13 กุมภาพันธ์ 2547
หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์
การกดปุ่มปล่อยเรือบรรทุกน้ำมัน 4,000 ตัน เพื่อเปิดศรีราชาฮับ ศูนย์กลางค้าปิโตรเลียมของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ม.ค. ที่ผ่านมา พร้อมประกาศผ่านสื่อทั้งไทย และต่างประเทศว่าภายใน 5 ปี จะเห็นภาพความสำเร็จที่ชัดเจนของการเป็นศูนย์กลางน้ำมันในภูมิภาค
เสมือนเป็นการตีระฆัง เริ่มต้นยกที่หนึ่ง ส่งสัญญาณจากรัฐบาลไปยังบรรดานักลงทุน บริษัทผู้ผลิตผู้ค้าน้ำมันต่างชาติให้รับรู้ว่า "นโยบายนี้ ประเทศไทยเอาจริงแน่ และพร้อมจะกัดไม่ปล่อย"
ท่ามกลางคำถามที่ท้าทายว่า ฝันการเป็นศูนย์กลางซื้อขายน้ำมันในภูมิภาคของไทยจะทำได้จริงหรือ? เรามีความพร้อม หรือแต้มต่อพอแล้วหรือยัง ที่อาจหาญจะไป "ทุบหม้อข้าว" ประเทศสิงคโปร์ เจ้าสังเวียนเดิม ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประตูน้ำมันแห่งเอเชียอยู่ในขณะนี้
แม้เปรียบเทียบแล้ว สิงคโปร์จะมีกำลังการกลั่นน้ำมันมากกว่าไทยเพียงเล็กน้อย โดยมีความสามารถในการกลั่นได้ประมาณ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ไทยมีกำลังการกลั่น 940,000 บาร์เรลต่อวัน แต่ข้อได้เปรียบที่เหนือกว่าไทยชัดเจนคือ กลไกทางกฎระเบียบและภาษีที่เอื้อต่อการทำเทรดดิ้ง เข้ามาซื้อขายน้ำมัน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับทั้งท่าเรือน้ำลึก ถังเก็บน้ำมัน ฯลฯ
จนทุกวันนี้ ครึ่งหนึ่งของเรือสินค้าที่ไปจอดเทียบท่าที่สิงคโปร์เป็นเรือขนส่งน้ำมัน เกาะเล็กเกาะน้อยที่อยู่รายล้อม ถูกเนรมิตให้กลายเป็นอาณาจักรคลังน้ำมันให้เช่า เอาแค่เฉพาะปริมาณการค้าน้ำมันระหว่างประเทศ (International trade) ก็มีถึง 1.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ยังไม่รวมการซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า (Paper Trade) อีกกว่า 17 ล้านบาร์เรล
ตลาดน้ำมันจึงเป็นเสมือนขุมทองล้ำค่าของสิงคโปร์ ประเทศเล็กพริกขี้หนู ที่สั่งสมประสบการณ์การทำธุรกิจการค้าน้ำมันมายาวนาน โดยผันตัวเองจากเกาะเล็กๆ มาเป็นศูนย์กลางค้าน้ำมันในเอเชียอย่างเต็มตัวตั้งแต่ปี 2532 ด้วยการพัฒนาจากการเป็นเมืองท่าที่ตั้งอยู่ในทำเลช่องแคบมะละกาสู่การขยายฐานโรงกลั่นน้ำมันเพื่อการส่งออกต่อยอดเป็นตลาดน้ำมันครบวงจร
ปัจจุบัน มีบริษัทน้ำมันจากทั่วทุกมุมโลกมากกว่า 60 บริษัท หลั่งไหลเข้ามาตั้งออฟฟิศทำธุรกิจซื้อขายน้ำมันในสิงคโปร์ รวมถึงบริษัทน้ำมันของคนไทยอย่างบริษัท ปตท. อินเตอร์เนชั่นแนล เทรดดิ้ง ที่ไปเปิดอยู่ที่นั่นด้วย
ประเทศไทยเราเพิ่งจะได้ฤกษ์ขยับตัวตื่นเมื่อไม่นานมานี้ โดยมีการประกาศยุทธศาสตร์ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางน้ำมันในภูมิภาคอย่างจริงจังในช่วงเดือนส.ค.ปีที่แล้ว หลังจากที่นายกฯ ทักษิณ ไปนั่งหัวโต๊ะเป็นประธานเวิร์กช็อปยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศ
นำมาสู่การประกาศิตสั่งการบ้านด่วนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ และภาษีให้เอื้อต่อการเข้ามาค้าขายน้ำมันผ่านไทยมากขึ้น พร้อมปลุกปั้นโครงการแลนด์บริดจ์ เส้นทางขนส่งน้ำมันเส้นใหม่ เชื่อมต่อฝั่งอ่าวไทย และอันดามันชูขึ้นมาเป็นจุดขายว่าหากสร้างเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า จะสามารถช่วยร่นระยะทางขนส่งจากตะวันออกกลางไปยังเอเชียตะวันออก ไม่ต้องอ้อมเรือไปไกลถึงช่องแคบมะละกาตัดหน้าสิงคโปร์
อย่างไรก็ตามต้องถือว่าไทยกับสิงคโปร์ ยังเป็นมวยคู่ชกกันคนละรุ่นเพราะประเทศไทยเพิ่งกำลังอยู่ในระยะตั้งไข่หัดเดินสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าน้ำมันเรียกว่ายังห่างชั้นจากสิงคโปร์ ที่เก๋าเกม มีประสบการณ์ที่ช่ำชองกว่าที่สำคัญบริษัทน้ำมันทั่วทุกมุมโลก ล้วนไปปักหลักอยู่ที่นั่นจนหมดแล้ว
ท่าทีของไทยที่ปรากฏสู่สากลตอนนี้ออกมาในลักษณะหลีกเลี่ยงที่จะพุ่งเข้าชนห้ำหั่นเพื่อโค่นแชมป์กับสิงคโปร์โดยตรง แต่ขอเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของตลาดน้ำมันในเอเชีย และจะเป็นการเข้ามาเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกันมากกว่า เพราะในอนาคตอีก 5-10 ปีข้างหน้า ความต้องการใช้น้ำมันในภูมิภาคนี้จะเติบโตขึ้นเป็น 2 เท่า
ขณะนี้ไทยยังเป็นแค่ช่วงเริ่มเบิกโรงด้วยการเปิดศรีราชาฮับขึ้นมาชิมลาง โดยใช้คลังน้ำมันที่มีอยู่แล้วมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ เนรมิตให้กลายเป็นเขตปลอดภาษี (ฟรีโซน) สำหรับการค้าขายน้ำมัน พร้อมอำนวยความสะดวก และผ่อนปรนกฎระเบียบ เพื่อสร้างบรรยากาศในการเข้ามาทำธุรกิจอาทิ อนุญาตให้นำน้ำมันจากหลายแหล่งมาผสมกัน และทำการส่งออกโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางภาษี อีกทั้งหั่นภาษีเงินได้นิติบุคคลบริษัทน้ำมันที่เข้ามาจดทะเบียนในไทยจากอัตราภาษี 30% ลดเหลือ 10% นอกจากนั้นยังเตรียมดึงตัวเทรดเดอร์น้ำมันต่างชาติ ที่คร่ำหวอดอยู่ในสิงคโปร์ เข้ามาเป็นกุนซือที่ปรึกษาช่วยวางกลยุทธ์กันเลยทีเดียว ด้วยศักยภาพทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ แทบจะกลายเป็นไพ่ใบเดียวเหนือกว่า ที่เราถืออยู่ในมือขณะนี้ ด้วยพรมแดนที่อยู่ติดใกล้ชิดหลายประเทศ เอื้อต่อการเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันทั้งทางบก ทางทะเล ลำเลียงไปยังตลาดอินโดจีน และประเทศจีน และยิ่งผลการศึกษาในเบื้องต้น หากโครงการแลนด์บริดจ์แล้วเสร็จ การขนส่งน้ำมันผ่านเส้นทางดังกล่าวจะลดค่าขนส่งน้ำมันลงได้ 40 เซนต์ต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกับเส้นทางที่ต้องผ่านช่องแคบมะละกาของสิงคโปร์
ก้าวต่อไปของเส้นทางฝันการเป็นศูนย์กลางน้ำมันของไทย สายตาทุกคู่จึงจับจ้องมาที่โครงการแลนด์บริดจ์ ที่จะเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่สุด เพราะหากจะสร้างตลาดซื้อขายน้ำมันในระดับภูมิภาคให้เกิดขึ้นได้ในประเทศไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มปริมาณการค้าขายน้ำมันผ่านไทย
หากดึงให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง อาทิ โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศผู้ซื้อน้ำมันในเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะจีนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการได้เป็นผลสำเร็จ นั่นหมายถึงว่าไทยจะเป็นจุดศูนย์กลางเส้นทางลำเลียงน้ำมันที่ผู้ซื้อผู้ขายมาเจอกัน เมื่อถึงเวลานั้นความฝันที่จะเป็นศูนย์กลางน้ำมันในภูมิภาคอีกแห่งเทียบชั้นสิงคโปร์ก็คงไม่หนีไปไหนเสีย
ไทยยังถือว่าใหม่อยู่มากในสายตาต่างชาติ ดังนั้น ประเทศไทยต้องเร่งปรับกติกาในหลายๆ ด้าน เพื่อสร้างบรรยากาศ และความเชื่อมั่นดึงดูดให้บริษัทน้ำมันที่ตั้งฐานทำธุรกิจในสิงคโปร์หันกลับมาทำการค้าขายน้ำมันผ่านไทยดูบ้าง คำถามสำคัญที่ทำให้ต่างชาติกำลังจดๆ จ้องๆ รอดูความชัดเจน ก่อนกล้ากระโจนเข้ามาทำการค้าขายน้ำมันผ่านไทยคือ นโยบายการเป็นฮับพลังงานของไทย รัฐบาลเอาจริงรึเปล่า เอาจริงแค่ไหน และเป้าหมายการเป็นฮับนี้เพื่อใคร เหล่านี้เป็นคำถามท้าทายที่รัฐบาลต้องเร่งไขคำตอบ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับบรรดาบริษัทเทรดเดอร์น้ำมันข้ามชาติ ที่เริ่มจะเข้ามา "ทดลอง" ซื้อขายน้ำมันในเขตฟรีโซน ตามคำเชิญชวนของไทย พร้อมรอการพิสูจน์ว่า ความพร้อมในการก้าวเป็นศูนย์กลางค้าน้ำมันของไทยภายใต้การนำของรัฐบาลทักษิณ
***** โครงการจัดตั้งศูนย์กลางการค้าปิโตรเลียมที่ศรีราชา หรือ Sriracha Hub ศูนย์กลางการค้าน้ำมันที่ศรีราชาเป็นโครงการที่เริ่มต้นของศูนย์กลางการค้าน้ำมันของ ไทยและจะช่วยสนับสนุนการดำเนินโครงการเส้นทางยุทธศาสตร์พลังงาน ซึ่งพันตำรวจโท
ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ไปเป็นประธานเปิดศูนย์กลางการค้าปิโตรเลียมแห่งประ
เทศไทย ( Thailand Petroleum Trading Centre ) ณ ท่าขนถ่ายน้ำมันเขาบ่อยา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒ โครงการจัดตั้งศูนย์กลาง
การค้าปิโตรเลียมที่ศรีราชามีการกำหนดพื้นที่ปลอดภาษีอากร( Tax Free Zone ) หรือพื้นที่
ยกเว้นภาษีสรรพาสามิต อากรศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่ส่งไปในพื้นที่นั้นและ
สินค้าที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร รวมทั้งได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับ เครื่องจักร
อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ที่จำเป็นต้องใช้ในเขตปลอดอากรนั้นโดยปรับ และแก้กฎ หมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจูงใจลูกค้ารวมถึงให้ผู้ประกอบการสามารถผสมน้ำมัน ( OilBlen
ding ) ตามคุณลักษณะต่างๆเพื่อส่งออกตามความต้องการของตลาดและจัดตั้งศูนย์ TPTP Service Centre หรือ TPTC (Thailand Petroleum Trading Centre) เพื่ออำนวย ความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจน้ำมันพร้อมกับปรับปรุงคลังน้ำมันที่เกาะสีชัง เพื่อรองรับ
เรือบรรทุกน้ำมันขนาด ๓๕๐,๐๐๐ ตันได้ และทำการวางท่อน้ำมันจากฝั่งตะวันตกของ เกาะมาฝั่งตะวันออกและต่อข้ามไปโรงกลั่นที่ศรีราชา โดยท่อจากเกาะสีชังจะถูกต่อขึ้นไปถึง โรงกลั่น และใช้คลังน้ำมันที่ศรีราชาเป็นจุดจ่ายผลิตภัณฑ์และมีการดำเนินการต่อท่อจากโรง กลั่นพันธ มิตร (เชลล์และคาลเท็กซ์) ที่จังหวัดระยองไปยังศรีราชา
เทศไทย ( Thailand Petroleum Trading Centre ) ณ ท่าขนถ่ายน้ำมันเขาบ่อยา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒ โครงการจัดตั้งศูนย์กลาง
การค้าปิโตรเลียมที่ศรีราชามีการกำหนดพื้นที่ปลอดภาษีอากร( Tax Free Zone ) หรือพื้นที่
ยกเว้นภาษีสรรพาสามิต อากรศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่ส่งไปในพื้นที่นั้นและ
สินค้าที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร รวมทั้งได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับ เครื่องจักร
อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ที่จำเป็นต้องใช้ในเขตปลอดอากรนั้นโดยปรับ และแก้กฎ หมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจูงใจลูกค้ารวมถึงให้ผู้ประกอบการสามารถผสมน้ำมัน ( OilBlen
ding ) ตามคุณลักษณะต่างๆเพื่อส่งออกตามความต้องการของตลาดและจัดตั้งศูนย์ TPTP Service Centre หรือ TPTC (Thailand Petroleum Trading Centre) เพื่ออำนวย ความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจน้ำมันพร้อมกับปรับปรุงคลังน้ำมันที่เกาะสีชัง เพื่อรองรับ
เรือบรรทุกน้ำมันขนาด ๓๕๐,๐๐๐ ตันได้ และทำการวางท่อน้ำมันจากฝั่งตะวันตกของ เกาะมาฝั่งตะวันออกและต่อข้ามไปโรงกลั่นที่ศรีราชา โดยท่อจากเกาะสีชังจะถูกต่อขึ้นไปถึง โรงกลั่น และใช้คลังน้ำมันที่ศรีราชาเป็นจุดจ่ายผลิตภัณฑ์และมีการดำเนินการต่อท่อจากโรง กลั่นพันธ มิตร (เชลล์และคาลเท็กซ์) ที่จังหวัดระยองไปยังศรีราชา
โครงการวางท่อส่งน้ำมันเชื่อมระหว่างฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยกับฝั่งทะเลด้านอันดามัน ( Strategic Energy Landbridge : SELB )
รัฐบาลได้กำหนดโครงการ SELB ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ในการจัดหาและสำรองน้ำมัน เพิ่มทางเลือกเส้นทางการขนส่งน้ำมันแทนช่องแคบมะละกา พัฒนาตลาดน้ำมันและอุตสาหกรรมปิโตรเลียมต่อเนื่องของภูมิภาค และกระตุ้นเศรษฐกิจของ ประเทศและพื้นที่ภาคใต้ ด้วยการวางท่อน้ำมันขนาด ๑.๕ ล้านบาร์เรล/วัน เส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๘ นิ้ว จาก อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงาไปยังอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ระยะทางประมาณ ๒๕๐ กิโลเมตร และมีคลังน้ำมันทั้งสองฝั่งซึ่งมีความจุ ๑๖ ล้านบาร์เรล/วัน พร้อมกับมีทุ่นรับ - จ่ายน้ำมันทั้งสองฝั่ง โดยฝั่งทะเลอันดามันสามารถรับเรือขนาด ๓๐๐,๐๐๐ - ๔๕๐,๐๐๐ ตัน ได้ ฝั่งอ่าวไทยสามารถรับเรือขนาด ๑๐๐,๐๐๐ - ๓๐๐,๐๐๐ ตัน ได้ นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากโครงการซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งโครงการ ๘๘๐ ล้านดอล
ลาร์สหรัฐฯ โดยฝั่งทะเลอันดามันซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวสำคัญและมีความอ่อนไหว ต่อสิ่งแวดล้อมได้กำหนดให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับน้ำมันและอุตสาหกรรมต่อเนื่องน้อยที่สุดโดย มี ีเฉพาะทุ่นขนถ่ายน้ำมันระบบท่อส่งน้ำมัน (ฝังใต้ทะเลและพื้นดิน) และถังเก็บน้ำมันเท่าที่จำ เป็น สำหรับฝั่งอ่าวไทยจะมีทุ่นขนถ่ายน้ำมัน ระบบท่อส่งน้ำมัน (ฝังใต้ทะเลและพื้นดิน) โรงกลั่นน้ำมันอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และถังเก็บสำรองน้ำมันซึ่งโครงการนี้สามารถย่นระยะทาง ขนส่งน้ำมันผ่านช่องแคบมะละกาได้ ๘๐๐ กิโลเมตร หรือผ่านช่องแคบลอมบอกได้ ๒,๘๐๐ กิโลเมตร ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความมั่นคงในการขนส่งน้ำมันด้วยเรือขนาดใหญ่จากตะวันออก กลางสู่เอเชียตะวันออกความสำเร็จของ โครงการขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านความ มั่นคงพลังงานระหว่าง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และไทย เป็นหลักโดยเฉพาะการใช้ SELB เป็น แหล่งสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของราคาน้ำมันลดค่า ASIAN Premium และลดความเสี่ยงด้านการขนส่งผ่านช่องแคบมะละกา
***** 6 ปีรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ผุด “46 ฮับ” มูลค่า 1.3ล้านล้าน คนใกล้ชิด...รวยเละ!รัฐบาลได้กำหนดโครงการ SELB ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ในการจัดหาและสำรองน้ำมัน เพิ่มทางเลือกเส้นทางการขนส่งน้ำมันแทนช่องแคบมะละกา พัฒนาตลาดน้ำมันและอุตสาหกรรมปิโตรเลียมต่อเนื่องของภูมิภาค และกระตุ้นเศรษฐกิจของ ประเทศและพื้นที่ภาคใต้ ด้วยการวางท่อน้ำมันขนาด ๑.๕ ล้านบาร์เรล/วัน เส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๘ นิ้ว จาก อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงาไปยังอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ระยะทางประมาณ ๒๕๐ กิโลเมตร และมีคลังน้ำมันทั้งสองฝั่งซึ่งมีความจุ ๑๖ ล้านบาร์เรล/วัน พร้อมกับมีทุ่นรับ - จ่ายน้ำมันทั้งสองฝั่ง โดยฝั่งทะเลอันดามันสามารถรับเรือขนาด ๓๐๐,๐๐๐ - ๔๕๐,๐๐๐ ตัน ได้ ฝั่งอ่าวไทยสามารถรับเรือขนาด ๑๐๐,๐๐๐ - ๓๐๐,๐๐๐ ตัน ได้ นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากโครงการซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งโครงการ ๘๘๐ ล้านดอล
ลาร์สหรัฐฯ โดยฝั่งทะเลอันดามันซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวสำคัญและมีความอ่อนไหว ต่อสิ่งแวดล้อมได้กำหนดให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับน้ำมันและอุตสาหกรรมต่อเนื่องน้อยที่สุดโดย มี ีเฉพาะทุ่นขนถ่ายน้ำมันระบบท่อส่งน้ำมัน (ฝังใต้ทะเลและพื้นดิน) และถังเก็บน้ำมันเท่าที่จำ เป็น สำหรับฝั่งอ่าวไทยจะมีทุ่นขนถ่ายน้ำมัน ระบบท่อส่งน้ำมัน (ฝังใต้ทะเลและพื้นดิน) โรงกลั่นน้ำมันอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และถังเก็บสำรองน้ำมันซึ่งโครงการนี้สามารถย่นระยะทาง ขนส่งน้ำมันผ่านช่องแคบมะละกาได้ ๘๐๐ กิโลเมตร หรือผ่านช่องแคบลอมบอกได้ ๒,๘๐๐ กิโลเมตร ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความมั่นคงในการขนส่งน้ำมันด้วยเรือขนาดใหญ่จากตะวันออก กลางสู่เอเชียตะวันออกความสำเร็จของ โครงการขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านความ มั่นคงพลังงานระหว่าง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และไทย เป็นหลักโดยเฉพาะการใช้ SELB เป็น แหล่งสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของราคาน้ำมันลดค่า ASIAN Premium และลดความเสี่ยงด้านการขนส่งผ่านช่องแคบมะละกา
• ถึงวันนี้น่าจะสรุปได้ว่า นายกฯทักษิณ ชินวัตร เป็นจอมโปรเจกต์ ตัวจริง
• นอกจากจะผุดนโยบายประชานิยม โกยคะแนนเสียงไปแล้ว... ยังประกาศผลักดันให้ไทยเป็นสารพัด “ฮับ” แห่งเอเชีย
• ที่น่าแปลกแต่จริง 6 ปีของรัฐบาลชุดนี้ จะมีฮับเกิดขึ้นถึง “46 ฮับ” มูลค่า 1.3 ล้านล้านบาท
แต่ละฮับที่เกิดขึ้น มีมูลเหตุจูงใจอะไร และใครจะได้ประโยชน์บ้าง เช่น ฮับการบิน ฮับสุขภาพ ฮับไอซีที ฮับลอจิสติกส์ ฮับอิเล็กทรอนิคส์ ฮับยานยนต์ ฮับพลังงาน เป็นต้น
นายกฯทักษิณ ชินวัตร อาจจะไม่ต้องถูกตั้งข้อสังเกตและถูกกดดันให้ตอบคำถามครั้งแล้ว ครั้งเล่าในเรื่องเดิม คือ “ผลประโยชน์ทับซ้อน” หากนโยบายที่ประกาศออกมาจะไม่มีคนใกล้ตัวหรือแม้กระทั่งชื่อของนายกฯทักษิณ โดดเด่นและเข้าไปเกี่ยวพันกับโครงการต่างๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกลับกลายเป็นว่า บรรดาเครือญาติและผองเพื่อนที่ใกล้ชิดกับนายกฯ และคนในรัฐบาล ล้วนได้รับโอกาสทองคว้า “ชิ้นปลามัน” จากเอกชนรายอื่นไปโดยสะดวกอย่างไม่ปกติ ..!
หลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ก้าวเข้ามาบริหารประเทศ ในฐานะนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ในปี 2544 เป็นต้นมา ต้องยอมรับว่านโยบายของรัฐบาลในการดันประเทศไทยให้เป็นฮับ หรือ ศูนย์กลางของเอเชีย ได้ถูกหยิบยกมาพูดถึงจากหลายภาคส่วนของรัฐบาลนับครั้งไม่ถ้วน จนบัดนี้ที่อายุของรัฐบาลก้าวเข้าสู่ปีที่ 6 ในปี 2549 ที่กำลังจะถึง รัฐบาลได้ประกาศที่จะผลักดันให้ไทยเป็นฮับต่างๆ ของเอเชียไปแล้วประมาณ 46 ฮับ
อันตราย! รัฐถังแตกส่อฮับล่ม
ในบรรดา 46 ฮับที่รัฐบาลประกาศไปแล้วว่าจะต้องผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้นี้ นายกรัฐมนตรี ได้บอกกับสาธารณชนได้รับรู้ถึงวัตถุประสงค์ว่า ต้องการที่จะทำให้ไทยเป็นประตูสู่เอเชีย โดยการดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในด้านต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้จากการผลิตวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้มีเงินไหลเวียนในประเทศ ดันจีดีพีของประเทศให้สูงขึ้น
ขณะเดียวกัน ในส่วนของรากหญ้าก็จะเข้าสูตร “เงินกำลังจะหมุนไป” ทำให้หลายๆ คนคิดตามแล้วจะเห็นภาพเงินปลิวว่อนทั่วประเทศเต็มไปหมด ส่งผลให้คนทั่วประเทศพากันฝันหวาน แต่คำถามก็คือว่าจริงๆ แล้วไทยมีความพร้อมแค่ไหนที่จะเป็นสารพัดฮับในเอเชียตามที่รัฐบาลอยากจะให้เป็น
ในเมื่อแต่ละฮับนั้นเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนจากภาครัฐจำนวนมาก จากที่คำนวณคร่าวๆ 46 ฮับนี้ต้องใช้งบประมาณในส่วนที่เปิดเผยกว่า 1.3 ล้านล้านบาท ขณะที่กระแส “ถังแตก” ของรัฐบาลมาแรงแบบฉุดแทบไม่อยู่ และอันตรายที่นักการเงินมองเห็น คือประเด็นที่เงินงบคงคลังในการบริหารของรัฐบาลนี้ เหลือน้อยกว่าเงินงบประมาณที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน
คำถามก็คือ...เงินที่จะได้รับกลับมาหลังจากรัฐบาลไทยเดินหน้าโครงการสารพัดฮับแบบแทบไม่เหลือเก็บเช่นนี้ ผลที่ได้รับกลับมา จะคุ้มสักแค่ไหน?
3 เหตุจูงใจ-รัฐดันไทยฮับเอเชีย
การประกาศเป็น “ฮับ” สารพัดฮับของรัฐบาลครั้งนี้ ได้ทำให้บรรดาคอการเมือง และนักวิชาการที่เฝ้าติดตามนโยบายและการทำงานของรัฐบาลได้วิเคราะห์มูลเหตุจูงใจของการผลัดกัน “ฮับ” ให้กับ “ผู้จัดการรายสัปดาห์” ว่าน่าจะมาจากเหตุและผล 3 ประการ คือ
1.เพื่อผลตอบแทนทางธุรกิจของคนในแวดวงการเมือง
2.เพื่อผลตอบแทนทางการเมือง (พรรคการเมือง)
3.ความคุ้มค่าของโครงการที่ส่งถึงภาคประชาชนโดยรวม และทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต รวมถึงความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้าโลก
ดังนั้น ด้วยมูลเหตุทั้ง 3 ประการนี้ ความสำคัญอยู่ที่ว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญในเหตุจูงใจใดมากกว่ากัน
อย่างไรก็ดี แม้ว่ารัฐจะประกาศว่าในทุกฮับที่เร่งผลักดันนี้เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ที่จะส่งอานิสงส์ต่อการแก้ปัญหาความยากจน แต่กลับพบว่าหลายฮับกลับกลายเป็นฮับที่มีวาระซ่อนเร้น ทั้งเพื่อผลทางการเมืองที่จะออกมาในรูปของคะแนนเสียงเลือกตั้ง และผลประโยชน์ของคนเพียงกลุ่มเดียว ท้ายที่สุดแม้จะดึงเงินจากต่างชาติเข้ามาได้ ประชาชนระดับรากหญ้าก็จะเป็นส่วนที่เงินหมุนไปช้าที่สุด
ธุรกิจครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวของตระกูลชินวัตร นับเป็นครอบครัวแรกที่หลายฝ่ายจับตามอง ว่าแท้จริงแล้ว สารพัดฮับที่เกิดขึ้นไปรองรับผลประโยชน์ทางธุรกิจของครอบครัวหรือไม่?
โดยครอบครัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ปัจจุบันดำเนินธุรกิจหลักไปที่ธุรกิจโทรคมนาคม ได้แก่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ที่เป็นธุรกิจอู่ข้าวอู่น้ำ และมีบริษัทในเครืออีก 19 บริษัท มีตั้งแต่ธุรกิจมือถือ ธุรกิจการสื่อสารไร้สาย ธุรกิจดาวเทียม (ไอพีสตาร์) อินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ สื่อสารมวลชน(ไอทีวี) เงินกู้ (แคปติตอล โอเค) ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (เอสซี แอสเซท) สายการบินต้นทุนต่ำ (ไทยแอร์เอเชีย) และยังรุกคืบเข้าสู่ธุรกิจโรงพยาบาลทั้งในรูปของนอมินี และถือหุ้นโดยนายหญิงจากบ้านจันทร์ส่องหล้าอาทิ โรงพยาบาลวิภาวดี โรงพยาบาลพระรามเก้า (นายหญิงขอมีเอี่ยว Medical Hub!)
