ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความรวยกระจุก ความจนกระจาย ร้องแร่แห่กะเชอหา ประชาธิปไตย

คลิ๊กขวาที่รูป เปิดในหน้าต่างใหม่ กดที่รูปเพื่อขยาย ครับ
ใครหลงทาง ก้อไม่รู้ ที่ทำไมประชาชนทุกข์เดือดร้อนซ้ำซากมานมนาน ..

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ฟ้อง ปตท.เอาท่อก๊าซคืนสาธารณะ บทพิสูจน์ความยุติธรรมอีกครั้ง

แต่ เรื่องไม่ได้จบลงง่ายอย่างนั้น เพราะว่าหลังจากที่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด เกษียนหนังสือในคำร้องของ ปตท.แล้ว สตง. ซึ่ง ครม.มอบหมายให้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องในการคืนทรัพย์สินของ ปตท.แก่กระทรวงการคลัง ได้มีหนังสือรายงานผลการตรวจสอบทรัพย์สินต่อเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองสูง สุดว่า ทรัพย์สินที่ ปตท.แบ่งแยกและส่งคืนแก่คลังจำนวน 16,176.19 ล้านบาท ยังไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด
      
       นอกจากนั้น สตง.ยังได้แจ้งการตรวจสอบการคืนทรัพย์สินของ ปตท.ที่ยังไม่ครบถ้วนแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำเนินการและติดตามผล ทั้งนี้ รายงานการตรวจสอบของ สตง.ได้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามมูลค่าทางบัญชีเสนอต่อกระทรวงการคลังเพื่อ เรียกคืนทรัพย์สินจาก ปตท. ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด มีมูลค่า 52,393.50 ล้านบาท และ ปตท.ส่งคืนตามคำพิพากษาเพียง 16,176.19 ล้านบาท ยังขาดอีก 36,217.28 ล้านบาท ซึ่งท่อก๊าซที่ยังส่งคืนรัฐไม่ครบถ้วน ประกอบด้วยท่อก๊าซบนบกและในทะเล มูลค่า 32,6131.45 ล้านบาท และทรัพย์สินอื่นอีก 3,603.83 ล้านบาท
      
       เมื่อเป็นเช่นนั้น การส่งมอบทรัพย์สินของ ปตท.คืนแก่รัฐครบถ้วนหรือไม่ จึงยังเป็นประเด็นคาใจ ไม่สะเด็ดน้ำ เพราะ สตง.มีความเห็นแย้ง ยังไม่รับรองความถูกต้อง
      
       ที่สำคัญที่สุด การพิเคราะห์ของศาลข้างต้นก็เป็นเพียงความเห็นหรือคำสั่งของตุลาการศาล ปกครองสูงสุดเพียงคนเดียวเท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นคำพิพากษาของศาลที่มีองค์คณะพิจารณาคดีและมีคำตัดสินพิพากษา แต่อย่างใด
      
       “เราเอาการเกษียนหนังสือของตุลาการศาลปกครองสูงสุดในคำร้อง ที่ ปตท.ยื่นต่อศาลให้อดีตรองประธานศาลฎีกาท่านช่วยดู ท่านบอกว่านี่ไม่ใช่คำพิพากษาของศาล ดังนั้นเราจึงนำคดีฟ้องต่อศาลให้ศาลมีคำพิพากษาชี้ขาด” น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพฯ ประธานคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ผู้ฟ้องคดีในฐานะประชาชนผู้บริโภคพลังงานของประเทศ กล่าว
      
       นอกจากนั้น ทรัพย์สินที่พิพาทในคดีที่มูลนิธิผู้บริโภคได้ยื่นฟ้องในครั้งนี้ ก็ยังไม่ได้ถูกวินิจฉัยชี้ขาดในคำสั่งคำร้องของ ปตท.ที่ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ทรัพย์สินของ ปตท.ที่เป็นระบบท่อส่งก๊าซบนบกและในทะเลที่เริ่มดำเนินการก่อนการแปรสภาพ เป็น บมจ.ปตท.ทั้งหมด และโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเล แหล่งอาทิตย์-โรงแยกก๊าซฯ ระยอง (ท่อเส้นที่ 3) ที่มีการวางท่อในทะเลตั้งแต่ยังเป็น ปตท.ก่อนการแปรรูปเป็น บมจ.ปตท.


       อันที่จริง หากกระทรวงการคลังมีความกระตือรือร้นติดตามทวงคืนทรัพย์สินตามคำพิพากษาตาม ที่ สตง.ได้แจ้งว่ายังไม่ครบถ้วน เรื่องนี้อาจได้ข้อยุติและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายไปนานแล้ว แต่กระทรวงการคลังกลับแจ้งผลการพิจารณาต่อ สตง. โดยสรุปว่า เมื่อศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยและมีคำสั่งตามคำร้องของ ปตท.แล้วว่า ปตท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแบ่งแยกและโอนทรัพย์สินให้กระทรวง การคลังครบถ้วนแล้ว ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงเห็นว่าการแบ่งแยกและโอนทรัพย์สินของ ปตท.ให้กระทรวงการคลังเป็นอันเสร็จสิ้น และนำผลการพิจารณาเสนอต่อ ครม.เพื่อรับทราบเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2553
      
       การรวบรัดตัดตอนให้เรื่องจบของกระทรวงการคลังทั้งที่ยังมี ข้อโต้แย้งกันอยู่ มิหนำซ้ำยังละเลยไม่ส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเพื่อให้ ได้ข้อยุติตามที่ระบุไว้ในมติ ครม.เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2550 จึงมีการเสนอเรื่องร้องเรียนมายังคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ให้ตรวจสอบและผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติราชการอย่างมีธรรมาภิ บาล
      
       และเมื่อกระทรวงการคลังยังเพิกเฉย คณะกรรมาธิการฯ จึงมีหนังสือถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอให้พิจารณาดำเนินคดีต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวน
      
       ส่วนเรื่องที่กระทรวงการคลัง ไม่ได้ส่งรายงานการตรวจสอบของ สตง.ที่มีความเห็นแย้งว่าการส่งมอบทรัพย์สินยังไม่ครบถ้วน เพื่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ได้ข้อยุติตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2550 นั้น ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาฯ ที่มาชี้แจงในที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ แจ้งว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาไม่กล้าตีความหรือให้ความเห็น เพราะความเห็นของกฤษฎีกาไม่เป็นที่ยุติ จะต้องไปยุติที่ศาลปกครองสูงสุดที่จะตัดสินชี้ขาด
      
       เมื่อไม่มีภาคส่วนใดหรือองค์กรใดในองคาพยพแห่งรัฐที่จะชี้ขาดว่า ปตท.แบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิในการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อคืนให้แก่รัฐหรือ กระทรวงการคลังครบถ้วนหรือไม่ ท้ายที่สุดมูลนิธิผู้บริโภคจึงต้องฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดให้ เรื่องนี้เป็นที่ยุติและยอมรับของทุกฝ่าย
      
       ในคำฟ้องของมูลนิธิผู้บริโภค นอกจากจะขอให้ศาลได้โปรดวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ปตท.คืนแก่รัฐ ยังไม่ครบถ้วนแล้ว ยังกล่าวถึงความเดือดร้อนของประชาชนผู้ใช้ก๊าซฯ ในประเทศว่าจะได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงหากไม่มีการดำเนินการอย่างใด อย่างหนึ่งเพื่อให้ได้ทรัพย์สินกลับคืนมาเป็นของรัฐ
      
       กล่าวคือ จะทำให้รัฐขาดรายได้ที่จะนำมาพัฒนาประเทศ ซึ่งรายได้ที่ว่าค่าบริการส่งก๊าซผ่านระบบท่อโดยนับจากที่มีการแปรรูป ปตท. เมื่อปี 2544 ถึงปี 2554 รวม 11 ปี ปตท.มีรายได้จากค่าผ่านท่อก๊าซฯ ประมาณ 215,995 ล้านบาท ค่าผ่านท่อนี้ ปตท.ได้นำไปรวมกับราคาจำหน่ายก๊าซแก่ผู้บริโภค
      
       เมื่อระบบท่อส่งก๊าซฯ เป็นของรัฐตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ค่าผ่านท่อ 215,995 ล้านบาทก็ควรจะต้องเป็นของรัฐทั้งหมด แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า ปตท.ได้ชำระค่าตอบแทนในการใช้ท่อส่งก๊าซฯ ย้อนหลังจากปี 2544-2554 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,797 ล้านบาทเท่านั้น ทำให้รัฐเสียหายและประชาชนต้องจ่ายค่าก๊าซแพง
      
       นอกจากนั้น ยังส่งผลให้ประชาชนต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้นด้วย เพราะการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต้องซื้อก๊าซเพื่อเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าจาก ปตท.ในราคาสูง เนื่องจาก ปตท.เป็นผู้ผูกขาดท่อก๊าซและการค้าก๊าซในประเทศ ซึ่งต้นทุนค่าซื้อก๊าซจาก ปตท.ของ กฟผ.ถูกผลักภาระมาให้ประชาชนในรูปของค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่า Ft
      
       ปตท.ยังฉวยโอกาสที่กฎหมายเปิดช่องให้ขึ้นราคาค่าผ่านท่อส่งก๊าซโดย ไม่เป็นธรรม เอาเปรียบผู้บริโภคก๊าซและไฟฟ้า ทั้งที่ ปตท.ไม่ใช่เจ้าของและผู้ลงทุนที่แท้จริง กล่าวคือ ปตท.ได้ประเมินมูลค่าท่อส่งก๊าซใหม่เมื่อปี 2551 เพิ่มขึ้นมาเป็น 91,556 ล้านบาท จากเดิมขณะที่แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนเมื่อปี 2544 ประเมินว่ามีมูลค่าเพียง 47,664 ล้านบาท
      
        มูลค่าท่อก๊าซที่เพิ่มขึ้นนี้ถูกนำมาคิดค่าตอบแทน (กำไร) อีกร้อยละ 18 โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยังมีมติให้ปรับขึ้นค่าผ่านท่ออีก ทำให้ผู้ใช้ก๊าซและไฟฟ้าต้องรับภาระค่าผ่านท่อที่เพิ่มขึ้น ขณะที่หากท่อส่งก๊าซเป็นของรัฐซึ่งไม่หวังผลกำไรคงไม่มีการประเมินมูลค่าท่อ ก๊าซใหม่ และประชาชนคนไทยก็ต้องรับภาระค่าผ่านท่อที่เพิ่มขึ้น
      
       “ตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน ปตท.ได้เงินมากกว่าปีละ 200,000 ล้านบาท กลายเป็นต้นทุนราคาก๊าซและค่าไฟฟ้าแพง” น.ส.รสนา ในฐานะผู้ฟ้องคดี กล่าว
      
       อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ ปตท.เป็นบริษัทมหาชนในตลาดหุ้นในระดับ “บิ๊กแคป” การฟ้องร้องปตท.อาจสร้างความกังวลต่อการพิจารณาคดีของศาล ทางผู้ฟ้องคดีจึงกราบเรียนต่อศาลว่า การฟ้องให้แบ่งแยกทรัพย์สินตามคำพิพากษาของศาลคืนแก่รัฐนั้นไม่ทำให้เกิด ความเสียหายต่อเศรษฐกิจและผู้ถือหุ้นของ ปตท.แต่อย่างใด เพราะ บมจ.ปตท.ได้บรรยายความเสี่ยงเรื่องท่อส่งก๊าซไว้แล้วในหนังสือชี้ชวนซื้อ หุ้น ซึ่งระบุว่าต้องแบ่งแยกส่งคืนรัฐหลังแปรสภาพภายในหนึ่งปี แม้ว่าเงื่อนไขนี้จะถูกยกเลิกในภายหลังก็ตาม
      
       นอกจากนั้น ผู้ถือหุ้นยังได้รับประโยชน์จากการประเมินมูลค่าท่อส่งก๊าซที่เพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบสองเท่า
      
       หากศาลมีคำพิพากษาให้การคืนทรัพย์สินตามฟ้องมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมี คำพิพากษาเป็นต้นไป ค่าผ่านท่อที่ ปตท.ได้รับไปแล้วในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่คิดเป็นเงินประมาณ 215,995 ล้านบาทนั้นก็ไม่ต้องส่งคืนรัฐ และ ปตท.ได้นำเงินส่วนนี้ไปสร้างท่อส่งและจำหน่ายก๊าซอีกหลายโครงการและแสวงหา ประโยชน์ได้ต่อไป ระบบงบดุลและการเงินของ ปตท.ก็ไม่มีผลกระทบ ต่อตลาดหุ้น และเศรษฐกิจก็ไม่กระทบเช่นกัน
      
       แต่หากศาลพิจารณาพิพากษาให้ ปตท.ชดใช้เงินที่รับจากค่าผ่านท่อให้แก่รัฐ ก็จะเกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนยิ่งขึ้น ซึ่ง ปตท.มีทรัพย์สินมากเพียงพอที่จะชดใช้คืนได้ และยังมีท่อส่งก๊าซและท่อจำหน่ายอีกหลายโครงการที่นำไปหาประโยชน์ได้ต่อไป เช่นกัน
      
       ผู้ฟ้องคดีจึงขอให้ศาลโปรดพิจารณาและพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 5 ร่วมกันดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินของ ปตท.ที่เป็นระบบท่อส่งก๊าซบนบกและในทะเลที่เริ่มดำเนินการก่อนการแปรสภาพ เป็น บมจ.ปตท.ทั้งหมด และโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเล แหล่งอาทิตย์-โรงแยกก๊าซฯ ระยอง (ท่อเส้นที่ 3) ที่มีการวางท่อในทะเลตั้งแต่ยังเป็น ปตท.ก่อนการแปรรูปเป็น บมจ.ปตท.ให้กลับมาเป็นของรัฐ
      
        การทวงท่อก๊าซจาก ปตท.คืนแก่รัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะและเพื่อประชาชน จึงเป็นตัวชี้วัดอีกครั้งว่าสังคมไทยยังมีความยุติธรรมหลงเหลืออยู่หรือไม่?

วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พูดดี ให้ดูดี แต่ทำไม่ได้..สื่ออ้างธรรมนำหน้า


ทวงจัง หุ้น ปตท. เงิน ปตท. แต่ ปตท.สร้างภัยเสี่ยง ให้ชาวบ้านมาบตาพุด สื่อหุบปากกันเงียบหมด รวมทั้งสื่อ ASTV ด้วย การออกมาพูดซ้ำๆ ย้ำๆ ว่า พวกตัวดีนั้น จึงถามว่า ดีกันแบบไหน ดีเพราะด่าชาวบ้านเลว หรืออย่างไรกัน ...
๐ โรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. สร้างภัยเสี่ยงมหาศาลที่มาบตาพุด หุบปาก เพราะสาเหตุอะไร ๐
“ปานเทพ”ยันสื่อรับเงินบริจาคประชาชนแล้วต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน-ตรวจสอบทุกรัฐบาล ไม่เห็นจะหน้าด้านตรงไหน ชี้ควรน่าภูมิใจมากกว่า ถามกลับ สื่อที่รับใช้นายทุ
น-นักการเมืองเพราะได้เงินมาจากนายทุน-นักการเมือง กับสื่อที่รับใช้ประชาชนและรับเงินจากประชาชนโดยตรง ใครควรโดนตำหนิว่า"หน้าด้าน"มากกว่ากัน วอนสื่อเครื่องมือพรรคการเมืองหยุดดูถูกชาวบ้าน กล้ายืดอกรับความจริง

ถ้าสื่ออย่าง ASTV ตรวจสอบทุกกลุ่มทุนที่เอาเปรียบประชาชน ซึ่งรวมถึง ปตท. กลายเป็นสื่อที่หน้าด้านด้วยเหตุผลเพราะขอรับเงินจากประชาชน แล้วสื่อมวลชนที่ไม่เคยตรวจสอบความล้มเหลวของทุกรัฐบาลที่ประชาชนถูกปล้นจากกระทรวงพลังงาน และ ปตท. จะเรียกตัวเองว่าอะไร?

ถ้าสื่ออย่าง ASTV เป็นสื่อที่หน้าด้านเพราะขอรับเงินจากประชาชน แล้วสื่อมวลชนที่ไม่เคยตรวจสอบความล้มเหลวของทุกรัฐบาลในการปกป้องอธิปไตยของชาติจนถูกเพื่อนบ้านรุกราน และถูกนำคดีขึ้นศาลโลก แล้วไปยอมรับอำนาจศาลโลก จะเรียกตัวเองว่าอะไร?

