ทวงคืน ปตท.
ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..
วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ก๊าซฯ จากอ่าวไทย ถูกสุด สำหรับโรงไฟฟ้า
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของไทยจะเพิ่มสูงขึ้นตาม GDP และปัจจัยเสริมต่างๆ เช่น การเติบโตภาคอุตสาหกรรม และโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย จึงปฏิเสธไม่ได้ที่ไทยต้องเร่งสรรหากำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มเพื่อลดความเสี่ยง จากเหตุแบล็คเอาท์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจ เป็นภาระให้ EGAT ต้องหาวิธีเพิ่มโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในประเทศเพื่อรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่จะ สูงขึ้นดังกล่าว ในขณะเดียวกัน EGAT ก็ต้องเผชิญกับแรงต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์ที่ค่อนข้าง รุนแรง จึงดูเหมือนว่า โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติอาจเป็นทางออกทางเดียวของไทย ทั้งๆ ที่ในปัจจุบัน ไทยใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงถึง 70% ของเชื้อเพลิงทั้งหมดอยู่แล้ว ในอนาคตเมื่อก๊าซธรรมชาติที่ผลิตในประเทศหมดลง อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าของไทยคงต้องพึ่งพาการนำเข้า LNG ในสัดส่วนที่สูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้
LNG นำเข้าจำเป็นต้องมีสัดส่วนมากขึ้นในการผลิตไฟฟ้าเพราะปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติของไทยไม่เพียงพอสำหรับอนาคต
ก๊าซ ธรรมชาติที่ใช้ในไทยมาจาก 3 แหล่ง หลักๆ คือ อ่าวไทย พม่า และ นำเข้าในรูปของก๊าซอัดเหลว (Liquefied Natural Gas: LNG) จากต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ไนจีเรีย เปรู กาตาร์ และรัสเซีย โดยประมาณการสัดส่วนของ ก๊าซฯ ที่ใช้ผลิตไฟฟ้าในปี 2012 ได้แก่ ก๊าซฯ จากอ่าวไทย 79% ก๊าซฯ จากพม่า 18% และ LNG 3% แต่ก๊าซฯ จากอ่าวไทยซึ่งเป็นแหล่งก๊าซฯ หลักนั้นกำลังร่อยหรอลง โดย Worst-case Scenario ตามคาดการณ์ของสถาบันวิจัยทั่วโลกคือมีแนวโน้มที่ก๊าซฯ จากอ่าวไทยจะไม่มีเหลือใช้ภายหลังปี 2020 นอกจากนั้นแล้ว ยังมีความเสี่ยงจากการระงับการต่อสัญญาซื้อขายก๊าซฯ จากพม่าที่จะหมดสัญญาราวปี 2030 อีกด้วย เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าในพม่าก็กำลังเติบโตในอัตราเร่งตัวเช่นกัน ถึงแม้ไทยจะมีแผนการนำเข้าก๊าซฯ ผ่านท่อจากกัมพูชา ทว่ายังขาดความแน่นอนจากรัฐบาลทั้งสองฝ่าย จึงดูเหมือนอนาคตไทยจะต้องติดอยู่กับการพึ่งพา LNG มากขึ้นอีกหลายเท่าตัว
ทำให้ราคา pool gas สูงขึ้นซึ่งนั่นคือต้นทุนของผู้ผลิตไฟฟ้า
ราคา ก๊าซฯ ที่ผู้ผลิตไฟฟ้ารับซื้อนั้นเรียกว่า pool gas ประกอบไปด้วย 1) ก๊าซฯ จากอ่าวไทยที่เหลือจากการจำหน่ายให้โรงแยกก๊าซฯ ซึ่งมีราคาถูกที่สุด 2) ก๊าซฯ ที่นำเข้าตามท่อก๊าซฯ ที่เชื่อมโยงกับต่างประเทศ เช่น ท่อก๊าซฯ ที่เชื่อมต่อกับพม่า ซึ่งแพงกว่าก๊าซฯ จากอ่าวไทยราว 40% และ 3) LNG ซึ่งมีราคาสูงที่สุด โดยปัจจุบันราคาตลาดของ LNG ในภูมิภาคเอเชียสูงกว่าก๊าซฯ จากอ่าวไทยเกือบเท่าตัว จากต้นทุนค่าขนส่งและค่าแปรสถานะก๊าซฯ ให้อยู่ในรูปของเหลวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง และค่าแปลง LNG ให้กลับมาอยู่ในรูปของก๊าซฯ ก่อนนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ยิ่งไปกว่านั้น อุปสงค์ที่สูงขึ้นจากแนวโน้มความต้องการ LNG ของญี่ปุ่นเพื่อทดแทนพลังงานนิวเคลียร์ บวกกับการที่ผู้ส่งออกในภูมิภาคหลายรายที่เริ่ม “กอดแหล่งก๊าซฯ” ของตนเพื่อใช้ในประเทศมากขึ้น ทำให้ราคา LNG มีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะปานกลาง
อย่าง ไรก็ตาม ทิศทางของราคาอาจมีแนวโน้มลดลงได้ในระยะยาวด้วยอุปทานก๊าซฯ ที่เพิ่มขึ้นจากแหล่ง shale gas และก๊าซฯ ประเภทอื่น (unconventional gas) ที่ค้นพบใหม่ ซึ่งอุปทานที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้จะสร้างแรงกดดันต่อราคา LNG โดย Facts Global Energy (FGE) ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานในเอเชีย ได้มีการคาดการณ์ไว้ว่า ราคา LNG ในภูมิภาคเอเชียถึงแม้จะมีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 18 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ MMBTU ในปี 2020 จากราคาปัจจุบันที่ประมาณ 17 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่มีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวลงมาอยู่ที่ 15 ดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ในปี 2030 แม้ว่าราคา LNG ในอนาคตจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลง คาดว่าไม่น่าต่ำไปกว่าราคาก๊าซฯ ในอ่าวไทยและราคาก๊าซฯ จากพม่าที่ใช้อยู่เป็นหลักในปัจจุบัน
ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าที่ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระอาจสูงขึ้นเกือบเท่าตัวได้
SCB EIC ได้ประมาณการค่าไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2020 และในปี 2030 โดยอิงฐานจากราคาของปี 2012 และให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่ โดยในแต่ละปีปรับเพียง 1) ราคาก๊าซฯ ทั้ง 3 ประเภทตามสมมติฐานซึ่งยึดประมาณการราคาของ FGE สำหรับราคา LNG 2) สัดส่วนของก๊าซฯ ทั้ง 3 ประเภทตาม Worst-case Scenario (รูปที่ 1) และ 3) ปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าซึ่งยึดตามแผน PDP 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 (รูปที่ 1) จากการประมาณการพบว่า ราคาค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยปี 2012 ซึ่งอยู่ที่ราว 3.44 บาทต่อหน่วย เป็น 4.85 บาทต่อหน่วยในปี 2020 และ 6.12 บาทต่อหน่วยในปี 2030 (รูปที่ 2) โดยอัตราค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 15 สตางค์ในช่วงปี 2012-2030 จะเป็นการคงแนวโน้มอัตราการเติบโตของค่าไฟฟ้าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ราว 18 สตางค์ต่อปี เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ในปัจจุบันถ้าผู้บริโภคภาคครัวเรือนใช้ไฟฟ้า 300 หน่วย จะมีภาระค่าไฟฟ้าประมาณ 1,100 บาทต่อเดือน แต่ในปี 2030 จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเป็นเงิน 2,000 บาทต่อเดือนหากใช้ไฟฟ้าในปริมาณเท่าเดิม ซึ่งการประมาณการอัตราค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของ SCB EIC ยังไม่ได้นับรวมถึงต้นทุนการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม และต้นทุนจากพลังงานหมุนเวียนที่จะมีสัดส่วนและราคาที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าจะเป็นผู้ที่แบกรับภาระมากที่สุดเนื่องจากการผลักภาระจาก EGAT และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน
ถึงแม้ว่าก๊าซฯ จากอ่าวไทยใกล้จะหมดลง ทว่าโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีที่สุด
โรง ไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติเหมาะแก่การเป็นโรงไฟฟ้าฐาน (Base Load Plant) ที่สามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลา และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำที่สุดในกลุ่มโรงไฟฟ้า Base Load อีกทั้งยังได้รับการต่อต้านจากมวลชนน้อยกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน และนิวเคลียร์ ทั้งนี้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่ยังไม่เหมาะสมที่จะเป็น โรงไฟฟ้า Base load ในปัจจุบัน เนื่องจากต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนบางประเภทยังสูงกว่ากลุ่ม Base Load อยู่มาก และส่วนใหญ่ยังเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่ผลิตไฟฟ้าในปริมาณน้อยจึงมีต้นทุนสูง นอกจากนี้พลังงานหมุนเวียนยังมีปัญหาอื่นๆ เช่นชีวมวลยังมีความเสี่ยงด้านความผันผวนด้านอุปทานของเชื้อเพลิง ในขณะที่โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น
อุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก รวมทั้งภาคครัวเรือนควรจะต้องปรับตัวจากค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อุตสาหกรรม ผลิตอาหาร ค้าส่งค้าปลีก และอุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งมีอัตราการใช้ไฟฟ้าค่อนข้างสูง สามารถลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าได้ เช่น การเข้าร่วมทุนกับบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO Venture Capital) การเข้าร่วมโครงการ Demand-Side Management Bidding (DSM Bidding) เพื่อขอรับเงินสนับสนุนลงทุนลดการใช้ไฟฟ้าจากภาครัฐ และการเพิ่มกำลังการผลิตในช่วงกลางคืนหรือเสาร์อาทิตย์ (Off-Peak) ซึ่งมีค่าไฟฟ้าที่ถูกกว่า ส่วนทางด้านภาคครัวเรือนอาจมีแนวทางปรับตัวไม่มากนักนอกเหนือไปจากการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยหากทั้งประเทศสามารถลดการใช้ไฟฟ้าตามแผนที่รัฐตั้งเป้าไว้ที่ 25% ได้จริง จะเห็นว่าสามารถช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าได้ค่อนข้างมาก โดยคาดว่าราคาค่าไฟฟ้าจะปรับขึ้นเป็นราว 3.65 บาทต่อหน่วยในปี 2020 และ 4.61 บาทต่อหน่วยในปี 2030 ตาม Efficient Case ดังรูป
อีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมอาจนำมาใช้เพื่อลดต้นทุนนั่นคือการผลิตไฟฟ้าใช้เอง
โรง ไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าราว 3.00-3.50 บาทต่อหน่วย ซึ่งถูกกว่าค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน และไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากการใช้ยังสามารถนำมาขายเข้าระบบได้อีกด้วย
การนำเข้า LNG เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าในอนาคตในสัดส่วนที่สูงเช่นนี้ จะทำให้ก๊าซธรรมชาติกลายเป็นหนึ่งในสินค้านำเข้าที่สำคัญของไทย
ปัจจุบัน มูลค่าการนำเข้าก๊าซฯ คิดเป็นประมาณ 2% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด แต่ในปี 2030 เมื่อไม่เหลือก๊าซฯ จากอ่าวไทยและพม่าให้ใช้ การนำเข้าก๊าซฯ ทั้งหมดในรูปของ LNG นั้นจะปรับตัวสูงขึ้นถึง 4-5% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด (โดยใช้สมมติฐานว่าการเติบโตของมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 8-10% ต่อปี)
วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สูตรราคาน้ำมัน (หายนะ) ณ โรงกลั่น
1. ทำไมน้ำมันในไทยจึงแพงผิดปกติ ตอบ : เป็นเพราะกลุ่มบริษัทโรงกลั่นน้ำมันและ ปตท.ใช้โอกาสบวกกำไรเพิ่มอีก 169,438 ล้านบาท หรือเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าเดิม 700 % (ตาราง 1) | |||
บริษัทโรงกลั่น 5 แห่งเป็นเครือบริษัท ปตท.ผูกขาดกำลังกลั่น 83% บางบริษัทกำไรเพิ่มถึง 50 เท่า ปตท. บอกว่าผลกำไร 2 ใน 3 ของบริษัท ปตท. (เกือบ 70,000 ล้านบาท) มาจากก๊าซ ,LPG , NGV ฯลฯ (กำไรก๊าซทำให้ราคาไฟฟ้าแพง) ดังนั้นกำไรมหาศาลที่เหลืออีกมากกว่า 100,000 ล้านบาทของบริษัททั้ง 8 แห่งมาจากน้ำมัน กำไรเพิ่ม 700-800 % สูงขึ้นกว่าปี 2544 - 2545 ในขณะที่เราใช้น้ำมันเพิ่มเพียงปีละ 3% ตัวเลขกำไรเป็นตัวเลขทางการที่บริษัทรายงานตามกฎหมายใช้เสียภาษี ปันผล ฯลฯ จึงไม่สามารถปฏิเสธได้ อาจมีกำไรมากกว่านี้ที่สามารถซ่อนไว้ในบัญชีสต๊อก ฯลฯ หรืออาจมีบัญชีกำไรซ้อนระหว่างกันที่คนภายนอกไม่สามารถรู้ทั้งหมดได้ 2. ทำไมบริษัทโรงกลั่นสามารถขายน้ำมันราคาแพง และเอากำไรจากคนไทยเพิ่มขึ้นผิดปกติมากกว่าปีละ100,000 ล้านบาทได้ ตอบ : เป็นเพราะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้สมมติตั้งสูตรราคาขายน้ำมัน (หายนะ) ณ โรงกลั่นให้บริษัทโรงกลั่นได้กำไรสูงกว่าต้นทุนจริงมาก (ตาราง2) | |||
ดังนั้นน้ำมันดิบพื้นฐานโอมานที่บริษัทโรงกลั่นนำเข้ามากลั่นส่วนใหญ่ราคา122 เหรียญต่อบาร์เรล จึงมีต้นทุนเท่ากับ 24.8 บาทต่อลิตร รวมค่าใช้จ่ายการกลั่นเฉลี่ยทั้งหมด 1.5 บาทต่อลิตร (1.3 - 1.7 บาทต่อลิตร) จึงเป็นต้นทุนน้ำมันเฉลี่ยทั้งสิ้น 26.3 บาทต่อลิตร แต่คณะกรรมการนโยบายพลังงาน ได้สมมติสูตรราคาขายดีเซล ณ โรงกลั่นให้บริษัทขึ้นให้เท่ากับราคาสิงคโปร์บวกอีก 0.8 บาทต่อลิตร หรือเท่ากับ 33.0 บาทต่อลิตร ทำให้บริษัทขายน้ำมันดีเซล ณ โรงกลั่นได้ สูงกว่าต้นทุนการกลั่นถึง 6.7 บาทต่อลิตร (ทั้งๆ ที่ราคาสิงคโปร์เป็นตลาดเก็งกำไรเหมือนเล่นหุ้น) ในการกลั่นน้ำมันดิบนั้นจะได้น้ำมันประมาณ 6 ชนิดที่ให้กำไรตามสูตรเช่นนี้สูงกว่าต้นทุน และมี 1 ชนิดที่ได้ราคาต่ำกว่า ดังนั้นการที่ตั้งสูตรสมมติราคาขาย ณ โรงกลั่นให้สูงกว่าปกติ ก็จะสร้างกำไรสูงผิดปกติให้บริษัทโรงกลั่นมหาศาล นอกเหนือจากกำไรจากสต๊อก ฯลฯ 3. ทำไมพ่อค้า ข้าราชการบางคน หรือนักวิชาการที่ถูกจ้างมาพูด มักพูดแต่เรื่องค่าการตลาด (ตาราง 3) | |||