ฮับเชียงใหม่เวิลด์ ดูดคะแนนเสียงท่วมท้น
ขณะที่ ฮับเชียงใหม่ ในโครงการเชียงใหม่เวิลด์ที่จะใช้เงินลงทุนก้อนใหญ่จำนวน 10,740 ล้านบาท ก็เป็นอีกฮับหนึ่งที่ใช้งบส่วนกลางมาทุ่มพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเอเชีย
โครงการนี้จะมีโครงการสำคัญๆหลายโครงการ และจะมีการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ไว้ด้วยการเดินทางด้วยกระเช้าไฟฟ้า ประกอบด้วยโครงการเชียงใหม่ ไนท์ซาฟารี โครงการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ และศูนย์ SMEs โครงการตลาดกลางสินค้าเกษตรภาคเหนือ โครงการพัฒนาสนามบินเชียงใหม่เป็นฮับการบินในภูมิภาค โครงการพัฒนาสภาพ และภูมิทัศน์น้ำตกห้วยแก้ว
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาปรับปรุงลำน้ำแม่ข่า โครงการแก้ไขปัญหาขนส่งมวลชนเมืองเชียงใหม่ โดยได้งบ 62 ล้านบาท ทำระบบรถโดยสารมินิบัสปรับอากาศ และกำลังของบอีก 145 ล้านบาท ศึกษาทำแผนแม่บทโครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาพื้นที่สูงอำเภออมก๋อย โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ฝั่งตะวันตกและใต้ของเมือง
อีกทั้งยังมีโครงการสาธารณูปโภคอีกหลายรายการ ได้แก่ การก่อสร้างโรงงานกำจัดขยะในเขตเชียงใหม่ การพัฒนาโครงข่ายถนนในเชียงใหม่ การสร้างถนนเลียบทางรถไฟเชียงใหม่-ลำพูน การปรับปรุงถนนหน้าสนามบินเชียงใหม่ 4 ล้านบาท การวางท่อร้อยสายไฟฟ้าและสาธารณูปโภคใต้ดินในเขตเทศบาล ปรับปรุงภูมิทัศน์เมือง พัฒนาถนนวัฒนธรรมเชียงใหม่-สันกำแพง และพัฒนาวัดต่างๆ
โครงการเชียงใหม่เวิลด์นี้ นับว่าเป็นฮับที่จะส่งผลทางการเมืองให้พรรคไทยรักไทย โดยเฉพาะตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นคนเชียงใหม่แท้ๆ และจะส่งผลให้คนเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงมีรายได้จากการท่องเที่ยวอีกมาก
อย่างไรก็ดี โครงการพัฒนาสนามบินเชียงใหม่นั้นก็เป็นหนึ่งในแผนของรัฐบาลในการให้ไทยเป็นฮับศูนย์กลางการบินภูมิภาค (อ่านแอร์เอชีย! ได้อานิสงส์)
“ดอนเมือง” สนามบินเพื่อโลว์คอสต์
ขณะเดียวกัน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้วางแผนที่จะพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ และท่าอากาศยานภูเก็ต ใช้งบในระยะแรกปี 2546-2549 ในวงเงิน 2,690 ล้านบาท
โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ และท่าอากาศยานภูเก็ตนี้ เป็นโครงการที่เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และได้รับการอนุมัติไปเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 ว่ากันว่าได้เกิดความเคลื่อนไหวของธุรกิจนายหญิงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้มีการกว้านซื้อที่ดินหลายแปลงในปี 2547 โดยเฉพาะที่ดินในจังหวัดเชียงใหม่ และภูเก็ต
ส่วนในกรุงเทพฯ ก็ชัดเจนว่าต่อไปสุวรรณภูมิจะเป็นสนามบินหลักที่ใช้รองรับเที่ยวบินจากต่างประเทศ ขณะที่สนามบินดอนเมือง โชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ผู้ซึ่งบอร์ดทอท.ได้อนุมัตให้เป็นเอ็มดีคนใหม่และจะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม 2549 ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์หลายฉบับ โดยประกาศที่จะให้สนามบินดอนเมืองเป็นที่ให้บริการการบินสายต้นทุนต่ำ เพื่อหารายได้เพิ่มให้ ทอท.
แม้เหตุผลสำคัญจะอยู่ที่เป็นการเพิ่มรายได้ให้ ทอท. แต่จริงๆ แล้วเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับสายการบินไทยแอร์เอเชียของตระกูลชินวัตร หรือไม่? นี่เป็นคำถามที่เอ็มดีคนใหม่ต้องตอบให้ชัดเจน
เก็งกำไรเมืองใหม่ “สุวรรณภูมิ”
ส่วนกรณีนครสุวรรณภูมิ ที่นอกจากจะทำให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นฮับการบินภูมิภาคเอเชียอาคเนย์แล้ว จะมีการตั้งเมืองใหม่สุวรรณภูมิ หรือสุวรรณภูมิมหานคร โดยจะใช้ระบบเขตปกครองพิเศษ ซึ่งโครงการนี้จะมีพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างสมุทรปราการ และกรุงเทพฯ จำนวน 20,000 ไร่ ด้วยเม็ดเงินลงทุนระยะแรกกว่า 150,000 ล้านบาท ที่พลิกโฉมให้เนื้อที่โดยรอบเกือบ 60,000 ไร่ กลายเป็นทำเลทอง ทำให้ราคาที่ดินปรับตัวขึ้นกว่า 3 เท่า จากไร่ละ 900,000 บาท เป็น 3-4 ล้านบาท
การพุ่งขึ้นของราคาที่ดินได้กลายเป็นจุดอ่อนให้มีการเก็งกำไรเกิดขึ้น และส่วนใหญ่คนที่รู้ล่วงหน้าว่าจะมีการผลักดันพื้นที่โดยรอบสุวรรณภูมิเป็นเมืองใหม่ก็มีแต่นักธุรกิจที่มีสัมพันธ์กับนักการเมือง และกลุ่มนักการเมืองแทบทั้งสิ้น
สำหรับนักพัฒนาที่ดินรายใหญ่ที่เป็นเจ้าของที่ดิน อาทิ บริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) โดยอนันต์ อัศวโภคิน คนนี้คือเพื่อนสนิทวิศวะจุฬาลงกรณ์ฯ ของบุญคลี ปลั่งศิริ บิ๊กชินคอร์ป ซึ่งคนในวงการอสังหาริมทรัพย์คอยจับจ้องการเคลื่อนไหวของเขา และเชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้วางเกมกลยุทธ์หลายๆ อย่างให้พรรคไทยรักไทย และยังเป็นผู้มีคุณูปการต่อครอบครัวชินวัตรในการทำหน้าที่เป็นกูรูด้านอสังหาฯให้กับบริษัท เอสซี แอสเซท ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาที่ดินของนายกฯ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ตลอดจนรัฐมนตรีและภรรยาหลายคน ที่สำคัญได้แก่ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, ภรรยาพงศ์เทพ เทพกาญจนา รวมทั้ง เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ
นอกจากนี้ยังมีนักพัฒนาที่ดินรายใหม่ ประยุทธ มหากิจศิริ รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เจ้าของบริษัท ไทยน๊อคซ์ ได้เข้าซื้อที่ดินโครงการเลควู๊ด ที่มีทั้งสนามกอล์ฟ และที่ดินเพื่อการพัฒนารวมแล้วกว่า 2,500 ไร่ ซึ่งกำลังจะกลายเป็นขุมทรัพย์มหาศาลให้กับตระกูลมหากิจศิรินายทุนพรรคไทยรักไทยอีกทางหนึ่ง
ที่ดินแปลงใหญ่อีกแปลงหนึ่งกว่า 4,600 ไร่ เป็นของบริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นที่ดินแปลงเจ้าปัญหาที่ทำให้อดีตเอ็มดีแบงก์กรุงไทย ต้องถูกข้อกล่าวหาถึงความไม่โปร่งใสจากแบงก์ชาติ วางแผนจะพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ชื่อ สุวรรณภูมิเซ็นเตอร์ โดยได้เสนอยกที่ดินกว่า 700 ไร่ ให้เป็นที่ตั้งรัฐสภาใหม่และก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค
ส่ง “พารณ-โอฬาร” ร่างหลักสูตร ม.ชินวัตร
ขณะที่การประกาศเป็นฮับ ICT โดยมุ่งหวังจะเพิ่มจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ก็เป็นอีกฮับหนึ่งที่น่าจะส่งผลดีกับธุรกิจครอบครัวชินวัตร โดยเฉพาะธุรกิจมือถือ และธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ (ชิน อินเทอร์เน็ต บรอดแบรนด์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้อานิสงส์ไปด้วย
ส่วน การประกาศฮับการอุดมศึกษาเอเชีย ว่ากันว่าน่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจตระกูลชินวัตร ด้วยเช่นกัน แม้ว่ามหาวิทยาลัยในเครือจะมีเพียงหนึ่ง คือมหาวิทยาลัยชินวัตร
ทั้งนี้ เพราะมหาวิทยาลัยชินวัตรนั้น ครั้งหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ส่งดร.พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และดร.โอฬาร ไชยประวัติ 2 ขุนพลใกล้ชิดรัฐบาลมานั่งในตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร เข้าไปทำหน้าที่วางรากฐานวางระบบหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลที่ต้องการให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ บูรณาการด้วยเทคโนโลยี เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต หลังจากเตรียมความพร้อมของมหาวิทยาลัยชินวัตรเรียบร้อย รัฐบาลก็ประกาศนโยบายดันไทยเป็นฮับการศึกษาเอเชีย
อย่างไรก็ดี การประกาศฮับแต่ละครั้งยังทำให้เครือญาติการเมืองได้ผลบุญไปด้วย ที่สำคัญก็คือ เจ๊แดง เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ที่ขยับขยายธุรกิจจากธุรกิจมือถือ เข้าสู่ธุรกิจลอจิสติกส์เต็มตัว (“เจ๊แดง” สบช่องดัน “WIN” บุก) ส่วนกระเป๋าใหญ่ไทยรักไทย อย่าง สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ไม่พลาดงานนี้เช่นกัน
“จึงรุ่งเรืองกิจ” เฮรับฮับยานยนต์
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เรียกได้ว่าเติบโตมากับวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ เพราะกลุ่มธุรกิจหลักของตระกูลจึงรุ่งเรืองกิจ คือบริษัท ไทยซัมมิท โอโต้พาร์ท อินดัสตรี ที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ป้อนโรงงานของบริษัทโตโยต้า
โดยฮับยานยนต์นี้ กระทรวงอุตฯ ได้มอบหมายให้สถาบันยานยนต์เป็นผู้รับผิดชอบแผนงานการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางยานยนต์แห่งเอเชียในปี 2553 โดยตามแผนคาดว่าจะใช้เม็ดเงินเกือบ 10,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานแบบโครงการครบวงจร ซึ่งมีความชัดเจนแล้วว่าหนึ่งใน 5 โครงการหลัก คือโครงการ ศูนย์ทดสอบและสนามทดสอบยานยนต์มูลค่า 6,000 ล้านบาท บริษัท ไทยซัมมิต ได้แสดงความสนใจที่จะทำโครงการ กับบริษัทอมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และนักลงทุนจากต่างประเทศ
อย่างไรก็ดี ไม่เพียงแต่บริษัท ไทยซัมมิท โอโต้พาร์ท อินดัสตรี ที่มีความข้องเกี่ยวกับ สุริยะ เนื่องจากธุรกิจของตระกูลจุฬางกูร พี่น้องใกล้ชิดสุริยะ ก็ทำธุรกิจยานยนต์เช่นกัน ในบริษัท ไทยสตีลเคเบิ้ล จำกัด (มหาชน) หรือ TSC
TSC เป็นผู้นำในธุรกิจผลิต สายควบคุม (Control Cable) และ ชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์ (Window Regulator) เพื่อจำหน่ายให้แก่บริษัทผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ชั้นนำ
จากเป้าหมายที่รัฐบาลจะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางยานยนต์เอเชีย หรือดีทรอยต์ออฟเอเชีย ก็ทำให้ TSC ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยบริษัทไม่ต้องเสียภาษีเป็นเวลา 7 ปี โดยในปี 2547 บริษัทมีการเติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรมโดยรวม คือมียอดขาย 1,700 ล้านบาท
ตามแผนคาดว่า ในปี 2548 บริษัทจะมีอัตราเติบโตประมาณ 10-
20% ซึ่งนักวิเคราะห์หลักทรัพย์หลายราย ได้ประเมินว่าจากประโยชน์จากนโยบายรัฐบาลดังกล่าวจะทำให้ยอดขายของ TSC ขยายตัวสูงถึง 18% สู่ระดับ 2,023 ล้านบาท มีกำไรสุทธิเท่ากับ 257 ล้านบาท
ดังนั้น การประกาศเป็นฮับยานยนต์ จึงก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจในเครือของ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เลขาธิการพรรคไทยรักไทย
อย่างไรก็ดี ในวงการยานยนต์รู้กันดีว่า มีอีกผู้หนึ่งที่อยู่ในแวดวงนี้คือ ดร.วัชระ พรรณเชษฐ์ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีอุตฯ ซึ่งเขามีธุรกิจครอบครัวเกี่ยวข้องกับอุตสาหรรมยานยนต์เช่นกัน คือ บริษัท สิทธิผล เซลล์ จำกัด และบริษัทเอ็มเอ็มซี สิทธิผล ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายรถยนต์มิซซูบิชิ มอเตอร์ในประเทศไทย
ดังนั้น ในการเดินหน้าผลักดันไทยให้เป็นฮับต่างๆ ครั้งนี้ หากผลประโยชน์ทั้ง 3 ส่วน ทั้งผลประโยชน์ทางธุรกิจ ผลประโยชน์ทางการเมือง และผลประโยชน์ของประชาชน ทั่วไป มีส่วนผสมที่ลงตัว ก็จะทำให้ประเทศชาติก้าวหน้า แต่หากยึดผลประโยชน์ทางธุรกิจของตน และพวกพ้องมากเกินไป ก็จะทำให้ประเทศชาติเสียหายอย่างมหาศาล!
