ปตท.ทุ่มงบพันล้านสร้างภาพ-แจกเงินให้เอ็นจีโอ มูลนิธิสืบ-ปิดปากข้าราชการระดับสูง กรมอุทยาทสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
|
|
|
|
|
www.legendnews.net - พลังและอำนาจของเม็ดเงินโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ยักษ์ใหญ่ปตท.ทุ่มสร้างภาพ ซื้อสื่อ ซื้อใจชุมชนเกือบ 1,400 ล้านบาทในห้วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้กลุ่มทุนผูกขาดธุรกิจพลังงานไม่ถูกตั้งข้อกังขาถึงความฉ้อฉล เผย อสมท. กวาดไม่ต่ำกว่าปีละร้อยล้าน ส่วนรายการคนดัง “วู้ดดี้ - สรยุทธ์” รับเละ 50 กว่าล้าน ทำเนียนกล่อมสังคมไทย “พลิกใจให้พอเพียง” เพื่อปตท.จะได้ฟันกำไรสูงสุดปีละเกือบแสนล้าน หากเครือปตท.จะดำเนินธุรกิจพลังงาน ซึ่งถือเป็นสายเลือดหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจและสังคมไทยโดยยึดมั่นดังคำโฆษณา “พลิกใจให้พอเพียง เพื่อสุขที่ยั่งยืน” และ “ปตท.(เป็น)พลังที่ยั่งยืน เพื่อไทย” อย่างแท้จริงแล้ว ความเดือดร้อนของประชาชนอันเป็นผลมาจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นเพราะต้นทุนค่าพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นแล้วส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่คงจะทุเลาเบาบาง สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงและมีสุขที่ยั่งยืนจริงๆ แต่คำโฆษณาของปตท.ก็เป็นเพียงแค่การสร้างภาพเพื่อให้สังคมเคลิบเคลิ้ม ไม่สงสัย ไม่ตั้งคำถามถึงความไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นกรณีการปรับขึ้นราคาก๊าซฯ น้ำมัน ฯลฯ ที่ ปตท. มักมีคำอธิบายให้ชวนเชื่อถือ และรัฐบาลซึ่งความจริงแล้วมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชนคอยถือหางปตท. โดยมีสื่อร่วมมือร่วมใจช่วยสร้างภาพให้กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่พลังงานแห่งนี้เปี่ยมล้นไปด้วยธรรมาภิบาลอีกทั้งทำให้สังคมเชื่อว่า เม็ดเงินกำไรตั้งแต่ ปี 2547 ถึง 9 เดือนแรกของ ปี 2554 ที่ปตท. มีกำไรสุทธิรวมกันถึง 7 แสนล้านบาท เป็นความสามารถทางธุรกิจโดยแท้ เบื้องหลังการสร้างภาพและสร้างเครือข่าย “สื่อมวลชนเพื่อปตท.” นั้น สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้รายงานว่า บมจ.ปตท. ยังเป็นยักษ์ใหญ่ที่ใช้เงินเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ จ้างทำมวลชนสัมพันธ์ เป็นสปอนเซอร์รายการแข่งขันกีฬา คอนเสิร์ต ผ่านสื่อต่างๆ มากที่สุด โดยรอบปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 2553 - 30 ก.ย. 2554) ที่ผ่านมา ปตท.ได้ใช้งบประมาณว่าจ้างหน่วยงาน องค์กรเอกชน โฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมต่างๆ รวม 44 รายการ วงเงินรวม 651.1 ล้านบาท (ดูตาราง) เมื่อเทียบกับงบประมาณ 2553 ปตท.ได้ใช้เงินประชาสัมพันธ์ ผ่านบริษัทต่างๆ 34 รายการ รวมเม็ดเงิน 687.2 ล้านบาท หากรวม 2 ปี จะพบว่า ปตท.หว่านเม็ดเงินเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สูงเกือบ 1,400 ล้านบาท สำหรับสื่อที่ได้รับการว่าจ้างมากที่สุดในรอบปี 2554 ที่ผ่านมา เรียงตามลำดับวงเงิน มีดังนี้ 1.บมจ.อสมท จำนวน 107 ล้านบาท ได้แก่ จ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ 2010 ครั้งที่ 16 วงเงิน 7,000,000 บาท (15 ธ.ค. 53) และ จ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในรายการโทรทัศน์วิทยุ และกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านสื่อในเครือบริษัท ปตท. (มหาชน) วงเงิน 100,000,000 บาท (12 พ.ค. 54) 2.