ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

แจ้งความร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อ คณะกรรมการบริษัท ปตท. และพวก


วันที่ 28 มีนาคม 2555
เรื่องขอแจ้งความร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อ
1. คณะกรรมการบริษัท ปตท. (รายชื่อกรรมการตามเอกสารแนบท้าย )
2. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
3. ผู้อำนวยการสำนักนโยบาย และแผนพลังงาน
กราบเรียน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

(1) ชื่อและที่อยู่ของผู้เสียหาย และเพิ่มเติมดังเอกสารแนบท้าย 1
1.1 นาย ศรัลย์ ธนากรภักดี
1.2 นายเรืองศักดิ์ เจริญผล
1.3 พ.ท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี
1.4 นอ.บัญชา รัตนาภรณ์
1.5 นายอภิเดช เดชวัฒนสกุล
(3) ชื่อหรือตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา
3.1 คณะกรรมการ บริษัทปตท.
3.2 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
3.3 ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
(4) ข้อกล่าวหาและพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดตามข้อกล่าวหา ความเสียหายที่ได้รับพร้อมพยานหลักฐานชัดเจนเพียงพอที่จะดำเนินการ ไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปได้
ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ได้รับความเสียหาย หรืออาจจะได้รับความเสียหาย และปฏิบัติหน้าที่รักษา ผลประโยชน์ ชาติ จากการที่ผู้ถูกกล่าวหา เป็นผู้รับผิดชอบ ดูแลเกี่ยวกับเรื่องพลังงานของประเทศทั้งหมด เป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐ มีอำนาจหน้าที่ตาม รัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กระทำการละเมิด ดังต่อไปนี้
4.1 ละเมิดคำสั่งศาล และใช้ทรัพน์สินของประชาชนมาแสวงหา ประโยชน์ ในช่วงเวลา ตั้งแต่ วันที่ 14 ธันวาคม พศ 2550 จนถึงปัจจุบัน เหตุเกิด ณ บริษัท ปตท สำนักงานใหญ่ เลขที่ 555 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กทม และสถานที่ที่เกี่ยวข้อง ถูกศาลปกครองสูงสุด สั่งให้คืน. ท่อก๊าซให้แก่ แผ่นดิน ในคดี หมายเลข คดีแดงที่ ฟ.35/2550 ตามเอกสารแนบ ….2 แต่ปรากฎว่า บริษัท ปตท .มิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง ศาลที่ให้คืนท่อก๊าซที่เป็น ส่วนของแผ่นดิน ให้กับรัฐให้หมด แต่ปตท คืนเพียงบางส่วน ตามเอกสารแนบ 3 ดังหนังสือ ของสำนักงานตรวจเงินเเผ่นดิน ที่ ผลสอบของ สตง. ระบุว่าปตท.ยังส่งคืน สมบัติแผ่นดิน ให้ กระทรวงการคลัง ไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษา ของศาล ปกครองสูงสุด ยังมีท่อก๊าซฯบนบก และในทะเล มูลค่ารวม 32,613 ล้านบาท เวลาล่วงเลยมาสามปีกว่า จนถึงปัจจุบัน
ในจำนวนนี้เป็นระบบท่อส่งก๊าซฯ ที่ปรากฏชื่อโครงการในคำพิพากษาของ ศาลปกครอง สูงสุด จำนวน 36,642.76 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้แบ่งแยก และส่งมอบให้กระทรวงการคลัง จำนวน 14,808.62 ล้านบาท คงเหลือส่วนที่บริษัทยังไม่ได้แบ่งแยกให้กระทรวงการคลัง จำนวน 21,834.14 ล้านบาท
และเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2551 ผู้ถูกกล่าวโทษที่1-3 ร่วมกันกระทำ การละเมิด อำนาจศาล ทั้งที่รู้ว่า ท่อก๊าซ ส่วนที่เป็นของรัฐที่ปตท จักต้องคืน ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ทั้งยังนำเอาท่อก๊าซ ที่เป็น ทรัพย์สิน ของแผ่นดิน นำไปใช้แสวงหาประโยชน์ โดยเรียกเก็บค่า ก๊าซ ผ่านท่อ เพิ่มเติมจากเดิม ตาม หนังสือ
“คู่มือการ คำนวณ ราคาก๊าซธรรมชาติ และอัตราค่าบริการส่งก๊าซ ธรรมชาติ” ที่ได้ร่วมกันจัดทำขึ้น มีผลบังคับ ใช้เมื่อ1 เมษายน 2552 ตามเอกสารแนบ 4 จากบันทึกใน “รายงานการพิจารณาศึกษา ของคณะกรรมการธิการ ศึกษา ตรวจสอบ เรื่อง การทุกจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เรื่องธรรมาภิบาล ในระบบ พลังงาน ของประเทศ ภาค1 ภาค 2 หน้า 22-26 ที่ผ่านที่ ประชุมวุฒิสภา เห็นชอบเเล้วเมื่อ วันที่ 4 พค. 53 และ15 สค. 54 ทำให้เกิดรายได้ และ ผลประโยชน์ แก่เอกชน ที่ถือหุ้น ส่วนหนึ่ง ของปตท ตามเอกสารแนบ 5 รวมทั้งผู้ถูกกล่าวหา ที่1
คณะกรรมการผู้บริหารที่ได้ โบนัส ตามผลกำไรของปตท. เป็นการขูดรีด และ ฉ้อโกงประชาชน ซึ่งหน้า โดย เจ้าหน้าที่รัฐทั้งสาม สมรู้ร่วมคิด ทั้งๆที่รู้ว่า ท่อก๊าซ ส่วนนั้น เป็นสมบัติของแผ่นดิน อีกทั้ง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ผู้ถูกกล่าวหาที่ สอง ยังใช้เป็น กรอบในการคำนวณ และพิจารณาอนุมัติ ราคาก๊าซ และอัตราค่าบริการส่งก๊าซ โดยมิได้คำนึงถึงว่า ท่อก๊าซเหล่านี้ศาล ได้มีคำสั่งให้คืนแก่แผ่นดินแล้ว ซึ่งทำให้ราคาก๊าซ เพิ่มขึ้น มีผลกระทบต่อโครงสร้าง ค่าไฟฟ้าเอฟที ที่คิดจากต้นทุนราคาก๊าซ ที่เพิ่นขึ้น ทั้งค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ยังส่งผลกระทบต่อ ต้นทุนสินค้าทุกชนิด สร้างความเดือดร้อนต่อ ประชาชนทั้งประเทศ รวมทั้ง ผู้ร้องเรียนที่เสียหายจากการที่ต้อง รับภาระค่าไฟฟ้า (เอกสารแนบ ใบเสร็จค่าไฟฟ้า ) และราคาสินค้า ทุกชนิด ผู้ถูกร้องเรียนทั้งสาม มีความผิดตาม มาตรา 368 มาตรา 148 มาตรา 152 มาตรา 157 และ ขัดประมวลจริยะธรรม นักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 279
