ประสบการณ์จากกรณี ปตท. แปรรูป...ประชาชนได้อะไร?
กลุ่มพลังไท/กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต - [ 1 เม.ย. 48, 14:39 น. ]
กลุ่มพลังไท/กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต - [ 1 เม.ย. 48, 14:39 น. ]
โครงสร้างธุรกิจของบริษัท ปตท.
ธุรกิจของบริษัท ปตท. แบ่งออกเป็น 3 ธุรกิจหลัก คือ 1. ธุรกิจน้ำมัน 2. ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ และ 3. ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น โดยรายได้ส่วนใหญ่ของปตท. มาจากธุรกิจน้ำมัน แต่ส่วนที่เป็นกำไรหลักจริงๆ นั้น มาจากธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ในปี 2547 ปตท.มีรายได้จากการขายรวมทั้งสิ้น 644,673 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้แบ่งเป็นรายได้จากน้ำมัน 66% จากก๊าซธรรมชาติ 30% และอีก 4% จากปิโตรเคมี แต่หากดูที่กำไรก่อนหักภาษี (EBITDA) ซึ่งมีตัวเลขสูงถึง 79,264 ล้านบาทในปี 2547 จะเห็นว่า กำไรที่ได้นี้ เกินกว่า 90% มาจากส่วนของธุรกิจก๊าซธรรมชาติ
ธุรกิจของบริษัท ปตท. แบ่งออกเป็น 3 ธุรกิจหลัก คือ 1. ธุรกิจน้ำมัน 2. ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ และ 3. ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น โดยรายได้ส่วนใหญ่ของปตท. มาจากธุรกิจน้ำมัน แต่ส่วนที่เป็นกำไรหลักจริงๆ นั้น มาจากธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ในปี 2547 ปตท.มีรายได้จากการขายรวมทั้งสิ้น 644,673 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้แบ่งเป็นรายได้จากน้ำมัน 66% จากก๊าซธรรมชาติ 30% และอีก 4% จากปิโตรเคมี แต่หากดูที่กำไรก่อนหักภาษี (EBITDA) ซึ่งมีตัวเลขสูงถึง 79,264 ล้านบาทในปี 2547 จะเห็นว่า กำไรที่ได้นี้ เกินกว่า 90% มาจากส่วนของธุรกิจก๊าซธรรมชาติ
บริษัท ปตท.เป็นผู้ผูกขาดรายเดียวของประเทศในการดำเนินการธุรกิจท่อส่งก๊าซธรรมชาติ นั่นหมายความว่า ปตท.เป็นผู้ผูกขาดในการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตเพื่อจำหน่ายต่อให้แก่ผู้ใช้ก๊าซกลุ่มต่างๆ คือ กฟผ. โรงไฟฟ้า IPP และ SPP และภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ในส่วนของธุรกิจต้นน้ำ คือการขุดเจาะก๊าซ บริษัท ปตท. ก็มีบริษัทลูกคือ ปตท.สผ. เป็นผู้ประกอบการสำรวจและขุดเจาะก๊าซปิโตรเลียม โดยปัจจุบัน ปตท.สผ. เป็นผู้มีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในประเทศไทย
ก๊าซธรรมชาติประมาณ 77% ของทั้งหมดจะถูกนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้า (โดยโรงไฟฟ้าของ กฟผ. 36% โรงไฟฟ้า IPP 26% และ SPP 15%) ที่เหลือเป็นการใช้ในภาคอุตสาหกรรม โรงแยกก๊าซและปิโตรเคมี เพราะฉะนั้นรายได้หลักของ ปตท.ในธุรกิจก๊าซธรรมชาติจึงมาจากภาคการผลิตไฟฟ้านั่นเอง โดยโครงสร้างราคาก๊าซที่ ปตท. ได้รับ จะประกอบด้วย
ราคาขาย = ราคาเฉลี่ยก๊าซที่ปากหลุม + Supply Margin + ค่าผ่านท่อ 19.4 บาท/ล้านบีทียู
ค่าผ่านท่อดังกล่าว คำนวณจากฐานอัตราผลตอบแทนการลงทุนในการวางท่อส่งก๊าซ = 18% ซึ่งถือว่าสูงมาก ทำให้ ปตท.มีรายได้มหาศาลจากการจำหน่ายก๊าซเพื่อผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศ หากเทียบจากเงินค่าไฟฟ้าที่ผู้บริโภคจ่ายแต่ละ 100 บาท จะไปตกอยู่กับ ปตท.ถึง 42.90 บาท ในขณะที่ กฟผ.ได้รับเพียง 27.10 บาท แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการขึ้นค่าไฟฟ้าแต่ละครั้ง (ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากก๊าซขึ้นราคา) กฟผ.มักตกเป็นเป้าหลักที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้บริโภค ในขณะที่ผู้ขูดรีดที่แท้จริง คือ ปตท.ไม่เคยถูกวิจารณ์เลย (หากคำนึงถึงว่า ก๊าซธรรมชาติเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่รัฐพึงบริการแก่ประชาชน รัฐก็ควรทบทวนโครงสร้างราคาก๊าซโดยลดค่าผ่านท่อให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม โดยให้ ปตท.มีกำไรตามสมควร ไม่ใช่กำไรมากโดยผู้บริโภคเป็นผู้รับภาระอย่างไม่เป็นธรรม ดังเช่นที่เป็นอยู่)