พ่อค้าบางคนที่ได้กำไร ข้าราชการบางคนที่ได้เงินจากบริษัท และนักวิชาการที่ถูกจ้างมาพูด จึงพูดหลอกประชาชนว่าค่าการตลาดน้อย ติดลบอยู่บ่อยๆ โดยสมมติราคา ณ โรงกลั่นของตนให้สูงขึ้นเพื่อให้ตัวเลขค่าการตลาดเป็นตัวเลขติดลบ โดยไม่พูดถึงกำไรสูง 6.7 บาท ต่อลิตรที่ถูกซ่อนไว้ที่โรงกลั่น (ตลาดปั๊มเอกชนเล็กๆ น้อยๆ จึงถูกบีบจากราคา ณ โรงกลั่น) 4. ทำไมคณะกรรมการนโยบายฯ จึงได้ตั้งสูตรราคาขายน้ำมัน (หายนะ) ณ โรงกลั่น ให้สูงมากสร้างกำไรให้บริษัท แต่สร้างหายนะให้คนไทย ตอบ : เพราะกรรมการบางคนมีผลประโยชน์ทับซ้อน หลังจากการแปรรูป ขาย ปตท. เข้าตลาดหุ้นปี 2545 มีข้าราชการบางคนในคณะกรรมการนโยบายพลังงาน และกระทรวงมีผลประโยชน์ทับซ้อน เอาบริษัทโรงกลั่นหลายแห่งของ ปตท. เข้าขายในตลาดหุ้น แล้วเข้าไปเป็นประธาน เป็นกรรมการบริษัทโรงกลั่นเอกชนเล่นหุ้น ได้หุ้นราคาถูกกว่า IPO ได้เบี้ยประชุม ได้โบนัส ได้กำไรหุ้น ได้เงินปันผล (บางบริษัทให้โบนัสคณะกรรมการ 50 ล้านบาทต่อปี ผู้บริหาร ข้าราชการบางคนได้ประโยชน์มากกว่า 100 ล้านบาทจากหุ้น) ได้กำหนดสูตรราคาหายนะ ณ โรงกลั่นไว้ ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2546 เปิดรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทน้ำมันที่กระทรวงพาณิชย์และตลาดหลักทรัพย์จะพบภรรยา กรรมการนโยบายพลังงานบางคนถือหุ้นบริษัทน้ำมันด้วย 5. ควรเปลี่ยนสูตรราคาขาย ณ โรงกลั่นเป็นอย่างไร ตอบ : ควรกำหนดสูตรราคาขายน้ำมันดีเซล ณ โรงกลั่น เท่ากับราคาที่สิงคโปร์ลบ (-) 2 บาทต่อลิตร บริษัทโรงกลั่นทั้งหมดกลั่นน้ำมันประมาณ 900,000 บาร์เรลต่อวัน ขายในประเทศวันละมากกว่า 700,000 บาร์เรล อีกเกือบ 200,000 บาร์เรล ใช้ส่งออกไปขายต่างประเทศ สิงคโปร์ฯลฯ ดังนั้นการตั้งราคาในประเทศต้องตั้งให้ต่ำกว่าราคาที่สิงคโปร์ 1 - 2 บาทต่อลิตร เพราะเมื่อบวกกำไร ค่าใช้จ่าย ค่าขนส่ง ไปสิงคโปร์อีก 1 - 2 บาทต่อลิตร ก็ต้องไม่สูงกว่าราคาตลาดสิงคโปร์ (ที่ผ่านมาน้ำมันส่วนที่ได้ส่งออกไปขายต่างประเทศราคาถูกกว่าขายในประเทศ) ถ้าทำให้สูตรราคาดีเซลลดลง 3 บาทต่อลิตร คูณด้วยการใช้ทั้งประเทศ 19,000 ล้านลิตรต่อปี กำไรของกลุ่มบริษัทจะลดลงเพียง 57,000 ล้านบาท บริษัทก็ยังคงเหลือกำไรอีกมากกว่า 110,000 ล้านบาทต่อปีอยู่ดี 6. ใครมีอำนาจเปลี่ยนสูตรราคาให้คนไทยพ้นหายนะ ตอบ : นายกรัฐมนตรี เพราะเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติตามกฎหมาย 7. ข้อมูลที่ควรทราบเพื่อไม่ให้ถูกหลอก 1. อย่าเพิ่งเชื่อพ่อค้าที่ได้กำไร ข้าราชการบางคนที่ได้เงินบริษัท นักวิชาการที่ถูกจ้างมาพูดเท็จ 2.1 เหรียญต่อบาร์เรล เมื่อคูณ 0.2 จะเป็นราคาบาทต่อลิตร 3. ราคาน้ำมันดิบในต่างประเทศ 120 -130 เหรียญต่อบาร์เรล ที่พ่อค้าพูด เป็นราคาอีก 1-2 เดือนข้างหน้า ไม่เป็นเหตุผลให้ขึ้นราคาพรุ่งนี้ บางบริษัทได้กำไรเฉพาะจากเอาสต๊อกถูกมาขายแพงมากกว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี 4. สูตรราคาน้ำมัน ไม่จำเป็นต้องอิงราคาแพงในสิงคโปร์ ตัวอย่างเช่น LPG เราใช้อิงราคาต่ำกว่าราคา LPG ที่ตะวันออกกลางมานานแล้ว เรื่องนี้เป็นหน้าที่รัฐบาล(มานานแล้ว) ครับ... |
ความจริงที่คนไทยไม่เคยรู้ และยากที่จะรู้ แต่สามารถรู้ได้
ความจริงที่คนไทยไม่เคยรู้ และยากที่จะรู้ แต่สามารถรู้ได้
โดย ม.ล. กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
________________________________________________________________________________
1. ประเทศไทยผลิตน้ำมันดิบ ติดอันดับ 33 ของโลก
ข้อมูลของรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา EIA ได้จัดอันดับไทยให้อยู่่ลำดับที่ 24 ของโลกในการผลิตก๊าซธรรมชาติ และลำดับที่ 33 ของโลกในการผลิตน้ำมัน จากประเทศที่ผลิตน้ำมันกว่า 200 ประเทศ โดยสูงกว่าประเทศบรูไนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเศรษฐีน้ำมัน
แต่ทำไมส่วนแบ่ง
ผลประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมของไทยจึงต่ำที่สุดในกลุ่มอาเซียน
และต่ำกว่าประเทศที่สูบน้ำมันและก๊าซได้น้อยกว่าประเทศไทย เช่น
พม่าหรือกัมพูชา ???