4.2 ฉ้อฉลประชาชน หมกเม็ดบิดเบือนข้อมูล เอื้อประโยชน์เอกชน
ในช่วงปี 2554 จนถึงปัจจุบัน ผู้ถูกร้องเรียนที่ 1-3 ให้ข้อมูลสู่สาธารณะ มีการหมกเม็ด ปิดบังบางส่วน เพื่อประโยชน์ ตนเองหรือผู้อื่นทั้งร่วมกัน นำ เสนอ ข้อมูลที่หมกเม็ด บิดเบือน ต่อประชาชน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่า ก๊าซ LPG ในประเทศ ไม่พอใช้สำหรับครัวเรือน และภาคขนส่ง จนต้องสั่งจากต่างประเทศ (จากข่าวสื่อมวลชน เอกสารแนบ 7 ) จากรายงานของวุฒิสภา ฯ พบว่า ปริมาณก๊าซLPG ที่ใช้ในครัวเรือน และขนส่ง มีสัดส่วน เพิ่มขึ้น น้อยกว่า ภาคปิโตรเคมี เช่นในปี 2551 และ 2552 ภาคปิโตรเคมี มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 470 พันตัน ส่วนภาคครัวเรือน เพิ่มขึ้น 107 พันตัน ภาคขนส่ง ใช้ลดลง 110 พันตัน (อ้างอิง หนังสือที่ สว. (กมธ.2 ) 0010 /2563 ลงวันที่ 17 มิย 53 เอกสารแนบ 9 )
ส่วนในปี 2554 ช่วงเดือน มค-พค 54 (ช่วง ห้าเดือน ) เทียบกับปี 53 (12 เดือน ) สัดส่วนการใช้ LPG ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น 11พันตัน ในรถยนต์เพิ่มขึ้น 12 พันตัน ภาคปิโตรเคมี เพิ่มขึ้น 54 พันตัน (ที่มากรมธุรกิจพลังงาน เอกสารแนบ 8 ) ดังนั้น การนำเข้า ก๊าซ LPG ที่นำเข้ามานั้น ใช้ในอุตาหกรรม ปิโตรเคมีมากกว่าครัวเรือน และขนส่ง มาก ไม่ใช่ ใช้ในครัวเรือน หรือขนส่ง แต่เวลาผู้ถูกกล่าวหา ที่หนึ่ง ให้เข่าว สื่อต่อสาธารณะ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่า ครัวเรือนและ ภาคขนส่งใช้ก๊าซมากเกินจำนวนที่ผลิต ในประเทศ เอกสารแนบ 7 จนต้องนำเข้า ในราคาสูง ( ทั้งที่ ในประเทศมีปริมาณ ก๊าซธรรมชาติ เพียงพอ แต่ไม่สร้างโรงแยกก๊าซให้ เพียงพอ ) และ ปตท สั่งก๊าซ โพรเพนและบิวเทน เข้ามา เพื่อ ปิโตรเคมี ในบริษัทลูกของปตท. แต่ไม่แสดงให้ประชาชนรับรู้ เพราะถ้าประชาชน ล่วงรู้ความจริง จะมีการต่อต้าน ทั้งการนำเข้านี้ราคาสูงกว่า ในประเทศ ที่ต้องเอาเงินกองทุนน้ำมัน ที่ผู้ร้องเรียน ต้องแบกภาระ ในรูปของราคาน้ำมันเบนซินและก๊าซโซฮอลล์ ที่เก็บ เงินเข้ากองทุน ลิตรละสองถึง สามบาท ( เอกสารแนบ 10 ) แต่กลับไปเอื้อประโยชน์กลุ่มปิโตรเคมี ที่ส่วนใหญ่ เป็นบริษัทลูก ของปตท ซึ่งสร้างกำไร แก่บริษัทเหล่านี้ เช่น บริษัท ปตท เคมิคอล กำไรเพิ่มขึ้น 180 % .ในไตรมาส สอง ปี 2554 ( ตามเอกสารแนบ 11 ) เท่ากับ เสนอข้อมูล ฉ้อฉล กลลวง เพื่อขูดรีด เงินค่าน้ำมัน ไปชดเชย การนำเข้า ก๊าซ โพรเพนและบิวเทน แต่ออกข่าวเสมือนหนึ่ง ว่าประชาชน ใช้มาก ครัวเรือน และยานยนต์ เพื่อผลประโยชน์ในการเรียกเก็บ ค่าใช้จ่าย จากกองทุนน้ำมัน และการกู้เงินเพื่อไปชดเชย ราคาก๊าซที่สั่งเข้ามา เพื่อปิโตรเคมี ถือเป็น หลอกลวงผู้อื่นให้ได้มาซึ่งทรัพย์ เป็นการปกปิดบิดเบือนข้อมูล เพื่อผลประโยชน์ตนเองหรือ ผู้อื่น
จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อ กฎหมายอาญามาตรา 341 มาตรา 148 มาตรา 152 มาตรา 157 ขัดประมวล จริยะธรรมนักการเมือง ข้อ 6 (5) ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ14 และรัฐะรรมนูญมาตรา 279
3 ฉ้อโกง ราคาน้ำมัน
ในเดือน มกราคม- พฤศจิกายน 2553 โดยเทียบราคากับราคาน้ำมันในเดือน ธค พศ 2552 คณะกรรมการ ตรวจสอบฯวุฒิสภาได้พบว่า ประชาชนต้องจ่ายค่าน้ำมันแพงกว่าความ จริง ไม่ได้ ขึ้นลง ตามกลไกราคาตลาดโลกตามมติครม. เช่นในกรณีย์ค่าเงินเเข็งขึ้น และราคาน้ำมันขึ้นลง ตามราคาตลาดโลก ปรากฎว่า ผู้ถูกกล่าวโทษที่1 ได้คิดโครงสร้างราคาน้ำมัน ที่แพงกว่า ความจริงถึง กว่า 30,000 ล้านบาท เช่น จ่ายค่าราคาน้ำมันเบนซิน 91 สูงเกินไป 4,014.57 ล้านบาท จ่ายค่าราคาน้ำมันเบนซิน 95 สูงเกินไป 102.10 ล้านบาท จ่ายค่าราคาน้ำมัน ดีเซล สูงเกินไป 28207.74 ล้านบาท รายละเอียดตามรายงาน ของคณะกรรมาธิการวุฒิสภา (เอกสารแนบ 12 ) สังเกตได้ว่าราคาน้ำมันในประเทศมักจะขึ้น มากกว่าลง และลงช้ากว่าเวลา น้ำมันตลาดโลกแพงขึ้น จะขึ้นเร็วมาก
ดังนั้น ทาง ภาคประชาชน ที่มีรายชื่อแนบท้ายเอกสารนี้จึงขอ ร้องทุกข์ กล่าวโทษแก่บริษัทปตท.จำกัด คณะกรรมการ ปตท. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและ แผนพลังงาน ขอให้ ดำเนิน คดีฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 157 จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ที่ทำให้ ผู้ร้องทุกข์ ประชาชน ประเทศชาติ เสียหาย ขาดประโยชน์ ที่พึ่งมีพึ่งได้ตามกฎหมาย

