ทวงคืน ปตท.
ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..
วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ปลดล็อค"น้ำมันแพง"รสนา โตสิตระกูล
เรื่อง...อินทรชัย พาณิชกุล / ภาพ...กิจจา อภิชนเรข
http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/สัมภาษณ์พิเศษ/300361/ปลดล็อค-น้ำมันแพง-รสนา-โตสิตระกูล
ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพงไม่แพ้ชาติใดในโลก? ทั้งที่ประเทศไทยสามารถผลิตน้ำมันได้มากเป็นอันดับ 32 ของโลก แถมยังส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียน
วันนี้ รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานครและในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน เสนอแนวทางปฏิรูปวิกฤตการณ์น้ำมันแพงที่กำลังเป็นประเด็นฮอตที่สุดในขณะนี้
รสนายอมรับว่าหลายปีมานี้ คนไทยตื่นตัวเรื่อง"น้ำมันแพง"เป็นอย่างมาก
“ไอ้ความแพงที่มันประสบกับเงินในกระเป๋าเป็นสิ่งที่ทุกคนรับรู้ได้ แต่ถามว่ามาจากสาเหตุอะไร ข้อมูลมันซับซ้อน เป็นเรื่องตัวเลขเรื่องอะไรต่อมิอะไร ยิ่งระยะหลังสงครามข้อมูลมันเกิดขึ้นเยอะ ทีนี้ข้อมูลสายวุฒิสภาเราไม่ได้มีพื้นที่ในสื่อมากพอที่จะไปลงให้คนเกิดความเข้าใจ สื่อกระแสหลักส่วนใหญ่ก็จะลงข้อมูลจากทางกระทรวงพลังงาน หรือบริษัทน้ำมันเขาให้มามากกว่า แต่ถึงอย่างนั้นประชาชนก็ยังรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกว่าราคาน้ำมันมันแพง หลายคนจึงตัดสินใจลุกขึ้นมาศึกษาหาข้อมูลเพื่อหาคำตอบ ภายใต้ความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม”
คำถามคลาสสิก ... ทำไมคนไทยถึงใช้น้ำมันแพงกว่าชาติอื่น
รสนาอธิบายว่าปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันแพงที่ต้องพิจารณามีอยู่ 3 ประการ ได้แก่
เนื้อน้ำมัน ปัจจุบันราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปของไทยอิงราคาสิงคโปร์ เนื่องจากโดยบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อ้างว่าสิงคโปร์เป็นตลาดกลางการส่งออกน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
"ความจริง เราไม่ได้แค่อิงราคาสิงคโปร์เท่านั้น แต่เราใช้ราคานำเข้าจากสิงคโปร์มาเป็นราคาขายน้ำมันสำเร็จรูปให้กับคนไทยเลยด้วยซ้ำ นั่นคือมีการบวกค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงหรือค่าพรีเมียมเพิ่มเข้าไปด้วย ทั้งค่าขนส่งจากสิงคโปร์มาไทย ค่าสูญเสียระหว่างทาง ค่าประกันภัย พอมากลั่นในเมืองไทย ก็มาบวกค่าใช้จ่ายเทียมเหล่านี้เข้ามาในราคาน้ำมันสำเร็จรูปอีกรอบหนึ่ง ค่าโสหุ้ยเทียมเหล่านี้มีราคาบวกลบประมาณ 1 บาทต่อลิตร นอกจากนี้ยังมีการบวกค่าปรับปรุงคุณภาพอีกส่วนหนึ่ง โดยอ้างว่าราคาน้ำมันของสิงคโปร์ที่เราอิงราคาของเขาเป็นน้ำมันเกรดยูโร 2 แต่น้ำมันของไทยเป็นเกรดยูโร 4 จึงต้องบวกเพิ่มการปรับปรุงคุณภาพอีกลิตรละประมาณ 1 บาท ทั้งที่ก็เป็นสเปคของโรงกลั่นอยู่แล้ว