สาเหตุเพราะ ประเทศไทยไม่เคยเจาะสำรวจปริมาณสำรองของแหล่งพลังงาน ทำให้
ไม่มีข้อมูล โดย
ตรง จึงต้องเชื่อข้อมูลที่ได้รับสัมปทานโดยตรง ฝ่ายเดียว
ซึ่งต่างจากประเทศอื่นที่ต้องสำรวจศักยภาพปิโตรเลียมก่อนแล้วจึงให้สัมปทาน
การที่มาอ้างว่าไม่มีงบประมาณ
ทั้งๆที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 20 ปี
มูลค่าก๊าซและน้ำมันดิบที่สูงกว่า 3.4 ล้าน ล้าน บาท
ก็จะสูงกว่าค่าขุดเจาะมาก คือเสียเพียง 3.4 หมื่นล้านบาท
(ซึ่งคิดเป็นเพียง 1%ของรายได้ที่ควรได้ ) แต่กลับไม่ทำ
ในขณะที่กัมพูชายังจ้างบริษัทที่ปรึกษาถึง2บริษัทเพื่อมาประเมินศักยภาพ
ปิโตรเลียมในประเทศตน (แต่ไทยไม่ทำ)
2. น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติบนขวานทองของไทย
ปิโตรเลียม (ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ) ของประเทศไทย
มีทั้งบนบกและในทะเล (ข้อมูลที่ยืนยันคือประเทศไทย พบซากฟอสซิลไดโนเสาร์
จำนวนมาก แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่)
ข้อมูลจากองค์กรกลุ่มโอเปกในรายงานประจำปี (Annual Statistical Bulletin
2010/2011) ระบุว่าไทยมีก๊าซธรรมชาติ มากกว่า กลุ่มประเทศโอเปก 8 ประเทศ
ทุกวันนี้ประเทศไทยมีบ่อผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ 2768 แห่ง
3. ประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติ ติดอันดับ 24 ของโลก
ปัจจุบัน ราชการอ้างว่า ปิโตรเลียมบ่อเล็กกำลังจะหมด
แต่จากรายงานประจำปีของกระทรวงพลังงาน พบว่า
ปริมาณน้ำมันปิโตรเลียมที่ขุดได้กลับเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่าน
มา ข้อมูลการขุดน้ำมันในเดือนพฤษภาคม 2555 คือ 1ล้านบาร์เรล หรือ 160
ล้านลิตรต่อวัน
Census Bureau (หน่วยงาน กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ)
จัดประเทศไทย ให้อยู่ในกลุ่ม World Major Producer ของก๊าซธรรมชาติ
ติดอันดับการผลิตน้ำมัน Top 15% ของโลก
แต่ผลประโยชน์ที่กลับคืนสู่ประเทศไทยกลับต่ำกว่า
ประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตที่ต่ำกว่า
ที่ประเทศสหรัฐ
จะมีการทำข้อมูลทรัพยากรปิโตรเลียมอย่างโปร่งใส
มีหน่วยงานกลางคอยเก็บข้อมูลเพื่อป้องกันการสร้างผลประโชน์ทับซ้อยของคน
บางกลุ่ม นอกจากนั้นสหรัฐ ยังมีระบบที่สามารถตรวจสอบและถ่วงดุลกันได้
ในขณะที่ประเทศไทยกลับเอาผู้มีผลประโยชน์ทางด้าน
พลังงาน ไปนั้งกำกับดูแลธุรกิจพลังงาน
และคนดูแลเก็ยข้อมูลพลังงานกลับมีผลประโยชน์ร่วมกับผู้รับสัมปทาน
ทำให้งบการเงินของบริษัทขุดเจาะและผู้ค้าน้ำมัน
มีกำไรมหาศาลจากปิโตรเลียมของไทย เป็นหลายแสนล้าน
4. สหรัฐนำเข้า น้ำมันดิบจากไทย แต่ขายถูกกว่าไทยลิตรละ 10 บาท
คนไทยใช้น้ำมันเบนซิน ดีเซลเพียง 73-75 ล้านลิตร
ซึ่งเป็นอัตราคงที่มากว่า 8 ปีแล้ว ไทยส่งออกน้ำมันดิบชั้นดี มีมลภาวะต่ำ
ไปขายสหรัฐ มีข้อมูลในเวบของ Census Bureau (http://www.census.gov) ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์ สหรัฐ ระบุชัดเจนว่า สหรัฐนำเข้าน้ำมันดิบจากไทยมานานแล้ว
ปี 2551 ไทยส่งออกปิโตรเลียม (น้ำมันสำเร็จรูป
น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว) รวมเกือบ 300,000 ล้านบาทหรือประมาณ 9,000
ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นมูลค่าที่มากกว่าข้าวและยางพารา
ต้นเดือน มกราคมปี 2555
ไทยส่งออกน้ำมันดิบไปสหรัฐมาถึง 1.2 ล้านบาร์เรล
แต่ราคาน้ำมันเบนซินหน้าปั้มของสหรัฐ
กลับมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินที่ขายในไทยถึงลิตรละ 10-14 บาท
ทั้งๆที่สหรัฐเป็นประเทศการค้าเสรี ที่บริษัทพลังงานไม่อุดหนุนราคาน้ำมัน
ดังนั้นแม้สหรัฐจะขายในราคานี้ สหรัฐก็ยังมีกำไรแน่นอน
Assessment of Undiscovered Oil and Gas Resources of
Southeast Asia, 2010
http://pubs.usgs.gov/fs/2010/3015/pdf/FS10-3015.pdf
5. ประเทศไทยให้สัมปทานขุดน้ำมันถูกที่สุดแต่ราคาน้ำมัน กลับแพงที่สุดในอาเซียน
นอกจากนี้ ประเทศไทย
ยังส่งน้ำมันดิบไปขายให้แก่ประเทศเกาหลีใต้และสิงคโปร์อีกด้วย
ปรากฏว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้สัมปทานน้ำมันถูกที่สุด
แต่ราคาน้ำมันที่คนไทยซื้อกลับแพงที่สุด
แต่ผลประโยชน์จากปิโตรเลียมที่ไทยเก็บได้
เป็นเพียงร้อยละ 30 ของมูลค่าที่แท้จริง
ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับความเป็นแหล่งปิโตรเลียม
ที่ติดอันดับโลกของไทย ดังตาราง
6. ผลประโยชน์จากแผ่นดินต้องกลับคืนสู่มือประชาชน มิใช่นายทุน
ในประเทศที่เขามีทรัพยากรมากมายแบบประเทศไทยขนาดนี้ เขาจะเอาเงินมาพัฒนาประเทศ ทำให้ประชากรของเขาอยู่ดี กินดี เรียนฟรี มีการรักษพยาบาลฟรี
แต่เป็นที่น่าเศร้าสำหรับประเทศไทย ที่คนไทยกลับมีชีวิตที่ยากเข็ญ ประชากรส่วนใหญ่มีหนี้สิน อดมื้อกินมื้อ ทำงานหนัก หาเช้ากินค่ำ
7. ประเทศไทยให้สัมปทานขุดน้ำมันถูกที่สุดแต่ราคาน้ำมันกลับแพงที่สุดในอาเซียน
จะเห็นได้ว่า
ระบบสัมปทานน้ำมันดิบและก๊าซปิโตรเลียม ทำให้บริษัทเจ้าของสัมปทานรวย
ในขณะที่ประชาชนเจ้าของประเทศ เจ้าของทรัพยากร กลับต้องปากกัดตีนถีบ
กระทรวงพลังงาน เคยชี้แจงต่อคณะกรรมการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต วุฒิสภา โดยกระทรวงพลังงานขอให้เห็นใจบริษัทผู้รับสัมปทานว่า การขุดเจาะและสำรวจพลังงานเป็นเรื่องยากและได้กำไรน้อย ทั้งๆที่ในปัจจุบันความจริงปรากฏว่า บริษัทผู้รับสัมปทาน ได้กำไร หลายแสนล้านบาท
คงต้องเป็นหน้าที่ของคนไทยทั้งแผ่นดินแล้วว่า ควรออกมาทวงสิทธิของตนเอง
|
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
โมเดล Energy Bridge เมกะโปรเจคท่อน้ำมันเลื้อยทั่วไทย
โมเดล Energy Bridge เมกะโปรเจคท่อน้ำมันเลื้อยทั่วไทย
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=847597
ผมได้เห็นข่าวโครงการลงทุนเรื่องเส้นทางขน
ส่งน้ำมัน
ของกระทรวงพลังงานล่าสุดก็น่าสนใจว่าจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่จะเริ่มเห็น
กันเร็ว ๆ นี้และจะลอดฝังใต้ดินในเส้นทางหลายพื้นที่
เป้าประสงค์ที่ทางกระทรวงพลังงานโดย นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน บอกคือเพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงาน
รวมถึงลดต้นทุนทางโลจิสติกส์ เป็นหนึ่งในแผนภาพรวมพลังงานของประเทศ ระยะยาว
20 ปี ที่ สนพ.กำลังศึกษา ซึ่งจะมีทั้งเรื่องความต้องการ การจัดหา
โดยจะดูแหล่งที่มาของพลังงานทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติเหลว ก๊าซธรรมชาติ
โครงการนี้ใช้ชื่อว่า Energy Bridge หรือ เอ็นเนอร์ยี บริดจ์ ที่จะเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันใหม่ ในภูมิภาค โดยเล็งไว้ 3 เส้นทางคือ
1.ท่อส่งน้ำมันจาก อ.เขาหลัก จ.พังงาสู่
อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ระยะทางรวม 250 กิโลเมตร โดยสองฝั่งมีคลังน้ำมัน 20
ล้านบาร์เรล โครงการนี้เป็นการแบ่งส่วนมาจาก โครงการแลนบริดจ์ของภาคใต้
หรือ สะพานเศรษฐกิจของกระทรวงคมนาคม