บริษัท ทีบี ดับบลิวเอ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 100,000,000 บาท ได้แก่ จ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำมันใสและภาพลักษณ์สถานีบริการน้ำมัน ปตท.(17 มี.ค. 54) 3.บริษัท เฟรชแอร์เฟสติวัล จำกัด (นายวินิจ เลิศรัตนชัย ถือหุ้นใหญ่) จ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในการจัดงาน “ช้างร่วมฉลองมหกรรมดนตรี 30 ปี คาราบาว” 30,000,000 บาท (19 เม.ย.54) 4.บมจ. บีอีซี.เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำนวน 29,000,000 บาท ได้แก่ จ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในการจัดการแข่งขัน PTT-EGAT Snooker World Cup 2011 วงเงิน 20,000,000 บาท และ จ้างโฆษณาผลิตภัณฑ์(น้ำมันใส)ปตท.ในรายการโทรทัศน์ “เรื่องเล่าเช้านี้” 9,000,000 บาท 5.สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 25,000,000 บาท ได้แก่ โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในการสนับสนุนแข่งขันสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ภายใต้โครงการ 1 สมาคมกีฬา 1 รัฐวิสาหกิจ แต่หากจะนับความถี่จะพบว่า รายการว่าจ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทีวีบ่อยครั้งคือ จ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในรายการ “ข่าวภาคค่ำ ททบ.5” ผ่านบริษัท 3 เอ.มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (ของนายสมชาย รังษีธนานนท์) จำนวน 2 ครั้ง ว่าจ้างโฆษณาทางรายการ “เช้าดูวู้ดดี้” และรายการ “The Idol คนบันดาลใจ” 2 ครั้ง (ผ่าน บริษัท ทีวี แสตนดาร์ด จำกัด ของ นางสาว อันวิดา อภิจารี และ บริษัท มีเดีย แอสโซซิเอตเต็ด จำกัด) และว่าจ้างประชาสัมพันธ์ผ่าน“เรื่องเล่าเช้านี้” และรายการ “เรื่องเล่า เสาร์-อาทิตย์” 2 ครั้ง (บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ของนายสรยุทธ สุทัศนะจินดาและ บมจ. บีอีซี.เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์) หากนับวงเงินที่ ปตท. หว่านโปรยว่าจ้างรายการคนดังข้างต้น คือ รายการ “เช้าดูวู้ดดี้” และรายการ “The Idol คนบันดาลใจ” 2 ครั้ง ครั้งแรก 6 ล้านบาท และครั้งที่สอง อีก 9.6 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 15.6 ล้านบาท ส่วนบริษัทไร่ส้ม รับไปเนื้อๆ ครั้งแรก 16.5 ล้านบาท และครั้งที่สอง 9 ล้านบาท รวม 25.5 ล้านบาท และเมื่อปี 2553 บริษัทไร่ส้ม ได้รับว่าจ้างให้โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. วงเงิน 11.7 ล้านบาท รวมๆ แล้วรายการคนดังรับทรัพย์จากปตท.ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา สูงถึง 52.8 ล้านบาท เมื่อเป็นเช่นนี้ก็อย่าแปลกใจที่นักเล่าข่าวคนดัง จะไม่ขุดคุ้ยประเด็นความฉ้อฉลปล้นเงียบประชาชนของปตท.ออกมาตีแผ่ให้สังคมได้รับรู้อย่างที่ควรจะเป็น ในรายการว่าจ้างโฆษณาผ่านสื่อค่ายยักษ์ใหญ่ ปตท.เมื่อปีที่ผ่านมา ปตท.ยังเลือกใช้บริการของเครือเดอะเนชั่น ที่รับไปเนื้อๆ รวม 16 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังพบว่ามีว่าจ้างเพื่อดำเนินงานมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไปยังภาคเหนือ(นครสวรรค์) ผ่าน บริษัท ซีวิลโปร จำกัด วงเงิน 16,968,000 บาท (21 เม.ย. 54) ก่อนหน้านี้ ปีงบประมาณ 2553 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ใช้เงินประชาสัมพันธ์ ผ่านบริษัทต่างๆ 34 รายการ รวมเม็ดเงิน 687.2 ล้านบาท ได้แก่ 1.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. ทางโทรทัศน์ ผ่าน บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด 12 ล้าน บาท 2.