http://www.parent-youth.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539381226&Ntype=5
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสม โดยข้อเท็จจริงที่แหล่งปิโตรเลียมในประเทศส่วนใหญ่เป็นแหล่งทั้งเล็กทังใหญ่ ทงยังมีแหล่งพลังงานในประเทศที่ขุดพบอีกหลายแหล่ง แต่การให้ผลตอบแทนเป็นค่าภาคหลวงมีน้อยสุดในแถบเอเซียและยังน้อยกว่าหลายประเทศทั่วโลก. อีกท้ังการมอบสัมปทานหรือการปรับเพิ่มลดค่าสัมปทาน ยังเป็นอำนาจที่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา66. 67 85(4). สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ฉบับพศ2550. และ มีความเป็นธรรมแก่ประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศ มีศักดิและสิทธิเท่าเทียมกันในกรได้รับผลประโยชน์จากทรัพยากรแผ่นดินอย่างเท่าเทียมกัน. ทุกคน. จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2555
มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้ ( ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)
มาตรา ๘๔ ให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เสียเป็นตัวเงิน ให้เสียในอัตราร้อยละสิบสองครึ่ง. เจ็ดสิบ. ของมูลค่าปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่าย หรือ
(๒) ในกรณีที่เสียเป็นปิโตรเลียม ให้เสียเป็นปริมาณที่มีมูลค่าเท่ากับหนึ่งในเจ็ด. สามในสี่ ของมูลค่าปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่าย แต่ถ้าเป็นกรณีน้ำมันดิบที่ส่งออก ให้เสียเป็นปริมาณที่มี มูลค่าเท่ากับหนึ่งในเจ็ด. สามในสี่ ของปริมาณน้ำมันดิบที่ส่งออกคูณด้วยราคาประกาศ และหารด้วยราคามาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
มาตรา ๘๕ ในการคำนวณมูลค่าปิโตรเลียมสำหรับเสียค่าภาคหลวงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) สำหรับปริมาณ ให้ถือเอาปริมาณปิโตรเลียมที่มีอุณหภูมิ ๖๐ องศาฟาเรนไฮท์ และความดัน ๑๔.๗ ปอนด์ต่อหนึ่งตารางนิ้วเป็นเกณฑ์
(๒) สำหรับราคา ให้ถือราคาดังต่อไปนี้
(ก) น้ำมันดิบที่ส่งออก ให้ถือราคาประกาศ
(ข) น้ำมันดิบที่ส่งชำระเป็นค่าภาคหลวงสำหรับน้ำมันดิบที่มิได้ส่งออกให้ถือราคาตลาด
(ค) น้ำมันดิบที่ส่งชำระเป็นค่าภาคหลวงสำหรับน้ำมันดิบที่ส่งออก ให้ถือราคามาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(ง) ปิโตรเลียมที่ส่งชำระเป็นค่าภาคหลวงเฉพาะส่วนที่มิใช่น้ำมันดิบ ให้ถือราคาตลาด
(จ) ปิโตรเลียมนอกจาก (ก) ถึง (ง) ให้ถือราคาที่ขายได้จริงในกรณีที่มีการขาย และให้ถือราคาตลาดในกรณีที่มีการจำหน่าย
ทั้งนี้ ให้คิดมูลค่าปิโตรเลียม ณ สถานที่ขายหรือจำหน่ายในราชอาณาจักรที่อธิบดีและผู้รับสัมปทานจะได้ตกลงกัน แต่สำหรับน้ำมันดิบที่ส่งออก ให้คิดมูลค่า ณ สถานที่ส่งออก และในกรณีที่สถานที่ขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียมตาม (จ) แตกต่างไปจากสถานที่ขายหรือจำหน่ายที่ได้ตกลงกัน ให้ปรับปรุงราคาโดยคำนึงถึงความแตกต่างของค่าขนส่งระหว่างสถานที่ขายหรือจำหน่ายนั้นกับสถานที่ขายหรือจำหน่ายที่ได้ตกลงกันแล้วด้วย
มาตรา 4ให้ยกเลิกความในมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514และให้ใช้ความต่อไปนี้ ( ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)
มาตรา 91 อธิบดี คณะกรรมการปิโตรเลี่ยม มีอำนาจประเมินค่าภาคหลวงและเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อ
(๑) ผู้รับสัมปทานมิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงภายในเวลาที่กำหนด
(๒) ผู้รับสัมปทานยื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนค่าภาคหลวงที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป
(๓) ผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกของอธิบดีหรือไม่ตอบคำถามของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตรวจสอบค่าภาคหลวงโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่สามารถแสดงหลักฐานในการคำนวณค่าภาคหลวง
มาตรา 5ให้ยกเลิกความในมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514และให้ใช้ความต่อไปนี้ ( ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)
มาตรา ๙๒ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรา ๙๑ อธิบดี คณะกรรมการปิโตรเลี่ยม มี อำนาจ
(๑) จัดทำรายการลงในแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงที่เห็นว่าถูกต้องเมื่อมิได้มีการยื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวง
(๒) แก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงหรือในเอกสารที่ยื่นประกอบแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงเพื่อให้ถูกต้อง
(๓) กำหนดมูลค่าของปิโตรเลียมตามราคาตลาดในเมื่อมีการจำหน่ายหรือมีการขายโดยมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(๔) กำหนดจำนวนค่าภาคหลวงตามที่รู้เห็นหรือพิจารณาว่าถูกต้องเมื่อมีกรณีตามมาตรา ๙๑ (๓)
มาตรา5 ให้แก้ไขมาตราที่ 98 ใน พรบ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ.2514 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ ( ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)
มาตรา ๙๘ เงินเพิ่มอาจงดหรือลดลงได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๙๙ เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์หรือภาวะการผลิตปิโตรเลียมค่าภาคหลวงตามพระราชบัญญัตินี้อาจลดลงเป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินร้อยละสามสิบ. สิบ. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๙๙ ทวิ เพื่อส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่บางพื้นที่ภายในแปลงสำรวจหรือในพื้นที่ผลิตของผู้รับสัมปทานที่มีสภาพทางธรณีวิทยาไม่เอื้ออำนวยหรือที่มีพลังผลิตของพื้นที่ลดลง และไม่อยู่ในแผนการสำรวจหรือแผนการผลิตของผู้รับสัมปทานให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจลดหย่อนค่าภาคหลวงให้แก่ผู้รับสัมปทานโดยทำความตกลงกับผู้รับสัมปทานเพื่อให้ผู้รับสัมปทานทำการสำรวจและพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ตามแผนซึ่งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะได้กำหนดขึ้น
ในการให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีเพื่อลดหย่อนค่าภาคหลวงตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการคำนึงถึงสภาพทางธรณีวิทยาและศักยภาพทางปิโตรเลียมของพื้นที่ดังกล่าว สถิติค่าใช้จ่ายในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน ความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมภายในประเทศ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในตลาด และผลได้ผลเสียอื่นๆ ของประเทศที่จะได้รับจากการเร่งรัดให้มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม
ค่าภาคหลวงที่จะลดหย่อนตามมาตรานี้ จะต้องเป็นค่าภาคหลวงที่เกิดจากกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานดำเนินการอยู่แล้วในแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิตนั้น หรือเป็นค่าภาคหลวงที่จะเกิดขึ้นจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดไว้ในแผน และการลดหย่อนดังกล่าวจะต้องไม่เกินร้อยละเก้าสิบ. 20. ของจำนวนค่าภาคหลวงที่ผู้รับสัมปทานพึงต้องเสียสำหรับปิโตรเลียมทั้งหมดที่ผลิตได้ในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิตที่อยู่ในแปลงสำรวจนั้น หรือไม่เกินร้อยละเก้าสิบ. 20 ของจำนวนค่าภาคหลวงที่จะเกิดจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนด โดยระยะเวลาที่ได้รับลดหย่อนจะต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ทำความตกลงหรือวันที่เริ่มผลิต และในความตกลงกับผู้รับสัมปทานดังกล่าวจะมีเงื่อนไขหรือมีข้อกำหนดอย่างใดๆ ก็ได้ โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชน. ในพื้นที่แหล่งพลังงาน หากเป็นในทะเลขอให้เป็นประชาชนทั่วไป
มาตรา7 ให้แก้ไขมาตราที่ 99 ใน พรบ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ.2514 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ ( ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)
มาตรา ๙๙ ตรี ในพื้นที่ที่สภาพทางธรณีวิทยาบ่งชี้ว่าการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่นั้นจำเป็นต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากหรือการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่นั้นไม่อาจดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการอาจให้สัมปทานสำหรับพื้นที่ดังกล่าวโดยลดหย่อนค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมที่เริ่มผลิตขึ้นมาจากพื้นที่นั้นตามจำนวนปิโตรเลียมที่จะกำหนดไว้ในสัมปทานก็ได้แต่พื้นที่ที่กำหนดให้สัมปทานดังกล่าวจะต้องมีขนาดไม่เกินสองร้อยตารางกิโลเมตร และค่าภาคหลวงที่จะลดหย่อนต้องไม่เกินกว่าร้อยละเก้าสิบ 20. ของจำนวนค่าภาคหลวงที่จะพึงเสีย โดยระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับลดหย่อนค่าภาคหลวงจะต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่เริ่มผลิตปิโตรเลียมจากพื้นที่ผลิตในการให้สัมปทานตามมาตรานี้จะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดๆ ก็ไ
ในการให้คำแนะนำของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้นำหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๙๙ ทวิ วรรคสอง มาใช้บังคับ
การเปิดให้สัมปทานตามวรรคหนึ่ง ให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*กำหนดข้อผูกพันในด้านปริมาณเงินและ/หรือปริมาณงานขั้นต่ำสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมที่ผู้ขอสัมปทานจะต้องปฏิบัติหากได้รับสัมปทานจากรัฐบาล โดยได้รับการลดหย่อนค่าภาคหลวงตามมาตรานี้
โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชนในพื้นที่แหล่งพลังงาน หากเป็นในทะเลขอให้เป็นประชาชนทั่วไป
มาตรา8 ให้แก้ไขมาตราที่ 100 ใน พรบ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ.2514. และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ ( ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)
มาตรา ๑๐๐ ในการเก็บค่าภาคหลวงจากบุคคลตามมาตรา ๘๘ จากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้รับสัมปทาน รัฐมนตรีจะมอบให้กรมสรรพสามิตเก็บแทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*ก็ได้
หมวด ๗ ทวิ
ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ
มาตรา ๑๐๐ เบญจ ให้เรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจากผลกำไรปิโตรเลียมประจำปี ในอัตราที่กำหนดจาก “ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร” โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่ไม่เกิน ๔,๘๐๐ บาท ไม่ต้องเสียผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ
(๒) ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่เกิน ๔,๘๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๑๔,๔๐๐ บาท ให้เรียกเก็บในอัตราร้อยละ ๑ 70 ของ ๒๔๐ บาทแรก และให้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ ๑ ต่อทุก ๆ ๒๔๐ บาท เศษของ ๒๔๐ บาท ให้ถือเป็น ๒๔๐ บาท
(๓) ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่เกิน ๑๔,๔๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๓๓,๖๐๐ บาท ให้เรียกเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ ๑ 70 ต่อทุก ๆ๙๖๐ บาท เศษของ ๙๖๐ บาท ให้ถือเป็น ๙๖๐ บาท แต่ไม่เกิน ร้อยละ80
(๔) ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่เกิน ๓๓,๖๐๐ บาท ขึ้นไป ให้เรียกเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 70ต่อทุก ๆ ๓,๘๔๐ บาท เศษของ๓,๘๔๐ บาท ให้ถือเป็น ๓,๘๔๐ บาท
แต่ทั้งนี้ จะเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษเกินร้อยละ ๗๕. 80 ของผลกำไรปิโตรเลียมในแต่ละปีไม่ได้
มาตรา ๑๐๐ ฉ “ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร” คือจำนวนรายได้ปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทานที่เกิดจากแปลงสำรวจในรอบปี หารด้วยผลบวกของความลึกสะสมรวมของหลุมเจาะปิโตรเลียมทั้งหมดซึ่งผู้รับสัมปทานได้ลงทุนเจาะไปแล้วในแปลงสำรวจนั้นกับ “ค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ”
การกำหนดค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตรตามมาตรานี้มีความมุ่งหมายเพื่อให้เกิดสัดส่วน ระหว่างรายได้ของผู้รับสัมปทานที่ได้มาจากปิโตรเลียมที่ผลิตในแปลงสำรวจ กับความพยายามในการลงทุนของผู้รับสัมปทานและสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจนั้น
อัตราค่าธรรมเนียม
(๑) คำขอสัมปทาน ฉบับละ ๕๐,๐๐๐ บาท
(๒) ค่าสงวนพื้นที่แต่ละแห่ง
เศษของตารางกิโลเมตร ให้คิด ตารางกิโลเมตรละ
ค่าธรรมเนียมตามอัตราส่วน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ต่อปี
(๓) ค่ารังวัด ตามความยาวของระยะที่วัด
กิโลเมตรหรือเศษของกิโลเมตรละ ๕๐๐ บาท
(๔) ค่าหลักเขตบนพื้นดิน หลักละ ๑,๐๐๐ บาท
บัญชีอัตราค่าภาคหลวง
ร้อยละของมูลค่าปิโตรเลียม
ที่ขายหรือจำหน่ายในรอบเดือน
ขั้นที่ ๑ ปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขาย
หรือจำหน่ายได้ในรอบเดือน
ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาเรล ๕. 50
ขั้นที่ ๒ ปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขาย
หรือจำหน่ายได้ในรอบเดือน
ส่วนที่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาเรล
แต่ไม่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาเรล ๖.๒๕ 70
ขั้นที่ ๓ ปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขาย
หรือจำหน่ายได้ในรอบเดือน
ส่วนที่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาเรล
แต่ไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาเรล ๑๐ 70
ขั้นที่ ๔ ปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขาย
หรือจำหน่ายได้ในรอบเดือน
ส่วนที่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาเรล
แต่ไม่เกิน ๖๐๐,๐๐๐ บาเรล ๑๒.๕. 70
ขั้นที่ ๕ ปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขาย
หรือจำหน่ายได้ในรอบเดือน
ส่วนที่เกิน ๖๐๐,๐๐๐ บาเรล ๑๕. 70
ปริมาณปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่ายในรอบเดือน หมายถึงปริมาณปิโตรเลียมทั้งหมดทุกชนิดที่ผู้รับสัมปทานขายหรือจำหน่ายได้ในเดือนนั้น
มาตรา9 ให้ยกเลิกข้อความในมาตราที่ 4 ใน พรบ.ปิโตรเลี่ยมฉบับที่สาม. พ.ศ.2522. และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้( ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๒๖ ระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามสัมปทานให้มีกำหนดไม่เกินสามสิบปี สิบปี นับแต่วันถัดจากวันสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม แม้จะมีการผลิตปิโตรเลียมในระหว่างระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมด้วยก็ตาม
ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานประสงค์จะขอต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมให้ผู้รับสัมปทานยื่นคำขอต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมก่อนสิ้นระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมไม่น้อยกว่าหกเดือน
การต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมให้กระทำได้เมื่อผู้รับสัมปทานได้ปฏิบัติตามสัมปทานทุกประการและได้ตกลงในเรื่องข้อกำหนด ข้อผูกพัน และเงื่อนไขที่ใช้อยู่ทั่วไปในขณะนั้นก่อนสิ้นระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
การต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมให้กระทำได้เพียงครั้งเดียวเป็นเวลาไม่เกินสิบปี”
มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“รายงานตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นความลับและมิให้เปิดเผยจนกว่าพ้นสองปี นับแต่วันที่สัมปทานสิ้นอายุ หรือถูกเพิกถอน แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเป็นรายงานเกี่ยวกับพื้นที่ที่ผู้รับสัมปทานคืนตามมาตรา ๓๖ ระยะเวลาสองปีให้นับแต่วันคืนพื้นที่ ทั้งนี้เว้นแต่
(๑) เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติราชการแก่ส่วนราชการ หรือบุคคลซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ
(๒) เป็นการนำข้อสนเทศจากรายงานนั้นไปใช้ในการเรียบเรียง และเผยแพร่รายงานหรือบันทึกทางวิทยาศาสตร์ เทคนิค หรือสถิติ โดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีแล้ว ทั้งนี้ต้องหลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อสนเทศด้านพาณิชย์ให้มากที่สุด หรือ
(๓) ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับสัมปทานให้เปิดเผยได้ แต่การให้หรือไม่ให้ความยินยอมของผู้รับสัมปทานต้องกระทำโดยไม่ชักช้า”
มาตรา10 ให้ยกเลิกข้อความในมาตราที่ 4 ใน พรบ.ปิโตรเลี่ยมฉบับที่สี่. พ.ศ.2532. และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้( ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการปิโตรเลียม" ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมสรรพากร ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม และบุคคลซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินหกคนจากการเสนอชื่อของภาคประชาชน. จากตัวแทนภาคประชาสังคม กรรมการวิธีการได้มาให้ภาคประชาสังคมเลือกกันเองจากตัวแทนภาคประชาสังคมมี่มีผลงานกว่าสิบปี ไม่มีประวัติิเสื่อมเสีย
บุคคลซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนที่แต่งตั้งต้องไม่เป็นข้าราชการในส่วนราชการที่มีกรรมการโดยตำแหน่งสังกัดอยู่
คณะกรรมการจะแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งหรือบุคคลอื่นเป็นเลขานุการคณะกรรมการก็ได้"
มาตรา11 ให้ยกเลิกข้อความในมาตราที่ 16แห่ง พรบ.ปิโตรเลี่ยมฉบับ. พ.ศ.2514 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้( ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)
“มาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ และให้มีหน้าที่ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และความเห็นแก่รัฐมนตรี โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชน.ในพื้นที่แหล่งพลังงาน หากเป็นในทะเลขอให้เป็นประชาชนทั่วไป ในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การให้สัมปทานตามมาตรา ๒๓
(๒) การต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมตามมาตรา ๒๕
(๓) การต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามมาตรา ๒๖
(๔) การต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามมาตรา ๒๖
(๕) การอนุญาตให้ผู้รับสัมปทานรับบริษัทอื่นเข้าร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา ๔๗
(๖) การอนุญาตให้โอนสัมปทานตามมาตรา ๕๐
(๗) การเพิกถอนสัมปทานตามมาตรา ๕๑
(๘) การสั่งให้ผู้รับสัมปทานจัดหาปิโตรเลียมเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามมาตรา ๖๐
(๙) การห้ามส่งปิโตรเลียมออกนอกราชอาณาจักรตามมาตรา ๖๑
(๑๐) การสั่งให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียมตามมาตรา ๘๓
(๑๑) การรับชำระค่าภาคหลวงเป็นเงินตราต่างประเทศตามมาตรา ๘๗
(๑๒) การลดหย่อนค่าภาคหลวงให้แก่ผู้รับสัมปทานตามมาตรา ๙๙ ทวิ และ มาตรา ๙๙ ตรี
(๑๓) เรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย”