ก๊าซธรรมชาติประมาณ 77% ของทั้งหมดจะถูกนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้า (โดยโรงไฟฟ้าของ กฟผ. 36% โรงไฟฟ้า IPP 26% และ SPP 15%) ที่เหลือเป็นการใช้ในภาคอุตสาหกรรม โรงแยกก๊าซและปิโตรเคมี เพราะฉะนั้นรายได้หลักของ ปตท.ในธุรกิจก๊าซธรรมชาติจึงมาจากภาคการผลิตไฟฟ้านั่นเอง โดยโครงสร้างราคาก๊าซที่ ปตท. ได้รับ จะประกอบด้วย
ราคาขาย = ราคาเฉลี่ยก๊าซที่ปากหลุม + Supply Margin + ค่าผ่านท่อ 19.4 บาท/ล้านบีทียู
ค่าผ่านท่อดังกล่าว คำนวณจากฐานอัตราผลตอบแทนการลงทุนในการวางท่อส่งก๊าซ = 18% ซึ่งถือว่าสูงมาก ทำให้ ปตท.มีรายได้มหาศาลจากการจำหน่ายก๊าซเพื่อผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศ หากเทียบจากเงินค่าไฟฟ้าที่ผู้บริโภคจ่ายแต่ละ 100 บาท จะไปตกอยู่กับ ปตท.ถึง 42.90 บาท ในขณะที่ กฟผ.ได้รับเพียง 27.10 บาท แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการขึ้นค่าไฟฟ้าแต่ละครั้ง (ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากก๊าซขึ้นราคา) กฟผ.มักตกเป็นเป้าหลักที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้บริโภค ในขณะที่ผู้ขูดรีดที่แท้จริง คือ ปตท.ไม่เคยถูกวิจารณ์เลย (หากคำนึงถึงว่า ก๊าซธรรมชาติเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่รัฐพึงบริการแก่ประชาชน รัฐก็ควรทบทวนโครงสร้างราคาก๊าซโดยลดค่าผ่านท่อให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม โดยให้ ปตท.มีกำไรตามสมควร ไม่ใช่กำไรมากโดยผู้บริโภคเป็นผู้รับภาระอย่างไม่เป็นธรรม ดังเช่นที่เป็นอยู่)
ห่วงโซ่การผูกขาดในระบบไฟฟ้า (ค่าไฟฟ้าที่ผู้บริโภคจ่ายไปที่ไหนบ้าง)
บทเรียนจากการแปรรูป ปตท.
ปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกที่แปรรูปโดยใช้ พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารที่จะล้มเลิก พรบ.จัดตั้งรัฐวิสาหกิจได้โดยไม่ต้องผ่านรัฐสภา บริษัท ปตท.นำหุ้นเข้ากระจายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อเดือนตุลาคม 2544 ซึ่งหุ้นของ ปตท.ถูกจองหมดภายในเวลาเพียง 1 นาทีเศษๆ จากราคา IPO ที่ 35 บาท/หุ้น เมื่อเดือนตุลาคม 2544 ปัจจุบันราคาหุ้น ปตท.พุ่งสูงขึ้นถึง 208 บาท/หุ้น หรือ 6 เท่าของราคา IPO
แม้ปัจจุบัน ปตท.จะมีสถานะเป็นบริษัท แต่ในการแปรรูป ปตท.นั้น ได้มีการโอนสิทธิประโยชน์ในฐานะรัฐวิสาหกิจและอำนาจรัฐบางอย่างให้แก่ ปตท.ด้วย ที่สำคัญได้แก่ สิทธิในการผูกขาดกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ สิทธิในการเวนคืน และสิทธิในการยกเว้นภาษีต่างๆ เป็นต้น ดังจะเห็นได้ว่า ปัจจุบัน ปตท.ก็ยังคงเป็นผู้ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวในการจัดหาก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย และการลงทุนในโครงการต่างๆ ของ ปตท.ยังได้รับการประกันผลตอบแทนการลงทุนจากมติ ครม. ด้วยอัตรา IRROE ที่ 16% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก ยิ่งเมื่อพิจารณาในแง่ที่ว่า ปตท.เป็นผู้ผูกขาดรายเดียวในการจัดหาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งแทบจะปราศจากความเสี่ยงในการลงทุน
สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนหลังการแปรรูป ปตท. ก็คือ วัตถุประสงค์ขององค์กรที่เปลี่ยนแปลงไป จากการเป็นรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการสาธารณูปโภคเพื่อประชาชน กลายเป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินธุรกิจเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ ในขณะที่เป้าหมายในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพสู่มาตรฐานสากล ความโปร่งใส และการเพิ่มการแข่งขันการให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ในการแปรรูปกลับไม่เกิดขึ้นตามที่มีการกล่าวอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการแข่งขันให้บริการประชาชน ซึ่งก่อนการแปรรูป ปตท. เมื่อปี 2544 ได้มีการให้คำมั่นสัญญาที่จะดำเนินการเมื่อมีการนำหุ้น ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว คือ
1. จะมีการแยกธุรกิจท่อส่งก๊าซออกจากธุรกิจส่วนอื่นภายใน 1 ปี เพื่อเปิดทางให้มีการแข่งขัน ลดการผูกขาดการจัดหาก๊าซ
2. จะมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ สาขาก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
3. จะประกันผลตอบแทนการลงทุนขยายท่อก๊าซของ ปตท. (IRROE) = 16%
แต่ปรากฏว่า สามปีให้หลังการแปรรูป กลับไม่มีการแยกธุรกิจท่อส่งก๊าซออกจากบริษัท ปตท. และเปิดให้มีการแข่งขันในธุรกิจการจัดหาก๊าซ ไม่มีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ บริษัท ปตท.ยังคงเป็นผู้ผูกขาดในธุรกิจท่อส่งก๊าซเช่นเดิม สิ่งที่รัฐบาลกระทำตามสัญญามีเพียงประการเดียวคือ การประกันผลตอบแทนการลงทุนของ ปตท. ในอัตรา 16%
ในเดือนธันวาคม 2546 รัฐบาลได้อนุมัติโครงการท่อส่งก๊าซเส้นที่ 3 ของ ปตท. ซึ่งมีมูลค่าถึง 100,000 ล้านบาท โดยประกันผลตอบแทนการลงทุนในโครงการ (IRROE) = 16% (มติ ครม. 9 ธค.46) แม้จะมีข้อวิจารณ์ว่า แผนการลงทุนครั้งนี้ไม่คุ้มค่าการลงทุน (นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้ชี้แจงในงานประชาพิจารณ์การแปรรูป กฟผ. ที่วุฒิสภาว่า แผนลงทุนท่อก๊าซเส้นที่3 ไม่คุ้มค่าการลงทุนด้วยตัวของมันเอง)
เพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามที่กำหนดดังกล่าว ท่อก๊าซเส้นที่ 3 จะต้องเก็บค่าผ่านท่อที่อัตรา 23.5 บาท/ล้านบีทียู ซึ่งจะต้องนำไปเกลี่ยราคากับท่อส่งก๊าซเส้นที่ 1 และ 2 ที่ค่าผ่านท่อมีราคาอยู่ที่ 19.4 บาท/ล้านบีทียู เพื่อให้ราคาเป็นที่ยอมรับได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้บริโภคเพื่อให้ผู้ถือหุ้นบริษัท ปตท. ได้รับผลตอบแทน 16% ตามที่รัฐบาลประกันไว้
ไม่เพียงเท่านั้น ปตท. ได้ขอขยายแผนและงบการลงทุนจากเดิม 100,000 ล้านบาท เป็น 150,000 ล้านบาท โดยอ้างว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามแผน PDP 2004 และราคาวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า การลงทุนของ ปตท. ไม่จำเป็นต้องพิจารณาในเรื่องประสิทธิภาพของการลงทุนแต่อย่างใด เนื่องจากยิ่งใช้งบลงทุนสูงขึ้นเท่าใด ผลตอบแทนการลงทุนก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว เนื่องจากรัฐบาลได้ประกันผลตอบแทนไว้ให้แล้วถึง 16% นั่นเอง ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ปรากฏว่า หลังจากมติ ครม.เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546 ราคาหุ้นบริษัท ปตท.ได้พุ่งจาก 109 บาท/หุ้น เป็น 208 บาท/หุ้น หรือเพิ่มขึ้นถึง 68% ในชั่วเวลาเพียงเดือนเดียว
ปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกที่แปรรูปโดยใช้ พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารที่จะล้มเลิก พรบ.จัดตั้งรัฐวิสาหกิจได้โดยไม่ต้องผ่านรัฐสภา บริษัท ปตท.นำหุ้นเข้ากระจายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อเดือนตุลาคม 2544 ซึ่งหุ้นของ ปตท.ถูกจองหมดภายในเวลาเพียง 1 นาทีเศษๆ จากราคา IPO ที่ 35 บาท/หุ้น เมื่อเดือนตุลาคม 2544 ปัจจุบันราคาหุ้น ปตท.พุ่งสูงขึ้นถึง 208 บาท/หุ้น หรือ 6 เท่าของราคา IPO
แม้ปัจจุบัน ปตท.จะมีสถานะเป็นบริษัท แต่ในการแปรรูป ปตท.นั้น ได้มีการโอนสิทธิประโยชน์ในฐานะรัฐวิสาหกิจและอำนาจรัฐบางอย่างให้แก่ ปตท.ด้วย ที่สำคัญได้แก่ สิทธิในการผูกขาดกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ สิทธิในการเวนคืน และสิทธิในการยกเว้นภาษีต่างๆ เป็นต้น ดังจะเห็นได้ว่า ปัจจุบัน ปตท.ก็ยังคงเป็นผู้ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวในการจัดหาก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย และการลงทุนในโครงการต่างๆ ของ ปตท.ยังได้รับการประกันผลตอบแทนการลงทุนจากมติ ครม. ด้วยอัตรา IRROE ที่ 16% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก ยิ่งเมื่อพิจารณาในแง่ที่ว่า ปตท.เป็นผู้ผูกขาดรายเดียวในการจัดหาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งแทบจะปราศจากความเสี่ยงในการลงทุน
สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนหลังการแปรรูป ปตท. ก็คือ วัตถุประสงค์ขององค์กรที่เปลี่ยนแปลงไป จากการเป็นรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการสาธารณูปโภคเพื่อประชาชน กลายเป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินธุรกิจเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ ในขณะที่เป้าหมายในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพสู่มาตรฐานสากล ความโปร่งใส และการเพิ่มการแข่งขันการให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ในการแปรรูปกลับไม่เกิดขึ้นตามที่มีการกล่าวอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการแข่งขันให้บริการประชาชน ซึ่งก่อนการแปรรูป ปตท. เมื่อปี 2544 ได้มีการให้คำมั่นสัญญาที่จะดำเนินการเมื่อมีการนำหุ้น ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว คือ
1. จะมีการแยกธุรกิจท่อส่งก๊าซออกจากธุรกิจส่วนอื่นภายใน 1 ปี เพื่อเปิดทางให้มีการแข่งขัน ลดการผูกขาดการจัดหาก๊าซ
2. จะมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ สาขาก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
3. จะประกันผลตอบแทนการลงทุนขยายท่อก๊าซของ ปตท. (IRROE) = 16%
แต่ปรากฏว่า สามปีให้หลังการแปรรูป กลับไม่มีการแยกธุรกิจท่อส่งก๊าซออกจากบริษัท ปตท. และเปิดให้มีการแข่งขันในธุรกิจการจัดหาก๊าซ ไม่มีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ บริษัท ปตท.ยังคงเป็นผู้ผูกขาดในธุรกิจท่อส่งก๊าซเช่นเดิม สิ่งที่รัฐบาลกระทำตามสัญญามีเพียงประการเดียวคือ การประกันผลตอบแทนการลงทุนของ ปตท. ในอัตรา 16%
ในเดือนธันวาคม 2546 รัฐบาลได้อนุมัติโครงการท่อส่งก๊าซเส้นที่ 3 ของ ปตท. ซึ่งมีมูลค่าถึง 100,000 ล้านบาท โดยประกันผลตอบแทนการลงทุนในโครงการ (IRROE) = 16% (มติ ครม. 9 ธค.46) แม้จะมีข้อวิจารณ์ว่า แผนการลงทุนครั้งนี้ไม่คุ้มค่าการลงทุน (นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้ชี้แจงในงานประชาพิจารณ์การแปรรูป กฟผ. ที่วุฒิสภาว่า แผนลงทุนท่อก๊าซเส้นที่3 ไม่คุ้มค่าการลงทุนด้วยตัวของมันเอง)
เพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามที่กำหนดดังกล่าว ท่อก๊าซเส้นที่ 3 จะต้องเก็บค่าผ่านท่อที่อัตรา 23.5 บาท/ล้านบีทียู ซึ่งจะต้องนำไปเกลี่ยราคากับท่อส่งก๊าซเส้นที่ 1 และ 2 ที่ค่าผ่านท่อมีราคาอยู่ที่ 19.4 บาท/ล้านบีทียู เพื่อให้ราคาเป็นที่ยอมรับได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้บริโภคเพื่อให้ผู้ถือหุ้นบริษัท ปตท. ได้รับผลตอบแทน 16% ตามที่รัฐบาลประกันไว้
ไม่เพียงเท่านั้น ปตท. ได้ขอขยายแผนและงบการลงทุนจากเดิม 100,000 ล้านบาท เป็น 150,000 ล้านบาท โดยอ้างว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามแผน PDP 2004 และราคาวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า การลงทุนของ ปตท. ไม่จำเป็นต้องพิจารณาในเรื่องประสิทธิภาพของการลงทุนแต่อย่างใด เนื่องจากยิ่งใช้งบลงทุนสูงขึ้นเท่าใด ผลตอบแทนการลงทุนก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว เนื่องจากรัฐบาลได้ประกันผลตอบแทนไว้ให้แล้วถึง 16% นั่นเอง ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ปรากฏว่า หลังจากมติ ครม.เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546 ราคาหุ้นบริษัท ปตท.ได้พุ่งจาก 109 บาท/หุ้น เป็น 208 บาท/หุ้น หรือเพิ่มขึ้นถึง 68% ในชั่วเวลาเพียงเดือนเดียว
นอกจากผู้ถือหุ้นบริษัท ปตท. ที่ได้รับประโยชน์เป็นกอบเป็นกำจากการแปรรูป ปตท. แล้ว พนักงานบริษัท ปตท. เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้ว่า ค่าจ้างพนักงาน ปตท. ในปี 2543 ที่ได้รับเฉลี่ย 817,000 บาท/คน/ปี เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 1,142,000 บาท/คน/ปี ในปี 2546 หรือเพิ่มขึ้นถึง 40% ในระยะเวลาเพียง 3 ปี
ตัวอย่างผลกระทบที่เกิดขึ้น
น้ำมัน ก่อนการแปรรูป ปตท.เคยมีบทบาทหลักในการตรึงราคาน้ำมันในภาวะที่ราคาในตลาดโลกสูง ซึ่งเป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ ไม่ใช่คิดถึงผลประโยชน์ของ ปตท.เป็นตัวตั้ง แต่หลังจากแปรรูป ปตท.แล้ว เมื่อรัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาน้ำมัน รัฐต้องใช้กองทุนน้ำมันในการตรึงราคาน้ำมัน ซึ่งขณะนี้ (มีนาคม 2548) ปรากฏว่ากองทุนน้ำมันมีหนี้สะสมจากการตรึงราคาน้ำมันถึง 7 หมื่นล้านบาทแล้ว ในขณะที่การบริโภคน้ำมันไม่ได้ลดลงตามกลไกราคาที่แท้จริง หนี้สินก้อนมหึมานี้จะกลายเป็นภาระของผู้บริโภคในอนาคต เพราะเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง รัฐบาลก็จะไม่สามารถลดราคาน้ำมันในประเทศได้ เนื่องจากต้องหาเงินไปชดเชยกองทุนน้ำมัน โดยสรุปแล้ว ผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากการตรึงราคาน้ำมันก็คือ ปตท. ในฐานะผู้ขายน้ำมัน
