ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พลังงานน้ำมันในโลก เมื่อปี 2548


พลังงานน้ำมันในโลกปัจจุบัน 

บทความโดย : เรือเอก ตระกูล พุ่มเสนาะ
ที่ปรึกษาอิสระเกี่ยวกับกิจการพาณิชย์นาวี
อาจารย์พิเศษในวิชา IT321:Shipping Technology คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี สาขาการขนส่งระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
WEBSITE: www.omccthailand.com  และ http://www.bus.tu.ac.th/usr/ek/it321/
บทความนี้ได้คัดเลือกลงใน นาวิกศาสตร์ ฉบับเดือน กันยายน 2548

บทนำ
วันนี้ หาก จะไม่กล่าวถึงเรื่องพลังงานน้ำมัน ผู้ก่อการร้าย หรือ ราคาน้ำมันที่ทะยานขึ้นจนสูงลิ่ว กับการคาดการณ์ว่าจะมี พลังงานในด้านนี้ สำรองในโลกอีกเท่าใด? หรือ จะมี พลังงานอื่นใดที่จะมาทดแทน เช่นรถยนต์ ต้นแบบที่ใช้ พาว์เวอร์เซลล์ และต้นกำเนิดมาจากไฮโดรเย็นอัดตัวแน่น ให้พลังงานความร้อนเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ตามที่เห็นในนิตยสาร Forbes นัยว่าขนาด 200 แรงม้า จะมีราคาเพียง 75,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือ ประมาณ 3 ล้านบาท หรือความน่าเป็นห่วงที่รัฐบาลผลุนพลันออกมาประกาศว่า จะเลิกสั่งเบ็นซิน 95 เข้าและให้ไปใช้แก๊สโซฮอลล์ 95 แทน และ ก็ต้องเฝ้าดูกันว่า จะเป็นไปได้ในการทำเพื่อการค้าออกมาอย่างไร? แต่ที่แน่ๆ ก็คือปัญหาของโลก และยุทธศาสตร์ของโลก ในด้านความไม่แน่นอน ที่แต่ก่อนมามักจะเห็นเด่นชัดว่า จะมาจากภัยสงครามที่มองเห็นและคาดคะเนได้ แต่ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นภัย การก่อการร้าย ทั้งในชาติแบบที่ จังหวัดภาคไต้ หรือ ภัยโจรสลัดที่ชุมยิ่งกว่ายุงหรือการก่อการร้ายข้ามชาติที่ต้องมีการรักษาความปลอดภัยแบบเคร่งเครียดในบาง ตำบลที่ และ ที่จะกล่าวต่อไป
คงเป็น ผลรายงานสรุปที่ เป็นรายงานด้านการบริหารขององค์กรพลังงาน และ ปรากฏใน เอกสารรายงานประจำวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 ของ แท็งเกอร์ เวิร์ล บุลลาติน อันเป็น แหล่งข่าวของ พาณิชย์นาวีด้านเรือบรรทุกน้ำมัน ที่น่าเชื่อถือแห่งหนึ่ง นำมาเผยแพร่ และจาก บทความนี้ ก็ยังอยากที่จะให้ รัฐบาลเกิดความคิด ในการจัดโครงการพลังงานที่ landbridge ภาคใต้ ผ่าน บ้านทับละมุ มาออกที่ปลายทางในอ่าวไทยแถว นครศรีธรรมราช โดยระบบ pipeline ซึ่งโครงการนี้ น่าจะเกิดและเป็น การแบ่งปันภาระ ในการเป็นเส้นทางสำรองหากเกิดวิกฤติการณ์ในช่องมะละกาซึ่งมีน้ำมันผ่านวันละ 11 ล้านบาเรลล์ โดยการใช้เรือ แท็งเกอร์ขนาดใหญ่ ULCC (Ultra Large Crude Carrier = ขนาด 500,000 – 600,000 ตันเดดเวท หรือ พัฒนาให้ ใหญ่กว่า เพราะไม่มีข้อจำกัด นอกจากการ ผ่าน ช่องฮอร์มุส เท่านั้น) ซึ่งจะมีผลให้ค่าระวาง ในอัตรา World Scale ลดลง จากอัตรา ของ VLCC (Very Large Crude Carrier=ขนาดไม่เกิน 300,000 ตันเดดเวท) และชดเชยกับค่าบริการผ่านท่อ ที่ อาจจะเป็นสถานที่สำรองน้ำมันแห่งใหม่ ( transit area = มี tank farms ที่เก็บสำรองไว้ให้กับผู้ใช้ในทางตะวันออกไกล) แห่งใหม่ในภูมิภาคนี้ของโลก ที่ประมาณว่าจะมีน้ำมัน ผ่านจากแหล่งกำเนิดไปยังผู้ใช้ อีกหลายศตวรรษในอนาคตและจะเพิ่มมากขึ้นตามอุปสงค์ของจีน และยิ่งกว่านั้นหากมีการลงทุนในระยะยาว ด้วยการส่งน้ำมันผ่านท่อมายังโรงกลั่นของไทยที่ระยองและศรีราชาก็น่าจะกระทำได้ เพราะระยะทางไม่ไกลมากนัก เป็นการป้องกัน การเกิดมลภาวะ ที่มิให้เรือบรรทุกน้ำมันดิบขนาดใหญ่ใช้ พื้นที่ในแถบนั้นที่น่าจะพิทักษ์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ และมีความปลอดภัยจากมลภาวะได้มากกว่า และอาจจะพัฒนาแนวความคิดในการจัดตั้งโรงกลั่นน้ำมันในภาคไต้ หรือฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อให้เกิดเป็นอุตสาหกรรมใหม่ แทนการท่องเที่ยวที่นับวันจะลดลง เพราะต้นทุนการขนส่งของน้ำมันดิบที่จัดส่งได้ทีละมากๆ มากกว่าปัจจุบันได้ดีกว่า