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. ผ่าน บริษัท แพนแทงเกิลโปรโมชั่น จำกัด 15 ล้านบาท 3.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. ผ่าน สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย 7,500,000 บาท 4.ดำเนินการจัดงานพิธีมอบรางวัล งานลูกโลกสีเขียวครั้งที่ 11 และงานการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ครั้งที่ 4 ผ่าน บริษัท แม่น้ำร้อยสาย จำกัด 5,686,128 บาท 5.ประชาสัมพันธ์ ปตท. ทางการแข่งขันเทนนิสเอทีพีรายการPTT Thailand Open2009 ผ่าน บมจ.บีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ 60 ล้านบาท (21 ธ.ค. 2552) 6.ประชาสัมพันธ์ ปตท.ในการจัดกอล์ฟ The RoyalTrophy ผ่าน Entertainment Group Kimited 23.1 ล้านบาท 7.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 25(สำนักงานใหญ่) ผ่าน บริษัท เพชรจำปา จำกัด 10 ล้านบาท 8.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ทางโทรทัศน์ รายการคนไทยหัวใจไม่ท้อ ผ่าน บริษัท ฮันนี่ แอนด์ เฟรนด์ เอ็นเทอร์เทนเท้นท์ จำกัด(มหาชน) 5.2 ล้านบาท 9. โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปทต. ผ่าน บริษัท เจวีดี แมเนจเม้นท์ จำกัด 8,079,000 บาท 10.โฆษณาประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กร ผ่าน บริษัท ทีดับเบิลเอ (ประเทศไทย) จำกัด 120 ล้านบาท 11. โฆษณาประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์ ผ่าน บริษัท ธิงค์วิซ จำกัด 13 ล้านบาท 12.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ผ่าน บริษัท มีเดีย แอสโซซิเอตเต็ด จำกัด 9.6 ล้านบาท 13.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. ทางโทรทัศน์ ผ่าน บริษัท บางกอก เยลล์ จำกัด 6.5 ล้านบาท 14.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ผ่านสื่อ 16 ล้านบาท 15.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. ทางรายการจัดการแข่งขันพัฒนานักเทนนิสอาชีพและเยาวชนไทยปี 2553 ผ่าน บริษัท ไทยเทนนิส แม็กกาซีน จำกัด 7 ล้านบาท (3 มี.ค. 2553) 16.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ทางโทรทัศน์ ผ่าน บริษัท ไร่ส้ม จำกัด 11,725,000 บาท (3 มี.ค. 2553) 17. โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ทางวิทยุ ผ่าน บริษัท ฟาติมาบรอดคาสติ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 7.2 ล้านบาท 18.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ผ่าน บริษัท มาร์เก็ต รีอินฟอร์ส จำกัด 6,069,000 บาท 19. Support SA ROOP KHEM KHONG SOOD THAI project 6thfor CHULALONGKORN UNIVERSITY BROADCASTING STATION ผ่าน CHULALONGKORN UNIVERSITY BROADCASTING STATION 1 ล้านบาท 20.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ผ่าน บริษัท ฟร้อนท์เพจ จำกัด 5,720,000 บาท 21.โฆษณาประชาสัมพันธ์กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำมันใสและส่งเสริมภาพลักษณ์สถานีบริการ ปตท.ปี 2553 ผ่าน บริษัท ทีบีดับเบิลเอ(ประเทศไทย) จำกัด 100 ล้านบาท 22.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.สร้างภาพลักษณ์ในพื้นที่มาบตาพุด จ.ระยอง ผ่าน บริษัท ริพเพิล เอฟ เฟคท์ จำกัด 10 ล้านบาท (12 มี.ค. 2553) 23.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ทางโทรทัศน์รายการ องค์กรเกื้อแผ่นดิน ผ่าน บริษัท บ้านบันดาลใจ จำกัด 5,950,000 บาท 24.งานเหมาพัฒนาชุมชนโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบลวิถีพอเพียง ผ่าน บริษัท บิซิเนส เซอร์วิสเซส อัลไลแอนซ์ จำกัด 54,908,820 บาท 25.