วัฒนธรรมข้ามชาติยังกลืนกลาย ไม่ร้ายเท่าบรรษัทไร้พรมแดนไร้มนุษยธรรม เช่นที่เมาะตะมะ สำหรับประเทศที่ไม่ชัดเจนเขตแดน ย่อมมีผลประโยชน์เหยียบไว้
โลกนี้มีบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงาน 2 บริษัท คือ
1. แอตแลนติก ริชฟิลล์ หรือ อาร์โก้ (Atlantic Rich Field Company Limited, ARCO) ในสหรัฐอเมริกาทางภาคเหนือ จดทะเบียนบริษัทลูกชื่อ เอ็กซอน ( EXXON) เพื่อนำเข้าน้ำมัน และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี แปรรูปจากน้ำมัน และสารเคมี เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เม็ดพลาสติก ฯลฯ
2. บริษัท สแตนดาร์ด ออยล์ (Standard Oil Company Limited) บริษัทลูกขายปลีกน้ำมันชื่อโมบิล (Mobile) และนำเข้าน้ำมัน แปรรูปผลิตภัณฑ์น้ำมันและสารเคมี เช่นเดียวกับ บริษัทแอตแลนติก ริชฟิลล์ ทุกอย่าง
บริษัททั้งสองทำทีแข่งขันกันเกือบจะกลบเกลื่อนร่องรอยการร่วมกันกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันและก๊าซในสหรัฐอเมริกา จากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ (end-users) ได้สำเร็จ
แต่แล้วปรากฏกระทาชายชื่อ นายอากูเอล่า โผล่ขึ้นมาฟ้องบริษัททั้งสองในข้อหาผูกขาดตลาดด้วยวิธีร่วมกันกำหนดราคาขายปลีก เพราะกฎหมายสหรัฐอเมริกาเปิดช่องไว้ ห้ามทำการค้าผูกขาด ไม่ว่ากรรมวิธีใด ๆ เช่น ร่วมกันกำหนดราคาขายปลีกของสินค้า เป็นผู้ค้าสินค้าประเภทหนึ่งแล้วเข้าไปซื้อกิจการค้าข้างเคียง หรือต้องพึ่งพาเกี่ยวเนื่องกัน แล้วทำทีกำหนดราคาขายขึ้นเองให้กระทบกระเทือนในกลุ่มผู้ค้า หรือในกลุ่มลูกค้า ซึ่งเป็นวิธีผูกขาดตลาดแบบแยบยล..เหล่านี้เป็นเรื่องห้ามเด็ดขาด
บทบัญญัติกฎหมาย Anti-Trust Law (กฎหมายห้ามผูกขาดตลาดการค้า หรือกรรมวิธีในทางการค้า) หรือคนอเมริกันเรียกให้เกียรติแก่ 2 คนผู้เสนอบัญญัติว่า Clayton – Sherman Act
เมื่อบริษัททั้งสองถูกฟ้องและแพ้คดีในบางประเด็นสำคัญ จึงทำให้สาธารณชนในสหรัฐฯ รู้รายละเอียดกลวิธีการผูกขาดการค้าของบริษัททั้งสอง เช่น วิธีหลบเลี่ยงกฎหมาย รายรับรายจ่ายของบริษัท มีกลุ่มหรือบริษัทในเครือแค่ไหน อย่างไร? รวมตลอดถึงได้รู้ถึงเส้นทางการทำการค้าของบริษัททั้งสอง
