คลิ๊กขวาที่รูป เปิดในหน้าต่างใหม่ กดที่รูปเพื่อขยาย ครับ |
ใครหลงทาง ก้อไม่รู้ ที่ทำไมประชาชนทุกข์เดือดร้อนซ้ำซากมานมนาน ..
|
||
ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านได้เห็นโฆษณาชิ้นใหม่ที่ชื่อ “รวมพลังปลดหนี้แก๊สแอลพีจี” ทางสื่อโทรทัศน์บ้างแล้วหรือยังครับ คราวนี้มีดีกว่าชุดรู้ทันก๊าซ เพราะระบุผู้จัดทำเรียบร้อยคือ กระทรวงพลังงาน แต่สำหรับเนื้อหาสาระแล้วบิดเบือนมากกว่า เพราะมีเป้าหมายชัดเจนคือเพื่อการขอขึ้นราคาด้วยข้ออ้างที่บิดเบือนไปจากความจริงที่สำคัญ จริงๆ แล้วโฆษณาชุดรวมพลังปลดหนี้แก๊สแอลพีจีคราวนี้มี 2 ชิ้นครับ เดี๋ยวผมจะลำดับเรื่องราวให้ท่านพิจารณาครับ ผมได้เคยสรุปสิ่งที่กล่าวข้างต้นว่าเป็นกระบวนการ “พัฒนา” ทั่วไปที่ประกอบไปด้วยสองขั้นตอนคือ “หนึ่งล้างสมองและสองปล้น” แต่ในกรณีแก๊สแอลพีจีนั้น เขาได้เริ่มต้นด้วยการปล้นก่อนเลยโดยที่คนไทยไม่รู้ตัว จริงๆ นะครับ ตอนนี้เป็นขั้นตอนล้างสมองแล้วก็จะจบด้วยการปล้นรอบใหม่ ไม่เชื่อก็ตามอ่านดูครับ โฆษณาชิ้นแรกสามารถหาชมได้ทาง YouTube โดยพิมพ์ข้อความในเครื่องหมายคำพูดตามชื่อบทความนี้ ผมได้ตัดภาพบางส่วนมาลงให้ดูเป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งครับ | |||
ในปี 2554 คนในประเทศไทยใช้แก๊สแอลพีจีหรือที่เราเรียกกันติดปากว่า แก๊สหุงต้มจำนวน 6.89 ล้านตัน อย่าเพิ่งไปสนใจว่าแก๊สมาจากไหนและภาคธุรกิจใดใช้เท่าไหร่ (ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่โฆษณาชิ้นนี้บิดเบือนก่อนนะครับ) เอาเป็นว่า ที่ราคาขายปลีกปัจจุบัน (กันยายน 2555) ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามประกาศของทางราชการโดยไม่รวมค่าขนส่งอยู่ที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม มูลค่าก็ปาเข้าไปที่ 1.25 แสนล้านบาท ถ้าขายตามราคานำเข้า (บางส่วน) ที่ราคาตลาดโลก 31 บาท มูลค่าก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 2.14 แสนล้านบาท เห็นแล้วหรือยังครับว่ามูลค่ามันใหญ่โตขนาดไหน! ถ้าเขาสามารถทำได้สำเร็จมูลค่าก็เพิ่มขึ้นเกือบเก้าหมื่นล้านบาทต่อปี นี่ยังไม่นับที่เขาได้ปล้นไปแล้ว คราวนี้มาพิจารณาถึงสาระสำคัญของโฆษณาเจ้าปัญหานี้กัน สรุปได้ความว่า นานมาแล้วที่ปัญหานี้ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นเหมือนดินพอกหางหมู ส่วนหนึ่งของปัญหาคือการอุดหนุนราคา เพื่อให้ราคาถูกลงที่ 18 บาทต่อกิโลกรัมจากราคาจริง 31 บาท เมื่อราคาถูกลงก็มีการลักลอบไปขายให้ประเทศเพื่อนบ้าน บางคนก็ใช้ผิดประเภท (มีรูปรถยนต์ใช้แก๊สแอลพีจี) เชื่อไหม เมื่อก่อนประเทศไทยเคยเป็นผู้ส่งออกแก๊สแอลพีจี แต่หลังจากปี 