ผมคิดว่าในยุคข้อมูลข่าวสารที่มากมายและไร้พรมแดนทุกวันนี้ ยากที่จะปิดกั้นสื่อทุกแขนงได้(ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชนหรือเครื่องมือของพรรคการเมือง) โดยเฉพาะในยุคที่มีสื่อเครือข่ายทางสังคม Social Network ได้เกิดขึ้นอย่างไร้ขีดจำกัด ... รายละเอียด -http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000127059

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

“รวมพลังปลดหนี้แก๊สแอลพีจี” โฆษณาที่บิดเบือน! โดย ประสาท มีแต้ม

ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านได้เห็นโฆษณาชิ้นใหม่ที่ชื่อ “รวมพลังปลดหนี้แก๊สแอลพีจี” ทางสื่อโทรทัศน์บ้างแล้วหรือยังครับ คราวนี้มีดีกว่าชุดรู้ทันก๊าซ เพราะระบุผู้จัดทำเรียบร้อยคือ กระทรวงพลังงาน แต่สำหรับเนื้อหาสาระแล้วบิดเบือนมากกว่า เพราะมีเป้าหมายชัดเจนคือเพื่อการขอขึ้นราคาด้วยข้ออ้างที่บิดเบือนไปจากความจริงที่สำคัญ จริงๆ แล้วโฆษณาชุดรวมพลังปลดหนี้แก๊สแอลพีจีคราวนี้มี 2 ชิ้นครับ เดี๋ยวผมจะลำดับเรื่องราวให้ท่านพิจารณาครับ
      
        ผมได้เคยสรุปสิ่งที่กล่าวข้างต้นว่าเป็นกระบวนการ “พัฒนา” ทั่วไปที่ประกอบไปด้วยสองขั้นตอนคือ “หนึ่งล้างสมองและสองปล้น” แต่ในกรณีแก๊สแอลพีจีนั้น เขาได้เริ่มต้นด้วยการปล้นก่อนเลยโดยที่คนไทยไม่รู้ตัว จริงๆ นะครับ ตอนนี้เป็นขั้นตอนล้างสมองแล้วก็จะจบด้วยการปล้นรอบใหม่ ไม่เชื่อก็ตามอ่านดูครับ
      
        โฆษณาชิ้นแรกสามารถหาชมได้ทาง YouTube โดยพิมพ์ข้อความในเครื่องหมายคำพูดตามชื่อบทความนี้ ผมได้ตัดภาพบางส่วนมาลงให้ดูเป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งครับ
       แต่ก่อนที่จะลงไปในเนื้อหา เรามาดูมูลค่าของแก๊สแอลพีจีกันสักนิดก่อนว่า ทำไมเขาจึงต้องลงทุนทำการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อล้างสมองกันถึงขนาดนี้
      
        ในปี 2554 คนในประเทศไทยใช้แก๊สแอลพีจีหรือที่เราเรียกกันติดปากว่า แก๊สหุงต้มจำนวน 6.89 ล้านตัน อย่าเพิ่งไปสนใจว่าแก๊สมาจากไหนและภาคธุรกิจใดใช้เท่าไหร่ (ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่โฆษณาชิ้นนี้บิดเบือนก่อนนะครับ)
      
        เอาเป็นว่า ที่ราคาขายปลีกปัจจุบัน (กันยายน 2555) ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามประกาศของทางราชการโดยไม่รวมค่าขนส่งอยู่ที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม มูลค่าก็ปาเข้าไปที่ 1.25 แสนล้านบาท ถ้าขายตามราคานำเข้า (บางส่วน) ที่ราคาตลาดโลก 31 บาท มูลค่าก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 2.14 แสนล้านบาท
      
        เห็นแล้วหรือยังครับว่ามูลค่ามันใหญ่โตขนาดไหน! ถ้าเขาสามารถทำได้สำเร็จมูลค่าก็เพิ่มขึ้นเกือบเก้าหมื่นล้านบาทต่อปี 
นี่ยังไม่นับที่เขาได้ปล้นไปแล้ว
      
        คราวนี้มาพิจารณาถึงสาระสำคัญของโฆษณาเจ้าปัญหานี้กัน สรุปได้ความว่า
      
        นานมาแล้วที่ปัญหานี้ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นเหมือนดินพอกหางหมู ส่วนหนึ่งของปัญหาคือการอุดหนุนราคา เพื่อให้ราคาถูกลงที่ 18 บาทต่อกิโลกรัมจากราคาจริง 31 บาท เมื่อราคาถูกลงก็มีการลักลอบไปขายให้ประเทศเพื่อนบ้าน บางคนก็ใช้ผิดประเภท (มีรูปรถยนต์ใช้แก๊สแอลพีจี) เชื่อไหม เมื่อก่อนประเทศไทยเคยเป็นผู้ส่งออกแก๊สแอลพีจี แต่หลังจากปี 2551 เป็นต้นมา เราได้เริ่มนำเข้า ส่วนหนึ่งเพราะใช้กันมากขึ้น (แต่ไม่บอกว่าภาคส่วนธุรกิจใดใช้มากขึ้นบ้าง) พร้อมกับเปรียบเทียบว่าเหมือนกับประเทศไทยมีบ้านอยู่ 100 หลัง แต่แก๊สที่ผลิตได้ในประเทศไทยมีเพียงพอสำหรับ 69 หลังเท่านั้น ที่ขาดหายไปจึงต้องมีการนำเข้าในราคาตลาดโลกที่ 31 บาทแล้วนำมาขายให้คนไทยในราคา 18 บาท ด้วยการอุดหนุนราคา ทำให้เราเป็นหนี้ก้อนโตกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท ถึงเวลาแล้วที่เราคนไทยต้องรวมพลังกันเพื่อปลดหนี้ก้อนโตที่เป็นเหมือนดินพอกหางหมู เริ่มง่ายๆ ด้วยการหันมายอมรับราคาแก๊สหุงต้มในราคาที่ควรจะเป็น พร้อมกับให้โอวาทสั่งสอนประชาชนว่า พลังงานมีค่า ใช้ให้ถูก ใช้ให้เป็น ใช้พลังงานอย่างประหยัด เอวัง
      
        รู้สึกอย่างไรกันบ้างครับ ผมไม่ได้ถอดมาแบบคำต่อคำ แต่ได้เปิดย้อนไปย้อนมาอยู่นับสิบรอบเลย ผมเชื่อว่าคนที่ไม่ได้เกาะติดข้อมูลอย่างใกล้ชิดย่อมเห็นคล้อยตาม ไม่มีทางจะจับได้ไล่ทันว่าเขาบิดเบือนอย่างไร ต้องยอมรับในฝีมือว่าบิดเบือนได้เจ๋งมากจริงๆ ต่อไปนี้เป็นข้อมูลและเหตุผลที่ผมใช้เพื่อแย้งกับโฆษณาดังกล่าว
      
        หนึ่ง กระทรวงพลังงานได้จัดแบ่งประเภทของผู้ใช้แก๊สแอลพีจีในประเทศไทยออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ภาคครัวเรือน ภาคยานยนต์ ภาคอุตสาหกรรมและภาคปิโตรเคมี แม้ว่าไม่ได้มีคำอธิบายที่ชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่มหลัง แต่ก็เข้าใจว่าในภาคปิโตรเคมีได้ใช้แก๊สแอลพีจีเป็นสารตั้งต้นในการผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ จากข้อมูลของสำนักแผนและนโยบายกระทรวงพลังงาน (สนพ.) ประวัติการใช้ตั้งแต่ปี 2529 ถึง 2554 ได้แสดงไว้ดังกราฟที่ผมพลอตขึ้นดังข้างล่างนี้
       ดูจากกราฟแล้วก็พบว่า เป็นความจริงอย่างที่โฆษณาเขาบอกคือ “ส่วนหนึ่งเพราะใช้กันมากขึ้น” โดยที่ในปี 2554 ภาคครัวเรือนใช้สูงสุดคือ 39% ถัดมาเป็นภาคปิโตรเคมี 35% โดยเพิ่งเริ่มใช้นับแต่ปี 2535 เป็นต้นมา สำหรับภาคยานยนต์และภาคอุตสาหกรรมมีส่วนร่วมเพียง 13% และ 10% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่า อัตราการเพิ่มของภาคปิโตรเคมีได้เพิ่มขึ้นมากที่สุดคือร้อยละ 34 ในช่วงปี 2553-2554 ในขณะที่ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น 9%
      
        ตามที่โฆษณาบอกว่าเราเริ่มนำเข้าตั้งแต่ปี 2551 นั้นก็เป็นความจริงอีกครับ แต่นำเข้าแค่ 0.45 ล้านตัน หรือคิดเป็น 9.4% ของปริมาณที่ใช้ทั้งหมด
      
        ในปี 2554 เรานำเข้า 1.4 ล้านตัน แต่เราใช้ในภาคปิโตรเคมีถึง 2.1 ล้านตัน ดังนั้น ผมจะขอสรุปอย่างง่ายๆ ก่อน (โดยจะให้เหตุผลในภายหลัง) ว่า ถ้ารัฐบาลมีนโยบายให้ภาคปิโตรเคมีซึ่งเป็นภาคธุรกิจ (ที่เพิ่งเกิดขึ้น) เป็นผู้รับผิดชอบนำเข้าแก๊สแอลพีจีเองในราคาตลาดโลกคือ 31 บาทต่อกิโลกรัม ปัญหาแก๊สแอลพีจีในอีก 3 ภาคก็จะไม่เกิดขึ้น
      
        ฟังดูเหมือนกับไม่ให้ความเป็นธรรมกับภาคปิโตรเคมี แต่โปรดพิจารณาข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ครับ
      
        สอง เนื่องจากรัฐบาลได้จัดตั้ง กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตั้งแต่ปี 2522 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกลไกของรัฐในการป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง และใช้ในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศ ในกรณีที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเดือดร้อนของประชาชนน้อยที่สุด ส่วนมากก็เก็บเงินจากผู้ซื้อน้ำมันเบนซินเพื่อไปอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล ในช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูง รัฐบาลก็เอาเงินกองทุนน้ำมันมาช่วยอุดหนุน
      
        แต่อยู่ๆ รัฐบาลก็นำเงินกองทุนน้ำมันมาอุดหนุนราคาแก๊สแอลพีจีด้วย ผมไม่ทราบแน่ชัดว่าเขาเริ่มอุดหนุนเมื่อใด เท่าที่ผมตรวจเจอ พบว่ามีการนำเงินกองทุนน้ำมันไปอุดหนุนราคาแก๊สแอลพีจีตั้งแต่ปี 2542 ในราคากิโลกรัมละ 5.55 บาท โดยที่จำนวนการอุดหนุนอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจีเป็นราคาเดียวกันทุกภาคธุรกิจ กล่าวคือไม่ว่าภาคครัวเรือนหรือภาคอุตสาหกรรม ภาคยานยนต์ และภาคปิโตรเคมีก็เป็นราคาเดียวกัน ตราบจนถึงวันที่ 20 มกราคม 2555 ก็ยังคงเป็นราคาเดียวกัน
      
        สาม เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2555 ราคาจึงได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ราคา โดยเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากผู้ซื้อแก๊สแอลพีจี ในภาคยานยนต์และภาคอุตสาหกรรมอีกกิโลกรัมละ 0.7 และ 8.4 บาท ในขณะที่ในภาคครัวเรือนไม่มีการเก็บ โปรดสังเกตนะครับว่า ไม่มีความแตกต่างของราคาในภาคอุตสาหกรรมและภาคปิโตรเคมี ทั้งๆ ที่สถิติการใช้ได้แยกมาแล้วตั้งแต่ปี 2535
      
        สี่ สิ่งที่ผมได้กล่าวมาค่อนข้างยาว มีประเด็นดังต่อไปนี้
      
        (1) รัฐบาลทุกชุด (อย่างน้อยก็ตั้งแต่ปี 2542 จนถึง 20 มกราคม 2555) ได้ออกระเบียบบังคับให้ผู้ใช้น้ำมันทั่วประเทศเป็นผู้อุดหนุนภาคปิโตรเคมีมาตลอด (ผมขอกันภาคอุตสาหกรรมไว้เป็นพยาน-ฮา) ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2542 จนถึงสิ้นปี 2554 ภาคปิโตรเคมีได้ใช้แก๊สแอลพีจีไปจำนวน 12.37 ล้านตัน ถ้าคิดเงินอุดหนุนจากกองทุนน้ำมัน 6 บาทต่อกิโลกรัม (ความจริงน่าจะมากกว่านี้ เพราะเขาอ้างว่าราคาจริง 31 บาท แต่ขายในราคา 18 บาท) ก็คิดเป็นเงินอุดหนุนทั้งสิ้น 74,220 ล้านบาท หรืออาจจะมากกว่านี้ถึง 2 เท่าก็ได้ แต่ผมไม่มีเวลาสืบค้นมากพอ ประกอบกับในช่วงที่ผมสืบค้นจากข้อมูลของกระทรวงพลังงานนั้น ตารางที่ผมอยากรู้ไม่สามารถเข้าไปดูได้
      
        (2) กิจการการปิโตรเคมีไม่ต้องซื้อน้ำมันใช้ ดังนั้น จึงไม่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันเลย เพิ่งมาจ่ายก็นับตั้งแต่ 23 มกราคม 2555 นี้เอง ในอัตรา 8.4 บาทต่อกิโลกรัม (อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากนี้บ้าง)
      
        (3) กิจการปิโตรเคมีส่วนมากเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ดังนั้นผมจึงขอสรุปว่าผู้ใช้น้ำมันทั้งประเทศถูกอำนาจมหาชนของรัฐบังคับให้ไปช่วยอุดหนุนราคาแก๊สแอลพีจีให้กับบริษัท ปตท.ซึ่งกระทรวงการคลังถือหุ้น 51% ที่เหลืออีก 49% ก็เป็นเอกชนไม่กี่หมื่นรายเท่านั้น การกระทำของรัฐดังกล่าวจึงเป็นการใช้อำนาจมหาชนที่ไม่เป็นธรรมกับประชาชนผู้จ่ายเงินเข้ากองทุน
      
        ความจริงปัญหาแก๊สแอลพีจีเริ่มเกิดขึ้นจนกลายเป็นดินพอกหางหมูก็ตรงนี้แหละ ตรงที่มีการแปรรูป ปตท. เมื่อ 1 ตุลาคม 2544 ซึ่งก่อนหน้านี้ จะอุดหนุนกันสักเท่าไรก็ไม่เป็นไร เพราะเป็น “อัฐยายซื้อขนมยาย”
      
        (4) ผู้ที่กำหนดนโยบายที่ให้เอาเงินกองทุนน้ำมันไปอุดหนุนวัตถุดิบตั้งต้นคือแอลพีจีในปิโตรเคมีก็คือพวกข้าราชการระดับสูงนั่นเอง ส่งผลให้เกิดกำไรมหาศาลกับบริษัทลูกของ ปตท. อย่างที่สังคมทราบๆ กันอยู่ กำไรดังกล่าวจะกลับมาสู่ข้าราชการระดับสูงเหล่านี้ เพราะเขาไปนั่งเป็นกรรมการในบริษัทในเครือของ ปตท.ด้วย
      
        ห้า ยังมีการโฆษณาอีกชิ้นหนึ่ง มีการสัมภาษณ์ผู้มีชื่อเสียงในสังคมไทย 4 คน มีชาวเฟซบุ๊กแกะคำพูดออกมาดังนี้ครับ
      
        คุณวิทวัส สุนทรวิเนตร์ “บางคนคิดว่า บ้านเรามีแก๊สเยอะ ทั้งๆ ที่มันเป็นทรัพยากรที่กำลังจะหมดไป” 
      
        ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา “เราต้องแยกแยะว่า ใครควรได้รับการอุดหนุน ไม่ใช่ทั้งหมด” 
      
        คุณสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ “การอุดหนุนยังคงต้องมี แต่ควรเลือกอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ถ้าใครใช้น้อย ก็จ่ายน้อย ใครใช้มาก ก็จ่ายมาก” 
      
        และคุณวีระ ธีรภัทร “เราต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด ควรจะช่วยคนที่มีรายได้น้อยจริงๆ เท่านั้น” 
      
        ผมอยากจะถามท่านผู้อ่านทุกท่านครับว่า จากข้อมูลที่กล่าวมาแล้วนี้ เราพอสรุปได้แล้วหรือยังว่า กองทุนน้ำมันที่เขาอ้างว่าเป็นหนี้กว่า 2.2 หมื่นล้านบาทนั้นเป็นเพราะเหตุใด รัฐบาลใช้อำนาจมหาชนของรัฐบังคับเอาเงินของใครไปอุดหนุนใครกันแน่ ความเห็นของ 4 คนดังนี้ มีส่วนใดที่ตรงจุดเข้าเป้าเข้าประเด็นบ้าง
      
        หก ในแง่ปรัชญา รัฐบาลส่วนใหญ่ในโลกนี้ถือหลักว่า ปิโตรเลียมใต้ดินเป็นของรัฐไม่ว่าจะอยู่ใต้ที่ดินโฉนดของเอกชนรายใดก็ตาม คล้ายๆ กับคลื่นการสื่อสารในอากาศเป็นของรัฐ แนวคิดแบบนี้ผมเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แต่ปัญหามีอยู่ว่า เมื่อรัฐให้สัมปทานกับบริษัทเอกชนไปขุดเจาะแล้ว ปิโตรเลียมที่เจาะได้กลายเป็นของเอกชนทันที ในอดีต รัฐไทยเคยมีมาตรการให้ประชาชนในประเทศเป็นผู้ใช้ปิโตรเลียมก่อน แต่ในปัจจุบันผู้ได้สัมปทานสามารถส่งผลผลิตไปไหนก็ได้อย่างเสรีทั่วโลกในทางปฏิบัติ
      
        เจ็ด ทั้งบรรพบุรุษและประชาชนไทยในอดีตได้เสียเลือดเนื้อ ชีวิต มานับไม่ถ้วนเพื่อปกป้องรักษาแหล่งปิโตรเลียมให้อยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน แล้วเมื่อได้รับผลประโยชน์จากปิโตรเลียมดังกล่าว รัฐบาลไทยในฐานะผู้ใช้อำนาจมหาชนของรัฐ จะไม่มีน้ำใจที่จะให้สิทธิพิเศษแก่ทายาทของบรรพบุรุษผู้เสียสละบ้างเลยหรือ
      
        นั่นคือ ขอให้ประชาชนไทยได้ใช้แก๊สแอลพีจีก่อนบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ในภาคปิโตรเคมีที่ไม่รู้หัวนอนปลายตีน (ในตลาดหุ้น) และขอใช้ในราคาที่ถูกกว่า เป็นไปได้ไหมว่ารัฐบาลออกระเบียบให้ภาคปิโตรเคมีนำเข้าแก๊สแอลพีจีเอง ส่วนที่ผลิตได้ในประเทศให้คนประชาชนไทยใช้ก่อนในราคาคนไทย
      
        แต่เป็นเรื่องน่าเศร้ามากที่ทุกอย่างกลับเป็นสิ่งตรงกันข้าม คือ นอกจากประชาชนไทยจะไม่ได้รับผลประโยชน์พิเศษแล้ว กลับถูกรัฐบาลปล้นไปช่วยธุรกิจปิโตรเคมี (ซึ่งผู้บริหารของ ปตท.เคยคุยว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 20 เท่าตัว) มาตลอด คนไทยส่วนใหญ่จึงถูกรัฐบาลทำให้ยากจนลงทุกวัน (หมายเหตุ บทความนี้ยาวกว่าปกติ เพราะเอเอสทีวีผู้จัดการไม่ได้พิมพ์บทความของผมลงกระดาษหนังสือพิมพ์แล้วครับ) 

