ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สูตรราคาน้ำมัน (หายนะ) ณ โรงกลั่น



1. ทำไมน้ำมันในไทยจึงแพงผิดปกติ
       ตอบ : เป็นเพราะกลุ่มบริษัทโรงกลั่นน้ำมันและ ปตท.ใช้โอกาสบวกกำไรเพิ่มอีก 169,438 ล้านบาท หรือเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าเดิม 700 % (ตาราง 1)
       หลายปีที่ผ่านมาคนไทยใช้น้ำมันสำเร็จรูปประมาณ 700,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อ 5 ปีก่อนบริษัทโรงกลั่นน้ำมัน 7 แห่งและบริษัท ปตท. ( มีโรงแยกก๊าซ) ได้ซื้อน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติดิบมากลั่นโดยบวกกำไรอีก 20,330 ล้านบาท แล้วนำผลผลิตมาขายให้คนไทย ปัจจุบันกลุ่มบริษัทดังกล่าวได้ใช้โอกาสบวกกำไรเพิ่มทวีอีก 195,853 ล้านบาทถึง 169,438 ล้านบาท (ดูตาราง 1 ) แล้วนำผลผลิตมาขายให้คนไทย
      
        บริษัทโรงกลั่น 5 แห่งเป็นเครือบริษัท ปตท.ผูกขาดกำลังกลั่น 83%
        บางบริษัทกำไรเพิ่มถึง 50 เท่า ปตท. บอกว่าผลกำไร 2 ใน 3 ของบริษัท ปตท. (เกือบ 70,000 ล้านบาท) มาจากก๊าซ ,LPG , NGV ฯลฯ (กำไรก๊าซทำให้ราคาไฟฟ้าแพง) ดังนั้นกำไรมหาศาลที่เหลืออีกมากกว่า 100,000 ล้านบาทของบริษัททั้ง 8 แห่งมาจากน้ำมัน
      
        กำไรเพิ่ม 700-800 % สูงขึ้นกว่าปี 2544 - 2545 ในขณะที่เราใช้น้ำมันเพิ่มเพียงปีละ 3%
      
        ตัวเลขกำไรเป็นตัวเลขทางการที่บริษัทรายงานตามกฎหมายใช้เสียภาษี ปันผล ฯลฯ จึงไม่สามารถปฏิเสธได้ อาจมีกำไรมากกว่านี้ที่สามารถซ่อนไว้ในบัญชีสต๊อก ฯลฯ หรืออาจมีบัญชีกำไรซ้อนระหว่างกันที่คนภายนอกไม่สามารถรู้ทั้งหมดได้
      
       2. ทำไมบริษัทโรงกลั่นสามารถขายน้ำมันราคาแพง และเอากำไรจากคนไทยเพิ่มขึ้นผิดปกติมากกว่าปีละ100,000 ล้านบาทได้ 
       ตอบ : เป็นเพราะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้สมมติตั้งสูตรราคาขายน้ำมัน (หายนะ) ณ โรงกลั่นให้บริษัทโรงกลั่นได้กำไรสูงกว่าต้นทุนจริงมาก (ตาราง2)
       ราคาน้ำมันที่ 1 เหรียญ ต่อ 1 บาร์เรลนั้นเท่ากับ 0.2 บาทต่อลิตร (คือ 32บาท หารด้วย 159 ลิตร )
      
        ดังนั้นน้ำมันดิบพื้นฐานโอมานที่บริษัทโรงกลั่นนำเข้ามากลั่นส่วนใหญ่ราคา122 เหรียญต่อบาร์เรล จึงมีต้นทุนเท่ากับ 24.8 บาทต่อลิตร รวมค่าใช้จ่ายการกลั่นเฉลี่ยทั้งหมด 1.5 บาทต่อลิตร (1.3 - 1.7 บาทต่อลิตร) จึงเป็นต้นทุนน้ำมันเฉลี่ยทั้งสิ้น 26.3 บาทต่อลิตร แต่คณะกรรมการนโยบายพลังงาน ได้สมมติสูตรราคาขายดีเซล ณ โรงกลั่นให้บริษัทขึ้นให้เท่ากับราคาสิงคโปร์บวกอีก 0.8 บาทต่อลิตร หรือเท่ากับ 33.0 บาทต่อลิตร ทำให้บริษัทขายน้ำมันดีเซล ณ โรงกลั่นได้ สูงกว่าต้นทุนการกลั่นถึง 6.7 บาทต่อลิตร (ทั้งๆ ที่ราคาสิงคโปร์เป็นตลาดเก็งกำไรเหมือนเล่นหุ้น)
      
        ในการกลั่นน้ำมันดิบนั้นจะได้น้ำมันประมาณ 6 ชนิดที่ให้กำไรตามสูตรเช่นนี้สูงกว่าต้นทุน และมี 1 ชนิดที่ได้ราคาต่ำกว่า ดังนั้นการที่ตั้งสูตรสมมติราคาขาย ณ โรงกลั่นให้สูงกว่าปกติ ก็จะสร้างกำไรสูงผิดปกติให้บริษัทโรงกลั่นมหาศาล นอกเหนือจากกำไรจากสต๊อก ฯลฯ
      
       3. ทำไมพ่อค้า ข้าราชการบางคน หรือนักวิชาการที่ถูกจ้างมาพูด มักพูดแต่เรื่องค่าการตลาด (ตาราง 3)
       ตอบ : เพราะสูตรราคาน้ำมัน (หายนะ) ณ โรงกลั่นที่ 33.0 บาทซึ่งสมมติไว้สูงๆ จะถูกใช้หลอกประชาชนว่าเป็นต้นทุน (ทั้งที่เป็นเรื่องสมมติเอาเอง) บวกภาษี 5.0 บาท บวกค่าการตลาด 1.5 บาท รวมเป็นตัวเลขขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ 39.5 บาทต่อลิตร 
      