เส้นทางการขนส่งน้ำมันของโลก ที่เป็น คอขวด (บริเวณที่คับขัน)
การขนส่งน้ำมันในโลกทั้งหมดจำนวนประมาณ 35 ล้านบาเรลล์ ( บาเรลล์ = 157 ลิตร) ต่อวัน ใช้การขนส่ง ผ่านระบบท่อ( pipeline) และเรือบันทุกน้ำมัน (tanker) และในจำนวนที่ค่อนข้างมากจะมีเส้นทางผ่านไปยังพื้นที่ที่เป็นคอขวด( ตำบลที่คับขัน) และมีอันตราย และในพื้นที่เหล่านี้ เป็นที่ๆมี โจรสลัดและเป็นเป้าหมายของผู้ก่อการร้าย ซึ่งหากเกิดอุบัติการณ์ ใดขึ้นอาจจะทำให้การค้าของโลกเกิดการชะงักงันภายในพริบตา หรือแม้แต่จะเกิดเพียงเล็กน้อยก็อาจจะทำให้เกิด ภัยต่อเนื่องตามมา ทำให้เป็นภัยต่อเส้นทางการเดินเรือ เวลาในการเดินทาง และเวลาที่จะต้องทำการขนส่งสินค้าเพื่อให้ทันต่อเวลา

ต่อไปนี้ จะได้แสดงให้เห็นถึงจุดตำบลที่ต่างๆในโลก ที่น่าจะพิจารณาได้ว่าเป็นที่คับขัน

