ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โมเดล Energy Bridge เมกะโปรเจคท่อน้ำมันเลื้อยทั่วไทย


โมเดล Energy Bridge เมกะโปรเจคท่อน้ำมันเลื้อยทั่วไทย
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=847597



ผมได้เห็นข่าวโครงการลงทุนเรื่องเส้นทางขน ส่งน้ำมัน ของกระทรวงพลังงานล่าสุดก็น่าสนใจว่าจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่จะเริ่มเห็น กันเร็ว ๆ นี้และจะลอดฝังใต้ดินในเส้นทางหลายพื้นที่ เป้าประสงค์ที่ทางกระทรวงพลังงานโดย นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน บอกคือเพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงาน รวมถึงลดต้นทุนทางโลจิสติกส์ เป็นหนึ่งในแผนภาพรวมพลังงานของประเทศ ระยะยาว 20 ปี ที่ สนพ.กำลังศึกษา ซึ่งจะมีทั้งเรื่องความต้องการ การจัดหา โดยจะดูแหล่งที่มาของพลังงานทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติเหลว ก๊าซธรรมชาติ
โครงการนี้ใช้ชื่อว่า  Energy Bridge หรือ เอ็นเนอร์ยี บริดจ์ ที่จะเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันใหม่ ในภูมิภาค โดยเล็งไว้ 3 เส้นทางคือ
1.ท่อส่งน้ำมันจาก อ.เขาหลัก จ.พังงาสู่ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ระยะทางรวม 250 กิโลเมตร โดยสองฝั่งมีคลังน้ำมัน 20 ล้านบาร์เรล โครงการนี้เป็นการแบ่งส่วนมาจาก โครงการแลนบริดจ์ของภาคใต้ หรือ สะพานเศรษฐกิจของกระทรวงคมนาคม ซึ่งเดิมเป็นโครงการที่จะดำเนินการครบวงจร ทั้งท่าเรือน้ำลึก ถนน ทางรถไฟ ท่อส่งน้ำมัน และท่อส่งก๊าซธรรมชาติ
2. ท่อส่งน้ำมันจากท่าเรือน้ำลึกทวายของพม่าสู่ อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี  ระยะทางรวม 500 กิโลเมตร
3.เดินท่อในทะเลขึ้นฝั่งที่ อ.มาบตาพุด จ.ระยอง ภานใน 1- 2 เดือน
ส่วนวิธีการลงทุนมีหลายรูปแบบ เช่นรัฐบาลไทยลงทุนเองทั้งหมด หรือว่าร่วมทุนกับนักลงทุนอื่นๆ หรือผู้ค้าน้ำมันร่วมกันลงทุน ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีกระแสของทุนจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ ดูไบเวิล์ดมาจ้องทำสะพานเศรษฐกิจที่ภาคใต้ ก็น่าจะเข้าเค้าครับ
โดยหลักการเหตุผลโครงการนี้ระบุว่า ปัจจจุบันช่องแคบสิงคโปร์ที่รองรับการส่งน้ำมันได้วันละ 17 ล้านบาร์เรล แต่ว่าอีก 20 ปี มีความต้องการน้ำมันของไทยและภูมิภาคจะเพิ่มเป็น 25 ล้านบาร์เรล 
 
ในรายงานข่าวระบุว่าท่อเชื่อม อันดามัน-อ่าวไทย จุดที่เหมาะสมจะเป็นการสร้างท่อน้ำมันตามแนวถนนที่ก่อสร้างไว้แล้ว ระยะทางประมาณ 200-300 กิโลเมตร สร้างจาก จ.พังงา มายัง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช โดยจะมีการสร้างคลังน้ำมันรองรับในพื้นที่ อ.สิชล ในขณะที่พื้นที่รับน้ำมันที่ จ.พังงา จะสร้างสะพานเชื่อม หรือเจ็ตตี้ ลงกลางทะเล สูบน้ำมันดิบเข้ามา จึงไม่ส่งผลกระทบท่อสิ่งแวดล้อมมากนัก คาดท่อจะขนส่งน้ำมันได้ราว 8-10 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งระบบคลังและท่อนี้ จะช่วยสร้างความมั่นคง รองรับแผนการเพิ่มสำรองน้ำมันของประเทศจาก 36 วัน เป็น 90 วัน ซึ่งลูกค้านอกจากใช้ในไทยแล้วยังเป็นลูกค้าในจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมทั้งกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง

ส่วนท่อน้ำมัน ทวาย จะเป็นการสร้างท่อรองรับน้ำมันดิบขนาด 2 ล้านบาร์เรลวัน  สร้างเชื่อมท่อบนบกระหว่างทวาย-บ้านแหลม จ.เพชรบุรี หลังจากนั้น เป็นท่อทางทะเล ไปยังโรงกลั่นน้ำมัน ใน อ.มาบตาพุด จ.ระยอง ระยะทางรวม 500 กิโลเมตร จะเป็นการสนับสนุนการพัฒนาประเทศเมียนมาร์ และรองรับความต้องการใช้น้ำมันในประเทศ คาดว่าใน 10-20 ปีข้างหน้าความต้องการของไทยจะเพิ่มจาก 1 ล้านบาร์เรล/วัน เป็น 2 ล้านบาร์เรล/วัน ในขณะที่ประเทศไทยมีโรงกลั่นฯ อยู่แล้ว ก็สามารถส่งน้ำมันที่กลั่นแล้วกลับไปใช้ที่เมียนมาร์ได้ด้วย
นอกจากโครงการขนส่งน้ำมันทางท่อที่ภาคกลาง และภาคใต้แล้ว ในปัจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานของภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้ศรีราชาเป็นศูนย์กลางการซื้อขายน้ำมันในภูมิภาค จึงมีการพิจารณาโครงการขยายการขนส่งน้ำมันทางท่อในอนาคต 2 แนวทาง คือ โครงข่ายท่อสายเหนือและโครงข่ายท่อสายตะวันออกเฉียงเหนือ   
แนวทางที่ 1 สระบุรี-นครสวรรค์-พิษณุโลก-ลำปาง (ระยะทาง 510 กิโลเมตร ความสามารถขนส่ง 5,500 ล้านลิตร/ปี เงินลงทุนประมาณ 8,100 ล้านบาท)
แนวทางที่ 2 สระบุรี-นครราชสีมา-ขอนแก่น (ระยะทาง 367 กิโลเมตร ความสามารถขนส่ง 8,200 ล้านลิตร/ปี เงินลงทุนประมาณ 6,700 ล้านบาท)

นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ระบุถึงโครงการขยายท่อส่งน้ำมันไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า  ประเด็นที่จะต้องหาข้อสรุปให้ชัดเจน คือ โมเดลการลงทุน เนื่องจากโครงการนี้ใช้งบลงทุนสูงถึง 15,237 ล้านบาท สำหรับท่อจากสระบุรี-ลำปาง และสระบุรี-โคราช-ขอนแก่น ระยะทางรวมประมาณ 958 กม. โดยงบลงทุนดังกล่าวแบ่งเป็นระบบท่อส่ง 8,854 ล้านบาท คลังจ่ายน้ำมัน 4,374 ล้านบาท และอื่น 2,009 ล้านบาท  ขณะที่ผลตอบแทนการลงทุนอยู่ระดับ 11% เท่านั้น ทำให้โครงการนี้ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้เป็นรูปธรรมแม้จะมีการศึกษามา ตั้งแต่ปี 2553       
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการขนส่งน้ำมันไปภาคเหนือมีประสิทธิภาพสูง โดยคาดว่าในปี 2556 จะมียอดความต้องการใช้เชื้อเพลิงถึง 3,001 ล้านลิตร ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,127 ล้านลิตร และสามารถประหยัดค่าขนส่งได้กว่า 50% จากการประเมินต้นทุนการขนส่งน้ำมันเปรียบเทียบ กทม.-เชียงใหม่ พบว่า หากใช้รถจะเทรลเลอร์จะอยู่ที่ 66 สตางค์ต่อลิตร รถสิบล้อ 1.20 บาทต่อลิตร ขณะที่การขนส่งน้ำมันทางท่อ 30 สตางค์ต่อลิตร หรือโดยภาพรวมแล้ว โครงการขนส่งน้ำมันทางท่อแทนรถยนต์จะช่วยลดค่าขนส่งได้รวม 1,534 ล้านบาท และลดการใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงได้ 19 ล้านลิตรสำหรับเส้นทางภาคเหนือ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะช่วยลดการขนส่งทางรถได้ 1,857 ล้านบาท และลดการใช้น้ำมันได้ 21 ล้านลิตร
นอกจากนี้ ยังเกิดประโยชน์ในภาพรวมของประเทศจากการประหยัดพลังงานเป็นเงิน 42,000 ล้านบาท ประหยัดค่าซ่อมแซมและอะไหล่รถบรรทุกน้ำมัน 19,500 ล้านบาท ลดก๊าซเรือนกระจกมูลค่า 530 ล้านบาท  รวม 25 ปีตลอดอายุการใช้งาน
          
สำหรับโมเดลท่อพลังงานนี้ในประเทศเพื่อน บ้านเราพม่ากับจีนก็กำลังจะเปิดท่อส่งน้ำมันและก๊าซที่ยาวที่สุด 1,100 กิโลเมตร  วางเป็นแนวยาวจากท่าเรือจ้อกพยู (Kyaukpyu) ทางตะวันตกของพม่า ไปยังดินแดนจีนทางมณฑลหยุนหนัน และมณฑลกว่างซี ของจีน  ซึ่งท่อส่งน้ำมันนี้จะทำให้น้ำมันดิบจากตะวันออกกลางที่เดินทาง ผ่านมหาสมุทรอินเดียเข้าไปยังจีนโดยไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา และท่อส่งน้ำมันนี้ถูกออกแบบให้สามารถส่งน้ำมันได้ 22 ล้านตันต่อปี ขณะที่ท่อส่งก๊าซคาดว่าจะสามารถส่งได้ 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
สำหรับความคิดของผมคิดว่าเรื่องยุทธศาสตร์ พลังงานเป็นเรื่องสำคัญ การขนส่งน้ำมันทางท่อก็คือแนวทางหนึ่งที่เราจะกำลังจะวางท่อน้ำมันเลื้อยไป ใต้ดินทั่วภูมิภาคและเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านเพื่อดูดซับ ขนถ่าย ด้วยต้นทุนที่ต่ำทางโลจิสติกส์ แต่ทั้งนี้เรามีบทเรียนแล้วกรณีท่อก๊าซที่กาญจนบุรี การคำนึงถึงผลกระทบเชิงชุมชน สังคม และความปลอดภัยเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง การเรียนรู้บทเรียนในอดีตชั่งข้อดีข้อเสียก่อนลงทุนเป็นเรื่องที่กระทรวง พลังงานและรัฐบาลไทยจะต้องพิจารณาให้รอบคอบครับ 
เรื่องเกี่ยวเนื่อง :สถาบันปิโตรเลียมเสนอเร่งสร้างท่อก๊าซ-ท่อน้ำมันควบคู่กัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น