************
“วิชัย ทองแตง” ชี้ปี 49 ธุรกิจรพ.คึกคัก
นายหญิง ขอมีเอี่ยว Medical Hub!
หนึ่งในหลายนโยบาย หลากโครงการต่างๆที่ถูกจับตานั้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการประกาศปลุกปั้นให้ไทยก้าวขึ้นมาสู่ “ศูนย์กลางการบริการสุขภาพแห่งเอเชีย” หรือ Health Hub of Asia ในปี 2546 ของรัฐบาลนั้นกลับพบว่า คุณหญิงพจมาน ชินวัตร มีหุ้นโรงพยาบาลพระรามเก้าอยู่ในมือ ก่อนหน้านี้ เช่นเดียวกับที่ “วิชัย ทองแตง” อดีตทนายคดีประวัติศาสตร์ “ซุกหุ้น” ได้พลิกบทบาทจากทนายความมาสู่เจ้าของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง เพื่อนำมาปัดฝุ่นตบแต่งเพื่อรอเข้าร่วมขบวน “ฮับสุขภาพแห่งเอเชีย” ในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้ง คุณหญิงพจมาน และวิชัย นั้นต่างๆเข้ามาถือหุ้นในโรงพยาบาลเอกชนระดับชั้นนำก่อนหน้าที่รัฐบาลจะผุด “ Health Hub of Asia ”
การบริหารจัดการธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนหลายปีที่ผ่านมามีการทำตลาดเชิงรุก เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนต่างๆ เหล่านั้น ไม่เพียงแต่แข่งขันเพื่อดึงส่วนแบ่งในตลาดลูกค้า แต่ยังต้องการที่จะพัฒนาไปสู่ความเป็น Medical Hub ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 กลุ่มธุรกิจสุขภาพที่รัฐบาลจะเร่งพัฒนา ประกอบด้วย Health Service, Health Product และ Medical Hub โดยที่ธุรกิจทั้ง 3 ด้านนั้นจะต้องได้รับการผลักดันให้เป็นศูนย์กลางการบริการสุขภาพแห่งเอเชีย ในปี 2551 โดยมีกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่เป็นแม่งานหลัก
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลก หากโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำหลายแห่งต่างปรับกลยุทธ์การบริหารและบริการซึ่งโรงพยาบาลใดมีจุดแข็งความเป็นเลิศด้านใด ต่างนำมาเป็นจุดขายเพื่อดึงดูดลูกค้าทั้งในและต่างประเทศอย่างคึกคัก รวมทั้งโรงพยาบาลเอกชนจำนวนหลายแห่งที่วิชัย ทองแตง ไปกว้านซื้อมาพัฒนาไว้แล้วเช่นกัน
“หลายปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง พากันปรับตัวและแข่งขันกันค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นบำรุงราษฎร์ หรือโรงพยาบาลกรุงเทพ ส่วนของเราโรงพยาบาลพญาไท ยังอยู่ในช่วงของการปรับตัว และเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ แน่นอนว่าเราก็มีเป้าหมายที่ร่วมเป็นหนึ่งในนโยบายศูนย์กลางการแพทย์แห่งภูมิภาค ตามนโยบายรัฐบาล”
“วิชัย ทองแตง” ประธานกรรมการเครือโรงพยาบาลพญาไท ได้บอกกับ “ผู้จัดการรายสัปดาห์” ว่า ภายหลังจากโรงพยาบาลพญาไท ได้ปรับปรุงงานในด้านต่างๆ แล้วจะผลักดันโรงพยาบาลสู่การเป็น Medical Hub โดยทางโรงพยาบาลมีแผนงานที่สอดคล้องกับนโยบายในด้านดังกล่าวของรัฐบาลอยู่แล้ว
“ขณะที่เรากำลังปรับปรุงงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหาร งานบริการ โรงพยาบาลพญาไท ก็ได้ทำการตลาดเชิงรุกควบคู่กันไป ทั้งในประเทศและต่างประเทศ “
วิชัย ยังคาดว่า ในปี 2549 โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งจะพากันปรับตัวและแข่งขันในธุรกิจโรงพยาบาลกันอย่างคึกคักมากขึ้น อันเนื่องจากมาจากการสนับสนุนของรัฐบาลด้วยนโยบายศูนย์กลางการแพทย์แห่งภูมิภาค แล้วยังต้องยอมรับว่านโยบายการเปิดการค้าเสรีระหว่างไทย-ออสเตรเลีย นั้นยังมีช่องทางที่สามารถเอื้อประโยชน์ให้ลูกค้าจากประเทศออสเตรเลีย มาใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชนของไทยได้สะดวกมากขึ้น
เช่นเดียวกับประเทศออสเตรเลียเองก็น่าจะกำลังดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ พลเมืองชาวออสเตรเลียเองสามารถมาใช้บริการด้านการแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนของไทย แล้วสามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้อย่างถูกต้อง...
สำหรับโรงพยาบาลพญาไท นั้นมีแนวคิดให้เป็นโรงพยาบาลเอกชนในรูปแบบ “เมดิคัล สปา” คือนำเทคนิคการแพทย์ผสมผสานกับการแพทย์แผนโบราณของไทย โดยจะทำให้เครือข่ายกระจายไปสู่จังหวัดใหญ่ หลายแห่งนอกเหนือไปจากการมีโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล แล้ววิชัยยังถือหุ้นในโรงพยาบาลวชิระปราการ และศิครินทร์ ซึ่งแต่ละแห่งเขาได้จัดวางรูปแบบการบริหารจัดการสอดคล้องกับนโยบาย Medical Hub ของรัฐบาลอย่างลงตัวและชัดเจน
อย่างไรก็ตาม ขณะที่บรรดาโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ หลายแห่งตื่นตัวและเตรียมพร้อมที่จะผลักดันตัวเองเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางการแพทย์แห่งภูมิภาค ด้วยการจัดสรรเม็ดเงินก้อนโต การสรรหาบุคลาทางด้านการแพทย์ชั้นหนึ่งเพื่อเป็นจุดดึงดูดลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ กลับมีข้อสังเกตและเสียงเตือนจากภาคประชาชนมาโดยตลอดว่ารัฐบาลต้องไม่ลืมปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการทางการแพทย์แก่คนจนในประเทศให้มีมาตรฐานมากกว่าที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ “โครงการ 30 บาท คนไทยห่างไกลโรค” ที่ไม่สามารถตอบสนองคนจนในประเทศได้อย่างแท้จริง...
