ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

โรงกลั่นไทยออยส์


โรงกลั่นไทยออยส์
หากจะท้าวความถึงกรณีการขายโรงกลั่นน้ำมันให้กับ บ.ไทยออยล์ ในสมัยที่นายอานันท์เป็นนายกฯ คาดว่าหลายคน คงอยากจะรู้ว่ามีความเป็นมาเช่นไร

กรณีการขายโรงกลั่นน้ำมันให้แก่บริษัทไทยออยล์ จำกัด ถือเป็นอีกกรณีแห่งความอัปยศของนายอานันท์ ปันยารชุน ที่ไม่อาจปฏิเสธการตัดสินใจครั้งนี้ของนายอานันท์ ปันยารชุน ไม่เพียงแต่ไร้เหตุผลและไร้ความโปร่งใสเท่านั้น  หากแต่ยังเป็นการทำให้ชาติสูญเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาล เพียงเพื่อหวังที่จะให้พรรคพวกของตัวเองได้ผลประโยชน์จากชาติ เท่านั้น

ใครที่บอกว่านายอานันท์ รักชาติ รักประเทศไทย กรณีของไทยออยล์ จะเป็นกรณีตัวอย่างที่เป็นจริงอีกกรณีหนึ่ง ซึ่งจะชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่านายอานันท์ไม่ใช่บุคคลเช่นนั้น

โรงกลั่นน้ำมันถูกสร้างขึ้นในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพื่อหวังให้เป็นฐานการผลิตในการส่งเสริมการลงทุนแก่อุตสาหกรรมทุกภาค ให้ได้ใช้น้ำมันในราคาที่ถูกลง 

รวมทั้งต้องการมีโรงกลั่นน้ำมันภายในประเทศเองจะสามารถช่วยเสริมความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและการทหารให้แก่รัฐบาลในยามที่เกิดสงคราม รัฐจึงมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมศึกษา 
ความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันดังกล่าว แต่ในช่วงนั้นประเทศไทยยังไม่มีประสบการณ์ และไร้ซึ่งบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจในการก่อสร้าง การดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันมาก่อน การหาเอกชนเข้ามาดำเนินการจัดสร้างและประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมัน ในประเทศไทยจึงเกิดขึ้น โดยกลุ่มของนักธุรกิจฮ่องกง ซึ่งต่อมาใช้ชื่อเป็นไทยว่า "นายเชาวน์ เชาวน์ขวัญยืน" เป็นผู้ดำเนินการ

"นายเชาวน์ เชาวน์ขวัญยืน" ได้ตั้งบริษัทขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโรงกลั่นน้ำมันไทย จำกัด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทไทยออยล์ จำกัด ในปี 2528) การดำเนินการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันเสร็จเรียบร้อย อย่างที่ต้องการ ในขณะเดียวกันธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันไทย ก็เป็นไปอย่างดียิ่ง 

สร้างกำไรให้กับบริษัทโรงกลั่นน้ำมันไทยอย่างมหาศาล
จึงได้เสนอขออนุญาตเช่าและดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันต่อไป 

โดยมีข้อเสนอว่าจะสร้างโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มอีกโรงหนึ่ง 
เพื่อขยายกำลังการผลิต 

ซึ่งในสัญญาเช่าระบุราคาเช่าไว้ว่า ค่าเช่าโรงกลั่นทีโอซี 1 
โรงกลั่นทีโอซี 2 และค่าเช่าที่ดินในปี 2524 

ราคา 186.73 ล้านบาท และเพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ทุกปี 

ในปี 2534/35 ค่าเช่าทั้งสองกรณีเป็นเงิน 817.26 ล้านบาท
และนับจากปี 2535 ไปจนถึงปี 2544 เป็นอันสิ้นสุดสัญญาเช่า 

รัฐจะได้เงินค่าเช่า รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 13.458 ล้านบาท

** ประเด็นนี้เป็นข้อน่าสงสัยเนื่องจากปี 2535 
รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน กลับตัดสินใจขายโรงกลั่น
น้ำมันทั้ง 2 แห่งไปในราคาแค่เพียง 8,764 ล้านบาทเท่านั้น

ซึ่งตอนนี้เองการเข้ามาของนายเกษม จาติกวณิช 
กับกลุ่มของ นายเชาวน์ เชาวน์ขวัญยืน ได้เปลี่ยนชื่อโรงกลั่น
น้ำมันไทยเป็นโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์

ความสัมพันธ์ระหว่าง นายเกษม จาติกวณิช กับ
นายอานันท์ ปันยารชุน นั้นลึกซึ้ง การก้าวขึ้นมาเป็นนายกฯ
ของนายอานันท์ ปันยารชุน 

ดูเหมือนจะเป็นการสร้างความหวังให้กับบริษัทไทยออยล์ 
ซึ่งมีนายเกษม จาติกวณิช เป็นประธานกรรมการ

การกระทำครั้งนี้ของรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน 
จึงไม่โปร่งใส ขัดกับหลักการ และเหตุผลที่เอื้อประโยชน์
ต่อประเทศชาติอย่างสิ้นเชิง 

โดยเฉพาะนักการเมืองที่รู้เรื่องธุรกิจน้ำมันดีอย่าง 
นายวัฒนา อัศวเหม ซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ 

และเป็นพ่อค้าส่งน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 
ออกมาฉะแหลกรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน 

โดยให้เหตุผลว่าการขายโรงกลั่นน้ำมันครั้งนี้ไม่โปร่งใส
และราคาขาย 8,000 กว่าล้านบาทนั้น เป็นราคาที่ถูกเกินไป 

ซึ่งนายวัฒนาเองก็พร้อมที่จะซื้อในราคา 15,000 ล้านบาท
รัฐบาลนายอานันท์ ขายโรงกลั่นทั้งสองในราคาแค่ 8,000 กว่า
ล้านบาท ราคานี้ถูกเกินไปและรัฐบาลก็ไม่เปิดประมูล 

ซึ่งไม่ถูกต้อง...!!!

........................................
อีกหนึ่งตัวตนคนขายชาติ ในคราบผู้ดี(รัตนโกสินทร์)
รู้อย่างนี้แล้วต้องยึดทรัพย์คืนแผ่นดินให้หมดทั้งตระกูลครับ
ช่วยกันแชร์ ช่วยกันแฉไอ้จอมสร้างภาพแห่งประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น