คลอง ปานามา และ ท่อทางส่งน้ำมัน ทรานส์ ปานามา ( Panama Canal and Trans-Panama pipeline):
ตำบลที่ : ปานามา
จำนวนน้ำมันที่ผ่าน : 0.4 ล้าน บาเรลล์ ต่อวัน
ผลต่อเนื่อง : จำนวนน้ำมันที่ผ่านในเส้นทางนี้ ค่อนข้างมีขีดจำกัดเพราะ เรือไม่สามารถแล่นสวนทางกันได้ ได้มีการวางโครงการระยะยาว เพื่อที่จะขยายคลอง โดยเฉพาะที่บริเวณ Galllard Cut ให้กว้าง 8 ไมล์ และให้เรือแล่นสวนทางกันได้ เส้นทางนี้ สินค้าส่วนมาก ใช้บริการ ขนส่งสำหรับเอเซียและ ฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ ในเมื่อสินค้าที่มีจำนวนรองลงไปคือระหว่าง ยุโรป กับ ฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯและคานาดา

คลองสุเอซ และ ท่อส่งน้ำมัน สุเมด ( Suez Canal and Sumed pipeline )
ตำบลที่ : อียิปต์ ; ต่อจาก ทะเลแดง ไปยังอ่าวสุเอซเพื่อออกไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
จำนวนน้ำมันที่ผ่าน: ตัวเลขโดยประมาณเมื่อสิ้นปี ค.ศ. 2003 คือ 3.8 ล้านบาเรลล์ และในตัวเลขนี้ เป็นจำนวน 2.5 ล้านบาเรลล์ ต่อวันที่ส่งผ่านโดยท่อส่ง สุ เมดไปทางทิศเหนือ และไปจากประเทศ ซาอุดี อะราเบีย
ตำบลที่ปลายทาง : ประเทศในยุโรป และสหรัฐฯ
ผลต่อเนื่อง : หากเส้นทางนี้ถูกปิดลง เรือต้องแล่นผ่านทางใต้สุดของทวีปอัฟริกา ทำให้เสียเวลาในการเดินทาง ซึ่งจะมีผลให้ต้องมรีการใช้เรือบันทุกน้ำมันมากขึ้น

บับ เอลแมน-ดับ ( Bab el-Mandab)
ตำบลที่ : ในพื้นที่ สามประเทศ คือ ดจิโบติ (Djibouti) / เอริเทรีย (Eritrea) / เยเมน (Yemen) ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่าง ทะเลแดง อ่าวเอเด็น และทะเลอะราเบีย
จำนวนน้ำมันที่ผ่าน: 3.2 – 3.3 ล้านบาเรลล์ ต่อวัน
ตำบลที่ปลายทาง : ยุโรป, สหรัฐฯ , เอเชีย
ผลต่อเนื่อง : หากไม่สามารถใช้ เป็นเส้นทางผ่านในการเดินเรือได้ เรือบันทุกน้ำมันที่มาจาก อ่าวเปอร์เซีย เพื่อผ่านไปยังคลองสุเอซและ ท่อส่งน้ำมัน สุเมด จะต้อง เปลี่ยนเส้นทางอ้อมลงไปทางใต้สุดของทวีปอัฟริกา ซึ่งจะทำให้มีการเพิ่มขึ้นทั้งเวลาในการเดินทางและค่าใช้จ่าย และจะต้องใช้เรือสำหรับนำมาใช้บันทุกน้ำมันมากขึ้น การรักษาความปลอดภัยยังอยู่ในความดูแลของบริษัทต่างประเทศที่ทำธุระกิจในละแวกนั้น เรือบันทุกน้ำมันชื่อ Limburg ชักธงฝรั่งเศษ ถูกทำร้าย จากผู้ก่อการร้ายเมื่อเดือน ตุลาคม ค.ศ. 2002 บริษัทน้ำมัน ของคานาดาชื่อ เนกเซน(Nexen) ซึ่งทำงานปฏิบัติการน้ำมันเพื่อส่งออก ที่ฐาน ash-Shihr ได้ตกลงเมื่อ เดือนมกราคม ค.ศ.2003 ในการให้การช่วยเหลือรัฐบาลเยเมน ในด้านการรักษาความปลอดภัย

