วันที่ 24 กรกฎาคม 2556
วันที่ 24 กรกฎาคม 2556
เรื่อง การไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม และรัฐธรรมนูญ ของ
นายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรี
กราบเรียน ผู้ตรวจการแผ่นดิน
เนื่องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 178 บัญญัติไว้ว่า ในการบริหารราชการแผ่นดิน
รัฐมนตรี ต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่ได้แถลงไว้
ตามมาตรา 176 และต้อง
รับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในหน้าที่ของตน รวมทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกัน
ต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไป ของคณะรัฐมนตรี และมาตรา 279 บัญญัติไว้ว่า
ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีจิตสำนึก ในด้านจริยธรรม
รวมทั้งมีหน้าที่รายงานการกระทำที่มีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม และปัจจุบัน ได้มี
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551
เขียนไว้ หลายข้อที่ กำหนดจริยธรรมให้นักการเมืองปฏิบัติ เช่น ข้อ 6
ข้าราชการการเมือง มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
รักษาประโยชน์ส่วนรวม ยึดหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดมั่นใน ค่านิยมหลักดังนี้ (2)
ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม (6) ให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว
และไม่เลือกปฏิบัติ (7) ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน
ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง (8) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ข้อ 8 ข้าราชการการเมืองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทยทุกประการ
ข้อ 30 นายกรัฐมนตรีมีหนาที่กํากับดูแลการประพฤติปฏิบัติตนของรัฐมนตรีและขาราชการการเมืองอื่น
ที่นายกรัฐมนตรีแตงตั้งใหเปนไปตามระเบียบนี้ในกรณีที่พบวามีการประพฤติปฏิบัติตนที่ไมถูกตองตามระเบียบนี้
ใหนายกรัฐมนตรีดําเนินการ ลงโทษตามความรายแรงแหงการกระทํา ในกรณีย์รัฐมนตรี
และคณะรัฐมนตรี ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา ตาม รัฐธรรมนูญ
มาตรา 178 ปรากฏว่านโยบาย
หลายข้อที่รัฐบาลชุดนี้ได้แถลงต่อสภา (เอกสารแนบ 1 ) ไม่ได้ปฏิบัติให้ครบถ้วนเช่น
ข้อ 1.7.1 ชะลอการเก็บเงินเขากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสําหรับ
น้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราว เพื่อให ราคาน้ำมัน เชื้อเพลิงลดลงทันทีและปรับโครงสรางราคาพลังงานทั้งระบบใหมุงสูการสะทอนราคาตนทุนพลังงาน
ข้อ 1.7.3 ดูแลราคาสินคาอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานใหอยูในระดับที่เหมาะสมและเปนธรรม
แกผูบริโภคและผูผลิต ข้อ 1.7.4 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของ
ประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อ 3.1.1 ดําเนินการใหมีการกระจายรายไดที่เปนธรรม ใหแก คนสวนใหญของประเทศ ข้อ 8.1.5
เสริมสรางมาตรฐานดานคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลใหแกขาราชการ
และเจาหนาที่ ของรัฐและพัฒนาความโปรงใส ในการปฏิบัติงานของหนวยงานภาครัฐ
ณ ปัจจุบัน การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล กลับมิได้ดำเนินการ
ตามนโยบาย ดังกล่าว แต่กลับ มีผลตรงกันข้ามกับนโยบายที่แถลงไว้ที่สภา เช่น
นโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในประเด็น ก. นโยบาย ข้อ 1.7.1 การปรับโครงสรางราคาพลังงานทั้งระบบใหมุงสูการสะทอนราคาตนทุนพลังงาน
ซึ่งปัจจุบันต้นทุนพลังงานที่แท้จริงไม่ได้ แจ้งสู่สาธารณะ แต่กลับเล่นแร่แปรธาตุ
เอาราคาที่บวกกำไรไว้แล้วที่ บริษัทลูกแจ้ง มาอ้างเป็นต้นทุนที่คิดกับประชาชน
เช่นราคาNGV ที่ต้นทุนการขุดเจาะจริงไม่เกิน
สามบาทต่อกิโลกรัม แต่กลับแจ้ง ว่าต้นทุนเนื้อก๊าซสูงถึงกว่า8 บาทกว่าต่อกิโลกรัมซึ่งคำว่าต้นทุนดังกล่าวได้บวกกำไรของบริษัท
ปตท.สผ.ไว้แล้วในปริมาณมาก ตัวเลขดังกล่าวจึงไม่ใช่ต้นทุนที่แท้จริง
หรือต้นทุนก๊าซ LPG ที่ผลิตในประเทศ อยู่ที่ประมาณ 9 บาทต่อกิโลกรัม และไทยขุดเจาะได้ ส่วนใหญ่ของที่ใช้ทั้งหมด แต่กลับใช้มติครม
ให้คิดราคาต่าง ประเทศทั้งหมด ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 30บาท
ต่อกิโลกรัม โดยส่วนต่างราคาที่ขายให้ ประชาชนกับส่วนที่นำเข้า ได้นำเงิน
กองทุนน้ำมัน ที่เก็บจากประชาชน ไปชดเชยแก่บริษัท ปตท จำกัด และโรงกลั่น ต่างๆ
ที่มีหนึ่งใน คณะกรรมการ นโยบายพลังงาน แห่งชาติ เป็นผู้รวบรวมข้อมูลสถิติ
และนำเสนอแนวทางการกำหนด ราคาน้ำมัน อัตราเงินสมทบ กองทุน และอัตราเงินชดเชย
แก่โรงกลั่น ทำให้มีผู้ได้ผลประโยชน์เช่น โรงกลั่นไทยออยล์ มีปลัด ณอคุณ สิทธิพงษ์
เป็นประธานบริษัท เพื่อ ให้คณะกรรมการเห็นชอบ แต่ตนเองไปเป็นประธานกรรมการ
บริษัทโรงกลั่น หรือผู้ อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน ไปเป็นกรรมการในบริษัท
ปิโตรเคมีบริษัทลูกของ บริษัท ปตท. จำกัด ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี ที่มีนายกรัฐมนตรี
เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ประธาน มีมติเมื่อ30 กย 2554 และ4 ตค 2554 ให้
จ่ายเงินกองทุนเพียง 1 บาทต่อกิโลกรัม
แต่อุตสาหกรรมอื่นๆของภาคประชาชน กลับต้องจ่าย12 บาทต่อกิโลกรัม
ในปี 2555 ภาคปิโตรเคมีใช้ปริมาณ 2.6 ล้านตัน
หากจ่ายเงินกองทุนเท่ากับ อุตสาหกรรม อื่นๆ จะได้เงินกองทุนน้ำมันถึง 2,600,000,000
x 11.50 บาทต่อปี เท่ากับประมาณ 30,000,000,000 บาท ซึ่ง เพียงพอต่อการชดเชย ราคานำเข้าก๊าซ LPG โดยไม่ต้องนำเงินของประชาชนมาอุ้มต้นทุนก๊าซ
LPG ของธุรกิจปิโตรเคมี และสามารถลบล้าง
เงินกองทุนน้ำมันที่ค้างในแต่ละปีที่เอาเงินจากประชาชนทั้งประเทศ ในรูปราคาน้ำมัน
และก๊าซหุงต้มทุกลิตร ทุกกิโลกรัม แต่ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี
กลับเลือกปฏิบัติ ที่ให้ปิโตรเคมีจ่ายเงินกองทุน น้ำมันเพียง หนึ่งบาท
แต่อุตสาหกรรมอื่นของประชาชนจ่าย12.50 บาทต่อกิโลกรัม และ
การอนุมัติ ให้ธุรกิจปิโตรเคมี ซื้อก๊าซLPG ในราคาถูกกว่า
ประชาชน ทั่วไป อยู่ที่16-17 บาท แต่ราคาจริงที่นำเข้า
อยู่ที่ 30 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้น
รัฐนำเงินประชาชนไปอุ้มต้นทุนปิโตรเคมี อยู่ที่ 13 บาทต่อกิโลกรัม
หากคิดที่ ปริมาณปิโตรเคมีใช้ ในปี 2555 อยุ่ที่2.6 ล้านตัน จำนวนเงินที่ประชาชนต้อง จ่ายเพื่ออุ้มธุรกิจปิโตรเคมี
อยู่ที่ประมาณ 30,000 ล้านบาท จึงทำให้ธุรกิจปิ โตรเคมี
กำไรก้าวกระโดด จาก 2,113 ล้าน เป็น34,000ล้านบาทภายในหนึ่งปี และรายได้เพิ่มจาก1 แสนล้านบาทเป็น
5 แสนกว่าล้านบาท และการชดเชยการนำเข้านั้นให้ชด
เชยเฉพาะธุรกิจ ปิโตรเคมีของปตท .เท่านั้น ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติ
ของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี กระทรวงพลังงาน ขัดประมวล จริยธรรมข้อ6(6)
เรื่องการเลือกปฏิบัติ และขัดนโยบายของรัฐบาลข้อ 1.7.1
โดยบริษัทปิโตรเคมี เช่นบริษัท PTTGC มีกรรมการพรรคเพื่อไทย เป็นกรรมการร่วมด้วย มีบริษัท ปตท จำกัด
ถือหุ้นอยู่ 49% , บริษัท ปตท จำกัดมี รัฐบาลถือหุ้นอยู่ 51
% เพราะฉะนั้น ประเทศชาติ ได้ประโยชน์เพียง
หนึ่งในสี่ส่วนของกำไรสุทธิของบริษํท PTTGC ประมาณ 8,500
ล้านบาท ส่วนอีก สามส่วนในสี่ส่วนคือประมาณ 25,500 ล้านบาท ตกแก่เอกชนผู้ถือหุ้นซึ่งมีต่างชาติร่วมด้วย ได้ประโยชน์
ทั้งยังกำหนด ราคาค่าการตลาดของปัมพ์ก๊าซ อยู่ที่สามบาทต่อกิโลกรัม
ซึ่งสร้างความร่ำรวยแก่ บริษัทขายก๊าซ เช่นสยามก๊าซ มี พลเอกชัยสิทธิ ชินวัตร
เป็นเครือญาตินายกรัฐมนตรี เป็นประธานบริษัท บริษัทขายก๊าซ สยามก๊าซ และเวิลด์
กลับมีการเติบโต ขยายธุรกิจ อย่างก้าวกระโดด ตามเอกสารแนบ 2 อีกทั้งรัฐบาลยังประกาศขึ้นราคาก๊าซ
LPG ในเดือนกันยายน 2556 โดยกำหนดให้ขึ้นในส่วนของกองทุนน้ำมัน
มิใช่ ต้นทุนเนื้อก๊าซหุงต้มจริง
ทั้งๆที่ประชาชนจ่ายราคากว่าแพงกว่าต้นทุนจริงๆแล้วที่ 2-3 เท่า
คือต้นทุนบวกกำไรของผู้ขุดเจาะแล้วจะอยู่ที่ 9 บาทต่อกิโลกรัม
ประชาชนจ่ายที่18-30 บาทต่อกิโลกรัม ข. นโยบาย ข้อ 1.7.3
และ นโยบาย ข้อ 3.1.1 การดําเนินการใหมีการกระจายรายไดที่เปนธรรม
ดูแลราคาสินคาอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานใหอยูในระดับที่เหมาะสม และเปนธรรม
แกผูบริโภคและผูผลิต แต่ปัจจุบันกลับพบว่าส่วนต่างขอราคาน้ำมันยิ่งแพงขึ้น
แม้นราคาน้ำมันต่างประเทศไม่ได้สูงขึ้นเกินกว่าปี 2553 ตามเอกสารแนบ
3 ยังผลให้ บริษัท ปตท จำกัด มหาชน
ติดอันดับให้เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 81 ของโลก
จาก 500 แห่งทั่วโลก ประจำปี 2013 (ที่มา.http://www.thairath.co.th/content/eco/356599) จากนิตยสารฟอร์จูน โดย ปตท. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ในลำดับที่ 95
โดยมีรายได้ 89,945 ล้านดอลลาร์ และมีกำไร 3,370