ขอแสดงความนับถือ




ความผิดฐานฉ้อโกง

มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ลักษณะการกระทำอย่างไร เป็นความผิดฐานฉ้อโกงทรัพย์ :: พ.ต.ท.ศักกพล สุขปาน

1. ต้องมีการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
2. ข้อความนั้นต้องเป็นเท็จและต้องเป็นเหตุการณ์ในอดีตหรือปัจจุบัน ไม่ใช่เหตุการณ์ในอนาคต เว้นแต่เหตุการณ์ในอนาคตนั้นพออนุมานได้ว่าเป็นการแสดงถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันรวมอยู่ด้วย
4. การแสดงข้อความเท็จนั้น อาจเป็นเท็จต่อเพียงบางส่วนก็ได้ ไม่จำต้องเท็จทั้งหมด
5. การหลอกลวงนั้นต้องกระทำก่อนที่จะได้ทรัพย์สิน จากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ถ้าได้ทรัพย์มาในความครอบครองก่อนแล้ว จึงหลอกลวงไม่เป็นฉ้อโกง
7. การแสดงข้อความอันเป็นเท็จนั้น อาจกระทำด้วยทางวาจา กิริยาท่าทาง ลายลักษณ์อักษร เครื่องขยายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ หรืออื่นๆก็ได้ กฎหมายไม่จำกัดเฉพาะทางวาจาเท่านั้น
8. การปกปิดความจริงที่ควรบอกให้แจ้ง คือจะต้องรู้ความจริงแล้วนิ่งเสียไม่ยอมบอกให้เขาทราบเพื่อจะให้ได้ทรัพย์สิน ฯ อาจกระทำโดยกิริยา ท่าทาง หรืออย่างอื่นๆก็ได้
10. การหลอกลวงนั้นต้องทำให้เขาหลงเชื่อและได้ไปซึ่งทรัพย์สิน หรือ ทำให้เขาทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว หากให้เพราะความสงสารหรือเพื่อจะเอาเป็นพยานหลักฐานในการฟ้องคดีหรือไม่เชื่อจึงไม่ให้ทรัพย์ หรือเชื่อแต่ไม่ให้ทรัพย์หรือไม่มีทรัพย์จะให้ ดังนี้ เป็นเพียงความผิดฐานพยายามฉ้อโก
14. ความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทำต้องมีเจตนาทุจริตมาก่อนหรือในขณะหลอกลวงอันเป็นเหตุให้ได้ทรัพย์นั้น ถ้าผู้กระทำมีเจตนาทุจริตขึ้นในภายหลังไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง แต่ผิดฐานยักยอก
15. ความผิดฐานฉ้อโกงนั้น ต้องหลอกลวงเอาทรัพย์ของผู้อื่น การหลอกลวงเอาทรัพย์ของตนเองไปจากผู้อื่นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ดูฎีกาที่ 16/2510
http://www.police.go.th/