ในชั้นศาลอุทธรณ์ บริษัททั้งสองมาทำข้อตกลงกับโจทก์ผู้ฟ้องร้องคดีนอกศาล จึงได้รู้ถึงยอดรายรับของบริษัททั้งสองทำกำไรได้หลายหมื่นแสนล้านดอลลาร์ต่อปี ยอดรายรับนี้ถูกนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีนิติบุคคล ตามกฎหมายสรรพากรของสหรัฐฯ (The Internal Revenue Code)
และเพื่อป้องกันถูกฟ้องจากลูกค้าอื่นๆ อีก และป้องกันความลับกรรมวิธีทำการค้าขายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีต่าง ๆ มิให้รั่วไหล ในที่สุด บริษัททั้งสองจึงตกลงแบ่งแดนทำการค้า โดยให้บริษัท Atlantic Rich Field และบริษัทในเครือยังคงทำการค้าขายปลีกน้ำมันในสหรัฐฯ ต่อไป
ส่วนบริษัท Standard Oil Company Limited กับในเครือไปหาแหล่งพลังงานน้ำมันและก๊าซนอกทวีปอเมริกา และเป็นผู้ขายน้ำมันดิบให้แก่กลุ่มบริษัทค้าปลีกน้ำมันในสหรัฐฯ
ด้วยเหตุนี้ สแตนดาร์ดฯ บริษัทแม่ จึงไปซื้อบริษัทยูโนแคล (UNOCAL) มาเป็นบริษัทลูก และยูโนแคลก็ไปตั้งบริษัทหลาน คือ เชฟรอน (CHEVRON) เพื่อข้ามทวีปมาอาเซีย
ไม่เพียงเท่านั้น บริษัทแม่(สแตนดาร์ดฯ) ได้ซื้อบริษัทโตแตล (TOTAL) ของฝรั่งเศส (เคยร่ำรวยจากขุดเจาะ ค้าน้ำมันในลิเบีย แล้วถูกเจ้าของประเทศคว่ำบาตร) เพื่อเข้ามาในกัมพูชาและไทย
ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะกฎหมายฝรั่งเศสห้ามมิให้นำบริษัทฝรั่งเศสออกไปจากประเทศ ดังนั้น บริษัทยังคงมีสัญชาติฝรั่งเศส มีที่ทำการการค้าเป็นหลักแหล่งในประเทศฝรั่งเศส
ยูโนแคล แสวงหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (oil and natural gas) ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย กัมพูชา และ เวียดนาม
ตัวอย่างโด่งดังไปทั่วโลก คือ กรณี ยูโนแคลได้สัมปทานขุดเจาะพลังงานพม่าในอ่าวเมาะตะมะ คือ บ่อชเว ขณะนั้น รัฐบาลพม่าหรือ SLORG ได้บังคับเกณฑ์แรงงาน (the concentration camp ) ชนกลุ่มน้อย เช่น กะเหรี่ยง มอญ คะฉิ่น ฯลฯ มาทำงานค่ายแรงงานของยูโนแคล มีทหารพม่ารับจ้างคุมบังคับทำงานวางท่อก๊าซ
เผอิญในกลุ่มแรงงานนั้นมีหญิงท้องแก่คนหนึ่งกับสามี ต่อมาเธอคลอดลูกและทำงานไม่ได้ ทหารพม่าเกิดบ้าเลือดขึ้นมา จับทารกลูกกะเหรี่ยงโยนเข้ากองไฟตายอนาถ แม่เข้าไปขัดขวางก็ถูกจับโยนใส่กองไฟไปด้วย