ล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทรายเดียวของไทยที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในราย
ชื่อบริษัทขนาดใหญ่ 500 แห่งทั่วโลก จากนิตยสารฟอร์จูน
แต่คนไทยทั้งชาติยากจนลง (หนี้เพิ่ม ) ที่มา เว็บไซต์ธนาคารโลก (http://news.thaiza.com/ธนาคารโลกปรับฐานะไทยยากจนลดลง /221819/)
และ เป็นหนี้เพิ่มด้วยภาระค่าครองชีพ ที่เพิ่มขึ้น ดังการวิจัยของ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดย นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์
เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือน จำนวนประชาชนทั่วประเทศ 1,200
ราย ระหว่างวัน ที่ 18-23 มิถุนายน 2556
พบว่า ประชาชน 71.5% ระบุเคยมีปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย
เนื่องจากภาระใช้จ่ายเพิ่มจาก
ราคาสินค้าแพงขึ้น อัตราดอกเบี้ยสูง และราคาน้ำมันแพง
ทำให้ต้องกู้ยืมเพิ่มขึ้น ซึ่ง 47.8% ระบุเพื่อมาใช้จ่ายในชีวิตประ
จำวัน จึงทำให้มูลค่าหนี้ครัวเรือนปี 2556 เพิ่มเป็น 1.88
แสนบาท จากปีก่อน 1.68 แสนบาท หรือขยายตัว 12%
ในเรื่องค่าไฟฟ้า กลับพบว่าการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ชินวัตร ทำให้บริษัทเอกชน ที่ขายไฟฟ้า รวยขึ้น เช่น ก. บริษัทผลิตไฟฟ้า
ราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)กำไรในปี 2554 จำนวน 4,840
ล้านบาท แต่ในปี 2555 กำไรจำนวน 7,726 ล้านบาท มีกำไรเพิ่มขึ้นกว่า 150 % ข. บริษัท ผลิตไฟฟ้า
จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก( EGCO ) มีกำไรเพิ่มจากปี 2554
ทั้งปี จำนวน 4989 ล้านบาท ในปี 2555 กำไรเพิ่มเป็น 10,979 ล้านบาท กำไรเพิ่มขึ้นกว่า 200
% ทั้งสองบริษัท ได้ขายไฟฟ้าให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
แพงกว่าอีกหลายบริษัท แต่ประชาชน เดือดร้อนหนักจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ยากจนลง
เป็นหนี้เพิ่ม จึงไม่เป็นการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมตามนโยบายที่ได้แถลงไว้
สะท้อนข้อเท็จจริงว่า การแถลงนโยบาย ของรัฐบาลเพียงคำพูดสวยหรู เพื่อหาคะแนนเสียง
แต่ความจริงในการปฏิบัติหน้าที่ในการบริหาร ราชการแผ่นดินกลับปฏิบัติ และได้ผลตรงกันข้าม
ค.นโยบาย ข้อ 1.7.4 แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลัง
ซื้อสุทธิของ ประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม
ยังส่งเสริมให้บริษัท ปตทจำกัด (มหาชน ) ผูกขาดการรับซื้อขายก๊าซ แม้นแต่
การไฟฟ้ายังต้องซื้อผ่าน บริษัท ปตท จำกัด แล้วกินหัวคิวในราคาก๊าซที่ แพง
เพือ่นำมาผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ผลักภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนในรูปต้นทุนไฟฟ้า ง. ข้อ 8.1.5
พัฒนาความโปรงใส ในการปฏิบัติงานของหนวยงานภาครัฐ ง.1 รัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินโดยขาดความเป็นธรรม โปร่งใส กับประชาชน
และขัดระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประมวลจริยธรรมข้าราชการการเมือง
โดยปรากฎว่า รัฐบาลยังคงปฏิบัติราชการ แผ่นดินตาม พระราช บัญญัติปิโตรเลี่ยม มาตรา
4, 9 ,76 ที่ห้ามประชาชนเข้าพื้นที่สัมปทาน
และห้ามเปิดเผยข้อมูลปิโตรเลี่ยม และกลับให้กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานภายใต้กำกับของรัฐมนตรีพลังงานออกมาโฆษณา
ให้ข้อมูลว่าพลังงาน ไทยเหลือสำรองเพียง8 ปี
แต่ข้อเท็จจริงในสื่อต่างประเทศ กลับพบว่า บริษัทสัมปทานเอกชนสามารถ
ขุดเจาะก๊าซธรรมชาติใน ประเทศได้ในปริมาณสูง เกือบสูงสุดจากทั่วโลก เช่นบริษัท HESS
ขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ จากไทย คิดเป็นสัดส่วน56 % จากที่ลงทุนทั่วโลก และบริษัท เชฟรอน
ซึ่งเป็นบริษัทขุดเจาะน้ำมันใหญ่อันดับ4ของโลก ในปี 2554
ขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากไทยเป็นอันดับ2 จากที่ลงทุนทั่วโลก
ทั้งยังมีข่าวการเกิดไฟลุกไหม้ ที่จังหวัดภาคอิสาน ซึ่งเป็นก๊าซที่ผุดจากพื้นดิน
แสดงให้เห็นถึงปริมาณ ก๊าซธรรมชาติในประเทศที่มีมากมายมหาศาล สอดคล้องกับรายงานของ
อมเริกา ที่ก๊าซไทยอยู่อันดับที่24 ส่วนน้ำมันอยู่อันดับที่33
ของโลก หรือมีการตรวจสอบปริมาณปิโตรเลี่ยมในประเทศ
พบว่ามีการขนน้ำมัน ไปกว่า52 คันรถสิบล้อต่อวัน
จากแหล่งวิเชียรบุรี -ศรีเทพ
แต่รายงานเพียงหกคันรถที่เหลือแจ้งว่าขนส่งน้ำเข้ากรุงเทพฯ
ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไมสามารถ เป็น ตรรกะเหตุผล กันและกันได้
แม้นแต่ชาวบ้านที่ตามไปตรวจสอบยังถูกไล่ยิงหรือไล่ตาล่า (อ้างอิง พท.รัฐเขต
เเจ้งจำรัส ) ในการขนน้ำมันดิบต่อรถบรรทุกหนึ่งคัน สามารถบรรจุได้ 32,000 ลิตร ถ้า 46 คันรถ X 32,000 ลิตรต่อวัน
ประมาณ หนึ่งล้านห้าแสนลิตรต่อวัน เป็นการตรวจสอบจากแหล่งเดียวเท่านั้น
ประเทศไทยมี แหล่ง สัมปทาน พลังงานกว่า 90 แหล่ง (5,600
หลุม ) จำนวนที่สูญเสียไป กว่า 136 ล้านลิตรต่อวัน
ถ้าขายลิตรละ 20 บาท จำนวนที่สูญเสียไป ประมาณ = 27,00
ล้านบาทต่อวัน ปีหนึ่งก็ 1 ล้านล้านบาท
หากให้สัมปทานมานาน 40 ปีตั้งแต่ปี 2514 จนถึงปัจจุบัน ก็ 40 ล้านล้านบาท ไม่รวมปริมาณที่ขุด
ได้ในทะเลที่ ไม่รู้ขุดไปเท่าใด ไม่มีใครสามารถตรวจสอบ ข้อมูลที่แท้จริงได้
ยกเว้นเจ้าพนักงานที่แต่งตั้งโดย รมต.พลังงาน ตามพรบ.ปิโตรเลี่ยม มาตรา 4,9,76
และขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 78(5) จัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่น
เพื่อให้การจัดทำและการให้บริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส
และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงการมี ส่วนร่วมของประชาชน
ง.2 รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงาน
บิดเบือนข้อเท็จจริงในเรื่อง ง.2.1 ก๊าซNGV สร้างต้นทุนเทียม โดยอ้างอิงราคาต้นทุนที่บวกกำไรไว้แล้วที่ปตท สผ
(บริษัทลูก ของ ปตท.) ขายให้แก่ ปตท.