************
ปั้นฮับอิเล็กทรอนิกส์-ลอจิสติกส์
“เจ๊แดง” สบช่องดัน “WIN” บุก
รัฐเล็งสร้างฮับอิเล็กทรอนิกส์ใน 3 ปี คาดได้เงินเข้าประเทศกว่าล้านล้านบาท เตรียมนโยบายผลักดันเรียบร้อย พร้อมเข็น ฮับลอจิสติกส์ ลดต้นทุนการผลิตดึงดูดนักลงทุนทั่วโลก “เจ๊แดง” น้องนายกและพวกพ้องเล็งการณ์ไกล เทคโอเวอร์บริษัทในตลาดหุ้น ปัดฝุ่นใหม่ในชื่อ “WIN-NFC” บุกธุรกิจโลจิสติกส์เต็มสูบ
กระทรวงอุตสาหกรรมตั้งเป้าที่จะปั้นไทยเป็นฮับยานยนต์ ปัจจุบันไทยสามารถผลิตรถยนต์ได้กว่า 1 ล้านคันแล้ว ซึ่งนโยบายต่อไปที่ทางกระทรวงอุตฯมองว่าจะสามารถดึงเม็ดเงินลงทุนมายังไทยได้คือ การก้าวสู่การเป็นฮับอิเล็กทรอนิกส์ แม้ไทยจะถูกจีนตีตลาดช่วงหนึ่ง จนสภาอุตสาหกรรมไทยต่างเป็นกังวลกับสถานการณ์ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ว่าต่อไปจะมีการปรับตัวกับแข่งกับสินค้าจากประเทศจีนได้อย่างไร
รัฐดันฮับอิเล็กทรอนิกส์ดึงเงินเพิ่มล้านล้าน
เมื่อกลางเดือน ธันวาคมปี 2548 รัฐบาลประกาศนโยบายจะทำให้ไทยเป็นฮับด้านอิเล็กทรอนิกส์อีกด้านหนึ่ง ซึ่งแกนนำรัฐบาลต่างเดินหน้าผลักดันตั้งแต่ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ตั้งเป้าไว้ว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า ไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในอาเซียน จากเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ใน 5 ปี ส่งผลให้มูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 1 ล้านล้านบาท รวมทั้งสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม ตั้งเป้าหมายเดียวกันคือจะดึงต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมทั้งญี่ปุ่น และเกาหลี เพราะ 2 ประเทศลงทุนอยู่แล้ว
ส่วนยอดการลงทุนใน 11 เดือนที่ผ่านมา อยู่ที่ประมาณ 6 แสนล้านบาท แต่มีเป้าหมายผลักดันให้การลงทุนดังกล่าวถึง 1 ล้านล้านบาท จึงต้องมีการลงทุนเพิ่มในส่วนของอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มถึง 60-70% โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2542- 2547 มีมูลค่าสูงถึง 3 แสนล้านบาท ทำให้ไทยก้าวสู่การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และเป็นผู้ผลิตฮาร์ดดิสไดรฟ์เป็นอันดับ 1 ของโลกในปัจจุบัน
ขณะที่ จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้วางแผนสร้างมูลค่าเพิ่มสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2549 ไว้แล้ว อีกทั้งทางกระทรวงยังติดตามเทคโนโลยีคลื่นลูกใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่อีกไม่นานอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลกจะต้องพึ่งพิง ระบบอิเล็กทรอนิกส์มากกว่าที่จะใช้เครื่องยนต์ และสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองทางกระทรวงอุตฯจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้าให้แตกต่างไปจากจีน
ส่วนของ บีโอไอ หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมลงทุน ได้จัดเตรียมข้อเสนอพิเศษให้กับนักลงทุนมากขึ้น สาธิต ศิริรังคมานนท์ เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่าทางคณะกรรมการฯได้จัดเตรียมข้อเสนอพิเศษทางภาษีให้กับผู้ประกอบการรายเล็ก (เอสเอ็มอี) ที่อยู่นอกเขตสนับสนุนการลงทุนเพิ่มขึ้น และยังยกเว้นภาษีขายเครื่องจักรเก่าเพื่อนำเงินเหล่านั้นมาซื้อเครื่องจักรใหม่อีกด้วย
สำหรับนักลงทุนรายใหญ่นั้น ทางคณะกรรมการฯจะสนับสนุนให้นักลงทุนรายใหญ่เข้ามาลงทุนตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีการปรับสิทธิประโยชน์การลงทุนโดยเฉพาะการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลในพื้นที่เขต 1 และเขต 2 เพื่อสนับสนุนระบบอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร ขณะนี้มีผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างประเทศสนใจที่จะเข้ามาลงทุนบ้างแล้ว
ด้วยนโยบายการผลักดันของภาครัฐอย่างเต็มที่ จึงคาดกันว่าภายใน 3 ปีนี้ ฮับอิเล็กทรอนิกส์จะเกิดขึ้นได้
โบรกแนะ HANA
นักวิเคราะห์จากนครหลวงไทยมองว่า ฮับอิเล็กทรอนิกส์จะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากปัจจัยหลายส่วน ไม่ใช่แค่การเพิ่มสิทธิพิเศษดึงดูดใจนักลงทุนเพียงอย่างเดียว เพราะธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ตอนนี้ยังต้องพึ่งพาตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก แน่นอนว่าปัจจัยด้านดอกเบี้ยของสหรัฐจึงเป็นปัจจัยหลักที่จะเข้ามากระทบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้นคู่แข่งอย่าง จีน ก็เป็นอุปสรรคสำคัญในการที่ไทยจะเป็นฮับอิเล็กทรอนิกส์ เพราะด้วยต้นทุนการผลิตของจีนที่ต่ำกว่าไทยมาก อีกทั้งตอนนี้การลงทุนทุกอย่างมุ่งไปที่จีนอีกด้วย แม้ทางรัฐบาลจะบอกว่าจะไปดึงนักลงทุนจาก Seagate เข้ามาลงทุนในเมืองไทยเพิ่ม แต่ทางบริษัทก็ยังไม่ให้คำตอบเรื่องการลงทุนอย่างแน่นอนดังนั้นฮับอิเล็กทรอนิกส์ของไทยจึงต้องใช้เวลาพิสูจน์อีกยาว
อย่างไรก็ตาม ถ้าประสบความสำเร็จในการดึงนักลงทุนมาลงทุนด้านอิเล็กทรอนิกส์ได้จริง บริษัทที่จะได้รับอานิสงส์มากที่สุดในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ก็คือ HANA เพราะทางบริษัทได้ไปลงทุนบางส่วนไว้ที่จีน และถ้าเมืองไทยสามารถเป็นฮับอิเล็กทรอนิกส์ได้จริง HANAจะได้ประโยชน์สองทาง ซึ่งทางนครหลวงไทยคาดว่าราคาในปี 2549 จะไต่เพิ่มขึ้นไปจากฐานที่ราคา 26 บาท และแน่นอนว่า HANA จะยังอยู่ในราคาขาขึ้นในปี 2549
นอกจากนี้ยังมีหุ้นที่เคยอยู่ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มาก่อน อย่าง CAPE ที่ “เจ๊แดง” เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้าไปซื้อไว้ก่อนจากนั้นนำมาแต่งตัวใหม่ โดยจะเน้นการลงทุน 2 อย่างคือ ชิ้นส่วนจักรยาน และระบบลอจิสติกส์
อย่างไรก็ดี ตัวการที่จะขับเคลื่อนให้ไทยเป็นฮับอิเล็กทรอนิกส์ได้นั้น ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือระบบโลจิสติก ที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับนักลงทุน สร้างแรงดึงดูดใจให้ไทยน่าลงทุนมากยิ่งขึ้น เพราะไทยมีข้อด้อยที่ระบบโลจิสติก ที่ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มเข้าไปกว่า 20% ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศที่ถือว่ามีต้นทุนการผลิตที่สูงมาก เมื่อไทยได้เปิดสนามบินสุวรรณภูมิขึ้นมา รัฐบาลจึงถือเป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะจัดระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศและก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำระบบโลจิสติกในภูมิภาคให้ได้
มุ่งแปรรูปวิสาหกิจรับลอจิสติกส์ฮับ
สำหรับโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสนามบินสุวรรรภูมิ มีโครงการดำเนินการศูนย์ขนส่งและลอจิสติกส์รวมอยู่ด้วย โดยรัฐบาลตั้งเป้าจะให้เป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์ภูมิภาค ถือเป็นดาวรุ่ง 1 ใน 5 เมกะโปรเจกต์ที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเชิญชวนให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยผ่านทูต 54 ประเทศทั่วโลก ในงาน Thailand : Partnership for Development เมื่อ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมา
ข้อมูลของ สนธิ ลิ้มทองกุล จากรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ครั้งที่ 12 กล่าวถึง ภูมิธรรม เวชยชัย รมช.คมนาคม มีนโยบายผลักดันให้มีการแปรรูปบริษัท ไทยเดินเรือทะเล หรือ บทด. ที่รัฐถือหุ้น 100% โดยอ้างถึงมติ ครม.ระบุ ให้บริษัทอื่นๆ ซึ่งเป็นกลุ่มของ 23 บริษัทเดินเรือ รวมตัวกันเข้ามาถือหุ้น 70% ส่วน บทด.ถือหุ้นที่เหลือ 30% โดยมีแผนให้ปตท.โอนการขนส่งน้ำมันที่ ปตท.มีอยู่มาให้บริษัทนี้ทำ เมื่อมีการแปรรูป บทด.ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้เอกชนกลุ่มดังกล่าวเข้ามารับงานของ ปตท.