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด - เพื่อนซี้ “ทักษิณ” ร่วมก๊วน “เทมาเส็ก” แนบแน่น “ปตท.”


โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด - เพื่อนซี้ “ทักษิณ” ร่วมก๊วน “เทมาเส็ก” แนบแน่น “ปตท.”

แฉโมเดลวิบัติ เขาพระวิหารแลกแหล่งน้ำมันในเขมร

“เขาพระวิหาร” “แหล่งพลังงาน” “ปตท.” และกลุ่มทุนอดีตนายกฯ “ทักษิณ” กลายเป็นเรื่องเดียวกันอย่างแทบไม่น่าเชื่อ... แต่ก็ต้องเชื่อ เพราะ “พลังงาน” เป็นสิ่งมีค่า เป็น “ขุมทอง” ที่ทักษิณยอมแลกได้ทุกอย่าง แม้ว่าจะทำให้ไทยต้องสูญเสียเขาพระวิหารให้กับเขมร และอาจต้องสูญเสียดินแดนและอธิปไตย ก็เพื่อแลกกับแหล่งพลังงาน ในอ่าวเขมร แหล่งพลังงานที่เหลืออยู่แห่งเดียวในโลก ปริศนานี้กำลังถูกเฉลยออกมาว่า ทำไม ทักษิณ ถึงต้องมีเอี่ยวในปตท. !

ว่าด้วยเรื่องเขาพระวิหารแล้ว “นพดล ปัทมะ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ อดีตทนายความและโฆษกประจำตัวของ “ทักษิณ” ไปลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เพื่อยอมรับคำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก จนอาจทำให้ประเทศไทยเสียดินแดน กลายเป็นข้อสงสัยว่าทำเพื่ออะไร

เพราะก่อนลงนามเพียง 1 เดือน พล.อ.เตีย บัน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กัมพูชา ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทยว่า “ทักษิณ” จะลงทุนธุรกิจพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติในกัมพูชา โดยเฉพาะการเช่า เกาะกง ซึ่งมีรีสอร์ตดังอย่าง “สีหนุวิลล์” เป็นจุดขาย หลังจากที่ได้หารือกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว

“พลเอกเตีย บัน” ยังบอกด้วยว่า เรื่องธุรกิจน้ำมันและก๊าซ เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งชาวกัมพูชา ยังคงต้องซื้อน้ำมันในราคาที่แพง และทำให้ค่าครองชีพสูง แต่ทุกคนก็ต้องเผชิญปัญหานี้ต่อไป ตราบใดที่กัมพูชายังไม่สามารถขุดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมาใช้ได้ในระยะอันใกล้

การเชื่อมโยงโดยข้อสังเกตจาก “อลงกรณ์ พลบุตร” ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ยังระบุถึงเหตุผลความเหมาะสม เมื่อครั้งที่ “สมชาย วงศ์สวัสดิ์” รองนายกรัฐมนตรี น้องเขย “ทักษิณ” ไปร่วมเป็นประธานเปิดถนนสาย 48 ไทย-กัมพูชา ระยะทาง 149 กิโลเมตร ซึ่งเป็นถนนที่ ครม.นายกฯ ทักษิณผ่อนปรนปล่อยกู้ให้กัมพูชาเป็นพิเศษ

แม้ปัจจุบันจะไม่มีหลักฐานจับได้ว่า มรดกโลก “เขาพระวิหาร” เป็นการเซ็นเพื่อ “ทักษิณ” หรือไม่ก็ตาม แต่ปริศนานี้กำลังถูกเฉลยออกมาอย่างช้าๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการตั้งข้อสังเกตว่า เบื้องหลังเหตุการณ์ครั้งนี้ เพราะ“กัมพูชา” เป็นแหล่งพลังงานที่เหลือเพียงไม่กี่แห่งในโลกที่ยังไม่ได้ถูกขุดเจาะ และพร้อมให้กลุ่มทุนเข้าไปดำเนินงาน ในพื้นที่แถบชายฝั่งและนอกชายฝั่ง ซึ่งจากการบรรยายของ TE DUONG TARA ผู้อำนวยการ Cambodian National Petroleum Authority เมื่อ 18 มกราคม 2006 ระหว่างการประชุมว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีปิโตรเลียม ของอาเซียนครั้งที่ 4 ระบุว่า กัมพูชามีแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน และมีการผลิตจำนวนมากนอกชายฝั่ง โดยปัจจุบันมีเชฟรอน ได้รับสัมปทานอนุญาตขุดเจาะ และยังมีบริษัทจากไทยคือบริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (PTTEPI) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ปตท. ได้ร่วมทุน 30% กับอีก 2 บริษัท คือ บริษัท Resourceful Petroleum Ltd. และ SPC Cambodia Ltd. อีก 10% เป็นของ CE Cambodia B Ltd.

ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับสัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชาในการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่ง ในบริเวณอ่าวไทย แต่ยังมีพื้นที่แหล่งนี้ที่กัมพูชาเรียกว่า “บล็อก B” และ ปตท.สผ. ตั้งรหัสว่าโครงการจี 9/43 มีการพบเบื้องต้นว่ามีน้ำมันและก๊าซจำนวนมาก แต่ในหนังสือรายงานประจำปี 2550 ได้ระบุว่าเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างไทย-กัมพูชา และกำลังแก้ไขปัญหาเรื่องเส้นแบ่งเขตทางทะเล หรือเป็นหนึ่งในพื้นทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชาอีกพื้นที่หนึ่ง

นี่คือพื้นที่ทับซ้อนที่ยังต้องรอบทสรุป

ที่สำคัญกว่านั้น ทางการกัมพูชายังมีความร่วมมือกับประเทศต่างๆ เพื่อสำรวจและวิจัยแหล่งพลังงานทั้งทางใต้ดิน และดาวเทียม บริเวณพื้นที่ชายฝั่ง และเบื้องต้นว่า บริเวณทะเลสาบ หรือ“โตนเลสาบ” ใจกลางประเทศ ยังมีแนวโน้มของแหล่งน้ำมันดิบ ที่เรียกว่า Permian Carbonates ซึ่งพบทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกเหนือจากแถบชายฝั่งที่มีแหล่งก๊าซอีกหลายแห่ง โดยเฉพาะแถบ “จังหวัดเกาะกง” ของกัมพูชา จังหวัดทะเลชายฝั่งทางตอนใต้ ซึ่งพบแหล่งน้ำมัน

นั่นหมายความว่า เกาะกง กัมพูชา เป็นแหล่งน้ำมันแหล่งใหญ่ของโลกที่ยังคงเหลืออยู่ และยังไม่ได้ถูกขุดเจาะ ย่อมเป็นที่หมายปองของนานาประเทศทั่วโลก รวมทั้งทักษิณและเครือข่าย

“พลเอกเตีย บัน” บิ๊กของกัมพูชา เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า หนึ่งในนายทุนที่ต้องการเข้าไปลงทุนขุดเจาะน้ำมันในกัมพูชา คือ “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร”

ความหอมหวนของแหล่งพลังงานในกัมพูชาจึงเป็น “ขุมทอง” ขนาดใหญ่ที่ “ทักษิณ” ยอมเดิมพันได้ทุกอย่าง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็น “เขาพระวิหาร” มรดกโลกอันมีค่า ทั้งๆ ที่ทักษิณเองก็รู้ดีว่าจะทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียดินแดน และอาจลุกลามกลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ

ผลจากการกระทำของนพดล รัฐมนตรีในสังกัด ก็ได้ถูกชี้ชัดโดยศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยคดีแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 180 เพราะเป็นการลงนามโดยผู้มีอำนาจของ 2 ประเทศ มีพันธสัญญาร่วมกัน โดยต้องผ่านสภาเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อาจเกิดความแตกแยกระหว่างประเทศ และสุ่มเสี่ยงต่อผลกระทบเรื่องอาณาเขตของประเทศไทย

รศ.ศรีศักร์ วัลลิโภดม นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ไทย ตั้งข้อสังเกตว่า การตัดสินของคณะกรรมการมรดกโลกขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา เป็นการตัดสินที่ขัดต่อ 3 องค์กรประกอบอุดมคติของมรดกโลก เป็นการตัดสินที่ไม่ชอบธรรม และไม่ได้เป็นเครื่องมือสร้างสันติภาพตามเจตนารมณ์ที่แท้จริง แต่กลับทำให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวทางเศรษฐกิจ ซ่อนเร้นให้กลุ่มข้ามชาติเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์


ผลเสียที่ตามมาก็คือ หลังจากขึ้นทะเบียนตัวประสาทเขาวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว ถัดจากนั้น จะให้ประเทศต่างๆ มาบริหารจัดการร่วมกัน หากไทยยอมเข้าร่วม เท่ากับว่าเป็นการยกดินแดนไทย และดินแดนทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรให้คณะกรรมการมรดกโลกบริหารจัดการ โดยขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการมรดกโลกก็ยกพื้นที่ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของกัมพูชา

ได้มีการตั้งข้อสังเกต การตัดสินของคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก ถึงข้อเสนอของกัมพูชานั้น ผ่านหลักเกณฑ์แค่ 1 ใน 3 เท่านั้น คือ สถาปัตยกรรมที่มาจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ แต่หลักเกณฑ์ทางด้านภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมไม่ผ่าน เพราะขาดความสมบูรณ์ เพราะโบราณสถานที่อยู่ในเขตพื้นที่ทับซ้อนไม่ได้นำมารวม การตัดสินครั้งนี้จึงขาดความน่าเชื่อถือ