ปรากฏว่า ทารกตาย แม่บาดเจ็บสาหัส กระทั่ง ผัวเมียคู่นี้ทนไม่ไหวหาโอกาสหนีออกมาได้ เข้ามาถึงเชียงใหม่มาพบตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชนชาวอเมริกัน จึงพาทั้งคู่บินไปสหรัฐอเมริกา นำเรื่องขึ้นฟ้องคดีสู่ศาลลอสแองเจลิส มลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยกำกับดูแลของศาลอุทธรณ์เขต 9 สหรัฐอเมริกา
ในอเมริกาเรียกว่า คดีจอห์นโด ปรปักษ์กับยูโนแคล [บริษัทลูกของสแตนดาร์ดออยล์อีกแห่งที่ไปลงทุนในพม่า (John Doe v. Unocal) ] ตั้งชื่อโจทก์ให้เป็นฝรั่ง แต่ความจริงคือกะเหรี่ยง
สู้คดีกัน 2 ศาล ศาลชั้นต้น ยูโนแคลแพ้คดี ถูกสั่งจ่ายค่าเสียหายและค่าปรับไหมแก่โจทก์เป็นเงิน 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คดีไปถึงศาลอุทธรณ์ ๆ พิจารณาจะพิพากษากำหนดให้จ่ายค่าเสียหายและค่าปรับไหมสูงถึง 1 แสนล้านเหรียญ บริษัทยูโนแคลรู้ผลล่วงหน้า ก่อนจะอ่านคำพิพากษาหนึ่งสัปดาห์ จึงชิงไปเจรจากับผู้เสียหาย โดยเสนอจะชดใช้ค่าเสียหายและค่าปรับไหมให้โจทก์ 5 หมื่นล้านเหรียญเพื่อให้เรื่องจบ
ผลตกลงกันได้ แต่เงิน 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลนิธิสาธารณกุศลที่ช่วยออกค่าทนาย และค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินคดีให้โจทก์ หักค่าใช้จ่ายไป ผัวเมียกะเหรี่ยงคู่นี้ได้ประมาณ 2 หมื่นล้านเหรียญ
เมื่อแพ้คดีนี้ ยูโนแคลต้องลงจากตำแหน่งและมอบสิทธิตามสัญญาสัมปทานทั้งหมดให้บริษัท เชฟรอน ดำเนินการแทน โดยก่อนหน้านี้ยูโนแคลเคยได้สัมปทานในอ่าวไทยเกือบทั้งหมดรวมทั้งอ่าวตั่งเกี๋ยด้วย
พลังงานในอ่าว “ฮุน เซน” กับใคร? จ้องเขมือบ
ประเทศกัมพูชา นายกฯฮุน เซน ได้ทำสัญญายกสัมปทานให้โตตาล(สแตนดาร์ดออยล์) ไปแล้ว ส่วนประเทศไทยให้สัมปทานการแก่ เชฟรอน สรุป ทั้ง เชฟรอน ทั้ง โตแตล ก็คือ สแตนดาร์ด ออยล์ ที่ได้พลังงานทั้งอ่าว 100 เปอร์เซ็นต์
ประเทศกัมพูชา นายกฯฮุน เซน ได้ทำสัญญายกสัมปทานให้โตตาล(สแตนดาร์ดออยล์) ไปแล้ว ส่วนประเทศไทยให้สัมปทานการแก่ เชฟรอน สรุป ทั้ง เชฟรอน ทั้ง โตแตล ก็คือ สแตนดาร์ด ออยล์ ที่ได้พลังงานทั้งอ่าว 100 เปอร์เซ็นต์
ถ้าไปดูรายรับ รายจ่าย ย้อนหลังประมาณ 10 ปี ผลกำไร ๆ ต่อปีของบริษัท สแตนดาร์ด ออยล์ หลายแสนล้านเหรียญ หรือทริลเลี่ยนดอลล่าร์ (ศูนย์ 18-19 ตัว) ถ้าแปลงค่าเป็นบาทคูณด้วย 30 จะใช้เป็นเงินงบประมาณบริหารประเทศไทยได้ 30 ถึง 50 ปี