มาตรา12 ให้ยกเลิกข้อความในมาตราที่ 22แห่ง พรบ.ปิโตรเลี่ยมฉบับ. พ.ศ.2514 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้( ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)
"มาตรา ๒๒ รัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจ และโดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชน. ในพื้นที่แหล่งพลังงานหากเป็นในทะเลขอให้เป็นประชาชนทั่วไป
(๑) ให้สัมปทานตามมาตรา ๒๓
(๒) ต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมตามมาตรา ๒๕
(๓) ต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามมาตรา ๒๖
(๔) อนุมัติให้เปลี่ยนแปลงปริมาณงานตามมาตรา ๓๐
(๕) อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานรับบริษัทอื่นเข้าร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา ๔๗
(๖) อนุญาตให้โอนสัมปทานตามมาตรา ๕๐
(๗) แจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบว่ารัฐบาลจะเข้าใช้สิทธิประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งด้วยความเสี่ยงภัยแต่ฝ่ายเดียวตามมาตรา ๕๒ ทวิ
(๘) ลดหย่อนค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมตามมาตรา ๙๙ ทวิ และมาตรา ๙๙ ตรี
(๙) กำหนดค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจตาม มาตรา ๑๐๐ ฉ”
มาตรา13 ให้ยกเลิกข้อความในมาตราที่ 26แห่ง พรบ.ปิโตรเลี่ยมฉบับ. พ.ศ.2514 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๓)พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๒๖ ระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามสัมปทานให้มีกำหนดไม่เกินยี่สิบปี สิบปี. นับแต่วันถัดจากวันสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม แม้จะมีการผลิตปิโตรเลียมในระหว่างระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมด้วยก็ตามี”
มาตรา ๙ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียมพ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๑๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๒๘ ในการให้สัมปทาน รัฐมนตรีมีอำนาจให้ผู้ขอสัมปทานได้รับสัมปทานไม่เกินรายละสี่แปลงสำรวจ เว้นแต่ในกรณีที่รัฐมนตรีพิจารณาเห็นสมควร อาจให้ผู้ขอสัมปทานได้รับสัมปทานเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแปลงสำรวจก็ได้ แต่เมื่อรวมพื้นที่ของแปลงสำรวจทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินสองหมื่นตารางกิโลเมตร
เขตพื้นที่แปลงสำรวจที่มิใช่อยู่ในทะเล ให้เป็นไปตามที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่แปลงสำรวจที่มิใช่อยู่ในทะเล จะกำหนดให้มีพื้นที่เกินแปลงละสี่พันตารางกิโลเมตรไม่ได้
เขตพื้นที่แปลงสำรวจในทะเล ให้เป็นไปตามที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เขตพื้นที่แปลงสำรวจในทะเลให้รวมถึงพื้นที่เกาะที่อยู่ในเขตแปลงสำรวจนั้นด้วย
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การให้สัมปทานสำหรับแปลงสำรวจในทะเลที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนดว่าเป็นแปลงสำรวจที่มีน้ำลึกเกินสองร้อยเมตรในกรณีดังกล่าวรัฐมนตรีมีอำนาจให้ผู้ขอรับสัมปทานได้รับสัมปทานตามจำนวนแปลงสำรวจและจำนวนพื้นที่ของแปลงสำรวจทั้งหมดที่รัฐมนตรีพิจารณาเห็นสมควร”
มาตรา ๑๐ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
“ในกรณีที่ปรากฏว่าปริมาณงานตามที่กำหนดไว้ในช่วงข้อผูกพันช่วงหนึ่งๆของสัมปทานไม่เหมาะสมกับสภาพทางธรณีวิทยาของพื้นที่สัมปทาน หรือในกรณีที่มีเทคโนโลยีการสำรวจปิโตรเลียมที่ทันสมัยขึ้น เมื่อผู้รับสัมปทานขอเปลี่ยนแปลงข้อผูกพันด้านปริมาณงาน ให้รัฐมนตรีมีอำนาจอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงข้อผูกพันดังกล่าวได้ตามความเหมาะสมและถ้าการเปลี่ยนแปลงข้อผูกพันนั้นทำให้ผู้รับสัมปทานใช้จ่ายเงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ต้องใช้จ่ายตามข้อผูกพันเดิม ผู้รับสัมปทานต้องจ่ายเงินส่วนที่ลดลงให้แก่กรมทรัพยากรธรณีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีอนุมัติ”
มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๑๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(๑) เมื่อครบสี่ปีนับแต่วันเริ่มระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม ต้องคืนพื้นที่ร้อยละห้าสิบของพื้นที่แปลงสำรวจแปลงนั้น แต่ถ้าเป็นแปลงสำรวจที่กรมทรัพยากรธรณี กำหนดว่าเป็นแปลงสำรวจในทะเลที่มีน้ำลึกเกินสองร้อยเมตรให้คืนพื้นที่ร้อยละสามสิบห้าของพื้นที่แปลงสำรวจแปลงนั้น”
มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๓๙ ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานใช้สิทธิคืนพื้นที่แปลงสำรวจในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองหรือช่วงที่สาม ถ้าเป็นการคืนพื้นที่ทั้งหมดที่เหลืออยู่ของแปลงสำรวจแปลงใดให้ผู้รับสัมปทานพ้นจากข้อผูกพันทั้งหมดสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานยังมิได้ปฏิบัติไปในแปลงสำรวจแปลงนั้น ทั้งนี้เว้นแต่ข้อผูกพันที่กำหนดไว้ในสัมปทานให้ผู้รับสัมปทานต้องปฏิบัติภายในระยะเวลาก่อนการคืนพื้นที่ และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานใช้สิทธิคืนพื้นที่แปลงสำรวจบางส่วนครั้งหนึ่งหรือหลายครั้งในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สอง ให้ผู้รับสัมปทานได้รับการลดหย่อนในการปฏิบัติตามข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมที่ยังคงเหลืออยู่ในแปลงสำรวจแปลงนั้น ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่การคืนพื้นที่นั้นกระทำในระหว่างปีที่สี่ นับแต่วันเริ่มระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้น ถ้าพื้นที่ที่คืนไม่เกินพื้นที่ที่ต้องคืนตามมาตรา ๓๖ ผู้รับสัมปทานไม่มีสิทธิได้รับการลดหย่อนในการปฏิบัติตามข้อผูกพันในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สอง แต่ถ้าพื้นที่ที่คืนครั้งหนึ่งหรือหลายครั้งรวมกันเกินพื้นที่ที่ต้องคืนตามมาตรา ๓๖ แล้ว ให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับการลดหย่อนในการปฏิบัติตามข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองนับแต่วันเริ่มต้นของช่วงข้อผูกพันนั้น ทั้งนี้ ตามอัตราส่วนของพื้นที่ที่คืนแต่ละครั้งเฉพาะส่วนที่เกินพื้นที่ที่ต้องคืนตามมาตรา ๓๖ กับพื้นที่ที่ผู้รับสัมปทานยังถืออยู่ในวันเริ่มต้นของช่วงข้อผูกพันช่วงที่สอง หักด้วยพื้นที่ที่ต้องคืนตามมาตรา ๓๖ หรือตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่ยังเหลืออยู่ในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองนับแต่วันที่มีการคืนแต่ละครั้งกับระยะเวลาทั้งสิ้นของช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองสุดแต่อัตราใดจะน้อยกว่า
(๒) ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานใช้สิทธิคืนพื้นที่หลังจากสิ้นปีที่สี่นับแต่วันเริ่มระยะ เวลาสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้น ให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับการลดหย่อนในการ ปฏิบัติตามข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองนับแต่วันเริ่มต้นของ ปีที่ห้าของระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้น ทั้งนี้ ตามอัตราส่วนของพื้นที่ที่คืน แต่ละครั้ง กับพื้นที่ที่ผู้รับสัมปทานถืออยู่ในวันเริ่มต้นของปีที่ห้า หรือตามอัตราส่วนของระยะเวลา ที่ยังเหลืออยู่ในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองนับแต่วันที่มีการคืนแต่ละครั้ง กับระยะเวลาทั้งสิ้นของช่วง ข้อผูกพันช่วงที่สองนับจากวันเริ่มปีที่ห้าสุดแต่อัตราใดจะน้อยกว่า
ภายใต้บังคับมาตรา ๓๙ ในการใช้สิทธิคืนพื้นที่แปลงสำรวจบางส่วนในช่วง ข้อผูกพันช่วงที่สาม ผู้รับสัมปทานไม่มีสิทธิได้รับการลดหย่อนในการปฏิบัติตามข้อผูกพัน สำหรับ การสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้นในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สาม”
มาตรา14 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔๒ ทวิแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514. (ตัวใหญ่แทนคำเดิม)
"มาตรา ๔๒ ทวิ เมื่อผู้รับสัมปทานได้รับความเห็นชอบของอธิบดี ให้ผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ผลิตตามมาตรา ๔๒ แล้ว ให้ผู้รับสัมปทานยื่นแผนการผลิตในรายละเอียดสำหรับพื้นที่ผลิตดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและผู้รับสัมปทานต้องเริ่มทำการผลิตปิโตรเลียมตามแผนภายในสี่ปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีตามมาตรา ๔๒ ถ้าผู้รับสัมปทานไม่เริ่มทำการผลิตปิโตรเลียมภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมสำหรับพื้นที่ที่ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่ผลิตนั้นสิ้นสุดลง
ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานประสงค์จะขอขยายระยะเวลาเริ่มทำการผลิตปิโตรเลียมออกไปจากกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้รับสัมปทานแจ้งเป็นหนังสือพร้อมด้วยเหตุผลให้อธิบดีทราบล่วงหน้าก่อนสิ้นสุดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งไม่น้อยกว่าหกเดือน ถ้าอธิบดีเห็นว่าการที่ผู้รับสัมปทานไม่สามารถเริ่มทำการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ผลิตนั้นมิใช่ความผิดของผู้รับสัมปทาน ให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจอนุญาตให้ขยายระยะเวลาเริ่มทำการผลิตออกไปได้ตามที่เห็นสมควร แต่การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาเริ่มทำการผลิตปิโตรเลียมให้กระทำได้ไม่เกินคราวละสองปีและให้อนุญาตขยายได้ไม่เกินสองคราวและ โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชน.ในพื้นที่แหล่งพลังงาน หากเป็นในทะเลขอให้เป็นประชาชนทั่วไป
ตลอดระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ผลิต ผู้รับสัมปทานจะต้องทบทวนแผนการผลิตปิโตรเลียมตามวรรคหนึ่ง แล้วแจ้งผลการทบทวนเป็นหนังสือต่ออธิบดี คณะกรรมการ. ทุกปี และถ้าผู้รับสัมปทานประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแผนการผลิตปิโตรเลียม ให้ผู้รับสัมปทานได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อนจึงจะเปลี่ยนแปลงแผนการผลิตปิโตรเลียมได้”
มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๔๕ เมื่อสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงใด และ ผู้รับสัมปทานได้รับสิทธิผลิตปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้นแล้วผู้รับสัมปทานมีสิทธิสงวน พื้นที่ในแปลงสำรวจแปลงนั้นไว้ได้ไม่เกินร้อยละสิบสองครึ่งของพื้นที่เดิมของแปลงสำรวจแปลงนั้น ตามระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานกำหนดแต่ต้องกำหนดไม่เกินห้าปีนับแต่วันสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้น แต่ผู้รับสัมปทานจะคืนพื้นที่แปลงสำรวจที่ขอสงวนไว้นั้นก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
ในการสงวนพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อการสงวนพื้นที่ได้เป็นไปโดยถูกต้องแล้วผู้รับสัมปทานย่อมมีสิทธิสำรวจปิโตรเลียมในพื้นที่ที่สงวนไว้นั้นได้ และให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าสงวนพื้นที่ล่วงหน้าเป็นรายปีตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานพบปิโตรเลียมในเขตพื้นที่ที่สงวนไว้และประสงค์จะผลิตปิโตรเลียม ให้นำมาตรา ๔๒ มาใช้บังคับ”
มาตรา ๑๖ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(๓) ไม่ชำระค่าภาคหลวงหรือผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ”
มาตรา ๑๗ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๒ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
"มาตรา ๕๒ ทวิ ในกรณีที่รัฐมีความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ รัฐบาลอาจขอให้ผู้รับสัมปทานเร่งรัดการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่ผู้รับสัมปทานได้สงวนไว้ตามมาตรา ๔๕ ก็ได้ โดยเสนอแผนการผลิตในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่กำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะตามโครงสร้างของแหล่งปิโตรเลียม
ถ้าพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาไม่เอื้ออำนวย รัฐบาลจะเสนอให้มีการลดหย่อนค่าภาคหลวงตามมาตรา ๙๙ ทวิ และ/หรือ เสนอเพิ่มค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจตามมาตรา ๑๐๐ ฉ (ข) สำหรับพื้นที่นั้นหรือไม่ก็ได้
ถ้าผู้รับสัมปทานไม่สามารถเจรจาทำความตกลงกับรัฐบาลได้ภายในสิบสองเดือนนับแต่วันที่ผู้รับสัมปทานได้รับข้อเสนอจากรัฐบาลตามวรรคหนึ่งและรัฐบาลเห็นว่าการเร่งรัดการผลิตปิโตรเลียมดังกล่าวเป็นความจำเป็นแก่เศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลมีสิทธิแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานทราบว่ารัฐบาลจะเข้าใช้สิทธิประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่นั้นด้วยความเสี่ยงภัยแต่ฝ่ายเดียว
เมื่อรัฐบาลได้แจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบถึงการเข้าใช้สิทธิดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าสิทธิตามสัมปทานของผู้รับสัมปทานเฉพาะในพื้นที่ที่ได้กำหนดขึ้นตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลง และรัฐบาลมีอำนาจมอบหมายให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือผู้หนึ่งผู้ใดเข้าประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าวได้
หากในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าวมีผลกำไรปิโตรเลียมประจำปีตามมาตรา ๑๐๐ จัตวา ของหมวด ๗ ทวิ เกิดขึ้นให้รัฐบาลนำผลกำไรปิโตรเลียมประจำปีดังกล่าวชำระคืนเงินลงทุนอันเป็นรายจ่ายที่ผู้รับสัมปทานได้ใช้จ่ายในพื้นที่ดังกล่าว ให้แก่ผู้รับสัมปทานจนกว่าจะครบจำนวน และในการคำนวณผลกำไรขาดทุนสำหรับการประกอบกิจการ ปิโตรเลียมของรัฐตามมาตรานี้ ให้คำนวณดังเช่นการคำนวณสำหรับการประกอบกิจการปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทานอื่น แต่มิให้มีค่าลดหย่อนพิเศษตามมาตรา ๑๐๐ ตรี (๔) เพื่อนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่าย
ในระหว่างการประกอบกิจการปิโตรเลียมของรัฐบาลตามมาตรานี้ ผู้รับสัมปทานมีสิทธิขอเข้าร่วมทุนกับรัฐบาลได้ โดยใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อกำหนดว่าด้วยการประกอบกิจการปิโตรเลียมโดยการเสี่ยงภัยลงทุนแต่ฝ่ายเดียว ของสัญญาร่วมทุนระหว่างผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยที่ให้ผลดีที่สุดแก่ผู้รับสัมปทาน แต่การขอใช้สิทธิเช่นนั้นจะต้องแจ้งให้รัฐบาลทราบอย่างช้าภายในสามปีนับแต่วันที่รัฐบาลได้เข้าใช้สิทธิประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรานี้
ถ้ารัฐบาลไม่เริ่มต้นประกอบกิจการปิโตรเลียมอย่างจริงจังในพื้นที่ที่กำหนดขึ้นตามวรรคหนึ่งภายในระยะเวลาสองปี นับแต่วันที่สิทธิตามสัมปทานของผู้รับสัมปทานนั้นสิ้นสุดลงตามวรรคสี่ผู้รับสัมปทานมีสิทธิร้องขอให้รัฐบาลคืนสิทธิในพื้นที่ดังกล่าวให้แก่ตนโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อรัฐมนตรีภายในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ครบกำหนดสองปีดังกล่าว และในกรณีที่มีการคืนสิทธิในพื้นที่ ให้ขยายอายุสัมปทานของผู้รับสัมปทานเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับพื้นที่นั้นออกไปเท่ากับระยะเวลาที่รัฐบาลได้เข้าใช้สิทธิตามมาตรานี้ และรัฐบาลมีสิทธิได้รับคืนเงินที่ได้ลงทุนไปในพื้นที่ดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าที่การลงทุนนั้นได้เกิดประโยชน์แก่ผู้รับสัมปทาน"
มาตรา ๒๐ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๗๖ ผู้รับสัมปทานต้องรายงานผลการประกอบกิจการปิโตรเลียมต่อกรมทรัพยากรธรณีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนด
รายงานตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นความลับและมิให้เปิดเผยจนกว่าจะพ้นหนึ่งปี นับแต่วันที่กรมทรัพยากรธรณีได้รับรายงานหรือพึงได้รับรายงานตามวรรคหนึ่งเว้นแต่
(๑) เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติราชการแก่ส่วนราชการหรือบุคคลซึ่งมีหน้าที่ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ
(๒) เป็นการนำข้อสนเทศจากรายงานนั้นไปใช้ในการเรียบเรียงและเผยแพร่รายงานหรือบันทึกทางวิทยาศาสตร์ เทคนิคหรือสถิติ โดยได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้ว ทั้งนี้ ต้องหลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อสนเทศด้านพาณิชย์ให้มากที่สุด หรือ
(๓) ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับสัมปทานให้เปิดเผยได้ แต่การให้หรือไม่ให้ความยินยอมของผู้รับสัมปทานต้องกระทำโดยไม่ชักช้า
ความในวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่รายงานเกี่ยวกับการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ผลิตและรายงานเกี่ยวกับพื้นที่ที่ผู้รับสัมปทานได้คืนพื้นที่แล้วตามมาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๓๗"
มาตรา ๒๑ให้ยกเลิก (๑) ของมาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
มาตรา ๒๒ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียมพ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๑๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๘๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๙ มาตรา ๙๙ ทวิ และมาตรา๙๙ ตรี ให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานผลิตได้ในแต่ละแปลงสำรวจ ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เสียเป็นตัวเงิน ให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงตามมูลค่าปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่ายได้ในเดือนนั้น ในอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราค่าภาคหลวงท้ายพระราชบัญญัตินี้ หรือ
(๒) ในกรณีที่เสียเป็นปิโตรเลียม ให้เสียเป็นปริมาณปิโตรเลียมที่คำนวณเป็นมูลค่าได้เท่ากับจำนวนค่าภาคหลวงที่พึงเสียเป็นตัวเงินตาม (๑) ทั้งนี้ โดยให้คำนวณปิโตรเลียมที่เสียเป็นค่าภาคหลวงรวมเป็นปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่วยด้วย
มูลค่าปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่ายได้ในเดือนนั้นตาม (๑) หมายถึงมูลค่าปิโตรเลียมทั้งสิ้นที่ผู้รับสัมปทานขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียมทุกชนิดในรอบเดือน
สำหรับปิโตรเลียมที่ผลิตได้จากพื้นที่ผลิตในแปลงสำรวจที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนดว่าเป็นแปลงสำรวจในทะเลที่มีน้ำลึกเกินสองร้อยเมตร ให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงเป็นจำนวนร้อยละเจ็ดสิบของจำนวนค่าภาคหลวงที่ต้องเสียตามวรรคหนึ่ง"
มาตรา14 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 99 ทวิแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514. (ตัวใหญ่แทนคำเดิม) "มาตรา ๙๙ ทวิ เพื่อส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการสำรวจและ/หรือพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่บางพื้นที่ภายในแปลงสำรวจหรือในพื้นที่ผลิตของผู้รับสัมปทาน ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาไม่เอื้ออำนวยและไม่อยู่ในแผนการสำรวจหรือแผนการผลิตของผู้รับสัมปทาน ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ มีอำนาจลดหย่อนค่าภาคหลวงให้แก่ผู้รับสัมปทานโดยทำความตกลงกับผู้รับสัมปทานเพื่อให้ผู้รับสัมปทานทำการสำรวจและ/หรือพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ตามแผนซึ่งกรมทรัพยากรธรณีจะได้กำหนดขึ้นตามที่จะได้ตกลงกันและ โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชน. ในพื้นที่แหล่งพลังงาน หากเป็นในทะเลขอให้เป็นประชาชนทั่วไป