เมื่อย้อนดูผู้ถือหุ้น กลับกลายเป็นคนกลุ่มของไทยรักไทย มีทั้งกลุ่มคนเดือนตุลา กลุ่มตระกูลเลาหพงศ์ชนะ และหนึ่งในนั้นมีกรรมการบริษัท เอ็มลิงก์ ของน้องสาวนายกรัฐมนตรีด้วย
รายชื่อผู้ถือหุ้นประกอบด้วย 1.ชูรัตน์ เลาหพงศ์ชนะ เครือญาติกับปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รมช.พาณิชย์ จำนวน 133,335 หุ้น 2.บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด ของตระกูลเลาหพงศ์ชนะ ถือหุ้น 330,000 หุ้น ที่สำคัญ กรรมการบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย ชื่อ สุนิสา ปฐมพฤกษ์ และสุนิสาผู้นี้ยังเป็นกรรมการบริษัท เอ็มลิงก์ ที่มีมณฑาทิพย์ น้องสาวของ นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าของ
3.สมบูรณ์ สิมะแสงยากรณ์ ปัจจุบันตำแหน่งเป็นที่ปรึกษา รมช.คมนาคมของภูมิธรรม โดยใช้สิทธิ์และอำนาจของ รมช.คมนาคม ในการเข้ามาถือหุ้นอยู่ในบริษัทซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ และ4.สวาย อุดมเจริญชัย อดีตรองเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และนักธุรกิจที่ทำงานร่วมกับตระกูลเลาหพงศ์ชนะมานาน จำนวน 203,335 หุ้น นอกจากนี้ยังมีชื่อของ เมธี เกียรติก้องขจร ที่ปรึกษาภูมิธรรม เป็นกรรมการของ บทด.คนหนึ่งด้วย
นอกจากนี้ หากฮับลอจิสติกส์ประสบความสำเร็จ คนที่จะได้รับอานิสงส์ไปเต็มๆ อีกหนึ่ง คือครอบครัววงศ์สวัสดิ์ ที่รุกคืบจากธุรกิจมือถือไปสู่ธุรกิจลอจิสติกส์อีกธุรกิจหนึ่ง โดยเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ได้ส่งลูกทั้ง 3 คือ ชินณิชา ชยาภา และยศชนัน เข้าถือหุ้น บมจ.วินโคสท์ อินดัสเทรียล พาร์ค (เดิมชื่อบริษัท เคพโทรนิค อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือหุ้น WIN รวมกันในสัดส่วน 62.41% ถือเป็นหุ้นใหญ่สุดในบริษัทวินโคสท์ เป็นธุรกิจบริหารคลังสินค้าที่ถือเป็นธุรกิจครอบครัวโดยตรง และชินณิชา ดำรงตำแหน่ง Chieft Strategy Officer ของบริษัท มี ภัทรลาภ ทวีวงศ์ ณ อยุธยา มืออาชีพคนเก่าแก่ ที่เคยบริหารงานเอ็มลิงค์ มานั่งเป็นซีอีโอ
อย่างไรก็ดี แม้กลุ่มวงศ์สวัสดิ์จะเทขายหุ้น WIN หลังจากเข้าเทรดในตลาดหุ้น 4 วัน โดยได้มีการขายหุ้นออกไปจำนวนหนึ่งแต่ยังถือว่ายังรักษาสถานนะการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่คือ จากที่มีหุ้นอยู่ 62.41% เหลืออยู่อีก 56.37% ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากลุ่มวงศ์สวัสดิ์ยังคงรักษาธุรกิจบริหารคลังสินค้าเอาไว้ในมือ ขณะที่การขายหุ้นออกไปดังกล่าว ยังทำให้กลุ่มวงศ์สวัสดิ์ได้กำไรจากการขายหุ้นทันที 60 ล้านบาท
นอกจากนี้ กลุ่มวงศ์สวัสดิ์ยังจับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง โดยได้จับมือกลุ่มวิไลลักษณ์เข้าซื้อหุ้น 50% ของบริษัท แอสคอน คอนสตรักชั่น จำกัด(มหาชน) ASCON ที่ประกาศแผนดำเนินงานอย่างชัดเจนว่าจะมุ่งประมูลโครงการของภาครัฐเป็นส่วนใหญ่
ปัจจุบันบริษัทแอสคอน กำลังประมูลงาน 10 โครงการ รวมมูลค่า 10,000 ล้านบาท และมั่นใจว่าจะได้รับงานสัมปทานปรับปรุงถนน 10 ปี ในกัมพูชามูลค่าหลายร้อยล้านบาท รวมทั้งประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าด้วย
ส่วนกลุ่มที่สนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจลอจิสติกส์อีกคือ กลุ่มของเอ็นเอฟซี อดีตปุ๋ยแห่งชาติที่มีวิชัย ทองแตง และ ณัฐภพ รัตนสุวรรณทวี เข้ามาซื้อกิจการและจะเปลี่ยนจากผลิตปุ๋ย มาทำระบบลอจิสติกส์แทน โดยจะรับขนส่งปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ทางท่อ คาดว่าสามารถจัดการระบบทั้งหมดได้ภายใน 5 ปี
************
แอร์เอชีย! ได้อานิสงส์
รัฐดันไทยเป็น “ฮับ” การบิน-ท่องเที่ยว
นโยบายผลักดันไทยเป็น “ฮับ” การบิน-การท่องเที่ยว ด้วยการปลุกปั้นสนามบินสุวรรณภูมิ–สนามบินเชียงใหม่ เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินโดจีน คลอดแล้ว ขณะที่ “แอร์เอเชีย”ของชินคอร์ป ได้อานิสงส์โตแบบก้าวกระโดด
“สนามบินสุวรรณภูมิ” ได้ชื่อว่าเป็นสนามบินแห่งใหม่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียและมีศักยภาพที่พร้อมรองรับผู้โดยสารได้กว่า 45 ล้านคนต่อปี ประกอบกับมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามเป็นต้นทุนสำคัญที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลเข้ามาชมธรรมชาติได้ ดังนั้น รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จึงมีแผนที่จะพัฒนาให้ไทยเป็น “ฮับ” หรือศูนย์กลางการบินของภูมิภาคนี้
โดยรัฐบาลได้ทุ่มงบกว่า 120,000 ล้านบาทในการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิให้มีความพร้อมที่จะรองรับจำนวนผู้โดยสารที่หลั่งไหลเข้ามาทั้งเพื่อมาเที่ยวประเทศไทยโดยตรง หรือใช้เป็นจุดเปลี่ยนสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงการเดินทางไปยังภูมิภาคอินโดจีนได้อย่างสะดวก
ดังนั้น สนามบินแห่งนี้จึงมีความทันสมัย สะดวกสบายและมี 4 รันเวย์ที่สายการบินสามารถขึ้นลงได้พร้อมกันเนื่องจากไทยคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนสายการบินเข้ามาใช้บริการมากขึ้น
ดันเชียงใหม่ “ฮับ” ภูมิภาค
การที่รัฐบาลประกาศให้ไทยเป็น “ฮับ” มิใช่เพียงแต่การพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิไว้รองรับเท่านั้น รัฐบาลยังได้ทุ่มงบพัฒนาด้านการขนส่งอย่างครบวงจร โดยเตรียมดึงเชียงใหม่ขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการบิน (ฮับ) อีกแห่งหนึ่ง เพื่อตอบรับการขยายตัวทางภูมิภาคอินโดจีน เชื่อมต่อ ลาว พม่า และจีน ซึ่งทั้ง 3 ประเทศต่างเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่จะได้รับความสนใจในอนาคต โดยเฉพาะการท่องเที่ยวไปยังเมืองหลวงพระบาง, เมืองพุกามประเทศพม่า และเมื่อมองในด้านการค้า การลงทุน การที่ไทยมีพื้นที่ด้านเหนือติดกับทั้ง 3 ประเทศ โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นแหล่งการค้าที่สำคัญ
อย่างไรก็ดี จังหวัดเชียงใหม่ยังได้รับอนุมัติงบปี 2547 เพื่อปรับปรุงรันเวย์สนามบิน อีกทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของกิจการสนามบินในวงเงิน 1,800 ล้านบาท เพื่อเร่งพัฒนาให้ไทยเป็นฮับการบินที่มีโครงข่ายการบินที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้สนามบินสุวรรณภูมิสามารถดึงนักท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ได้ทั้งหมด อีกทั้งยังสามารถดึงนักธุรกิจเข้ามาในไทยได้ก่อนที่จะเปลี่ยนเครื่องบินไปยังประเทศอื่นๆ นี่จึงเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทยจะผลักดันการท่องเที่ยวให้โตขึ้นได้
โลว์คอสต์โตรับฮับการบิน
ขณะที่ไทยก้าวขึ้นไปสู่การเป็นฮับการบินในภูมิภาค ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบินก็จะเฟื่องฟูไปด้วย โดยเฉพาะธุรกิจการบิน เพราะจะมีผู้โดยสารเข้ามามากขึ้นทำให้มีความต้องการใช้เครื่องบินทั้งในและนอกประเทศตามไปด้วย และหากเป็นการบินที่อยู่ภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้เวลาบินเพียงแค่ 1 ชั่วโมงด้วยแล้ว สายการบินต้นทุนต่ำหรือโลว์คอสแอร์ไลน์จึงน่าจะครองตลาดการบินภูมิภาคในอนาคต
เมื่อมองผู้เล่นในสายการบินต่ำ คงจะไม่มีใครปฏิเสธอิทธิพลของ “แอร์เอเชีย” ว่าเป็นคีย์เพลย์เยอร์ในตลาด ถือได้ว่าแอร์เอเชียเป็นเจ้าแรกที่จุดพลุสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย จนมีคนสงสัยว่ากลุ่มชิน จะพาสายการบินต้นทุนราคาต่ำแค่ 99 บาท ในช่วงโปรโมชันมาได้ตลอดรอดฝั่งอย่างไร แล้วขณะนี้กลุ่มชินกำลังคิดอะไรอยู่
เวลาผ่านไป 3 ปี เหลียวมองแอร์เอเชีย พบว่า บริษัทรับรู้รายได้ปี 2548 กว่า สองแสนล้าน และเป็นสายการบินต้นทุนต่ำเพียงรายเดียวที่มีเส้นทางการบินครอบคลุมทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็น พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย นอกจากนั้นเส้นทางการบินที่สำคัญในประเทศอย่าง ภูเก็ต และ เชียงใหม่ที่จะเป็นฮับในอนาคต แอร์เอเชียก็มีเส้นทางการบินเป็นประจำอยู่แล้วจึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเมื่อไทยก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์การบินภูมิภาคนี้ขึ้นมา แอร์เอเชียจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดแผ่กิ่งก้านสาขาได้ไกลยิ่งกว่าการบินไทยเสียอีก เพราะแม้กระทั่งตอนนี้เองการบินไทยเองก็ต้องอาศัยพันธมิตรอย่างนกแอร์ให้แบ่งสัดส่วนสายการบินในประเทศไปบ้าง เพราะทางการบินไทยคงไปหั่นราคาสู้ไม่ได้