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

ผ่าไส้กลุ่มเชฟรอน โยงใย 15 บ.ไทย-ต่างชาติ บิ๊กกลุ่มทุน ปตท.-กฟผ.-ยักษ์ชิปปิ้ง-ตระกูลแบงก์ดัง



ผ่าไส้กลุ่มเชฟรอน โยงใย 15 บ.ไทย-ต่างชาติ  บิ๊กกลุ่มทุน ปตท.-กฟผ.-ยักษ์ชิปปิ้ง-ตระกูลแบงก์ดัง หุ้นส่วน ซุ่มจดทะเบียนตั้งบริษัทลับบนเกาะสวรรค์“เคย์แมน-บริติเวอร์จินส์”โอนหุ้น ไป-มา เชื่อมเป็นเครือข่าย
ภายหลังที่กลุ่มเชฟรอนยักษ์สัญชาติสหรัฐรุกเข้ามาทำธุรกิจพลังงานใน ประเทศไทยตั้งแต่ปี 2545เป็นต้นมากระทั่งปัจจุบันได้จดทะเบียนทำธุรกิจในประเทศไทยทั้งสิ้น 8 บริษัท  ได้แก่  บริษัท เชฟรอน  ออฟชอร์ (ประเทศไทย)  จำกัด   บริษัท เชฟรอน บล๊อค บี8 32 (ประเทศไทย) จำกัด  บริษัท เชฟรอนเอเชียเซ้าท์ จำกัด   บริษัท บี 8/32 พาร์ทเนอร์ จำกัด   บริษัท ซียูอีแอล จำกัด  บริษัท เอ็นเอสที ซัพพลาย เบส จำกัด  บริษัท เชฟรอน เอ็นเนอร์จี ดิเวลล็อปเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด และ  บริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด
ทั้ง 8 บริษัท มีผลประกอบเฉพาะปี 2553  ปีเดียวมีรายได้ 54,736.3 ล้านบาท  กำไรสุทธิ 10,229.7 ล้านบาท
ข้อมูลที่อาจไม่ปรากฏต่อสาธารณะมาก่อนหน้านี้ก็คือการทำธุรกิจของยักษ์พลังงานรายนี้มีใครเป็นพันธมิตร?
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org  นำข้อมูลมาเปิดเผยดังต่อไปนี้
จากการตรวจสอบพบว่า กลุ่มทุนชั้นนำเมืองไทยที่ร่วมลงทุนกับเชฟรอนมี 4 บริษัทได้แก่
                1.กลุ่ม ปตท. ร่วมถือหุ้นใน บริษัท บี 8/32  พาร์ทเนอร์ จำกัด  จำนวน 30,556 หุ้น หรือประมาณ 25% (หุ้นละ 1,000 บาท)  เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม  2548 โดยใช้ชื่อ บริษัท พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ จำกัด ที่ตั้งเลขที่ 555 ถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพฯ หลังจากนั้น วันที่  17 พฤศจิกายน 2548  บริษัท พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ จำกัด  ได้ย้ายไปจดทะเบียนที่เกาะเคย์แมน สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์ ที่อยู่เลขที่ พี.โอ.บ็อกซ์ 501 ชั้น 2 อาคารธนาคารโนวาสโกเทีย จอร์จทาวน์ แกรนด์ เคย์แมน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ คัมปะนี ลิมิเต็ด  จนถึงปัจจุบัน
2.บริษัท ราชบุรีแก๊ส จำกัด (กลุ่ม กฟผ.) ร่วมถือหุ้น บริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด  จำนวน 12,838,875 หุ้น(กลุ่มก.) และ 375 หุ้น (กลุ่ม ค.) หุ้นละ 100 บาท  คิดเป็น 50% โดยรับโอนมาจาก บริษัท บ้านปูแก๊ส เพาเวอร์ จำกัด เมื่อวันที่ 8 ม.ค.2547   กระทั่งถือหุ้นจนปัจจุบัน
ทั้งนี้ บริษัท ราชบุรีแก๊ส จำกัด ทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท  บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ถือหุ้น 100%  ( การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย –กฟผ. ถือหุ้นใน บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง  45%)
3.บริษัท ยูไนเต็ดไทย ชิปปิ้ง จำกัด  (กลุ่มนายชวลิต เชาว์) ร่วมถือหุ้น บริษัท ซียูอีแอล จำกัด  (ชื่อ เดิมบริษัท คลัฟ-ยูนิไทย เอนจิเนียริ่ง จำกัด) จำนวน 3,999,994 หุ้น มาตั้งแต่  10 ตุลาคม2549  หลังจากนั้นวันที่  9  พฤษภาคม 2550 แบ่งให้บริษัทในเครือ คือ บริษัท ยูนิไทย เอนเนอจี้ จำกัด ถือหุ้น 2,500,000 หุ้น  กระทั่งปัจจุบัน
บริษัท ยูไนเต็ดไทย ชิปปิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจ ท่า เทียบเรือ นายหน้าตัวแทน  จดทะเบียนวันที่ 2 ตุลาคม 2521  ทุน ปัจจุบัน  2,940 ล้านบาท  ที่ตั้ง เลขที่ 25 อาคารอัลม่าลิงค์ ชั้น 11 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ นาย ชวลิต เชาว์ ถือหุ้น 50.99%  ไอเอ็มซี อินดัสเทรียล ลิมิเต็ด  สัญชาติ เบอร์มิวด้า 44.31%  กระทรวงการคลัง  4.68%   ส่วน บริษัท ยูนิไทย เอนเนอจี จำกัด  22 พฤศจิกายน 2548 ทุน 300 ล้านบาท  ประกอบธุรกิจลงทุนในบริษัทอื่น  นายชวลิต เชาว์ ถือหุ้น 100%
4.กลุ่มโสภณพนิช จากการตรวจสอบพบว่าร่วมถือหุ้นกับกลุ่มเชฟรอน 2 บริษัท คือ
หนึ่ง บริษัท บี 8/32  พาร์ทเนอร์ จำกัด กลุ่มโสภณพนิชร่วมถือหุ้นมาตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2547 ในชื่อ บริษัท พลังโสภณ จำกัด (สัญชาติไทย) และ บริษัท พลังโสภณ อินเตอร์เนชันแนล จำกัด  จดทะเบียนจัดตั้งบนเกาะ เคย์แมน  (สัญชาติ เคย์แมนไอซ์แลนด์) ที่ตั้ง  วอล์คเกอร์ส เอสพีวี ลิมิเต็ด วอล์คเกอร์ เฮ้าส, พีโอบ็อกซ์ 908 จีที ,แมรี สตรีท ,จอร์จ ทาวน์ , แกรนด์ เคย์แมน , เคย์แมน ไอซ์แลนด์
วันที่ 30 เม.ย.2550  บริษัท พลังโสภณ จำกัด ได้โอนหุ้นให้บริษัท เชฟรอน บล็อค บี 8/32 (ประเทศไทย) จำกัด 8,048 หุ้น  ขณะที่วันที่  29 เม.ย.2553 บริษัท พลังโสภณ อินเตอร์เนชันแนล จำกัด  ได้โอนหุ้นให้ บริษัท คริสเอ็นเนอร์ยี่ (กัลฟ์ ออฟ ไทยแลนด์ ) จำกัด (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) 5,098 หุ้น ทำให้กลุ่มโสภณพนิชไม่มีหุ้นในบริษัท เชฟรอน บล็อค บี 8/32 (ประเทศไทย)อีกต่อไป
สอง บริษัท เอ็นเอสที ซัพพลาย เบส จำกัด  กลุ่มโสภณพนิชในนามบริษัท พลังโสภณ จำกัด ร่วมถือหุ้นตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2554  จำนวน 1  หุ้น  หลังจากนั้นเพิ่มเป็น 3,301 หุ้น เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555  กระทั่งเหลือ 3,300 หุ้นหรือ 0.33%  ในปัจจุบัน
ขณะที่กลุ่มทุนต่างชาติที่ร่วมลงทุนกับกลุ่มเชฟรอนอย่างน้อย 5 บริษัทได้แก่
1.อีเอ็มอี ไตร เจน ,บีวี (EME Tri Gen,B.V.) สัญชาติเนเธอร์แลนด์ เลขที่ 3521 โครเซอส์แลนด์ 18 ซีบี  อูเทรด ประเทศเนเธอแลนด์  ร่วมถือหุ้น บริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด จำนวน 8,559,250 หุ้น (กลุ่ม ก.) และ 250 หุ้น (กลุ่ม ข.) ปี 2547
2. บริษัท โมเอโกะ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี.   สัญชาติเนเธอร์แลนด์  สตราวินสกีแลน 3105  เอเทรียน 1077 ซีเอ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์  ร่วมถือหุ้น บริษัท บี 8/32  พาร์ทเนอร์ จำกัด จำนวน 18,376 หุ้น
3.คริสเอ็นเนอร์ยี่ (กัลฟ์ ออฟ ไทยแลนด์ ) จำกัด สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์  ที่อยู่ วอคเกอร์เฮ้าส์  87 แม่รี่ สตรีท ,จอร์จทาวน์ แกรนด์ เคย์ แมน เควาย 1-9005 เคย์แมน ไอซ์แลนด์  ร่วมถือหุ้น บริษัท บี 8/32  พาร์ทเนอร์ จำกัด  จำนวน5,098 หุ้น  และ บริษัท เอ็นเอสที ซัพพลาย เบส จำกัด จำนวน 5,600 หุ้น
4.มิตซุย ออยล์ เอ็กซโปลเรชั่น จำกัด  ร่วมถือหุ้น บริษัท เอ็นเอสที ซัพพลาย เบส จำกัด จำนวน  205,800 หุ้น (สัญชาติญี่ปุ่น)
5.บริษัท เจวี ชอร์ เบส จำกัด ร่วมถือหุ้น  บริษัท เอ็นเอสที ซัพพลาย เบส จำกัด จำนวน   156,700 หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอส์แลนด์)  ที่อยู่ พี.โอ.บ๊อกซ์ 1034 แกรนด์เคย์แมน เควาย 1-1102 ประเทศเคย์แมน ไอส์แลนด์
สำหรับ บริษัทที่คาดว่าเป็นเครือข่ายของเชฟรอน 6 บริษัท ได้แก่
บริษัท เท็กซาโก้ ไทยแลนด์ เอนเนอจี้ คัมปะนี วัน  สัญชาติ บริติช เวส อินดี้ส์ เลขที่ พี.โอ.บ็อกซ์ 309 จอร์จ ทาวน์ แกรนด์เคย์แมน  เคย์แมน ไอส์แลนด์ส ประเทศบริติช เวส อินดี้ส์
เชฟรอน ไทยแลนด์ อิงค์ สัญชาติ อเมริกัน  เลขที่ 6001 โบลลิงเกอร์ แคนย่อนโร้ด ซาน รามอน แคลิฟอร์เนีย 94583 สหรัฐ
เชฟรอน ไทยแลนด์ แอลแอลซี  สัญชาติอเมริกัน เลขที่ 2711 ถนนเซ็นเตอร์วิล สูท 400  วิลมิงตัน ดีซี 19808  สหรัฐ
บริษัท เอเชีย คอนสตรัคชั่น ลิมิเต็ด  ที่ตั้ง ซีดาร์เฮ้าส์  เลขที่ 41 ซีดาร์ อเวนิว แฮมิลตัน เอชเอ็ม 12 เบอร์มิวด้า
เชฟรอน อี แอนด์ ซี  โฮลดิ้ง จำกัด ที่ตั้งเลขที่ 19 อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า อาคาร 3 ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ (สัญชาติ เบอร์มิวด้า) ต่อมา ย้ายที่ตั้ง เชฟรอนเฮ้าส์ 11 ถนนเชิร์ต แฮร์มิลตัน เอช เอ็ม 11 ประเทศเบอร์มิวด้า
บริษัท รูเธอร์ ฟอร์ด-โมแรน เอ็กซ์โพลเรชัน  คัมปะนี  เลขที่ 6001 ถนนโบลลิงเกอร์ แคนย่อน ซานเรม่อน ซีเอ. 94583 สหรัฐ
น่าสังเกตว่าบริษัทที่ทำธุรกิจร่วมกับกลุ่มเชฟรอนรวม 9 บริษัท (ไทยกับต่างชาติ) บางรายจดทะเบียนจัดตั้งในเกาะเคย์แมน บริติช เวอร์จินส์ หรือไม่ก็ เนเธอร์แลนด์ ขณะที่บริษัทกลุ่มเชฟรอนจำนวน 6 บริษัทมีทั้งจดทะเบียนในสหรัฐ เบอร์มิวด้า และเคย์แมน ขณะเดียวกันมีการโอนหุ้นกันไปมาระหว่างบริษัทเหล่านี้ด้วย
1.รายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด (ชื่อเดิมบริษัท เดอะเพาเวอร์โพรดิวเซอร์ จำกัด)
30 เม.ย.2546 8 ม.ค.2547 26 เม.ย.2549
1.บริษัท บ้านปูแก๊ส เพาเวอร์ จำกัด  12,838,875 หุ้น(กลุ่มก.) และ 375 หุ้น (กลุ่ม ค.) 1.บริษัท ราชบุรีแก๊ส จำกัด  12,838,875 หุ้น(กลุ่มก.) และ 375 หุ้น (กลุ่ม ค.) 1.บริษัท ราชบุรีแก๊ส จำกัด  17,118,500 หุ้น(กลุ่มก.) 125 หุ้น (กลุ่ม ข.) และ 375 หุ้น (กลุ่ม ค.)
2.บริษัท เท็กซาโก้ ไทยแลนด์ เอนเนอจี้ คัมปะนี วัน 12,838,870 หุ้น (กลุ่ม ก.) และ 375 หุ้น (กลุ่ม ข.) 2.บริษัท เท็กซาโก้ ไทยแลนด์ เอนเนอจี้ คัมปะนี วัน 12,838,870 หุ้น (กลุ่ม ก.) และ 375 หุ้น (กลุ่ม ข.) 2.บริษัท เท็กซาโก้ ไทยแลนด์ เอนเนอจี้ คัมปะนี วัน 17,118,495 หุ้น (กลุ่ม ก.)และ 500 หุ้น (กลุ่ม ข.)
3.อีเอ็มอี ไตร เจน ,บีวี8,559,250 หุ้น (กลุ่ม ก.) และ 250 หุ้น (กลุ่ม ข.) 3.อีเอ็มอี ไตร เจน ,บีวี8,559,250 หุ้น (กลุ่ม ก.) และ 250 หุ้น (กลุ่ม ข.)
จำนวนทั้งหมด 34,238,000 หุ้น ๆละ 100 บาท จำนวนทั้งหมด 34,238,000 หุ้น ๆละ 100 บาท จำนวนทั้งหมด 34,238,000 หุ้น ๆละ 100 บาท

18 ก.ค.2550 25 มี.ค.2552-29 มี.ค.2555
1.บริษัท ราชบุรีแก๊ส จำกัด  17,118,500 หุ้น(กลุ่มก.) 125 หุ้น (กลุ่ม ข.) และ 375 หุ้น (กลุ่ม ค.) 1.บริษัท ราชบุรีแก๊ส จำกัด  17,118,500 หุ้น(กลุ่มก.) 125 หุ้น (กลุ่ม ข.) และ 375 หุ้น (กลุ่ม ค.)
2.เชฟรอน ไทยแลนด์ เอนเนอจี้ คัมปะนี วัน 17,118,495 หุ้น (กลุ่ม ก.)และ 500 หุ้น (กลุ่ม ข.) 2.เชฟรอน ไทยแลนด์ เอนเนอจี้ คัมปะนี วัน 17,118,495 หุ้น (กลุ่ม ก.)และ 500 หุ้น (กลุ่ม ข.)
จำนวนทั้งหมด 34,238,000 หุ้น ๆละ 100 บาท จำนวนทั้งหมด 34,238,000 หุ้น ๆละ 100 บาท
ที่มา:กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ,สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รวบรวม
2.รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท บี 8/32  พาร์ทเนอร์ จำกัด
1 พ.ค.2549 30 เม.ย.2550 18 พ.ค.2552
1.พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ จำกัด 27,500 หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) 1. พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ คัมปะนี ลิมิเต็ด 27,500 หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) 1. พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ คัมปะนี ลิมิเต็ด 27,500หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์)
2. โมเอโกะ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี.  18,376 หุ้น (สัญชาติ เนเธอร์แลนด์) 2.โมเอโกะ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี.  18,376 หุ้น (สัญชาติ เนเธอร์แลนด์) 2.โมเอโกะ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี.  18,376 หุ้น (สัญชาติ เนเธอร์แลนด์)
3.เชฟรอน ไทยแลนด์ อิงค์ 50,974 หุ้น  (สัญชาติอเมริกัน) 3.เชฟรอน ไทยแลนด์ อิงค์ 50,974 หุ้น  (สัญชาติอเมริกัน) 3.เชฟรอน ไทยแลนด์ แอลแอลซี  50,974 หุ้น  (สัญชาติอเมริกัน)
4.บริษัท พลังโสภณ จำกัด 8,048 หุ้น  (สัญชาติไทย) 4.บริษัท เชฟรอน บล็อค บี 8/32 (ประเทศไทย) จำกัด 8,048 หุ้น 4.บริษัท เชฟรอน บล็อค บี 8/32 (ประเทศไทย) จำกัด 8,048 หุ้น
5. พลังโสภณ อินเตอร์เนชันแนล จำกัด  (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) 5,098 หุ้น 5.พลังโสภณ อินเตอร์เนชันแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด   (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) 5,098 หุ้น 5.พลังโสภณ อินเตอร์เนชันแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด   (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) 5,098 หุ้น