ถ้าผู้รับสัมปทานไม่พอใจในผลการประเมินของอธิบดี ให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธิ ร้องขอต่อศาลเพื่อให้กำหนดค่าภาคหลวงใหม่ได้ แต่ต้องร้องขอภายในระยะเวลาไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการประเมินและให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าภาคหลวงได้ตามที่เห็นสมควร ถ้าผู้รับสัมปทานไม่ร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าค่าภาคหลวงเป็นไปตามการประเมินของอธิบดี
ในการให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีเพื่อลดหย่อนค่าภาคหลวงตามวรรคหนึ่ง ให้ คณะกรรมการคำนึงถึงสภาพทางธรณีวิทยาและศักยภาพทางปิโตรเลียมของพื้นที่ดังกล่าว สถิติค่าใช้จ่ายในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาคล้ายคลึงกันความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมภายในประเทศ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในตลาด และผลได้ผลเสียอื่นๆ ของประเทศที่จะได้รับจากการเร่งรัดให้มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม
ค่าภาคหลวงที่จะลดหย่อนตามมาตรานี้ จะต้องเป็นค่าภาคหลวงที่เกิดจากกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานดำเนินการอยู่แล้วในแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิตนั้น หรือเป็นค่าภาคหลวงที่จะเกิดขึ้นจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนดไว้ในแผน และการลดหย่อนดังกล่าวจะต้องไม่เกินร้อยละสามสิบ. ของจำนวนค่าภาคหลวงที่ผู้รับสัมปทานพึงต้องเสียสำหรับปิโตรเลียมทั้งหมดที่ผลิตได้ในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิตที่อยู่ในแปลงสำรวจนั้น หรือไม่เกินร้อยละสามสิบของจำนวนค่าภาคหลวงที่จะเกิดจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนด แล้วแต่กรณี โดยระยะเวลาที่ได้รับลดหย่อนจะต้องไม่เกินสี่ปีนับแต่วันที่ได้ ทำความตกลงหรือนับแต่วันที่อธิบดีได้ให้ความเห็นชอบในการกำหนดพื้นที่ผลิตตามมาตรา ๔๒ สำหรับพื้นที่ผลิตแต่ละแห่งที่อยู่ในพื้นที่ที่กำหนดในแผนของกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี และในความตกลงกับผู้รับสัมปทานดังกล่าว จะมีเงื่อนไขหรือมีข้อกำหนดอย่างใดๆ ตามควรแก่กรณีก็ได้
มาตรา ๙๙ ตรี ในพื้นที่ที่สภาพทางธรณีวิทยาบ่งชี้ว่าการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่นั้นจำเป็นต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมาก รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการอาจให้สัมปทาน สำหรับพื้นที่ดังกล่าวโดยลดหย่อนค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมที่เริ่มผลิตขึ้นมาจากพื้นที่นั้นตามจำนวนปิโตรเลียมที่จะกำหนดไว้ในสัมปทานก็ได้ แต่พื้นที่ที่กำหนดให้สัมปทานดังกล่าวจะต้องมีขนาดไม่เกินสองร้อยตารางกิโลเมตรและค่าภาคหลวงที่จะลดหย่อนต้องไม่เกินกว่าร้อยละสามสิบของจำนวนค่าภาคหลวงที่จะพึงเสียโดยระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับลดหย่อนค่า ภาคหลวงจะต้องไม่เกินสามปีนับแต่วันที่อธิบดีได้ให้ความเห็นชอบในการกำหนดพื้นที่ผลิตตามมาตรา ๔๒ สำหรับพื้นที่ผลิตแต่ละแห่ง
ในการให้คำแนะนำของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้นำหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๙๙ ทวิ วรรคสอง มาใช้บังคับ และในการให้สัมปทานตามมาตรานี้มิให้นับรวมเป็นจำนวนแปลงสำรวจหรือเป็นพื้นที่ของแปลงสำรวจตามข้อจำกัดของการให้สัมปทานตามมาตรา ๒๘
การเปิดให้สัมปทานตามวรรคหนึ่ง ให้กรมทรัพยากรธรณีกำหนดข้อผูกพันในด้านปริมาณเงินและ/หรือปริมาณงานขั้นต่ำสำหรับการสำรวจปิโตรเลียม ที่ผู้ขอสัมปทานจะต้องปฏิบัติหากได้รับสัมปทานจากรัฐบาล โดยได้รับการลดหย่อนค่าภาคหลวงตามมาตรานี้"
มาตรา ๑๐๐ ทวิ ในหมวดนี้
"รายได้ปิโตรเลียม" หมายความว่า รายได้ของผู้รับสัมปทานที่เกิดจากแปลง สำรวจแต่ละแปลง ทั้งนี้ เฉพาะรายได้ตามรายการที่กำหนดในมาตรา ๑๐๐ตรี (๑)
"รายจ่ายปิโตรเลียมที่เป็นทุน" หมายความว่า รายจ่ายที่เป็นทุนที่ผู้รับสัมปทานได้ใช้จ่ายลงทุนไปในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแต่ละแปลงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา ๑๐๐ ตรี (๒)
"รายจ่ายปิโตรเลียมตามปกติและจำเป็น" หมายความว่า รายจ่ายตามปกติและจำเป็นที่ผู้รับสัมปทานได้ใช้จ่ายไปในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแต่ละแปลง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา ๑๐๐ ตรี (๓) แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยรายจ่ายที่เป็นทุนและเงินที่ได้ชำระเป็นผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ถ้ามี
"ค่าลดหย่อนพิเศษ" หมายความว่า จำนวนเงินลดหย่อนที่รัฐบาลกำหนดตามมาตรา ๑๐๐ ตรี (๔) สำหรับแปลงสำรวจแต่ละแปลง"
มาตรา ๑๐๐ ตรี รายได้ปิโตรเลียม รายจ่ายปิโตรเลียมที่เป็นทุน รายจ่ายปิโตรเลียมตามปกติและจำเป็น และค่าลดหย่อนพิเศษในหมวดนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) รายได้ปิโตรเลียม หมายความเฉพาะจำนวนรวมของรายได้ตามรายการ ดังต่อไปนี้
(ก) ยอดเงินได้จากการขายปิโตรเลียม
(ข) มูลค่าของปิโตรเลียมที่จำหน่าย
(ค) มูลค่าของปิโตรเลียมที่ส่งชำระเป็นค่าภาคหลวง
(ง) ยอดเงินได้เนื่องจากการโอนทรัพย์สินหรือสิทธิใด ๆ อันเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียม
มูลค่าของปิโตรเลียมตาม (ข) และ (ค) ให้คำนวณตามมาตรา ๘๕ และในกรณี ที่มีการโอนสัมปทานตามมาตรา ๔๘ ยอดเงินได้เนื่องจากการโอนทรัพย์สินหรือสิทธิใด ๆ ตาม (ง) ต้องไม่ต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีครั้งสุดท้ายของบริษัทผู้โอนในวันที่การโอนมีผล
(๒) รายจ่ายปิโตรเลียมที่เป็นทุน ได้แก่ รายจ่ายที่เป็นทุนตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(๓) รายจ่ายปิโตรเลียมตามปกติและจำเป็น ได้แก่ รายจ่ายตามปกติและจำเป็นตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยรายจ่ายที่เป็นทุนและเงินที่ชำระเป็นผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ถ้ามี รายจ่ายปิโตรเลียมตามปกติและจำเป็นจะต้องเป็นรายจ่ายที่ผู้รับสัมปทานสามารถพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจแก่อธิบดีว่าเป็นรายจ่ายตามปกติและจำเป็นในการประกอบกิจการปิโตรเลียมตามปกติวิสัย
(๔) ค่าลดหย่อนพิเศษ ได้แก่ จำนวนเงินที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเป็นครั้งคราวในขณะที่ให้สัมปทาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เงินจำนวนนี้ รัฐบาลยินยอมให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธินำมาคำนวณรวมกับรายจ่ายในลักษณะที่เสมือนเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนของแปลงสำรวจแต่ละแปลง เพื่อนำมาหักออกจากรายได้ปิโตรเลียมอันจะเป็นการลดผลกำไรของผู้รับสัมปทานในการเสียผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษให้แก่รัฐบาลตามหมวดนี้ค่าลดหย่อนพิเศษเป็นมาตรการสำหรับชักจูงให้มีการลงทุนเพื่อประกอบกิจการปิโตรเลียมในประเทศไทย โดยรัฐบาลจะกำหนดจำนวนโดยคำนึงถึงสภาวะการแข่งขันในการลงทุนระหว่างประเทศ
ในกรณีที่รายได้หรือรายจ่ายตามมาตรานี้เกี่ยวพันกับแปลงสำรวจหลายแปลง และไม่สามารถแบ่งแยกกันได้โดยชัดแจ้ง ให้คำนวณรายได้หรือรายจ่ายของแปลงสำรวจแต่ละแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๐๐ จัตวา ให้คำนวณกำไรขาดทุนสำหรับการประกอบกิจการปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแต่ละแปลง เป็นรายปีตามรอบระยะเวลาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และรายได้ปิโตรเลียมเมื่อได้หักผลบวกของรายจ่ายปิโตรเลียมที่เป็นทุน รายจ่ายปิโตรเลียมตามปกติและจำเป็นและค่าลดหย่อนพิเศษแล้ว ผลอันนี้ย่อมเป็น "ผลกำไรปิโตรเลียมประจำปี" หรือ "ผลขาดทุนปิโตรเลียมประจำปี" แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่มี "ผลกำไรปิโตรเลียมประจำปี" ให้นำ "ผลขาดทุนปิโตรเลียมประจำปี" ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันไปหักลดหย่อนได้และถ้าหากยังมีผลขาดทุนปิโตรเลียมประจำปีคงเหลือเป็นจำนวนเท่าใดก็ให้นำไปหักลดหย่อนในรอบระยะเวลาบัญชีต่อๆ ไปได้เพียงเท่าจำนวนที่เหลืออยู่
ในรอบระยะเวลาบัญชีใด การประกอบกิจการปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงใดมี "ผลกำไรปิโตรเลียมประจำปี" ให้ผู้รับสัมปทานเสียผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษให้แก่รัฐบาล ตามบทบัญญัติในหมวดนี้
มาตรา15 ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. ๒๕50 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน (ตัวใหญ่แทนคำเดิม)
"มาตรา ๙๙ ทวิ เพื่อส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่บางพื้นที่ภายในแปลงสำรวจหรือในพื้นที่ผลิตของผู้รับสัมปทาน ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาไม่เอื้ออำนวยหรือที่มีพลังผลิตของพื้นที่ลดลง และไม่อยู่ในแผนการสำรวจหรือแผนการผลิตของผู้รับสัมปทานให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจลดหย่อนค่าภาคหลวง ให้แก่ผู้รับสัมปทานโดยทำความตกลงกับผู้รับสัมปทานเพื่อให้ผู้รับสัมปทานทำการสำรวจและ พัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ตามแผนซึ่งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะได้กำหนดขึ้น
