ทวงคืน ปตท.
ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..
วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ปตท.มักง่าย !!!
การออกมาข่มขู่ ฟ้องร้อง เพื่อปิดปากสื่ออย่าง “ASTV ผู้จัดการ” ของกลุ่มปตท.บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศ เพื่อไม่ให้นำเสนอข่าวคราวความไม่ชอบมาพากล ไม่โปร่งใส ที่กลุ่มปตท.ปกปิดซ่อนเร้นเอาไว้ภายใต้ภาพลักษณ์อันสวยหรูคู่รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นระดับโลก ต้องขอบอกว่าวิธีการข่มขู่ ปิดปากแบบนี้ใช้ไม่ได้ผลกับสื่อ “ASTV ผู้จัดการ” เป็นอันขาด !!
กลุ่มปตท.ที่สังคมตั้งข้อกังขามาตลอดว่ามีอิทธิพลเหนือรัฐ ได้แสดงอำนาจบาตรใหญ่ในการควบคุมสื่ออีกครั้ง โดยการมอบหมายให้นายไตรรงค์ ตันทสุข ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) บริษัท พีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย (แอชมอร์คาร์เทียร์) พีทีวาย จำกัด หรือ PTTEPAA ส่งหนังสือข่มขู่ ฟ้องร้องเอาผิดทั้งแพ่งและอาญา หลังจาก “ASTVผู้จัดการ” นำเสนอข่าวเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของกลุ่มปตท.
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วสู่ท้องทะเลจ.ระยอง เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 56 ที่ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตชาวประมง ฯลฯ กระทั่งเกิดการตื่นตัวลงชื่อรณรงค์เรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาตรวจสอบ รวมไปถึงการนำเสนอข่าวความอื้อฉาวของกลุ่มปตท.ที่เข้าไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กลุ่มปตท.รับความจริงที่มีข้อครหาถึงธรรมาภิบาลจอมปลอมไม่ได้
เนื้อความในหนังสือที่นายไตรรงค์ ส่งมายัง “ASTVผู้จัดการ” ได้อ้างการนำเสนอข่าวในช่วงที่ผ่านมา คือ 1) แฉสัมปทาน “ปตท.” ชนวนเด้ง รมต.พม่า 2) รัฐอุ้ม PTTGC หนีความผิด แบไต๋ส่อไม่ฟ้อง 3) สุดฉาว! เครือปตท.พัวพันสินบนสัมปทานปิโตรเลียมพม่า 4) 3 หมื่นชื่อจี้รัฐ ตั้ง กก.อิสระสอบ ติดตามน้ำมันปตท.รั่ว 5) ตามน้ำมันรั่ว ยื่น 3.2 หมื่นชื่อ 6) คราบน้ำมันที่ “เสม็ด” บทพิสูจน์ความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อม
โดยระบุว่า ตามที่ “ASTVผู้จัดการ” ได้เผยแพร่ข่าวรัฐบาลออสเตรเลียได้เรียกร้องค่าเสียหายจาก PTTEPAA เป็นจำนวนเงินกว่า 9 พันล้านบาท และค่าปรับเป็นจำนวนเงินถึง 8,946 ล้านบาท จากเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่มอนทาราโดยปริมาณน้ำมันรั่วถึง 34 ล้านลิตร จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศน์ทางทะเลของประเทศอินโดนีเซีย แต่กลับปฏิเสธความรับผิดชอบจากผลกระทบที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้สินบนในลักษณะให้เงินสนับสนุนผลงานทางวิชาการแก่นักวิชาการและเจ้าหน้าที่ของประเทศอินโดนีเซีย และเจ้าหน้าที่ของประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเป็นการปกปิดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังนำเสนอข่าวอีกว่า ปตท.สผ.เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้สินบนรัฐมนตรีและข้าราชการของประเทศพม่า เพื่อให้ได้มาซึ่งสัญญาสัมปทานแหล่งน้ำมันและก๊าชธรรมชาติของประเทศพม่า ซึ่งต่อมา ปตท.สผ. ก็ได้มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าปรับที่ถูกต้อง เป็นเงินจำนวนเพียง 510,000 เหรียญออสเตรเลียหรือ 15.3 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าปรับด้านความปลอดภัยไม่ใช่ค่าปรับด้านสิ่งแวดล้อม และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อหาติดสนบนนักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ของประเทศอินโดนีเซีย ตลอดจน ปตท.สผ.ได้รับสัมปทานจากประเทศพม่าอย่างถูกต้องและตามกฎหมาย
ดังนั้น การเสนอข่าวที่ 1-6 ดังกล่าวส่งผลทำให้ PTTEPAA และ ปตท.สผ.ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง จึงขอให้ “ASTVผู้จัดการ” ระงับการเผยแพร่ข่าวที่อ้างถึง 1-6 และดำเนินการเผยแพร่ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องครบถ้วน ภายในกำหนด 7 วัน หากเพิกเฉยจะดำเนินคดีตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา
ความจริงแล้ว ข่าวสัมปทานพม่าข้างต้นนั้นเป็นการรายงานข่าวที่อ้างอิงแหล่งที่มาจาก “เมียนมาร์ไทม์ส” สื่อกึ่งทางการของพม่า ส่วนประเด็นเรื่องการติดสินบนที่อินโดนีเซีย เป็นการอ้างอิงจากรายงานข่าวของเว็บไซต์หนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์ของอินโดนีเซีย ไม่ใช่เรื่องที่ “ASTVผู้จัดการ” จะบิดเบือนเสแสร้งแกล้งปั้นแต่งเรื่องขึ้นมาเอง
เหตุไฉน ปตท.สผ. จึงร้อนรน ส่งหนังสือข่มขู่ ปิดปาก เพราะกลัวสังคมไทยจะรู้ว่าวีรกรรมที่เกิดขึ้นจากกรณีน้ำมันรั่วที่แหล่งมอนทารา ออสเตรเลีย มันเป็นเรื่องงามหน้าระดับโลก ใช่หรือไม่ ?
