ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จับตาแก้ กม.ต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียม


จับตาแก้ กม.ต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียม


ปตท.สผ. ลุ้นต่อสัมปทานปิโตรเลียม
Dailynews 8/10/2007

นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปรายละเอียด ต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียมแหล่ง บงกช ของบริษัท ปตท.สผ.และบริษัทเชฟรอน เพื่อเตรียมเสนอ ครม.ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ หลังจากที่คณะกรรมการปิโตรเลียมได้เห็นชอบในหลัก การมาตั้งแต่เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ยอมรับว่าที่ผ่านมาใช้เวลาในการพิจารณานานเพราะต้องรอบคอบในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายที่เข้มงวดขึ้น

ทั้งนี้การต่อสัญญาสัมปทานแหล่งบงกชมีระยะเวลา 10 ปี จากเดิมที่จะหมดสัญญาเก่าในปี 55 โดยของเชฟรอนในแหล่ง บี 10 บี 11 บี 12 และ บี 13 และ ปตท.สผ.ในแหล่ง บี 15 บี 16 และบี 17 ซึ่งจะทำให้มีเงินลงทุนเข้ามาในไทยตลอด 10 ปี ประมาณ 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 400,000-500,000 ล้านบาท แยกเป็นเงินลงทุนของเชฟรอน 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และ ปตท.สผ. 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ.

ขนเม็ดเงินลงทุน 4.5 แสนล้าน! 
Thairath [8 ต.ค. 50 - 05:00]

นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) เปิดเผยว่า การต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียมแหล่งบงกช ของบริษัท ปตท.สผ.สำรวจปิโตรเลียม และบริษัทเชฟรอน ใกล้ได้ข้อสรุปในเงื่อนไขต่างๆแล้ว ก่อนเสนอให้ ครม.พิจารณาเดือน พ.ย.นี้ ซึ่งการต่อสัญญาสัมปทานแหล่งบงกชมีระยะเวลา 10 ปี จากเดิมที่หมดสัญญาในปี 2555 โดยเชฟรอนขอสัมปทานในแหล่ง บี 10 บี 11 บี 12 และบี 13 และ ปตท.สผ.ในแหล่ง บี 15 บี 16 และบี 17 จะทำให้มีเงินลงทุนเข้ามาในไทยตลอด 10 ปี ของสัญญา 450,000 ล้านบาท สำหรับผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่กระทรวงการคลังจะได้รับตามที่ตกลงไว้ในสัญญานั้น เชฟรอนจะจ่ายให้กระทรวงการคลัง ปีละ 25,000 ล้านบาท และ ปตท.สผ.จ่ายให้ปีละ 14,000 ล้านบาท

นายไกรฤทธิ์ยังกล่าวถึงการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมว่า ได้รับความสนใจจากนักลงทุนค่อนข้างมาก ซึ่งเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมปีนี้จะอยู่ที่ 40,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากที่ปี 2549 ที่ 36,000 ล้านบาท

แก้ กม.ต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียม
ข่าวเศรษฐกิจวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2555 19:40น.

นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางเตรียมการจัดหาสัมปทานปิโตรเลียมในอนาคต เนื่องจากแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมที่ดำเนินการโดย บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. ที่แหล่งบงกชในอ่าวไทยและสัมปทานที่ร่วมทุนของบริษัท เชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิตอีกหลายโครงการ จะหมดอายุลงใน 10 ปี ข้างหน้า หรือในปี 2565 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ดังนั้นคณะทำงานจะดูความเป็นไปได้ในการแก้กฎหมาย เพื่อต่ออายุสัมปทานเพิ่มจากเดิมที่กฎหมายกำหนดให้ผู้รับสัมปทานสามารถต่ออายุได้ 1 ครั้ง หรือดำเนินการผลิตออกไปได้อีก 10 ปี ซึ่งสัมปทานดังกล่าวได้ใช้สิทธิ์การต่ออายุสัมปทานไปแล้ว

ทั้งนี้ รัฐบาลต้องการให้ผู้รับสัมปทานเดิมได้ต่ออายุสัญญามากกว่าการเปิดประมูลสัมปทานใหม่ เพราะจะทำให้เกิดการลงทุนสำรวจได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อรักษาเสถียรภาพกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติ โดยคาดว่าคณะทำงานจะได้แนวทางที่ชัดเจนภายใน 1 ปี