29 ก.ย.2552 29 เม.ย.2553 25 เม.ย.2555
1. พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ คัมปะนี ลิมิเต็ด 27,501หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) 1. พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ คัมปะนี ลิมิเต็ด 27,501 หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) 1. พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ คัมปะนี ลิมิเต็ด 27,501 หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์)
2.โมเอโกะ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี.  18,377 หุ้น (สัญชาติ เนเธอร์แลนด์) 2.โมเอโกะ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี.  18,377 หุ้น (สัญชาติ เนเธอร์แลนด์) 2.โมเอโกะ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี.  18,377 หุ้น (สัญชาติ เนเธอร์แลนด์)
3.เชฟรอน โกลบอล เอ็นเนอร์จี้ อิงค์ 50,974 หุ้น  (สัญชาติอเมริกัน) 3.เชฟรอน โกลบอล เอ็นเนอร์จี้ อิงค์ 50,974 หุ้น  (สัญชาติอเมริกัน) 3.เชฟรอน โกลบอล เอ็นเนอร์จี้ อิงค์ 50,974 หุ้น  (สัญชาติอเมริกัน)
4.บริษัท เชฟรอน บล็อค บี 8/32 (ประเทศไทย) จำกัด 8,050 หุ้น 4.บริษัท เชฟรอน บล็อค บี 8/32 (ประเทศไทย) จำกัด 8,050 หุ้น 4.บริษัท เชฟรอน บล็อค บี 8/32 (ประเทศไทย) จำกัด 8,050 หุ้น
5.พลังโสภณ อินเตอร์เนชันแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด  5,098 หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) 5.คริสเอ็นเนอร์ยี่ (กัลฟ์ ออฟ ไทยแลนด์ ) จำกัด5,098 หุ้น(สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์) 5.คริสเอ็นเนอร์ยี่ (กัลฟ์ ออฟ ไทยแลนด์ ) จำกัด5,098 หุ้น(สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์)
ที่มา:กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ,สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รวบรวม
3.รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ซียูอีแอล จำกัด  (ชื่อเดิมบริษัท คลัฟ-ยูนิไทย เอนจิเนียริ่ง จำกัด)
12 ม.ค.2545 10 ต.ค.2549 9  พ.ค.2550 1 พ.ค.2552 – 27 เม.ย. 2555
1.บริษัท ยูนิไทย ชิปยาร์ด แอนด์ เอนจิเนียริ่ง  1,999,993 หุ้น 1.บริษัท ยูไนเต็ดไทย ชิปปิ้ง จำกัด  3,999,994 หุ้น 1.บริษัท ยูไนเต็ดไทย ชิปปิ้ง จำกัด  1,500,000 หุ้น 1.บริษัท ยูไนเต็ดไทย ชิปปิ้ง จำกัด  1,500,000 หุ้น
2.บริษัท คลัฟ (ประเทศไทย) จำกัด 1,999,999 หุ้น 2.เชฟรอน อี แอนด์ ซี  โฮลดิ้ง จำกัด  2,000,000 หุ้น (สัญชาติ เบอร์มิวด้า) 2.เชฟรอน อี แอนด์ ซี  โฮลดิ้ง จำกัด  2,000,000 หุ้น (สัญชาติ เบอร์มิวด้า) 2.เชฟรอน อี แอนด์ ซี  โฮลดิ้ง จำกัด  2,000,000 หุ้น (สัญชาติ เบอร์มิวด้า)
3.บริษัท เอเชีย คอนสตรัคชั่น ลิมิเต็ด  2,000,000 หุ้น (สัญชาติ เบอร์มิวด้า) 3.บริษัท ยูนิไทย เอนเนอจี้ จำกัด 2,500,000 หุ้น 3.บริษัท ยูนิไทย เอนเนอจี้ จำกัด 2,500,000 หุ้น
จำนวนหุ้นทั้งสิ้น 6,000,000 หุ้น ๆ ละ 10 บาท จำนวนหุ้นทั้งสิ้น 6,000,000 หุ้น ๆ ละ 10 บาท จำนวนหุ้นทั้งสิ้น 6,000,000 หุ้น ๆ ละ 10 บาท จำนวนหุ้นทั้งสิ้น 6,000,000 หุ้น ๆ ละ 10 บาท
ที่มา:กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ,สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รวบรวม
4.รายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัท เอ็นเอสที ซัพพลาย เบส จำกัด
13 ธ.ค.2554 21 ก.พ. 2555 25 เม.ย.55
1.บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด 199,996 หุ้น (สัญชาติเบอร์มิวด้า) 1.บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด 628,596 หุ้น (สัญชาติเบอร์มิวด้า) 1.บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด 628,600 หุ้น  (สัญชาติเบอร์มิวด้า)
2.บริษัท พลังโสภณ จำกัด 1หุ้น 2.บริษัท พลังโสภณ จำกัด 3,301 หุ้น 2.บริษัท พลังโสภณ จำกัด 3,300 หุ้น
3.คริสเอนเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) โฮลดิ้งส์ จำกัด 1 หุ้น (สัญชาติ บริติชเวอร์จิ้น ไอส์แลนด์) 3.คริสเอนเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) โฮลดิ้งส์ จำกัด 5,601 หุ้น (สัญชาติ บริติชเวอร์จิ้น ไอส์แลนด์) 3.คริสเอนเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) โฮลดิ้งส์ จำกัด 5,600 หุ้น (สัญชาติ บริติชเวอร์จิ้น ไอส์แลนด์)
4.มิตซุย ออยล์ เอ็กซโปลเรชั่น จำกัด 1 หุ้น (สัญชาติญี่ปุ่น) 4.มิตซุย ออยล์ เอ็กซโปลเรชั่น จำกัด 205,801 หุ้น (สัญชาติญี่ปุ่น) 4.มิตซุย ออยล์ เอ็กซโปลเรชั่น จำกัด 205,800 หุ้น (สัญชาติญี่ปุ่น)
5.บริษัท เจวี ชอร์ เบส จำกัด 1 หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอส์แลนด์) 5.บริษัท เจวี ชอร์ เบส จำกัด 156,701 หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอส์แลนด์) 5.บริษัท เจวี ชอร์ เบส จำกัด 156,700 หุ้น (สัญชาติ เคย์แมน ไอส์แลนด์)
จำนวนทั้งสิ้น 200,000 หุ้น ๆ  ละ 1,000 บาท จำนวนทั้งสิ้น 1,000,000 หุ้น ๆ  ละ 1,000 บาท จำนวนทั้งสิ้น 1,000,000 หุ้น ๆ  ละ 1,000 บาท
ที่มา:กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ,สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รวบรวม
5.รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท เชฟรอน บล็อก บี 8/32 (ประเทศไทย) จำกัด (ชื่อเดิม พลังโสภณ จำกัด)
15 ม.ค.2546 1 เม.ย. 2547 29  เม.ย.2553
1.เชฟรอน ไทยแลนด์ อิงค์ 109,001 หุ้น (สัญชาติ อเมริกัน) 1.เชฟรอน ไทยแลนด์ อิงค์ 109,001  (สัญชาติ อเมริกัน) 1.เชฟรอน ไทยแลนด์ แอลแอลซี 149,998 หุ้น (สัญชาติ อเมริกัน)
2.บริษัท วัฒนโสภณพนิช จำกัด 7,047 จำกัด 2.รูเธอร์ ฟอร์ด-โมแรน เอ็กซ์โพลเรชัน  คัมปะนี 40,993 หุ้น (สัญชาติ อเมริกัน)
3.ออฟชอร์ เอ็นเนอร์ยี่  แอล.แอล.ซี.  32,293 หุ้น  (สัญชาติ อเมริกัน)
4.บริษัท ซี.แอล.แคปปิตอล จำกัด 1,653 หุ้น
จำนวนหุ้นทั้งหมด 150,000 หุ้น ๆ ละ 10,000 บาท จำนวนหุ้นทั้งหมด 150,000 หุ้น ๆ ละ 10,000 บาท จำนวนหุ้นทั้งหมด 150,000 หุ้น ๆ ละ 10,000 บาท
ที่มา:กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ,สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รวบรวม
6.บริษัท เชฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
26 เม.ย.2544 20 ธ.ค.2547 16 พ.ย.2552-25 เม.ย.2555
1.รูเธอร์ ฟอร์ด-โมแรน เอ็กซ์โพลเรชัน  คัมปะนี 612,698 หุ้น (สัญชาติ อเมริกัน) 1.เชฟรอน ไทยแลนด์ อิงค์ 1,065,311 หุ้น  (สัญชาติ อเมริกัน) 1.เชฟรอน ไทยแลนด์ แอลแอลซี 1,065,311 หุ้น  (สัญชาติ อเมริกัน
2.ไทย โรโม่ โฮลดิ้งส์, อิงค์ 452,704 หุ้น (สัญชาติ อเมริกัน)
รวมทั้งสิ้น 1,065,317 หุ้น ๆ ละ 100 บาท รวมทั้งสิ้น 1,065,317 หุ้น ๆ ละ 100 บาท รวมทั้งสิ้น 1,065,317 หุ้น ๆ ละ 100 บาท
ที่มา:กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ,สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รวบรวม

คนไทยพร้อมหรือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์


Pic_288096

มาบตาพุดวันนี้ โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ โรงงานปิโตรเคมี โรงงานสารเคมีอันตรายต่างๆมากมาย ยังสร้างทำกันไม่แข็งแรงมั่นคง ไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด โดยเฉพาะโรงงาน ของ ปตท.ที่อ้างโดยตลอดว่า มีมาตรฐานสูงแล้ว วันนี้ ไม่มีหน่วยงานไหนเข้าไปตรวจสอบ คงคิดว่า "เอาอยู่" แล้วยังคิดจะสร้างโรงงานที่มีอันตรายมากอีกหรือ แม้ว่าหลายฝ่ายจะมองว่า เป็นพลังงานสะเอาด จะต้องมีความเข้มข้นในการควบคุมอย่างไร

ประเด็น “ความมั่นคงทางพลังงาน” ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต ส่งผลให้ในแผนยุทธศาสตร์การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2.2 ล้านล้านบาท ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ได้บรรจุการลงทุนเพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าเข้าเป็นหนึ่งในแผนดังกล่าว ด้วย

เพราะไฟฟ้านอกจากจะเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต แล้ว ยังจำเป็นต่อการหล่อเลี้ยงภาคอุตสาหกรรม และการพาณิชย์ ยิ่งไปกว่านั้น การมีระบบไฟฟ้าที่มั่นคงเพียงพอในราคาถูก ยังเป็นอีกปัจจัยหลักในการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งนำไปสู่การเป็นฐานการผลิตสินค้าสำคัญๆ ของโลกในอนาคต

แต่หาก พิจารณากำลังการผลิตไฟฟ้าในปีนี้ ซึ่งอยู่ที่ 34,265 เมกะวัตต์ กับความต้องการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย 4 เดือนแรกของปีที่ 24,000 เมกะวัตต์ต่อวัน และมีอัตราการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) สูงถึง 26,121 เมกะวัตต์ ขณะที่คาดว่าความต้องการไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น 1,500 เมกะวัตต์ต่อปี จะเห็นว่าขณะนี้เรามีไฟฟ้าสำรองคงเหลืออยู่ไม่มาก

ทั้ง นี้ ตามแผนการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP 2010 (2553-2573) ได้ประเมินความต้องการใช้ไฟฟ้า 18 ปีข้างหน้า หรือปี 2573 ไว้ที่ 52,256 เมกะวัตต์ มากกว่าปัจจุบันกว่าเท่าตัว และเพื่อตอบสนองความต้องการใช้นั้น เราจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทั้งเพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าเก่าที่หมดสภาพ และโรงไฟฟ้าใหม่

อย่างไรก็ตาม การสร้างโรงไฟฟ้ายังคงเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวมากในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงโรงไฟฟ้า รวมทั้งประเด็นสิ่งแวดล้อม

การสร้างโรงไฟฟ้าของไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ใหม่ จึงถูกคัดค้านอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง!!

โอกาส ที่ “การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)” ได้นำสื่อมวลชนไปดูงานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และถ่านหินที่ประเทศญี่ปุ่น “ทีมเศรษฐกิจ” เห็นประเด็นน่าสนใจที่จะนำประสบการณ์ “การอยู่ร่วมกันของพลังงาน สิ่งแวดล้อม และชุมชน” ในญี่ปุ่น เพื่อมาแชร์ความคิดเห็นและมุมมอง ซึ่งอาจจะเป็นทางเลือกของ “สถานการณ์ด้านระบบไฟฟ้าของประเทศไทย” ได้บ้าง

10 ปี “ไฟฟ้า” มีโอกาสวิกฤติ
นาย พงษ์ดิษฐ พจนา ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้ข้อมูลถึงสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของไทย ล่าสุดสิ้นปี 2554 ที่ผ่านมาว่า เราใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้ามากที่สุด 67% รองลงมาเป็นถ่านหิน 19% น้ำมันเตา 1% ที่เหลือเป็นพลังงานหมุนเวียน 13%
พงษ์ดิษฐ
พงษ์ดิษฐ

“ทั้ง นี้ หากพิจารณาด้านความมั่นคงของพลังงานแล้ว สัดส่วนดังกล่าวแสดงให้เห็นการกระจายความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิงที่ยังไม่ดีพอ เพราะเราพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากกว่าครึ่ง ขณะที่ปริมาณก๊าซในอ่าวไทยที่เหลืออยู่อาจจะเพียงพออีก 15-20 ปีเท่านั้น หลังจากนั้น เราคงนำเข้าก๊าซฯ จากพม่าและมาเลเซียเพิ่มขึ้น ซึ่งคงต้องคิดให้ดีว่า เราจะมีปัญหาความมั่นคงทางไฟฟ้าหรือไม่ หากจะฝากกำลังการผลิตไฟฟ้า 67% ของประเทศไว้กับเพื่อนบ้าน”

ขณะที่ ด้านต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของไทยวันนี้ ข้อมูลปี 2555 ระบุว่า ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยไฟฟ้าของก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 3.20 บาท ขณะที่ถ่านหินนำเข้าอยู่ที่ 2.36 บาท น้ำมันดีเซลอยู่ที่ 11.60 บาท พลังงานลม 5-6 บาท พลังงานแสงอาทิตย์ 8-9 บาท พลังงานชีวมวล 2.80-3.50 บาท และพลังงานที่ถูกที่สุดคือนิวเคลียร์ 2.30 บาท

“สิ่งที่ กฟผ.เป็นห่วง คือ เสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในอนาคต เพราะหากเทียบกำลังการผลิตในขณะนี้ กับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นทุกปี หากเราไม่มีโรงไฟฟ้าใหม่ ไม่มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเลย อีกประมาณ 10 ปี ประเทศอาจจะมีไฟฟ้าไม่พอใช้ หรือมีใช้แต่คงต้องจ่ายค่าไฟในราคาที่สูงกว่านี้มาก”

นายพงษ์ดิษฐ ระบุด้วยว่า กฟผ.เข้าใจการคัดค้านของประชาชน แต่สถานการณ์ไฟฟ้าก็ใกล้ถึงจุดยากลำบากแล้วเช่นกัน เพราะการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะใช้เวลาอีก 5-6 ปี หลังจากผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียสำหรับกิจการที่ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง (EHIA) และได้รับอนุมัติก่อสร้างจากรัฐบาล

“วันนี้อยากเสนอให้การทำความเข้า ใจในเรื่องโรงไฟฟ้า และการสร้างโรงไฟฟ้าเป็น “วาระแห่งชาติ” เพื่อหาความชัดเจนใน 10-20 ปีข้างหน้า ว่าประเทศจะลงทุนพลังงานใดเป็นหลัก ก๊าซธรรมชาติ พลังงานหมุนเวียน ถ่านหิน หรือนิวเคลียร์ ซึ่งรัฐบาลต้องตัดสินใจ และเมื่อตัดสินใจแล้ว อย่าปล่อยให้ กฟผ.โดดเดี่ยวเหมือนทุกวันนี้ แต่ควรจะมีส่วนร่วมในกระบวนการ หรืออาจจะเป็นรูปแบบสภาพลังงาน เพื่อหาเวทีให้ทุกฝ่ายถกกันจนได้ข้อยุติ”

รับสภาพปิดฉาก “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์”

สำหรับ แนวทางการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิถล่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 11 มี.ค. 2554 จนนำไปสู่การรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสี

เชื่อได้ว่า โอกาสการเกิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในไทยคงต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด!!!