ย้อนกลับไปหลังเหตุการณ์ที่ มอนทารา ปตท.สผ. แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างรวบรัดว่า เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 55 PTTEPAA ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของปตท.สผ. ได้เข้ารับฟังและยอมรับผิดตามข้อกล่าวหาของหน่วยงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของออสเตรเลีย ในเรื่องการปฏิบัติงานในโครงการมอนทาราที่ไม่เป็นไปตามกฎข้อบังคับใน 4 ประเด็น ที่ศาลเมืองดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย โดยศาลได้ตัดสินในวันที่ 31 ส.ค.2555 ให้ PTTEPAA ชำระค่าปรับตามกฎหมาย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 510,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย และ PTTEPAA ได้ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐบาลออสเตรเลียอย่างใกล้ชิด และเสนอเพื่อรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขจัดคราบน้ำมัน นอกจากนี้ PTTEPAA ยังได้ให้การสนับสนุนเงินทุนในการศึกษาวิจัย และเฝ้าระวังผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาวในทะเลติมอร์ด้วย โดยคาดว่าแหล่งมอนทารา จะสามารถกลับมาเริ่มการผลิตได้ในปลายปี 2555
การชี้แจงของข้างต้น ไม่ชัดเจนว่าแท้จริงแล้ว ปตท.สผ. ต้องจ่ายค่าความเสียหายทั้งหมดเท่าไหร่กันแน่เพราะไม่ใช่มีแค่ค่าปรับที่ศาลสั่งเท่านั้น ค่าใช้จ่ายด้านการขจัดคราบน้ำมัน ค่าการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ค่าสนับสนุนการศึกษาวิจัย เฝ้าระวังผลกระทบในระยะยาว อีกเท่าไหร่? และความผิดใน 4 ประเด็นหลักที่ PTTEPAA ต้องยอมรับผิดคืออะไร เป็นเรื่องที่ ปตท.สผ.ไม่อยากให้สาธารณะได้รับรู้
ทำไม ปตท.สผ.จึงปกปิด บิดเบือน หรือพูดความจริงเพียงครึ่งเดียว หากไม่ใช่เพราะต้องการให้สาธารณชนทั่วไปเข้าใจว่า น้ำมันรั่วที่มอนทารานั้นมีปัญหาแค่เล็กน้อย ดูจากที่เสียค่าปรับแค่ไม่กี่ตังค์ และที่ระยองก็เป็นเช่นเดียวกัน จะมาเรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบอีกทำไม ชาวประมงและกลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบที่ได้ค่าชดเชยไปแล้วก็ควรจบเพียงเท่านั้น
ทั้งที่ความจริง กรณีเกิดเหตุระเบิดที่แท่นขุดเจาะน้ำมันในแหล่งมอนทารา ทางเหนือของออสเตรเลีย วันที่ 21 ส.ค. 52 ส่งผลให้น้ำมันรั่วนานกว่า 10 สัปดาห์ ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 200 กม. เป็นอุบัติเหตุน้ำมันรั่วที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งใน ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย และรายงานของคณะกรรมการสอบสวนเหตุการณ์มอนทารา ชี้ว่า เป็นความผิดพลาดและบกพร่องของ PTTEPAA
กรณีดังกล่าว ทำให้ ปตท.สผ. ต้องจ่ายค่าความเสียหายเกือบหมื่นล้านบาทแล้ว ดังที่เว็บไซต์ THAI PUBLICA อ้างถึงรายงานประจำปีของ ปตท.สผ. นับตั้งแต่ปี 2552 - 2555 ว่า ปตท.สผ.จ่ายค่าความเสียหายเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่มอนทาราไปแล้ว รวมวงเงิน 9,724 ล้านบาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมสถานการณ์และค่าใช้จ่ายในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนค่าชดเชยความเสียหายนั้น บริษัทได้ซื้อประกันภัยไว้ 9,000 ล้านบาท และที่ผ่านมาได้รับรู้ค่าสินไหมทดแทนแล้วในไตรมาส 4 ปี 52 จำนวน 1,341 ล้านบาท และไตรมาส 3 ปี 2553 อีก 1,369 ล้านบาท และยังอยู่ระหว่างเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อนำมาชดเชยความเสียหายเพิ่ม
นายมาร์ติน เฟอร์ฟิวสัน รมว.ทรัพยากรและพลังงานของออสเตรเลีย ให้สัมภาษณ์กับไฟแนนซ์เชียล ไทมส์ เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 53 ว่าค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดและหยุดเหตุรั่วไหลของน้ำมัน จนถึงขณะนั้นคือ 319 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือประมาณ 9,000 กว่าล้านบาท
การปกปิด บิดเบือน เฉไฉ ไม่ยอมรับผิด เป็นพฤติกรรมด้านมืดคู่องค์กรซ่อนเงื่อนแห่งนี้ และก็เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่โดดเด่น ดังปรากฏในรายงานของคณะกรรมการสอบสวนเหตุการณ์มอนทารา ที่ฉีกหน้ากลุ่มปตท.เป็นริ้วๆ ให้ได้อับอายกันทั่วโลก
เรื่องนี้ สฤณี อาชวานันทกุล นักวิเคราะห์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เขียนไว้ในคอลัมน์ รู้ทันตลาดทุน ตีพิมพ์ใน “กรุงเทพธุรกิจ” ฉบับวันจันทร์ที่ 13 ธ.ค. 53 เรื่อง “ความจริงและความโปร่งใส : กรณี ปตท.สผ. ในออสเตรเลีย” ว่าในรายงานของคณะกรรมการฯ ตอนหนึ่ง ระบุว่า“คณะกรรมการยังพบหลักฐานว่าบริษัทพร้อมที่จะให้ข้อมูลก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นเป็นประโยชน์ต่อบริษัท และปิดบังข้อมูลด้วยเหตุผลเดียวกัน (Finding 99) .... และข้อค้นพบข้อสุดท้ายของคณะกรรมการสรุปอย่างชัดเจนว่า “ตลอดระยะเวลาการทำงานของคณะกรรมการ พีทีทีอีพี เอเอ “โดยมากมีท่าทีต่อล้อต่อเถียงและชี้นิ้วปรักปรำผู้อื่น บริษัทยอมรับลักษณะและขอบเขตข้อบกพร่องของบริษัทก็ต่อเมื่อบริษัทไม่มีทางเลือกอื่นใดแล้วนอกจากยอมรับทั้งในเชิงปฏิบัติและในทางกฎหมาย”
การรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ของ PTTEPAA ที่เป็นเพียงข้อความสั้นๆ ที่ไม่ได้ระบุสาระสำคัญใดๆ ของรายงานเลย การปกปิดข้อมูลที่สำคัญ เธอเห็นว่าเป็นพฤติกรรมที่แย่และละเมิดต่อประกาศของตลท.ที่กำหนดให้เนื้อหาของสารสนเทศจะต้องตรงไปตรงมา ข้อวิจารณ์ของเธอ ทำให้ปตท.สผ. แก้เกี้ยวว่าเป็นเพราะข่าวส่วนใหญ่ออกมาว่ารายงานดังกล่าวชี้ข้อบกพร่อง PTTEPAA แต่แทบไม่มีเรื่องการพิจารณาใบอนุญาตและการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงของ PTTEPAA ดังนั้น ปตท.สผ.จึงอยากให้ข้อมูลด้านดีต่อนักลงทุนเพื่อให้เกิดความสมดุล
การต่อล้อต่อเถียง ชี้นิ้วปรักปรำผู้อื่น หรือข่มขู่ ปิดปากอย่างที่กลุ่มปตท. กำลังทำกับสื่อ “ASTVผู้จัดการ” นั้น ไม่ใช่วิธีการที่ฉลาดสำหรับองค์กรที่มีศักดิ์ศรีระดับยักษ์ใหญ่พลังงานอันดับหนึ่งของประเทศ มีแต่ต้องพร้อมให้ตรวจสอบ จริงจังและจริงใจในการแก้ไขปัญหาและความผิดพลาดเท่านั้นที่จะทำให้กลุ่มปตท.ได้รับความไว้วางใจจากสังคม เอาง่ายๆ แรกสุดกลุ่มปตท.ควรเป็นผู้สนับสนุนอย่างแข็งขันในการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบอิสระกรณีน้ำมันรั่วที่ระยองก่อนเป็นอันดับแรก
วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
การไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม และรัฐธรรมนูญ ของ คณะรัฐมนตรี
วันที่ 24 กรกฎาคม 2556
วันที่ 24 กรกฎาคม 2556
เรื่อง การไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม และรัฐธรรมนูญ ของ
นายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรี
กราบเรียน ผู้ตรวจการแผ่นดิน
เนื่องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 178 บัญญัติไว้ว่า ในการบริหารราชการแผ่นดิน
รัฐมนตรี ต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่ได้แถลงไว้
ตามมาตรา 176 และต้อง
รับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในหน้าที่ของตน รวมทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกัน
ต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไป ของคณะรัฐมนตรี และมาตรา 279 บัญญัติไว้ว่า
ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีจิตสำนึก ในด้านจริยธรรม
รวมทั้งมีหน้าที่รายงานการกระทำที่มีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม และปัจจุบัน ได้มี
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551
เขียนไว้ หลายข้อที่ กำหนดจริยธรรมให้นักการเมืองปฏิบัติ เช่น ข้อ 6
ข้าราชการการเมือง มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
รักษาประโยชน์ส่วนรวม ยึดหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดมั่นใน ค่านิยมหลักดังนี้ (2)
ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม (6) ให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว
และไม่เลือกปฏิบัติ (7) ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน
ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง (8) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ข้อ 8 ข้าราชการการเมืองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทยทุกประการ
ข้อ 30 นายกรัฐมนตรีมีหนาที่กํากับดูแลการประพฤติปฏิบัติตนของรัฐมนตรีและขาราชการการเมืองอื่น
ที่นายกรัฐมนตรีแตงตั้งใหเปนไปตามระเบียบนี้ในกรณีที่พบวามีการประพฤติปฏิบัติตนที่ไมถูกตองตามระเบียบนี้
ใหนายกรัฐมนตรีดําเนินการ ลงโทษตามความรายแรงแหงการกระทํา ในกรณีย์รัฐมนตรี
และคณะรัฐมนตรี ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา ตาม รัฐธรรมนูญ
มาตรา 178 ปรากฏว่านโยบาย
หลายข้อที่รัฐบาลชุดนี้ได้แถลงต่อสภา (เอกสารแนบ 1 ) ไม่ได้ปฏิบัติให้ครบถ้วนเช่น
ข้อ 1.7.1 ชะลอการเก็บเงินเขากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสําหรับ
น้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราว เพื่อให ราคาน้ำมัน เชื้อเพลิงลดลงทันทีและปรับโครงสรางราคาพลังงานทั้งระบบใหมุงสูการสะทอนราคาตนทุนพลังงาน
ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินคาอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานใหอยูในระดับที่เหมาะสมและเปนธรรม
แกผูบริโภคและผูผลิต ข้อ 1.7.4 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของ
ประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อ 3.1.1 ดําเนินการใหมีการกระจายรายไดที่เปนธรรม ใหแก คนสวนใหญของประเทศ ข้อ 8.1.5
เสริมสรางมาตรฐานดานคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลใหแกขาราชการ
และเจาหนาที่ ของรัฐและพัฒนาความโปรงใส ในการปฏิบัติงานของหนวยงานภาครัฐ
ณ ปัจจุบัน การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล กลับมิได้ดำเนินการ
ตามนโยบาย ดังกล่าว แต่กลับ มีผลตรงกันข้ามกับนโยบายที่แถลงไว้ที่สภา เช่น
นโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในประเด็น ก. นโยบาย ข้อ 1.7.1 การปรับโครงสรางราคาพลังงานทั้งระบบใหมุงสูการสะทอนราคาตนทุนพลังงาน
ซึ่งปัจจุบันต้นทุนพลังงานที่แท้จริงไม่ได้ แจ้งสู่สาธารณะ แต่กลับเล่นแร่แปรธาตุ
เอาราคาที่บวกกำไรไว้แล้วที่ บริษัทลูกแจ้ง มาอ้างเป็นต้นทุนที่คิดกับประชาชน
เช่นราคาNGV ที่ต้นทุนการขุดเจาะจริงไม่เกิน
สามบาทต่อกิโลกรัม แต่กลับแจ้ง ว่าต้นทุนเนื้อก๊าซสูงถึงกว่า8 บาทกว่าต่อกิโลกรัมซึ่งคำว่าต้นทุนดังกล่าวได้บวกกำไรของบริษัท
ปตท.สผ.ไว้แล้วในปริมาณมาก ตัวเลขดังกล่าวจึงไม่ใช่ต้นทุนที่แท้จริง
หรือต้นทุนก๊าซ LPG ที่ผลิตในประเทศ อยู่ที่ประมาณ 9 บาทต่อกิโลกรัม และไทยขุดเจาะได้ ส่วนใหญ่ของที่ใช้ทั้งหมด แต่กลับใช้มติครม
ให้คิดราคาต่าง ประเทศทั้งหมด ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 30บาท
ต่อกิโลกรัม โดยส่วนต่างราคาที่ขายให้ ประชาชนกับส่วนที่นำเข้า ได้นำเงิน
กองทุนน้ำมัน ที่เก็บจากประชาชน ไปชดเชยแก่บริษัท ปตท จำกัด และโรงกลั่น ต่างๆ
ที่มีหนึ่งใน คณะกรรมการ นโยบายพลังงาน แห่งชาติ เป็นผู้รวบรวมข้อมูลสถิติ
และนำเสนอแนวทางการกำหนด ราคาน้ำมัน อัตราเงินสมทบ กองทุน และอัตราเงินชดเชย
แก่โรงกลั่น ทำให้มีผู้ได้ผลประโยชน์เช่น โรงกลั่นไทยออยล์ มีปลัด ณอคุณ สิทธิพงษ์
เป็นประธานบริษัท เพื่อ ให้คณะกรรมการเห็นชอบ แต่ตนเองไปเป็นประธานกรรมการ
บริษัทโรงกลั่น หรือผู้ อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน ไปเป็นกรรมการในบริษัท
ปิโตรเคมีบริษัทลูกของ บริษัท ปตท. จำกัด ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี ที่มีนายกรัฐมนตรี
เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ประธาน มีมติเมื่อ30 กย 2554 และ4 ตค 2554 ให้
จ่ายเงินกองทุนเพียง 1 บาทต่อกิโลกรัม
แต่อุตสาหกรรมอื่นๆของภาคประชาชน กลับต้องจ่าย12 บาทต่อกิโลกรัม
ในปี 2555 ภาคปิโตรเคมีใช้ปริมาณ 2.6 ล้านตัน
หากจ่ายเงินกองทุนเท่ากับ อุตสาหกรรม อื่นๆ จะได้เงินกองทุนน้ำมันถึง 2,600,000,000
x 11.50 บาทต่อปี เท่ากับประมาณ 30,000,000,000 บาท ซึ่ง เพียงพอต่อการชดเชย ราคานำเข้าก๊าซ LPG โดยไม่ต้องนำเงินของประชาชนมาอุ้มต้นทุนก๊าซ
LPG ของธุรกิจปิโตรเคมี และสามารถลบล้าง
เงินกองทุนน้ำมันที่ค้างในแต่ละปีที่เอาเงินจากประชาชนทั้งประเทศ ในรูปราคาน้ำมัน
และก๊าซหุงต้มทุกลิตร ทุกกิโลกรัม แต่ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี
กลับเลือกปฏิบัติ ที่ให้ปิโตรเคมีจ่ายเงินกองทุน น้ำมันเพียง หนึ่งบาท
แต่อุตสาหกรรมอื่นของประชาชนจ่าย12.50 บาทต่อกิโลกรัม และ
การอนุมัติ ให้ธุรกิจปิโตรเคมี ซื้อก๊าซLPG ในราคาถูกกว่า
ประชาชน ทั่วไป อยู่ที่16-17 บาท แต่ราคาจริงที่นำเข้า
อยู่ที่ 30 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้น
รัฐนำเงินประชาชนไปอุ้มต้นทุนปิโตรเคมี อยู่ที่ 13 บาทต่อกิโลกรัม
หากคิดที่ ปริมาณปิโตรเคมีใช้ ในปี 2555 อยุ่ที่2.6 ล้านตัน จำนวนเงินที่ประชาชนต้อง จ่ายเพื่ออุ้มธุรกิจปิโตรเคมี
อยู่ที่ประมาณ 30,000 ล้านบาท จึงทำให้ธุรกิจปิ โตรเคมี
กำไรก้าวกระโดด จาก 2,113 ล้าน เป็น34,000ล้านบาทภายในหนึ่งปี และรายได้เพิ่มจาก1 แสนล้านบาทเป็น
5 แสนกว่าล้านบาท และการชดเชยการนำเข้านั้นให้ชด
เชยเฉพาะธุรกิจ ปิโตรเคมีของปตท .เท่านั้น ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติ
ของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี กระทรวงพลังงาน ขัดประมวล จริยธรรมข้อ6(6)
เรื่องการเลือกปฏิบัติ และขัดนโยบายของรัฐบาลข้อ 1.7.1
โดยบริษัทปิโตรเคมี เช่นบริษัท PTTGC มีกรรมการพรรคเพื่อไทย เป็นกรรมการร่วมด้วย มีบริษัท ปตท จำกัด
ถือหุ้นอยู่ 49% , บริษัท ปตท จำกัดมี รัฐบาลถือหุ้นอยู่ 51
% เพราะฉะนั้น ประเทศชาติ ได้ประโยชน์เพียง
หนึ่งในสี่ส่วนของกำไรสุทธิของบริษํท PTTGC ประมาณ 8,500
ล้านบาท ส่วนอีก สามส่วนในสี่ส่วนคือประมาณ 25,500 ล้านบาท ตกแก่เอกชนผู้ถือหุ้นซึ่งมีต่างชาติร่วมด้วย ได้ประโยชน์
ทั้งยังกำหนด ราคาค่าการตลาดของปัมพ์ก๊าซ อยู่ที่สามบาทต่อกิโลกรัม
ซึ่งสร้างความร่ำรวยแก่ บริษัทขายก๊าซ เช่นสยามก๊าซ มี พลเอกชัยสิทธิ ชินวัตร
เป็นเครือญาตินายกรัฐมนตรี เป็นประธานบริษัท บริษัทขายก๊าซ สยามก๊าซ และเวิลด์