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ทาง โทรทัศน์ รายการพลังงานเพื่อชีวิต ผ่าน บริษัท ทริปเปิล เจ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 6,959,000 บาท 26.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ทาง โทรทัศน์ วิทยุและสื่อต่างๆในเครือข่าย ผ่าน บมจ. อสมท 90 ล้านบาท 27.บริษัทที่ปรึกษาโครงการท่อฯถนนปู่เจ้าสมิงพราย ผ่าน บริษัท เนเจอร์อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด 8,985,900 บาท 28.บริการจัดการโครงการเพื่อเด็กและเยาวชน ผ่าน บริษัท อิน เฮ้าส์ เอเยนซี่ จำกัด 6,300,000 บาท 29.จ้างมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เส้นที่ 4 (นวนคร-รังสิต) ผ่าน บริษัท ซีวิล โปร จำกัด 5,639,700 บาท (9 เม.ย. 2553) 30.จ้างมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เส้นที่ 4 ผ่าน บริษัท ซีวิล โปร จำกัด 6,606,600 บาท 31.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ ปตท. ทางโทรทัศน์รายการข่าวภาคค่ำ ททบ.5 ผ่าน บริษัท 3 เอ.มาร์เก็ตติ้ง จำกัด 5,175,000 บาท 32.จ้างมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ นิคมอุตสาหกรรม สมุทรสาคร-ถนนเศรษฐกิจ ผ่าน บริษัท เอสบี มูฟ จำกัด 9,600,800 บาท 33.จ้างมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์โครงการกลุ่มลูกค้าท่อย่อย ปทุมธานี-พญาไท ผ่าน บริษัท ไทยคอนซัลแตนท์ แอนด์ พับบลิค รีเลชั่น จำกัด 7.8 ล้านบาท 34.โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. ผ่าน บริษัท พีน่า มีเดีย จำกัด 12 ล้านบาท รวม 2 ปี ปตท.ใช้งบฯประชาสัมพันธ์ประมาณ 1,338 ล้านบาท ผ่านเอกชนประมาณ 40 ราย ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่า บริษัท ริพเพิล เอฟเฟคท์ จำกัด ซึ่งผู้ทำมวลชนสัมพันธ์ในพื้นที่มาบตาพุด มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท นางสาว โศภิน เงินสวัสดิ์ นางบุญสม บุญมาก ถือหุ้นใหญ่ บริษัท ซีวิล โปร จำกัด ผู้ทำมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 มีทุนจดทะเบียน 3 ล้านบาท นายสุวรรณ บัณฑิต นางสาววิจิตรา ฉัตรสุวรรณ ถือหุ้นใหญ่ บริษัท เอสบี มูฟ จำกัด ผู้ทำมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ นิคมอุตสาหกรรม สมุทรสาคร-ถนนเศรษฐกิจ มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท นางสาวสายชู โทสูงเนิน นายประสิทธิ์ ขันตี ถือหุ้นใหญ่ ส่วน บริษัท ไทยคอนซัลแตนท์ แอนด์ พับบลิค รีเลชั่น จำกัด ผู้ทำมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์โครงการกลุ่มลูกค้าท่อย่อย ปทุมธานี-พญาไท มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท นายสนธยา ทิพย์อาภากุล ถือหุ้นใหญ่
|
|
|
|
|
ปตท.ทุ่มงบพันล้านสร้างภาพ-แจกเงินให้เอ็นจีโอ มูลนิธิสืบ-ปิดปากสื่อชั่วสายเอ็นจีโอ
|
ม็อบแท็กซี่ค้านขึ้นราคาเอ็นจีวี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า กรุงเทพฯ |
| |
|
|
www.legendnews.net- ผลพวงจากการปล่อยให้เครือปตท.กลุ่มทุนสามานย์ใต้เสื้อคลุมรัฐวิสาหกิจผูกขาดธุรกิจพลังงานทั้งระบบสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนไม่จบสิ้น ขนส่ง-แท็กซี่ก่อม็อบใหญ่กดดันปตท. รัฐบาลทรยศปรับขึ้นค่าก๊าซเอ็นจีวี ประธานกมธ.