รูปรณรงค์คัดค้านการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม
รูปรณรงค์คัดค้านการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม
รูปรณรงค์คัดค้านการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม
เห็นได้จากการที่มีผู้คนจำนวนมาก แห่นำรถยนต์ไปติดตั้งถังก๊าซแอลพีจี หรือก๊าซหุงต้มกันสูงถึงเดือนละ 100,000 คัน หรือประมาณวันละกว่า 3,000 คัน จนกระทั่งเกิดปัญหาการขาดแคลนขึ้นในสถานีบริการต่างๆทั่วประเทศ
สภาพการณ์เช่นว่านี้ มีผู้พบว่า มีการนำรถยนต์ไปดัดแปลงจากระบบใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไปเป็นก๊าซหุงต้มแล้วสูงถึง 600,000 คัน และจนถึงสิ้นปี หากรัฐบาลยังไม่กลับมาทบทวนโครงสร้างราคาของก๊าซหุงต้ม ที่ต่ำกว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตัวอื่นๆกว่าครึ่ง หรือบริหารจัดการด้านการใช้พลังงานกันใหม่ ก็คาดว่า จะมีรถยนต์ที่ติดตั้งก๊าซแอลพีจีเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านคัน ปัญหานี้ อาจกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ ที่พร้อมจะสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศชาติมากกว่าที่คิด ไม่เฉพาะแต่กับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้การอุดหนุน เพื่อให้แอลพีจีมีราคาต่ำกว่าราคาในตลาดโลกอย่าง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เท่านั้นที่ไม่สามารถสร้างผลผลิตได้เพียงพอต่อปริมาณการใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด กระทั่งต้องนำเข้าก๊าซหุงต้มจากตะวันออกกลางมาขายในราคาต่ำ และมีผลให้กระบวนการผลิตทั้งระบบต้องประสบกับปัญหาการขาดทุน ในขณะที่ประเทศต้องเผชิญปัญหาการขาดดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดสูงขึ้นไปอีก
แต่ลองหลับตานึกภาพดูเอาเองเถอะว่า ในภาวะที่ผู้คนต่างก็หนีเอาตัวรอดจากภาวะน้ำมันแพงไปหาก๊าซแอลพีจีที่ติดตั้งง่ายกว่า และมีราคาถูกกว่าน้ำมันลิตรละเกือบ 30 บาทนั้น จะอันตรายสักแค่ไหน หากทางการปล่อยให้ผู้คนติดตั้งก๊าซนี้ในรถยนต์โดยไม่มีการตรวจสอบระบบความปลอดภัย หรือปล่อยให้ใครก็ได้เปิดปั้มแก๊สเสรี โดยไม่มีหน่วยงานใดไปตรวจสอบว่ามีใบอนุญาตหรือไม่ โดยเฉพาะถ้าต้องนั่งรถแท็กซี่ หรือขับรถตามหลังรถมอเตอร์ไซค์ที่สะเพร่านำถังก๊าซหุงต้มในครัวเรือนมาใช้ในรถแทน
ปตท.ยอมรับว่าเกิดการขาดแคลนจริง แต่ขาดเพียง 7 วันเท่านั้น คือระหว่างวันที่ 26 มิ.ย.-2 ก.ค.ที่ผ่านมา แต่จากนี้ไป ปตท.จะมีปริมาณแอลพีจีเพียงพอกับความต้องการใช้ โดยไม่ขาดแคลน สาเหตุที่ขาดแคลนในช่วงนั้น เป็นเพราะว่าความ ต้องการใช้ในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ ปริมาณการผลิตในประเทศ และความต้องการใช้ไม่สอดคล้องกัน ส่งผลให้ ปตท.ต้องนำเข้าแอลพีจีตั้งแต่เดือน มี.ค.ที่ผ่านมา เดิมคาดว่าจะนำเข้าเพียงเดือนละ 20,000 ตัน แต่การที่มีคนแห่มาใช้แอลพีจีกันจนฝุ่นตลบ ทำให้ ปตท.ต้องนำเข้าในเดือน มิ.ย.เป็น 60,000 ตัน แต่ในการนำเข้าเดือน มิ.ย.เกิดปัญหาเรือเทียบท่าที่เข้าบ่อยาไม่ได้ เพราะมีการซ้อมรบทางทะเล จึงเกิดช่วงสุญญากาศในการขนถ่าย สิ่งที่ ปตท.ทำได้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเฉพาะหน้าก็คือ นำแอลพีจีที่สำรองไว้ออก มาจำหน่ายให้แก่ผู้ใช้ทุกกลุ่มตั้งแต่ภาคขนส่ง รถแท็กซี่ รถยนต์ส่วนบุคคล ภาคครัวเรือน และ โรงงานอุตสาหกรรม