ท่อส่งน้ำมัน / ท่าเรือ ในการส่งออกน้ำมัน และ แก๊ส ของรัสเซีย ( Russian Oil and Gas Export Pipeline/Ports
ตำบลที่ ของ ท่อส่งน้ำมัน : น้ำมัน และ แก๊ส ของรัสเซียในการส่งออก ใช้ส่งผ่านทางท่อ ผ่านไปยังประเทศเหล่านี้ : ยูเครน เบลารุส ฮังการี สโลวาเกีย สารธาณเช็ค และ โปแลนด์
ตำบลที่ ของท่าเรือในการส่งออก : โนโวโรรอสส์ ( Novorossiisk), พริโมสท์ (Primorsk), เวนท์สปิส(Ventsplls), โอเดสสา(Odessa)
ตำบลที่ปลายทาง : ยุโรปตะวันออก, เนเธอร์แลนด์, อิตาลี , เยอรมัน, ฝรั่งเศส และตำบลที่อื่นในยุโรปตะวันตก
ผลต่อเนื่อง : รัสเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบและแก๊สไปยังยุโรป น้ำมันและแก๊ส ที่ส่งออกทั้ง ทางท่าเรือและท่อทางส่งมีจำนวนใกล้เคียงกัน ทำให้ทางแก้ไขมีขีดจำกัด หากมีปัญหาเกิดขึ้น ณ ตำบลที่ส่งออกแห่งใดแห่งหนึ่ง

ช่อง บอสฟอรัส ( Bosporus Strait)
ตำบลที่ : ประเทศ ตุรกี ชองแคบยาว 28 กิโลเมตร แยก เอเซียออกจาก ยุโรป และเชื่อมทะเลดำ กับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
จำนวนน้ำมันที่ผ่าน : ประมาณ 3 ล้าน บาเรลล์ ต่อวันส่วนใหญ่เป็นน้ำมันดิบและมีน้ำมันสำเร็จรูปบ้าง สินค้าส่วนมากออกสู่ทางใต้
ตำบลประเทศปลายทาง : ประเทศในยุโรป ตะวันตก และยุโรปตอนใต้
ผลต่อเนื่อง : ช่อง ตุรกี เป็นช่องทางการเดินเรือที่ มีการจราจรหนาแน่น และยาก ต่อการเดินเรื อ ส่วนที่แคบที่สุด กว้างเพียงครึ่งไมล์เท่านั้น การส่งออกในช่องตุรกี มากขึ้นหลังจากที่ สหภาพโซเวียต เกิดการแตกแยกขึ้น และมีการเจริญเติบโต ของ ย่าน การส่งออก ของ ทะเลสาบแกสเปียน ( Caspian Sea) ซึ่งทำให้ เกินความสามารถ ในการที่ให้ความสะดวกในการเดินเรือบันทุกน้ำมันผ่านช่องนี้

ช่อง ฮอร์มุส ( Hormuz Straits)
ตำบลที่ : ระหว่าง ประเทศ โอมาน / อิหร่าน ต่อระหว่าง อ่าวเปอร์เซีย กับอ่าวโอมาน และทะเลอะราเบีย
จำนวนน้ำมันที่ผ่าน : ประมาณ 15-15.5 ล้านบาเรลล์ ต่อวัน
ตำบลที่ปลายทาง : ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ยุโรปตะวันตก
ผลต่อเนื่อง : ช่องนี้ เป็นช่อง ทางเดินเรือที่สำคัญที่สุดของโลกในการขนส่งน้ำมัน มีช่องเดินเรือ กว้าง 2 ไมล์ ที่แบ่งช่องจราจรเป็น สอง ช่อง คือ ขาเข้าและขา ออก และระยะ สองไมล์นี้ก็ถือเป็น เขต กั้นกลางระหว่างสองประเทศ(buffer zone) หากมีการจำเป็นต้องปิดช่องการเดินเรือนี้ ก็จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย หรืออาจจะต้องใช้ การวางท่อทางส่งจาก ซาอุดีอะราเบีย ไปยัง ทะเลแดง

