ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

จากราคาน้ำมันดิบ สู่ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม


จากราคาน้ำมันดิบ สู่ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม

อาจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม

คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



ในบทที่แล้ว ผมได้อธิบายให้คุณผู้อ่านได้ทราบแล้วว่าราคาน้ำมันดิบที่ซื้อขายกันในตลาดโลกที่สำคัญๆ นั้นมีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวขึ้นลงได้เพราะสาเหตุใดบ้าง แต่การที่เรารู้คร่าวๆ ว่าราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับประมาณ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เท่านี้คงไม่พอ เพราะที่เราอยากรู้จริงๆ จากข้อมูลที่มีการรายงานในข่าว ในหน้าหนังสือพิมพ์ที่เราอ่านกันทุกวันคือ แล้วราคาน้ำมันเบนซิน ราคาน้ำมันดีเซลมันราคาอยู่ที่เท่าไรล่ะ แล้วถ้าราคาน้ำมันดิบมันเปลี่ยนไป สมมติราคาน้ำมันดิบมันปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แล้วราคาน้ำมันที่เราใช้เติมรถยนต์มันจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากน้อยซักแค่ไหนกัน
คู่มือการอ่านหนังสือพิมพ์ธุรกิจ ตอนที่ 8

จากราคาน้ำมันดิบ สู่ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม

ในบทที่แล้ว ผมได้อธิบายให้คุณผู้อ่านได้ทราบแล้วว่าราคาน้ำมันดิบที่ซื้อขายกันในตลาดโลกที่สำคัญๆ นั้นมีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวขึ้นลงได้เพราะสาเหตุใดบ้าง แต่การที่เรารู้คร่าวๆ ว่าราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับประมาณ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เท่านี้คงไม่พอ เพราะที่เราอยากรู้จริงๆ จากข้อมูลที่มีการรายงานในข่าว ในหน้าหนังสือพิมพ์ที่เราอ่านกันทุกวันคือ แล้วราคาน้ำมันเบนซิน ราคาน้ำมันดีเซลมันราคาอยู่ที่เท่าไรล่ะ แล้วถ้าราคาน้ำมันดิบมันเปลี่ยนไป สมมติราคาน้ำมันดิบมันปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แล้วราคาน้ำมันที่เราใช้เติมรถยนต์มันจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากน้อยซักแค่ไหนกัน

จากคำถามที่ผมถามค้างไว้ในบทที่แล้วนั่นคือ น้ำมันดิบ 1บาร์เรล มันมากน้อยขนาดไหนล่ะ ผมเคยทดลองถามนิสิตหลายๆ คนที่ผมสอนอยู่ ก็ได้รับคำตอบที่น่าสนจากครับ นิสิตบางคนบอกว่า 1บาร์เรลมีปริมาตรเท่ากับ 1 ลิตร (อันนี้น่าจะผิดนะครับ น้ำมันเบนซินที่เราใช้เติมรถยนต์ยังแค่ราวๆ 40 บาท/ลิตร ถ้าน้ำมันดิบ1 บาร์เรลเท่ากับ1 ลิตร แล้วบาร์เรลนึงราคาตั้ง 70 ดอลลาร์เราคงต้องใช้น้ำมันแพงกว่านี้อีกหลายๆ เท่าครับ) บางคนบอกว่าปริมาตรเท่ากับปริมาณน้ำมันดิบที่เรือบรรทุกน้ำมัน 1 ลำสามารถขนได้ (อันนี้ก็ผิดแน่นอนครับ ราคาแค่70 ดอลลาร์/บาร์เรลจะได้น้ำมันดิบเท่าเรือบรรทุกน้ำมัน แบบนั้นเราคงไม่บ่นว่าน้ำมันแพงแน่นอน) ในขณะที่บางคนก็บอกว่าเท่ากับถังน้ำมันใหญ่ๆ ที่เป็นเหล็กที่เราเห็นกันในหนัง นั่นก็เป็นคำตอบที่ถูกครับ แต่พอถามต่อว่าแล้วไอ้ถึงแบบนั้นมันบรรจุน้ำมันเท่ากับกี่ลิตร บางคนบอกว่า ถังนั้นบรรจุ 250 ลิตร (หลายๆ คนชอบเรียกถัง 250 ลิตร) บางคนบอกว่า 100 ลิตร บางคนบอกแค่ 10 ลิตร