แม้ ว่า การปรับปรุง PDP 2010 ล่าสุดครั้งที่ 3 ของไทยจะยังคงกำหนดให้สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 แห่ง แห่งละ 1,000 เมกะวัตต์ ลดลงจากที่ให้สร้าง 4 แห่ง และเลื่อนแผนการก่อสร้างออกจากในปี 2563 เป็นปี 2569 ก็ตาม

วันที่สื่อมวลชนไทยไปเยี่ยมชม “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์คาชิวาซากิ-คาริวะ” ซึ่งถูกบันทึกจากกินเนสส์ เวิลด์ เร็คคอร์ดให้เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดในโลก ที่เมืองนิอิกาตะ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโตเกียวเพียง 200 กิโลเมตร ประเทศญี่ปุ่นยังเต็มไปด้วยเสียงคัดค้านของประชาชนที่ไม่ต้องการให้รัฐบาล กลับมาใช้พลังงานนิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าคาชิวาซากิ-คาริวะ อยู่ระหว่างการหยุดเดินเครื่อง ตามคำสั่งของรัฐบาลญี่ปุ่นที่สั่งปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมด 54 โรง ตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าในญี่ปุ่นลดลงถึง 24% ก่อนที่จะให้เปิดทำการใหม่ 2 โรงในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ผ่านแบบทดสอบภาวะวิกฤติและมาตรฐานการรับมือภัยธรรมชาติ ซึ่งจะต้องมีกลไกป้องกันแผ่นดินไหว 9 ริกเตอร์ และป้องกันสึนามิที่สูงไม่ต่ำกว่า 15 เมตร

ทั้งนี้ เมื่อสอบถามถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น “กาทูฮิโกะ ฮายาชิ” ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร โรงไฟฟ้านิวเคลียร์คาชิวาซากิ–คาริวะ ซึ่งเป็นของบริษัทโตเกียว อิเลกทริค พาวเวอร์ หรือเทปโก้ เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะฯได้กล่าว “ขอโทษ และแสดงความเสียใจที่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้น และระบุว่า การฟื้นฟูโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะฯ คงต้องใช้เวลาอีกค่อนข้างนาน เพื่อให้กลับมาเดินเครื่องได้ตามปกติ และประชาชนมีความมั่นใจ”

ส่วน อนาคตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น ทางเทปโก้หวังว่า รัฐบาลจะอนุญาตให้เดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้อีกครั้ง และอนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่เพิ่มเติมได้ ซึ่งขณะนี้มีความเป็นไปได้ และไม่ได้พอๆ กัน

นายพงษ์ดิษฐ ยอมรับว่า “กฟผ.ไม่ได้คิดถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากนักในขณะนี้ เข้าใจว่า สถานการณ์ยังไม่เหมาะสม และเป็นห่วงเรื่อง ความปลอดภัย ซึ่งคงต้องใช้เวลายาวนานในการทำความเข้าใจ สักวันหนึ่งอีกสัก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยอาจมีการทบทวนอีกครั้งว่า จำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่”

ต้นแบบ “เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด”


ทั้ง นี้ ก่อนหน้าเหตุการณ์โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะฯ เชื้อเพลิงที่ประเทศญี่ปุ่นใช้ผลิตไฟฟ้าอยู่ในภาวะค่อนข้างสมดุล โดยมีถ่านหินมากที่สุด 27% ก๊าซธรรมชาติ 26% นิวเคลียร์ 24% ที่เหลือเป็นอื่นๆ แต่หลังจากเกิดปัญหา ญี่ปุ่นหันมาให้ความสำคัญกับเชื้อเพลิงถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก

ใน ประเทศไทย การผลิตไฟฟ้าจากเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ถือเป็นอีกทางเลือกที่สำคัญ ตามแผน PDP 2010 ปรับปรุงใหม่ครั้งที่ 3 ซึ่งกำหนดให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวน 9 โรง ภายในปี 2573 กรณีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่สามารถเข้าระบบได้ และเป็นทางเลือกที่ กฟผ.อยากให้สังคมไทยพิจารณา

การไปญี่ปุ่นครั้งนี้จึงได้ศึกษา เทคโนโลยีโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดถึง 2 โรง ซึ่งเป็นของบริษัทอิเลกทริก เพาเวอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ หรือ เจ-เพาเวอร์ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ เช่นเดียวกับ กฟผ.เริ่มจากโรงไฟฟ้าถ่านหินแบบเปิดมัตซูอุระ ที่เมืองนางาซากิ ซึ่งเป็นเมืองเกษตรกรรม ขณะที่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้ามีอาชีพทำนาข้าวและประมงชายฝั่ง

โรงไฟฟ้ามัต ซูอุระ ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินนำเข้าชนิดบีทูมินัสให้ความร้อนสูง แต่ให้กำมะถันและขี้เถ้าน้อย ขณะที่ใช้เทคโนโลยีหม้อต้มไอน้ำความดันเหนือวิกฤติมาก (Ultra Super Critical) ซึ่งให้กำลังไฟฟ้าสูง แต่ใช้เชื้อเพลิงน้อย ทำให้การปล่อยมลพิษต่อหน่วยลดลง และยังมีระบบดักจับฝุ่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sox) และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ไอเสียเป็นไอเสียสะอาด รวมถึงมีระบบบำบัดน้ำเสีย และเสียงรบกวนด้วย

ทั้งนี้ ที่ว่าเป็นโรงไฟฟ้าแบบเปิด เพราะเป็นโรงไฟฟ้าที่มีระบบจัดเก็บถ่านหินแบบเปิดโล่ง โดยมีลานกองถ่านหิน ซึ่งมีกำแพงกันลมที่ไม่สูงมาก โดยโรงไฟฟ้ามัตซูอุระใช้ระบบการฉีดพ่นน้ำตลอดเวลาให้ถ่านหินเปียกเพื่อ ป้องกันการฟุ้งกระจายของละอองถ่านหินสู่ชุมชนรอบข้าง

ขณะที่โรงไฟฟ้า ถ่านหินแบบปิดอิโซโกะ ตั้งอยู่บนอ่าวโตเกียว ในตัวเมืองโยโกฮามา ซึ่งเป็นย่านอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัยใกล้กรุงโตเกียว ถือเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สะอาดที่สุดในโลก โดยมีระบบการลำเลียงและจัดเก็บถ่านหินแบบปิดมิดชิด มีไซโลเป็นจุดเก็บถ่านหินป้องกันการฟุ้งกระจายได้ทั้งหมด ขณะที่มีระบบการดักจับฝุ่น, Sox และ NOx ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการดำเนินการเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศด้วย

ลบภาพเก่าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ

อย่าง ไรก็ตาม เมื่อพูดถึงโรงไฟฟ้าถ่านหินในไทย ภาพในใจของคนจำนวนหนึ่งยังคงเห็นปัญหามลพิษ และสุขภาพของคนในชุมชน ที่เกิดจาก “ฝนกรด” ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง เมื่อ 20 ปีก่อน ขณะที่จนถึงปัจจุบันนี้ ยังมีข้อถกเถียงที่จะให้ย้ายชุมชนออกห่างจากโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ที่จะสร้างขึ้น ประมาณ 5 กิโลเมตร

สหรัฐ
สหรัฐ
นาย สหรัฐ บุญโพธิภักดี ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมนิวเคลียร์ กฟผ. กล่าวว่า ในขณะนี้ กฟผ.อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าโรงใหม่ กำลังการผลิต 600 เมกะวัตต์ ทดแทนโรงที่ 4-7 ของโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะเดิม และภายในปี 2556 กฟผ.ต้องสร้างเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดในจังหวัดกระบี่โรงที่ 2 บริเวณเขตคลองรั้ว สะพานช้าง ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง กำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ มูลค่า 50,000-60,000 ล้านบาท

“ในกรณีโรงไฟฟ้าแม่เมาะ นั้น ที่ผ่านมามีความผิดพลาดในการดูแลด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง กฟผ.ยอมรับและจัดการแก้ไข ติดตั้งระบบกำจัดฝุ่นละออง และซัลเฟอร์ไดออกไซด์จนครบทุกโรงแล้ว รวมทั้งได้มีโครงการในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน และสิ่งแวดล้อมต่อเนื่อง ขณะที่โรงไฟฟ้าใหม่ที่จะสร้างทดแทนนั้น แม้จะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินแบบเปิดเหมือนเดิม แต่จะเป็นเทคโนโลยีรุ่นใหม่ที่ใช้ถ่านหินสะอาด มีระบบกำจัดฝุ่น และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงจะเพิ่มการติดตั้งระบบดักจับไนโตรเจนออกไซด์ เพื่อลดการปล่อยมลพิษมากยิ่งขึ้น”

เทคโนโลยีโรงไฟฟ้าถ่านหินรุ่นใหม่ ที่จะนำมาใช้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยใช้เชื้อเพลิงเท่าเดิม ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยมลพิษต่อหน่วยให้ลดลง โดยในปัจจุบันเทคโนโลยีในการสร้างโรงไฟฟ้าได้เปลี่ยนไปมาก คำนึงถึงทั้งด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และการรักษาสิ่งแวดล้อม

ส่วน การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งที่ 2 ที่โรงไฟฟ้ากระบี่นั้น นาย สหรัฐ กล่าวว่า จะเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด โดยได้นำความรู้ในการก่อสร้างและวิธีปฏิบัติงานจริงของโรงไฟฟ้าถ่านหินแบบ เปิดมัตซูอุระ และโรงไฟฟ้าถ่านหินแบบปิดอิโซโกะ มาถ่ายทอดให้ชุมชนกระบี่  เพื่อให้เกิดความมั่นใจถึงมาตรฐานความปลอดภัยและการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโรง ไฟฟ้าถ่านหินได้ตามปกติ และรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนว่าต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างไร ภายใต้มาตรฐานใด โดยได้ทำประชาพิจารณ์กับชุมชนครั้งแรกในวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา
ไซโลเก็บถ่านหิน
ไซโลเก็บถ่านหิน

ทางออกพลังงาน—ชุมชน

คำ ถามยอดนิยมของสื่อมวลชนไทยที่มีต่อผู้ผลิตไฟฟ้าในญี่ปุ่น ก็คือ “การอยู่ร่วมกันระหว่างโรงไฟฟ้า สิ่งแวดล้อมและชุมชน” อย่างไม่มีปัญหาทำอย่างไร และมีการคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าหรือไม่

บท สรุปของทั้ง 3 โรงไฟฟ้า คือ ก่อนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะต้องมีการหารืออย่างชัดเจนและจริงจังกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน เพื่อให้ได้ “ข้อตกลง 3 ฝ่ายที่ยอมรับได้” ทั้งด้านมาตรฐานความปลอดภัย สุขภาพ การรักษาสิ่งแวดล้อม และผลตอบแทนที่จะได้สู่ท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นข้อตกลงที่มีผลทั้งในทางปฏิบัติ และกฎหมาย
โดยมาตรฐานของชุมชน และองค์กรส่วนท้อง ถิ่นนั้น ส่วนใหญ่จะสูงกว่ามาตรฐานความปลอดภัยตามกฎหมายของญี่ปุ่น รวมทั้งต้องเปิดเผยผลการตรวจสอบอย่างโปร่งใส และชุมชนสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา

“นาโอโตะ โคบายาชิ” ผู้จัดการโรงไฟฟ้ามัตซูอุระ กล่าวว่า การให้ข้อมูลจริงมากที่สุดกับกลุ่มคัดค้านเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการทำความ เข้าใจ โดยโรงไฟฟ้าทุกแห่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวเองที่ต้องชี้แจง และก่อนก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะมีเป็นช่วงการทำข้อตกลงสัญญากับท้องถิ่น และชุมชน และที่สำคัญเมื่อทำแล้วต้องปฏิบัติให้ได้
เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์
เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์

โดย โรงไฟฟ้าจะเปิดโรงไฟฟ้าปีละครั้งเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญของชุมชนเข้ามาตรวจสอบ ข้อเท็จจริง และในระหว่างนั้น มีการติดตั้งเครื่องวัดสภาพอากาศตลอดเวลาเพื่อให้ชุมชนตรวจสอบ และหากมีข้อสงสัยสามารถเข้าตรวจสอบบริเวณโรงไฟฟ้าได้ตลอดเวลาเช่นกัน

ขณะ ที่ “โนบูโอะ นิชิมูระ” รองผู้จัดการโรงไฟฟ้าอิโซโกะ กล่าวว่า ได้มีข้อตกลงโดยมีสัญญากับเมืองโยโกฮามาว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินอิโซโกะจะต้องปล่อยมลพิษต่ำเท่าโรงที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่เกิน 20 ppm ปล่อยไนโตรเจนออกไซด์ต่ำกว่า 20 ppm ฝุ่นละอองไม่เกิน 10 ppm และจะต้องออกแบบรับการเสื่อม ซึ่งการปล่อยมลพิษของโรงไฟฟ้าวันแรกจนวันสุดท้ายต้องไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งโรงไฟฟ้าอิโซโกะ ได้ทำมาตรฐานของตัวเองได้ดีกว่าที่สัญญากับเมืองไว้ โดยตั้งค่าซัลเฟอร์ฯ ไว้ไม่เกิน 7 ppm ค่าไนโตรเจนฯไม่เกิน 12  ppm และฝุ่นไม่เกิน 5  ppm

* * * * * * * * * * *

สำหรับบ้านเรา เมื่อชุมชนกับโรงไฟฟ้ายังไม่มีความไว้วางใจกัน การหารือคงเกิดผลสัมฤทธิ์ได้ยาก!!

หาก องค์กรปกครองระดับอำเภอ หรือจังหวัดจะทำหน้าที่ดูแลประชาชน และชุมชนที่จำเป็นต้องอยู่กับโรงไฟฟ้าให้มากขึ้น โดยเข้ามาทำหน้าที่ศึกษาผลกระทบ มาตรฐานทางสุขภาพ สิ่งแวดล้อมขั้นสูงที่ประชาชนรอบโรงไฟฟ้าควรจะได้รับอย่างไม่ลำเอียง ให้ความรู้และข้อเท็จจริงกับประชาชน รวมกันเป็นตัวกลางในการเจรจาและทำสัญญาหรือลงนามกับโรงไฟฟ้าที่จะเข้ามาอยู่ ร่วมกันในลักษณะใกล้เคียงกับที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น

เพื่อให้ ชุมชนมั่นใจว่า จะมีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งน่าจะเป็นทางออกทางหนึ่ง แทนจะปล่อยภาระให้กับคนในชุมชนขวน ขวายแก้ไขกันเอง หรือกลุ่มจากนอกพื้นที่เข้ามาจนกลายเป็นการคัดค้านอย่างหัวชนฝา!!!

ขณะ เดียวกัน นอกเหนือจากการเพิ่มประสิทธิภาพ และเสาะหาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแล้ว กฟผ.ยังต้องพร้อมแสดงออกถึงความจริงใจในการดูแลปัญหาที่มากกว่าการรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชนเพียงให้ครบตามกระบวนการ แต่จะต้องเปิดใจกว้างเห็นถึงความสำคัญของคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนมากกว่าต้น ทุนการผลิตไฟฟ้าราคาถูก หรือผลประโยชน์ที่จะต้องสูญเสีย

เพราะการเป็นรัฐวิสาหกิจ เท่ากับมีหน้าที่หลักเป็นข้าราชการที่ต้องตอบแทนและรับใช้ประชาชน ไม่แพ้หน้าที่อื่นที่ กฟผ.ต้องรับผิดชอบ

“หัวใจ ที่สำคัญที่สุด” คือ เมื่อมีมาตรฐาน หรือสัญญาประชาคมใดๆก็ตาม ในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม หรือสุขภาพของคนในชุมชน หาก กฟผ. แสดงให้เห็นด้วยการปฏิบัติว่าทำได้จริงตามสัญญา หรือมาตรฐานนั้นๆ อย่างไม่ย่อท้อ ซึ่งอาจต้องใช้เวลายาวนานและความตั้งใจจริงอย่างมาก “เพื่อให้คนไทยไว้ใจและเชื่อมั่น”.

ทีมเศรษฐกิจ

โปรย

ไซโลเก็บถ่านหิน

เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์

สหรัฐ

พงษ์ดิษฐ

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

องค์การปฏิรูปพลังงานแห่งชาติ




องค์การปฏิรูปพลังงานแห่งชาติ เครือข่ายพ่อแม่เยาวชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
ประกอบด้วย สภาเครือข่ายการเมืองภาคพลเมือง สภาแทกซี่ไทย สภาธรรมาภิบาล กลุ่มทวงคืนสมบัติชาติ กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย ฯลฯ

ขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ขอให้
1 รัฐบาลควบคุมราคาพลังงาน ที่เป็นธรรม ค่าการกลั่น ค่าการตลาดไม่เกินหนึ่งบาทต่อลิตร
2 ยกเลิก มติครม.เมื่อวันที่ 21 พค 2534 ที่ให้ลอยตัวราคาน้ำมันตามตลาดโลกเนื่องจาก ประเทศไทยสามารถขุดน้ำมันได้เองที่สามารถใช้ได้ในประเทศ ขอให้คิดในราคาทุนที่แท้จริง และน้ำมันดิบที่ขึ้นจากปากหลุมให้ โปร่งใส ตรวจสอบได้
3 ให้บริษัทปิโตรเคมี ที่เป็นบริษัทลูกปตท ซื้อก๊าซในราคาเท่าอุตสาหกรรมของภาค ประชาชน
4 ยกเลิกมติ ครม. เมื่อ วันที่ 4 ตค 2554 ที่ให้ขึ้นราคาก๊าซ NGV LPG โดยคิดตามต้นทุนที่แท้จริง ที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพราะ ก็าซธรรชาติในเมืองไทยมีเพียงพอแต่โรงแยกก๊าซ ไม่พอต่อปริมาณการขุดเจาะ ให้ตั้งราคาก๊าซ NGV ไม่เกิน 8 บาทต่อกก และ LPG คิดต้นทุนไทย ไม่เกิน 12 บาทต่อ กก.
5 ให้รัฐบาล คืนท่อก๊าซส่วนของประชาชนโดยเร่งด่วน และ ยกเลิกหลักเกณฑ์ใน การเรียกเก็บค่าผ่านค่าท่อก๊าซ ใน“คู่มือการคำนวณ ราคาก๊าซธรรมชาติ และอัตราค่าบริการส่งก๊าซ ธรรมชาติ” ปี 2552 เนื่องจากท่อก๊าซ ส่วนหนึ่งเป็นของ ประชาชนที่ปตท ยังขัดคำสั่งศาลไม่ยอม คืนให้แผ่นดิน ตามคำสั่งศาล หมายเลข คดีแดงที่ ฟ.35/2550
6 ให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หยุดขึ้นค่าเอฟที เพราะ ต้นทุนคือราคาก๊าซ คิดแพงเกินจริง ค้ากำไรเกินควร และเอื้อประโยชน์ ปตท และปตท สผ. ที่มีเอกชนถือหุ้น เวลา ราคาก๊าซน้ำมันลดลง กลับไม่เคยลดมากๆ ยกเลิกการขึ้นค่าไฟฟ้าเอฟที ในเดือน มิย 55 ขึ้นไป
7 แก้ไข พรบ.ปิโตรเลี่ยม ฉบับยที่ 6 พศ 2550 มาตรา 22 28 99 ซึ่ง ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 66 67 85(4) ที่กำหนดให้รมต. พลังงาน มีอำนาจ ขยายสัมปทาน มอบสัมปทาน และลดค่าภาคหลวง ได้ถึง 90 % ทั้งที่เราได้ค่าภาคหลวงเพียง 5-15 % โดยขอให้ แก้ไขค่าสัมปทานค่าภาคหลวงให้รัฐมากกว่า 80% จำกัดการมอบสัมปทาน ให้เอกชน และ จำกัดกรอบเวลาการให้สัมปทาน และประชาชนมีส่วนร่วมในการให้สัมปทาน เอกชน
กำหนดให้ตั้งคณะกรรมการแก้ไขพรบ.ปิโตรเลี่ยม และพรบประโยชน์ทับซ้อน เสร็จภายใน6เดือน พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็น
8 ให้ปตท เลิกผูกขาดการขายก๊าซ เพราะเพิ่มภาระแก่ประชาชนในการที่ปตท. กินส่วนต่างการนำเข้าก๊าซ โดยให้มีการนำเข้าออกเสรี ซึ่งหากปตทไม่ผูกขาดการนำเข้าส่งออกก๊าซ จะทำให้การไฟฟ้าสามารถนำเข้าราคาก๊าซ ที่ถูกลงได้ ค่าไฟฟ้าก็จะลดลง
9 ให้รัฐส่งเสริมการใช้ พลังงานทดแทน
10 แก้ไขกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ทับซ้อน เช่น กฎหมายที่ให้เจ้าหน้าที่รัฐไปเป็นกรรมการบริษัทเอกชน
11 ห้ามให้เงินคงคลังเพื่อลงทุนพลังงาน
12 ห้ามมิให้ NAZA เข้ามาตั้งฐานทัพที่อุ่ตะเภา