ซึ่งเดิมเป็นโครงการที่จะดำเนินการครบวงจร ทั้งท่าเรือน้ำลึก ถนน ทางรถไฟ
ท่อส่งน้ำมัน และท่อส่งก๊าซธรรมชาติ
2. ท่อส่งน้ำมันจากท่าเรือน้ำลึกทวายของพม่าสู่ อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ระยะทางรวม 500 กิโลเมตร
3.เดินท่อในทะเลขึ้นฝั่งที่ อ.มาบตาพุด จ.ระยอง ภานใน 1- 2 เดือน
ส่วนวิธีการลงทุนมีหลายรูปแบบ
เช่นรัฐบาลไทยลงทุนเองทั้งหมด หรือว่าร่วมทุนกับนักลงทุนอื่นๆ
หรือผู้ค้าน้ำมันร่วมกันลงทุน
ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีกระแสของทุนจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ
ดูไบเวิล์ดมาจ้องทำสะพานเศรษฐกิจที่ภาคใต้ ก็น่าจะเข้าเค้าครับ
โดยหลักการเหตุผลโครงการนี้ระบุว่า
ปัจจจุบันช่องแคบสิงคโปร์ที่รองรับการส่งน้ำมันได้วันละ 17 ล้านบาร์เรล
แต่ว่าอีก 20 ปี มีความต้องการน้ำมันของไทยและภูมิภาคจะเพิ่มเป็น 25
ล้านบาร์เรล
ในรายงานข่าวระบุว่าท่อเชื่อม
อันดามัน-อ่าวไทย
จุดที่เหมาะสมจะเป็นการสร้างท่อน้ำมันตามแนวถนนที่ก่อสร้างไว้แล้ว
ระยะทางประมาณ 200-300 กิโลเมตร สร้างจาก จ.พังงา มายัง อ.สิชล
จ.นครศรีธรรมราช โดยจะมีการสร้างคลังน้ำมันรองรับในพื้นที่ อ.สิชล
ในขณะที่พื้นที่รับน้ำมันที่ จ.พังงา จะสร้างสะพานเชื่อม หรือเจ็ตตี้
ลงกลางทะเล สูบน้ำมันดิบเข้ามา จึงไม่ส่งผลกระทบท่อสิ่งแวดล้อมมากนัก
คาดท่อจะขนส่งน้ำมันได้ราว 8-10 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งระบบคลังและท่อนี้
จะช่วยสร้างความมั่นคง รองรับแผนการเพิ่มสำรองน้ำมันของประเทศจาก 36 วัน
เป็น 90 วัน ซึ่งลูกค้านอกจากใช้ในไทยแล้วยังเป็นลูกค้าในจีน ญี่ปุ่น
เกาหลีใต้ รวมทั้งกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง
ส่วนท่อน้ำมัน ทวาย จะเป็นการสร้างท่อรองรับน้ำมันดิบขนาด 2 ล้านบาร์เรลวัน สร้างเชื่อมท่อบนบกระหว่างทวาย-บ้านแหลม จ.เพชรบุรี หลังจากนั้น เป็นท่อทางทะเล ไปยังโรงกลั่นน้ำมัน ใน อ.มาบตาพุด จ.ระยอง ระยะทางรวม 500 กิโลเมตร จะเป็นการสนับสนุนการพัฒนาประเทศเมียนมาร์ และรองรับความต้องการใช้น้ำมันในประเทศ คาดว่าใน 10-20 ปีข้างหน้าความต้องการของไทยจะเพิ่มจาก 1 ล้านบาร์เรล/วัน เป็น 2 ล้านบาร์เรล/วัน ในขณะที่ประเทศไทยมีโรงกลั่นฯ อยู่แล้ว ก็สามารถส่งน้ำมันที่กลั่นแล้วกลับไปใช้ที่เมียนมาร์ได้ด้วย
ส่วนท่อน้ำมัน ทวาย จะเป็นการสร้างท่อรองรับน้ำมันดิบขนาด 2 ล้านบาร์เรลวัน สร้างเชื่อมท่อบนบกระหว่างทวาย-บ้านแหลม จ.เพชรบุรี หลังจากนั้น เป็นท่อทางทะเล ไปยังโรงกลั่นน้ำมัน ใน อ.มาบตาพุด จ.ระยอง ระยะทางรวม 500 กิโลเมตร จะเป็นการสนับสนุนการพัฒนาประเทศเมียนมาร์ และรองรับความต้องการใช้น้ำมันในประเทศ คาดว่าใน 10-20 ปีข้างหน้าความต้องการของไทยจะเพิ่มจาก 1 ล้านบาร์เรล/วัน เป็น 2 ล้านบาร์เรล/วัน ในขณะที่ประเทศไทยมีโรงกลั่นฯ อยู่แล้ว ก็สามารถส่งน้ำมันที่กลั่นแล้วกลับไปใช้ที่เมียนมาร์ได้ด้วย
นอกจากโครงการขนส่งน้ำมันทางท่อที่ภาคกลาง
และภาคใต้แล้ว ในปัจจุบัน
รัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานของภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยให้ศรีราชาเป็นศูนย์กลางการซื้อขายน้ำมันในภูมิภาค
จึงมีการพิจารณาโครงการขยายการขนส่งน้ำมันทางท่อในอนาคต 2 แนวทาง คือ
โครงข่ายท่อสายเหนือและโครงข่ายท่อสายตะวันออกเฉียงเหนือ
แนวทางที่ 1
สระบุรี-นครสวรรค์-พิษณุโลก-ลำปาง (ระยะทาง 510 กิโลเมตร ความสามารถขนส่ง