กลับมีการเติบโต ขยายธุรกิจ อย่างก้าวกระโดด ตามเอกสารแนบ 2 อีกทั้งรัฐบาลยังประกาศขึ้นราคาก๊าซ
LPG ในเดือนกันยายน 2556 โดยกำหนดให้ขึ้นในส่วนของกองทุนน้ำมัน
มิใช่ ต้นทุนเนื้อก๊าซหุงต้มจริง
ทั้งๆที่ประชาชนจ่ายราคากว่าแพงกว่าต้นทุนจริงๆแล้วที่ 2-3 เท่า
คือต้นทุนบวกกำไรของผู้ขุดเจาะแล้วจะอยู่ที่ 9 บาทต่อกิโลกรัม
ประชาชนจ่ายที่18-30 บาทต่อกิโลกรัม ข. นโยบาย ข้อ 1.7.3
และ นโยบาย ข้อ 3.1.1 การดําเนินการใหมีการกระจายรายไดที่เปนธรรม
ดูแลราคาสินคาอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานใหอยูในระดับที่เหมาะสม และเปนธรรม
แกผูบริโภคและผูผลิต แต่ปัจจุบันกลับพบว่าส่วนต่างขอราคาน้ำมันยิ่งแพงขึ้น
แม้นราคาน้ำมันต่างประเทศไม่ได้สูงขึ้นเกินกว่าปี 2553 ตามเอกสารแนบ
3 ยังผลให้ บริษัท ปตท จำกัด มหาชน
ติดอันดับให้เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 81 ของโลก
จาก 500 แห่งทั่วโลก ประจำปี 2013 (ที่มา.http://www.thairath.co.th/content/eco/356599) จากนิตยสารฟอร์จูน โดย ปตท. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ในลำดับที่ 95
โดยมีรายได้ 89,945 ล้านดอลลาร์ และมีกำไร 3,370
ล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทรายเดียวของไทยที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในราย
ชื่อบริษัทขนาดใหญ่ 500 แห่งทั่วโลก จากนิตยสารฟอร์จูน
แต่คนไทยทั้งชาติยากจนลง (หนี้เพิ่ม ) ที่มา เว็บไซต์ธนาคารโลก (http://news.thaiza.com/ธนาคารโลกปรับฐานะไทยยากจนลดลง /221819/)
และ เป็นหนี้เพิ่มด้วยภาระค่าครองชีพ ที่เพิ่มขึ้น ดังการวิจัยของ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดย นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์
เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือน จำนวนประชาชนทั่วประเทศ 1,200
ราย ระหว่างวัน ที่ 18-23 มิถุนายน 2556
พบว่า ประชาชน 71.5% ระบุเคยมีปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย
เนื่องจากภาระใช้จ่ายเพิ่มจาก
ราคาสินค้าแพงขึ้น อัตราดอกเบี้ยสูง และราคาน้ำมันแพง
ทำให้ต้องกู้ยืมเพิ่มขึ้น ซึ่ง 47.8% ระบุเพื่อมาใช้จ่ายในชีวิตประ
จำวัน จึงทำให้มูลค่าหนี้ครัวเรือนปี 2556 เพิ่มเป็น 1.88
แสนบาท จากปีก่อน 1.68 แสนบาท หรือขยายตัว 12%
ในเรื่องค่าไฟฟ้า กลับพบว่าการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ชินวัตร ทำให้บริษัทเอกชน ที่ขายไฟฟ้า รวยขึ้น เช่น ก. บริษัทผลิตไฟฟ้า
ราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)กำไรในปี 2554 จำนวน 4,840
ล้านบาท แต่ในปี 2555 กำไรจำนวน 7,726 ล้านบาท มีกำไรเพิ่มขึ้นกว่า 150 % ข. บริษัท ผลิตไฟฟ้า
จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก( EGCO ) มีกำไรเพิ่มจากปี 2554
ทั้งปี จำนวน 4989 ล้านบาท ในปี 2555 กำไรเพิ่มเป็น 10,979 ล้านบาท กำไรเพิ่มขึ้นกว่า 200
% ทั้งสองบริษัท ได้ขายไฟฟ้าให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
แพงกว่าอีกหลายบริษัท แต่ประชาชน เดือดร้อนหนักจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ยากจนลง
เป็นหนี้เพิ่ม จึงไม่เป็นการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมตามนโยบายที่ได้แถลงไว้
สะท้อนข้อเท็จจริงว่า การแถลงนโยบาย ของรัฐบาลเพียงคำพูดสวยหรู เพื่อหาคะแนนเสียง
แต่ความจริงในการปฏิบัติหน้าที่ในการบริหาร ราชการแผ่นดินกลับปฏิบัติ และได้ผลตรงกันข้าม
ค.นโยบาย ข้อ 1.7.4 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลัง
ซื้อสุทธิของ ประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม
ยังส่งเสริมให้บริษัท ปตทจำกัด (มหาชน ) ผูกขาดการรับซื้อขายก๊าซ แม้นแต่
การไฟฟ้ายังต้องซื้อผ่าน บริษัท ปตท จำกัด แล้วกินหัวคิวในราคาก๊าซที่ แพง
เพือ่นำมาผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ผลักภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนในรูปต้นทุนไฟฟ้า ง. ข้อ 8.1.5
พัฒนาความโปรงใส ในการปฏิบัติงานของหนวยงานภาครัฐ ง.1 รัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินโดยขาดความเป็นธรรม โปร่งใส กับประชาชน
และขัดระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประมวลจริยธรรมข้าราชการการเมือง
โดยปรากฎว่า รัฐบาลยังคงปฏิบัติราชการ แผ่นดินตาม พระราช บัญญัติปิโตรเลี่ยม มาตรา
4, 9 ,76 ที่ห้ามประชาชนเข้าพื้นที่สัมปทาน
และห้ามเปิดเผยข้อมูลปิโตรเลี่ยม และกลับให้กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานภายใต้กำกับของรัฐมนตรีพลังงานออกมาโฆษณา
ให้ข้อมูลว่าพลังงาน ไทยเหลือสำรองเพียง8 ปี
แต่ข้อเท็จจริงในสื่อต่างประเทศ กลับพบว่า บริษัทสัมปทานเอกชนสามารถ
ขุดเจาะก๊าซธรรมชาติใน ประเทศได้ในปริมาณสูง เกือบสูงสุดจากทั่วโลก เช่นบริษัท HESS
ขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ จากไทย คิดเป็นสัดส่วน56 % จากที่ลงทุนทั่วโลก และบริษัท เชฟรอน
ซึ่งเป็นบริษัทขุดเจาะน้ำมันใหญ่อันดับ4ของโลก ในปี 2554
ขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากไทยเป็นอันดับ2 จากที่ลงทุนทั่วโลก
ทั้งยังมีข่าวการเกิดไฟลุกไหม้ ที่จังหวัดภาคอิสาน ซึ่งเป็นก๊าซที่ผุดจากพื้นดิน
แสดงให้เห็นถึงปริมาณ ก๊าซธรรมชาติในประเทศที่มีมากมายมหาศาล สอดคล้องกับรายงานของ
อมเริกา ที่ก๊าซไทยอยู่อันดับที่24 ส่วนน้ำมันอยู่อันดับที่33
ของโลก หรือมีการตรวจสอบปริมาณปิโตรเลี่ยมในประเทศ
พบว่ามีการขนน้ำมัน ไปกว่า52 คันรถสิบล้อต่อวัน
จากแหล่งวิเชียรบุรี -ศรีเทพ
แต่รายงานเพียงหกคันรถที่เหลือแจ้งว่าขนส่งน้ำเข้ากรุงเทพฯ
ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไมสามารถ เป็น ตรรกะเหตุผล กันและกันได้
แม้นแต่ชาวบ้านที่ตามไปตรวจสอบยังถูกไล่ยิงหรือไล่ตาล่า (อ้างอิง พท.รัฐเขต
เเจ้งจำรัส ) ในการขนน้ำมันดิบต่อรถบรรทุกหนึ่งคัน สามารถบรรจุได้ 32,000 ลิตร ถ้า 46 คันรถ X 32,000 ลิตรต่อวัน
ประมาณ หนึ่งล้านห้าแสนลิตรต่อวัน เป็นการตรวจสอบจากแหล่งเดียวเท่านั้น
ประเทศไทยมี แหล่ง สัมปทาน พลังงานกว่า 90 แหล่ง (5,600
หลุม ) จำนวนที่สูญเสียไป กว่า 136 ล้านลิตรต่อวัน
ถ้าขายลิตรละ 20 บาท จำนวนที่สูญเสียไป ประมาณ = 27,00
ล้านบาทต่อวัน ปีหนึ่งก็ 1 ล้านล้านบาท
หากให้สัมปทานมานาน 40 ปีตั้งแต่ปี 2514 จนถึงปัจจุบัน ก็ 40 ล้านล้านบาท ไม่รวมปริมาณที่ขุด
ได้ในทะเลที่ ไม่รู้ขุดไปเท่าใด ไม่มีใครสามารถตรวจสอบ ข้อมูลที่แท้จริงได้
ยกเว้นเจ้าพนักงานที่แต่งตั้งโดย รมต.พลังงาน ตามพรบ.ปิโตรเลี่ยม มาตรา 4,9,76
และขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 78(5) จัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่น
เพื่อให้การจัดทำและการให้บริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส
และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงการมี ส่วนร่วมของประชาชน
ง.2 รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงาน
บิดเบือนข้อเท็จจริงในเรื่อง ง.2.1 ก๊าซNGV สร้างต้นทุนเทียม โดยอ้างอิงราคาต้นทุนที่บวกกำไรไว้แล้วที่ปตท สผ
(บริษัทลูก ของ ปตท.) ขายให้แก่ ปตท.