ขณะที่ความต้องการใช้แอลพีจีได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในภาคขนส่งของรถยนต์ส่วนบุคคล เพียงเดือน มิ.ย.ปีนี้ มีคนหันมาติดตั้งแอลพีจีแทนการใช้น้ำมันเบนซินถึง 100,000 คันต่อเดือน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ปริมาณแอลพีจีที่ผลิตได้ในประเทศไทยไม่เพียงพอ จากเดิมที่ ปตท.เคยผลิตแอลพีจีได้ถึงปีละ 4.08 ล้านตัน เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศปีละ 3 ล้านตัน และมีเหลือส่งออกไปต่างประเทศด้วย
แต่ปัจจุบันไทยต้องนำเข้าแอลพีจี เพราะเพียงแค่ 5 เดือนแรกของปีนี้ ความต้องการใช้พุ่งทะลุ 1.57 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สวนทางกับยอดการใช้น้ำมันที่ลดลง 10% อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้คนหันมาใช้แอลพีจีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะราคาแอลพีจีอยู่ที่ 11-12 บาทต่อลิตร ขณะที่เบนซินอยู่ที่ 40 บาทต่อลิตร ซึ่งราคาที่แตกต่างกันกว่า 20 บาทต่อลิตร ทำให้คนหันมาใช้แอลพีจีกันอย่างก้าวกระโดด ขณะที่ค่าติดตั้งถัง แอลพีจีเฉลี่ยอยู่ 20,000-37,000 บาท ซ้ำยังมีปั๊มแอลพีจีเปิดมากถึง 489 แห่งทั่วประเทศ แต่ใน จำนวนนี้มีปั้มของ ปตท.อยู่เพียง 27 แห่งเท่านั้น เพราะ ปตท.ไม่ได้สนับสนุนให้คนหันมาใช้ แอลพีจีในรถยนต์
การที่แอลพีจีในประเทศมีราคาต่ำ เพราะรัฐบาลมีนโยบายให้ ปตท.รับภาระอยู่กว่า 600 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ทำให้เกิดมีการลักลอบนำแอลพีจีออกไปขายประเทศเพื่อนบ้าน ในลักษณะกองทัพมดกันเป็นจำนวนมาก ปราบเท่าไหร่ก็ปราบไม่ได้ ตราบเท่าที่ราคาในประเทศยังไม่สะท้อนความเป็นจริง และยังต่ำกว่าราคาตลาดอยู่มาก เปรียบเทียบราคาขายปลีกต่อกิโลกรัม (กก.) จะเห็นว่า ราคาที่จำหน่ายให้แก่ภาคครัวเรือนในประเทศ (ไม่ใช่ภาคการขนส่ง) อยู่ที่ 18.13 บาทต่อ กก. ของมาเลเซียอยู่ที่ 18.31 บาท ฟิลิปปินส์ 35.59 บาท เวียดนาม 35.67 บาท กัมพูชา 38.88 บาท ส่วนลาว 41.50 บาท ขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ก็นำแอลพีจีที่บรรจุถังสำหรับภาคครัวเรือน ขนาด 48 กก. มาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพราะราคาถูกกว่าน้ำมันเตา ทำให้โครงสร้างการใช้แอลพีจีของประเทศไทยถูกบิดเบือนและอยู่ในภาวะดีมานด์เทียม จริงๆแล้วแอลพีจีควรใช้ในภาคครัวเรือน และสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีให้แก่ ปตท.ปีละกว่า 200,000 ล้านบาท มากกว่าที่จะมาถูกบิดเบือนเช่นนี้ นี่เป็นเหตุผลให้ ปตท.