ก๊าซหุงต้ม ก่อนการแปรรูปรัฐบาลใช้นโยบายตรึงราคาก๊าซหุงต้มเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ก๊าซในราคาถูก แต่ในปี 2544 ซึ่งมีการแปรรูป ปตท. รัฐบาลได้ประกาศราคาก๊าซหุงต้มลอยตัว ทำให้ราคาสูงขึ้นเป็นลำดับ จากราคาถังละ 160 บาท ปัจจุบันราคาถังละเกิน 300 บาทแล้ว ก๊าซหุงต้มถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชั้นล่าง และส่วนหนึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถแท็กซี่ แต่ก๊าซหุงต้มถือเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง และ ปตท.กำลังหาช่องทางที่จะจำหน่ายเป็นสินค้าส่งออก ซึ่งในอนาคตผู้บริโภคอาจได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นอีก
อีกตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันธุรกิจของปตท. มีเป้าหมายหลักอยู่ที่กำไรสูงสุดโดยการผลักภาระให้ประชาชนก็คือ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ที่ผ่านมา ปตท.ได้ลดการส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยให้แก่ กฟผ.ปริมาณ 100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพื่อนำก๊าซจำนวนดังกล่าวไปให้แก่ภาคอุตสาหกรรมเอกชน ซึ่งได้ราคาสูงกว่า กฟผ. ทำให้ กฟผ. ต้องใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าแทนเป็นเวลา 10 เดือน โดยต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น 1,500 ล้านบาททำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าเอฟทีเพิ่มขึ้น 1.50 - 2 สตางค์ต่อหน่วย (นสพ.กรุงเทพธุรกิจ, 22 พ.ย.47) เหตุการณ์เช่นนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นหากรัฐบาลได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ก่อนแปรรูป โดยการเปิดให้มีการแข่งขันในธุรกิจจัดหาก๊าซ และมีการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมากำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติ
น้ำมัน ก่อนการแปรรูป ปตท.เคยมีบทบาทหลักในการตรึงราคาน้ำมันในภาวะที่ราคาในตลาดโลกสูง ซึ่งเป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ ไม่ใช่คิดถึงผลประโยชน์ของ ปตท.เป็นตัวตั้ง แต่หลังจากแปรรูป ปตท.แล้ว เมื่อรัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาน้ำมัน รัฐต้องใช้กองทุนน้ำมันในการตรึงราคาน้ำมัน ซึ่งขณะนี้ (มีนาคม 2548) ปรากฏว่ากองทุนน้ำมันมีหนี้สะสมจากการตรึงราคาน้ำมันถึง 7 หมื่นล้านบาทแล้ว ในขณะที่การบริโภคน้ำมันไม่ได้ลดลงตามกลไกราคาที่แท้จริง หนี้สินก้อนมหึมานี้จะกลายเป็นภาระของผู้บริโภคในอนาคต เพราะเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง รัฐบาลก็จะไม่สามารถลดราคาน้ำมันในประเทศได้ เนื่องจากต้องหาเงินไปชดเชยกองทุนน้ำมัน โดยสรุปแล้ว ผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากการตรึงราคาน้ำมันก็คือ ปตท. ในฐานะผู้ขายน้ำมัน
ก๊าซหุงต้ม ก่อนการแปรรูปรัฐบาลใช้นโยบายตรึงราคาก๊าซหุงต้มเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ก๊าซในราคาถูก แต่ในปี 2544 ซึ่งมีการแปรรูป ปตท. รัฐบาลได้ประกาศราคาก๊าซหุงต้มลอยตัว ทำให้ราคาสูงขึ้นเป็นลำดับ จากราคาถังละ 160 บาท ปัจจุบันราคาถังละเกิน 300 บาทแล้ว ก๊าซหุงต้มถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชั้นล่าง และส่วนหนึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถแท็กซี่ แต่ก๊าซหุงต้มถือเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง และ ปตท.กำลังหาช่องทางที่จะจำหน่ายเป็นสินค้าส่งออก ซึ่งในอนาคตผู้บริโภคอาจได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นอีก
อีกตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันธุรกิจของปตท. มีเป้าหมายหลักอยู่ที่กำไรสูงสุดโดยการผลักภาระให้ประชาชนก็คือ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ที่ผ่านมา ปตท.ได้ลดการส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยให้แก่ กฟผ.ปริมาณ 100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพื่อนำก๊าซจำนวนดังกล่าวไปให้แก่ภาคอุตสาหกรรมเอกชน ซึ่งได้ราคาสูงกว่า กฟผ. ทำให้ กฟผ. ต้องใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าแทนเป็นเวลา 10 เดือน โดยต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น 1,500 ล้านบาททำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าเอฟทีเพิ่มขึ้น 1.50 - 2 สตางค์ต่อหน่วย (นสพ.กรุงเทพธุรกิจ, 22 พ.ย.47) เหตุการณ์เช่นนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นหากรัฐบาลได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ก่อนแปรรูป โดยการเปิดให้มีการแข่งขันในธุรกิจจัดหาก๊าซ และมีการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมากำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติ
หากเปรียบเทียบฐานะทางการเงินของ ปตท. กับ กฟผ. (ปี 2546) จะเห็นว่า สัดส่วนเงินกู้/สินทรัพย์ ของ ปตท.และ กฟผ. เท่ากัน ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของ ปตท. สูงกว่า กฟผ. เป็นอย่างมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2547 ปตท.มีกำไรสุทธิสูงถึง 62,666 ล้านบาท หรือสูงขึ้นจากปี 2546 ถึง 66.8%) โดยผลกำไรหลักๆ นั้น ได้จากการขูดรีดขายก๊าซให้แก่ กฟผ. และ กฟผ.ผลักภาระไว้ในค่าไฟฟ้าของผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง
กำไรมหาศาลของ ปตท. ตกอยู่ที่ใคร ?
ปัจจุบันหุ้นของ ปตท.และบริษัทในเครือมีมูลค่ารวมมากถึง 21.7% ของ Market Cap เฉพาะส่วนของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ 52.48% และมีเอกชนรายใหญ่จำนวน 13 รายถือหุ้นรวม 25.14% ส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยที่มีจำนวนกว่า 36,000 รายนั้นมีหุ้นรวมกันเพียง 22.38% (ข้อมูล ณ วันที่ 3 กันยายน 2547)
ปัจจุบันหุ้นของ ปตท.และบริษัทในเครือมีมูลค่ารวมมากถึง 21.7% ของ Market Cap เฉพาะส่วนของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ 52.48% และมีเอกชนรายใหญ่จำนวน 13 รายถือหุ้นรวม 25.14% ส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยที่มีจำนวนกว่า 36,000 รายนั้นมีหุ้นรวมกันเพียง 22.38% (ข้อมูล ณ วันที่ 3 กันยายน 2547)
ผลประโยชน์ทางการเมืองเข้าแทรกซ้อน
จากข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร ปตท.และรายชื่อคณะกรรมการ ปตท.เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่มาดำรงตำแหน่งระดับสูงของ ปตท.นั้นบุคคลส่วนใหญ่จะเป็นข้าราชการ และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในรัฐบาล โดยเฉพาะตระกูลชินวัตร เช่น คณะกรรมการ ปตท.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นน้อยเขยของ นายกทักษิณ ชินวัตร และนายโอฬาร ไชยประวัติ ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทชินคอร์ป และนายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร นอกจากนี้ในรายชื่อผู้บริหาร ปตท. มีชื่อนายทรงวุฒิ ชินวัตร และซึ่งดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร โดยเพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งในปี 2547 ก่อนหน้านี้ไม่มีชื่ออยู่ จากรายชื่อเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า มีอิทธิพลทางการเมืองมาแทรกซึมอยู่
จากข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร ปตท.และรายชื่อคณะกรรมการ ปตท.เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่มาดำรงตำแหน่งระดับสูงของ ปตท.นั้นบุคคลส่วนใหญ่จะเป็นข้าราชการ และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในรัฐบาล โดยเฉพาะตระกูลชินวัตร เช่น คณะกรรมการ ปตท.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นน้อยเขยของ นายกทักษิณ ชินวัตร และนายโอฬาร ไชยประวัติ ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทชินคอร์ป และนายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร นอกจากนี้ในรายชื่อผู้บริหาร ปตท. มีชื่อนายทรงวุฒิ ชินวัตร และซึ่งดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร โดยเพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งในปี 2547 ก่อนหน้านี้ไม่มีชื่ออยู่ จากรายชื่อเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า มีอิทธิพลทางการเมืองมาแทรกซึมอยู่