เรื่องการศึกษา ขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังต่อไปนี้
1 ขอให้รัฐบาลตั้งศูนย์พัฒนาทรัพยากร มนุษย์แห่งชาติ เพื่อพัฒนาคนในชาติให้มีความรู้ คิดเป็น เป็นคนดี และมีศักยภาพ ทั้งเด็ก เยาวชน แลประชาชนทั่วไป โดยเอา ผู้แทนจาก เครือข่ายภาคประชาชน ที่เคลื่อนไหวทางการศึกษา ผู้แทนศาสนา นักวิชาการที่จัดการศึกษา สำเร็จมาแล้ว จิตแพทย์ กุมารแพทย์ ประสาทแพทย์ ไม่เอากลุ่มคนจัดการศึกษา เดิมๆ ขึ้นตรงต่อสำนักนายก เพื่อมิให้การางแผนอนาคตของชาติ อยู่ภายใต้ กระทรวงใดกลุ่ม ใดโดยเฉพาะ
2 ตั้งคณะกรรมการปรับปรุง และปรับลด หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลดเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ซ้ำซากและมากเกินวัย มากมายเกินจำเป็น ยกเลิกการยุบรวมสายวิทย์ ศิลป์
เพราะปัญหาที่ใหญ่ที่สุดปัญหาหนึ่งของการศึกษาของชาติ คือนักเรียนต้องเรียน หนักเพราะต้องเรียนเนื้อหาจำนวนมาก แต่เนื้อหาเหล่านั้นมีไม่ถึงครึ่ง ที่สามารถนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันของพวกเขาได้ แต่สิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันกลับ เป็นสิ่งที่โรงเรียน ไม่ได้สอนมาเลย นี่คือปัญหาการศึกษาแบบเรียนในสิ่งที่ไม่ได้ใช้ แต่ต้องไปใช้ในสิ่งที่ไม่ได้เรียน ซึ่งเป็นการสูญเสียทางการศึกษาเป็นอย่างมาก
3 ตั้งคณะกรรมการ แก้ปัญหาเรื่องกระบวนการสอบคัดเลือก เข้ามหาวิทยาลัย รวบรวมปัญหาและทางออกโดยมีประชาชนมีส่วนร่วม เพราะกระบวนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่แต่ละมหาวิทยาลัยต่างแยกกันรับตรงด้วยตนเอง จัดการรับสมัครและจัดการสอบเอง มีการตัดหน้ากันเพื่อแย่งเด็กเก่งๆไว้ก่อน ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ต่อนักเรียนและผู้ปกครองทั้งหมด ความเดือดร้อนนั้นมีทั้งค่าสมัครสอบ ค่าเช่าที่พัก ค่าเดินทาง ในแต่ละครั้ง แต่ละที่ รวมแล้วหลายหมื่นบาท, การที่ต้องเสียค่าเดินทางไปสอบไกลๆ, การที่ต้องไปกวดวิชาล่วงหน้า
( ยกเลิกระบบแอดมิชชั่น ยกเลิกการใช้ ONET GPAX ทุกวิชา แต่เอาวิชาที่เกี่ยวข้อง)
4 ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาต้องฟรีจริง โดย ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ขอให้ลูกหลานคนพิการ ด้อยโอกาส คนยากจน แรงงานรายได้ต่ำ ข้าราชการผู้น้อย ต้องได้เรียนฟรีจริง โดยมีบัตรประจำตัว สำหรับลูกหลานคนเหล่านี้สามารถเข้าเรียนที่ไหนก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ให้กับโรงเรียน เนื่องจากปัจจุบัน แม้นมีนโยบายเรียนฟรี แต่ก้ยังมีการเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆกับผู้ปกครอง
5 หยุดเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ
6 ห้านักเรียนอาชีวะ เเต่งเครื่องแบบโรงเรียนเพื่อความปลอดภัยของเด็ก

เรื่องแทกซี่
1 ขอให้รัฐบาลยกเลิกเงินค่าทะเบียนเเทกซี่คันแรก จำนวน 300,000 บาทต่อหนึ่งป้ายทะเบียน เพื่อให้เเทกซี่ ลืมตาอ้าปากได้ ตลอดชีวิต ไม่สามารถเป็นเจ้าของแทกซี่ได้เลย
2 ขอให้ไม่ต้องมีเงินดาวน์ในการซื้อรถแทกซี่คันแรก โดยให้รัฐบาลตั้งกองทุนหรือ ค้ำประกันแก่ผู้ขับแทกซี่
3 ขอให้ขยาย อายุรถแทกซี่ แต่ต้องมีการตรวจสอบมลพิษทุก 1-2 เดือน หลังอายุรถ 9ปี

ร่างเคร่าวๆ ยังไม่เรียบร้อยดี ช่วยเสนอแนะคะ และช่วยเผยแพร่มากที่สุดคะ

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จับตาแก้ กม.ต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียม


จับตาแก้ กม.ต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียม


ปตท.สผ. ลุ้นต่อสัมปทานปิโตรเลียม
Dailynews 8/10/2007

นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปรายละเอียด ต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียมแหล่ง บงกช ของบริษัท ปตท.สผ.และบริษัทเชฟรอน เพื่อเตรียมเสนอ ครม.ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ หลังจากที่คณะกรรมการปิโตรเลียมได้เห็นชอบในหลัก การมาตั้งแต่เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ยอมรับว่าที่ผ่านมาใช้เวลาในการพิจารณานานเพราะต้องรอบคอบในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายที่เข้มงวดขึ้น

ทั้งนี้การต่อสัญญาสัมปทานแหล่งบงกชมีระยะเวลา 10 ปี จากเดิมที่จะหมดสัญญาเก่าในปี 55 โดยของเชฟรอนในแหล่ง บี 10 บี 11 บี 12 และ บี 13 และ ปตท.สผ.ในแหล่ง บี 15 บี 16 และบี 17 ซึ่งจะทำให้มีเงินลงทุนเข้ามาในไทยตลอด 10 ปี ประมาณ 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 400,000-500,000 ล้านบาท แยกเป็นเงินลงทุนของเชฟรอน 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และ ปตท.สผ. 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ.

ขนเม็ดเงินลงทุน 4.5 แสนล้าน! 
Thairath [8 ต.ค. 50 - 05:00]

นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) เปิดเผยว่า การต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียมแหล่งบงกช ของบริษัท ปตท.สผ.สำรวจปิโตรเลียม และบริษัทเชฟรอน ใกล้ได้ข้อสรุปในเงื่อนไขต่างๆแล้ว ก่อนเสนอให้ ครม.พิจารณาเดือน พ.ย.นี้ ซึ่งการต่อสัญญาสัมปทานแหล่งบงกชมีระยะเวลา 10 ปี จากเดิมที่หมดสัญญาในปี 2555 โดยเชฟรอนขอสัมปทานในแหล่ง บี 10 บี 11 บี 12 และบี 13 และ ปตท.สผ.ในแหล่ง บี 15 บี 16 และบี 17 จะทำให้มีเงินลงทุนเข้ามาในไทยตลอด 10 ปี ของสัญญา 450,000 ล้านบาท สำหรับผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่กระทรวงการคลังจะได้รับตามที่ตกลงไว้ในสัญญานั้น เชฟรอนจะจ่ายให้กระทรวงการคลัง ปีละ 25,000 ล้านบาท และ ปตท.สผ.จ่ายให้ปีละ 14,000 ล้านบาท

นายไกรฤทธิ์ยังกล่าวถึงการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมว่า ได้รับความสนใจจากนักลงทุนค่อนข้างมาก ซึ่งเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมปีนี้จะอยู่ที่ 40,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากที่ปี 2549 ที่ 36,000 ล้านบาท

แก้ กม.ต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียม
ข่าวเศรษฐกิจวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2555 19:40น.

นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางเตรียมการจัดหาสัมปทานปิโตรเลียมในอนาคต เนื่องจากแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมที่ดำเนินการโดย บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. ที่แหล่งบงกชในอ่าวไทยและสัมปทานที่ร่วมทุนของบริษัท เชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิตอีกหลายโครงการ จะหมดอายุลงใน 10 ปี ข้างหน้า หรือในปี 2565 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ดังนั้นคณะทำงานจะดูความเป็นไปได้ในการแก้กฎหมาย เพื่อต่ออายุสัมปทานเพิ่มจากเดิมที่กฎหมายกำหนดให้ผู้รับสัมปทานสามารถต่ออายุได้ 1 ครั้ง หรือดำเนินการผลิตออกไปได้อีก 10 ปี ซึ่งสัมปทานดังกล่าวได้ใช้สิทธิ์การต่ออายุสัมปทานไปแล้ว

ทั้งนี้ รัฐบาลต้องการให้ผู้รับสัมปทานเดิมได้ต่ออายุสัญญามากกว่าการเปิดประมูลสัมปทานใหม่ เพราะจะทำให้เกิดการลงทุนสำรวจได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อรักษาเสถียรภาพกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติ โดยคาดว่าคณะทำงานจะได้แนวทางที่ชัดเจนภายใน 1 ปี


กมธ.วุฒิสภา พร้อมใช้ พ.ร.บ.คำสั่ง เรียก รมว.พลังงาน แจงสัมปทานปิโตรเลียม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 กรฎาคม 2555 ที่ห้องรับรอง 2 อาคารรัฐสภา 2 มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและการเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่มี น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว. กทม. เป็นประธาน มีวาระพิจารณาประเด็นการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม ครั้งที่ 21 ของกระทรวงพลังงาน การประชุมครั้งนี้ไม่มีตัวแทนจากกระทรวงพลังงานเข้าชี้แจง โดย กมธ. ได้หารือกันถึงประเด็นดังกล่าว ซึ่ง น.ส.รสนาระบุกับที่ประชุมว่า กมธ. ได้ส่งหนังสือให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานตอบคำถามเพิ่มเติมจำนวน 7 ข้อ ประกอบด้วย
1. การคิดค่าภาคหลวงในอัตรา 5-15 เปอร์เซ็นต์ตามรายหลุมเจาะหรือคิดเป็นผลผลิตทั้งแหล่ง
2. ขอทราบขั้นตอนการตรวจสอบเพื่อทราบปริมาณปิโตรเลียมที่แท้จริงเพื่อใช้คำนวณค่าภาคหลวง
3. ขอรายละเอียดผลตอบแทนพิเศษของแต่ละแหล่งสัมปทานปิโตรเลียม ทั้งการให้สัมปทานครั้งแรกและการต่อสัมปทานปิโตรเลียม
4. การโอนหรือขายสัมปทานปิโตรเลียมให้บุคคลอื่นทุกรายการพร้อมราคา
5. เปรียบเทียบข้อแตกต่างของกฎหมาย กฎระเบียบในการให้สัมปทานปิโตรเลียม ทั้งการสำรวจและขุดเจาะของประเทศไทย กับประเทศพม่า กัมพูชา บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย โบลิเวีย และเวเนซูเอลา
6. มีกระบวนการตรวจสอบหรือพิจารณาการใช้ดุลพินิจหรือหลักเกณฑ์ที่มีธรรมาภิบาลมากน้อยเพียงใด
7. มีหลักเกณฑ์ที่ไม่ให้ผู้คืนสัมปทานปิโตรเลียมเดิมมาประมูลใหม่หรือไม่

ปูด อธิบดีซุ่มแก้ กม. ต่อสัมปทานแหล่งบงกช

ทั้งนี้ สิ่งที่ กมธ. ให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ สัญญาสัมปทานปิโตรเลียมในแหล่งสิริกิติ์และแหล่งบงกช โดยเฉพาะแหล่งบงกชที่เป็นแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ที่สุดในทะเล มีปริมาณกว่า 1 หมื่นล้านลิตรต่อปี กำลังจะหมดสัญญาสัมปทาน ซึ่งมีกระแสข่าวออกมาว่าจะมีการแก้กฎหมายเพื่อให้มีการต่อสัญญาสัมปทานอีก 10 ปี ทั้งที่บริษัทผู้รับสัมปทานเคยได้สิทธิการต่อมาแล้วครั้งหนึ่ง 
ทาง กมธ. เห็นว่า การต่อสัมปทานดังกล่าวควรได้รับการทักท้วง เนื่องจากการเก็บผลประโยชน์ของการให้สัมปทานในแหล่งบงกชนั้นใช้รูปแบบ “ไทยแลนด์วัน” แหล่งปิโตรเลียมดังกล่าวควรจะเป็นของประเทศ มากกว่าให้มีการต่อสัญญาสัมปทานแล้วทำให้ประเทศชาติเสียประโยชน์
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี เลขานุการ กมธ. กล่าวว่า แหล่งบงกชมีการต่ออายุสัมปทานไปแล้ว 10 ปี และตามกฎหมายบริษัทผู้รับสัมปทานไม่สามารถต่อสัญญาสัมปทานได้แล้ว แต่มีข่าวในหนังสือพิมพ์ว่าทางอธิบดีพยายามตั้งทีมเพื่อแก้กฎหมายต่อสัญญาสัมปทานอีก ซึ่งหลุมปิโตรเลียมนี้ยังสามารถนำปิโตรเลียมขึ้นมาได้อีกหลายปี ถ้าขึ้นมาแล้วเป็นของหลวงทั้งหมด ประเทศไทยสามารถที่จะลืมตาอ้าปากได้เลย เพราะถ้านำจำนวนน้ำมันดิบ 1 หมื่นล้านลิตร คูณ 20 บาท จะได้เงินจำนวนมากมายมหาศาล ดังนั้น แหล่งบงกชจึงควรที่จะมีการประมูลโอเปอเรเตอร์ (ผู้ผลิต) ผู้มาปฏิบัติมากกว่าผู้มาสัมปทาน เช่น ให้ ปตท.สผ. มารับทำตรงนี้โดยแบ่งไป 10 % ของมูลค่าจะดีกว่าหรือไม่ เพราะความเสี่ยงของการขุดเจาะน้ำมันจะอยู่ในช่วงแรกเท่านั้นว่าจะเจอปิโตรเลียมหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมา กมธ. ได้ขอเอกสารการให้สัมปทานจากกระทรวงพลังงานแต่ไม่เคยได้รับแต่อย่างใด

เล็งเปิดอภิปราย ม. 161

นายคำนูน สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะ กมธ. ได้เสนอต่อที่ประชุมว่า กมธ. ต้องยืนยันให้นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมาชี้แจงต่อ กมธ. เพราะมีคำถามในเชิงนโยบายที่ข้าราชการประจำไม่สามารถที่จะตอบได้ ที่สำคัญคือปรัชญาการให้สัมปทานของประเทศไทยที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงก็จะผิดไปตลอด ระบบคิดของการให้สัมปทานของประเทศไทยคือให้เพื่อการส่งออก 100 % คนไทยมีทรัพยากรของเราเกือบ 50 % แต่เป็นกรรมสิทธิของผู้ได้รับสัมปทาน โดยให้มีการเปิดขายไปต่างประเทศได้ทั้งหมด แต่เวลาเราซื้อจะซื้อเข้ามาในราคาตลาดโลกบวกค่าขนส่ง
อย่างไรก็ตาม การที่มีการชะลอสัมปทานรอบที่ 21 นั้น ควรจะมีการทบทวนรากฐานของการให้สัมปทานทั้งหมด ดังนั้น รมว.พลังงานต้องมาตอบ และเมื่อ รมว. ไม่มาตอบ กมธ. ต้องทำหนังสือยืนยันไปอีกครั้งหนึ่งว่าให้ รมว.พลังงานมาตอบต่อ กมธ. ในครั้งต่อไปในวันที่ 9 สิงหาคมนี้ ทั้งนี้หากไม่มา กมธ. จะใช้ พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและฯ พ.ศ. 2554 ในการเชิญ รมว.พลังงานมาชี้แจงต่อ กมธ.
นอกจากนี้ ในการเปิดสมัยประชุมสามัญทั่วไปนั้น ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 161 ได้เปิดช่องให้สมาชิกวุฒิสภาสามารถขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติได้ ซึ่งการให้สัมปทานปิโตรเลียมนั้นเป็นต้นทางของปัญหาทั้งหมดของประเทศ ถ้าสามารถปฏิรูปตรงนี้ได้ก็ปฏิรูปประเทศได้
ทั้งนี้มาตรา 161 บัญญัติว่า “สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสมาชิกวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ”

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่

http://webboard.seri...า/page__st__100

แนวโน้มการลงทุนในอินโดจีนกำลังสูงขึ้น อินโดจีนยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สิน ใด ๆ ต่อผู้ลงทุน ถ้าถูกโอน เป็นของรัฐ จะทำอย่างไร