2551 เป็นต้นมา เราได้เริ่มนำเข้า ส่วนหนึ่งเพราะใช้กันมากขึ้น (แต่ไม่บอกว่าภาคส่วนธุรกิจใดใช้มากขึ้นบ้าง) พร้อมกับเปรียบเทียบว่าเหมือนกับประเทศไทยมีบ้านอยู่ 100 หลัง แต่แก๊สที่ผลิตได้ในประเทศไทยมีเพียงพอสำหรับ 69 หลังเท่านั้น ที่ขาดหายไปจึงต้องมีการนำเข้าในราคาตลาดโลกที่ 31 บาทแล้วนำมาขายให้คนไทยในราคา 18 บาท ด้วยการอุดหนุนราคา ทำให้เราเป็นหนี้ก้อนโตกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท ถึงเวลาแล้วที่เราคนไทยต้องรวมพลังกันเพื่อปลดหนี้ก้อนโตที่เป็นเหมือนดินพอกหางหมู เริ่มง่ายๆ ด้วยการหันมายอมรับราคาแก๊สหุงต้มในราคาที่ควรจะเป็น พร้อมกับให้โอวาทสั่งสอนประชาชนว่า พลังงานมีค่า ใช้ให้ถูก ใช้ให้เป็น ใช้พลังงานอย่างประหยัด เอวัง รู้สึกอย่างไรกันบ้างครับ ผมไม่ได้ถอดมาแบบคำต่อคำ แต่ได้เปิดย้อนไปย้อนมาอยู่นับสิบรอบเลย ผมเชื่อว่าคนที่ไม่ได้เกาะติดข้อมูลอย่างใกล้ชิดย่อมเห็นคล้อยตาม ไม่มีทางจะจับได้ไล่ทันว่าเขาบิดเบือนอย่างไร ต้องยอมรับในฝีมือว่าบิดเบือนได้เจ๋งมากจริงๆ ต่อไปนี้เป็นข้อมูลและเหตุผลที่ผมใช้เพื่อแย้งกับโฆษณาดังกล่าว หนึ่ง กระทรวงพลังงานได้จัดแบ่งประเภทของผู้ใช้แก๊สแอลพีจีในประเทศไทยออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ภาคครัวเรือน ภาคยานยนต์ ภาคอุตสาหกรรมและภาคปิโตรเคมี แม้ว่าไม่ได้มีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่มหลัง แต่ก็เข้าใจว่าในภาคปิโตรเคมีได้ใช้แก๊สแอลพีจีเป็นสารตั้งต้นในการผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ จากข้อมูลของสำนักแผนและนโยบายกระทรวงพลังงาน (สนพ.) ประวัติการใช้ตั้งแต่ปี 2529 ถึง 2554 ได้แสดงไว้ดังกราฟที่ผมพลอตขึ้นดังข้างล่างนี้ | |||
ตามที่โฆษณาบอกว่าเราเริ่มนำเข้าตั้งแต่ปี 2551 นั้นก็เป็นความจริงอีกครับ แต่นำเข้าแค่ 0.45 ล้านตัน หรือคิดเป็น 9.4% ของปริมาณที่ใช้ทั้งหมด ในปี 2554 เรานำเข้า 1.4 ล้านตัน แต่เราใช้ในภาคปิโตรเคมีถึง 2.1 ล้านตัน ดังนั้น ผมจะขอสรุปอย่างง่ายๆ ก่อน (โดยจะให้เหตุผลในภายหลัง) ว่า ถ้ารัฐบาลมีนโยบายให้ภาคปิโตรเคมีซึ่งเป็นภาคธุรกิจ (ที่เพิ่งเกิดขึ้น) เป็นผู้รับผิดชอบนำเข้าแก๊สแอลพีจีเองในราคาตลาดโลกคือ 31 บาทต่อกิโลกรัม ปัญหาแก๊สแอลพีจีในอีก 3 ภาคก็จะไม่เกิดขึ้น ฟังดูเหมือนกับไม่ให้ความเป็นธรรมกับภาคปิโตรเคมี แต่โปรดพิจารณาข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ครับ สอง เนื่องจากรัฐบาลได้จัดตั้ง กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตั้งแต่ปี 2522 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกลไกของรัฐในการป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง และใช้ในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศ ในกรณีที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเดือดร้อนของประชาชนน้อยที่สุด ส่วนมากก็เก็บเงินจากผู้ซื้อน้ำมันเบนซินเพื่อไปอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล ในช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูง รัฐบาลก็เอาเงินกองทุนน้ำมันมาช่วยอุดหนุน แต่อยู่ๆ รัฐบาลก็นำเงินกองทุนน้ำมันมาอุดหนุนราคาแก๊สแอลพีจีด้วย ผมไม่ทราบแน่ชัดว่าเขาเริ่มอุดหนุนเมื่อใด เท่าที่ผมตรวจเจอ พบว่ามีการนำเงินกองทุนน้ำมันไปอุดหนุนราคาแก๊สแอลพีจีตั้งแต่ปี 2542 ในราคากิโลกรัมละ 5.55 บาท โดยที่จำนวนการอุดหนุนอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจีเป็นราคาเดียวกันทุกภาคธุรกิจ กล่าวคือไม่ว่าภาคครัวเรือนหรือภาคอุตสาหกรรม ภาคยานยนต์ และภาคปิโตรเคมีก็เป็นราคาเดียวกัน ตราบจนถึงวันที่ 20 มกราคม 2555 ก็ยังคงเป็นราคาเดียวกัน สาม เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2555 ราคาจึงได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ราคา โดยเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากผู้ซื้อแก๊สแอลพีจี ในภาคยานยนต์และภาคอุตสาหกรรมอีกกิโลกรัมละ 0.7 และ 8.4 บาท ในขณะที่ในภาคครัวเรือนไม่มีการเก็บ โปรดสังเกตนะครับว่า ไม่มีความแตกต่างของราคาในภาคอุตสาหกรรมและภาคปิโตรเคมี ทั้งๆ ที่สถิติการใช้ได้แยกมาแล้วตั้งแต่ปี 2535 สี่ สิ่งที่ผมได้กล่าวมาค่อนข้างยาว มีประเด็นดังต่อไปนี้ (1) รัฐบาลทุกชุด (อย่างน้อยก็ตั้งแต่ปี 2542 จนถึง 20 มกราคม 2555) ได้ออกระเบียบบังคับให้ผู้ใช้น้ำมันทั่วประเทศเป็นผู้อุดหนุนภาคปิโตรเคมีมาตลอด (ผมขอกันภาคอุตสาหกรรมไว้เป็นพยาน-ฮา) ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2542 จนถึงสิ้นปี 2554 ภาคปิโตรเคมีได้ใช้แก๊สแอลพีจีไปจำนวน 12.37 ล้านตัน ถ้าคิดเงินอุดหนุนจากกองทุนน้ำมัน 6 บาทต่อกิโลกรัม (ความจริงน่าจะมากกว่านี้ เพราะเขาอ้างว่าราคาจริง 31 บาท แต่ขายในราคา 18 บาท) ก็คิดเป็นเงินอุดหนุนทั้งสิ้น 74,220 ล้านบาท หรืออาจจะมากกว่านี้ถึง 2 เท่าก็ได้ แต่ผมไม่มีเวลาสืบค้นมากพอ ประกอบกับในช่วงที่ผมสืบค้นจากข้อมูลของกระทรวงพลังงานนั้น ตารางที่ผมอยากรู้ไม่สามารถเข้าไปดูได้ (2) กิจการการปิโตรเคมีไม่ต้องซื้อน้ำมันใช้ ดังนั้น จึงไม่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันเลย เพิ่งมาจ่ายก็นับตั้งแต่ 23 มกราคม 2555 นี้เอง ในอัตรา 8.4 บาทต่อกิโลกรัม (อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากนี้บ้าง) (3) กิจการปิโตรเคมีส่วนมากเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ดังนั้นผมจึงขอสรุปว่าผู้ใช้น้ำมันทั้งประเทศถูกอำนาจมหาชนของรัฐบังคับให้ไปช่วยอุดหนุนราคาแก๊สแอลพีจีให้กับบริษัท ปตท.