แต่จริงๆ แล้วน้ำมันดิบ 1 บาร์เรลมีความจุเท่ากับ 158.9873 ลิตร หรือ เท่ากับ 42 US Gallons หรือเท่ากับ  34.9723Imperial Gallons (UK) ครับ นั่นก็หมายความ ณ ปัจจุบัน (วันที่20 สิงหาคม 2552) น้ำมันดิบ Light Sweet Crude Oil จากแหล่งBrent ทะเลเหนือซื้อขายที่ราคา 72.21 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกลับมาเป็นน้ำมันดิบ 1 ลิตรก็จะมีราคาเพียงแค่ 0.4541ดอลลาร์/ลิตร หรือเท่ากับประมาณ 15 บาท/ลิตรเท่านั้นเองครับ แล้วทำไมราคาน้ำมันเบนซินที่เราใช้เติมรถยนต์มันอยู่ที่ประมาณ 40 บาท/ลิตรล่ะ คำตอบก็คือ เราคงไม่สามารถเอาน้ำมันดิบมาเติมรถยนต์ได้ครับ สิ่งที่เราใช้เติมรถยนต์คือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยมประเภทหนึ่งที่เราได้จากน้ำมันดิบครับ เราเรียกมันว่า น้ำมันเบนซิน ออคเทน 95

อย่างที่ผมได้เคยเล่าให้ฟังในบทที่ผ่านๆ มาว่าน้ำมันดิบเป็นสารประกอบหลายๆ ชนิดที่เราขุดขึ้นมาได้จากพื้นดินและใต้ทะเล ดังนั้นเราต้องทราบก่อนว่าเมื่อเราขุดน้ำมันดิบขึ้นมาแล้วเราต้องเอาไปทำอะไรบ้าง เราต้องเอาไปกลั่นครับ เมื่อเข้าหอกลั่น (ปล่องสูงๆ เวลาเรามองเห็นโรงกลั่นน้ำมันนั่นแหล่ะครับ) เราก็จะกลั่นน้ำมันดิบแล้วก็ได้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยมออกมาหลายๆ ชนิดครับ
ที่มา: www.howstuffworks.com
จริงๆ แล้วการกลั่นน้ำมันเป็นเทคโนโลยีที่มนุษย์เราทำกันมานานแสนนานแล้วครับ เพราะมันคือการเอาน้ำมันดิบที่ได้มาต้มครับ เมื่อต้มแล้ว สารประกอบตัวไหนที่อยู่ในน้ำมันดิบที่มีจุดเดือดต่ำ ก็จะเดือดกลายเป็นไอขึ้นมาก่อนครับ โดยของชนิดแรกที่จะระเหนขึ้นมาก่อนเพื่อก็คือ ก๊าซธรรมชาติครับ แน่นอนชุดแรกคือก๊าซธรรมชาตินี้ก็จะลอยขึ้นไปถึงส่วนบนสูงสุดของหอกลั่นแล้วครับ เราก็เอามาเก็บไว้แล้วเอาไปขายต่อไปเป็นก๊าซ LPG (Liquefied Petroleum Gas) ครับ

หลังจากนั้นถ้าเราต้มต่อไปเรื่อยๆ สิ่งที่ระเหยต่อลงมาเป็นชุดที่ 2นั่นก็คือน้ำมันเบนซินที่ตอนนี้ระเหยเป็นไอครับ และเนื่องจากมันมีความหนาแน่น (มีความหนัก) มากกว่าก๊าซธรรมชาติดังนั้นมันก็จะระเหยขึ้นไปไม่สูงเท่ากับก๊าซธรรมชาติ เราก็จะเอาถาดไปรองไว้ที่หอกลั่นชั้นที่สูงรองลงมาครับ เมื่อไอพวกนี้กระทบความเย็นมันก็จะเกิดการควบแน่น(Condense) แปรสภาพกลับเป็นของเหลว ซึ่งของเหลวที่ได้นี้คือน้ำมันเบนซิน (Gasoline หรือ Petrol) ครับ แน่นอนครับวิทยาการที่ก้าวหน้ามากขึ้นก็ทำให้เราควบคุมการเดือด การระเหย และการควบแน่นได้ดีขึ้น และได้น้ำมันเบนซินที่บริสุทธิ์ขึ้นครับ