กมธ.วุฒิสภา พร้อมใช้ พ.ร.บ.คำสั่ง เรียก รมว.พลังงาน แจงสัมปทานปิโตรเลียม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 กรฎาคม 2555 ที่ห้องรับรอง 2 อาคารรัฐสภา 2 มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและการเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่มี น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว. กทม. เป็นประธาน มีวาระพิจารณาประเด็นการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม ครั้งที่ 21 ของกระทรวงพลังงาน การประชุมครั้งนี้ไม่มีตัวแทนจากกระทรวงพลังงานเข้าชี้แจง โดย กมธ. ได้หารือกันถึงประเด็นดังกล่าว ซึ่ง น.ส.รสนาระบุกับที่ประชุมว่า กมธ. ได้ส่งหนังสือให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานตอบคำถามเพิ่มเติมจำนวน 7 ข้อ ประกอบด้วย
1. การคิดค่าภาคหลวงในอัตรา 5-15 เปอร์เซ็นต์ตามรายหลุมเจาะหรือคิดเป็นผลผลิตทั้งแหล่ง
2. ขอทราบขั้นตอนการตรวจสอบเพื่อทราบปริมาณปิโตรเลียมที่แท้จริงเพื่อใช้คำนวณค่าภาคหลวง
3. ขอรายละเอียดผลตอบแทนพิเศษของแต่ละแหล่งสัมปทานปิโตรเลียม ทั้งการให้สัมปทานครั้งแรกและการต่อสัมปทานปิโตรเลียม
4. การโอนหรือขายสัมปทานปิโตรเลียมให้บุคคลอื่นทุกรายการพร้อมราคา
5. เปรียบเทียบข้อแตกต่างของกฎหมาย กฎระเบียบในการให้สัมปทานปิโตรเลียม ทั้งการสำรวจและขุดเจาะของประเทศไทย กับประเทศพม่า กัมพูชา บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย โบลิเวีย และเวเนซูเอลา
6. มีกระบวนการตรวจสอบหรือพิจารณาการใช้ดุลพินิจหรือหลักเกณฑ์ที่มีธรรมาภิบาลมากน้อยเพียงใด
7. มีหลักเกณฑ์ที่ไม่ให้ผู้คืนสัมปทานปิโตรเลียมเดิมมาประมูลใหม่หรือไม่

ปูด อธิบดีซุ่มแก้ กม. ต่อสัมปทานแหล่งบงกช

ทั้งนี้ สิ่งที่ กมธ. ให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ สัญญาสัมปทานปิโตรเลียมในแหล่งสิริกิติ์และแหล่งบงกช โดยเฉพาะแหล่งบงกชที่เป็นแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ที่สุดในทะเล มีปริมาณกว่า 1 หมื่นล้านลิตรต่อปี กำลังจะหมดสัญญาสัมปทาน ซึ่งมีกระแสข่าวออกมาว่าจะมีการแก้กฎหมายเพื่อให้มีการต่อสัญญาสัมปทานอีก 10 ปี ทั้งที่บริษัทผู้รับสัมปทานเคยได้สิทธิการต่อมาแล้วครั้งหนึ่ง 
ทาง กมธ. เห็นว่า การต่อสัมปทานดังกล่าวควรได้รับการทักท้วง เนื่องจากการเก็บผลประโยชน์ของการให้สัมปทานในแหล่งบงกชนั้นใช้รูปแบบ “ไทยแลนด์วัน” แหล่งปิโตรเลียมดังกล่าวควรจะเป็นของประเทศ มากกว่าให้มีการต่อสัญญาสัมปทานแล้วทำให้ประเทศชาติเสียประโยชน์
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี เลขานุการ กมธ. กล่าวว่า แหล่งบงกชมีการต่ออายุสัมปทานไปแล้ว 10 ปี และตามกฎหมายบริษัทผู้รับสัมปทานไม่สามารถต่อสัญญาสัมปทานได้แล้ว แต่มีข่าวในหนังสือพิมพ์ว่าทางอธิบดีพยายามตั้งทีมเพื่อแก้กฎหมายต่อสัญญาสัมปทานอีก ซึ่งหลุมปิโตรเลียมนี้ยังสามารถนำปิโตรเลียมขึ้นมาได้อีกหลายปี ถ้าขึ้นมาแล้วเป็นของหลวงทั้งหมด ประเทศไทยสามารถที่จะลืมตาอ้าปากได้เลย เพราะถ้านำจำนวนน้ำมันดิบ 1 หมื่นล้านลิตร คูณ 20 บาท จะได้เงินจำนวนมากมายมหาศาล ดังนั้น แหล่งบงกชจึงควรที่จะมีการประมูลโอเปอเรเตอร์ (ผู้ผลิต) ผู้มาปฏิบัติมากกว่าผู้มาสัมปทาน เช่น ให้ ปตท.สผ. มารับทำตรงนี้โดยแบ่งไป 10 % ของมูลค่าจะดีกว่าหรือไม่ เพราะความเสี่ยงของการขุดเจาะน้ำมันจะอยู่ในช่วงแรกเท่านั้นว่าจะเจอปิโตรเลียมหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมา กมธ. ได้ขอเอกสารการให้สัมปทานจากกระทรวงพลังงานแต่ไม่เคยได้รับแต่อย่างใด