แต่ไม่ได้อ้างอิงราคาต้นทุนจริงที่ซื้อจากแหล่งผลิต รวมทั้งอ้างอิงต้นทุนปัมพ์ NGV
ที่แพงกว่า เอกชนสองถึงสามเท่า ราคาเนื้อก๊าซแพงกว่าอเมริกาสามเท่าทั้งที่
ค่าครองชีพอเมริกาแพงกว่าไทย สิบเท่า ความสูญเสียที่ ประชาชน และประเทศชาติ
ต้องสูญเสียไปหากคิดราคาเท่าอเมริกา วันหนึ่งใช้ประมาณ 250,000 ตันต่อเดือน ภายในหนึ่งปี ประชาชนต้องจ่ายเพื่อสร้างความร่ำรวย
และการบริหารงานที่ไร้ประสิทธิภาพ ของ บริษัทปตท อีกจำนวน 250,000,000x7.5บาทต่อกิโลกรัมx 12 ล้านบาท คิดส่วนต่างราคาที่7.5
บาทต่อ กิโลกรัม (อเมริกา ราคาเนือ้ก๊าซ อยู่ที่ 3 บาทต่อกิโลกรัม ไทยขายให้ประชาชน ราคา10.50บาทต่อกิโลกรัม
) เพราะฉะนั้น ประชาชนต้องจ่ายเเพงกว่า ประเทศอเมริกา ที่ 22,500 ล้านบาทต่อปี เช่นเดียวกันเงินเหล่านี้ ส่วนใหญ่เก็บ จาก
หยาดเหงื่อแรงงานของ คนยากจน ทั้งสิ้นไม่ว่า คนขับรถแทกซี่ คนรายได้น้อย
เพราะคนร่ำรวยส่วนใหญ๋ไม่ใช้ก๊าซ NGV หรือLPG แน่นอน (เนื่องจากเสี่ยงระเบิด ) แต่เอาไปสร้างความร่ำรวยแก่
บริษัทในเครือ และ คณะกรรมการ ส่วนกรรมการผู้จัดการ บริษัท.ปตท.จำกัด
มีรายได้เดือนะล 4 ล้านบาท ปีละ 50 ล้านบาท
ง.2.2 เรื่องการนำเข้าน้ำมัน
การรายงานปริมาณนำเข้าจากต่างประเทศ ที่แจ้งว่านำเข้า 85% แต่แท้ที่จริงแล้วนำเข้าเพื่อการส่งออกถึงเกือบห้าแสนล้านลิตร
มูลค่าที่ส่งออก ซึ่งรวมเม็ดพลาสติด เคมีภัณฑ์
และน้ำมันสำเร็จรูปกว่าเก้าแสนล้านบาท (นำเข้ามูลค่า หนึ่งล้านหนึ่งแสนล้านบาท )
ที่สำคัญคือ ราคานำเข้าให้ประชาชนแบกรับภาระช่วยชดเชย แต่เวลาขายได้กำไร
กลับกลับสู่เอกชน มากกว่ารัฐ และ รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงาน ไม่เคยแสดงสัญญา
หรือราคาที่ซื้อมาจริง สู่สาธารณะ รวมทั้งชื่อบริษัทที่นำเข้า ง.2.3 เรื่องปริมาณสำรอง กลับใช้งบประมาณแผ่นดินประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะ
แจ้งปริมาณสำรอง ว่าเหลืออีกแปดปี แต่ข้อเท็จจริงคือเป็นปริมาณที่ บริษัทสัมปทาน
มีสัญญาขาย น้ำมันให้ปตท เท่านั้น
จึงใคร่ขอยื่นหนังสือ และข้อมูลพยานหลักฐาน
เพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตรวจสอบจริยธรรมของ
นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีว่าได้ปฏิบัติตามนโยบายที่แถลงสู่สภาหรือไม่
และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ หรือไม่ หากพบว่าไม่มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม
และรัฐธรรมนูญ ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน โปรดดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน
โดยแจ้งไปยัง นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ ให้ปฏิบัติตาม
นโยบายรัฐบาลที่แถลงสู่สภาโดยเคร่งครัด
และให้แก้ไขส่วนที่ไม่ตรงกับนโยบายที่แถลงสู่สภา และดำเนินการลงโทษ
ตามระเบียบสำนักนายกฯ ต่อไป ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูง ขอแสดงความนับถือ
วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556
แกนนำ “บ้านศิลปิน” แห่งคลองบางหลวง ร่วมทวงคืน “พลังงานไทย”
|
วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556
แฉ! พลังงานไทย เพื่อใครกันแน่!
แฉ! พลังงานไทย เพื่อใครกันแน่!
นักวิชาการระดมกึ๋นเปิดเวที ถก "พลังงานไทย...เพื่อคนไทย...หรือเพื่อใคร?" ชี้ชาติถูกผูกขาดด้านพลังงานจากยักษ์ใหญ่ในขณะที่ประชาชนคือเจ้าของที่แท้จริงกลับได้คืนเพียงความยากจน
เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา กล่าวในวงเสวนาประจำปีของเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาฯ หัวข้อ "พลังงานไทย...เพื่อคนไทย...หรือเพื่อใคร?" (เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.) ว่า เมืองไทยต้องขอรัฐสัมปทานน้ำมันไม่ใช่การประมูล แล้วแผนที่การให้สัมปทานน้ำมันถ้าได้เห็นจะมีกระจายทั่วไป ทั้งกำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ฯลฯ ขณะที่คนในพื้นที่ไม่เคยรู้ว่าที่นั่นมีการให้สัมปทาน และที่สำคัญภาครัฐมักจะบอกว่าที่นั่นไม่มีแหล่งน้ำมันแต่ขอขุด จึงเกิดคำถามว่าหากไม่มีน้ำมันทำไมจึงเดินหน้าขุดเจาะกัน
ทั้งนี้ ปริมาณผลิตปิโตรเลียมปี 55 ของประเทศไทย จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานระบุว่า เดือน ม.ค. มีปริมาณ 846,425 บาร์เรล/วัน ขณะที่แหล่งเจดีเอ ไทย-มาเลเซีย มีประมาณ 140,000 บาร์เรล/วัน และคอนเดนเสต หรือจำนวนที่่กลั่นเป็นน้ำมันได้ มีทั้งเบนซินและดีเซล ทว่าทางกระทรวงเอาตัวนี้ออกจากสมการทุกสมการ แล้วบอกว่าใช้แล้ว ท้งนี้ ที่อยากรู้คือ มีหรือไม่มี ไม่ใช่นำไปใช้ก่อนแล้วบอกว่าไม่มี
"วันนี้ไทยผลิตก๊าซแซงโอเปก 8 ประเทศ และอยู่ในอันดับที่ 24 ของโลกจริง ขณะที่ส่วนแบ่งจากสัมปทานกลับได้น้อยมากเพียงครึ่งเดียว ของประเทศอื่น เทียบจากพม่าได้ 80-90% โบลิเวีย ได้ส่วนแบ่ง 82% คาซัคสถาน ได้ส่วนแบ่ง 80% ถามว่าทำไมเมืองไทยจึงได้ส่วนแบ่งน้อย คำตอบไม่ใช่เพราะค่าใช้จ่ายจากการขุดเจาะแพง แต่เป็นเพราะประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ไม่เอาส่วนแบ่งกำไร หรือส่วนแบ่งผลผลิตเลย และปัญหาอีกอย่างคือ พ.ร.บ. ปี 2532 ที่ทำขึ้นสมัยน้ำมันดิบ 18 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ปัจจุบันน้ำมันดิบปรับขึ้นกว่า 100 เหรียญ/บาร์เรล ราคาแตกต่างกัน ทว่าเรายังใช้ พ.ร.บ.ฉบับเดิมไม่มีการแก้ไข พ.ร.บ.ให้สอดคล้องกัน ส่งผลให้ บ.น้ำมันได้ Windfall Profit ทั้งที่เงินเหล่านี้ควรจะกลับมาเป็นการศึกษา, รักษาพยาบาลที่ดีให้กับประชาชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรอย่างแท้จริง"
"ภาครัฐต้องระบุให้ชัดเจนว่าปริมาณพลังงานที่คนไทยใช้นั้นเท่าไหร่ ไม่ใช่เหมารวมเพื่อที่จะนำเข้ามาแล้วส่งออกแล้วนับเป็นว่าคนไทยใช้ไม่ได้ ซึ่งการให้ข้อมูลแบบนี้ถืเป็นการเบี่ยงเบนความจริง ซึ่งสิ่งที่ภาครัฐไม่ได้บอกว่าทำไมต้องนำเข้าน้ำมันดิบ 8 แสนบาร์เรล/วัน เพราะ 1.ทดแทนการส่งออกน้ำมันดิบ 41,000 บาร์เรล/วัน 2.กลั่นแล้วส่งออกต่างประเทศ 259,000 บาร์เรล/วัน และ 3. ทดแทนที่ปิโตรเคมี นำคอนเดนเสท ก๊าซโซลีนธรรมชาติ (กลั่นเป็นเบนซิน+ดีเซลได้) และแอลพีจี นำไปเป็นวัตถุดิบทำพลาสติก+เคมีภัณฑ์ 185,000 บาร์เรล/วัน สรุป ว่าการนำเข้าส่วนใหญ่นำมาใช้เพื่อกลุ่มพลังงานนั่นเอง"
"วันนี้ถึงเวลาต้องมีการเปลี่ยนแปลงคนไทยคือเจ้าของบ่อน้ำมันกันทุกคนผมไม่ต่อต้านบริษัทพลังงานไม่ให้มีกำไร แต่อยากให้บริษัทพลังงานมีกำไรตามสมควร และประชาชนได้ส่วนแบ่งที่เป็นธรรมมากกว่านี้ไม่ใช่บริษัทพลังงานได้กำไรเป็นแสนๆ ล้าน ขณะที่คนไทยยังมีความเป็นอยู่ยากจนอยู่เหมือนเดิม" ม.ล.กรกสิวัฒน์ กล่าว
ขณะที่ นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า เหตุที่ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นที่ไทยต้องอิงราคาสิงคโปร์เพราะตลาดซื้อขายที่สิงคโปร์เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และอยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด สำหรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยนั้นไทยผลิตก๊าซธรรมชาติได้เป็นอันดับที่ 24 ของโลก คิดเป็นปริมาณเท่ากับ 1.1% ของการผลิตก๊าซทั้งโลก ในขณะที่ที่สหรัฐฯ ผลิตได้ 19.3% และรัสเซียผลิตได้ 18.4% แต่เราใช้ก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก และเป็นผู้นำเข้าก๊าซฯเป็นอันดับที่ 21 ของโลก ส่วนโครงสร้างราคาน้ำมันจะเห็นว่าภาษีที่จัดเก็บมีซ้ำซ้อนทั้งภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม กองทุนน้ำมัน กองทุนอนุรักษ์พลังงาน สิ่งเหล่านี้คือต้นทุนราคาน้ำมันบ้านเรา แต่สาเหตุที่ราคาน้ำมันแพง มาจากคุณภาพของน้ำมันที่ใช้ในไทยเป็นน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 คือมี คุณภาพดี
"ส่วนการผูกขาดของบริษัทพลังงาน โดยเแพาะการผูกขาดเรื่องท่อส่งก๊าซธรรมชาติ แต่การผูกขาดนี้มีมาตั้งแต่สมัยที่บริษัทยังเป็นรัฐวิสาหกิิจ แต่หลังจากแปรรูปเป็นบริษัทเอกชนแล้ว ก็มีความพยายามที่จะผูกขาดโดยเแพาะเรื่องการนำเข้า แต่ในเรื่องของธุรกิจดรงกลั่นน้ำมัน ยังมีความเข้าใจว่าบริษัทพลังงานไปผูกขาดไว้เองถึง 5-6 แห่ง ทั้งนี้อาจเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน โดยดูได้ว่าบริษัทพลังงานมีอำนาจในการบริหารอยู่กี่แห่ง ก็จะพบว่าบริษัทพลังงานมีอำนาจในการบริหารเพียง 3 แห่งเท่านั้น"
ด้าน ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผอ.การวิจัย ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ ฝ่ายการวิจัยแผนงานเศรษฐกิจรายสาขา มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า นโยบายพลังงานของประเทศไทยมุ่งรักษาผลประโยชน์ของบริษัทพลังงานมากกว่าของประชาชน และของประเทศ ทำให้เกิดการผูกขาดธุรกิจพลังงานรายใหญ่ อีกทั้งหน่วยงานกำกับดูแลก็ไม่มีความเป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง จึงตอบสนองโยบายรัฐมากกว่าการรักษาผลประโยชน์ของประชาชน นอกจากนี้บริษัทพลังงานใหญ่เกินไปที่ใครจะแตะต้องได้ (รายได้ของบริษัทพลังงาน รวมทั้งในเครือเท่ากับร้อยละ 45.6 ของรายได้บริษัทจดทะเบียนทั้งหมด) ซึ่งทั้งหมดนี้พลังประชาชนเท่านั้นที่จะสามารถยับยั้งการครอบงำเศรษฐกิจของเครือข่ายยักษ์ใหญ่ทางพลังงานนี้ได้
โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
9 มิถุนายน 2556, 14:36 น.
วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556
จับตาความไม่โปร่งใสใน ปตท.
ไม่มีคนไทยคนใดไม่รู้จักบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ เพราะเป็นกลุ่มบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของประเทศ เป็นตัวแทนและเป็นหน้าเป็นตาของรัฐบาล ที่สำคัญเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดราคาพลังงานของประเทศ คนไทยจะใช้น้ำมันถูกหรือแพง ส่วนหนึ่งก็มาจากการตัดสินใจของปตท.