ตรวจสอบทุจริตฯ วุฒิสภา ชี้ขาดความโปร่งใส ต้นทุนเนื้อก๊าซของไทยราคาต่ำกว่าตลาดโลกเกือบครึ่ง แฉอ้างขาดทุนหวังเงินชดเชยจากรัฐตามฟอร์ม การชุมนุมคัดค้านการปรับขึ้นค่าก๊าซเอ็นจีวี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2554 นำโดยสหพันธ์ขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กลุ่มผู้ประกอบการขนส่งทั้งรถบรรทุก รถร่วมบริการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) และบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) รวมถึงสหกรณ์รถแท็กซี่ ที่นัดชุมนุมใหญ่บนถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณหน้าสำนักงานใหญ่ บมจ.ปตท. สำหรับรถบรรทุกและรถบัส ส่วนรถแท็กซี่ รวมตัวกันบริเวณลานพระรูปทรงม้า รัชกาลที่ 5 และล้อมรอบทำเนียบรัฐบาล นับเป็นการเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดของกลุ่มประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการดำเนินนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาลที่ปล่อยให้เครือ ปตท. ผูกขาดธุรกิจพลังงานทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ทั้งก๊าซฯ และน้ำมัน ความเดือดร้อนของประชาชนจากราคาต้นทุนพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นไม่หยุด จะหมุนเวียนเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่จบสิ้น ตราบใดที่ ปตท. ได้หลงลืมปรัชญาการก่อเกิดองค์กรพลังงานของชาติแห่งนี้ว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อใคร และมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจแสวงหากำไรสูงสุดด้วยการอาศัยสถานะรัฐวิสาหกิจที่ใช้อำนาจมหาชนของรัฐแสวงหาประโยชน์จากสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งผลักดันให้รัฐบาลออกนโยบายและมาตรการที่เอื้อประโยชน์ต่อการผูกขาดธุรกิจพลังงานของตนเอง เป็นสำคัญ ความวุ่นวายที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้ หากมองย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้น จะพบว่า ปตท.ประสบความสำเร็จในการผลักดันให้รัฐบาลส่งเสริมนโยบายการใช้ก๊าซเอ็นจีวีในภาคขนส่ง โดยอ้างเหตุผลว่า ก๊าซเอ็นจีวี เป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาด เหมาะสำหรับใช้ในภาคขนส่งทั้งรถบรรทุก รถบัส รถแท็กซี่ ส่วนก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการขนส่งอยู่นั้นไม่มีความปลอดภัย เป็นการใช้ก๊าซฯไม่ถูกประเภท และทำให้ก๊าซแอลพีจีขาดแคลน ทั้งที่ความจริงแล้วทั่วโลกต่างใช้ก๊าซแอลพีจีในภาคขนส่งกันทั้งนั้น และก๊าซแอลพีจีไม่ได้ขาดแคลนอย่างที่ปตท.กล่าวอ้าง แต่เป็นการสร้างเรื่องกดดันเพื่อให้รัฐบาลประกาศลอยตัวราคาก๊าซแอลพีจีในราคาตลาดโลก หรือไม่เช่นนั้นรัฐก็ต้องชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาก๊าซในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นกลวิธีที่ปตท.ทำแล้วได้ผล เพราะจนถึงเวลานี้รัฐบาลยังต้องควักเงินกองทุนน้ำมัน เงินที่เก็บจากประชาชนผู้ใช้น้ำมันเบนซินมาชดเชยราคาก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวีให้กับปตท.เป็นเงินรวมแล้วหลายหมื่นล้านบาท กรณีการปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นวีจีก็เช่นกัน นโยบายนี้ทั้งรัฐบาลและปตท.ต่างร่วมรณรงค์ให้รถขนส่ง แท็กซี่ หันมาใช้ก๊าซเอ็นจีวีจนสำเร็จ กล่าวเฉพาะกรณีแท็กซี่นั้น ปตท.ผลักดันให้รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงาน ออกมาตรการสนับสนุนด้วยการควักเงินกองทุนน้ำมันรวมกับงบอื่นๆ ประมาณ 1,200 ล้านบาท มาสนับสนุนแท็กซี่ที่ติดก๊าซแอลพีจีให้เปลี่ยนมาใช้เอ็นจีวีเพราะราคาก๊าซถูกกว่าและปลอดภัยกว่า โดยตั้งเป้าหมาย 30,000 คัน แต่ทว่ามาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานช่วยเหลือกลุ่มแท็กซี่ด้วยการติดตั้งเอ็นจีวีกลับกลายเป็นมาตรการขูดเลือดแทน เมื่อคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 อนุมัติให้มีการปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวี ตามที่ปตท.