ซึ่งกระทรวงการคลังถือหุ้น 51% ที่เหลืออีก 49% ก็เป็นเอกชนไม่กี่หมื่นรายเท่านั้น การกระทำของรัฐดังกล่าวจึงเป็นการใช้อำนาจมหาชนที่ไม่เป็นธรรมกับประชาชนผู้จ่ายเงินเข้ากองทุน ความจริงปัญหาแก๊สแอลพีจีเริ่มเกิดขึ้นจนกลายเป็นดินพอกหางหมูก็ตรงนี้แหละ ตรงที่มีการแปรรูป ปตท. เมื่อ 1 ตุลาคม 2544 ซึ่งก่อนหน้านี้ จะอุดหนุนกันสักเท่าไรก็ไม่เป็นไร เพราะเป็น “อัฐยายซื้อขนมยาย” (4) ผู้ที่กำหนดนโยบายที่ให้เอาเงินกองทุนน้ำมันไปอุดหนุนวัตถุดิบตั้งต้นคือแอลพีจีในปิโตรเคมีก็คือพวกข้าราชการระดับสูงนั่นเอง ส่งผลให้เกิดกำไรมหาศาลกับบริษัทลูกของ ปตท. อย่างที่สังคมทราบๆ กันอยู่ กำไรดังกล่าวจะกลับมาสู่ข้าราชการระดับสูงเหล่านี้ เพราะเขาไปนั่งเป็นกรรมการในบริษัทในเครือของ ปตท.ด้วย ห้า ยังมีการโฆษณาอีกชิ้นหนึ่ง มีการสัมภาษณ์ผู้มีชื่อเสียงในสังคมไทย 4 คน มีชาวเฟซบุ๊กแกะคำพูดออกมาดังนี้ครับ คุณวิทวัส สุนทรวิเนตร์ “บางคนคิดว่า บ้านเรามีแก๊สเยอะ ทั้งๆ ที่มันเป็นทรัพยากรที่กำลังจะหมดไป” ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา “เราต้องแยกแยะว่า ใครควรได้รับการอุดหนุน ไม่ใช่ทั้งหมด” คุณสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ “การอุดหนุนยังคงต้องมี แต่ควรเลือกอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ถ้าใครใช้น้อย ก็จ่ายน้อย ใครใช้มาก ก็จ่ายมาก” และคุณวีระ ธีรภัทร “เราต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด ควรจะช่วยคนที่มีรายได้น้อยจริงๆ เท่านั้น” ผมอยากจะถามท่านผู้อ่านทุกท่านครับว่า จากข้อมูลที่กล่าวมาแล้วนี้ เราพอสรุปได้แล้วหรือยังว่า กองทุนน้ำมันที่เขาอ้างว่าเป็นหนี้กว่า 2.2 หมื่นล้านบาทนั้นเป็นเพราะเหตุใด รัฐบาลใช้อำนาจมหาชนของรัฐบังคับเอาเงินของใครไปอุดหนุนใครกันแน่ ความเห็นของ 4 คนดังนี้ มีส่วนใดที่ตรงจุดเข้าเป้าเข้าประเด็นบ้าง หก ในแง่ปรัชญา รัฐบาลส่วนใหญ่ในโลกนี้ถือหลักว่า ปิโตรเลียมใต้ดินเป็นของรัฐไม่ว่าจะอยู่ใต้ที่ดินโฉนดของเอกชนรายใดก็ตาม คล้ายๆ กับคลื่นการสื่อสารในอากาศเป็นของรัฐ แนวคิดแบบนี้ผมเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แต่ปัญหามีอยู่ว่า เมื่อรัฐให้สัมปทานกับบริษัทเอกชนไปขุดเจาะแล้ว ปิโตรเลียมที่เจาะได้กลายเป็นของเอกชนทันที ในอดีต รัฐไทยเคยมีมาตรการให้ประชาชนในประเทศเป็นผู้ใช้ปิโตรเลียมก่อน