แต่ไม่ได้อ้างอิงราคาต้นทุนจริงที่ซื้อจากแหล่งผลิต รวมทั้งอ้างอิงต้นทุนปัมพ์ NGV
ที่แพงกว่า เอกชนสองถึงสามเท่า ราคาเนื้อก๊าซแพงกว่าอเมริกาสามเท่าทั้งที่
ค่าครองชีพอเมริกาแพงกว่าไทย สิบเท่า ความสูญเสียที่ ประชาชน และประเทศชาติ
ต้องสูญเสียไปหากคิดราคาเท่าอเมริกา วันหนึ่งใช้ประมาณ 250,000 ตันต่อเดือน ภายในหนึ่งปี ประชาชนต้องจ่ายเพื่อสร้างความร่ำรวย
และการบริหารงานที่ไร้ประสิทธิภาพ ของ บริษัทปตท อีกจำนวน 250,000,000x7.5บาทต่อกิโลกรัมx 12 ล้านบาท คิดส่วนต่างราคาที่7.5
บาทต่อ กิโลกรัม (อเมริกา ราคาเนือ้ก๊าซ อยู่ที่ 3 บาทต่อกิโลกรัม ไทยขายให้ประชาชน ราคา10.50บาทต่อกิโลกรัม
) เพราะฉะนั้น ประชาชนต้องจ่ายเเพงกว่า ประเทศอเมริกา ที่ 22,500 ล้านบาทต่อปี เช่นเดียวกันเงินเหล่านี้ ส่วนใหญ่เก็บ จาก
หยาดเหงื่อแรงงานของ คนยากจน ทั้งสิ้นไม่ว่า คนขับรถแทกซี่ คนรายได้น้อย
เพราะคนร่ำรวยส่วนใหญ๋ไม่ใช้ก๊าซ NGV หรือLPG แน่นอน (เนื่องจากเสี่ยงระเบิด ) แต่เอาไปสร้างความร่ำรวยแก่
บริษัทในเครือ และ คณะกรรมการ ส่วนกรรมการผู้จัดการ บริษัท.ปตท.จำกัด
มีรายได้เดือนะล 4 ล้านบาท ปีละ 50 ล้านบาท
ง.2.2 เรื่องการนำเข้าน้ำมัน
การรายงานปริมาณนำเข้าจากต่างประเทศ ที่แจ้งว่านำเข้า 85% แต่แท้ที่จริงแล้วนำเข้าเพื่อการส่งออกถึงเกือบห้าแสนล้านลิตร
มูลค่าที่ส่งออก ซึ่งรวมเม็ดพลาสติด เคมีภัณฑ์
และน้ำมันสำเร็จรูปกว่าเก้าแสนล้านบาท (นำเข้ามูลค่า หนึ่งล้านหนึ่งแสนล้านบาท )
ที่สำคัญคือ ราคานำเข้าให้ประชาชนแบกรับภาระช่วยชดเชย แต่เวลาขายได้กำไร
กลับกลับสู่เอกชน มากกว่ารัฐ และ รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงาน ไม่เคยแสดงสัญญา
หรือราคาที่ซื้อมาจริง สู่สาธารณะ รวมทั้งชื่อบริษัทที่นำเข้า ง.2.3 เรื่องปริมาณสำรอง กลับใช้งบประมาณแผ่นดินประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะ
แจ้งปริมาณสำรอง ว่าเหลืออีกแปดปี แต่ข้อเท็จจริงคือเป็นปริมาณที่ บริษัทสัมปทาน
มีสัญญาขาย น้ำมันให้ปตท เท่านั้น
จึงใคร่ขอยื่นหนังสือ และข้อมูลพยานหลักฐาน
เพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตรวจสอบจริยธรรมของ
นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีว่าได้ปฏิบัติตามนโยบายที่แถลงสู่สภาหรือไม่
และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ หรือไม่ หากพบว่าไม่มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม
และรัฐธรรมนูญ ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน โปรดดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน
โดยแจ้งไปยัง นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ ให้ปฏิบัติตาม
นโยบายรัฐบาลที่แถลงสู่สภาโดยเคร่งครัด
และให้แก้ไขส่วนที่ไม่ตรงกับนโยบายที่แถลงสู่สภา และดำเนินการลงโทษ
ตามระเบียบสำนักนายกฯ ต่อไป ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูง ขอแสดงความนับถือ