ยังมีการตั้งข้อสังเกตอีกว่า การที่คณะกรรมการโลกได้ สนับสนุนกัมพูชาของเหล่าคณะกรรมการโลกครั้งนี้ เป็นเพราะ ทุกประเทศที่อยู่ร่วมในคณะกรรมการมรดกโลก เล็งเห็นขุมทรัพย์บ่อน้ำมันของเขมร ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส ที่มีกลุ่มโททิ่ลออยล์ (TOTAL Oil) และจีน ที่มีบริษัท CNOOC บริษัทน้ำมันเข้าไปสำรวจหาก๊าซและน้ำมันดิบในกัมพูชา

การยอมรับเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ยังสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน และอธิปไตย เป็น“โดมิโน” ที่ส่งผลกระทบถึง ปัญหา “พื้นที่ทับซ้อน” ระหว่างเขตแดนไทยและกัมพูชา ในหลายจังหวัด เช่น อุบลราชธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์ จันทบุรี ตราด เนื่องจากไทยและกัมพูชาใช้แผนที่คนละใบ ไทยนั้นยึด “สันปันน้ำ” ในการวัด โดยใช้มาตราส่วน 1:50,000 ในขณะที่กัมพูชา ใช้มาตราส่วน 1:200,000

หากมีการนำ มาตราวัดของกัมพูชา ซึ่งเป็นไปได้มากมาจัดการกับ ปัญหาพื้นที่ทับซ้อน เหล่านี้ย่อมทำให้ไทยต้องเสียเขตแดน เช่น พื้นที่เกาะกูด จังหวัดตราด ก็เป็นพื้นที่ทับซ้อน หากถ้าใช้มาตราวัดของกัมพูชา เกาะกูดจะกลายเป็นของกัมพูชาไปโดยปริยาย

ต่อให้คนไทยคนไหนที่กินดีหมี สวมหัวใจสิงห์ ก็ยังไม่กล้าถึงเพียงนี้ หากไม่ใช่เพราะผลประโยชน์ เพื่อต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจพลังงาน ทักษิณจึงยอมได้ทุกอย่าง

นักธุรกิจระดับชาติอย่างทักษิณ ย่อมรู้ดีว่าธุรกิจพลังงานเป็นธุรกิจแห่งอนาคตที่ทำรายได้ให้มหาศาล หาใช่ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ซึ่งอยู่ในช่วงขาลง ไม่ได้รุ่งเรืองเหมือนในอดีต หรือแม้แต่การซื้อธุรกิจสโมสรทีมฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้ ก็เพื่อสร้างโปรไฟล์ให้ดูดี ไม่ใช่ธุรกิจที่ทำรายได้งดงามเหมือนกับธุรกิจพลังงาน

ทักษิณได้เตรียมการในเรื่องนี้มานานแล้ว ด้วยการร่วมมือกับ “โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด” เจ้าของห้างแฮร์รอดส์อันโด่งดังในอังกฤษ อัล ฟาเยด ไม่ได้เป็นแค่เจ้าของห้างหรู แต่ยังมีธุรกิจพลังงาน ที่เข้ามาทำร่วมกับ ปตท.สผ. (อ่านล้อมกรอบ)

และนี่คือสาเหตุว่า ทำไมทักษิณจึงต้องพา “อัล ฟาเยด” เดินทางไปดูงานถึงเขมร ซึ่งไม่ใช่การร่วมลงทุนในธุรกิจกาสิโนอย่างที่เป็นข่าว เพราะระบบสาธารณูปโภคในเกาะกงก็ยังไม่พร้อม เกาะกงจึง เป็นเพียงแค่ข่าวบังหน้า เพราะเบื้องหลังก็คือความร่วมมือในการรุกเข้าทำธุรกิจพลังงานในกัมพูชา (อ่านล้อมกรอบ)

และนี่คือ เหตุผลว่า ทำไมทักษิณจึงต้องเป็นเจ้าของ ปตท. ซึ่งมีความพร้อมในเรื่องทั้งขุดเจาะ จัดจำหน่าย ดังนั้นปตท จะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจพลังงานในเขมร เป็นจริง โดยมีเครือข่ายธุรกิจพลังงานของ อัล ฟาเยด ร่วมเป็นกองหนุน

ถ้าเลือกได้ เป้าหมายทำสัญญาให้เช่าเกาะกงของทักษิณกับเขมร ที่มีรัฐบาลฮุนเซนเป็นคู่สัญญา หาใช่ทำในนามรัฐต่อรัฐ แต่เป็นการทำในนาม “นิติบุคคล” โดยที่เกาะกงจะได้รับเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่งรายได้ไม่ต้องเข้ารัฐบาลกัมพูชา และเป็นเขตปกครองพิเศษ นอกเหนืออธิปไตย

แน่นอนว่าสิ่งที่ทักษิณต้องการมากที่สุดคือ การสร้างระบอบ “การเมือง” ใหม่ เป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน ที่เรียกว่า ระบอบทักษิณ โดยอ้างถึงระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ที่ใครมีเงินก็เล่นการเมืองได้ (อ่านเรื่อง Kingdom or Republic of Thailand ใน POSITIONING ฉบับ เดือนมิถุนายน 2551 ประกอบ)

อะไรจะเกิดขึ้น หากทักษิณสามารถนำบริษัทเข้าไปลงทุนในเขมร ?

โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด - เพื่อนซี้ “ทักษิณ” ร่วมก๊วน “เทมาเส็ก” แนบแน่น “ปตท.”