ในการให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีเพื่อลดหย่อนค่าภาคหลวงตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการคำนึงถึงสภาพทางธรณีวิทยาและศักยภาพทางปิโตรเลียมของพื้นที่ดังกล่าว สถิติค่าใช้จ่ายในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน ความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมภายในประเทศ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในตลาด และผลได้ผลเสียอื่นๆ ของประเทศที่จะได้รับจากการเร่งรัดให้มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม
ค่าภาคหลวงที่จะลดหย่อนตามมาตรานี้ จะต้องเป็นค่าภาคหลวงที่เกิดจากกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานดำเนินการอยู่แล้วในแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิตนั้น หรือเป็นค่าภาคหลวงที่จะเกิดขึ้นจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดไว้ในแผน และการลดหย่อนดังกล่าวจะต้องไม่เกินร้อยละเก้าสิบ สามสิบ. ของจำนวนค่าภาคหลวงที่ผู้รับสัมปทานพึง ต้องเสียสำหรับปิโตรเลียมทั้งหมดที่ผลิตได้ในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิตที่อยู่ในแปลงสำรวจนั้น หรือไม่เกินร้อยละเก้าสิบของจำนวนค่าภาคหลวงที่จะเกิดจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรม เชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดโดยระยะเวลาที่ได้รับลดหย่อนจะต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ทำความตกลงหรือวันที่เริ่มผลิต และในความตกลงกับผู้รับสัมปทานดังกล่าวจะมีเงื่อนไขหรือมีข้อกำหนดอย่างใดๆ ก็ได้"
าตรา ๑๐๐ เบญจ ให้เรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจากผลกำไรปิโตรเลียมประจำปี ในอัตราที่กำหนดจาก "ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร" โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่ไม่เกิน ๔,๘๐๐ บาท ไม่ต้องเสียผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ
(๒) ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่เกิน ๔,๘๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๑๔,๔๐๐ บาท ให้เรียกเก็บในอัตราร้อยละ ๑. 70 ของ ๒๔๐บาทแรก และให้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ ๑ ต่อทุกๆ ๒๔๐ บาท เศษของ ๒๔๐ บาท ให้ถือเป็น ๒๔๐ บาท
(๓) ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่เกิน ๑๔,๔๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๓๓,๖๐๐ บาท ให้เรียกเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ ๑ ต่อทุกๆ๙๖๐ บาท เศษของ ๙๖๐ บาท ให้ถือเป็น ๙๖๐ บาท
(๔) ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่เกิน ๓๓,๖๐๐ บาท ขึ้นไป ให้เรียกเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ ๑ ต่อทุกๆ ๓,๘๔๐ บาท เศษของ ๓,๘๔๐ บาท ให้ถือเป็น ๓,๘๔๐ บาท
แต่ทั้งนี้ จะเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษเกินร้อยละ ๗๕ 80. ของผลกำไรปิโตรเลียมในแต่ละปีไม่ได้
มาตรา ๑๐๐ ฉ "ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร" คือจำนวนรายได้ปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทานที่เกิดจากแปลงสำรวจในรอบปี หารด้วยผลบวกของความลึกสะสมรวมของหลุมเจาะปิโตรเลียมทั้งหมดซึ่งผู้รับสัมปทานได้ลงทุนเจาะไปแล้วในแปลงสำรวจนั้นกับ "ค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ"
การกำหนดค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตรตามมาตรานี้มีความมุ่งหมายเพื่อให้เกิดสัดส่วน ระหว่างรายได้ของผู้รับสัมปทานที่ได้มาจากปิโตรเลียมที่ผลิตในแปลงสำรวจ กับความพยายามในการลงทุนของผู้รับสัมปทานและสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจนั้น
การคำนวณ "ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร" ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(ก) รายได้ปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทานในแปลงสำรวจในรอบปีให้นำมาคำนวณเฉพาะรายการตามมาตรา ๑๐๐ ตรี (๑) (ก) (ข) (ค) และให้ปรับมูลค่าด้วยค่าเงินเฟ้อและค่าการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
(ข) "ค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ" หมายความถึงจำนวนความลึกเป็นเมตรของหลุมเจาะปิโตรเลียมในแปลงสำรวจที่รัฐบาลยินยอมให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธินำมาใช้เป็นเกณฑ์คำนวณเพื่อลดการเสียผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษค่าคงที่ดังกล่าวนี้ รัฐมนตรีจะได้ประกาศกำหนดในการเปิดให้สัมปทานและระบุไว้ในสัมปทาน โดยคำนึงถึงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ และสถิติค่าใช้จ่ายในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาคล้ายคลึงกับแปลงสำรวจที่เกี่ยวข้อง ประกาศค่าคงที่ดังกล่าวจะกำหนดเงื่อนไขสำหรับการเพิ่มค่าคงที่ในกรณีโครงสร้างที่มีสภาพทางธรณีวิทยาที่ไม่เอื้ออำนวยไว้ด้วยก็ได้
(ค) ความลึกสะสมรวมของหลุมเจาะปิโตรเลียมทั้งหมดซึ่งผู้รับสัมปทานได้เจาะในแปลงสำรวจ ได้แก่ ผลรวมของความลึกเป็นเมตรตามแนวหลุมของหลุมเจาะปิโตรเลียมทุกหลุมซึ่งผู้รับสัมปทานได้เจาะในแปลงสำรวจนั้น ตั้งแต่เริ่มต้นประกอบกิจการปิโตรเลียม จนถึงวันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้โดยให้รวมความลึกของหลุมเจาะที่ผู้รับสัมปทานได้เจาะตามวิธีการสำรวจ อนุรักษ์และผลิตปิโตรเลียมที่ดี แม้ว่าจะไม่มีการผลิตปิโตรเลียมจากหลุมดังกล่าว แต่ไม่ให้รวมหลุมเจาะที่ได้มีการผลิตปิโตรเลียมไปแล้วเป็นปริมาณเกินกว่าหนึ่งแสนบาเรลและเป็นหลุมเจาะที่ผู้รับสัมปทานได้ทำการสละหลุมนั้นแล้ว
มาตรา16ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2532(ตัวใหญ่แทนคำเดิม) มาตรา 35 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานได้รับความยินยอมจากรัฐมนตรีตามมาตรา ๓๖ โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชน. ในพื้นที่แหล่งพลังงาน หากเป็นในทะเลขอให้เป็นประชาชนทั่วไป บรรดาบทบัญญัติทั้งหลายนอกจากบทบัญญัติว่าด้วยค่าธรรมเนียมอันเป็นค่ารังวัดและค่าหลักเขตบนพื้นดินแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่ผู้รับสัมปทานสำหรับสัมปทานที่ได้ออกให้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ยังคงใช้บังคับต่อไปสำหรับผู้รับสัมปทานดังกล่าว
มาตรา ๓๖ ผู้ที่ได้รับสัมปทานอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีสิทธิยื่นคำขอเพื่อให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่แปลงสำรวจที่ยังมิได้มีการผลิตและขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียมก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับได้ การยื่นคำขอให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ และในการนี้ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ พร้อมทั้งบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๒ มาใช้บังคับกับแปลงสำรวจนั้นทุกมาตรา เว้นแต่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม ขนาดพื้นที่แปลงสำรวจตามสัมปทานและการคืนพื้นที่ โดยให้ผู้รับสัมปทานยังคงมีสิทธิเช่นเดิม ตามมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๖ และมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
การยื่นหนังสือตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อได้ยื่นคำขอต่ออธิบดีแล้ว ให้ผู้รับสัมปทานทำความตกลงกับรัฐบาลเกี่ยวกับการกำหนดค่าลดหย่อนพิเศษและการแสดงรายการเกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษตามบทบัญญัติในหมวด ๗ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ โดยดำเนินการตามระเบียบที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนดในการดำเนินการทำความตกลงดังกล่าว ให้ผู้รับสัมปทานทำความตกลงเบื้องต้นกับกรมทรัพยากรธรณีให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคำขอ ถ้าไม่สามารถทำความตกลงเบื้องต้นดังกล่าวได้ภายในกำหนดเวลา ให้ถือว่าคำขอนั้นไม่มีผลเว้นแต่รัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้ขยายเวลาออกไปได้ตามความจำเป็นแต่ต้องไม่เกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ยื่นคำขอ
ความตกลงกับรัฐบาลจะมีผลต่อเมื่อรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีให้ความยินยอมแก่ผู้รับสัมปทานที่ได้ยื่นคำขอตามมาตรานี้ และเมื่อรัฐมนตรีให้ความยินยอมแล้วให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานทราบ
ให้แปลงสำรวจในสัมปทานที่ผู้รับสัมปทานได้ขอใช้สิทธิและได้รับความยินยอม จากรัฐมนตรีตามมาตรานี้ อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้กับพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๒ ตั้งแต่วันที่ผู้รับสัมปทานได้รับหนังสือแจ้งความยินยอมของรัฐมนตรีตามวรรคสาม โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชน. ในพื้นที่แหล่งพลังงาน หากเป็นในทะเลขอให้เป็นประชาชนทั่วไป และให้สัมปทานเดิมของผู้รับสัมปทานยังคงใช้บังคับได้ไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะได้มีการออกสัมปทานปิโตรเลียมเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ต่อไปและในกรณีที่ผู้รับสัมปทานที่ยื่นคำขอเป็นผู้ที่ได้รับสัมปทานในแปลงสำรวจบนบกในระหว่างวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ ถึงวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้รับสัมปทานดังกล่าวพ้นจากเงื่อนไขการชำระผลประโยชน์รายปีและโบนัสรายปีตามที่กำหนดในสัมปทาน
การเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่ของผู้รับสัมปทานตามพระราชบัญญัตินี้ย่อมไม่กระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนใดๆ ที่ผู้รับสัมปทานได้เสียหรือจะต้องเสียให้แก่รัฐบาลตามที่กำหนดไว้ในสัมปทานเดิม ก่อนวันที่สัมปทานเดิมจะสิ้นสุดลงตามวรรคสี่ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้รับสัมปทานในอันที่จะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากรัฐบาล
มาตรา ๓๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
นส ยิ่งลักษณ์ ชิณวัตร.
นายกรัฐมนตรี
ประชาชนถูกหลอกหรือรัฐบาลถูกหลอกกันแน่
หมายเหตุ: เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ด้วยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันหลายประการ เนื่องจากในขณะที่ตราพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับปิโตรเลียมในประเทศไทยไม่มากนัก แต่หลังจากนั้นได้มีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมากขึ้นและได้ข้อมูลทางธรณีวิทยาของประเทศมากขึ้นจนอาจบ่งชี้ได้ว่า แหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทยส่วนใหญ่น่าจะมีขนาดเล็ก (Marginal field)นอกจากนี้ สภาพการณ์เกี่ยวกับปิโตรเลียมในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมากทั้งในด้านแหล่งปิโตรเลียมที่ค้นพบใหม่ในภูมิภาคเดียวกันกับประเทศไทย และในด้านราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำลง เป็นเหตุให้การลงทุนสำหรับการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมภายในประเทศไม่ขยายตัวเท่าที่ควร. ดังนั้น เพื่อจูงใจให้การสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องอันจะช่วยให้การนำทรัพยากรปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ได้ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ตลอดจนเพื่อปรับปรุงแก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งปรับปรุงมาตรการในการเร่งรัดการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ด้วยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันหลายประการ เนื่องจากในขณะที่ตราพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับปิโตรเลียมในประเทศไทยไม่มากนัก แต่หลังจากนั้นได้มีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมากขึ้นและได้ข้อมูลทางธรณีวิทยาของประเทศมากขึ้นจนอาจบ่งชี้ได้ว่า แหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทยส่วนใหญ่น่าจะมีขนาดเล็ก (Marginalfield) นอกจากนี้สภาพการณ์เกี่ยวกับปิโตรเลียมในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมากทั้งในด้านแหล่งปิโตรเลียมที่ค้นพบใหม่ในภูมิภาคเดียวกันกับประเทศไทยและในด้านราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำลง เป็นเหตุให้การลงทุนสำหรับการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมภายในประเทศไม่ขยายตัวเท่าที่ควร. (ข้อูลนี้ไม่ถูกต้อง). ดังนั้น เพื่อจูงใจให้การสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องอันจะช่วยให้การนำทรัพยากรปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ได้ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ตลอดจนเพื่อปรับปรุงแก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งปรับปรุงมาตรการในการเร่งรัดการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๕)พ.ศ. ๒๕๓๔
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้ยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทน สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อให้ผู้รับสัมปทานที่เคยได้รับยกเว้นภาษีการค้า ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแทน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
*พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมพ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๗๗ ในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้แก้ไขคำว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน” คำว่า “ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม” เป็น “ปลัดกระทรวงพลังงาน” คำว่า “กรมทรัพยากรธรณี” เป็น “กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ” และคำว่า “อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี” เป็น “อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ”
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้นเพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๐
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๐"
มาตรา ๓ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการปิโตรเลียม" ประกอบด้วยปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมสรรพากร เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทน กระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินห้าคนซึ่งคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในสาขาธรณีวิทยา วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงินกฎหมาย หรือสาขาอื่นอันจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการปิโตรเลียม ซึ่งเสนอชื่อโดยภาคประชาสังคม ตัวแทนภาคประชาสังคม 5คน. เป็นกรรมการวิธีการได้มาให้ภาคประชาสังคมเลือกกันเองจากตัวแทนภาคประชาสังคมมี่มีผลงานกว่าสิบปี ไม่มีประวัติิเสื่อมเสีย
เป็นกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นข้าราชการในส่วนราชการที่มีกรรมการโดยตำแหน่งสังกัดอยู่
ให้อธิบดีเป็นกรรมการและเลขานุการ และอธิบดีจะแต่งตั้งข้าราชการในกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
มาตรา ๑๖ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
“จำหน่าย” หมายความว่า
(๑) ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีตามมาตรา ๒๒
(๒) ให้ความเห็นชอบแก่อธิบดีตามมาตรา ๒๒/๑
(๓) ทำความตกลงราคาขายก๊าซธรรมชาติในราชอาณาจักรตามมาตรา ๕๘
(๔) อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามมาตรา ๖๕
(๕) มีคำสั่งเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา ๖๙
(๖) มีคำสั่งเกี่ยวกับการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์โดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๗๐
(๗) ดำเนินการอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่รัฐมนตรี มอบหมายหรือตามที่กฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ"
มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๖/๑ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
“มาตรา ๑๖/๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๕) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิก สภาท้องถิ่นผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งรับผิดชอบในการบริหารพรรค การเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
(๖) ไม่เป็นกรรมการ หรือผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการจัดการหรือมีส่วนได้เสียในนิติบุคคลหรือองค์กรที่ดำเนินธุรกิจหรือดำเนินกิจการด้านปิโตรเลียม และไม่ประกอบอาชีพหรือ วิชาชีพอื่นใดที่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ขัดแย้งกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการ"
ไม่มีส่วนได้เสียในด้่นพลังงานใดๆ
มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๑๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
มาตรา ๑๘ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่หรือหย่อนความสามารถ
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖/๑
เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงก่อนวาระ ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิก็ได้ ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว"
มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๒๒ รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ. โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชน. ในพื้นที่แหล่งพลังงาน หากเป็น มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้สัมปทานตามมาตรา ๒๓
(๒) ต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมตามมาตรา ๒๕
(๓) ต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามมาตรา ๒๖
(๔) อนุมัติให้เปลี่ยนแปลงปริมาณงานตามมาตรา ๓๐
(๕) อนุมัติให้โอนข้อผูกพันระหว่างแปลงสำรวจตามมาตรา ๓๓
(๖) อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานรับบริษัทอื่นเข้าร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา ๔๗
(๗) อนุญาตให้โอนสัมปทานตามมาตรา ๕๐
(๘) เพิกถอนสัมปทานตามมาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๓
(๙) แจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบว่ารัฐบาลจะเข้าใช้สิทธิประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งด้วยความเสี่ยงภัยแต่ฝ่ายเดียวตามมาตรา ๕๒ ทวิ
(๑๐) สั่งให้ผู้รับสัมปทานจัดหาปิโตรเลียมเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามมาตรา ๖๐
(๑๑) ประกาศห้ามส่งปิโตรเลียมออกนอกราชอาณาจักรตามมาตรา ๖๑
(๑๒) สั่งให้ผู้รับสัมปทานร่วมกันผลิตปิโตรเลียมตามมาตรา ๗๒
(๑๓) สั่งให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียมตามมาตรา ๘๓
(๑๔) อนุมัติให้ชำระค่าภาคหลวงเป็นเงินตราสกุลต่างประเทศตามมาตรา ๘๗
(๑๕) ลดหย่อนค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมตามมาตรา ๙๙ ทวิ และมาตรา ๙๙ ตรี
(๑๖) กำหนดค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจตามมาตรา ๑๐๐ ฉ
การดำเนินการตาม (๑) (๓) (๗) หรือ (๑๕) ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี"
มาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๒/๑ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
"มาตรา ๒๒/๑ อธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชน. ในพื้นที่แหล่งพลังงานหากเป็น มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ขยายอายุสัมปทานตามมาตรา ๒๗
(๒) อนุมัติการกำหนดพื้นที่ผลิตตามมาตรา ๔๒
(๓) อนุญาตให้ขยายระยะเวลาเริ่มผลิตตามมาตรา ๔๒ ทวิ
(๔) มอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าดำเนินการบำบัดปัดป้องความโสโครกอัน เนื่องจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมแทนหรือร่วมกับผู้รับสัมปทานตามมาตรา ๗๕
(๕) ให้ความเห็นชอบแผนงานและประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าดำเนินการรื้อถอนแทนหรือร่วมกับผู้รับสัมปทานตามมาตรา ๘๐/๑"
มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๒๗ ในกรณีที่การสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมหรือการเก็บรักษาหรือขนส่ง ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่กระทบกระเทือนต่อการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงใด ต้องหยุดชะงักลงเป็นส่วนใหญ่เพราะเหตุที่มิใช่ความผิดของผู้รับสัมปทาน ถ้าผู้รับสัมปทาน ประสงค์จะขอขยายอายุสัมปทาน ให้แจ้งต่ออธิบดีคณะกรรมการภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ทราบถึงเหตุที่มิใช่ ความผิดของผู้รับสัมปทานนั้น ในกรณีเช่นนี้ให้อธิบดีคณะกรรมการขยายอายุสัมปทานในส่วนที่เกี่ยวกับแปลง สำรวจแปลงนั้นออกไปเท่ากับระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานสามารถพิสูจน์ได้ว่าการสำรวจหรือผลิต ปิโตรเลียมต้องหยุดชะงักลงเพราะเหตุที่มิใช่ความผิดของผู้รับสัมปทาน"
มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๒๘ ในการให้สัมปทาน ให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดเขตพื้นที่แปลงสำรวจโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เขตพื้นที่แปลงสำรวจที่มิใช่อยู่ในทะเล ให้กำหนดพื้นที่ได้ไม่เกินแปลงละสี่พันตารางกิโลเมตร
เขตพื้นที่แปลงสำรวจในทะเล ให้รวมถึงพื้นที่เกาะที่อยู่ในเขตแปลงสำรวจนั้นด้วย"
มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๑๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๓๓ การโอนข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจ ระหว่างแปลงหนึ่งกับอีกแปลงหนึ่งจะกระทำได้เมื่อมีเหตุอันสมควร และได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีคณะกรรมการแล้ว"
มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
nbsp; "มาตรา ๔๒ ก่อนผลิตปิโตรเลียมจากที่ใดที่หนึ่งในแปลงสำรวจ ผู้รับสัมปทาน ต้องแสดงว่าได้พบหลุมปิโตรเลียมที่มีสมรรถนะเชิงพาณิชย์และได้กำหนดพื้นที่ผลิตถูกต้องแล้ว และเมื่อได้รับอนุมัติจากอบิดณะกรรมการแล้วจึงจะผลิตปิโตรเลียมจากพื้นที่ผลิตนั้นได้"
"มาตรา ๕๑ รัฐมนตรีมีอำนาจเพิกถอนสัมปทาน เมื่อผู้รับสัมปทาน
(๑) ไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมตามที่กำหนดในสัมปทานตามมาตรา ๓๐
(๒) ไม่วางหลักประกันหรือวางหลักประกันไม่ครบจำนวนตามมาตรา ๘๐/๒
(๓) ไม่ชำระค่าภาคหลวงตามหมวด ๗ หรือผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษตามหมวด ๗ ทวิ
(๔) ไม่ชำระภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(๕) ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานปิโตรเลียมที่ดี
(๖) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัมปทานว่าเป็นเหตุเพิกถอนสัมปทานได้"
มาตรา ๑๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๔)พ.ศ. ๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๙๙ ทวิ เพื่อส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่บางพื้นที่ภายในแปลงสำรวจหรือในพื้นที่ผลิตของผู้รับสัมปทาน ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาไม่เอื้ออำนวยหรือที่มีพลังผลิตของพื้นที่ลดลง และไม่อยู่ในแผนการสำรวจหรือแผนการผลิตของผู้รับสัมปทานให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจลดหย่อนค่าภาคหลวง ให้แก่ผู้รับสัมปทานโดยทำความตกลงกับผู้รับสัมปทานเพื่อให้ผู้รับสัมปทานทำการสำรวจและ พัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ตามแผนซึ่งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะได้กำหนดขึ้น
ในการให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีเพื่อลดหย่อนค่าภาคหลวงตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการคำนึงถึงสภาพทางธรณีวิทยาและศักยภาพทางปิโตรเลียมของพื้นที่ดังกล่าว สถิติค่าใช้จ่ายในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน ความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมภายในประเทศ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในตลาด และผลได้ผลเสียอื่นๆ ของประเทศที่จะได้รับจากการเร่งรัดให้มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม
ค่าภาคหลวงที่จะลดหย่อนตามมาตรานี้ จะต้องเป็นค่าภาคหลวงที่เกิดจากกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานดำเนินการอยู่แล้วในแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิตนั้น หรือเป็นค่าภาคหลวงที่จะเกิดขึ้นจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดไว้ในแผน และการลดหย่อนดังกล่าวจะต้องไม่เกินร้อยละเก้าสิบ สามสิบ. ของจำนวนค่าภาคหลวงที่ผู้รับสัมปทานพึง ต้องเสียสำหรับปิโตรเลียมทั้งหมดที่ผลิตได้ในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิตที่อยู่ในแปลงสำรวจนั้น หรือไม่เกินร้อยละเก้าสิบของจำนวนค่าภาคหลวงที่จะเกิดจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรม เชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดโดยระยะเวลาที่ได้รับลดหย่อนจะต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ทำความตกลงหรือวันที่เริ่มผลิต และในความตกลงกับผู้รับสัมปทานดังกล่าวจะมีเงื่อนไขหรือมีข้อกำหนดอย่างใดๆ ก็ได้"
มาตรา ๒๐ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งและวรรคสองของมาตรา ๙๙ ตรี แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๙๙ ตรี ในพื้นที่ที่สภาพทางธรณีวิทยาบ่งชี้ว่าการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ นั้นจำเป็นต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากหรือการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่นั้นไม่อาจดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชน. ในพื้นที่แหล่งพลังงานหากเป็นในพื้นที่ทะเลให้เป็นประชาชนทั่วไป. อาจให้สัมปทานสำหรับพื้นที่ดังกล่าวโดยลดหย่อนค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมที่เริ่มผลิตขึ้นมาจากพื้นที่นั้นตามจำนวนปิโตรเลียมที่จะ กำหนดไว้ในสัมปทานก็ได้แต่พื้นที่ที่กำหนดให้สัมปทานดังกล่าวจะต้องมีขนาดไม่เกินสองร้อย ตารางกิโลเมตร และค่าภาคหลวงที่จะลดหย่อนต้องไม่เกินกว่าร้อยละเก้าสิบของจำนวน ค่าภาคหลวงที่จะพึงเสีย โดยระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับลดหย่อนค่าภาคหลวงจะต้องไม่ เกินห้าปีนับแต่วันที่เริ่มผลิตปิโตรเลียมจากพื้นที่ผลิตในการให้สัมปทานตามมาตรานี้จะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดๆ ก็ได้
ในการให้คำแนะนำของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้นำหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๙๙ ทวิวรรคสอง มาใช้บังคับ"
มาตรา ๒๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐๔ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๑๐๔ ผู้รับสัมปทานผู้ใดผลิตปิโตรเลียมโดยมิได้รับอนุมัติจากอธิบดี ตามมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท"
มาตรา ๒๒ ให้คณะกรรมการปิโตรเลียมตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมี การแต่งตั้งคณะกรรมการปิโตรเลียมขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๓ บรรดากฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง เงื่อนไข หรือข้อผูกพันที่ออกหรือกำหนดตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง เงื่อนไข หรือข้อผูกพันที่ออกหรือกำหนดตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสม โดยข้อเท็จจริงที่แหล่งปิโตรเลียมในประเทศส่วนใหญ่เป็นแหล่งขนาดเล็ก หรือมีสภาพทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อน ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงมากและแหล่งปิโตรเลียมหลายแหล่งเริ่มมีกำลังการผลิตลดต่ำลง ทำให้ผู้ประกอบการปิโตรเลียมมีความเสี่ยงในการลงทุนสูง ไม่จูงใจผู้ประกอบการให้ทำการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมเพิ่มเติมจากแหล่งปิโตรเลียมในสัมปทานทำให้ประเทศเสียโอกาสทางเศรษฐกิจในการนำทรัพยากรปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ กฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมในปัจจุบันไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนอีกทั้งการพิจารณาอนุมัติและอนุญาตของรัฐเกี่ยวกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีกระบวนการหลายขั้นตอน ตลอดจนในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเดียวกันและใกล้เคียงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในประเทศของตน เพื่อดึงดูดนักลงทุนซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการปิโตรเลียมข้ามชาติกลุ่มเดียวกัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีความคล่องตัวในการดำเนินการ และสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุนี้ตรงข้ามกับความจริงทั้งสิ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น