ยกตัวอย่างเช่น ราคาน้ำมันขายปลีกที่ตลาดสิงคโปร์ราคา 24บาทต่อลิตร ถ้าสมมติค่าใช้จ่ายเทียมที่เป็นค่าขนส่งและค่าประกันภัยเป็นเงินลิตรละ1บาท โรงกลั่นจะขายคนไทยที่ราคา 24+1= 25บาทต่อลิตร แต่เวลาส่งออกโรงกลั่นจะได้รับเงินจากการขายส่งเพียงลิตรละ 24-1= 23 บาทเพราะต้องหักค่าขนส่ง ค่าประกันภัยออก1 บาท ดังนั้นถ้าขายให้คนไทยในราคาเท่ากับการส่งออก คนไทยจะได้ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นในราคาลิตรละ 23บาท แทนที่จะเป็นราคาลิตรละ 25บาท"
ที่มาที่ไปของค่าใช้จ่ายเทียมเหล่านี้มาจากการที่รัฐบาลในอดีตเสนอให้โรงกลั่นเป็นแรงจูงใจให้ต่างชาติมาตั้งโรงกลั่นในไทย เพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป แต่ปัจจุบันโรงกลั่นน้ำมันผลิตเหลือใช้จนสามารถส่งออกได้ ดังนั้นจึงควรยกเลิกแรงจูงใจหรือค่าใช้จ่ายเทียมนั้นไปเสียที
ขณะเดียวกัน ต่อคำกล่าวที่ว่าราคาน้ำมันแพงเพราะต้องยึดกลไกตลาด รสนายืนยันว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากบริษัทน้ำมันถือหุ้นใหญ่ในโรงกลั่นน้ำมัน 5 โรงจากทั้งหมด 6 โรง ซึ่งมีกำลังการกลั่นถึง 85% ของที่กลั่นได้ในประเทศ ดังนั้นจึงสามารถตั้งกรรมการของตัวเองเข้าไปควบคุมนโยบายโรงกลั่นได้ทั้ง 5 โรงกลั่น ส่งผลทำให้โรงกลั่นไม่เกิดการแข่งขันกันตามกลไกตลาดเสรี เท่ากับเป็นการผูกขาดการกำหนดราคาน้ำมันโดยปริยาย
"ต้องยกเลิกโครงสร้างราคาน้ำมันที่อิงราคาสมมติว่านำเข้าจากสิงคโปร์ โดยยกเลิกเก็บค่าพรีเมียมซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่มีอยู่จริง และขอให้กำหนดราคาขายตามราคาที่ส่งออกจากไทย ภายใต้กลไกลตลาดโลก"
กองทุนน้ำมัน ตัวการสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันแพงจนเกิดเหตุ ซึ่งปัจจุบันกองทุนน้ำมันเก็บเงินจากคนใช้น้ำมัน 4 ชนิด ประกอบด้วยน้ำมันเบนซิน 95 ลิตรละ 10 บาท แก๊สโซฮอลล์ 95 ลิตรละ 3.30 บาท แก๊สโซฮอลล์ลิตรละ 1.20 บาท และดีเซลลิตรละ 0.25บาทเพื่อนำไปชดชดเชยให้น้ำมัน 2 ชนิด คือ E 20 ลิตรละ 1.05 บาท E85 ลิตรละ 11.60 บาท และก๊าซแอลพีจี
"เวลาพูดถึงกองทุนน้ำมัน ก็ต้องพูดถึงก๊าซแอลพีจี ต้องอธิบายก่อนว่าก๊าซแอลพีจี ผลิตจากอ่าวไทย แล้วไปแยกที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ อีกส่วนหนึ่งมาจากโรงกลั่น และสุดท้ายคือนำเข้า
ปัจจุบันมีอยู่ 4 กลุ่มที่ใช้ก๊าซแอลพีจี ประกอบด้วยภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง อุตสาหกรรมทั่วไป และธุรกิจปิโตรเคมี ซึ่งข้อมูลล่าสุดจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานพบว่าหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจปิโตรเคมีมีปริมาณการใช้แอลพีจีสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือก๊าซหุงต้มในครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่งยานยนต์