จากแผนที่อ่าวไทยจะมีเส้นประสีแดง แสดงอาณาเขต ตรงนั้นจะมีสี่เหลี่ยม 2 อันซ้อนกัน คือ ของเขมรกับไทย ต้องไปประกาศเขตแดนทางทะเลที่สหประชาชาติ ประเทศไทยลากไปสุดแค่เส้นรุ้งที่ 109 แต่จริง ๆ อ่าวไทยไปสุดเส้นรุ้ง 112 คือ เว้นไว้ 3 ช่องซึ่งรวมเนื้อที่ประมาณ 3 หมื่นตารางกิโลเมตร
ส่วนกัมพูชาไม่ประกาศเลย เพราะอะไร? ก็จะรอใช้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ที่กำลังเจรจาปักปันเขตแดนอยู่ ซึ่งจะล้ำมากินเนื้อที่ใน 3 ช่องนั่นเอง
อย่างนี้หมายความอย่างไร ไปเรียกตรงนั้นว่า "พื้นที่ทับซ้อน"
แหล่งพลังงานตรงจุดนั้น นอกจาก น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ ปากหลุมยังมีหินคาร์บอนไฮเดรทที่เผาไหม้แล้วให้ความร้อนถึง 179 องศา บริษัทที่มีเครื่องมือเอาขึ้นมาได้ คือบริษัท บีพี หรือ บริทิช ปิโตรเลียม(อังกฤษ) บริษัทที่มีสิทธิขนไปใช้คือ สหรัฐอเมริกา
ถามว่า มีคนกลุ่มไหนบ้างไปถือหุ้นในบริษัทพลังงานเหล่านี้ เช่น บริษัท มิตซุย ออยล์ คอมปานี ลิมิเต็ด อยากรู้มากกว่านี้ไปเปิดเว็บไซต์บริษัทโมอีโก้ (ญี่ปุ่น) และในนั้นมี ปตท. ปตท.สผ. รวมทั้งบริษัทไทยชื่อแปลก ๆ ถือหุ้นอีกมาก
ทำไม ฮุน เซน จึงอยากได้ที่ดินบริเวณเขาพระวิหาร 4.6 ตร.กม. รวมถึงที่ดินบนริมขอบของจังหวัดตราดไปถึงอุบลราชธานี...ลองคิดดู มีการคำนวณไว้ใน ค.ศ.1993 บ่อพลังงานเล็ก ๆ บ่อเดียวในบริเวณอ่าวไทย มีน้ำมันมูลค่า 5 ล้านล้านบาท มาถึง ค.ศ.2011 น้ำมันถึง 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาเรล อีกสามปีข้างหน้าจะขึ้นไปอีกเท่าไหร่
ในประเทศรอบอ่าวโอมาน, อิหร่าน และซาอุฯ เขาขายน้ำมันได้ ราษฎรก็พลอยรวยไปด้วย เพราะรัฐบาลจ่ายเงินเดือนให้ คิดเป็นหลายแสนบาทต่อครอบครัว รถยนต์ในประเทศใช้น้ำมันฟรีตลอดชีวิต
ทำไมประชาชนไทยต้องซื้อน้ำมันแพง ลิตรละ 30-40 บาท... ถ้าในทะเลมี 1,000-2,000 บ่อ คิดไหมนักการเมือง นายทุนใหญ่ในประเทศนี้จะมีเอี่ยวไหม?
นายกฮุน เซน ลงนามให้สัมปทานโตตาลไปแล้วในส่วนของกัมพูชา ส่วนที่เหยียบไว้ในส่วนที่สร้างวาทกรรม "พื้นที่ทับซ้อน" น่าจะเป็นแสนล้านบาท แล้วอย่างนี้ MOU จะแปลได้ไหมว่า คือ มันนี่, ออยล์ และ อันเดอร์ เทเบิล "เงินใต้โต๊ะ"
ที่เหยียบไว้นี่แหละ จะมีคนพวกหนึ่งรู้เห็นเป็นใจ ให้เอาเงินไปใส่ในกระเป๋าผู้นำเขมร จากนั้นค่อยแอบไปแบ่งกันนอกประเทศ
ส่วนรัฐไทยถูกล่ามด้วยโซ่ เอ็มโอยู ?