ความหวาดกลัวของนักลงทุนที่ไปลงทุนในต่างแดนมีอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นภาวะความผันผวนทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐ การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราและการที่รัฐบาลที่รับการลงทุนเปิดกิจการแข่งขันกับนักลงทุน เป็นต้น

ในช่วงทศวรรษ ถึงสองทศวรรษที่ผ่านมา รัฐผู้รับการลงทุนได้มีมาตรการที่ทำให้บริษัทต่างประเทศ มีความหวาดกลัวมากยิ่งขึ้น นั่นคือมาตรการ “โอนเป็นของชาติ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะเป็นการโอนเอา กิจการของบริษัทต่างประเทศ ซึ่งเข้ามาลงทุนกระทำการผลิตในรัฐของตน เช่นบริษัทขุดเจาะน้ำมัน บริษัท ทำเหมืองแร่ บริษัทที่เข้ามาทำกิจการสาธารณูปโภค เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า การขนส่ง การคมนาคม ซึ่งบริษัทต่างประเทศเหล่านี้ต่างนำเทคโนโลยี ทรัพย์สินที่มีค่ามาลงทุนในรัฐเจ้าของดินแดน

แต่ในที่สุด รัฐก็จะพยายามหาหนทางเอากิจการอันมีมูลค่าและมีประโยชน์อย่างมหาศาลมาเป็นของรัฐด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา ดังกรณี

คดี BP EXPLORATION CO., (LIBYA) LTD. กับ ARABIAN GULF EXPLORATION CO., LTD. บริษัท BP ได้ทำสัญญาสัมปทานกับรัฐบาลลิเบีย โดยให้ทำการขุดค้นแสวงหาประโยชน์ในดินแดนที่กำหนดเป็นเวลา 50 ปี รัฐบาลลิเบียได้ออกกฎหมายโอนกิจการบริษัทเป็นของชาติ โดยโอนความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สินรวมถึงบรรดาสิทธิต่าง ๆ และหุ้นของบริษัท BPไปเป็นของบริษัท ARABIAN GULF EXPLORATION CORPERATION

คดี TEXACO OVERSEA PETROLEUM CO. LTD. กับ LYBYAN NATIONAL OIL COM-PANY บริษัท TEXACOได้ทำสัมปทานกับรัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของลิเบียภายหลังรัฐบาลลิเบียได้ออกกฎหมายเพื่อโอนกิจการไปเป็นของ LYBYAN NATIONAL OIL COMPANY ในระหว่างปี ค.ศ. 1973-1974

การโอนเป็นของชาติหรือ NATIONALIZATION นั้นหมายถึง “การใดอันกระทำโดยอำนาจมหาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายบุคคลในประเภทแห่งกิจการใด ๆ มาเป็นของรัฐหรือองค์กรของรัฐทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและ ต้องมีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วย”

ส่วนวิธีการโอนนั้น รัฐผู้ทำการโอนแต่เพียงหุ้นของบริษัทที่ทำกิจการนั้น ๆ มาเป็นของรัฐ ซึ่ง ทำให้บริษัทไม่สูญเสียสภาพนิติบุคคลยังคงเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการต่าง ๆ ต่อไป หรือเวนคืนทรัพย์ของบริษัทมาเป็นของรัฐ โดยการประกาศยกเลิกบริษัทเสียแล้วจัดตั้งองค์การของรัฐขึ้นเพื่อดูแลกิจการทรัพย์สินที่โอนมานั้นต่อไปก็ได้

ไม่ว่าจะเป็นการโอนด้วยวิธีใดดังกล่าวก็ตาม รัฐผู้โอนก็จะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ถือหุ้น หรือบริษัทแล้วแต่กรณีด้วย เว้นเสียแต่จะเป็นการโอนโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลงโทษผู้ที่ค้ากับศัตรู ซึ่งจะไม่มีการให้ค่าสินไหมทดแทนแต่อย่างใด

ในอดีตนั้นถือว่า การโอนทรัพย์สินของคนต่างด้าวเป็นของชาตินั้นเป็นการละเมิดต่อสิทธิอันได้มาแล้วโดยชอบธรรมของคนต่างด้าวนั้น เช่นคดี MAVROMMATIS JERUSALEM COUCESSION CASE

อังกฤษยกเลิกสัมปทานที่ MAVROMMATIS ได้รับมาจากสัญญาที่กระทำกับตุรกี ศาลสถิต ยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินเมื่อ ค.ศ. 1925 ว่าการยกเลิกสัมปทานของอังกฤษนั้นเป็นการกระทำ ที่ไม่ถูกต้อง อังกฤษต้องเคารพต่อสิทธิที่เอกชนได้รับมาแล้วโดยชอบธรรม (ACQUIRED RIGHTS)

หรือคดี THE DELEGOA BAYCASE ระหว่างสหรัฐฯ กับโปรตุเกส รัฐบาลโปรตุเกสยึดทางรถไฟสร้างโดยนาย MURDO คนสัญชาติอเมริกัน อนุญาตตุลาการตัดสินให้โปรตุเกสใช้ค่าเสียหาย แก่สหรัฐฯ โดยถือว่ารัฐบาลโปรตุเกสเป็นผู้ผิดสัญญา

แต่กฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบัน รับรองสิทธิของทุกรัฐในการโอนทรัพย์สินของคนต่าง-ด้าวเป็นของชาติตน สาเหตุที่กฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบันให้รัฐโอนทรัพย์สินของคนต่างด้าวเป็นของชาติได้ เนื่องมาจากหลังอธิปไตยถาวรของรัฐ (PERMANENT SOVEREIGNTY) เหนือทรัพย์สินทรัพยากรธรรมชาติและกิจการทางธุรกิจดังที่สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ลงมติต่อเนื่องยืนยันหลักการนี้หลายครั้งหลายหนและยังปรากฎในมาตรา 2 วรรค 1 บทที่ 2 ของกฎบัตรว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ในทางเศรษฐกิจของรัฐ (CHARTER OF ECONOMIC RIGHTS AND DUTIES OF STATES)

คำว่า อธิปไตย “ถาวร” นี้หมายความว่า รัฐผู้มีอธิปไตยเหนือดินแดนของตนย่อมไม่สูญไป ซึ่งความสามารถตามกฎหมายในอันที่จะเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมายหรือวิธีการในการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของตนทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้มีข้อตกลงใด ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการแสวงหาประโยชน์นั้น ๆ ไว้แล้ว หรือไม่ก็ตาม

เมื่อการโอนเป็นของชาติเป็นสิ่งที่ทำได้เสมอโดยชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ ในที่นี้จึงจะอธิบายให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ที่จะทำให้การโอนเป็นของชาตินั้นมีผลสมบูรณ์ กล่าวคือ

เมื่อเข้าหลักดังกล่าว หากรัฐเห็นเหมาะสม รัฐก็จะดำเนินการเรียกร้องในนามของรัฐเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเสียหายจากรัฐผู้โอนโดยอาจดำเนินการทางการทูต หากรัฐได้ใช้สิทธิคุ้มครองทางการทูตต่อเอกชนผู้ได้รับความเสียหาย

คดีที่เกิดขึ้นระหว่างเอกชนกับรัฐที่ก่อให้เกิดความเสียหายจะกลายมาเป็นคดีระหว่างประเทศ ระหว่างรัฐที่ก่อให้เกิดความเสียหาย กับรัฐเจ้าของสัญชาติของเอกชนที่ได้รับความเสียหายทันที

รัฐเจ้าของสัญชาติสามารถจะสวมสิทธิทุกอย่างที่เอกชนมีอยู่ในการต่อสู้คดีกับรัฐที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเมื่อรัฐเจ้าของสัญชาติดำเนินคดีจนถึงที่สุด และได้รับชดใช้ค่าเสียหายแล้ว การแบ่ง ค่าเสียหายแก่เอกชนคนชาติของตนตามสัดส่วนเท่าใดนั้นย่อมอยู่ในดุลพินิจของรัฐเจ้าของสัญชาติแต่ ผู้เดียว

เพราะสิทธิในการให้ความคุ้มครองทางการทูตต่อคนชาติเป็นเรื่องเฉพาะตัวของรัฐ รัฐจะปฏิเสธหรือจะยอมรับที่จะใช้สิทธิดังกล่าวก็ได้

การแก้ไขความเสียหายโดยสนธิสัญญาการลงทุนที่จะมิให้การลงทุน หรือกิจการหรือทรัพย์สินของผู้ลงทุน ถูกบังคับโอนเป็นของรัฐโดยประเทศผู้รับการลงทุนเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง และเกือบทุกสนธิ-สัญญามีข้อกำหนดในเรื่องนี้

ทั้งนี้เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันว่ารัฐมีอำนาจเหนือบุคคลและสิ่งของดินแดนของตน รัฐจึงมีสิทธิที่จะบังคับโอนกิจการหรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนชาวต่างประเทศไปเป็นของรัฐได้

ฉะนั้นสนธิสัญญาเกี่ยวกับการลงทุนจึงได้กำหนดเป็นหลักประกันและเงื่อนไขที่ประเทศผู้รับการลงทุนจะโอนกิจการและทรัพย์สินเป็นของรัฐไว้ เช่น เป็นการโอนไปเพื่อประโยชน์สาธารณะและต้องมีการจ่ายค่าทดแทน

เหตุผลในการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการโอนกิจการหรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนไปเป็นของรัฐไว้ในสนธิสัญญาเพราะสินธิสัญญาเป็นกลไกอันหนึ่งในกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศ คู่สัญญาจะต้องผูกพันและปฏิบัติตาม

หากประเทศไม่ปฏิบัติตาม เช่น มีการโอนเป็นของรัฐ ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา ถือได้ว่ารัฐผู้โอนนั้นละเมิดหรือปฏิบัติผิดกฎหมายระหว่างประเทศ ก็จะเปิดโอกาสให้ประเทศคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งดำเนินการตามกฎหมายระหว่างประเทศได้ทันที

ผิดกับการใช้ DIPLOMATIC PROTECTION ซึ่งต้องผ่านกระบวนการตามข้างต้นก่อน ทำให้ ผู้เสียหายได้รับการชดใช้เยียวยาช้ากว่ากรณีรัฐได้ละเมิดสนธิสัญญา

สำหรับประเทศไทยได้มีบทบัญญัติกฎหมายภายในที่ให้ความคุ้มครองนักลงทุน หลายฉบับ เช่น พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พ.ร.บ. นิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2522

แม้แต่ในรัฐธรรมนูญเองก็มีบทบัญญัติการไม่โอนกิจการเป็นของรัฐอยู่เช่นกัน อีกทั้งปัจจุบันประเทศไทยได้ทำสนธิสัญญาที่เกี่ยวกับการลงทุนทั้งในรูปความตกลงเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรง และสนธิสัญญาร่วมมือทางเศรษฐกิจ กับประเทศต่าง ๆ เช่น เยอรมนี, สหรัฐอเมริกา, เนเธอร์แลนด์, แคนาดา

แต่สถานการณ์ขณะนี้ การลงทุนได้มีการเคลื่อนย้ายไปสู่ภูมิภาคอื่นอาทิ การลงทุนในปิโตรเลียมในประเทศเวียดนามตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 80 เป็นต้นมา

และเมื่อเดือนตุลาคมศกนี้บริษัทมิตซูบิชิออยล์ ได้รับสัมปทานการขุดเจาะน้ำมันบริเวณนอก ชายฝั่งตอนใต้ของเวียดนาม

หรือการลงทุนจากบริษัทพรีเมียร ออยล์ ฟิลด์ (อังกฤษ) บริษัทเทคชาโกและบริษัทนิปปอนออยล์ โค (ญี่ปุ่น) ที่เริ่มขุดเจาะบ่อน้ำมันเยนตากุน นัมเบอร์ วัน นอกชายฝั่งพม่า

และในประทศลาว ได้มีการเปิดการประมูลโครงการวางสายโทรศัพท์เชื่อมเวียงจันทน์กับหลวงพระบางและปากซานกับปากเซ มีมูลค่าประมาณ 600 ล้านบาท

สิ่งที่ควรพิจารณาก็คือ ประเทศเหล่านี้มีบทบัญญัติกฎหมายที่คุ้มครองและให้หลักประกันกับ นักลงทุนมากแค่ไหน ที่เห็นได้ก็คือ ประเทศเวียดนามยังไม่มีกฎหมายอาญา ไม่มีกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่มีกฎหมายล้มละลาย ที่เป็นระบบอย่างชัดเจน

เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นจึงเป็นปัญหาผู้ลงทุนจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้อย่างไร และสิ่งที่ น่าจับตามองอีกประการหนึ่งก็คือ ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจะซ้ำรอยเดิมหรือไม่

พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 กฎหมายทาสและใบอนุญาตให้อเมริกาปล้นประเทศไทย

โดย ประพันธ์ คูณมี16 สิงหาคม 2555 14:33 น.



ทำไมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงชูธงเรียกร้องให้ปฏิรูปประเทศไทยครั้งใหญ่ นอกจากประเด็นเรื่องทางการเมือง สังคม การศึกษา และปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม ที่พันธมิตรฯ ได้หยิบยกขึ้นมาพูด และวิพากษ์วิจารณ์ให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนถึงความล้มเหลวของระบอบการเมืองการปกครองของไทยที่มีความจำเป็นเร่งด่วน สมควรได้รับการแก้ไขอย่างถึงที่สุด
       
       หนึ่งในปัญหารูปธรรมที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเสวนากันอย่างกว้างขวาง มีข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์เป็นระบบ ที่สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจการเมือง ร่วมกับกลุ่มทุนปล้นประเทศ ขูดรีดเอาเปรียบประชาชน ก็คือปัญหาเรื่องพลังงานปิโตรเลียม อันเป็นทรัพยากรของประชาชนทั้งชาติร่วมกัน แต่ถูกกลุ่มทุนสามานย์ และนักการเมืองที่ฉ้อฉล ทุจริต ขายชาติ สมคบกันปล้นสะดมเอาไป เพื่อความเข้าใจต่อปัญหานี้ ว่าคนไทย ประเทศไทยถูกปล้นและเอาเปรียบอย่างไร จากต่างชาติ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจอเมริกา จำเป็นที่คนไทยต้องศึกษาและเข้าใจกฎหมาย อันเป็นเครื่องมือและใบอนุญาตให้มหาอำนาจร่วมกับกลุ่มทุนนักการเมืองไทย ปล้นพลังงานของประเทศ ฮุบเอาผลประโยชน์ไปอย่างหน้าด้านๆ ภายใต้ข้ออ้างตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายที่ว่านั้นก็คือ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 โดยเหตุที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นกฎหมายทาส และใบอนุญาตปล้นประเทศไทย เพราะกฎหมายฉบับนี้ มีประเด็นที่บ่งบอกให้เห็นลักษณะเช่นนั้น และมีประเด็นที่จะต้องได้รับการยกเลิก หรือแก้ไขหลายประเด็น ดังนี้
       
       1. พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ตราขึ้นและประกาศใช้เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2514 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 88 ตอนที่ 43 ฉบับพิเศษหน้า 1/23 เมษายน 2514 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จึงเป็นกฎหมายที่เริ่มประกาศใช้ครั้งแรกในยุคสมัยที่ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งในยุคนั้นถือเป็นจักรวรรดินิยมหรือนักล่าอาณานิคมยุคใหม่ กำลังแผ่ขยายอำนาจเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งนอกจากเข้ามาแสดงแสนยานุภาพทางทหาร ประกาศเป็นผู้นำค่ายโลกเสรี เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยม ทำตัวเป็นพี่เบิ้มที่จะปกป้องประชาคมโลก แต่ขณะเดียวกัน ก็กรุยทางให้บริษัททางธุรกิจยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของอเมริกาเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้ ประเทศไทยเป็นเป้าหมายหนึ่งของมหาอำนาจ จักรวรรดินิยมอเมริกา ดังจะเห็นได้จากประวัติการดำเนินงานกว่า 5 ทศวรรษของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ที่เข้ามามีบทบาทครอบงำธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 จนถึงปัจจุบัน ดังปรากฏประวัติและการดำเนินงานของบริษัทเชฟรอนในประเทศไทย
       
       ประวัติและการดำเนินงาน
       
        กว่า 5 ทศวรรษของการดำเนินงานในประเทศไทย
       
       พ.ศ. 2555 ฉลองครบรอบ 50 ปี ของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
       
       พ.ศ. 2554 ผลิตก๊าซครบ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2554 ผลิตน้ำมันครบ 300 ล้านบาร์เรล
       
       พ.ศ. 2554 ผลิตก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่ผลิตปลาทอง ระยะที่ 2 เป็นครั้งแรก
       
       พ.ศ. 2554 ฉลองครบรอบ 30 ปี เอราวัณ แหล่งก๊าซธรรมชาติแห่งแรกในอ่าวไทย
       
       พ.ศ. 2554 ฉลองการผลิตน้ำมันครบ 200 ล้านบาร์เรลจากพื้นที่ผลิต B8/32
       
       พ.ศ. 2554 เปิดศูนย์ขนส่งทางอากาศแห่งใหม่ที่ จ.นครศรีธรรมราช
       
       พ.ศ. 2553 ผลิตคอนเดนเสทครบ 300 ล้านบาร์เรล
       
       พ.ศ. 2553 ครบรอบ 30 ปีศูนย์เศรษฐพัฒน์ จ.สงขลา
       
       พ.ศ. 2552 ผลิตก๊าซครบ 9 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2551 ผลิตก๊าซครบ 8 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2550 ได้รับสัมปทานแปลงใหม่อีก 4 แปลงได้แก่ G4/50, G6/50, G7/50 และ G8/50 โดยเชฟรอนเป็นผู้ดำเนินการในสามแปลงแรก
       
       พ.ศ. 2550 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติสำหรับแปลงสัมปทานหมายเลข 10-13 ในอ่าวไทย กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยเชฟรอนจะจัดส่งก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นที่อัตรา 500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 เป็นต้นไป
       
       พ.ศ. 2550 ได้รับการต่ออายุสัมปทานการผลิตในอ่าวไทยแปลง 10-13 อีก 10 ปี (พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2565)
       