ปัญหาก็คือมติคณะรัฐมนตรีสมัยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เมื่อปี 2551 ระบุไว้ว่า "หลักการจัดสรรปริมาณก๊าซแอลพีจีที่ผลิตได้ในประเทศให้จัดสรรแก่ปริมาณความต้องการใน "ภาคครัวเรือนและปิโตรเคมี" เป็นลำดับแรก ส่วนปริมาณการผลิตก๊าซแอลพีจีที่เหลือจากการจัดสรรข้างต้น จะถูกนำไปจัดสรรให้กับ "ภาคขนส่งและอุตสาหกรรมอื่น"เป็นลำดับต่อไป หากปริมาณที่เหลือจากการจัดสรรในลำดับแรกไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรม ให้มีการนำเข้าก๊าซแอลพีจีจากต่างประเทศ และนำกองทุนน้ำมันไปชดเชยในส่วนที่ขาด"
ประชาชนคนไทยทุกคนเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ ควรจะได้รับการจัดสรรเป็นอันดับแรก แต่นี่กลับจัดสรรให้ธุรกิจปิโตรเคมีเป็นอันดับแรก เมื่อก๊าซไม่พอ ครัวเรือนและภาคขนส่งจะถูกผลักไปใช้ก๊าซแอลพีจีที่มาจากโรงกลั่น หรือนำเข้า ซึ่งราคาแพงมาก"
เปรียบเหมือนหม้อข้าวหม้อหนึ่ง แต่เดิมจัดสรรให้ลูกบ้านได้ตักข้าวกินก่อน ทว่าต่อมามีการตั้งกฎใหม่ให้ลูกเลี้ยงตักก่อน ปรากฏว่าตักไปจนเกือบหมดหม้อ ในที่สุดลูกในบ้านก็ต้องไปซื้อข้าวนอกบ้านกินในราคาที่แพงกว่า"
ต่อประเด็นนี้ รสนาเสนอให้ยกเลิกมติคณะรัฐบาล (ครม.) สมัยที่ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2551 ที่มีการจัดสรรก๊าซแอลพีจีที่ผลิตได้ในประเทศให้ภาคปิโตรเคมีใช้เป็นลำดับแรก โดยให้มีการจัดสรรใหม่ให้ก๊าซแอลพีจีที่ผลิตได้ภายในประเทศต้องจัดสรรให้ภาคครัวเรือนใช้ก่อน ด้วยราคาตามต้นทุนที่แท้จริงบวกกำไรที่เหมาะสมเป็นธรรมต่อผู้ใช้และผู้ผลิต ไม่ใช่ขายตามราคาตลาดโลก เมื่อเหลือจำนวนเท่าไหร่จึงให้ภาคอื่นๆใช้ หากไม่พอใช้ให้ภาคอุตสาหกรรมทุกประเภทเป็นผู้รับภาระการนำเข้าเอง ท้ายที่สุดเมื่อกองทุนไม่มีความจำเป็นต้องเอามาชดเชย ราคาน้ำมันก็จะลดลงเอง
สุดท้าย ค่าการตลาด ถือเป็นตัวโยกราคาเมื่อราคาของเนื้อน้ำมันลดลง โดยไปเพิ่มที่การตลาด จึงควรพิจารณาค่าการตลาดที่เหมาะสมในราคาประมาณลิตรละ 1.50 บาท
นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือ ต้องโละทิ้งระบบสัมปทานน้ำมัน
"ไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ยังใช้ระบบสัมปทานอยู่ ระบบนี้ล้าสมัยและเป็นผลพวงจากยุคล่าอาณานิคม ซึ่งปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียนได้เปลี่ยนไปใช้ระบบการแบ่งปันผลผลิตกันหมดแล้ว
ส.ว.รสนาเปรียบเทียบการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมระหว่างไทยกับมาเลเซีย โดยอธิบายว่าที่ผ่านมามีการลงทุนที่ใกล้เคียงกัน แต่ปริมาณการผลิตปิโตรเลียม (คิดเป็นจำนวนบาร์เรลเท่าน้ำมันดิบ) ไทยได้ประมาณ 52 %ของปริมาณการผลิตในมาเลเซียเท่านั้น
