแกนนำในการดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ที่ใช้วัตถุดิบจาก ก๊าซธรรมชาติ (Gas based value chain) โดยมุ่งเน้นสายเอทิลีนเป็นหลัก เพื่อรองรับและเป็นการต่อยอดธุรกิจก๊าซธรรมชาติของกลุ่ม ปตท. เป็นลำดับแรก และเพื่อให้มีความเชื่อมโยงในการส่งต่อวัตถุดิบสำหรับการขยายงานของปิโต รเคมีขั้นต่อเนื่องของ บริษัท ปตท. เคมิคอล
2.  สายธุรกิจบริการ (Strategic Support Business) เป็นธุรกิจที่สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจหลัก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความได้เปรียบคู่แข่งขันในเชิงการค้าให้แก่ ทั้งกลุ่ม ปตท.
3. สาย Specialties และ Engineering Plastic เป็นธุรกิจที่มี Value Chain การทำธุรกิจต่อเนื่องไปยังสาย Engineering Plastic เช่นธุรกิจสาย Phenol , Polycarbonate แม้ว่ามีกระบวนการผลิตซับซ้อน แต่ยังคงสามารถซื้อลิขสิทธิ์จากเจ้าของเทคโนโลยี เพื่อดำเนินการผลิตได้เอง เช่น ธุรกิจสาย Phenol , Polycarbonate
4. สายธุรกิจร่วมทุน (Joint Venture) เป็นธุรกิจที่มีกระบวนการผลิตซับซ้อน และไม่สามารถซื้อลิขสิทธ์จากเจ้าของเทคโนโลยีได้ จึงต้องอาศัยผู้ร่วมลงทุนที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี หรือเป็นกิจการที่ผู้ถือหุ้นต้องการลงทุนร่วมกับ ปตท. โดยตรง เนื่องจาก ปตท. มีศักยภาพในเรื่องวัตถุดิบ แต่ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์หลักจะไม่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกับผลิตภัณฑ์หลักของ บริษัทในกลุ่มอื่น ซึ่ง ปตท. จะพิจารณาการลงทุน ทั้งในส่วนของการลงทุนใหม่ และ/หรือการซื้อกิจการ
สำหรับสายอะโรเมติกส์ ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างทางธุรกิจแล้วเสร็จเพื่อให้เกิด Synergy ระหว่างกัน โดยการควบรวมกิจการระหว่างบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (มหาชน) หรือ RRC และ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) หรือ ATC  เป็นบริษัทใหม่ชื่อว่า “บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PTTAR เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2550 เพื่อให้เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์และ ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องของ ปตท.

โครงการในอนาคต
1) โครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Transmission Pipeline)
 เมื่อ วันที่ 19 มิถุนายน 2550 คณะรัฐมนตรีอนุมัติการทบทวนแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2544-2554 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) เพื่อใช้เป็นกรอบในการลงทุนก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติจำนวน 14 โครงการ ในวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 165,077 ล้านบาท แผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติดังกล่าว จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถสูงสุดของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติทั้งฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตกของ ปตท.(รวมท่อส่งก๊าซฯจากแหล่งน้ำพอง) จาก 3,680 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ณ ค่าความร้อนจริง) ณ สิ้นปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 6,980 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ณ ค่าความร้อนจริง) โดยแบ่งการลงทุนเป็น 3 ระยะ และการเพิ่มการลงทุนในระบบท่อเชื่อมในทะเล
2) โครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติ  ปตท.ดำเนิน การก่อสร้างโครงการโรงแยกก๊าซอีเทน ซึ่งมีกำลังการผลิตอีเทนจำนวน 630,000 ตันต่อปี และโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 มีความสามารถแยกก๊าซธรรมชาติได้ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งมีกำลังการผลิตอีเทนจำนวน 630,000 ตันต่อปี  ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) จำนวน 1,030,000 ตันต่อปี และ ก๊าซโซลีนธรรมชาติ (NGL) จำนวน 180,000 ตันต่อปี โดยอีเทนที่ผลิตได้จากโครงการทั้งสองจะจำหน่ายเป็นวัตถุดิบให้โครงการอีเท นแครกเกอร์ (Ethane Cracker) ของบริษัท พีทีที โพลีเอทิลีน จำกัด (PTTPE) ทั้งนี้ คาดว่าโครงการโรงแยกก๊าซอีเทน และโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 จะสามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2553

3) โครงการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์
(์Natural Gas for Vehicle หรือ NGV) 
 เพื่อ ส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติให้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกในภาคขนส่ง ลดผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปใน ตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศที่สนับสนุนให้ใช้เชื้อ เพลิงที่สามารถจัดหาได้จากแหล่งภายในประเทศ ปตท. จึงได้จัดทำแผนแม่บทเร่งรัดขยายการใช้ ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์โดยมีเป้าหมายในปี 2555 มีรถยนต์ใช้ NGV จำนวน 328,000 คัน และมีสถานีบริการ 725 สถานี (โดยมีสถานีที่สร้างใหม่เพิ่มและขยายกำลังการผลิตสถานีเดิม 361 สถานี) และมีแผนการขยายสถานีทั้งในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และภูมิภาค ตามแนวถนนสายหลักและตามแนวท่อส่งก๊าซฯ ของ ปตท. รวมทั้งในอู่จอดรถของ Fleet ต่างๆ นอกจากนี้ ปตท. ยังมีโครงการทดลองใช้ NGV ในยานพาหนะชนิดอื่น ได้แก่ โครงการเรือเฟอรี่เกาะช้าง โครงการทดลอง NGV ในเรือด่วนเจ้าพระยา และโครงการใช้ NGV กับเรือขนส่งทางน้ำ เป็นต้น
ปตท. ตระหนักถึงภาระของผู้บริโภค อันเนื่องมาจากค่าติดตั้งอุปกรณ์ใช้ NGV มีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียนขึ้น 7,000 ล้านบาท (ปตท. 5,000 ล้านบาท และ กองทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน 2,000 ล้านบาท) สำหรับเงินทุนหมุนเวียนของ ปตท. 5000 ล้านบาท ได้จัดสรรเพื่อให้ผู้บริโภคมีแหล่งเงินกู้เพื่อการดัดแปลง/ติดตั้ง NGV ในโครงการทุนหมุนเวียนสำหรับยานยนต์ NGV โดยมีดอกเบี้ยต่ำและเงื่อนไขผ่อนผันต่อผู้กู้  ผ่าน 9 ธนาคาร ( กรุงเทพ ,กสิกรไทย, ไทยธนาคาร, ไทยพาณิชย์,  กรุงไทย, กรุงศรีอยุธยา, ทหารไทย, ออมสิน, ธนชาต) และเงินทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน 2000 ล้านบาท ใช้สนับสนุนผู้ประกอบการรถร่วม ขสมก. ในโครงการกรุงเทพฯฟ้าใสด้วย NGV 
4) โครงการก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefied Natural Gas หรือ LNG)
 ปตท. ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด ขึ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2547 โดย ปตท.ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 100 เพื่อประกอบกิจการให้บริการ/จัดการเกี่ยวกับการปฏิบัติการและบำรุงรักษาท่า เรือ Terminal รับผลิตภัณฑ์ LNG และหน่วยเปลี่ยนสถานะ LNG เป็นก๊าซธรรมชาติ (LNG Re-gasification & Receiving Terminal) ขนาดประมาณ 5 ล้านตันต่อปีในระยะที่ 1 และจะเพิ่มขนาดเป็นประมาณ 10 ล้านตันต่อปีในระยะที่ 2 คาดว่าโครงการระยะที่ 1 จะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2554 และระยะที่ 2 ประมาณปี 2557 เพื่อรองรับแผนการนำเข้า LNG ของ ปตท. โดยบริษัทฯจะคิดค่าบริการในรูป Throughput & Service Fee และ ปตท.จะเป็นผู้จัดหาและนำเข้า LNG
รางวัลแห่งความสำเร็จ ในปี 25518 พฤษภาคม 2551 
กระทรวงแรงงาน มอบรางวัลสถานประกอบการดีเด่น ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงานระดับประเทศ (* รวม 25 สถานประกอบการ)  
9 พฤษภาคม 2551
นิตยสาร Reader's Digest มอบรางวัล "Trusted brands 2008" *แบรนด์สุดยอดของประเทศไทยในหมวด ของสถานีบริการน้ำมัน ต่อเนื่อง 8 ปี ตั้งแต่ปี 2544-2551
12 พฤษภาคม 2551
สำนักงานรางวัลคุณภาพ คุณภาพแห่งชาติ ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม มอบรางวัล  "การบริหารสู่ความเป็นเลิศ" *สายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ12 พฤษภาคม 2551
นิตยสาร Boss Request มอบรางวัลพิเศษแห่งปี "CSR Award" ในฐานะที่ดำเนินุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และมีส่วนสำคัญในการร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อ เนื่อง20 สิงหาคม 2551
กระทรวงการคลัง มอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น 4 รางวัล เพื่อเป็นการตอบแทนความพยายามและความสำเร็จในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
1.ผลการดำเนินงานดีเด่น 
2.คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น
3.การบริหารจัดการองค์กรดีเด่น
4.การดำเนินงานเพื่อสังคม&สิ่งแวดล้อม

นิตยสาร Forbes Global 2000 ฉบับ April 21,2008  จัดอับดับให้ ปตท.เป็นอันดับที่ 205 ของบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยพิจารณาจากยอดขาย กำไร สินทรัพย์ และมูลค่าตลาด
มิถุนายน 2551
นิตยสาร Corporate Governance Asia ของฮ่องกง มอบรางวัล Recognition Awards 228, The Best of Asia
1.ได้รับการประกาศยกย่องผลงานด้าน CG
2.การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับการปรับปรุงพัฒนา ส่งเสริมมาตรฐาน CG ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
3.มีการดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับCG ในรายละเอียดที่เป็นสาระ 12 เดือนที่ผ่านมา

12 มิถุนายน 2551
นิตยสาร Finance Asia มอบรางวัล Asia's Best Managed Companies : Thailand  โดยทำการสำรวจความคิดเห็นโดยการส่งแบบสอบถามไปยัง fund manger และ equity analysts
21กรกฎาคม2551
นิตยสาร Fortune จัดอันดับให้ ปตท.เป็น 1 ใน 500 บริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ประจำปี  2551 โดยเป็นอันดับที่ 135 ทั้งนี้พิจารณาจากรายได้และกำไรปี 2550
เมื่อปี 2550 เป็นอันดับที่ 207
เมื่อปี 2549 เป็นอันดับที่ 265
เมื่อปี 2548 เป็นอันดับที่ 373
เมื่อปี 2547 เป็นอันดับที่ 456
 

1 ความคิดเห็น: