ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประเมินไว้โรงกลั่นไว้โรงละ 1 บาท จะกลายเป็นโรงละ 1.2 แสนบาท

“ปานเทพ” ขอบคุณทุกคนที่ดูเอเอสทีวี ผู้สนับสนุน และคนที่เคยร่วมกิจกรรมกับพันธมิตรฯ ชี้ถือว่าได้ร่วมสร้างประวัติศาสตร์มาด้วยกัน เพราะทีวีช่องนี้ได้เปลี่ยนแปลงประเทศหลายอย่าง ด้าน “ทนายสุวัตร” เผยอย่างช้าปีครึ่งตัดสินคดี ปตท. มั่นใจไม่มีทางแพ้ แต่หวั่นศาลให้เป็นโมฆะจริงแต่ไม่ให้เพิกถอนหุ้นเพราะกระทบวงกว้าง หวังนิติรัฐจะไม่ใช้หลักรัฐศาสตร์มาตัดสิน พร้อมระบุภายใน พ.ย. ลุยฟ้องอาญา ธ.ไทยพาณิชย์ และผู้ถือหุ้นที่ผิดหลักเกณฑ์
     

        คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายการ “คนเคาะข่าว”  
     
       วันที่ 17 ต.ค. เมื่อเวลา 20.30 น. นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมรายการ “คนเคาะข่าว”
     
       โดยนายปานเทพกล่าวว่า นับตั้งแต่ที่ยุติการชุมนุม 158 วัน เราได้ดำเนินการดำรงสถานภาพเป็นเอเอสทีวี ตอนนั้นรู้เลยว่าเอเอสทีวีต้องเผชิญกับอำนาจรัฐฝ่ายพรรคเพื่อไทย กลุ่มนายทุนก็ไม่มีทางที่จะมาสนับสนุนเอเอสทีวี เนื่องจากหวาดกลัวเรื่องการถูกคุมคามจากอำนาจรัฐ
     
       ช่วงชุมนุม 158 วันก็ต้องยอมรับว่าการที่วิพากษ์วิจารณ์พรรคประชาธิปัตย์ ก็ทำให้คนที่ชื่นชมพรรคประชาธิปัตย์ถอยออกไปจากการสนุบสนุนเอเอสทีวี ไม่ว่าจะเป็นยอดเอสเอ็มเอสที่ลดลง ไม่ว่าจะยอดผลิตภัณฑ์เอเอสทีวีที่ลดลง ซึ่งเราก็รับสภาพ
     
       จนกระทั่งระหว่างการชุมนุมก็ถูกโจมตีว่าได้รับเงินจาก พ.ต.ท.ทักษิณหลายพันล้านบาท ถึงขนาดปล่อยข่าวลือว่าสนับสนุนเอเอสทีวีทำไม รวยแล้ว จนกระทั่งมีคนเชื่อ แต่ไม่มีใครรู้เลยว่าเอเอสทีวีอ่อนแอลงมาก
     
       ความจริงเอเอสทีวีอยู่ไม่ได้ด้วยตัวเองมานานแล้ว รอบหลายปีที่ผ่านมา นายสนธิได้ขายทรัพย์สินของตัวเอง  ขายรถยนต์ส่วนตัว ที่ดิน หุ้นโรงแรมในต่างประเทศ เพื่อเอาเงินมาทุ่มกับเอเอสทีวี หลายครั้งก็กู้ยืมเงินจากเพื่อน จากนักธุรกิจคนอื่น ไม่มีใครรู้เลยว่าเอเอสทีวีประสบปัญหาอะไร
     
       นายปานเทพกล่าวต่อว่า เราไม่เคยรับเงินจากนายทุนใหญ่ ต่อให้พลิกขั้วเป็นประชาธิปัตย์ก็ไม่เคยได้รับเงินจากรัฐบาลประชาธิปัตย์ ไม่เคยได้รับการสนับสนุนจากนายทุน เรากำลังท้าทายสิ่งที่สำคัญมาก คือ เราอยู่ภายใต้ความเชื่อเดิมว่าทุนกับอำนาจรัฐเป็นตัวครอบงำสื่อ สื่อจะดำเนินการธุรกิจได้ต้องเลือกทุนใดทุนหนึ่ง ต้องอยู่ภายใต้อำนาจการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถึงจะอยู่ได้ แต่เราก็วิจารณ์ทุกพรรคการเมือง และเราก็เลือกที่จะยอมสูญเสียมวลชนจำนวนหนึ่ง ที่เลือกเชียร์บางพรรคการเมือง  เหลืออยู่อย่างเดียวคือประชาชนจะสนุบสนุนมากน้อยแค่ไหน
     
       มีคนถามว่าสื่อทางเลือกอื่นๆ ทำไมอยู่ได้ ตนบอกแบบชัดๆ เลย สื่อทางเลือกเกือบทั้งหมดอยู่ภายใต้อำนาจรัฐ หรืออำนาจทุน ข้างใดข้างหนึ่งทั้งสิ้น
     
       แล้วทำไมเราอยู่ไม่ได้ เอเอสทีวีนอกจากไม่อยู่ภายใต้อำนาจรัฐ อำนาจทุน เรายังต้องดำรงอยู่เป็นสถานีข่าวด้วย เพราะหากตัดบทง่ายๆ แค่เปิดดีวีดีถ่ายทอดเพื่อหาโฆษณา ไม่ต้องมีบุคลากรมากมาย แต่สถานีข่าวต้องมีกล้องในสตูดิโอ กล้องข้างนอกสถานที่ มีรถถ่ายทอดสด มีศูนย์ข่าวต่างจังหวัด
     
       “เอเอสทีวีอาจไม่ร่ำรวยในทางธุรกิจ แต่คิดว่าเราเปลี่ยนประเทศได้ในรอบหลายปีที่ผ่านมา เชื่อว่าเอเอสทีวีเป็นประวัติศาสตร์ ที่ทุกคนภาคภูมิใจได้ ถ้าใครได้ดูอยู่ ถ้าใครสนับสนุน ใครที่เคยเข้าร่วมกิจกรรม เราคือส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ร่วมสร้างขึ้นด้วยกัน” นายปานเทพกล่าว
     
       นายสุวัตรกล่าวว่า ตนเป็นเพื่อนนายสนธิ รู้นิสัยดีว่าเป็นคนมีหลักการ ค้างค่าเช่าดาวเทียม 12 ล้านบาท ตนก็บอกว่าตอนนี้กองทุนพันธมิตรฯ สู้คดี มีเงินสด 2.5 ล้าน นายสนธิไม่เอา ไม่เคยเอ่ยปากเลย และไม่เคยเอ่ยปากกับนายพิภพที่ดูแลกองทุนช่วยผู้บาดเจ็บ ไม่เคยเอ่ยปากกับ อ.สามารถ ที่ดูแลมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน
     
       ทุกคนรู้ดีในอดีตที่ผ่านมานายสนธิถูกฟ้องล้มละลาย โดย พ.ต.ท.ทักษิณฟ้องต้องการให้ล้มละลาย เป็นหนี้ 200 กว่าล้าน แล้วก็ล้มละลายไป พอ 3 ปีกลับมาโดยอัตโนมัติ หลายคนบอกว่าล้มบนฟูก แต่ตนรู้ดีว่าไม่ได้ล้มบนฟูก เงินที่ทำบริษัท ไทยเดย์ ก็ดึงเงินส่วนของหนังสือพิมพ์ ซึ่งอยู่ได้แล้วมาทำ หลายคนบอกว่าไปรับเงิน พ.ต.ท.ทักษิณ แม้ฟ้อง ปตท.แล้วก็ยังมีข่าวว่ารับมาอีก 3 พันล้าน และแบ่งตนกับ พล.ต.จำลอง ถ้ารับเงินมาจะฟ้องหรือ เพราะฉะนั้นก็ไม่เป็นความจริง
     
       นายสุวัตรกล่าวอีกว่า มีอีกหลายเรื่องที่ไม่ควรเปิดเผย เป็นความลับของลูกความ แต่ขออนุญาตพูดหน่อย นายสนธิแลกเช็ค 20 ล้านบาท เป็นหนี้ค้ำประกันในกิจการเอเอสทีวีอยู่  ถูกฟ้องที่ศาล ตอนนี้ศาลตัดสินให้แพ้แล้ว อยู่ระหว่างการอุทธรณ์ ก็ไม่มีเงินไปวางศาล เขาบังคับให้เราจ่ายเงินแต่ก็ไม่มีจ่าย ตนรู้สถานะนายสนธิดี
     
       ถ้าไม่มีเอเอสทีวีจะไล่ พ.ต.ท.ทักษิณได้หรือ ไม่มีเอเอสทีวีไล่นายสมัคร นายสมชาย ได้หรือ แล้วใครจะต่อสู้เพื่อปราสาทพระวิหาร
     
       มั่นใจไม่มีทางแพ้คดีปตท.
     
       นายปานเทพกล่าวว่า เป็นเรื่องท้าทายวันที่ ปตท.มาเจรจากับทนายสุวัตร ให้ยุติการฟ้องคดี มาพบนายจิตตนาถ ลิ้มทองกุล ให้หยุดฟ้อง ในที่สุดเขาก็มีโฆษณามา หวังว่าเราจะเกรงใจแล้วหยุด แต่เราไม่หยุด ในที่สุดคนก็ลือว่ามีโฆษณาแล้ว แสดงว่ายอมจำนนต่อ ปตท. ในที่สุดเราก็เดินหน้าไปฟ้องให้เห็น และศาลก็ประทับรับฟ้อง เป็นบทพิสูจน์ที่สื่อเล็กๆ ท้าทายทุนที่ใหญ่ที่สุด เราสู้กับทุนมหาศาล เพราะเรามีประชาชน ที่เสียสละมามากแล้ว ทั้งชีวิต ทั้งเงินบริจาค ที่เราทำคือเกียรติภูมิของสื่อ ตนคิดว่าปตท.เป็นกรณีตัวอย่างที่ชัดที่สุด ว่าเราทำเพื่ออะไร
     
       นายสุวัตรกล่าวเสริมว่า ปกติเวลาตนไปฟ้องคดีไหน สื่อจะไปทุกสื่อเลย แต่วันที่ไปฟ้อง ปตท. เขาสามารถปิดข่าวฟรีทีวีได้หมดทุกช่อง นักข่าวไปทำข่าวแต่ก็ไม่ได้ลง มีมติชนลงอยู่นิดนึง จนกระทั่งศาลรับฟ้องเมื่อ 7 ต.ค.ก็ยังไม่มีข่าว หมายความว่าเขาสามารถปิดสื่อได้ทุกฉบับจริงๆ เขาแน่มาก
     
       นายสุวัตรกล่าวอีกว่า จากนี้ไปอย่างเร็ว 1 ปี อย่างช้าปีครึ่ง คดี ปตท.จะตัดสิน บอกได้เลยว่าเป็นความภาคภูมิใจของพันธมิตรฯ ทุกคน พวกเราช่วยกันหาข้อมูล และต้องขอขอบคุณพันธมิตรที่จองหุ้น ปตท.แล้วไม่ได้ก็มาร่วมฟ้องกับเรา หากศาลตัดสินให้ชนะคดี เรียกว่าประเทศไทยท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพเลย
     
       เพราะปตท.หากินกับน้ำมันกับก๊าซธรรมชาติ ประเทศไทยส่งออกน้ำมันเป็นอันดับหนึ่ง สูงกว่าข้าวสารและยางพารา มีน้ำมันอันดับ 35 ของโลก มีแก๊สธรรมชาติที่ผลิตได้อยู่ในอันดับ 23 ของโลก แต่เก็บค่าภาคหลวงบวกภาษีบวกค่าจิปาถะได้แค่ 28.8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไนจีเรียเก็บ 70 เปอร์เซ็นต์ กัมพูชา 60 เปอร์เซ็นต์ อินโดนีเซีย 90 เปอร์เซ็นต์
     
       เมื่อผลพิพากษาออกมาผู้ฟ้องทุกคน ไม่ได้อะไรแม้แต่บาทเดียว แต่ผลประโยชน์ตกที่ประชาชนทั้งประเทศ เพราะคำขอท้ายฟ้อง ระบุว่า
     
       1.ขอให้ศาลได้โปรดมีคำพิพากษาว่าการขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 750 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิม 50 ล้านหุ้น ตกเป็นโมฆะ ให้ขายใหม่ และให้เพิกถอนบัญชีผู้ถือหุ้นที่ได้ซื้อหุ้นไปก่อนเวลา 09. 30 น. จำนวน 863 ราย ซึ่งพวกนี้ต้องถูกฟ้องคดีอาญาด้วย และที่ได้หุ้นไปมากกว่า 1 ใบจอง 428 ราย และให้เพิกถอนบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นผู้อุปการะคุณ 25 ล้านหุ้น ที่ได้ไปหุ้นละ 10 บาท และให้หุ้นตกเป็นของแผ่นดินหรือผู้ถือหุ้นเดิมก็คือกระทรวงการคลัง และให้เพิกถอนบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่เป็นนิติบุคคลต่างประทศ 320 ล้านหุ้น พวกนี้ก็คือฝรั่งหัวดำ นอมินีทั้งหลาย เชื่อว่าเป็นนักการเมืองทั้งนั้น ถ้าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ก็คือปตท.ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา
     
       นายสุวัตรกล่าวต่อว่า เตรียมฟ้องภายใน พ.ย. บอกก่อนเลยธนาคารไทยพาณิชย์ที่รับจองหุ้นก่อน 09.30 น. และรับมากกว่า 1 ใบจอง โดนก่อน ถือว่าร่วมกันฉ้อโกงประชาชน เพราะตามทีโออาร์แล้วซื้อผิดจากที่กำหนดมันต้องเด้งออก แต่นี่คนนึงได้ 10-11 ใบจอง
     
       2.ขอศาลได้โปรดมีคำพิพากษาให้หุ้นในโรงกลั่นน้ำมันจำนวน 4 โรง ที่แปรรูปไปโรงละ 1 บาท ทั้งหมดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถือ ให้ตกเป็นของแผ่นดิน เพราะเป็นทรัพย์ของรัฐและประชาชนที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ฉ้อฉล เบียดบัง ตีราคาตามสมุดบัญชีนำไปเป็นของตน แต่หากศาลจะเห็นว่าหุ้นในโรงกลั่นน้ำมันดังกล่าวจำนวน 4 โรง ยังคงเป็นของปตท.ก็ขอให้ศาลได้โปรดระงับการผูกขาด โดยโปรดระงับการมีอำนาจเหนือตลาดและครอบงำตลาด โดยสั่งให้ปตท.ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 25 เปอร์เซ็นต์ ในโรงกลั่นใดโรงกลั่นหนึ่ง และขายหรือกระจายหุ้นในโรงกลั่นอีก 3 โรง เพราะถ้าคุม 4 โรง ราคาน้ำมันไม่มีการแข่งขัน นอกจากนั้นอีก 3 โรง ให้กระจายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ไม่ใช่กิจการของเครือปตท. โดยให้ปตท.ถือหุ้นในโรงกลั่นที่เหลืออีก 3 โรง ได้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ไม่อย่างนั้นตั้ง CEO ไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมสำหร้บผู้บริโภค
     
       3.ขอให้ศาลได้โปรดมีคำสั่งหรือพิพากษาบังคับให้กระทรวงการคลังดำเนิน การทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อันได้มาจากอำนาจตามกฎหมายมหาชน คือ โรงกลั่น ท่อส่งก๊าซ รวมอุปกรณ์ส่วนที่ยังไม่ได้คืน ทั้งบนบก ในทะเล รวมทั้งให้ใช้ค่าท่อส่งก๊าซ และดอกผลของค่าใช้บริการในการส่งก๊าซทั้งหมด และทรัพย์สินตามฟ้อง ข้อ 3.1-3.5 คือ ให้ไปตามเอาทรัพย์สินของบริษัทลูกทั้งในและต่างประเทศ กลับมาด้วย
     
       และให้กระทรวงการคลังดำเนินการทวงคืนโรงแยกก๊าซ 4 โรง เนื่องจากเป็นทรัพย์ของรัฐ และประชาชน ที่ถูก ปตท.ฉ้อโกง เบียดบังนำไปเป็นของตน แต่หากศาลเห็นว่าท่อก๊าซ โรงงานแยกก๊าซธรรมชาติ และอุปกรณ์ ยังเป็นของปตท. ขอศาลได้โปรดระงับการผูกขาดทางการค้า  และโปรดระงับการมีอำนาจเหนือตลาด และการครอบงำตลาด โดยสั่งให้ปตท.เป็นเจ้าของโรงแยกก๊าซโรงใดโรงหนึ่ง และขายโรงแยกก๊าซอีก 3 โรงให้ประชาชน ทั้งนี้เพื่อสร้างการแข่งขัน และการค้าที่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภค
     
       “คำฟ้องนี้ศาลตรวจดูแล้ว ปตท.วิ่งตีนขวิดเพื่อไม่ให้รับฟ้อง แต่เป็นคำฟ้องที่มีเหตุผล เขียนมาจากข้อเท็จจริง และกลั่นจากมันสมองทุกหยด ศาลจึงรับฟ้อง และโดยรูปคดีไม่มีทางแพ้  แต่ที่กริ่งเกรง กลัวว่าศาลตัดสินให้การขายหุ้นเพิ่มทุนเป็นโมฆะจริง แต่ศาลจะระบุว่าการเพิกถอนหุ้นจะกระทบเป็นวงกว้าง กลัวศาลเขียนแบบนี้ อันนั้นจะเป็นการใช้หลักรัฐศาสตร์ แม้มันกระทบวงเท่าไหร่เมื่อเป็นนิติรัฐต้องตัดสินตามกฎหมาย ถ้าตัดสินตามหลักรัฐศาสตร์ จะไม่เห็นด้วย”
     
       นายสุวัตรกล่าวว่า มั่นใจว่าหากชนะคดี ประชาชนจะใช้น้ำมันราคาถูกลงถึงครึ่งหนึ่ง แก๊ซ แอลพีจี เอ็นจีวี ถูกลงและไม่ขาดแคลน ถ้าไม่มีการครอบงำตลาด ประเทศเราไม่มีอะไรขาด ประเทศจะโชติช่วงชัชวาล
     
       นายปานเทพกล่าวเสริมว่า เนื้อหาที่เราเตรียมไม่แพ้หรอก ต่อให้ผู้พิพากษาไม่เข้าใจเรื่องนี้มาก่อน เมื่อเห็นหลักฐาน เห็นข้อเท็จจริง ศาลจะต้องให้ความเป็นธรรมต่อประชาชนในท้ายที่สุด แล้วมันจะมีหลายอย่างกลับคืนสู่ประเทศ  ค่าภาคหลวงที่ต่ำที่สุด จากเดิมที่เราได้ 4 หมื่นล้าน จะกลายเป็น 4 แสนล้านบาทต่อปี หรือแม้กระทั่งปตท.ที่มีสินทรัพย์ราคาถูก ที่ประเมินไว้โรงกลั่นไว้โรงละ 1 บาท จะกลายเป็นโรงละ 1.2 แสนบาท ท่อก๊าซอีกต่างหาก มันจะเป็นสินทรัพย์มโหฬารกลับมาสู่ประชาชน

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ค่าเงินบาทแข็งราคาน้ำมันควรปรับลดลง




นักวิชาการ อัดกลุ่มทุนอย่าผูกขาดนโยบาย ศก. เพราะค่าเงินบาทไม่ใช่ของคนเพียงกลุ่มเดียว แฉพฤติกรรมธุรกิจใหญ่เดือดร้อนบาทแข็ง แต่ชอบอ้างผลกระทบเอสเอ็มอีบังหน้า แต่กลับมีกลุ่มทุนใหญ่ที่ได้ประโยชน์ นอนฟันกำไรเงียบกริบ กังขาบาทแข็งนำเข้าน้ำมันถูกลง แต่ราคาในประเทศกลับแพงขึ้น เพราะมีนักการเมืองได้ประโยชน์ ถูกเงินอุดปากจนพูดไม่ออก
นายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวให้ความเห็นกรณีผลกระทบทางเศษฐกิจซึ่งจากสถานการณ์เงินบาทแข็งค่า โดยระบุว่า ตอนนี้ คงไม่สามารถสรุปว่าการกระทบกระเทือนต่อการส่งออก และจะกระทบถึงเศรษฐกิจของชาติโดยรวม เนื่อจากลักษณะเศรษฐกิจของประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบระหว่างมูลค่านำเข้าและการส่งออกจะพบว่ามีสัดส่วนใกล้เคียง กัน
“ถ้าถามแค่ค่าเงินบาทแข็งกระทบผู้ส่งออกใช่ไหม คงตอบว่าใช่ และหากถามผู้นำเข้าได้ประโยชน์มากขึ้นไหม แต่ผู้นำเข้าไม่พูดไง เมื่อรายได้นำเข้าและส่งออกรวมกัน ก็เป็นรายได้ของเศรษฐกิจของชาติ”
กรณีดังกล่าว นายณรงค์ ยอมรับว่า ถือเป็นเรื่องปรกติธรรมดาทุกครั้ง เพราะผู้ที่ได้รับประโยชน์จะไม่พูดถึง แต่คนที่เสียประโยชน์ก็มักจะออกมาพูดจนเกิดความหวาดกลัว นอกจากนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจรายใหญ่เมื่อเกิดปัญหาก็มักจะอ้างรายย่อยด้วยเสมอ ก็เหมือนนักการเมืองอ้างชาวบ้าน
“เวลามีปัญหา รายใหญ่ก็อ้างเอสเอ็มอีตลอด แต่เอาจริงๆ กำไรกระจุกตัวอยู่รายใหญ่ ถามจริงๆ เอสเอ็มอีที่นำเข้ามีไหมล่ะ เอสเอ็มอีที่นำเข้าและส่งออก จะมี 3 ประเภท 1.ส่งออก โดยอาศัยวัตถุดิบภายในประเทศ 2.ส่งออก อาศัยวัตถุดิบนำเข้าเป็นหลัก 3.ไม่ส่งออก แต่นำเข้าวัตถุดิบภายนอกประเทศ 4.ไม่ได้ส่งออก แต่ใช้วัตถุภายในประเทศ ซึ่งเอสเอ็มอีแบบที่หนึ่งอาจไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย แบบที่สอง อาศัยวัตถุดิบนำเข้า เช่น เพชร พลอย จากศรีลังกา ต้นทุนก็ลดลง ก็โอเค ทองนำเข้าทำทองรูปพรรณแล้ว ส่งออกก็ยังได้กำไร”
นอกจากนี้ ยังมองว่า ค่าเงินบาทแข็งราคาน้ำมันควรปรับลดลง แต่กลับนิ่งเงียบ ถือเป็นการเอาเปรียบของธุรกิจรายใหญ่ เพราะผู้ประกอบการน้ำมันเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งหมด แต่กลับไม่พูดความจริง มีการแหกตาชาวบ้านตลอด โดยเฉพาะบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งไม่ยอมบอกว่า เราผลิตแก๊สและน้ำมันรวมกันได้ 42 เปอร์เซ็นต์ที่เราใช้อยู่ ขณะที่ประเทศบรูไนเขาเก็บค่าภาคหลวง 40-50 เปอร์เซ็นต์ แต่ไทยเก็บแค่ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ ถามว่าเอาเปรียบประชาชนหรือไม่
“เรานำเข้าน้ำมัน 58 เปอร์เซ็นต์ที่เราใช้ในปัจจุบัน ค่าบาทแข็งนำเข้าราคาถูกลง แต่ทำไมน้ำมันราคาในประเทศไม่ลดลง ยังเอารัดเอาเปรียบ ยังฉวยโอกาส คนส่งออกก็พูดแต่ประโยชน์ตัวเอง กลุ่มอื่นได้ประโยชน์จากบาทแข็งก็ไม่ยอมพูด เวลาเสียประโยชน์ก็ออกมาโวย แต่เวลากลุ่มตัวเองได้ประโยชน์ กลับเงียบกริบ ถ้าเราทำให้น้ำมันราคาถูก เราก็สามารถผลิตสินค้าแข่งกับต่างประเทศได้ มีรายได้เข้าประเทศมากขึ้น”

นายณรงค์ กล่าวเสริมว่า การที่ค่าเงินบาทแข็งแต่ราคาน้ำมันในประเทศกลับปรับขึ้นราคา ขณะที่ผู้บริหารบริษัทเหล่านี้ กลับมีเงินเงินเดือนที่แพง และได้โบนัสประจำปีก้อนโต มีการตั้งตำแหน่งซ้ำซ้อนกันในองค์กร ได้เบี้ยประชุมและค่าตำแหน่งเดือนละหลายแสน ซึ่งในสหรัฐฯ เขาสั่งห้ามขึ้นโบนัสสูงๆ ให้กับซีอีโอ แต่เมืองไทยไม่พูดกันเลย ทั้งที่ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ เนื่องจากมีนักการเมืองได้ประโยชน์จากกลุ่มธุรกิจใหญ่ เขาให้ทุนกับทุกพรรค ซึ่งคาดว่า เงินคงยัดปากจนพูดไม่ออก

น้ำมันสำรองของโลก


น้ำมันสำรองของโลก

เมื่อเร็วๆนี้ เวเนซุเอลา ประกาศตนเองว่าเป็นประเทศที่มีน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก แทนประเทศซาอุดิอารเบียไปแล้ว สถานการณ์ทั่วโลกด้านการใช้พลังงานอย่างมากทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ประเทศกลุ่มผู้ค้าน้ำมันรวยอู้ฟู่ เศรษฐีใหม่กลุ่มประเทศค้าน้ำมันเกิดขึ้นมากมาย และสิ่งที่ตามมาคือผลกระทบจากราคาน้ำมันสูง ดันภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นทั่วโลก
ประเทศที่มีน้ำมันและมีความสามารถในการส่งออกน้ำมันทั้งหมด อยู่ในกลุ่มโอเปค ยกเว้นบางประเทศที่มีน้ำมันและสามารถหาได้ก็จริง แต่มีการนำเข้าเพื่อใช้น้ำมันมากกว่าส่งออกเพื่อทำการขาย ก็จะต้องถูกให้ออกจากการเป็นสมาชิกเช่นประเทศอินโดนีเซีย แต่ในการค้าน้ำมันโดยจริงๆแล้ว โอเปคแทบไม่ได้มีส่วนในการกำหนดราคาน้ำมันเลย เพราะกลุ่มโอเปคคือกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน แต่ราคาน้ำมันในยุคปัจจุบันถูกกำหนดโดยตลาดการค้าและการลงทุนในแบบฉบับของ “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” (Futures) ซึ่งเป็นสนามการค้าที่ส่งผ่านแค่กระดาษ แต่ไม่มีของจริงๆ ราคาน้ำมันถูกปรับตัวสูงขึ้นมากอย่างน่าตกใจ และมีการเก็งกำไรกันอย่างหนักในกลุ่มสินค้า Commodities จนทำให้โลกปั่นป่วนมากโดยเฉพาะในช่วงเวลานี้
เรามาดูกันว่าประเทศที่มีน้ำมันสำรองอยู่มากที่สุดมีอะไรบ้าง โดยทั้งหมดมี 17 อันดับที่มีการจัดลำดับ และเป็นข้อมูลล่าสุดของ OPEC ประจำปี 2011 (เป็นยอดโดยประมาณ)
  1. ประเทศเวเนซุเอลา 296,500 ล้านบาเรล
  2. ประเทศซาอุดิอารเบีย 264,000 ล้านบาเรล
  3. ประเทศแคนาดา 175,000 ล้านบาทเรล
  4. ประเทศอิหร่าน 151,200 ล้านบาเรล
  5. ประเทศอิรัค 143,100 ล้านบาเรล
  6. ประเทศคูเวต 101,500 ล้านบาเรล
  7. ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 97,800 ล้านบาเรล
  8. ประเทศรัสเซีย 74,200 ล้านบาเรล
  9. ประเทศลิเบีย 47,000 ล้านบาเรล
  10. ประเทศไนจีเรีย 37,000 ล้านบาเรล
  11. ประเทศคาซัคสถาน 30,000 ล้านบาเรล
  12. ประเทศกาตาร์ 25,410 ล้านบาเรล
  13. ประเทศจีน 20,350 ล้านบาเรล
  14. ประเทศสหรัฐอเมริกา 19,120 ล้านบาเรล
  15. ประเทศแองโกลา 13,500 ล้านบาเรล
  16. ประเทศอัลจีเรีย 13,420 ล้านบาเรล
  17. ประเทศบราซิล 13,200 ล้านบาเรล
รวมทั้งหมด 17 ประเทศมีน้ำมันสำรองประมาณ 1.5 ล้านล้านบาเรล หรือคิดเป็นมูลค่าตามราคาตลาดไนเมกซ์ (โดยใช้สมมติฐานที่ 80 เหรียญ/บาเรล) ซึ่งเป็นมูลค่าประมาณ 127 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3 พันล้านล้านบาท (3,000,000,000,000,000)


วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เกิดอะไรขึ้นที่ ปตท. น้ำมันและแก๊สไปไหน

เกิดอะไรขึ้นที่ ปตท. น้ำมันและแก๊สไปไหน 
พันตรี สุดทนแฉปตท.สูญเกือบ ล้านล้าน  

พ.ต.รัฐเศรษฐ'ขึ้นเวทีพันธมิตรฯแฉ'ระบอบทักษิณ'รวมหัวงาบกำไรแก๊ส-น้ำมันจากการแปรรูป ปตท.ชาติสูญเสีย ปีร่วม 3.5 ล้านล้านบาท ปูดขนน้ำมันดิบไทยส่งสิงคโปร์-อเมริกาตั้งราคาฟันส่วนตั้งกว่า 100% ปลุกทวงคืนเป็นของประชาชน   
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : วานนี้ ( 
28 มิ.ย.) พ.ต.รัฐเศรษฐ แจ้งจำรัส ซึ่งทำงานในแท่นขุดเจาะน้ำมัน ได้ขึ้นเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่สะพานชมัยมรุเชฐ ระบุถึงกรณีการปิโตเลียมถูกระบอบทักษิณฉ้อฉล เราจึงไปตรวจสอบแล้วพบว่า ปัญหาใหญ่เกิดจากการขึ้นราคาน้ำมัน และราคาแก๊สแพงกว่าปกติ รวมทั้งรถเมล์ขึ้นค่าโดยสารก็ขึ้นราคา อีกทั้งอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว  

เดิมทีปั๊มมีอยู่ทั่วประเทศกว่า หมื่นแห่ง ขณะนี้เจ๊งไปเกือบหมดแล้ว เพราะเดิมทีเขาขายน้ำมัน บาท เขาได้กำไร 2.30 บาท แต่ตอนหลังเข้ายึดครองการตลาด ก็จะเห็นเพียงแต่ปั๊มใหม่ๆ ซึ่งมีทั้งปั๊มบางจาก ปั๊มเจ็ท และปั๊ม ปตท.เท่านั้น ที่กระจายกันอยู่ทั่วประเทศ'   
พ.ต.รัฐเศรษฐ กล่าวอีกว่า ผู้ตกเป็นเหยื่อของกระบวนการปล้นน้ำมัน ได้แก่ รถสิบล้อ รถปิกอัพ รวมไปถึงควายเหล็กของชาวบ้าน นอกจากนี้ สิ่งที่ไม่มีใครหรือสื่อมวลชนนำมาตีแผ่ให้ประชาชนรับรู้ คือหลักในการคำนวณน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งสามารถคำนวณได้ดังนี้ 
 

บาร์เรล เท่ากับ 159 ลิตร โดย ดอลลาร์ เท่ากับ 33 บาท ซึ่งถ้าคำนวณเป็นเงินแล้ว ลิตร จะเท่ากับ 27.78 บาท แต่วันนี้บ้านเราขายน้ำมันดีเซลลิตรละ 42 บาท ถือว่าแพงผิดปกติ แพงที่สุดในโลก เพราะเมื่อคำนวณกลับไปแล้วจะเท่ากับว่าราคาน้ำมันดิบจะอยู่ที่ 202 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทั้ง ๆ ที่ราคาน้ำมันในประเทศสหรัฐอเมริกาเพียง 138 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล   
ทั้งนี้ ในภูมิภาคของเรามีทรัพยากรพลังงานธรรมชาติมากมายมหาศาล แต่กลับต้องใช้น้ำมันราคาแพงกว่าประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งเกิดจากจากการแปรรูป ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่ง ปตท.มีกำลังการผลิตน้ำมันวันละ 
100 ล้านลิตร คำนวณเป็นเงินแล้วเฉลี่ยตกวันละ2,500 ล้านบาท ซึ่งไม่มีใครเคยบอกเรา มีแต่บอกว่านำเข้านำมันจากต่างประเทศ ดังนั้น เราจะต้องกอบกู้เอาพลังงานปิโตเลียม และน้ำมัน กลับมาเป็นของประชาชนโดยตรง   
พ.ต.รัฐเศรษฐ กล่าวอีกว่า ที่สำคัญคือ แหล่งน้ำมันดิบ และแก๊สธรรมชาติไม่ถูกเปิดเผยข้อเท็จจริง วันนี้เราผลิตแก๊สธรรมชาติได้วันละ 
5,000ล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งคำนวณแล้วไทยสามารถผลิตได้เฉลี่ย 138 ล้านลิตรต่อวัน แต่กลับอ้างว่าต้องนำเข้า จนเป็นเงื่อนไขขอขึ้นราคา ขอลอยตัวราคาแก๊ส อย่างนี้ไม่ยุติธรรมกับประชาชน อีกทั้งแท่นขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทย และบนบก ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1,300 แท่น มูลค่าทรัพย์สินประมาณ ล้านล้านบาท แต่เมื่อระบอบทักษิณเอาไปแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ขายเพียง หมื่นล้านบาท ถูกจองเกลี้ยงภายในเวลา นาทีเศษเท่านั้น  

ผมแทบน้ำตาไหล เพราะผมทำงานอยู่ที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน แต่น้ำมันดิบที่นำขึ้นมาเขาเอาใส่เรือวิ่งไปทางสิงคโปร์ และออกไปทางจีน ญี่ปุ่น และอเมริกา ไม่ยอมเข้าระบบกลไกภาษีของเรา เพราะที่โน้นมีเท่าไหร่เขารับซื้อไม่อั้น นอกจากนี้ แม้แต่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เขาก็เอาไปไว้ที่อาคารชินวัตรชั้น 26 ที่สำคัญหลังจากแปรรูป ปตท.แม้ รัฐบาลถือหุ้นใหญ่ 52 เปอร์เซ็นต์ แต่กลับได้ผลตอบแทนน้อยมากเพียง หมื่นล้านบาท และภาษีน้ำมันรวมผลิตภัณฑ์ทุกอย่างเก็บได้แค่ 7.7 หมื่นล้านบาทต่อปี ทั้งที่ ปตท.บอกว่าภาษีน้ำมันประมาณ 13 บาท ส่งให้หลวงหมด ซึ่ง 1ปีจะตกอยู่ที่ประมาณ 6-7 แสนล้านบาท เท่ากับเงินหายไป 5-6 แสนล้านบาทต่อปี รวมทั้งสิ้นเมื่อ ปตท.แปรรูปรวม ปีเงินหายไป 3.5 ล้านล้านบาท'   
พ.ต.รัฐเศรษฐ กล่าวอีกว่า ดังนั้นถ้ามีการยึดทรัพย์ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จะจ่ายคืนให้กับเราวันละประมาณ 
1,500 ล้านบาทที่เราถูกโกงไปหรือไม่ ซึ่งเราไม่เคยได้รับรู้รับทราบ เพราะไม่เคยมีใครเปิดเผยข้อมูล ทั้งนี้ตนพร้อมที่จะรับผิดชอบคำพูดและข้อมูลตัวเลขแผนที่สำรวจแหล่งพลังงานในประเทศไทย เพราะข้อมูลทั้งหมดเป็นของทางราชการทั้งสิ้น  

จากราคาน้ำมันดิบ สู่ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม


จากราคาน้ำมันดิบ สู่ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม

อาจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม

คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



ในบทที่แล้ว ผมได้อธิบายให้คุณผู้อ่านได้ทราบแล้วว่าราคาน้ำมันดิบที่ซื้อขายกันในตลาดโลกที่สำคัญๆ นั้นมีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวขึ้นลงได้เพราะสาเหตุใดบ้าง แต่การที่เรารู้คร่าวๆ ว่าราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับประมาณ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เท่านี้คงไม่พอ เพราะที่เราอยากรู้จริงๆ จากข้อมูลที่มีการรายงานในข่าว ในหน้าหนังสือพิมพ์ที่เราอ่านกันทุกวันคือ แล้วราคาน้ำมันเบนซิน ราคาน้ำมันดีเซลมันราคาอยู่ที่เท่าไรล่ะ แล้วถ้าราคาน้ำมันดิบมันเปลี่ยนไป สมมติราคาน้ำมันดิบมันปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แล้วราคาน้ำมันที่เราใช้เติมรถยนต์มันจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากน้อยซักแค่ไหนกัน
คู่มือการอ่านหนังสือพิมพ์ธุรกิจ ตอนที่ 8

จากราคาน้ำมันดิบ สู่ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม

ในบทที่แล้ว ผมได้อธิบายให้คุณผู้อ่านได้ทราบแล้วว่าราคาน้ำมันดิบที่ซื้อขายกันในตลาดโลกที่สำคัญๆ นั้นมีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวขึ้นลงได้เพราะสาเหตุใดบ้าง แต่การที่เรารู้คร่าวๆ ว่าราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับประมาณ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เท่านี้คงไม่พอ เพราะที่เราอยากรู้จริงๆ จากข้อมูลที่มีการรายงานในข่าว ในหน้าหนังสือพิมพ์ที่เราอ่านกันทุกวันคือ แล้วราคาน้ำมันเบนซิน ราคาน้ำมันดีเซลมันราคาอยู่ที่เท่าไรล่ะ แล้วถ้าราคาน้ำมันดิบมันเปลี่ยนไป สมมติราคาน้ำมันดิบมันปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แล้วราคาน้ำมันที่เราใช้เติมรถยนต์มันจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากน้อยซักแค่ไหนกัน

จากคำถามที่ผมถามค้างไว้ในบทที่แล้วนั่นคือ น้ำมันดิบ 1บาร์เรล มันมากน้อยขนาดไหนล่ะ ผมเคยทดลองถามนิสิตหลายๆ คนที่ผมสอนอยู่ ก็ได้รับคำตอบที่น่าสนจากครับ นิสิตบางคนบอกว่า 1บาร์เรลมีปริมาตรเท่ากับ 1 ลิตร (อันนี้น่าจะผิดนะครับ น้ำมันเบนซินที่เราใช้เติมรถยนต์ยังแค่ราวๆ 40 บาท/ลิตร ถ้าน้ำมันดิบ1 บาร์เรลเท่ากับ1 ลิตร แล้วบาร์เรลนึงราคาตั้ง 70 ดอลลาร์เราคงต้องใช้น้ำมันแพงกว่านี้อีกหลายๆ เท่าครับ) บางคนบอกว่าปริมาตรเท่ากับปริมาณน้ำมันดิบที่เรือบรรทุกน้ำมัน 1 ลำสามารถขนได้ (อันนี้ก็ผิดแน่นอนครับ ราคาแค่70 ดอลลาร์/บาร์เรลจะได้น้ำมันดิบเท่าเรือบรรทุกน้ำมัน แบบนั้นเราคงไม่บ่นว่าน้ำมันแพงแน่นอน) ในขณะที่บางคนก็บอกว่าเท่ากับถังน้ำมันใหญ่ๆ ที่เป็นเหล็กที่เราเห็นกันในหนัง นั่นก็เป็นคำตอบที่ถูกครับ แต่พอถามต่อว่าแล้วไอ้ถึงแบบนั้นมันบรรจุน้ำมันเท่ากับกี่ลิตร บางคนบอกว่า ถังนั้นบรรจุ 250 ลิตร (หลายๆ คนชอบเรียกถัง 250 ลิตร) บางคนบอกว่า 100 ลิตร บางคนบอกแค่ 10 ลิตร

แต่จริงๆ แล้วน้ำมันดิบ 1 บาร์เรลมีความจุเท่ากับ 158.9873 ลิตร หรือ เท่ากับ 42 US Gallons หรือเท่ากับ  34.9723Imperial Gallons (UK) ครับ นั่นก็หมายความ ณ ปัจจุบัน (วันที่20 สิงหาคม 2552) น้ำมันดิบ Light Sweet Crude Oil จากแหล่งBrent ทะเลเหนือซื้อขายที่ราคา 72.21 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกลับมาเป็นน้ำมันดิบ 1 ลิตรก็จะมีราคาเพียงแค่ 0.4541ดอลลาร์/ลิตร หรือเท่ากับประมาณ 15 บาท/ลิตรเท่านั้นเองครับ แล้วทำไมราคาน้ำมันเบนซินที่เราใช้เติมรถยนต์มันอยู่ที่ประมาณ 40 บาท/ลิตรล่ะ คำตอบก็คือ เราคงไม่สามารถเอาน้ำมันดิบมาเติมรถยนต์ได้ครับ สิ่งที่เราใช้เติมรถยนต์คือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยมประเภทหนึ่งที่เราได้จากน้ำมันดิบครับ เราเรียกมันว่า น้ำมันเบนซิน ออคเทน 95

อย่างที่ผมได้เคยเล่าให้ฟังในบทที่ผ่านๆ มาว่าน้ำมันดิบเป็นสารประกอบหลายๆ ชนิดที่เราขุดขึ้นมาได้จากพื้นดินและใต้ทะเล ดังนั้นเราต้องทราบก่อนว่าเมื่อเราขุดน้ำมันดิบขึ้นมาแล้วเราต้องเอาไปทำอะไรบ้าง เราต้องเอาไปกลั่นครับ เมื่อเข้าหอกลั่น (ปล่องสูงๆ เวลาเรามองเห็นโรงกลั่นน้ำมันนั่นแหล่ะครับ) เราก็จะกลั่นน้ำมันดิบแล้วก็ได้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยมออกมาหลายๆ ชนิดครับ
ที่มา: www.howstuffworks.com
จริงๆ แล้วการกลั่นน้ำมันเป็นเทคโนโลยีที่มนุษย์เราทำกันมานานแสนนานแล้วครับ เพราะมันคือการเอาน้ำมันดิบที่ได้มาต้มครับ เมื่อต้มแล้ว สารประกอบตัวไหนที่อยู่ในน้ำมันดิบที่มีจุดเดือดต่ำ ก็จะเดือดกลายเป็นไอขึ้นมาก่อนครับ โดยของชนิดแรกที่จะระเหนขึ้นมาก่อนเพื่อก็คือ ก๊าซธรรมชาติครับ แน่นอนชุดแรกคือก๊าซธรรมชาตินี้ก็จะลอยขึ้นไปถึงส่วนบนสูงสุดของหอกลั่นแล้วครับ เราก็เอามาเก็บไว้แล้วเอาไปขายต่อไปเป็นก๊าซ LPG (Liquefied Petroleum Gas) ครับ

หลังจากนั้นถ้าเราต้มต่อไปเรื่อยๆ สิ่งที่ระเหยต่อลงมาเป็นชุดที่ 2นั่นก็คือน้ำมันเบนซินที่ตอนนี้ระเหยเป็นไอครับ และเนื่องจากมันมีความหนาแน่น (มีความหนัก) มากกว่าก๊าซธรรมชาติดังนั้นมันก็จะระเหยขึ้นไปไม่สูงเท่ากับก๊าซธรรมชาติ เราก็จะเอาถาดไปรองไว้ที่หอกลั่นชั้นที่สูงรองลงมาครับ เมื่อไอพวกนี้กระทบความเย็นมันก็จะเกิดการควบแน่น(Condense) แปรสภาพกลับเป็นของเหลว ซึ่งของเหลวที่ได้นี้คือน้ำมันเบนซิน (Gasoline หรือ Petrol) ครับ แน่นอนครับวิทยาการที่ก้าวหน้ามากขึ้นก็ทำให้เราควบคุมการเดือด การระเหย และการควบแน่นได้ดีขึ้น และได้น้ำมันเบนซินที่บริสุทธิ์ขึ้นครับ

ถ้าเราต้มน้ำมันดิบต่อๆ ไปอีก ไอระเหยที่จะลอยขึ้นมาเป็นลำดับที่ 3 และเมื่อควบแน่นเราก็จะได้ น้ำมันเครื่องบิน (Jet Fuel) หรือน้ำมันก๊าด ส่วนชั้นที่อยู่ต่ำลงมาเป็นชั้นที่ เราก็ได้น้ำมันดีเซล(Petrodiesel) ครับ ในขณะที่ชั้นรองๆ ลงมาเราก็จะได้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยมที่มีจุดเดือนสูงขึ้นๆ หรือมีความหนาแน่น (ความข้น ความหนัก) เพื่อมากขึ้นๆ ครับ โดยเราจะได้ น้ำมันหล่อลื่น ไขพาราฟีน น้ำมันเตาในชั้นล่างๆ ลงมาครับ ส่วนกากของน้ำมันดิบที่ไม่เดือดและค้างอยู่ที่ชั้นล่างสุดของหอกลั่นก็คือ ยางมาตอยครับ (Asphalt หรือTar)

โดยเราพบว่าน้ำมันดิบ 1 บาร์เรลหรือ158.9873 ลิตรจะสามารถกลั่นได้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยมในปริมาณดังต่อไปนี้ครับ

  น้ำมันเบนซิน 46% หรือเทียบเท่ากับ 73.13416 ลิตร

  น้ำมันดีเซล 22% หรือเทียบเท่ากับ 34.97721 ลิตร

  น้ำมันเครื่องบิน 10% หรือเทียบเท่ากับ 15.89873 ลิตร

  น้ำมันเตา 5.5% หรือเทียบเท่ากับ 8.744302 ลิตร

  น้ำมันหล่อลื่นพาราฟิน, ยางมาตอย รวมกันเท่ากับ 16.5% หรือเทียบเท่ากับ 26.2329 ลิตร

จากข้อมูลนี้ทำให้เราทราบครับว่า น้ำมันดิบ 1 บาร์เรลกลั่นออกมาเป็นน้ำมันดีเซลได้น้อยกว่าน้ำมันเบนซินครับ ดังนั้น ถ้าราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 1 ดอลลาร์ และเราสมมติอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 34.080 บาท/ดอลลาร์ และเนื่องจากในน้ำมันดิบ 1 บาร์เรล = 158.9873 ลิตร เราสามารถกลั่นเป็นน้ำมันเบนซินได้ 73.134 ลิตร เป็นน้ำมันดีเซล 33.877 ลิตร และก็จะทำให้น้ำมันเบนซิน 1 ลิตรมีราคาต้นทุนเพิ่มขึ้น = 21.435 สตางค์ และน้ำมันดีเซลจะมีราคาเพิ่มขึ้น 22.132 สตางค์ โดยสูตรการคำนวณก็คือ ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยมที่เปลี่ยนไป (บาท)

= ราคาน้ำมันดิบที่เปลี่ยนไป (ดอลลาร์/บาร์เรล) x อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลลาร์) x เปอร์เซนต์ของผลผลิตที่เราสนใจ แล้วหารด้วยจำนวนลิตรของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

เพราะฉะนั้น ถ้าคราวต่อๆ ไปเราอ่านหนังสือพิมพ์หรือฟังรายงานข่าวว่าราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นเท่านั้นเท่านี้ เราก็จะสามารถคำนวณได้แล้วว่า แล้วราคาน้ำมันที่ขายปลีกที่สถานีบริการจะปรับขึ้นอย่างต่ำเท่ากับเท่าไหร่ในอีก 2-3 วันข้างหน้า ที่ต้องรอ 2 - วันเพราะส่วนใหญ่แล้วเราต้องนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันที่กลั่นแล้วจากต่างประเทศดังนั้นจึงต้องรอเวลาในการชำระเงินและส่งมอบอีกด้วย โดยราคาขายปลีกจะเพิ่มมากกว่า เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในค่าการกลั่นและค่าการตลาดที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอีกด้วย

และจากการที่เราทราบอัตราส่วนของผลผลิตปิโตรเลี่ยมที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบนี้ เราก็สามารถคำนวณคร่าวๆ ได้ด้วยว่า ราคาน้ำมันเบนซินที่เป็นราคาเนื้อน้ำมันจริงๆ จะมีราคาลิตรละกี่บาท ยกตัวอย่างเช่น น้ำมันดิบบาร์เรลละ 72.21 ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 34.080 บาท/ดอลลาร์ ดังนั้นราคาของน้ำมันเบนซินในส่วนที่เป็นเนื้อน้ำมันดิบจริงๆ จะมีราคาเท่ากับ 15.4787 บาท/ลิตรเท่านั้นครับ แล้วยังงั้นที่เราต้องเติมน้ำมันเบนซินกันลิตร 40 กว่าบาทมันมาได้อย่างไร... ขอยกยอดไว้เล่าให้ฟังในบทต่อไปครับ