แต่ในปัจจุบันผู้ได้สัมปทานสามารถส่งผลผลิตไปไหนก็ได้อย่างเสรีทั่วโลกในทางปฏิบัติ เจ็ด ทั้งบรรพบุรุษและประชาชนไทยในอดีตได้เสียเลือดเนื้อ ชีวิต มานับไม่ถ้วนเพื่อปกป้องรักษาแหล่งปิโตรเลียมให้อยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน แล้วเมื่อได้รับผลประโยชน์จากปิโตรเลียมดังกล่าว รัฐบาลไทยในฐานะผู้ใช้อำนาจมหาชนของรัฐ จะไม่มีน้ำใจที่จะให้สิทธิพิเศษแก่ทายาทของบรรพบุรุษผู้เสียสละบ้างเลยหรือ นั่นคือ ขอให้ประชาชนไทยได้ใช้แก๊สแอลพีจีก่อนบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ในภาคปิโตรเคมีที่ไม่รู้หัวนอนปลายตีน (ในตลาดหุ้น) และขอใช้ในราคาที่ถูกกว่า เป็นไปได้ไหมว่ารัฐบาลออกระเบียบให้ภาคปิโตรเคมีนำเข้าแก๊สแอลพีจีเอง ส่วนที่ผลิตได้ในประเทศให้คนประชาชนไทยใช้ก่อนในราคาคนไทย แต่เป็นเรื่องน่าเศร้ามากที่ทุกอย่างกลับเป็นสิ่งตรงกันข้าม คือ นอกจากประชาชนไทยจะไม่ได้รับผลประโยชน์พิเศษแล้ว กลับถูกรัฐบาลปล้นไปช่วยธุรกิจปิโตรเคมี (ซึ่งผู้บริหารของ ปตท.เคยคุยว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 20 เท่าตัว) มาตลอด คนไทยส่วนใหญ่จึงถูกรัฐบาลทำให้ยากจนลงทุกวัน (หมายเหตุ บทความนี้ยาวกว่าปกติ เพราะเอเอสทีวีผู้จัดการไม่ได้พิมพ์บทความของผมลงกระดาษหนังสือพิมพ์แล้วครับ) |
30 เม.ย.2546 | 8 ม.ค.2547 | 26 เม.ย.2549 |
1.บริษัท บ้านปูแก๊ส เพาเวอร์ จำกัด 12,838,875 หุ้น(กลุ่มก.) และ 375 หุ้น (กลุ่ม ค.) | 1.บริษัท ราชบุรีแก๊ส จำกัด 12,838,875 หุ้น(กลุ่มก.) และ 375 หุ้น (กลุ่ม ค.) | 1.บริษัท ราชบุรีแก๊ส จำกัด 17,118,500 หุ้น(กลุ่มก.) 125 หุ้น (กลุ่ม ข.) และ 375 หุ้น (กลุ่ม ค.) |
2.บริษัท เท็กซาโก้ ไทยแลนด์ เอนเนอจี้ คัมปะนี วัน 12,838,870 หุ้น (กลุ่ม ก.) และ 375 หุ้น (กลุ่ม ข.) | 2.บริษัท เท็กซาโก้ ไทยแลนด์ เอนเนอจี้ คัมปะนี วัน 12,838,870 หุ้น (กลุ่ม ก.) และ 375 หุ้น (กลุ่ม ข.) | 2.บริษัท เท็กซาโก้ ไทยแลนด์ เอนเนอจี้ คัมปะนี วัน 17,118,495 หุ้น (กลุ่ม ก.)และ 500 หุ้น (กลุ่ม ข.) |
3.อีเอ็มอี ไตร เจน ,บีวี8,559,250 หุ้น (กลุ่ม ก.) และ 250 หุ้น (กลุ่ม ข.) | 3.อีเอ็มอี ไตร เจน ,บีวี8,559,250 หุ้น (กลุ่ม ก.) และ 250 หุ้น (กลุ่ม ข.) | |
จำนวนทั้งหมด 34,238,000 หุ้น ๆละ 100 บาท | จำนวนทั้งหมด 34,238,000 หุ้น ๆละ 100 บาท | จำนวนทั้งหมด 34,238,000 หุ้น ๆละ 100 บาท |
18 ก.ค.2550 | 25 มี.ค.2552-29 มี.ค.2555 |
1.บริษัท ราชบุรีแก๊ส จำกัด 17,118,500 หุ้น(กลุ่มก.) 125 หุ้น (กลุ่ม ข.) และ 375 หุ้น (กลุ่ม ค.) | 1.บริษัท ราชบุรีแก๊ส จำกัด 17,118,500 หุ้น(กลุ่มก.) 125 หุ้น (กลุ่ม ข.) และ 375 หุ้น (กลุ่ม ค.) |