เล็งเปิดอภิปราย ม. 161

นายคำนูน สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะ กมธ. ได้เสนอต่อที่ประชุมว่า กมธ. ต้องยืนยันให้นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมาชี้แจงต่อ กมธ. เพราะมีคำถามในเชิงนโยบายที่ข้าราชการประจำไม่สามารถที่จะตอบได้ ที่สำคัญคือปรัชญาการให้สัมปทานของประเทศไทยที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงก็จะผิดไปตลอด ระบบคิดของการให้สัมปทานของประเทศไทยคือให้เพื่อการส่งออก 100 % คนไทยมีทรัพยากรของเราเกือบ 50 % แต่เป็นกรรมสิทธิของผู้ได้รับสัมปทาน โดยให้มีการเปิดขายไปต่างประเทศได้ทั้งหมด แต่เวลาเราซื้อจะซื้อเข้ามาในราคาตลาดโลกบวกค่าขนส่ง
อย่างไรก็ตาม การที่มีการชะลอสัมปทานรอบที่ 21 นั้น ควรจะมีการทบทวนรากฐานของการให้สัมปทานทั้งหมด ดังนั้น รมว.พลังงานต้องมาตอบ และเมื่อ รมว. ไม่มาตอบ กมธ. ต้องทำหนังสือยืนยันไปอีกครั้งหนึ่งว่าให้ รมว.พลังงานมาตอบต่อ กมธ. ในครั้งต่อไปในวันที่ 9 สิงหาคมนี้ ทั้งนี้หากไม่มา กมธ. จะใช้ พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและฯ พ.ศ. 2554 ในการเชิญ รมว.พลังงานมาชี้แจงต่อ กมธ.
นอกจากนี้ ในการเปิดสมัยประชุมสามัญทั่วไปนั้น ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 161 ได้เปิดช่องให้สมาชิกวุฒิสภาสามารถขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติได้ ซึ่งการให้สัมปทานปิโตรเลียมนั้นเป็นต้นทางของปัญหาทั้งหมดของประเทศ ถ้าสามารถปฏิรูปตรงนี้ได้ก็ปฏิรูปประเทศได้
ทั้งนี้มาตรา 161 บัญญัติว่า “สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสมาชิกวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ”

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่

http://webboard.seri...า/page__st__100

แนวโน้มการลงทุนในอินโดจีนกำลังสูงขึ้น อินโดจีนยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สิน ใด ๆ ต่อผู้ลงทุน ถ้าถูกโอน เป็นของรัฐ จะทำอย่างไร

ความหวาดกลัวของนักลงทุนที่ไปลงทุนในต่างแดนมีอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นภาวะความผันผวนทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐ การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราและการที่รัฐบาลที่รับการลงทุนเปิดกิจการแข่งขันกับนักลงทุน เป็นต้น