เมื่อย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ขุดเจาะน้ำมันของไทย จะพบว่ามหาเศรษฐีห้างสรรพสินค้าแฮร์รอดส์ (Harrods) โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด (Mohamed Al Fayed) เพื่อนเลิฟของอดีตนายก “ทักษิณ” เข้ามาได้ประโยชน์จากธุรกิจน้ำมันในไทยมานาน ผ่าน ปตท.สผ. บริษัทลูก ปตท. ก่อนที่ปตท. จะเข้าตลาดหุ้นเมื่อปี 2544
โดย Asian Economic News และนิตยสาร Offshore ลงข่าวพร้อมเพรียงกันในช่วงธันวาคม 2542 ว่าหลังจากโมฮัมหมัด อัล ฟาเยดจัดตั้งบริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ (Harrods Energy) ก็ได้สิทธิสำรวจน้ำมันใน 4 แปลงขุดเจาะในอ่าวไทย คือ B2/38, B11/32, B11/38 และ B12/32. ห่างจากชายฝั่งระยอง 150 กิโลเมตร โดยมีศักยภาพในการขุดเจาะน้ำมันวันละ 8,000 บาร์เรล ซึ่งในการสำรวจขุดเจาะครั้งนั้น Harrods Energy ถือหุ้น 50% ในการลงทุนสำรวจขณะที่ ปตท.สผ. ถือหุ้น 50%ที่เหลือ

จากการสืบค้นข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า บริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ จดทะเบียนในเมืองไทยเมื่อ 22 พฤษภาคม 2541 ใช้ชื่อเป็นทางการว่า แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) ต่อมาเปลี่ยนชื่อจนไม่เหลือคราบเดิม เป็นเพิร์ล ออย (Pearl Oil) (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในรายชื่อผู้ถือหุ้น) เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2547 เพราะถูกขายให้กับบริษัท Pearl Energy Pte. Ltd. ที่มีฐานอยู่ในสิงคโปร์ สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือเมื่อสืบสาวต้นทางจะพบกลุ่มทุนเทมาเส็ก (Temasek) แห่งสิงคโปร์ถือหุ้นบริษัทดังกล่าวผ่านทาง Mubadala Development (ข้อมูลจาก Business Week และ RGE Monitor) ซึ่ง “เทมาเส็ก” มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับ “ทักษิณ” และคือบริษัทที่ซื้อหุ้นในชินคอร์ป จากครอบครัว ”ทักษิณ” ด้วยมูลค่ากว่า 73,000 ล้านบาท

Pearl Oil ยังคงได้สัมปทานขุดเจาะน้ำมันอย่างต่อเนื่อง เช่น แปลง B 5/27 ที่แหล่งจัสมิน และ B12/32 ณ แหล่งบุษบงในอ่าวไทย เป็นต้น ส่งต่อน้ำมันดิบให้กับ ปตท.สผ. ภายใต้สัญญาซื้อ-ขาย 20 ปี เช่นเดียวกับเมื่อ 8 ธันวาคม 2549 Pearl Oil ก็ได้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเพิ่มในแปลง G10/48 บริเวณตอนใต้ของอ่าวไทย เมื่อสมัยนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

จากข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์พบว่ากรรมการของเพิร์ลออย ยังเป็นกรรมการในบริษัทที่เกี่ยวข้องรวม 8 บริษัท แต่ละบริษัทต่างระบุว่าทำธุรกิจรับสัมปทานขุดเจาะน้ำมัน และมีทุนจดทะเบียนบริษัทละ 100 ล้านบาท บางบริษัทมีรายได้ แต่บางบริษัทยังไม่ได้บันทึกรายได้ โดยบริษัทที่มีรายได้สูงสุดคือเพิร์ลออย ประเทศไทย มีรายได้ปี 2549 รวม 7,071 ล้านบาท กำไร 1,654 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 16.54 บาท


บริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ ประเทศไทย จำกัด เปลี่ยนชื่อเป็น เพิร์ลออย (ประเทศไทย) เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2547 ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า เวสท์ ชั้น 10

ณ วันที่ 30 เมษายน 2550 ปรากฏชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ 99.99% คือบริษัทเพิร์ลออยล์ (สยาม) คิดเป็น มูลค่า99,994 ล้านบาท หรือเฉลี่ยราคาหุ้นละ 1,000 บาท ส่วนผู้หุ้นอื่นเป็นบุคคลสัญชาติแคนาดา อินโดนีเซีย 3 คน อังกฤษ 1 คน และอเมริกา 1 คน เพียงคนละ 1 หุ้น เท่านั้น

ข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า”เพิร์ลออยล์ (สยาม) จดทะเบียนที่หมู่เกาะเวอร์จิน อังกฤษ ส่วนผู้หุ้นอื่นเป็นบุคคลสัญชาติแคนาดา อินโดนีเซีย 3 คน อังกฤษ 1 คน และอเมริกา 1 คน เพียงคนละ 1 หุ้น เท่านั้น

เครือข่าย”เพิร์ลออย (ประเทศไทย)”
-เพิร์ลออย บางกอก
-เพิร์ลออย ออฟชอร์
-เพิร์ลออย (ปิโตรเลียม)
-เพิร์ลออย (รีซอสเซส)
-เพิร์ลออย (อมตะ)
-เพิร์ลออย ออนชอร์
-เพิร์ลออย (อ่าวไทย)

Timeline เขาพระวิหาร-แหล่งพลังงาน

“ปราสาทพระวิหาร” “แหล่งน้ำมัน- ก๊าซเขมร” “ทักษิณ” “ปตท.” “โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด” กลายเป็นเรื่องเดียวกันอย่างแทบไม่น่าเชื่อ ...จนนำมาสู่ “คนไทยจะขายชาติกันเอง” ด้วยการวางแผนอย่างแนบเนียนในช่วง10ปีที่ผ่านมา

22 พฤษภาคม 2541
– “โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด” เจ้าของห้างสรรพสินค้าแฮร์รอดส์ จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในไทยภายใต้ชื่อ “แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย)” และรับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ ร่วมกับปตท.สผ.