2.เชฟรอน ไทยแลนด์ เอนเนอจี้ คัมปะนี วัน 17,118,495 หุ้น (กลุ่ม ก.)และ 500 หุ้น (กลุ่ม ข.) | 2.เชฟรอน ไทยแลนด์ เอนเนอจี้ คัมปะนี วัน 17,118,495 หุ้น (กลุ่ม ก.)และ 500 หุ้น (กลุ่ม ข.) |
จำนวนทั้งหมด 34,238,000 หุ้น ๆละ 100 บาท | จำนวนทั้งหมด 34,238,000 หุ้น ๆละ 100 บาท |
1 พ.ค.2549 | 30 เม.ย.2550 | 18 พ.ค.2552 |
1.พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ จำกัด 27,500 หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) | 1. พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ คัมปะนี ลิมิเต็ด 27,500 หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) | 1. พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ คัมปะนี ลิมิเต็ด 27,500หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) |
2. โมเอโกะ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี. 18,376 หุ้น (สัญชาติ เนเธอร์แลนด์) | 2.โมเอโกะ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี. 18,376 หุ้น (สัญชาติ เนเธอร์แลนด์) | 2.โมเอโกะ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี. 18,376 หุ้น (สัญชาติ เนเธอร์แลนด์) |
3.เชฟรอน ไทยแลนด์ อิงค์ 50,974 หุ้น (สัญชาติอเมริกัน) | 3.เชฟรอน ไทยแลนด์ อิงค์ 50,974 หุ้น (สัญชาติอเมริกัน) | 3.เชฟรอน ไทยแลนด์ แอลแอลซี 50,974 หุ้น (สัญชาติอเมริกัน) |
4.บริษัท พลังโสภณ จำกัด 8,048 หุ้น (สัญชาติไทย) | 4.บริษัท เชฟรอน บล็อค บี 8/32 (ประเทศไทย) จำกัด 8,048 หุ้น | 4.บริษัท เชฟรอน บล็อค บี 8/32 (ประเทศไทย) จำกัด 8,048 หุ้น |
5. พลังโสภณ อินเตอร์เนชันแนล จำกัด (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) 5,098 หุ้น | 5.พลังโสภณ อินเตอร์เนชันแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) 5,098 หุ้น | 5.พลังโสภณ อินเตอร์เนชันแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) 5,098 หุ้น |
29 ก.ย.2552 | 29 เม.ย.2553 | 25 เม.ย.2555 |
1. พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ คัมปะนี ลิมิเต็ด 27,501หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) | 1. พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ คัมปะนี ลิมิเต็ด 27,501 หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) | 1. พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ คัมปะนี ลิมิเต็ด 27,501 หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) |