เรื่องนี้ฝ่ายค้านหรือคนในรัฐบาลกัมพูชาเอง อย่างน้อยก็นายสม รังสี กับเจ้ารณฤทธิ์ ก็รู้ดีและอยากบ่อนเซาะเก้าอี้นายกฯฮุน เซน ถ้าถึงขั้นฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศขึ้นมาเมื่อไหร่ จะได้เห็นการทุจริตมโหฬารในรัฐบาลกัมพูชา
นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง ทำให้ผู้นำกัมพูชา เบี่ยงเบน หาเรื่องรบกับไทย เพื่อจะอยู่ในอำนาจต่อไป การรบกับไทยจึงเป็นปลายเหตุ เป็นความโหด...มเอาประชาชนเป็นเหยื่อ
การยิงปืนใหญ่ ยิงจรวดใส่กัน โดยไม่ให้ทหารราบเคลื่อนเข้ายึดพื้นที่ทางบกที่เราได้เปรียบ(เขมรต้องตกหน้าผาเขาพระวิหาร) ถือว่าผิดตำราพิชัยสงคราม และไม่ใช้กองทัพอากาศหนุนช่วย เปรียบเสมือนนักมวยสากล ถ้าใช้แย็ปอย่างเดียวได้แต้มเดียว ถ้ามีมัดฮุค หมัดครอส ชกเขาร่วงลงไปได้ 3 แต้ม แต่ไม่ทำ
ที่รบกันชายแดนไทย-เขมร มันก็โอ้ละพ่อ!
นานาประเทศต้องถือผลประโยชน์ของประเทศมาก่อน เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องรอง ต้องรักษาทรัพยากรของคนทั้งประเทศไว้เพื่อคนรุ่นต่อๆ ไป ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญต้องทำเรื่องอาณาเขตให้ชัดเจนเสียก่อน ไม่เช่นนั้น จะแบ่งพื้นที่ทรัพยากรเป็นของประเทศใดยังไม่ได้
จับพิรุธการตัดสินคดีรวบรัด ทำร้ายคนไทย
ส่วนคดีศาลพนมเปญตัดสินคนไทย 5 คนนั้น เป็นการพิจารณาคดีอย่างรวบรัดตัดตอน (Summary Execution) ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม
ส่วนคดีศาลพนมเปญตัดสินคนไทย 5 คนนั้น เป็นการพิจารณาคดีอย่างรวบรัดตัดตอน (Summary Execution) ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม
ถ้าพิสูจน์ได้ว่า จับคนไทยในดินแดนไทย ก็คือการลักพาตัว ลากเข้าไปในเขมรยัดข้อหาตัดสินอีก ประเทศไหนจะยอม(มีแต่ไทย) ส่วนจะอ้างว่า คนไทยยอมสารภาพ ก็เขมรนำคนไทยไปขังในสภาพแย่ ๆ ห้ามติดต่อกับทูต กับทนาย และมีท่าทีข่มขู่ คนไทยย่อมเกิดความหวาดกลัว เรียกว่า น็อน คอมโนนิกาโด(non communicado) คือ มิอาจจะติดต่อกับใครได้ นี่เป็นการกดดัน ทรมานอย่างหนึ่ง กติกาสากลห้ามทำเช่นนี้ ผู้นำประเทศใดทำเช่นนี้ ย่อมมีความผิด จะอ้างความเป็นนายกฯ เพื่อได้รับการยกเว้นไม่ต้องขึ้นศาลนั้น ไม่ได้
พยานของเราไปแสดงหลักฐานในศาลกัมพูชา มีทั้ง น.ส.3 กับ ส.ค. มีตราครุฑของราชอาณาจักรไทย ศาลเขมรก็ไม่ยอมรับ ก็ให้บันทึกไว้จะเป็นพยานหลักฐานไว้ฟ้องคดีในศาลสากล
ถ้าฟ้องสำเร็จ นายกฯฮุน เซน จะต้องจ่ายชดใช้ความเสียหายและค่าปรับไหม ให้คนไทยทั้งหมด เทียบเคียงคำพิพากษาคดี Filartiga (ฟิลาร์ติก้า ผู้นำประเทศปารากวัย สั่งฆ่าประชาชน แล้วหนีไปสหรัฐฯ ประชาชนยื่นฟ้อง ในที่สุดศาลสหรัฐอเมริกา ตัดสินในค.ศ.1980 ให้จ่าย 10 ล้านดอลลาร์) จะต้องจ่ายให้ผู้เสียหายคนละ 10 ล้านดอลลาร์ หรืออาจสูงถึง 700 ล้านดอลลาร์
นี่คือข้อมูลเสนอให้ตรวจสอบ พิสูจน์ เพื่อให้ประชาชนพี่น้องไทยได้เห็นความจริง
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น