หันไปส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ (เอ็นจีวี) เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการใช้เชื้อเพลิง เพราะเอ็นจีวีก็มีราคาถูกกว่าเพียงลิตรละ 8.50 บาท อาจจะมีปัญหาเรื่องการติดตั้งถังเอ็นจีวี หรือปั๊มเอ็นจีวีบ้างในช่วงต้น แต่จนถึงปัจจุบันมีรถยนต์ที่หันมาใช้เอ็นจีวีแล้ว 84,000 คัน และจะเพิ่มเป็น 120,000 คันในสิ้นปีนี้ โดย ปตท.มีแผนเพิ่มกำลังการจ่ายก๊าซของสถานีแม่ และแนวท่อ 5,465 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในสิ้นปีนี้ พร้อมเพิ่มสถานีบริการขนาดจัมโบ้ 20-30 ตู้จ่าย 4 มุมเมือง จากสถานีขนส่งสายใต้-สถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) และสถานีเฉพาะรถขนาดใหญ่ (Fleet) อีก 58 แห่งที่จะให้บริการเอ็นจีวีอย่างเต็มรูปแบบแล้ว เป็นความผิดของใครที่ทำให้สถานการณ์เป็นอย่างนี้ ไม่ใช่ความผิดของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ชุดก่อน หรือชุดนี้ แต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันที่สะสมมากว่า 10 ปี และรัฐบาลชุดนี้พยายามจะเข้ามาแก้ไขด้วยวิธีการต่างๆ รวมถึงข้อเสนอให้ใช้พลังงานทางเลือก...ที่ไม่เจอปัญหาหนักหนาสาหัสสากรรจ์ ก็เพราะที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบยังไม่สูงมาก แต่หลังจากที่ราคาพุ่งขึ้นไปเรื่อยๆ จาก 60 เป็น 70 และทะลุ 100 เหรียญสหรัฐฯ ขึ้นไป ราคาแอลพีจีในตลาดโลกก็ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย เป็น 906 เหรียญฯต่อตัน แต่ราคาในประเทศซึ่งควบคุมไว้ ยังคงอยู่ที่ระดับ 332 เหรียญฯ ทำให้ภาระหนักอึ้งตกอยู่กับ ปตท. แม้รัฐบาลจะมีสัญญาชดเชยให้ ปตท.ภายหลังหากปริมาณการใช้ในประเทศมีน้อยกว่าที่ผลิตได้ หรือมีเหลือพอ ก็จะอนุญาตให้ ปตท. ส่งออกได้ก็ตาม แต่วันนี้ ปตท.ยังคงต้องแบกภาระการอุดหนุนนี้ไว้เพื่อให้ราคาในประเทศต่ำ แม้ราคาแอลพีจีมีแนวโน้มจะพุ่งขึ้นไปแตะ 1,000 เหรียญฯ ในเร็ววันนี้แล้วก็ตาม
สำหรับข้อกล่าวหาที่ว่า ปตท.กักตุนแอลพีจี เพื่อรอรับการปรับขึ้นราคาในเดือน ก.ค.นี้นั้น ผมอยากจะบอกว่า มันนันเซนส์ เมื่อคำนวณกับปริมาณการผลิตแอลพีจีของ ปตท.ที่มีอยู่ 20,000 ตันในช่วง 7 วันที่แอลพีจีขาดตลาด กับราคาใหม่ที่จะปรับขึ้น ปตท.จะได้รับผลประโยชน์เพียง 60 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้ที่เล็กน้อย เมื่อเทียบกับเงินที่ ปตท.แบกภาระอยู่วันละ 100 ล้านบาท หรือปีละกว่า 30,000 ล้านบาท ปตท.มีทางออกในเรื่องนี้อย่างไร
วิธีที่ถูกต้องที่สุดคือ ขึ้นราคาแอลพีจี ทั้งภาคขนส่ง และครัวเรือน เพื่อให้ราคาสะท้อนกับต้นทุนที่แท้จริงในตลาดโลก แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถขึ้นราคาภาคครัวเรือนได้ จึงต้องขึ้นเฉพาะภาคขนส่งไปก่อน เพื่อให้การใช้แอลพีจีในภาคขนส่งลดลง เพราะถือว่า รัฐบาลมีเอ็นจีวีเป็นทางเลือกให้แล้ว แต่รัฐบาลต้องมาดูว่า จะทยอยปรับขึ้นราคาแอลพีจีอย่างไร จะใช้สูตรยาแรง ยาเบา และช่วงเวลาที่ห่างกันเพียงใด ก็เป็นเทคนิคของรัฐมนตรีพลังงานแต่ละคนจะหยิบขึ้นมาใช้ ต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ราคาแอลพีจีจะต้องปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น โครงสร้างราคาที่เหมาะสม จะต้องเป็นราคาที่ปรับขึ้นไปตามกลไก แม้ว่าเรื่องนี้ต้องใช้เวลา แต่ก็ต้องทำเหมือน กับบังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ที่ปรับสูตรราคาแอลพีจีหลายรอบ โดยเฉพาะบังกลาเทศปรับราคาแอลพีจี โดยแยกกลุ่มผู้ใช้เป็นหลายกลุ่ม และใช้กลไกราคาที่แท้จริง หรือใกล้กับความเป็นจริงมากที่สุดเพื่อให้การบิดเบือนราคาน้อยลง ผมคิดว่าต้องเห็นใจ พล.ท.หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน เพราะปัญหาราคาแอลพีจี เป็นปัญหาที่แก้ยาก และเรื้อรังมายาวนาน แต่ถ้าทำตามแผนการปรับราคาบันได 5 ขั้น ที่ ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีต รมว.พลังงาน วางแนวทางไว้ ก็เชื่อว่าจะช่วยคลี่คลายปัญหาลงได้ระดับหนึ่ง ดูจากตารางที่ 1 ตามแผนบันได 5 ขั้น ก็จะพบว่า เป็นโครงสร้างราคาแอลพีจีที่เดินมาถูกทางเพื่อไปสู่การกำหนดราคาตามกลไกตลาดโลกมากที่สุด หลังจากที่รัฐบาลอุดหนุนมาอย่างยาวนาน กล่าวคือ ในเดือน ก.ค.นี้ จะต้องมีการปรับขึ้นราคาแอลพีจี ตามแผนบันไดขั้นที่ 2 ด้วยการใช้สูตรราคาของเดือน เม.ย.-มิ.ย.เป็นหลัก หลังจากที่แผนเดิมถูกระงับไปชั่วคราว นั่นก็คือจะมีการอิงราคาแอลพีจีที่ผลิตได้ในประเทศ หรือที่รัฐบาลกำหนด 90% ส่วนอีก 10% เป็นราคาตลาดโลก ซึ่งหมายความว่า ราคาของกลุ่มผู้ใช้ภาคขนส่ง จะปรับขึ้น 10% จากปัจจุบัน ส่วนภาคครัวเรือน รัฐบาลยังคงอุดหนุนต่อไป จะทำอย่างไรให้การใช้พลังงานไทยไม่บิดเบี้ยว อย่างแรก ปตท.สนับสนุนให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก เพราะเรามีก๊าซในอ่าวไทยมากถึง 80% ขณะที่น้ำมันต้องนำเข้าถึง 80% และมีในประเทศเพียง 20% และสนับสนุนให้คนหันมาใช้ก๊าซเอ็นจีวีกันมากขึ้นภายใต้ความคาดหวังว่า สักวันหนึ่ง ไทยเป็นประเทศต้นแบบของเอ็นจีวีได้ เช่นเดียวกับที่บราซิลเป็นประเทศต้นแบบ ของการพัฒนาพลังงานทางเลือกอย่างเอทานอล เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมัน ผมสนับสนุนกระทรวงพลังงานให้ผลักดันประชาชนหันมาใช้พลังงานทางเลือกอย่างเอทานอล ที่ผลิตได้จากอ้อย และมันสำปะหลังในประเทศอย่างจริงจัง เท่าที่ดู เราน่าจะใช้เอทานอลแทนน้ำมันเบนซินได้มากถึง 17-20 ล้านลิตรต่อปี ถ้าเราบริหารจัดการได้อย่างบูรณาการเช่นเดียวกับบราซิลซึ่งเขาสามารถลดการใช้น้ำมันลงได้ถึง 50% ส่วนอีก 50% เป็นพลังงานทางเลือก ที่สุดเราก็จะลดการพึ่งพาน้ำมันลงได้มาก จะเป็น อี 10 อี 20 อี 85 หรือใช้เครื่องยนต์ Flex Fuel Vehicle : FFV ก็ควรจะเกิดขึ้นได้ โดยมีรัฐบาลเป็นเจ้าภาพ และคนกลางในการดูแลให้เกิดความเป็นธรรมในเรื่องของราคาผลผลิต ส่วน ปตท. ก็จะขยายธุรกิจไปทำในเรื่องของการผลิตไบโอดีเซล เพื่อลดปริมาณการใช้ดีเซลลงจำนวนหนึ่ง ขณะที่รัฐอาจสนับสนุนให้มีการใช้ไบโอดีเซลในระดับชุมชนมากขึ้น ถ้าเราบริหารจัดการพลังงานได้อย่างถูกต้อง ความวุ่นวายทั้งหลายที่เห็นก็จะหมดไป.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น