        พ่อค้าบางคนที่ได้กำไร ข้าราชการบางคนที่ได้เงินจากบริษัท และนักวิชาการที่ถูกจ้างมาพูด จึงพูดหลอกประชาชนว่าค่าการตลาดน้อย ติดลบอยู่บ่อยๆ โดยสมมติราคา ณ โรงกลั่นของตนให้สูงขึ้นเพื่อให้ตัวเลขค่าการตลาดเป็นตัวเลขติดลบ โดยไม่พูดถึงกำไรสูง 6.7 บาท ต่อลิตรที่ถูกซ่อนไว้ที่โรงกลั่น (ตลาดปั๊มเอกชนเล็กๆ น้อยๆ จึงถูกบีบจากราคา ณ โรงกลั่น)
      
       4. ทำไมคณะกรรมการนโยบายฯ จึงได้ตั้งสูตรราคาขายน้ำมัน (หายนะ) ณ โรงกลั่น ให้สูงมากสร้างกำไรให้บริษัท แต่สร้างหายนะให้คนไทย
       ตอบ : เพราะกรรมการบางคนมีผลประโยชน์ทับซ้อน
      
        หลังจากการแปรรูป ขาย ปตท. เข้าตลาดหุ้นปี 2545 มีข้าราชการบางคนในคณะกรรมการนโยบายพลังงาน และกระทรวงมีผลประโยชน์ทับซ้อน เอาบริษัทโรงกลั่นหลายแห่งของ ปตท. เข้าขายในตลาดหุ้น แล้วเข้าไปเป็นประธาน เป็นกรรมการบริษัทโรงกลั่นเอกชนเล่นหุ้น ได้หุ้นราคาถูกกว่า IPO ได้เบี้ยประชุม ได้โบนัส ได้กำไรหุ้น ได้เงินปันผล (บางบริษัทให้โบนัสคณะกรรมการ 50 ล้านบาทต่อปี ผู้บริหาร ข้าราชการบางคนได้ประโยชน์มากกว่า 100 ล้านบาทจากหุ้น) ได้กำหนดสูตรราคาหายนะ ณ โรงกลั่นไว้ ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2546
      
        เปิดรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทน้ำมันที่กระทรวงพาณิชย์และตลาดหลักทรัพย์จะพบภรรยา กรรมการนโยบายพลังงานบางคนถือหุ้นบริษัทน้ำมันด้วย
      
       5. ควรเปลี่ยนสูตรราคาขาย ณ โรงกลั่นเป็นอย่างไร
       ตอบ : ควรกำหนดสูตรราคาขายน้ำมันดีเซล ณ โรงกลั่น เท่ากับราคาที่สิงคโปร์ลบ (-) 2 บาทต่อลิตร
      
        บริษัทโรงกลั่นทั้งหมดกลั่นน้ำมันประมาณ 900,000 บาร์เรลต่อวัน ขายในประเทศวันละมากกว่า 700,000 บาร์เรล อีกเกือบ 200,000 บาร์เรล ใช้ส่งออกไปขายต่างประเทศ สิงคโปร์ฯลฯ
      
        ดังนั้นการตั้งราคาในประเทศต้องตั้งให้ต่ำกว่าราคาที่สิงคโปร์ 1 - 2 บาทต่อลิตร เพราะเมื่อบวกกำไร ค่าใช้จ่าย ค่าขนส่ง ไปสิงคโปร์อีก 1 - 2 บาทต่อลิตร ก็ต้องไม่สูงกว่าราคาตลาดสิงคโปร์ (ที่ผ่านมาน้ำมันส่วนที่ได้ส่งออกไปขายต่างประเทศราคาถูกกว่าขายในประเทศ)
      
        ถ้าทำให้สูตรราคาดีเซลลดลง 3 บาทต่อลิตร คูณด้วยการใช้ทั้งประเทศ 19,000 ล้านลิตรต่อปี กำไรของกลุ่มบริษัทจะลดลงเพียง 57,000 ล้านบาท บริษัทก็ยังคงเหลือกำไรอีกมากกว่า 110,000 ล้านบาทต่อปีอยู่ดี
      
       6. ใครมีอำนาจเปลี่ยนสูตรราคาให้คนไทยพ้นหายนะ
       ตอบ : นายกรัฐมนตรี เพราะเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติตามกฎหมาย
      
       7. ข้อมูลที่ควรทราบเพื่อไม่ให้ถูกหลอก
      
        1. อย่าเพิ่งเชื่อพ่อค้าที่ได้กำไร ข้าราชการบางคนที่ได้เงินบริษัท นักวิชาการที่ถูกจ้างมาพูดเท็จ
      
        2.1 เหรียญต่อบาร์เรล เมื่อคูณ 0.2 จะเป็นราคาบาทต่อลิตร
      
        3. ราคาน้ำมันดิบในต่างประเทศ 120 -130 เหรียญต่อบาร์เรล ที่พ่อค้าพูด เป็นราคาอีก 1-2 เดือนข้างหน้า ไม่เป็นเหตุผลให้ขึ้นราคาพรุ่งนี้ บางบริษัทได้กำไรเฉพาะจากเอาสต๊อกถูกมาขายแพงมากกว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี
      
        4. สูตรราคาน้ำมัน ไม่จำเป็นต้องอิงราคาแพงในสิงคโปร์ ตัวอย่างเช่น LPG เราใช้อิงราคาต่ำกว่าราคา LPG ที่ตะวันออกกลางมานานแล้ว
      
        เรื่องนี้เป็นหน้าที่รัฐบาล(มานานแล้ว) ครับ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น