เรียกร้องและคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เห็นชอบ ให้ปรับขึ้นราคาเอ็นจีวีกิโลกรัมละ 6 บาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 รวมปรับ 12 ครั้งๆ ละ 0.50 บาท จากราคาปัจจุบัน 8.50 บาทต่อกิโลกกรัม โดยอ้างเหตุผลเดิมๆ คือ ต้นทุนค่าก๊าซและค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น ปตท.ต้องแบกรับภาระการขาดทุนหลายหมื่นล้านบาทแล้ว “ต้นทุนเนื้อก๊าซธรรมชาติปตท.ยังไม่รวมค่าขนส่งและบริหารจัดการอยู่ที่เฉลี่ย 9.90-10 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นราคาก๊าซ NGV ตามกรอบที่รัฐกำหนดคือทยอยขึ้นเดือนละ 50 สตางค์ต่อกก.จนครบ 6 บาทในสิ้นปี 2555เพื่อลดภาระขาดทุนในการนำไปปรับปรุงการบริการที่ดีขึ้น” พีระพงษ์ อัจฉรียชีวิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลต่อสื่อ เช่นเดียวกับ เติมชัย บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.ระบุว่า ต้นทุนการขายของ ปตท.หน้าปั๊มในขณะนี้ เท่ากับ 15.50 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้นการจำหน่ายในอัตรา 8.50 บาท จึงเป็นอัตราที่ขาดทุน และ ปตท.พร้อมให้พิสูจน์ต้นทุนการขนส่งและบริหารจัดการจากสถานีแม่ไปสถานีลูกที่มีต้นทุนประมาณ 5 บาทต่อกิโลกรัม การอ้างเหตุผลเพราะขาดทุนทั้งจากค่าเนื้อก๊าซ ค่าขนส่ง ค่าบริหารจัดการของปตท. ถูกโต้แย้งจากฝ่ายสหพันธ์ขนส่งฯ และเครือข่าย ว่าเป็นการขึ้นราคาที่ไม่มีความเป็นธรรมต่อผู้ประกอบการขนส่งและรถแท็กซี่ และไม่เชื่อว่าต้นทุนค่าขนส่งก๊าซฯ ไม่ได้สูงดังที่ปตท.กล่าวอ้าง ที่สำคัญ คือ ตั้งคำถามจาก รสนา โตสิตระกูล ประธานคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่ระบุว่า ขณะนี้ราคาก๊าซดิบในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง เวลานี้อยู่ที่ 3.37 บาทต่อกิโลกรัม โดยราคาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเมื่อเทียบกับราคาตลาดโลก จะเห็นว่า ปตท.ซื้อก๊าซในประเทศถูกกว่าตลาดโลกถึง 40 - 67% การที่ปตท.กล่าวอ้างว่ามีต้นทุนเนื้อก๊าซฯ อยู่ที่ 9.90 - 10 บาทต่อกิโลกกรัม ไม่น่าจะถูกต้อง และปตท.มักอ้างว่าราคาขายไม่อิงตลาดโลกทำให้ขาดทุน แต่ไม่เคยเอ่ยถึงต้นทุนเนื้อก๊าซที่ถูกกว่าตลาดโลกอย่างมากแต่อย่างใด นอกจากนั้น ต้นทุนค่าขนส่งก๊าซเอ็นจีวีที่สูงถึง 40% ที่ปตท.กล่าวอ้างยังน่าสงสัย ไม่นับว่า การส่งเสริมให้ใช้ก๊าซเอ็นจีวีในรถเล็กนั้นเป็นสิ่งไม่ถูกต้องเพราะรถเล็กจะมีปัญหาในการเติมก๊าซจากปั๊มที่อยู่นอกแนวท่อ ซึ่งทำให้เสียเวลาและค่าต้นทุนขนส่งเพิ่มขึ้น การส่งเสริมให้ใช้ก๊าซเอ็นจีวีควรใช้สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ และสร้างปั๊มตามแนวท่อก๊าซเป็นหลักเท่านั้น “ต้นทุนที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นจริง และไม่มีประสิทธิภาพ เพราะถูกผูกขาดโดยปตท. น่าจะต้องมีการตรวจสอบ” ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าว และยังตั้งคำถามต่อว่า ปตท.มีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ทำไมถึงไม่สามารถทำราคาให้เหมาะสมได้ ทั้งที่เรามีต้นทุนเนื้อก๊าซถูกเหมือนผลไม้ในสวนเราเอง แต่ปตท.กลับทำเหมือนขาดทุนตลอดเวลา ควรมีการตรวจสอบว่ามีการผ่องถ่ายกำไรไปยังบริษัทลูกหรือไม่ การบอกว่าขาดทุนเป็นเรื่องเพื่อให้ได้รับเงินชดเชยจากรัฐมากกว่า
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น