สถานะ “รัฐวิสาหกิจ” ของ ปตท. ไม่ใช่หลักประกันสำหรับประชาชน
ข้ออ้างที่ว่า ปตท.ยังเป็นรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากคำว่า ”รัฐวิสาหกิจ” นิยามไว้เพียงว่ารัฐจะต้องถือหุ้นในบริษัท อย่างต่ำ 50% ณ ปัจจุบัน ปตท. มีหุ้นส่วนเป็นของเอกชนถึง 48% ซึ่งที่เหลือเป็นของรัฐบาลเพียงแค่อีก 52% เท่านั้น และเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพลังงานที่เป็นตัวแทนของกระทรวงในการดูแลผลประโยชน์ในเรื่องพลังงาน และปากท้องของผู้ใช้พลังงาน คือ นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ปตท. และนายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและพลังงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ปตท. ที่มีหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์ของส่วนรวม แต่ในการกระทำของ นายเชิดพงษ์ และนายเมตตา นั้นได้มีความขัดแย้งกับหน้าที่ของกรรมการฝ่ายรัฐบาล และได้เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทมากกว่าให้ประเทศชาติ เห็นได้จากในการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ ปตท. เทียบกับการเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการ Ft นายเชิดพงษ์ได้เข้าร่วมประชุมเป็นอัตรา 100% ต่อ 67% และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนายเชิดพงษ์ได้เป็นประธานคณะอนุกรรมการ Ft และนายเมตตาเป็นรองประธานคณะอนุกรรมการ Ft ในปลายปี 2546 ส่วนในกรณีของนายเมตตาเป็นอัตรา 90% ต่อ 83% ซึ่งในแต่ละครั้งของการประชุม ปตท. คณะกรรมการจะได้เงินจากการประชุมครั้งละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท/คน ซึ่งมากกว่าเมื่อเทียบกับเงินเดือนของข้าราชการ จึงไม่แปลกเลยที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของรัฐได้เข้มข้นกว่าดูแลผลประโยชน์ของประชาชน
ข้ออ้างที่ว่า ปตท.ยังเป็นรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากคำว่า ”รัฐวิสาหกิจ” นิยามไว้เพียงว่ารัฐจะต้องถือหุ้นในบริษัท อย่างต่ำ 50% ณ ปัจจุบัน ปตท. มีหุ้นส่วนเป็นของเอกชนถึง 48% ซึ่งที่เหลือเป็นของรัฐบาลเพียงแค่อีก 52% เท่านั้น และเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพลังงานที่เป็นตัวแทนของกระทรวงในการดูแลผลประโยชน์ในเรื่องพลังงาน และปากท้องของผู้ใช้พลังงาน คือ นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ปตท. และนายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและพลังงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ปตท. ที่มีหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์ของส่วนรวม แต่ในการกระทำของ นายเชิดพงษ์ และนายเมตตา นั้นได้มีความขัดแย้งกับหน้าที่ของกรรมการฝ่ายรัฐบาล และได้เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทมากกว่าให้ประเทศชาติ เห็นได้จากในการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ ปตท. เทียบกับการเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการ Ft นายเชิดพงษ์ได้เข้าร่วมประชุมเป็นอัตรา 100% ต่อ 67% และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนายเชิดพงษ์ได้เป็นประธานคณะอนุกรรมการ Ft และนายเมตตาเป็นรองประธานคณะอนุกรรมการ Ft ในปลายปี 2546 ส่วนในกรณีของนายเมตตาเป็นอัตรา 90% ต่อ 83% ซึ่งในแต่ละครั้งของการประชุม ปตท. คณะกรรมการจะได้เงินจากการประชุมครั้งละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท/คน ซึ่งมากกว่าเมื่อเทียบกับเงินเดือนของข้าราชการ จึงไม่แปลกเลยที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของรัฐได้เข้มข้นกว่าดูแลผลประโยชน์ของประชาชน
สรุป: ใครได้อะไรจากการแปรรูป ปตท.