ในขณะที่มองไปที่สายการบินต้นทุนต่ำด้วยกัน แอร์เอเชียดูจะแข็งแกร่งมากที่สุด จากจำนวนเครื่องบินที่ได้มีการสั่งเข้ามาเพิ่ม และจำนวนสายการบินที่ครอบคลุม สายการบินต้นทุนต่ำรายอื่น คงต้องขยายเส้นทางการบินตามหลังแอร์เอเชียอีกนาน
เป้าหมายนักท่องเที่ยวเพิ่ม 13.3 ล้านคน
นอกจากนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประกาศให้ไทยเป็นฮับแห่งการท่องเที่ยวเพื่อดึงเม็ดเงินต่างประเทศเข้ามายังไทยตั้งแต่ต้นปี 2547 โดย สนธยา คุณปลื้ม รมว.การท่องเที่ยวและกีฬาในสมัยนั้น ระบุว่า ตัวเลขที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตั้งเป้าจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาเมืองไทยในปี 2548 น้อยเกินไป เนื่องเพราะไทยมีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยวจึงน่าจะสามารถทำตลาดได้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงได้มีการปรับเป้าจำนวนนักท่องเที่ยวตลาดในประเทศจาก 76.25 ล้านคนครั้ง น่าจะเพิ่มได้ถึง 79.9 ล้านคน ขณะที่ตลาดต่างประเทศตั้งเป้าไว้ 13.38 ล้านคนครั้ง น่าจะปรับเพิ่มได้ถึง 13.6 ล้านคนครั้ง โดยททท.ต้องมีการกระตุ้นนักท่องเที่ยวด้วยวิธีต่างๆ กัน ดังนั้น ในปี 2548 รัฐบาลจึงใช้งบการลงทุนเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวไปกว่า 10,000 ล้านบาท
ล่าสุด ประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬาเร่งคนปัจจุบัน ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบลองเสตย์ในเมืองไทย โดยมีการติดต่อกับการท่องเที่ยวของญี่ปุ่นเพื่อดึงนักท่องเที่ยววัยเกษียณจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยแบบลองสเตย์ ซึ่งทางการท่องเที่ยวญี่ปุ่นเสนอให้ไทยเปิดเส้นทางบินไปสู่ญี่ปุ่นมากขึ้น เพื่อดึงนักท่องเที่ยวจากทั่วภูมิภาคญี่ปุ่นเข้าสู่ไทยมากขึ้น
ปี 48 ใช้งบทำฮับท่องเที่ยวหมื่นล้าน
ในการผลักดันให้ไทยเป็นฮับด้านการท่องเที่ยวนั้น ททท.ได้เตรียมแผนการท่องเที่ยวตั้งแต่ต้นปี 2548 เป็นต้นมาโดย จุฑามาศ ศิริวรรณ ผู้ว่าการ ททท.ระบุว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ททท.ได้มีการเสนอของบประมาณในปี 2548 อีก 10,437 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีนี้ 121.18% เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สมบูรณ์แบบ
ทั้งนี้ แบ่งเป็นงบดำเนินการจำนวน 2,603 ล้านบาท งบดังกล่าวจะนำไปใช้ด้านสิ่งก่อสร้าง ค่าตอบแทนพนักงานและเงินเดือนพนักงาน ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 133%เมื่อเทียบจากปีที่ผ่านมา
งบประมาณการจัดกิจกรรมและโครงการ จำนวน 7,834 หรือคิดเป็น 75% โดยแบ่งเป็นงบด้านการตลาด 4,140 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงบประมาณปีนี้ 89% ที่แบ่งเป็นงบการตลาดภายในประเทศจำนวน 900 ล้านบาท ซึ่งจะนำมาใช้ในส่วนของการโฆษณาการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศและเทศกาลกระตุ้นการท่องเที่ยวในแต่ละเทศกาล และงบการตลาดต่างประเทศ จำนวน 3,239 ล้านบาท
โดยในปี 2549 ททท.มีแผนการลงทุนเพื่อการท่องเที่ยว เช่น สิ่งปลูกสร้างของ ททท. การปรับปรุงพื้นที่ชายหาดบางแสน รวมถึงศูนย์ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวของไทยให้ก้าวสู่ความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกัน ททท.ได้จัดสรรงบโครงการก่อสร้างใหม่หลายโครงการ อาทิ ศูนย์ประชุมที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 547 ล้านบาท ค่าออกแบบศูนย์ประชุมจังหวัดภูเก็ต จำนวน 105 ล้านบาท และการเปิดสำนักงานมอสโคว์ จำนวน 43 ล้านบาท เป็นต้น
************
นักเศรษฐศาสตร์ชี้ สารพัดฮับ “โอกาสทอง”นักลงทุน
ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์
ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศาสตร์ (นิด้า)
การประกาศฮับต่างๆของรัฐบาลไทยรักไทย ออกมามากมายนั้นต้องยอมรับว่าในแง่การเมือง ก็อาจจะได้รับคะแนนนิยมและคาดหวังที่จะได้รับความเชื่อมั่น ความเชื่อถือ และต้องการทำให้เห็นถึงการพัฒนาในฮับต่างๆที่ประกาศออกมา เป็นการทำ “การตลาด” ที่ชัดเจนของรัฐบาล เราก็ต้องเข้าใจและเห็นใจ ส่วนจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับประชาชนได้จริงหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
“อย่างไรก็ตาม ถือว่าเป็นความตั้งใจจริงที่ดีของรัฐบาล เวลานี้เหลือเพียงแต่รัฐบาลต้องมี action plan ออกมาอย่างชัดเจน จะลงทุนอย่างไรและมียุทธศาสตร์ เพราะบางโครงการมีคู่แข่ง บางโครงการต้องอาศัยการลงทุนจำนวนมาก รวมทั้งบางเรื่องต้องอาศัยระบบการจัดการที่ดี”
หลายๆ ฮับที่รัฐบาลประกาศออกมานั้น จำเป็นต้องอาศัยการจัดการที่ดี อาทิ ฮับพลังงานที่ต้องใช้ระบบการจัดการที่เข้มแข็งเข้ามาช่วย ขณะที่ฮับการท่องเที่ยวนั้นก็มีโอกาสเป็นไปได้สูง ฮับสุวรรณภูมิ ฮับภาคเหนือ ก็ล้วนแล้วแต่มีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น แต่ขึ้นอยู่กับ action plan เพราะการปฏิบัตินั้นมีความซับซ้อน มีปัญหาหลายด้าน
สำหรับข้อสังเกตจากสังคมที่มองว่าบุคคลใกล้ชิดรัฐบาล รวมทั้งเครือญาตินายกฯทักษิณ เองได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์การเกิดฮับนานาประเภท ไม่ว่าจะเป็นฮับสุขภาพ หรือ ฮับภาคเหนือ ที่ถูกมองว่านายกฯทักษิณ จงใจพัฒนาพื้นที่จังหวัดบ้านเกิดของตนเอง มากกว่าทำเพื่อส่วนรวม นั้น ในประเด็นดังกล่าวต้องแยกแยะว่าในเรื่องของการพัฒนาประเทศก็ต้องเดินหน้าทำต่อไป ภายใต้กติกาที่ถูกต้อง
“ในเรื่องความเหมาะสมถูกต้องนั้นเป็นเรื่องที่แต่ละคนต้องคำนึงถึงและพิจารณากันต่อไป เมื่อเกิดการเปลี่ยนประเทศไปสู่ความเจริญก้าวหน้า นักธุรกิจก็ต้องทำงานหารายได้ หาโอกาส การที่ภาคการเมือง หรือนักการเมืองจะไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ต้องตรวจสอบกันต่อไป
กติกาการแข่งขันถ้ามีอยู่อย่างถูกต้องก็ทำไป แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่เหมะสม ประชาชนก็ต้องช่วยกันตรวจสอบ อยู่ที่มาตรฐาน วิจารณญาณของแต่ละคน”
ดร.กิตติ ลิ่มสกุล
ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ฮับการบิน
สนามบินดอนเมืองมีลักษณะเป็นศูนย์กลางการบินอยู่แล้ว แต่ไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้มาใช้บริการ ดังนั้นเมื่อมี “สนามบินสุวรรณภูมิ” จึงจะสามารถรองรับจำนวนคนที่มาเพิ่มขึ้น 30-40 ล้านต่อปี ดังนั้นการมีสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ ที่ใหญ่ขึ้นจึงถือเป็นขนาดที่เหมาะสม ในการที่จะเป็นคู่แข่งกับประเทศสิงคโปร์ได้ ซึ่งสินค้าด้านบริการของเราก็จะเป็นตัวชูต สินค้าต่างๆรวมทั้งนักท่องเที่ยวด้วย อนุภูมิภาค ดังนั้นคิดว่ามีความเป็นไปได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์
ฮับด้านสุขภาพ
พบว่ายังติดปัญหาอยู่บ้าง เนื่องจากผู้ที่ให้บริการคือหมอ และโรงพยาบาลอยู่ในภาคราชการ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีการร่วมมือหรือลงทุนในเชิงเอกชน ขณะที่ลูกค้าที่รอรับบริการมีอยู่จำนวนมากบริเวณรอบๆประเทศไทย คนที่มีเงินจริงมีไม่น้อยกว่า 100 ล้านคน อาทิประเทศอินเดียมีประชากรที่ร่ำรวยจริง ไม่ต่ำกว่า 50 ล้านคนแน่นอน และคนกลุ่มนี้ต้องการที่จะได้รับการบริการ ดูแลด้านสุขภาพต่างๆ อยู่แล้ว คือกลุ่ม Hi-end มีเงินมากพอที่จะจ่ายได้ ซึ่งทางด้านการแพทย์ภายในประเทศของเขาเองด้อยคุณภาพกว่าโรงพยาบาลของไทย เพราะฉะนั้นการลงทุนในด้านนี้จึงมีความเป็นไปได้อย่างยิ่ง
ฮับยานยนต์
ฮับยานยนต์มีความเป็นไปได้มากเพราะประเทศญี่ปุ่นได้ย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทยค่อนข้างมาก และจากนี้ไปไทยจะเป็นผู้ผลิตและส่งออกเพื่อจะส่งไปที่จีน อินเดีย ยุโรปและอเมริกา เพราะฉะนั้นฮับยานยนต์ มีความเป็นไปได้สูง แม้เทคโนโลยีจะไม่ใช่ของไทยทั้งหมดก็ตาม เป็นการลงทุนจากต่างประเทศทั้งอเมริกา ญี่ปุ่น แต่แรงงานและฝ่ายจัดการเป็นคนไทย วัตถุดิบต่างๆ มาจากบริษัทในประเทศไทย หากเรายึดจุดนี้เป็นหลัก ไทยก็จะสามารถสร้างตลาดยานยนต์ขึ้นมาในเอเชียได้
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 ธันวาคม 2548 15:12 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น