2.โมเอโกะ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี. 18,377 หุ้น (สัญชาติ เนเธอร์แลนด์) | 2.โมเอโกะ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี. 18,377 หุ้น (สัญชาติ เนเธอร์แลนด์) | 2.โมเอโกะ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี. 18,377 หุ้น (สัญชาติ เนเธอร์แลนด์) |
3.เชฟรอน โกลบอล เอ็นเนอร์จี้ อิงค์ 50,974 หุ้น (สัญชาติอเมริกัน) | 3.เชฟรอน โกลบอล เอ็นเนอร์จี้ อิงค์ 50,974 หุ้น (สัญชาติอเมริกัน) | 3.เชฟรอน โกลบอล เอ็นเนอร์จี้ อิงค์ 50,974 หุ้น (สัญชาติอเมริกัน) |
4.บริษัท เชฟรอน บล็อค บี 8/32 (ประเทศไทย) จำกัด 8,050 หุ้น | 4.บริษัท เชฟรอน บล็อค บี 8/32 (ประเทศไทย) จำกัด 8,050 หุ้น | 4.บริษัท เชฟรอน บล็อค บี 8/32 (ประเทศไทย) จำกัด 8,050 หุ้น |
5.พลังโสภณ อินเตอร์เนชันแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด 5,098 หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) | 5.คริสเอ็นเนอร์ยี่ (กัลฟ์ ออฟ ไทยแลนด์ ) จำกัด5,098 หุ้น(สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) | 5.คริสเอ็นเนอร์ยี่ (กัลฟ์ ออฟ ไทยแลนด์ ) จำกัด5,098 หุ้น(สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) |
12 ม.ค.2545 | 10 ต.ค.2549 | 9 พ.ค.2550 | 1 พ.ค.2552 – 27 เม.ย. 2555 |
1.บริษัท ยูนิไทย ชิปยาร์ด แอนด์ เอนจิเนียริ่ง 1,999,993 หุ้น | 1.บริษัท ยูไนเต็ดไทย ชิปปิ้ง จำกัด 3,999,994 หุ้น | 1.บริษัท ยูไนเต็ดไทย ชิปปิ้ง จำกัด 1,500,000 หุ้น | 1.บริษัท ยูไนเต็ดไทย ชิปปิ้ง จำกัด 1,500,000 หุ้น |
2.บริษัท คลัฟ (ประเทศไทย) จำกัด 1,999,999 หุ้น | 2.เชฟรอน อี แอนด์ ซี โฮลดิ้ง จำกัด 2,000,000 หุ้น (สัญชาติ เบอร์มิวด้า) | 2.เชฟรอน อี แอนด์ ซี โฮลดิ้ง จำกัด 2,000,000 หุ้น (สัญชาติ เบอร์มิวด้า) | 2.เชฟรอน อี แอนด์ ซี โฮลดิ้ง จำกัด 2,000,000 หุ้น (สัญชาติ เบอร์มิวด้า) |
3.บริษัท เอเชีย คอนสตรัคชั่น ลิมิเต็ด 2,000,000 หุ้น (สัญชาติ เบอร์มิวด้า) | 3.บริษัท ยูนิไทย เอนเนอจี้ จำกัด 2,500,000 หุ้น | 3.บริษัท ยูนิไทย เอนเนอจี้ จำกัด 2,500,000 หุ้น | |
จำนวนหุ้นทั้งสิ้น 6,000,000 หุ้น ๆ ละ 10 บาท | จำนวนหุ้นทั้งสิ้น 6,000,000 หุ้น ๆ ละ 10 บาท | จำนวนหุ้นทั้งสิ้น 6,000,000 หุ้น ๆ ละ 10 บาท | จำนวนหุ้นทั้งสิ้น 6,000,000 หุ้น ๆ ละ 10 บาท |
13 ธ.ค.2554 | 21 ก.พ. 2555 | 25 เม.ย.55 |
1.บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด 199,996 หุ้น (สัญชาติเบอร์มิวด้า) | 1.บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด 628,596 หุ้น (สัญชาติเบอร์มิวด้า) | 1.บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด 628,600 หุ้น (สัญชาติเบอร์มิวด้า) |