ในช่วงทศวรรษ ถึงสองทศวรรษที่ผ่านมา รัฐผู้รับการลงทุนได้มีมาตรการที่ทำให้บริษัทต่างประเทศ มีความหวาดกลัวมากยิ่งขึ้น นั่นคือมาตรการ “โอนเป็นของชาติ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะเป็นการโอนเอา กิจการของบริษัทต่างประเทศ ซึ่งเข้ามาลงทุนกระทำการผลิตในรัฐของตน เช่นบริษัทขุดเจาะน้ำมัน บริษัท ทำเหมืองแร่ บริษัทที่เข้ามาทำกิจการสาธารณูปโภค เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า การขนส่ง การคมนาคม ซึ่งบริษัทต่างประเทศเหล่านี้ต่างนำเทคโนโลยี ทรัพย์สินที่มีค่ามาลงทุนในรัฐเจ้าของดินแดน

แต่ในที่สุด รัฐก็จะพยายามหาหนทางเอากิจการอันมีมูลค่าและมีประโยชน์อย่างมหาศาลมาเป็นของรัฐด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา ดังกรณี

คดี BP EXPLORATION CO., (LIBYA) LTD. กับ ARABIAN GULF EXPLORATION CO., LTD. บริษัท BP ได้ทำสัญญาสัมปทานกับรัฐบาลลิเบีย โดยให้ทำการขุดค้นแสวงหาประโยชน์ในดินแดนที่กำหนดเป็นเวลา 50 ปี รัฐบาลลิเบียได้ออกกฎหมายโอนกิจการบริษัทเป็นของชาติ โดยโอนความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สินรวมถึงบรรดาสิทธิต่าง ๆ และหุ้นของบริษัท BPไปเป็นของบริษัท ARABIAN GULF EXPLORATION CORPERATION

คดี TEXACO OVERSEA PETROLEUM CO. LTD. กับ LYBYAN NATIONAL OIL COM-PANY บริษัท TEXACOได้ทำสัมปทานกับรัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของลิเบียภายหลังรัฐบาลลิเบียได้ออกกฎหมายเพื่อโอนกิจการไปเป็นของ LYBYAN NATIONAL OIL COMPANY ในระหว่างปี ค.ศ. 1973-1974

การโอนเป็นของชาติหรือ NATIONALIZATION นั้นหมายถึง “การใดอันกระทำโดยอำนาจมหาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายบุคคลในประเภทแห่งกิจการใด ๆ มาเป็นของรัฐหรือองค์กรของรัฐทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและ ต้องมีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วย”

ส่วนวิธีการโอนนั้น รัฐผู้ทำการโอนแต่เพียงหุ้นของบริษัทที่ทำกิจการนั้น ๆ มาเป็นของรัฐ ซึ่ง ทำให้บริษัทไม่สูญเสียสภาพนิติบุคคลยังคงเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการต่าง ๆ ต่อไป หรือเวนคืนทรัพย์ของบริษัทมาเป็นของรัฐ โดยการประกาศยกเลิกบริษัทเสียแล้วจัดตั้งองค์การของรัฐขึ้นเพื่อดูแลกิจการทรัพย์สินที่โอนมานั้นต่อไปก็ได้

ไม่ว่าจะเป็นการโอนด้วยวิธีใดดังกล่าวก็ตาม รัฐผู้โอนก็จะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ถือหุ้น หรือบริษัทแล้วแต่กรณีด้วย เว้นเสียแต่จะเป็นการโอนโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลงโทษผู้ที่ค้ากับศัตรู ซึ่งจะไม่มีการให้ค่าสินไหมทดแทนแต่อย่างใด

ในอดีตนั้นถือว่า การโอนทรัพย์สินของคนต่างด้าวเป็นของชาตินั้นเป็นการละเมิดต่อสิทธิอันได้มาแล้วโดยชอบธรรมของคนต่างด้าวนั้น เช่นคดี MAVROMMATIS JERUSALEM COUCESSION CASE

อังกฤษยกเลิกสัมปทานที่ MAVROMMATIS ได้รับมาจากสัญญาที่กระทำกับตุรกี ศาลสถิต ยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินเมื่อ ค.ศ. 1925 ว่าการยกเลิกสัมปทานของอังกฤษนั้นเป็นการกระทำ ที่ไม่ถูกต้อง อังกฤษต้องเคารพต่อสิทธิที่เอกชนได้รับมาแล้วโดยชอบธรรม (ACQUIRED RIGHTS)