"รายได้ของรัฐจากการผลิตปิโตรเลียม ปี 2554 รัฐบาลไทยมีรายได้จากส่วนนี้เพียง 153,596 ล้านบาท หรือคิดเป็น 9.3 % ของรายได้สุทธิของรัฐบาล ทำให้ต้องเก็บภาษีอื่น ๆ จากประชาชนเพิ่มอีก 91 %ของรายได้รัฐ แตกต่างจากระบบแบ่งปันผลผลิตของมาเลเซียที่มีรายได้ 657,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 40 %ของรายได้รัฐบาลมาเลเซีย
รัฐบาลมาเลเซียจะนำเงินรายได้จากทรัพยากรปิโตรเลียมมาชดเชยค่าน้ำมันให้แก่ประชาชนและสร้างสาธารณูปโภคอื่นได้สบาย เพราะมีการเก็บภาษีประชาชนเพิ่มอีกเพียง 60% ของรายได้รัฐเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันหน้าปั๊มของมาเลเซียมีราคาถูกกว่าไทยถึง 2 เท่า โดยราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลของมาเลเซียนั้นมีราคาเพียง 21 บาทและ 20 บาท ตามลำดับ
ตัวอย่างที่น่าสนใจ ตั้งแต่ปี 2520 มีข้าราชการที่เบตงเล่าให้ฟังว่า สมัยนั้นราคาน้ำมันในประเทศไทยถูกกว่ามาเลเซียอีก ไทยลิตรละ 5 บาท มาเลเซีย 10 บาท คนมาเลย์มาเที่ยวเมืองไทยทีก็จะมาเติมน้ำมันให้เต็มถังแล้วเอาแกนลอน 2-3 ใบเติมกลับไปด้วย แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็นว่าปรากฏการณ์มันพลิกกลับ นี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากที่มาเลเซียยกเลิกระบบสัมปทานมาเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต"
ข้อเสนอของรสนาคือ ให้ยุติการเปิดสัมปทานรอบ 21 จนกว่าจะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พร้อมทั้งให้ยุติการต่ออายุสัมปทานในแปลงปิโตรเลียมที่ใกล้หมดอายุ และเปลี่ยนจากระบบสัมปทานเป็นระบบการแบ่งปันผลผลิตโดยเร็วที่สุด
อย่างไรก็ตาม รสนาไม่เห็นด้วยกับนโยบายลดราคาน้ำมันด้วยการลดภาษี
"เพราะภาษีเป็นรายได้ของรัฐในงบประมาณแผ่นดิน จึงไม่ควรลดราคาน้ำมันด้วยการลดภาษี หากลดราคาโดยไม่พิจารณาแก้ไขโครงสร้างราคาน้ำมันให้เกิดการแข่งขันตามกลไกตลาด การลดราคาน้ำมันจะเป็นเพียงประชานิยมชั่วคราว และจะก่อปัญหาให้กับงบประมาณแผ่นดินในระยะยาว
ดิฉันไม่เห็นด้วยการที่จะทำให้น้ำมันถูกด้วยการลดภาษี ถ้าไปลดภาษีแล้ว ในที่สุดรัฐบาลก็ต้องไปหาเงินส่วนอื่น จะเป็นเงินกู้ หรือเงินอะไรก็ตาม ในที่สุดมันก็จะพันกลับมา ดึงเงินจากกระเป๋าประชาชนจนได้"
หลายคนตั้งคำถามว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะสามารถดำเนินการได้อย่างเร็วที่สุดเมื่อไหร่
"ทำได้ทันที (ตอบเสียงดัง) ก็เหมือนคุณจ่ายจำนำข้าว เพียงแต่ว่าธุรกิจปิโตรเคมีเขาคงต้องดิ้นรน อาจแสดงความไม่พอใจ ก็ขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายธุรกิจปิโตรเคมีจะมีอำนาจเหนือคสช.มากน้อยแค่ไหน
เวลานี้การปฏิรูปการเมืองนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือปฏิรูปในเรื่องของกรรมสิทธิ์ ถ้าคุณไม่สามารถปฏิรูป รื้อลงไปถึงเรื่องของกรรมสิทธิ์ คุณอย่ามาพูดดีกว่า เพราะถ้าเพียงแค่บอกว่าจะเลือกตั้งแบบไหน นายกฯมาจากเลือกตั้งหรือสรรหา สส.สว.จะมายังไง แค่นี้ไม่พอ เพราะว่ากลุ่มทุนเขาพร้อมจะไปจับกับนักการเมือง หรือกลุ่มทหารที่มีอำนาจ ถ้าเกิดปล่อยให้กลุ่มทุนเข้ามาจับผู้มีอำนาจ เขาก็จะมาจับเพื่อที่จะได้เปรียบ Take adventage มากที่สุดในกระบวนการออกกฎหมาย รวมถึงกำหนดมาตรการต่างๆในนโยบายสาธารณะ”
วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557
การทำงานในอดีตของ แอดมินเพจทวงคืนพลังงานไทย (วิศวกรก่อสร้าง)
ในอดีตที่ผมทำงานกับ บ.อิตาเลี่ยนไทย
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบีแอลซีพี 1400 MW ผมทำหน้าที่ออกแบบวิธีก่อสร้าง
ติดตาม ควบคุมแผน ต้นทุน เฝ้าระวัง และคิดสตังค์
พร้อมกับการเร่งรัดงานให้ทันตามแผนงานของโครงการ
วิธีทำงานให้เสร็จทันตามเป้าหมายและได้สตังค์
มันย่อมมีการกระทบกระทั่ง เจ้าของงาน ผู้รับเหมาหลัก ผู้รับเหมารอง (BLCP/MITSUBISHI/NISIMATSU)
ร่วมประชุมกัน จน 2 ทุ่ม Reject ผมออกจากหน่วยงาน
จากความผิดเนื่องจากให้ลูกน้องยกชิ้นงานก่อนการได้รับอนุมัติ
ในบริเวณพื้นที่ที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติจากการท่าเรือ ผมถูกห้ามเข้าโครงการ
แปะรูปผมไว้หน้าประตูเข้าโครงการ
ผมมานั่งทำงานอยู่ในสำนักงาน ได้เพียง 15 วัน
น้ำทะเลทะลักเข้าท่วมบริเวณก่อสร้างทั้งหมด ค้างคาอยู่แบบนั้น ประมาณเกือบ 3 เดือน
ซึ่งผมได้รับการผ่อนปรนให้เข้าหน่วยงานไปแก้ปัญหางานได้ทุกเวลา
(น้ำทะลักท่วม
เนื่องจากการสั่งงานผิดโดยผู้รับเหมารอง และไม่มีการเฝ้าระวัง
เพราะดำเนินการผิดแบบ)
สภาพน้ำท่วม บริเวณ อุโมงค์รับบน้ำ
และสถานีสูบน้ำหล่อเย็น ซึ่งได้รับการอนุมัติการก่อสร้างล่าช้า นานกว่า 7 เดือน
น้ำท่วมอยู่นาน 2 เดือนเศษ เพราะต้องกำหนดวิธีแก้ไข และค่าใช้จ่าย ว่าใครรับผิดชอบ
รวมทั้งความเร่งรัดงาน
ภาพรถแบคโฮจมน้ำ (มีมากกว่า คัน) เจ้าของรถฟ้องศาลเรียกค่าเสียหาย
เพราะไม่มีใครรับผิดชอบ ผมไปศาลเพื่อเบิกความ ให้การ สุดท้าย อิตาเลี่ยนไทย
นิชิมัตสุ จ่ายคนละครึ่ง
ภัยจากธรรมชาติที่ยากจะเลี่ยง
บริเวณการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำหล่อเย็น ที่อยู่ใต้น้ำทะเล เจอมรสุมโจมตี รุนแรง
2 ครั้ง ที่ทำให้เกิดความล่าช้ารวมนานกว่า 3 เดือน มีการซ่อมงาน
มีการคิดเงินทำงานกันใหม่ มีการซ่อมมีการเร่งรัดงาน
แม้มีอุปสรรคงานก่อสร้างล่าช้า
บริเวณทางเข้าออกของระบบน้ำหล่อเย็น ประมาณ 10 เดือน แต่จากการเร่งรัดงาน
ก็ทำให้โรงไฟฟ้าสามารถแล้วเสร็จได้ทัน ตามแผนงานเดิม
วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557