ช่องมะละกา ( Malacca Straits)
ตำบลที่ : ประเทศ มาเลเซีย / สิงค์โปร์ เชื่อมต่อระหว่าง มหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้ กับมหาสมุทรแปซิฟิค
จำนวนน้ำมันที่ผ่าน : ประมาณ 11 ล้านบาเรลล์ ต่อวัน
ตำบลที่ปลายทาง : ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และประเทศอื่นในมหหหาสมุทรแปซิฟิค
ผลต่อเนื่อง : ช่องมะละกาเชื่อมต่อมหาสมุทรอินเดีย กับ มหาสมุทรแปซิฟิค เป็นเส้นทาง เดินเรือที่สั้นมากที่สุดในระหว่างประเทศที่มีพลเมืองหนาแน่นที่สุดในโลก คือ อินเดีย จีน และอินโดนีเซีย และถือว่าเป็นจุดอันตรายแห่งหนึ่งในเอเซีย ส่วนที่แคบที่สุด มีความกว้าง 1.5 ไมล์ ซึ่งมีโอกาสง่ายต่อการ โดนกันของเรือ เกยตื้น หรือทำให้เกิดมลภาวะน้ำมัน หากมีการปิดช่องนี้ จะทำให้กองเรือพาณิชย์เกือบกึ่งหนึ่งของโลกต้องได้รับการกระทบกระเทือน และต้องใช้เวลาในการเดินทางมากขึ้นกว่าเดิม

จุดตำบลที่ร้อนแรง : ภูมิภาคที่มีปัญหาในการค้าน้ำมันของโลก

อิรัค ( Iraq )
ได้มีการยกเลิกการแทรกแซงทางการค้าเมื่อเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 2003 แต่ผลการผลิตน้ำมันยังไม่ได้ในระดับก่อนที่จะเกิดสงคราม ซึ่งสาเหตุมาจาก ด้านความปลอดภัย ความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้าง การสูญหายของเครื่องจักรกล และการขาดแคลนด้านพลังงานไฟฟ้า ความรุนแรงในการก่อการไม่สงบยังคงมีอยู่ ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อการส่งออกน้ำมัน ตามเอกสารของ Oil and Gas Journal บ่งบอกว่า อิรัคมีน้ำมันสำรองอีกมากถึง 1.15 พันล้านบาเรลล์ และมากเป็นอันดับที่สามรองจาก ซาอุดี อะราเบีย และ คานาดา . การคาดการณ์ในเรื่องน้ำมันสำรองของอิรัคเป็นไปอย่างกว้างขวาง และทราบกันเพียงว่า ส่วนที่ทราบคือ เพียง 10%ของพื้นที่ทั้งประเทศ เท่านั้นที่ได้ทำการสำรวจได้

ทะเลแกสเปียน / คอเคซัส ( Gaspian Sea / Caucasus)
ในเมื่อ ทะเลแกสเปียน กลับกลายเป็นแหล่งส่งออกน้ำมันและแก็สขึ้นมา และ คอเคซัส จะเป็นศูนย์กลางสำคัญในการส่งผ่านออกน้ำมันและแก๊ส การส่งออกน้ำมันและแก๊ส เพื่อไปสู่ตลาดโลก เป็นเรื่องยุ่งยากสลับซับซ้อนทั้งทางด้านภูมิศาสตร์และการเมือง ในภูมิภาคที่ มีสิ่งปลูกสร้าง ที่ใช้เพื่อการส่งออก อยู่ในเขตอันตราย ไกล้กับที่อยู่อาศัยของชนสองชาติที่เป็นอริกันเช่น เชชเชนยา (Chechnya) และ จอร์ เจียร์ (Georgia) และรัฐปกครองตนเอง เช่น นากาโม-การาบัค ( Nagamo-Karabakh) ท่อส่งน้ำมันทางตอนเหนือของ อาเซอใบจัน ( Azerbaijans) ที่สามรถส่งน้ำมัน 100,000 บาเรลล์ต่อวัน ผ่านแดน เชชเชนยา เพื่อไปยังท่าเรือ โนโวโรรอสส์ ท่าเรือของรัสเซียในทะเลดำ