หรือคดี THE DELEGOA BAYCASE ระหว่างสหรัฐฯ กับโปรตุเกส รัฐบาลโปรตุเกสยึดทางรถไฟสร้างโดยนาย MURDO คนสัญชาติอเมริกัน อนุญาตตุลาการตัดสินให้โปรตุเกสใช้ค่าเสียหาย แก่สหรัฐฯ โดยถือว่ารัฐบาลโปรตุเกสเป็นผู้ผิดสัญญา

แต่กฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบัน รับรองสิทธิของทุกรัฐในการโอนทรัพย์สินของคนต่าง-ด้าวเป็นของชาติตน สาเหตุที่กฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบันให้รัฐโอนทรัพย์สินของคนต่างด้าวเป็นของชาติได้ เนื่องมาจากหลังอธิปไตยถาวรของรัฐ (PERMANENT SOVEREIGNTY) เหนือทรัพย์สินทรัพยากรธรรมชาติและกิจการทางธุรกิจดังที่สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ลงมติต่อเนื่องยืนยันหลักการนี้หลายครั้งหลายหนและยังปรากฎในมาตรา 2 วรรค 1 บทที่ 2 ของกฎบัตรว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ในทางเศรษฐกิจของรัฐ (CHARTER OF ECONOMIC RIGHTS AND DUTIES OF STATES)

คำว่า อธิปไตย “ถาวร” นี้หมายความว่า รัฐผู้มีอธิปไตยเหนือดินแดนของตนย่อมไม่สูญไป ซึ่งความสามารถตามกฎหมายในอันที่จะเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมายหรือวิธีการในการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของตนทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้มีข้อตกลงใด ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการแสวงหาประโยชน์นั้น ๆ ไว้แล้ว หรือไม่ก็ตาม

เมื่อการโอนเป็นของชาติเป็นสิ่งที่ทำได้เสมอโดยชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ ในที่นี้จึงจะอธิบายให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ที่จะทำให้การโอนเป็นของชาตินั้นมีผลสมบูรณ์ กล่าวคือ

เมื่อเข้าหลักดังกล่าว หากรัฐเห็นเหมาะสม รัฐก็จะดำเนินการเรียกร้องในนามของรัฐเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเสียหายจากรัฐผู้โอนโดยอาจดำเนินการทางการทูต หากรัฐได้ใช้สิทธิคุ้มครองทางการทูตต่อเอกชนผู้ได้รับความเสียหาย

คดีที่เกิดขึ้นระหว่างเอกชนกับรัฐที่ก่อให้เกิดความเสียหายจะกลายมาเป็นคดีระหว่างประเทศ ระหว่างรัฐที่ก่อให้เกิดความเสียหาย กับรัฐเจ้าของสัญชาติของเอกชนที่ได้รับความเสียหายทันที

รัฐเจ้าของสัญชาติสามารถจะสวมสิทธิทุกอย่างที่เอกชนมีอยู่ในการต่อสู้คดีกับรัฐที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเมื่อรัฐเจ้าของสัญชาติดำเนินคดีจนถึงที่สุด และได้รับชดใช้ค่าเสียหายแล้ว การแบ่ง ค่าเสียหายแก่เอกชนคนชาติของตนตามสัดส่วนเท่าใดนั้นย่อมอยู่ในดุลพินิจของรัฐเจ้าของสัญชาติแต่ ผู้เดียว

เพราะสิทธิในการให้ความคุ้มครองทางการทูตต่อคนชาติเป็นเรื่องเฉพาะตัวของรัฐ รัฐจะปฏิเสธหรือจะยอมรับที่จะใช้สิทธิดังกล่าวก็ได้

การแก้ไขความเสียหายโดยสนธิสัญญาการลงทุนที่จะมิให้การลงทุน หรือกิจการหรือทรัพย์สินของผู้ลงทุน ถูกบังคับโอนเป็นของรัฐโดยประเทศผู้รับการลงทุนเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง และเกือบทุกสนธิ-สัญญามีข้อกำหนดในเรื่องนี้