แต่วันนี้มีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นกับ ปตท.และบริษัทในเครือ ที่คนไทยไม่มีโอกาสได้รู้ได้เห็น นั่นคือเรื่องที่การเมืองเข้ามาแทรกแซงการบริหารจัดการ เข้ามาทำตัวเป็นเหลือบในองค์กร ไม่ต่างอะไรกับสนิมร้ายที่กัดกินเนื้อเหล็กให้รอวันผุพัง
ที่ผ่านมาพนักงานของ ปตท.และในเครือกว่า 10,000 คน ไม่เคยตื่นตัว ไม่เคยสนใจ เพราะมัวแต่ก้มหน้าก้มตาทำงาน
แต่วันนี้พวกเขาเหล่านั้นเริ่มตื่นตัว ลุกขึ้นมาก่อตั้งชมรมต่อต้านการทุจริตคอรัปชันในองค์กรของตัวเอง เนื่องจากเห็นว่าถ้ายังปล่อยให้การเมืองเข้ามาแทรกแซง เข้ามาทำทุจริตโกงกินกันอีกต่อไปสักวัน ปตท.คงหนีไม่พ้นต้องล้มละลายเหมือนกับ “เอนรอน” บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ที่เคยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก มูลค่าทรัพย์สินเกือบ 65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ต้องมาล้มละลายเพราะผู้บริหารองค์กรทุจริตขาดบรรษัทภิบาล
เป็นที่รู้กันใน ปตท.และบริษัทในเครือว่า หลายปีที่ผ่านมา กระบวนการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างอ่อนแอมาก เป็นผลพวงมาจากคนในองค์กรที่ยอมอ่อนข้อให้กับการเมือง และยอมทำตามคำบัญชาของนักการเมืองโดยไม่กล้าทักท้วง จนในที่สุดพนักงาน ปตท.และในเครือทนเห็นความไม่ชอบมา พากลไม่ได้ ต้องลุกขึ้นมาปกป้องสมบัติของชาติ
ไม่น่าเชื่อว่าพลังเงียบใน ปตท.และเครือข่าย จะสามารถแสดงพลังต่อต้านคอรัปชันได้ไม่น้อย จนทำให้ผู้บริหารองค์กรบางคนที่คิดทุจริตต้องหยุดพฤติกรรมเลวๆ
ดูได้จากโครงการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ควบคุมและป้องกันการกลั่น ของไทยออยล์มูลค่า 1,600 ล้านบาท ถือเป็นโครงการแรกๆที่พนักงาน ปตท.และบริษัทในเครือออกมาปลุกกระแสการต่อต้านการทุจริต จนทำให้หลายฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบโครงการอย่างละเอียด ซึ่งล่าสุดประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจไทยออยล์ได้ยื่นหนังสือขอให้บอร์ดไทยออยล์ทบทวนการประมูลงานโครงการนี้อีกครั้ง
แต่การตื่นตัวของพนักงาน ปตท.และบริษัทในเครือ นอกจากจะทำให้สังคมเริ่มจับตาความโปร่งใสในองค์กรพลังงานของประเทศแล้ว ยังทำให้ผู้บริหารองค์กรบางคนมองว่า หากปล่อยให้พลังเงียบใน ปตท.และเครือข่ายเข้มแข็งมากขึ้นกว่านี้ ก็จะกลายเป็นหอกข้างแคร่เป็นอุปสรรคในการทำทุจริต
ทำให้เมื่อเร็วๆนี้มีการโยกย้ายฟ้าผ่าใน ปตท.และบริษัทในเครือ โดยเริ่มจาก นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ถูกย้ายไปเป็นประธาน เจ้าหน้าที่บริหารไทยออยล์ แทน นายสุรงค์ บูลกุล ที่ถูกย้ายไปเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน หรือซีเอฟโอ ปตท. และย้าย นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ หรือซีอีโอ ปตท.สผ. เข้าไปนั่งแทน นายวีรศักดิ์ พร้อมโยกนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ซีเอฟโอ ปตท. มาเป็นซีอีโอ ปตท.สผ.
ไม่มีใครบอกได้ว่าเบื้องหลังลึกๆในการโยกย้ายครั้งนี้ จะมีเป้าหมายเพื่อจัดระเบียบ ขจัดอุปสรรคและปัญหาขัดแย้งภายในองค์กร หรือมีเป้าหมายอื่นที่แอบแฝง
แต่สำหรับพนักงาน ปตท.และเครือข่ายต่อต้านการทุจริต รู้ดีว่านี่เป็นการตัดไฟเสียแต่ต้นลม เพื่อหยุดพลังเงียบใน ปตท. และเครือข่ายไม่ให้เข้มแข็งมากไปกว่านี้.
“ลมสลาตัน”
ไทยรัฐออนไลน์
โดย ลมสลาตัน
3 เมษายน 2555, 05:00 น.
วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556
'ปตท.' งุบงิบร่วมทุน 'Mercuria' แบกหนี้อื้อสูญเงิน 300 ล้านเหรียญ (9 พันล้านบาท)
สื่อยักษ์ผู้ดีตีข่าว"ปตท."เสียท่า หลังงุบงิบ เข้าไปร่วมทุนกิจการ "Mercuria" จากสวิตฯ บริษัทเทรดดิ้งน้ำมัน ที่กำลังระส่ำ ควานหาพันธมิตรแบบ "จับเสือมือเปล่า" ทำให้ต้องสูญเงินกว่า 300 ล้านเหรียญ
แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน เผยว่า ขณะนี้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์กันมากในกลุ่มธุรกิจพลังงาน เนื่องจาก ปตท.บริษัทรัฐวิสาหกิจ ที่ดูแลเรื่องพลังงานของไทย ภายใต้การดูแลของนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน มีนโยบายเข้าไปซื้อหุ้นของบริษัท Mercuria ของสวิตเซอร์แลนด์ ที่ดำเนินธุรกิจเทรดดิ้งน้ำมัน จำนวน 10-20% มูลค่าประมาณ 300-600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปตท.ได้ตั้งกรรมการเฉพาะกิจเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการนี้ โดยมีนายสรากร กุลธรรม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นประธานเพื่อเข้าไปซื้อหุ้นอย่างเร่งด่วน จนหลายหน่วยงานใน ปตท. ไม่เห็นด้วย และไม่พอใจกับนโยบายดังกล่าว โดยล่าสุดสื่อยักษ์ใหญ่จากประเทศอังกฤษ คือ นสพ.Energy Intelligence Finance (EIF)ได้ตีข่าวว่า Mercuria กำลังแสวงหาอะไรจากข้อตกลงนี้ เพราะ Mercuria ก่อตั้งขึ้นในปี 2547 เป็นบริษัทค้าพลังงานชั้นนำของโลก มีเงินทุนหมุนเวียนอยู่ที่ 98,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปีที่ผ่านมา
แต่ ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา Mercuria กำลังหาทางเอาตัวรอดจากภาวะผลกำไรหดหาย รวมทั้งใช้วิธีการจับเสือมือเปล่า กระโดดเข้าไปเป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่เอื้อต่อการขยายการค้า เช่น การเป็นเจ้าของคลังน้ำมัน ทำให้บริษัทจำเป็นต้องหาพันธมิตรที่จะเข้ามาร่วมรับภาระทางการเงิน ในปี 2555 ได้ยื่นข้อเสนอร่วมทุนกับ Sinopec รัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ของจีน เพื่อเป็นเจ้าของร่วมในท่าเทียบเรือของคลังน้ำมัน Vesta จำนวน 3 แห่งในประเทศเอสโตเนีย เบลเยียม และฮอลแลนด์ ขณะเดียวกันมุ่งหาพันธมิตรทางกลยุทธ์ในระดับองค์กร ตะวันออกกลางและจีน แต่การค้างชำระค่าน้ำมันที่ขายให้กับบริษัทน้ำมันแห่งชาติไนจีเรีย (NNPC) ปีที่ผ่านมามูลค่ารวมประมาณ 3,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จึงก่อให้เกิดปัญหาหนี้สินก้อนใหญ่
"ดังนั้นการขายหุ้นบางส่วนให้ ปตท.ประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อสัดส่วนการถือหุ้น 10% จะไม่เป็นผลดีต่อบริษัท เป็นที่รับรู้กับว่า Mercuria มีความเกี่ยวข้องที่ซับซ้อนกับการจัดหา Feedstock ของ ปตท. มาก่อนหน้านี้ ปตท.ถือหุ้นในโรงกลั่นน้ำมัน 5 โรงที่มีกำลังการกลั่นรวมกว่า 9 แสนบาร์เรลต่อวัน ปตท. รับผิดชอบในการจัดหาน้ำมันดิบนำเข้าราว 6-7 เที่ยวเรือต่อเดือน หรือประมาณ 1.8-2.1 แสนบาร์เรลต่อวัน โดยประมาณ 4 เที่ยวเรือ จัดหาจาก Mercuria นอกจากนี้
แหล่ง ข่าวยังได้ระบุด้วยว่า มีข้อถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ภายใน ปตท.ถึงการจัดหาน้ำมันดิบจากบริษัทดังกล่าว จนเป็นเหตุให้เกิดการโยกย้ายผู้บริหารระดับผู้ช่วยของหน่วยธุรกิจการค้า ระหว่างประเทศ ซึ่งความไม่พอใจ และต่อต้านการทำธุรกิจกับ Mercuria ยิ่งปะทุเพิ่มขึ้น เมื่อมีการรับรู้ถึงความเชื่อมโยงของบริษัทค้าพลังงานดังกล่าวกับนายพงษ์ ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ผู้ที่ต้องการเห็นการบรรลุข้อตกลงในการซื้อหุ้นของปตท. ก่อนจะมีการโยกย้ายตำแหน่งในช่วงปลายปีนี้ โดยการจัดซื้อครั้งนี้นายดำรงค์ ปิ่นภูวดล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศคนใหม่และนายบวร วงศ์สินอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) ถือเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่ที่สนับสนุนการซื้อหุ้นครั้งนี้
"คนใน ปตท. ระบุตรงกัน การซื้อหุ้น Mercuria ไม่มีผลดีต่อทั้งประเทศไทย และตัว ปตท. เอง เนื่องจาก ปตท. ไม่ควรจะเข้าไปร่วมแบกรับภาระหนี้ในไนจีเรีย รวมถึงความน่าจะเป็นที่ Mercuria จะเข้ามาแทรกแซง และขยายมีอิทธิพลต่อไม่เพียงแต่การจัดหาน้ำมันดิบน้ำเข้าให้กับโรงกลั่นเท่า นั้น แต่น่าจะขยายไปสู่การทำการตลาดน้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกจากประเทศไทย ซึ่งมีปริมาณอยู่ที่ประมาณ 2 แสนบาร์เรลต่อวันด้วย" แหล่งข่าวกล่าว
ทั้ง นี้ ผู้สื่อข่าวได้พยายามติดต่อ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว จากนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แต่ยังไม่สามารถติดต่อได้ ซึ่งจะได้นำเสนอความคืบหน้าต่อไป.