เวเนซูเอลา ( Venezuela)
แหล่งน้ำมันสำรองรายใหญ่ ในโลกตะวันตก ( นอกจาก คานาดา) และเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ไปยังสหรัฐฯ เวเนซูเอลา ยังอยู่ในภาวะที่ ไม่สมบูรณ์ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ยังขาดเสถียรภาพ และยากลำบากในด้านการพลังงาน แม้บริษัทน้ำมันแห่งชาติ และ กับตลาดน้ำมันโลก เวเนซูเอลาผลิตน้ำมันเพียง 2.8 ล้านบาเรลล์

อิหร่าน : ( Iran )
การแทรกแซงทั้งด้านเศรษฐกิจและการทูตมีผผลกระทบอย่างสูงในการลงทุนด้านอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส และมีความกดดันต่อเนื่อง เมื่ออิหร่านยังติดตามการแสวงหาอาวุธนิวเคลียร์และการสั่งซื้ออาวุธสงครามจากเกาหลีเหนือ รัสเซีย และแหล่งอื่นที่ยังสับสน สหรัฐฯไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่านตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 หลังจากรัฐบาลทหารอิสลามบุกสถานทูตสหรัฐฯและจับคนอเมริกัน 52 คน เป็นตัวประกัน เป็นเวลายาวนานถึง 444 วัน

ลิเบีย : ( Libya)
สัมพันธ์ ภาพทางการทูตระหว่างสหรัฐฯกับลิเบียกลับคืนสู่กันเมื่อเดือน มิถุนายน ค.ศ. 2004 หลังจากเลิกร้างไปถึง 24 ปี และมีการผ่อนปรนลงเรื่องของการแทรกแซงทางการค้า ดังนั้นจึงมีบริษัทน้ำมันหลายแห่งที่สนใจในการเข้าขยายการลงทุน ซึ่งประมาณจะมีน้ำมันสำรองที่มีคุณภาพสูง อยู่ถึง 36 ล้านบาเรลล์ เพื่อที่จะ ส่งไปยังตลาดในภาคตะวันตกของยุโรป บริษัทเหล่านั้นได้แก่ : Occidental Petroleum, ConocoPhillips, Marathon Oil, and Amerada Hess ซึ่งได้เริ่มเข้ามาเจรจากับบริษัทน้ำมันแห่งชาติของลิเบีย เพื่อเข้าทำงานกันใหม่ หลังจากที่ต้องถอนตัวออกไป ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 ในเมื่อสหรัฐฯตัดสัมพันธ์ทางการทูตและแทรกแซงทางการค้าต่อลิเบีย

ซาอุดี อะราเบีย : ( Saudi Arabia )
ขณะที่มี เจ้าหน้าที่ รักษาความปลอดภัย 5,000 คน , หน่วยรักษาความปลอดภัยของรัฐฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นกำลังทหาร และส่วนของกระทรวงเพื่อความมั่นคงภายใน ตามคำกล่าวของผู้นำบริษัทน้ำมัน อรัมโค (Aramco) ว่า “ มั่นใจในความปลอดภัยของแหล่งผลิตน้ำมันรายนี้ของโลกเท่ากับประเทศซาอุดีอะราเบีย เอง” และทำให้สามารถส่งออกน้ำมันดิบได้วันละ 10.0-10.5 ล้านบาเรลล์ ต่อวัน และน้ำมันกลั่นแล้วอีก 9.5 ล้านบาเรลล์ ต่อวัน และสิ่งนี้เองที่ทำให้ ซาอุดีอะราเบียสามารถ เสริมกำลังการผลิตหากมีการลดการผลิตจากแหล่งอื่น และสามารถรักษาระดับ ราคาน้ำมัน ไว้ณ ที่ ระดับที่กำหนดไว้ตามต้องการ

ที่มา : Energy Information Administration

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น