นักวิชาการหนุน ยกเลิก กองทุนน้ำมัน
นักวิชาการชี้กองทุนน้ำมันเปรียบมะเร็งร้ายสำหรับผู้บริโภค จี้ คสช.ยกเลิก ชี้บางคนบอกให้คงไว้เพราะรู้ดีกำไร ปตท.ไม่ได้มาจากร้านจิฟฟี่-ขายกาแฟอเมซอน แต่มาจากกองทุนน้ำมัน หวั่นข้อมูลผู้ตรวจฯ ชงให้ยกเลิกเนื้อหาอ่อน เสนอหลักฐานการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ มีลักษณะเป็นภาษี ที่ต้องตราเป็น พ.ร.บ. และเงินที่จัดเก็บต้องนำส่งเข้าคลัง แต่กลับใช้อำนาจนายกฯ ในรูปคำสั่งนายกรัฐมนตรีดำเนินการ ไม่มีการส่งรายได้เข้าคลังก่อน จึงเข้าข่ายขัดกฎหมาย
วันนี้ (9 มิ.ย.) นายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึงกรณีนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงาน คัดค้านการยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อเสนอของผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าการตั้งกองทุนน้ำมันนั้นขัดกฎหมายอย่างมาก และมีการใช้กองทุนโดยการนำเงินที่จัดเก็บได้ไปอุดหนุนผิดเรื่อง ที่มีคนบอกว่าไม่ควรเลิกเพราะเขารู้ดีว่ากำไรของบริษัท ปตท.ไม่ได้มาจากการขายของในร้านจิฟฟี่ หรือขายกาแฟอเมซอนอย่างที่มีการให้ข้อมูล แต่มาจากกองทุนน้ำมัน หน่วยงานทิ่เงินของกองทุนน้ำมัน 70-80% ก็คือบริษัท ปตท. ซึ่งต้นทุนในความเป็นจริงแล้วมีเรื่องซับซ้อนในระบบของ ปตท.เยอะมาก เช่น เรื่องราคาน้ำมันที่ตั้งขึ้นมา คือขายในประเทศแต่คิดราคาสิงคโปร์ ซึ่งราคาสิงคโปร์จะรวมค่าขนส่ง ประกันภัยค่าเดินเรือจากสิงคโปร์เข้ามาในไทยด้วยซึ่งไม่ควรคิด เพราะการเอาราคาขายปลีกของสิงคโปร์มาเป็นฐานของเราแล้วบวกภาษี และกองทุนน้ำมันเข้าไปด้วย ทำให้ราคาน้ำมันของไทยแพงลิ่ว คำถามก็คือทำไมสิงคโปร์คิดได้แล้วผู้บริหารไทยจึงคิดไม่ได้
นอกจากนี้ กองทุนน้ำมันฯ ไม่ได้ใช้ในการรักษาระดับราคาน้ำมันแล้ว เพราะว่ามีการปล่อยราคาน้ำมันลอยตัว ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงเท่าไร น้ำมันในประเทศก็สูงเท่านั้น การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันก็เป็นการดับเบิ้ลราคาเข้าไปอีก ทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกสูงขึ้นไปอีกโดยไม่มีความจำเป็น ส่วนเรื่องการใช้ก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.ผูกขาดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติอยู่เพียงรายเดียว วิธีแก้ปัญหาต้องเปิดเสรีการนำเข้าก๊าซแอลพีจี ราคาก็จะลงมาเอง ไม่ใช่ไปใช้วิธีการชดเชยให้กับ ปตท.แบบนี้ แต่ต้องให้ ปตท.มาแข่งขันในตลาดแบบคนอื่นเขา ฉะนั้นกองทุนน้ำมันจึงเป็นมะเร็งสำหรับผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคไม่ได้ต้องการ มันกลายมาเป็นการเสียซ้ำซ้อน โดยไม่มีประโยชน์อะไรสำหรับผู้บริโภค แต่มีประโยชน์กับผู้ค้าน้ำมันบางรายเท่านั้น ซึ่งก็คือบริษัท ปตท.