ไทยรัฐออนไลน์
- โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
- 1 มิถุนายน 2556, 10:10 น.
วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ค่าโฆษณาของ ปตท.ปี 2555 มหาศาล จ่ายให้ใครบ้าง !!!
โฆษณาของ ปตท.ปี 2555 เฉียด 1,000 ล้าน บริษัทเล็ก ใหญ่กลุ่มอมตะ มวยไทยไฟต์ ทีวีบูรพา ช่อง 3 5 7 9 วอยซ์ทีวี ไร่ส้ม รับอื้อ สูงกว่าปี 2554 กว่า 300 ล้าน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ใช้งบประมาณในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมองค์กรและกิจการที่เกี่ยวข้องเกือบ 1,000 ล้านบาท ในรอบปีงบประมาณ 2555
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554 –กรกฎาคม 2555 บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) ได้ทำสัญญาว่าจ้างเอกชนในการประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์องค์กรผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทต่างๆและผ่านการจัดการแข่งขันกีฬา อาทิ กอ์ลฟ เทนนิส และมวย รวมเป็นเงิน 957 ล้านบาท
บริษัทที่ได้รับว่าจ้างมากที่สุด ได้แก่
บริษัท ทีบีดับบลิวเอ(ประเทศไทย) จำกัด 3 ครั้ง 270 ล้านบาท แบ่งเป็นจ้างวันที่ 31 ม.ค. 2555 จำนวน 190 ล้านบาท และวันที่ 30 มี.ค.จำนวน 2 ครั้ง 80 ล้านบาท
รองลงมา บริษัท สปา-ฮาคูโฮโด 2 ครั้ง 70 ล้านบาท ได้แก่ โฆษณาประชาสัมพันธ์สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์หล่อลื่นปตท. และผลิตภัณฑ์ ก๊าซหุงต้ม ประจำปี 2555
บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (ช่อง 3) 2 ครั้ง 67.2 ล้านบาท เฉพาะโฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในการจัดการแข่งขันเทนนิสเอทีพี รายการ “พีทีที ไทยแลนด์ โอเพ่น 2011” 60 ล้านบาท
บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด 2 ครั้ง 20,592,000 บาท (กลุ่มบริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด ร่วมหุ้นกับนายสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ ) และ บริษัท บ้านบันดาลใจ จำกัดของนายสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ 1 ครั้ง ผ่านรายการ"2012 เวลาเพื่อโลก" 12,600,000 บาท
บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ หรือ ทีวีสีช่อง 7 จำนวน 20 ล้านบาท ผ่านการจัดแข่งขันกอล์ฟ Honda LPGA Thailand 2012
อื่นๆ ที่น่าสนใจ อาทิ
บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด 1 ครั้ง จำนวน 6 ล้านบาท บมจ. มติชน 10 ล้านบาท บริษัท ไร่ส้ม จำกัด 1 ครั้ง 16,560,000 บาท บริษัท 3เอ.มาร์เก็ตติ้ง จำกัด 2 ครั้ง (ทีวีช่อง 5) 10,800,000 บาท
บริษัท มินต์ เน็ตเวิร์ก จำกัด (นายภาคภูมิ อินทร์พยุงถือหุ้นใหญ่) 2 ครั้ง โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ทางโทรทัศน์ในรายการ"รวมพลังรักษ์สิ่งแวดล้อมไทยกับ ปตท" ทางโทรทัศน์โลกสีขาวหัวใจสีเขียว รวม 16,160,000 บาท
บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น 1 ครั้ง 10 ล้านบาท
บริษัท ไทยเดย์ด็อท คอม จำกัด ผ่านสื่อโทรทัศน์ในเครือผู้จัดการ 1 ครั้ง 10 ล้านบาท
บริษัท เมเจอร์ ซีนีแอด จำกัด โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท ในการจัดกิจกรรม “PTT World Bowling Tour 2011” 10 ล้านบาท
บริษัท อมตะ สปริงดี เวลลอปเม้นท์ จำกัด โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. ในการสนับสนุนแข่งขันกอล์ฟ “Thailand Golf Championship 2011” วงเงิน 15,900,000 บาท
บริษัท สปอร์ต อาร์ต จำกัด (นายนพพร วาทิน นายชฎิล มาลีนนท์ ร่วมถือหุ้น)โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในการจัดการแข่งขันมวยไทย “THAI FIGHT” 30 ล้านบาท
บริษัท ยูนิเวอร์แซลสปอร์ต แมเนจเมนท์ จำกัด (นายพงษ์พัฒน์ รุ่งวานนท์ชัย ถือหุ้นใหญ่ นายอุทัย อุดมเดชวัฒน์ เป็นกรรมการ)โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในการจัดการแข่งขัน “ไทยแลนด์ฟุตซอลลีก 2011” 6 ล้าน บาท (ดูตารางประกอบ)
ทั้งนี้ไม่รวม จ้างทำงานโฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการบัตรเครดิตพลังงาน NGV 33,801,350.00 บาท
จ้างจัดงาน THAILAND NIGHT ระหว่างการประชุมประจำปีของ WORLD ECONOMIC FORUM ปี 2555 จำนวน 29,100,000.00 บาท
จัดงานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ประจำปี 2554 จ.ระยอง 6 ล้านบาท
ดำเนินการออกแบบ จัดสร้างตกแต่งบริหารร้านนิทรรศการกลุ่ม ปตท.และสื่อแสดงต่าง ๆ ในงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯราชพฤกษ์ 9,999,500 บาท
ที่ปรึกษาพัฒนาชุมชนโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง 7,631,580 บาท
หากรวมเม็ดเงินส่วนนี้ด้วย รวมประมาณ 1,044 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้ในปีงบประมาณ 2554 (ตัวเลขทั้งปี) ปตท. ใช้เม็ดเงินในการประชาสัมพันธ์ 44 รายการรวม 651,119,969 บาท ในจำนวนนี้ใช้ผ่าน บมจ.อสมท.มากสุด 107 ล้านบาท รองลงมากลุ่มบีอีซี-เทโรและบริษัท ไร่ส้ม จำกัดประมาณ 45.5 ล้านบาท บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (ช่อง 7) จำนวน 20 ล้านบาท
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)