ทั้งนี้เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันว่ารัฐมีอำนาจเหนือบุคคลและสิ่งของดินแดนของตน รัฐจึงมีสิทธิที่จะบังคับโอนกิจการหรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนชาวต่างประเทศไปเป็นของรัฐได้

ฉะนั้นสนธิสัญญาเกี่ยวกับการลงทุนจึงได้กำหนดเป็นหลักประกันและเงื่อนไขที่ประเทศผู้รับการลงทุนจะโอนกิจการและทรัพย์สินเป็นของรัฐไว้ เช่น เป็นการโอนไปเพื่อประโยชน์สาธารณะและต้องมีการจ่ายค่าทดแทน

เหตุผลในการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการโอนกิจการหรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนไปเป็นของรัฐไว้ในสนธิสัญญาเพราะสินธิสัญญาเป็นกลไกอันหนึ่งในกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศ คู่สัญญาจะต้องผูกพันและปฏิบัติตาม

หากประเทศไม่ปฏิบัติตาม เช่น มีการโอนเป็นของรัฐ ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา ถือได้ว่ารัฐผู้โอนนั้นละเมิดหรือปฏิบัติผิดกฎหมายระหว่างประเทศ ก็จะเปิดโอกาสให้ประเทศคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งดำเนินการตามกฎหมายระหว่างประเทศได้ทันที

ผิดกับการใช้ DIPLOMATIC PROTECTION ซึ่งต้องผ่านกระบวนการตามข้างต้นก่อน ทำให้ ผู้เสียหายได้รับการชดใช้เยียวยาช้ากว่ากรณีรัฐได้ละเมิดสนธิสัญญา

สำหรับประเทศไทยได้มีบทบัญญัติกฎหมายภายในที่ให้ความคุ้มครองนักลงทุน หลายฉบับ เช่น พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พ.ร.บ. นิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2522

แม้แต่ในรัฐธรรมนูญเองก็มีบทบัญญัติการไม่โอนกิจการเป็นของรัฐอยู่เช่นกัน อีกทั้งปัจจุบันประเทศไทยได้ทำสนธิสัญญาที่เกี่ยวกับการลงทุนทั้งในรูปความตกลงเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรง และสนธิสัญญาร่วมมือทางเศรษฐกิจ กับประเทศต่าง ๆ เช่น เยอรมนี, สหรัฐอเมริกา, เนเธอร์แลนด์, แคนาดา

แต่สถานการณ์ขณะนี้ การลงทุนได้มีการเคลื่อนย้ายไปสู่ภูมิภาคอื่นอาทิ การลงทุนในปิโตรเลียมในประเทศเวียดนามตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 80 เป็นต้นมา

และเมื่อเดือนตุลาคมศกนี้บริษัทมิตซูบิชิออยล์ ได้รับสัมปทานการขุดเจาะน้ำมันบริเวณนอก ชายฝั่งตอนใต้ของเวียดนาม

หรือการลงทุนจากบริษัทพรีเมียร ออยล์ ฟิลด์ (อังกฤษ) บริษัทเทคชาโกและบริษัทนิปปอนออยล์ โค (ญี่ปุ่น) ที่เริ่มขุดเจาะบ่อน้ำมันเยนตากุน นัมเบอร์ วัน นอกชายฝั่งพม่า

และในประทศลาว ได้มีการเปิดการประมูลโครงการวางสายโทรศัพท์เชื่อมเวียงจันทน์กับหลวงพระบางและปากซานกับปากเซ มีมูลค่าประมาณ 600 ล้านบาท

สิ่งที่ควรพิจารณาก็คือ ประเทศเหล่านี้มีบทบัญญัติกฎหมายที่คุ้มครองและให้หลักประกันกับ นักลงทุนมากแค่ไหน ที่เห็นได้ก็คือ ประเทศเวียดนามยังไม่มีกฎหมายอาญา ไม่มีกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่มีกฎหมายล้มละลาย ที่เป็นระบบอย่างชัดเจน

เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นจึงเป็นปัญหาผู้ลงทุนจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้อย่างไร และสิ่งที่ น่าจับตามองอีกประการหนึ่งก็คือ ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจะซ้ำรอยเดิมหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น