ถ้าเราต้มน้ำมันดิบต่อๆ ไปอีก ไอระเหยที่จะลอยขึ้นมาเป็นลำดับที่ 3 และเมื่อควบแน่นเราก็จะได้ น้ำมันเครื่องบิน (Jet Fuel) หรือน้ำมันก๊าด ส่วนชั้นที่อยู่ต่ำลงมาเป็นชั้นที่ เราก็ได้น้ำมันดีเซล(Petrodiesel) ครับ ในขณะที่ชั้นรองๆ ลงมาเราก็จะได้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยมที่มีจุดเดือนสูงขึ้นๆ หรือมีความหนาแน่น (ความข้น ความหนัก) เพื่อมากขึ้นๆ ครับ โดยเราจะได้ น้ำมันหล่อลื่น ไขพาราฟีน น้ำมันเตาในชั้นล่างๆ ลงมาครับ ส่วนกากของน้ำมันดิบที่ไม่เดือดและค้างอยู่ที่ชั้นล่างสุดของหอกลั่นก็คือ ยางมาตอยครับ (Asphalt หรือTar)

โดยเราพบว่าน้ำมันดิบ 1 บาร์เรลหรือ158.9873 ลิตรจะสามารถกลั่นได้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยมในปริมาณดังต่อไปนี้ครับ

  น้ำมันเบนซิน 46% หรือเทียบเท่ากับ 73.13416 ลิตร

  น้ำมันดีเซล 22% หรือเทียบเท่ากับ 34.97721 ลิตร

  น้ำมันเครื่องบิน 10% หรือเทียบเท่ากับ 15.89873 ลิตร

  น้ำมันเตา 5.5% หรือเทียบเท่ากับ 8.744302 ลิตร

  น้ำมันหล่อลื่นพาราฟิน, ยางมาตอย รวมกันเท่ากับ 16.5% หรือเทียบเท่ากับ 26.2329 ลิตร

จากข้อมูลนี้ทำให้เราทราบครับว่า น้ำมันดิบ 1 บาร์เรลกลั่นออกมาเป็นน้ำมันดีเซลได้น้อยกว่าน้ำมันเบนซินครับ ดังนั้น ถ้าราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 1 ดอลลาร์ และเราสมมติอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 34.080 บาท/ดอลลาร์ และเนื่องจากในน้ำมันดิบ 1 บาร์เรล = 158.9873 ลิตร เราสามารถกลั่นเป็นน้ำมันเบนซินได้ 73.134 ลิตร เป็นน้ำมันดีเซล 33.877 ลิตร และก็จะทำให้น้ำมันเบนซิน 1 ลิตรมีราคาต้นทุนเพิ่มขึ้น = 21.435 สตางค์ และน้ำมันดีเซลจะมีราคาเพิ่มขึ้น 22.132 สตางค์ โดยสูตรการคำนวณก็คือ ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยมที่เปลี่ยนไป (บาท)

= ราคาน้ำมันดิบที่เปลี่ยนไป (ดอลลาร์/บาร์เรล) x อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลลาร์) x เปอร์เซนต์ของผลผลิตที่เราสนใจ แล้วหารด้วยจำนวนลิตรของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

เพราะฉะนั้น ถ้าคราวต่อๆ ไปเราอ่านหนังสือพิมพ์หรือฟังรายงานข่าวว่าราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นเท่านั้นเท่านี้ เราก็จะสามารถคำนวณได้แล้วว่า แล้วราคาน้ำมันที่ขายปลีกที่สถานีบริการจะปรับขึ้นอย่างต่ำเท่ากับเท่าไหร่ในอีก 2-3 วันข้างหน้า ที่ต้องรอ 2 - วันเพราะส่วนใหญ่แล้วเราต้องนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันที่กลั่นแล้วจากต่างประเทศดังนั้นจึงต้องรอเวลาในการชำระเงินและส่งมอบอีกด้วย โดยราคาขายปลีกจะเพิ่มมากกว่า เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในค่าการกลั่นและค่าการตลาดที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอีกด้วย

และจากการที่เราทราบอัตราส่วนของผลผลิตปิโตรเลี่ยมที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบนี้ เราก็สามารถคำนวณคร่าวๆ ได้ด้วยว่า ราคาน้ำมันเบนซินที่เป็นราคาเนื้อน้ำมันจริงๆ จะมีราคาลิตรละกี่บาท ยกตัวอย่างเช่น น้ำมันดิบบาร์เรลละ 72.21 ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 34.080 บาท/ดอลลาร์ ดังนั้นราคาของน้ำมันเบนซินในส่วนที่เป็นเนื้อน้ำมันดิบจริงๆ จะมีราคาเท่ากับ 15.4787 บาท/ลิตรเท่านั้นครับ แล้วยังงั้นที่เราต้องเติมน้ำมันเบนซินกันลิตร 40 กว่าบาทมันมาได้อย่างไร... ขอยกยอดไว้เล่าให้ฟังในบทต่อไปครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น