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ถ้าถามว่าใครได้อะไรบ้างจากการแปรรูปครั้งนี้ ประชาชน นักลงทุน และประเทศชาติโดยรวมได้ประโยชน์เท่าใด คุ้มค่ากับการแปรรูปรูป ปตท. หรือไม่
ประชาชน จ่ายค่าไฟแพงขึ้น ก๊าซหุงต้มก็แพงขึ้น และมีหนี้กองโต (จากการชดเชยน้ำมัน) เฉลี่ยคนละอีกเกือบ 1,200 บาท (60 ล้านคน)
นักลงทุน นักลงทุนได้รับประโยชน์จากราคาหุ้นที่พุ่งทะยานอย่างสวยงาม แต่น่าเสียดายที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นเลย ซึ่งคิดเป็นจำนวนไม่ถึง 5% ของประชาชนทั้งหมดของประเทศ และคนเล่นหุ้นที่ได้ประโยชน์อย่างเต็มไม้เต็มมือจริงๆ ที่มักมีความเกี่ยวข้องกับการเมืองก็มีไม่ถึงหลักร้อยซึ่งได้กำไรมหาศาลจากการแปรรูปครั้งนี้
ประเทศ กำไรของ ปตท. นับแต่มีการแปรรูป จำนวน 190,284 ล้านบาทที่ควรตกเป็นขอ รัฐทั้งหมด กลับต้องแบ่งไปให้เอกชนกึ่งหนึ่ง โดยผลประโยชน์เข้ากระเป๋าเอกชน รวมแล้วกว่า 251,000 ล้านบาท อยู่ในรูปของ
1) เงินปันผลที่จ่ายให้นักลงทุนเอกชนจำนวนกว่า 17,000 ล้านบาท และ
2) ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น (จาก 35 เป็น 208 บาท/หุ้น ณ 3/3/48) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 234,000 ล้านบาท
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ถ้าถามว่าใครได้อะไรบ้างจากการแปรรูปครั้งนี้ ประชาชน นักลงทุน และประเทศชาติโดยรวมได้ประโยชน์เท่าใด คุ้มค่ากับการแปรรูปรูป ปตท. หรือไม่
ประชาชน จ่ายค่าไฟแพงขึ้น ก๊าซหุงต้มก็แพงขึ้น และมีหนี้กองโต (จากการชดเชยน้ำมัน) เฉลี่ยคนละอีกเกือบ 1,200 บาท (60 ล้านคน)
นักลงทุน นักลงทุนได้รับประโยชน์จากราคาหุ้นที่พุ่งทะยานอย่างสวยงาม แต่น่าเสียดายที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นเลย ซึ่งคิดเป็นจำนวนไม่ถึง 5% ของประชาชนทั้งหมดของประเทศ และคนเล่นหุ้นที่ได้ประโยชน์อย่างเต็มไม้เต็มมือจริงๆ ที่มักมีความเกี่ยวข้องกับการเมืองก็มีไม่ถึงหลักร้อยซึ่งได้กำไรมหาศาลจากการแปรรูปครั้งนี้
ประเทศ กำไรของ ปตท. นับแต่มีการแปรรูป จำนวน 190,284 ล้านบาทที่ควรตกเป็นขอ รัฐทั้งหมด กลับต้องแบ่งไปให้เอกชนกึ่งหนึ่ง โดยผลประโยชน์เข้ากระเป๋าเอกชน รวมแล้วกว่า 251,000 ล้านบาท อยู่ในรูปของ
1) เงินปันผลที่จ่ายให้นักลงทุนเอกชนจำนวนกว่า 17,000 ล้านบาท และ
2) ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น (จาก 35 เป็น 208 บาท/หุ้น ณ 3/3/48) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 234,000 ล้านบาท
สรุปแล้ว บทเรียนจากกรณี ปตท. คือ การแปรรูป คือ การปล้นเงียบ และปล้นอย่างถูกกฎหมาย สง่างาม
แล้วเราควรจะปล่อยให้ กฟผ. เจริญรอยตาม ปตท.?
แล้วเราควรจะปล่อยให้ กฟผ. เจริญรอยตาม ปตท.?
***************************************************************
นำเสนอในงานสัมมนา วิเคราะห์ความเสี่ยงการแปรรูป กฟผ.
วันที่ 30 มีนาคม 2548
ยังมีอยู่ในรูปของ power point ซึ่งระบุข้อมูลตัวเลขที่ชัดเจนและชื่อบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องและอาจมีส่วนได้ส่วนเสียไว้ด้วย แต่เนื่องจากไฟล์มีขนาดใหญ่ จึงยังไม่ได้ส่งมา
หากท่านใดต้องการ สามารถติดต่อกลับมาได้ทางอีเมลนี้
กลุ่มพลังไท
กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต
aeps@ksc.th.com
นำเสนอในงานสัมมนา วิเคราะห์ความเสี่ยงการแปรรูป กฟผ.
วันที่ 30 มีนาคม 2548
ยังมีอยู่ในรูปของ power point ซึ่งระบุข้อมูลตัวเลขที่ชัดเจนและชื่อบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องและอาจมีส่วนได้ส่วนเสียไว้ด้วย แต่เนื่องจากไฟล์มีขนาดใหญ่ จึงยังไม่ได้ส่งมา
หากท่านใดต้องการ สามารถติดต่อกลับมาได้ทางอีเมลนี้
กลุ่มพลังไท
กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต
aeps@ksc.th.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น