       พ.ศ. 2550 ผลิตก๊าซธรรมชาติส่งเข้าท่อก๊าซเส้นที่ 3 ของปตท. เฉลี่ยวันละ 240 ล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2549 ผลิตก๊าซครบ 7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2549 ได้รับสัมปทานในอ่าวไทยเพิ่มเติมอีก 2 แปลงได้แก่ จี 4/48 (ครอบคลุมพื้นที่ 504 ตารางกิโลเมตร) และจี 9/48 (ครอบคลุมพื้นที่ 252 ตารางกิโลเมตร)
       
       พ.ศ. 2549 สร้างสถิติยอดผลิตน้ำมันบรรลุ 70,000 บาร์เรลต่อวันบนพื้นที่ผลิตบี 8/32
       
       พ.ศ. 2548 ควบรวมกิจการระหว่างยูโนแคล คอร์ปอเรชั่นกับเชฟรอน คอร์ปอเรชั่น และเปลี่ยนชื่อจากบริษัทยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด เป็นบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด
       
       พ.ศ. 2548 ผลิตก๊าซครบ 6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2547 ประสบความสำเร็จในการขุดเจาะหลุมสำรวจ 4 หลุมที่แปลง A ประเทศกัมพูชา
       
       พ.ศ. 2547 ประสบความสำเร็จในการขุดเจาะหลุม 1 หลุมที่ลันตา 1 และ ลันตา 2 ในแปลง จี 4/43
       
       พ.ศ. 2547 ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นด้านบริหารความปลอดภัยจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
       
       พ.ศ. 2546 ผลิตก๊าซครบ 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2546 ผลิตน้ำมันดิบครบ 5 ล้านบาร์เรล
       
       พ.ศ. 2546 เซ็นสัญญาแปลง จี 4/43 และ แปลง 9A ในอ่าวไทย
       
       พ.ศ. 2545 สร้างสถิติยอดผลิตน้ำมันบรรลุ 60,000 บาร์เรลต่อวันบนพื้นที่ผลิตบี 8/32
       
       พ.ศ. 2545 ลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแหล่งเอราวัณและแหล่งยูโนแคล 2/3 ลดราคาก๊าซธรรมชาติรวมมูลค่า 10,294 ล้านบาทภายในระยะเวลา 10 ปี
       
       พ.ศ. 2545 ฉลองครบรอบ 40 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
       
       พ.ศ. 2545 ได้รับสัมปทานการสำรวจในแปลง A ประเทศกัมพูชา
       
       พ.ศ. 2545 แผนกวิเคราะห์และควบคุมผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้รับรางวัลประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพ ISO 9001
       
       พ.ศ. 2544 ขุดเจาะหลุมน้ำมันในแนวนอน (horizontal monobore oil well) หลุมแรกในอ่าวไทย
       
       พ.ศ. 2544 สร้างสถิติผู้นำการผลิตน้ำมันในอ่าวไทยบรรลุ 38,000 บาร์เรลต่อวัน
       
       พ.ศ. 2544 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการของแท่นกระบวนการผลิตน้ำมันแหล่งปลาทอง นับเป็นแท่นกระบวนการผลิตปิโตรเลียมแท่นแรกที่สร้างและประกอบในประเทศไทย
       
       พ.ศ. 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดแหล่งก๊าซไพลินในอ่าวไทย
       
       พ.ศ. 2543 ผลิตก๊าซครบ 4 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2543 ค้นพบแหล่งน้ำมันชบา ได้รับสัมปทานการสำรวจแหล่งจามจุรีเหนือ
       
       พ.ศ. 2542 ประสบผลสำเร็จเพิ่มผลผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่ในการขุดเจาะหลุมก๊าซตามแนวนอนเป็นหลุมแรกที่หลุม “ตราด A-07” ณ ความลึก 1,990 เมตร (6,530 ฟุต)
       
       พ.ศ. 2542 ห้องปฏิบัติการตรวจสอบสงขลาของยูโนแคลได้รับใบรับรองมาตรฐาน มอก. 1300 (ISO/IEC Guide 25) จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
       
       พ.ศ. 2542 ค้นพบแหล่งน้ำมันดิบปริมาณเชิงพาณิชย์ในอ่าวไทย ในแปลงสำรวจที่ 10A และ 11A
       
       พ.ศ. 2542 ขุดเจาะหลุมก๊าซในแนวนอนหลุมแรกในอ่าวไทย
       
       พ.ศ. 2542 เริ่มการผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งเบญจมาศในวันที่ 1 กรกฎาคม โดยเชฟรอนเป็นผู้ผลิตในวันที่ 1 ตุลาคม
       
       พ.ศ. 2542 เชฟรอนควบรวมกิจการกับ Rutherford Moran Oil Corp. ในวันที่ 17 มีนาคม
       
       พ.ศ. 2541 ฉลองครบรอบ 36 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
       
       พ.ศ. 2541 เซ็นสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลวกับ ปตท.
       
       พ.ศ. 2540 ได้รับรางวัลประกาศนียบัตร ISO 14001 ในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
       
       พ.ศ. 2540 ผลิตก๊าซธรรมชาติครบ 3 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2540 ติดตั้งแท่นผลิตก๊าซ 3 ขาแท่นแรกที่ก่อสร้างในประเทศไทย
       
       พ.ศ. 2540 เริ่มการผลิต ณ แหล่งทานตะวันในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ และค้นพบแหล่งมะลิวัลย์
       
       พ.ศ. 2539 ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแหล่งไพลินกับ ปตท.
       
       พ.ศ. 2538 ค้นพบแหล่งเบญจมาศ และเริ่มต้นพัฒนาแหล่งทานตะวัน
       
       พ.ศ. 2538 ขยายศูนย์เศรษฐพัฒน์ให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีปิโตรเลียมที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ โดยการเพิ่มหน่วยฝึกอบรมปฏิบัติการฉุกเฉินและสถานีความปลอดภัยในน้ำ
       
       พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลประกาศนียบัตรรับรองระดับสามขั้นสูง ด้านการจัดการสุขภาพและความปลอดภัย จากสถาบัน DNV ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ดำเนินการรับรองความปลอดภัยตามระบบ International Safety Rating System (ISRS)
       
       พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นด้านการบริหารความปลอดภัยของกระทรวงอุตสาหกรรม มอบให้โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
       
       พ.ศ. 2537 ผลิตก๊าซครบ 2 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2535 ค้นพบแหล่งทานตะวันในอ่าวไทย
       
       พ.ศ. 2534 ได้รับสัมปทานการสำรวจปิโตรเลียมแปลง B8/32
       
       พ.ศ. 2533 ผลิตก๊าซครบ 1 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2533 ติดตั้งสถานีเรดาร์ตรวจอากาศนอกฝั่งที่แหล่งก๊าซสตูล
       
       พ.ศ. 2531 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับที่ 3 กับ ปตท.
       
       พ.ศ. 2525 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับที่ 2 กับ ปตท.
       
       พ.ศ. 2524 เริ่มผลิตก๊าซส่งขึ้นฝั่งที่โรงแยกก๊าซของ ปตท. จังหวัดระยอง
       
       พ.ศ. 2523 ก่อตั้งศูนย์เศรษฐพัฒน์ เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีปิโตรเลียมสำหรับพนักงานชาวไทย
       
       พ.ศ. 2521 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับแรกกับ ปตท.
       
       พ.ศ. 2516 ประสบความสำเร็จค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติปริมาณเชิงพาณิชย์แหล่งแรกของประเทศ ในแปลงหมายเลข 12 ซึ่งภายหลังตั้งชื่อว่าแหล่ง “เอราวัณ”
       
       พ.ศ. 2511 ได้รับสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมแปลงหมายเลข 12 และ 13 ในอ่าวไทย
       
       พ.ศ. 2505 บริษัทยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด เป็นบริษัทแรกที่ได้รับอนุมัติสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมจากรัฐบาลไทย บริเวณที่ราบสูงโคราช
       
       เมื่อพิจารณาถึงช่วงเวลาที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ กับการเข้ามาดำเนินกิจการด้านปิโตรเลียมซึ่งหมายความถึงการสำรวจ ผลิต เก็บรักษา ขนส่ง ขาย หรือจำหน่ายปิโตรเลียม และคำว่า “ปิโตรเลียม” หมายความว่า น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว สารพลอยได้และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จึงสอดคล้องอย่างลงตัวว่านับแต่ประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว บริษัทจากประเทศมหาอำนาจอเมริกา คือ บริษัท เชฟรอน เท่านั้น ที่เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์เต็มๆ จากพ.ร.บ.ฉบับนี้
       
       จากนั้นจึงมีบริษัทจากประเทศมหาอำนาจอื่นๆ เช่น อังกฤษ ติดตามมา บริษัทสัญชาติไทยอย่างการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท.ก็เกิดขึ้นตามมาในภายหลัง แต่ท้ายที่สุดก็ถูกแปรรูปไปเป็นของเอกชนและทุนต่างชาติ ดังที่เป็นอยู่ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 จึงเป็นเพียงกฎหมายทาส และเป็นเครื่องมืออนุญาตให้ทุนต่างชาติ ทุนสามานย์และนักการเมืองไทย ปล้นประเทศ และขายชาติโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นมรดกบาปให้คนไทยต้องรับกรรม ใช้พลังงานน้ำมันในราคาที่แพงที่สุด เป็นอันดับ 8 ของโลกอย่างทุกวันนี้

2. พิจารณาจากเนื้อหาสาระของ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 รวมทั้งที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมทั้งสิ้นรวม 5 ครั้ง คือ โดยฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2516 สมัยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2522 โดยมีรองนายกรัฐมนตรีนายสมภพ โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2532 สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 5 ปี พ.ศ. 2534 สมัยนายอานันท์ ปันยารชุน
      
        และฉบับที่ 6 พ.ศ. 2550 สมัยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จะเห็นได้ว่าตลอดระยะเวลา 41 ปี นับแต่มีพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศใช้ ไม่ปรากฏว่ามีคณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาลชุดใดรวมถึงสภาผู้แทนราษฎรคณะใดสนใจที่จะปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน เนื้อหาสาระของกฎหมายโดยส่วนใหญ่ยังคงเดิมและยังเป็นการเอื้อประโยชน์เฉพาะกลุ่มธุรกิจพลังงานที่เป็นบริษัทของทุนข้ามชาติทั้งสิ้น โดยผู้เขียนเห็นว่าสาระสำคัญๆ ที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ควรจะได้มีการทบทวนเปลี่ยนแปลงและแก้ไขหรือกระทั่งยกเลิกในบางมาตราที่มิได้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ซึ่งผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะต่อสังคมเพื่อพิจารณาดังนี้
      
        2.1 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ ได้บัญญัติคำนิยามที่สำคัญๆ ซึ่งผู้เขียนขอยกมาพูดถึงบางส่วนดังนี้
      
        “กิจการปิโตรเลียม” หมายความว่า การสำรวจ ผลิต เก็บรักษา ขนส่ง ขาย หรือ จำหน่ายปิโตรเลียม
      
        “ปิโตรเลียม” หมายความว่า น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลวสารพลอยได้ และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และอยู่ในสภาพอิสระ ไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นของแข็ง ของหนืด ของเหลว หรือก๊าซ และให้หมายความรวมถึงบรรดาไฮโดรคาร์บอนหนักที่อาจนำขึ้นมาจากแหล่งโดยตรง โดยใช้ความร้อนหรือกรรมวิธีทางเคมี แต่ไม่หมายความรวมถึง ถ่านหิน หินน้ำมัน หรือหินอื่นที่สามารถนำมากลั่นเพื่อแยกเอาน้ำมันด้วยการใช้ความร้อนหรือกรรมวิธีทางเคมี
      
        “น้ำมันดิบ” หมายความว่า น้ำมันแร่ดิบ แอสฟัลท์ โอโซเคอไรท์ ไฮโดรคาร์บอนและบิทูเมนทุกชนิดที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ไม่ว่าในสภาพของแข็ง ของหนืด หรือ ของเหลว และให้หมายความรวมถึงก๊าซธรรมชาติเหลวด้วย
      
        พิจารณาจากคำนิยามที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับ “กิจการปิโตรเลียม”, “ปิโตรเลียม” และคำว่า “น้ำมันดิบ” ในยุคสมัยปี พ.ศ. 2514 ครั้งที่ประเทศไทยเริ่มมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม ประเทศไทยยังไม่มีบุคลากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของการปิโตรเลียมเลย แม้มีก็คงเป็นจำนวนน้อยมากและในจำนวนนั้น ส่วนใหญ่ก็ต้องทำงานหรือเป็นลูกจ้างให้กับบริษัททุนข้ามชาติที่เป็นเจ้าของธุรกิจพลังงานยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างบริษัท เชฟรอน จำกัด ทั้งสิ้น และบุคคลที่มีบทบาทในการร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็ล้วนแต่เป็นคนที่ได้รับข้อมูลความคิดทางกฎหมายจากที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญที่เป็นตัวแทนของบริษัทต่างชาติทั้งสิ้น
      
        เพราะในยุคสมัยนั้นบริษัทธุรกิจของคนไทยหรือรัฐวิสาหกิจของไทย ยังไม่มีบริษัทใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแต่อย่างใด การมีกฎหมายดังกล่าวประกาศใช้จึงเป็นการเปิดทางให้แก่บริษัทต่างชาติเพื่อเข้ามาทำธุรกิจ สำรวจ ขุดเจาะน้ำมันในประเทศไทยเป็นการเฉพาะเท่านั้น จึงนับว่าเป็นความเสียเปรียบของประเทศไทย คำนิยามดังกล่าวจึงให้ความหมายครอบคลุมในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ ที่บริษัทต่างชาติมีศักยภาพในการที่จะดำเนินธุรกิจสำรวจ ขุดค้น โดยครอบคลุมทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับกิจการปิโตรเลียม ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องน้ำมันดิบเท่านั้น คำนิยามดังกล่าวยังกินความไปถึงก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว สารพลอยได้และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และอยู่ในสภาพอิสระอีกด้วย ไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นของแข็ง ของเหลว ก๊าซ หรือของหนืด
      
        นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2532 รัฐบาลไทยโดยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี ยังได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 โดยตราเป็นพระราชบัญญัติปิโตรเลียม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2532 โดยให้ยกเลิกความในบทนิยาม คำว่า “น้ำมันดิบ” “น้ำมันดิบที่ส่งออก” ผลิต” และ “จำหน่าย” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
        “น้ำมันดิบ” หมายความว่า น้ำมันแร่ดิบ แอสฟัลท์ โอโซเคอไรท์ ไฮโดรคาร์บอนและบิทูเมน ทุกชนิดที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ไม่ว่าในสภาพของแข็ง ของหนืด หรือของเหลว และให้หมายความรวมถึงก๊าซธรรมชาติเหลวด้วย
      
        “น้ำมันดิบที่ส่งออก” หมายความว่า น้ำมันดิบที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร ไม่ว่าการส่งออกน้ำมันดิบจะกระทำโดยผู้รับสัมปทานหรือผู้อื่น และให้หมายความรวมถึงส่วนของน้ำมันดิบที่ผู้รับสัมปทานได้ขายหรือจำหน่ายในราชอาณาจักร และได้มีการนำน้ำมันดิบดังกล่าวไปกลั่นเป็นผลิตภัณฑ์และผลิตภัณฑ์นั้นถูกส่งออกจากราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตามปริมาณที่คำนวณได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน มาตรา 89 (1)
      
        “ผลิต” หมายความว่า ดำเนินการใดๆ เพื่อนำปิโตรเลียมขึ้นจากแหล่งสะสม และให้หมายความรวมถึง ใช้กรรมวิธีใดๆ เพื่อทำให้ปิโตรเลียมอยู่ในสภาพที่จะขาย หรือ จำหน่ายได้ แต่ไม่หมายความถึงกลั่น ประกอบอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียม ประกอบ อุตสาหกรรมโรงแยกก๊าซ โรงทำก๊าซให้เป็นของเหลวหรือโรงอัดก๊าซ “จำหน่าย” หมายความว่า
      
        (1) ส่งน้ำมันดิบไปยังโรงกลั่นน้ำมัน หรือสถานที่เก็บรักษาเพื่อการกลั่นน้ำมันไม่ว่า โรงกลั่นน้ำมันหรือสถานที่เก็บรักษาจะเป็นของผู้รับสัมปทานหรือไม่
      
        (2) ส่งก๊าซธรรมชาติไปยังโรงแยกก๊าซ โรงทำก๊าซให้เป็นของเหลว โรงอัดก๊าซ หรือสถานที่เก็บรักษาเพื่อกิจการดังกล่าวไม่ว่าโรงแยกก๊าซ โรงทำก๊าซให้เป็นของเหลว โรงอัดก๊าซ หรือสถานที่เก็บรักษาดังกล่าวจะเป็นของผู้รับสัมปทานหรือไม่
      
        (3) นำปิโตรเลียมไปใช้ในกิจการใดๆ ของผู้รับสัมปทานหรือของผู้อื่นโดยไม่มีการขาย หรือ
      
        (4) โอนปิโตรเลียมโดยไม่มีค่าตอบแทน
      
        การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว โดยการขยายความหมายของคำนิยามให้มีขอบเขตกว้างขวางเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น ล้วนแต่เป็นการเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบการ ให้สามารถปล้นสะดมเอาทรัพยกรธรรมชาติ โดยเฉพาะแหล่งปิโตรเลียมทั้งหลายในประเทศไทยและสารพลอยได้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไปโดยชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น โดยไม่ได้จำแนกแยกแยะหรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของชาติและอนุชนลูกหลานแต่อย่างใด บริษัทต่างชาติใดที่ได้รับสัมปทานและใบอนุญาตให้สำรวจ ผลิต ขาย หรือจำหน่าย ปิโตรเลียมในประเทศไทย ย่อมมีสิทธิสำรวจขุดค้น ปล้นเอาทรัพยากรของประเทศไทยได้ทุกอย่างตามคำนิยามในกฎหมาย