2.บริษัท พลังโสภณ จำกัด 1หุ้น | 2.บริษัท พลังโสภณ จำกัด 3,301 หุ้น | 2.บริษัท พลังโสภณ จำกัด 3,300 หุ้น |
3.คริสเอนเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) โฮลดิ้งส์ จำกัด 1 หุ้น (สัญชาติ บริติชเวอร์จิ้น ไอส์แลนด์) | 3.คริสเอนเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) โฮลดิ้งส์ จำกัด 5,601 หุ้น (สัญชาติ บริติชเวอร์จิ้น ไอส์แลนด์) | 3.คริสเอนเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) โฮลดิ้งส์ จำกัด 5,600 หุ้น (สัญชาติ บริติชเวอร์จิ้น ไอส์แลนด์) |
4.มิตซุย ออยล์ เอ็กซโปลเรชั่น จำกัด 1 หุ้น (สัญชาติญี่ปุ่น) | 4.มิตซุย ออยล์ เอ็กซโปลเรชั่น จำกัด 205,801 หุ้น (สัญชาติญี่ปุ่น) | 4.มิตซุย ออยล์ เอ็กซโปลเรชั่น จำกัด 205,800 หุ้น (สัญชาติญี่ปุ่น) |
5.บริษัท เจวี ชอร์ เบส จำกัด 1 หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอส์แลนด์) | 5.บริษัท เจวี ชอร์ เบส จำกัด 156,701 หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอส์แลนด์) | 5.บริษัท เจวี ชอร์ เบส จำกัด 156,700 หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอส์แลนด์) |
จำนวนทั้งสิ้น 200,000 หุ้น ๆ ละ 1,000 บาท | จำนวนทั้งสิ้น 1,000,000 หุ้น ๆ ละ 1,000 บาท | จำนวนทั้งสิ้น 1,000,000 หุ้น ๆ ละ 1,000 บาท |
15 ม.ค.2546 | 1 เม.ย. 2547 | 29 เม.ย.2553 |
1.เชฟรอน ไทยแลนด์ อิงค์ 109,001 หุ้น (สัญชาติ อเมริกัน) | 1.เชฟรอน ไทยแลนด์ อิงค์ 109,001 (สัญชาติ อเมริกัน) | 1.เชฟรอน ไทยแลนด์ แอลแอลซี 149,998 หุ้น (สัญชาติ อเมริกัน) |
2.บริษัท วัฒนโสภณพนิช จำกัด 7,047 จำกัด | 2.รูเธอร์ ฟอร์ด-โมแรน เอ็กซ์โพลเรชัน คัมปะนี 40,993 หุ้น (สัญชาติ อเมริกัน) | |
3.ออฟชอร์ เอ็นเนอร์ยี่ แอล.แอล.ซี. 32,293 หุ้น (สัญชาติ อเมริกัน) | ||
4.บริษัท ซี.แอล.แคปปิตอล จำกัด 1,653 หุ้น | ||
จำนวนหุ้นทั้งหมด 150,000 หุ้น ๆ ละ 10,000 บาท | จำนวนหุ้นทั้งหมด 150,000 หุ้น ๆ ละ 10,000 บาท | จำนวนหุ้นทั้งหมด 150,000 หุ้น ๆ ละ 10,000 บาท |
26 เม.ย.2544 | 20 ธ.ค.2547 | 16 พ.ย.2552-25 เม.ย.2555 |
1.รูเธอร์ ฟอร์ด-โมแรน เอ็กซ์โพลเรชัน คัมปะนี 612,698 หุ้น (สัญชาติ อเมริกัน) | 1.เชฟรอน ไทยแลนด์ อิงค์ 1,065,311 หุ้น (สัญชาติ อเมริกัน) | 1.เชฟรอน ไทยแลนด์ แอลแอลซี 1,065,311 หุ้น (สัญชาติ อเมริกัน |
2.ไทย โรโม่ โฮลดิ้งส์, อิงค์ 452,704 หุ้น (สัญชาติ อเมริกัน) | ||
รวมทั้งสิ้น 1,065,317 หุ้น ๆ ละ 100 บาท | รวมทั้งสิ้น 1,065,317 หุ้น ๆ ละ 100 บาท | รวมทั้งสิ้น 1,065,317 หุ้น ๆ ละ 100 บาท |
โดย ประพันธ์ คูณมี | 16 สิงหาคม 2555 14:33 น. |