นายคมสันยังกล่าวอีกว่า กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหนังสือถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เสนอให้มีการยกเลิกกองทุนน้ำมันโดยนำเสนอประเด็นเหตุแห่งการยกเลิกว่ามาจากการจัดตั้งกองทุนน้ำมันขัดต่อกฎหมายหลายฉบับเพียงอย่างเดียวนั้น ส่วนตัวมองว่าทำให้น้ำหนักของมูลเหตุการณ์เสนอยกเลิกยังอ่อนเกินไป เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้วจากที่ตนได้ทำงานศึกษาเรื่องพลังงานมาต่อเนื่อง ยังมีข้อมูลว่านอกจากการจัดตั้งกองทุนน้ำมันฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ยังทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายด้วย เพราะการจัดเก็บมีลักษณะเป็นการจัดเก็บภาษี
ทั้งนี้ จากโครงสร้างราคาน้ำมันและราคาก๊าซเมื่อรวมเป็นราคาขายปลีกให้แก่ประชาชนผู้บริโภคจะพบว่า การจัดเก็บเงินต่างๆ ในราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและราคาก๊าซ (LPG) จะประกอบด้วยราคาน้ำมัน หรือก๊าซ (LPG) บวกภาษี บวกเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยเรียกเก็บจากผู้ค้าน้ำมัน ซึ่งผู้ค้าน้ำมันได้ผลักภาระการส่งภาษี เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และเงินกองทุนอื่นให้แก่ประชาชนผู้บริโภครับภาระแทนในราคาขายปลีก โดยนำภาษีและเงินเข้ากองทุนต่างๆ รวมอยู่ในราคาน้ำมันขายปลีกให้แก่ผู้บริโภค ส่งผลให้ประชาชนผู้บริโภคเป็นผู้รับภาระภาษีและเงินเข้ากองทุนต่างๆ โดยตรง
นอกจากนี้ หากพิจารณาการจัดเก็บภาษีต่างๆ จะพบว่าการจัดเก็บภาษีเกือบทุกประเภท จะดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติซึ่งออกโดยรัฐสภาทั้งสิ้น เช่น ภาษีสรรพสามิตเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจจาก มาตรา 7 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ปี 2527 และมาตรา 3 พ.ร.บ.พิกัดภาษีสรรพาสามิต ปี 2527 ภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจประมวลรัษฎากร หมวด 4 มาตรา 77/2 หรือแม้แต่เงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ก็เรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปี 2535 หมวด 4 มาตรา 35 แต่เงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กลับมีการเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจของนายกรัฐมนตรีที่เป็นอำนาจฝ่ายบริหาร ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2547 ลงวันที่ 23 ธ.ค. 47 เรื่องกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ในการจัดเก็บ
“ตามหลักการคลังมหาชน การเก็บเงินจากประชาชนของภาครัฐนั้นจะต้องใช้ฐานอำนาจตามกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารจะจัดเก็บภาษีได้ต่อเมื่อฝ่ายนิติบัญญัติได้มอบอำนาจการจัดเก็บให้แก่ฝ่ายบริหาร ถือเป็นหลักการสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายบริหารเรียกเก็บภาษีตามอำเภอใจ ดังนั้น การจัดเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมในลักษณะภาษี จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้กระทำให้เป็นไปตามหลักการ และต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการจัดเก็บ การใช้จ่าย และอัตราการจัดเก็บภาษีนั้นไว้ในพระราชบัญญัติอย่างชัดเจน และหากพิจารณาจาก พ.ร.ก.กำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 มาตรา 3 ที่นายกรัฐมนตรีอ้างใช้ฐานในการมีคำสั่งจัดตั้งกองทุนน้ำมัน ก็ไม่พบว่ามีการให้อำนาจแก่นายกฯในการเรียกเก็บเงินในลักษณะ “ภาษี” หรือให้อำนาจนายกฯ ในการจัดตั้ง “กองทุน” ใดเพื่อเป็นฐานการเรียกเก็บเงินจากประชาชนในลักษณะ “ภาษี” ได้ แต่ประการใด”