5,500 ล้านลิตร/ปี เงินลงทุนประมาณ 8,100 ล้านบาท)
แนวทางที่ 2 สระบุรี-นครราชสีมา-ขอนแก่น (ระยะทาง 367 กิโลเมตร ความสามารถขนส่ง 8,200 ล้านลิตร/ปี เงินลงทุนประมาณ 6,700 ล้านบาท)
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
ระบุถึงโครงการขยายท่อส่งน้ำมันไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า
ประเด็นที่จะต้องหาข้อสรุปให้ชัดเจน คือ โมเดลการลงทุน
เนื่องจากโครงการนี้ใช้งบลงทุนสูงถึง 15,237 ล้านบาท
สำหรับท่อจากสระบุรี-ลำปาง และสระบุรี-โคราช-ขอนแก่น ระยะทางรวมประมาณ 958
กม. โดยงบลงทุนดังกล่าวแบ่งเป็นระบบท่อส่ง 8,854 ล้านบาท คลังจ่ายน้ำมัน
4,374 ล้านบาท และอื่น 2,009 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนการลงทุนอยู่ระดับ 11%
เท่านั้น
ทำให้โครงการนี้ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้เป็นรูปธรรมแม้จะมีการศึกษามา
ตั้งแต่ปี 2553
อย่างไรก็ตาม
ยืนยันว่าการขนส่งน้ำมันไปภาคเหนือมีประสิทธิภาพสูง โดยคาดว่าในปี 2556
จะมียอดความต้องการใช้เชื้อเพลิงถึง 3,001 ล้านลิตร
ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,127 ล้านลิตร
และสามารถประหยัดค่าขนส่งได้กว่า 50%
จากการประเมินต้นทุนการขนส่งน้ำมันเปรียบเทียบ กทม.-เชียงใหม่ พบว่า
หากใช้รถจะเทรลเลอร์จะอยู่ที่ 66 สตางค์ต่อลิตร รถสิบล้อ 1.20 บาทต่อลิตร
ขณะที่การขนส่งน้ำมันทางท่อ 30 สตางค์ต่อลิตร หรือโดยภาพรวมแล้ว
โครงการขนส่งน้ำมันทางท่อแทนรถยนต์จะช่วยลดค่าขนส่งได้รวม 1,534 ล้านบาท
และลดการใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงได้ 19 ล้านลิตรสำหรับเส้นทางภาคเหนือ
ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะช่วยลดการขนส่งทางรถได้ 1,857 ล้านบาท
และลดการใช้น้ำมันได้ 21 ล้านลิตร
นอกจากนี้
ยังเกิดประโยชน์ในภาพรวมของประเทศจากการประหยัดพลังงานเป็นเงิน 42,000
ล้านบาท ประหยัดค่าซ่อมแซมและอะไหล่รถบรรทุกน้ำมัน 19,500 ล้านบาท
ลดก๊าซเรือนกระจกมูลค่า 530 ล้านบาท รวม 25 ปีตลอดอายุการใช้งาน
สำหรับโมเดลท่อพลังงานนี้ในประเทศเพื่อน
บ้านเราพม่ากับจีนก็กำลังจะเปิดท่อส่งน้ำมันและก๊าซที่ยาวที่สุด 1,100
กิโลเมตร วางเป็นแนวยาวจากท่าเรือจ้อกพยู (Kyaukpyu) ทางตะวันตกของพม่า
ไปยังดินแดนจีนทางมณฑลหยุนหนัน และมณฑลกว่างซี ของจีน
ซึ่งท่อส่งน้ำมันนี้จะทำให้น้ำมันดิบจากตะวันออกกลางที่เดินทาง
ผ่านมหาสมุทรอินเดียเข้าไปยังจีนโดยไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา
และท่อส่งน้ำมันนี้ถูกออกแบบให้สามารถส่งน้ำมันได้ 22 ล้านตันต่อปี
ขณะที่ท่อส่งก๊าซคาดว่าจะสามารถส่งได้ 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
สำหรับความคิดของผมคิดว่าเรื่องยุทธศาสตร์
พลังงานเป็นเรื่องสำคัญ
การขนส่งน้ำมันทางท่อก็คือแนวทางหนึ่งที่เราจะกำลังจะวางท่อน้ำมันเลื้อยไป
ใต้ดินทั่วภูมิภาคและเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านเพื่อดูดซับ ขนถ่าย
ด้วยต้นทุนที่ต่ำทางโลจิสติกส์
แต่ทั้งนี้เรามีบทเรียนแล้วกรณีท่อก๊าซที่กาญจนบุรี
การคำนึงถึงผลกระทบเชิงชุมชน สังคม และความปลอดภัยเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง
การเรียนรู้บทเรียนในอดีตชั่งข้อดีข้อเสียก่อนลงทุนเป็นเรื่องที่กระทรวง
พลังงานและรัฐบาลไทยจะต้องพิจารณาให้รอบคอบครับ
เรื่องเกี่ยวเนื่อง :สถาบันปิโตรเลียมเสนอเร่งสร้างท่อก๊าซ-ท่อน้ำมันควบคู่กัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)