ธันวาคม 2542
- แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ เริ่มได้สัมปทานขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทย

กุมภาพันธ์ 2544
– “ทักษิณ ชินวัตร” ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง และได้นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีสมัยแรก

ตุลาคม 2546
- ขณะที่ “ทักษิณ” เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศพร้อมจะซื้อหุ้นสโมสรฟุตบอล “ฟูแล่ม” ซึ่งมี “โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด” เป็นเจ้าของ ขณะที่สถานการณ์การเงินของ “ฟูแล่ม” ขาดทุน และมีหนี้จำนวนมาก

ปี 2547
- รัฐบาลทักษิณอนุมัติให้เงินกู้กัมพูชาอัตราดอกเบี้ยต่ำ จำนวน 827.4 ล้านบาท เพื่อสร้างถนนผิวทางแอสฟัลต์และสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กแบบให้เปล่าบนถนนสายนี้อีก 4 แห่ง โดยกรมทางหลวงออกแบบให้ ใช้งบประมาณ 288.2 ล้านบาท

ตุลาคม 2549
- หลัง “ทักษิณ” ถูกรัฐประหาร “ทักษิณ” ได้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่อังกฤษ และมีข่าวว่าได้แวะพักที่บ้านของนายโมฮัมหมัด อัลฟาเยด เลขที่ 55 Park Lane ทางตะวันตกของกรุงลอนดอน

ปี 2550
-“ทักษิณ” ซื้อสโมสรแมนเชสเตอร์ซิตี้ ท่ามกลางข่าวลือว่า “โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด” เป็นผู้ประสานงานให้

14 พฤษภาคม 2551
– มีรายงานข่าวจากสื่อไทย ว่า พล.อ.เตีย บัน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กัมพูชา ให้สัมภาษณ์ว่า “ทักษิณ” จะลงทุนธุรกิจพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติในกัมพูชา โดยเฉพาะการเช่า เกาะกง ซึ่งมีรีสอร์ตดังอย่าง “สีหนุวิลล์” เป็นจุดขาย หลังจากที่ได้หารือกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว

เว็บไซต์ของ “บางกอกโพสต์” ระบุด้วยว่า เกาะกงซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจังหวัดตราดของไทย เป็นเป้าหมายแรกของ “ทักษิณ” ที่จะเข้าไปลงทุนในกัมพูชา ซึ่งจะรวมถึงการทำบ่อนกาสิโน และเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ โดยจะเป็นการร่วมทุนกับนักธุรกิจจากตะวันออกกลาง รวมถึงนาย โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด มหาเศรษฐีชาวอียิปต์เจ้าของห้างแฮร์รอดส์ในลอนดอน

- “นภดล ปัทมะ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ “สมชาย วงศ์สวัสดิ์” รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานร่วมกันเปิดถนนหมายเลข 48 ที่จังหวัดเกาะกง-สะแรอัมเบิล เป็นเส้นทางที่ทำให้การเดินทางจากบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ของไทย ถึงพนมเปญโดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง

18 มิถุนายน 2551
– “นพดล ปัทมะ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ อดีตทนายความและโฆษกประจำตัวของ “ทักษิณ” ลงนามยอมรับคำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา สนับสนุนให้กัมพูชาเสนอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

8 กรกฎาคม 2551
- เวลาตี 3 ของเช้าวันอังคารที่ 15 กรกฎาคม 2551 ตามเวลาในประเทศไทย เป็นเวลาที่ชาวกัมพูชาดีใจ และเฉลิมฉลองกันทั่วเมือง เมื่อยูเนสโกมีมติรับข้อเสนอของรัฐบาลกัมพูชาที่เสนอขึ้นทะเบียน “ปราสาทพระวิหาร” เป็นมรดกโลก นาทีเดียวกันนั้นคนไทยต้องรู้สึกหดหู่กับการ “ขายชาติ” ของคนไทยด้วยกันเอง เพียงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว แลกกับประเทศไทยเสียดินแดนประมาณ 4.6 ตารางกิโลเมตร


แหล่งน้ำมันดิบในกัมพูชา
จำนวนบ่อน้ำมัน ขุดเจาะสำรวจแล้ว 9 หลุม/บ่อ พบน้ำมันดิบ 5 หลุม/บ่อ ยังไม่ได้สำรวจอีก 10 หลุม/บ่อ
ปริมาณน้ำมันดิบสำรอง 2,000 ล้านบาร์เรล
ปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรอง 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
มูลค่าการผลิต (ประมาณการ) 6,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี
การสนับสนุนของรัฐ จัดตั้งองค์กรปิโตรเลียมแห่งชาติ (Cambodia National Petroleum Authority) ขึ้นมากำกับดูแล

ที่มา – สื่ออุตสาหกรรมออนไลน์เพื่อนักอุตสาหกรรม