ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปตท.มักง่าย สร้างโรงงานนับสิบแห่ง เสี่ยงทรุดพังสร้างหายนะภัย


๐ ทำไมต้อง ตรวจสอบ โรงงาน ปตท.ในมาบตาพุด ที่สร้างภัยเสี่ยงก่อเหตุหายนะ ๐


เมื่อหมดความไว้ใจในการทำงานของ ภาครัฐ ที่ปล่อยให้มีการดำเนินการอย่างมักง่าย-ประมาท ของ ปตท. แบบไม่น่าให้อภัย ทั้งที่ พรบ.โรงงาน และวัตถุอันตราย ปี 2535 ก็เขียนไว้ชัดเจนว่า "การสร้างทำต้องแข็งแรงมั่นคงเหมาะสม และไว้วางใจได้" - คำว่าเหมาะสมนั้น คือการอิงมาตรฐานของอุตสาหกรรมนั้นๆ (ไม่ใช่แค่ ถูกต้องตาม พรบ.ควบคุมอาคาร) และต้องอิงกับรายงานการประเมินอันตรายรุนแรง ซึ่งอันตรายรุนแรงของโรงแยกก๊าซที่ 5 คือ คนในพื้นที่รัศมีอันตราย 3 ถึง 8 พันไร่ ครอบคลุมทั้งตลาดมาบตาพุด และโรงงานต่าง คนจะตายภายในเวลาไม่มีกี่นาที บ้านเรืือน-โรงงานติดต่อกัน จะเกิดไฟไหม้ (มีโอกาสก่อให้เกิดการระเบิดต่อเนื่อง) คณะ กก.ตรวจสอบติดติาม ถูกนำเสนอในการประชุมร่วม ปตท.โรงแยกก๊าซ+กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด (ทั้งนี้ ปตท. โดย นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ตั้งคณะ กก.ตรวจสอบ ของ ปตท. แล้ว แต่ไม่มาร่วมประชุมฯ อ้างว่าเป็นผู้บริหารระดับสูง...การดำเนินการต่างๆ จึงไปไม่ได้)

กรอบและการทำงานเบื้องต้น - ของคณะตรวจสอบ-ติดตาม

องค์ประกอบคณะกรรมการ
1. ส่วนของ ปตท. - เจ้าภาพ
2. ส่วนของ การนิคมแห่งประเทศไทย - ผู้ประสานงาน
3. ส่วนของ คณะผู้ตรวจสอบ-ติดตามฯ ของ กลุ่มพิทักษ์อากาศฯ เสนอ

คณะผู้ตรวจสอบ-ติดตาม ประกอบด้วย กลุ่มวิศวกรโยธา (Civil Engineer)
1. หัวหน้าคณะผู้ตรวจสอบ-ติดตาม Civil Engineer
2. รองหัวหน้าคณะผู้ตรวจสอบ-ติดตาม Civil Engineer
3. วิศวกรโยธา ฝ่ายตรวจสอบและงานวิชาการ Civil Engineer
4. วิศวกรโยธา ฝ่ายตรวจสอบและงานความปลอดภัย Civil Engineer
5. วิศวกรโยธา ฝ่ายตรวจสอบและงานเอกสาร Civil Engineer
6. ผู้ช่วยวิศวกรโยธา – จำนวนตามความเหมาะสม – Supervisor/ Technician
(รายการ 1- 6 กลุ่มพิทักษ์อากาศฯ เสนอ)
7. คณะผู้ตรวจสอบร่วม ของ ปตท. ในโครงการ (ตามที่ ปตท.เห็นสมควร)"

ขั้นตอนและการดำเนินการเบื้องต้น
1. จัดรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับงานเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง, รายการคำนวณ แบบแปลน และแบบฐานรากส่วนที่ไม่มีเสาเข็ม ทั้งหมดของโครงการ
2. เอกสาร หมุดหลักฐาน แนว-ระดับ ของโครงสร้างต่างๆ
3. ประวัติการซ่อมและประวัติการทรุดตัว เดิม
4. การตรวจสอบแนวระดับ ระยะแรก ระยะกลาง
5. การติดตามโครงสร้างรับแรงสั่นไหว (Dynamics Load / Horizontal Load)
6. การติดตามหลังจากฝนตกติดต่อกันหลายวัน
7. การซ่อมแซม-เพิ่มความแข็งแรงฐานราก
8. การติดตามส่วนที่เสริมความแข็งแรง-แก้ไข
9. การวิเคราะห์ศึกษาพฤติกรรมโครงสร้างเดี่ยวที่มีความสูง บนฐานรากตื้น
10. การทดสอบดินและทดสอบความแข็งแรงเพิ่มเติม
11. รายงานการประเมินผล รายการเสริมความแข็งแรงและการติดตาม

ระยะเวลาในการตรวจสอบ-ติดตาม
1. ระยะแรก – ก่อนและหลัง การทดสอบระบบ / ก่อนเปิดใช้โรงงาน
2. ระยะกลาง – ระหว่างการเปิดดำเนินงานของโรงงาน ระยะเวลา 3 ปี (คณะกก.ตรวจสอบ-ติดตามร่วม)
3. ตลอดอายุการดำเนินการของโรงงาน หรือ 10 ปี (ปตท. และกนอ.ต้องตรวจสอบ-ติดตามร่วมกันต่อ)

เงื่อนไขการทำงาน
ปตท จะจัดหา พื้นที่สำนักงานที่เหมาะสมในแต่ละโครงการ พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อการทำงาน-จัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้อง และ ปตท ต้องจัดหา-จัดจ้าง บริษัทฯ สำรวจ และบริษัทฯ เสริมความแข็งแรงและแก้ไขการทรุดตัวของฐานราก ให้ตรงตามที่มีความเห็นชอบร่วมกัน

ค่าตอบแทน คณะผู้ตรวจสอบ-ติดตามฯ (เสนอให้วิศวกรสนาม บ.อิตาเลี่ยนไทย ลาออกมาเป็น ผู้ร่วมตรวจสอบ เพราะเคยทำงานในพื้นที่ที่ก่อสร้าง โรงงานต่างๆของ ปตท.)
1. เงินเดือนและเบี้ยเลี้ยง ในอัตราเปรียบเทียบปกติกับพนักงานของ ปตท. ตามคุณวุฒิ-
สาขาวิชา หรือประสบการณ์การทำงาน (โดยมีสัญญาจ้างจาก ปตท.)
2. ค่าเดินทาง-ยานพาหนะ
3. ค่าที่พัก หรือเบี้ยประชุม กรณีที่ต้องไปร่วมประชุม นอกเขตพื้นที่
4. อื่นๆ เปรียบเทียบปกติกับพนักงานของ ปตท. เช่น ประกันสังคม การรักษาพยาบาลฯ

การแต่งตั้ง กก.ตรวจสอบของ ปตท.






รางานการประชุมร่วม ของ ปตท. และ กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่นมาบตาพุด












รูปการทดสอบดิน ที่อ้างว่า รับน้ำหนักได้มากถึง 90 ตัน/ม2

จดหมายของ ITD ที่ปฏิเสธค่าใช้จ่ายในการซ่อม-ไม่รับผิดชอบการทรุดของโครงสร้างในอนาคต เพราะการออกแบบต่างๆ เป็นการดำเนินการโดย SAMSUNG








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น