นายคมสันยังกล่าวด้วยว่า เมื่อการจัดเก็บเงินเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เป็นลักษณะของภาษีที่เรียกเก็บจากการประกอบการและบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ (LPG) โดยฝ่ายบริหารได้ออกคำสั่งใช้อำนาจรัฐบังคับจัดเก็บจากผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง และทำให้ภาระทางภาษีนั้นตกแก่ประชาชนโดยไม่สมัครใจ และการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงยังมีลักษณะเป็นรายได้ของรัฐที่ถูกนำไปใช้โดยไม่เป็นผลประโยชน์ตอบแทนโดยตรงเช่นเดียวกับผู้เสียภาษีที่ไม่ได้รับผลตอบแทนโดยตรง เพราะเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ประชาชนได้จ่ายไปนั้นไม่ได้พิจารณาจากสัดส่วนของประโยชน์ที่ผู้จ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้รับจากรัฐ แต่การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นมีขึ้นเพื่อนำรายได้จากเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้จ่ายในกิจการอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีหรือชดเชยภาคขนส่ง เป็นการอุดหนุนเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของผู้ประกอบการเพียงบางรายอันเป็นการขัดต่อหลักความเท่าเทียมกันเรื่องภาษี ประกอบกับผู้จ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วจะไม่อาจเรียกคืนเงินดังกล่าวที่ชำระไปได้ จึงทำให้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีลักษณะเป็น “ภาษี” ที่ไม่ชอบด้วยหลักการการจัดเก็บภาษี ไม่ชอบด้วยมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญ ปี 50 เพราะกระทบสิทธิเสรีภาพประชาชนโดยไม่มีกฎหมายรองรับ
การจัดเก็บโดยอาศัยเพียงคำสั่งนายกรัฐมนตรี ยังไม่ชอบด้วยหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษีอากร และยังปราศจากฐานอำนาจในการเรียกเก็บ ในลักษณะภาษี ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดแย้งกับหลักกฎหมายการเงิน การคลัง และงบประมาณ และยังไม่มีการนำเงินที่จัดเก็บได้ส่งคลังก่อน จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.เงินคงคลัง ปี 2491 ด้วย เมื่อการจัดตั้งกองทุนฯ และการจัดเก็บเงินเข้ากองทุน ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ดังนั้นตรา พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญไปด้วย และเมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของตั้งสถาบันฯ ที่มีเจตนาเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศไม่ให้สูงเกินกว่าระดับที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ก็เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะเมื่อไม่มีการกำหนดให้ราคาน้ำมันขายปลีกเป็นราคาที่ปรับขึ้นลงตามราคาในท้องตลาด การใช้กองทุนเพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันขายปลีกจึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงแต่อย่างใด ซึ่งแม้ปัจจุบันจะมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 50 ไปแล้ว แต่คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 ก็ขัดต่อหลักการสำคัญในการปกครองประเทศที่เป็นจารีตประเพณีซึ่งยึดถือกันมาแม้ในขณะที่การปฏิวัติหรือรัฐประหารก็ตาม และยังขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายอีกหลายฉบับ จึงสมควรที่จะมีการียกเลิกเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนต่อไป จึงอยากให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้พิจารณาถึงข้อมูลดังกล่าวด้วย
วันนี้ (9 มิ.ย.) นายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึงกรณีนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงาน คัดค้านการยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อเสนอของผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าการตั้งกองทุนน้ำมันนั้นขัดกฎหมายอย่างมาก และมีการใช้กองทุนโดยการนำเงินที่จัดเก็บได้ไปอุดหนุนผิดเรื่อง ที่มีคนบอกว่าไม่ควรเลิกเพราะเขารู้ดีว่ากำไรของบริษัท ปตท.ไม่ได้มาจากการขายของในร้านจิฟฟี่ หรือขายกาแฟอเมซอนอย่างที่มีการให้ข้อมูล แต่มาจากกองทุนน้ำมัน หน่วยงานทิ่เงินของกองทุนน้ำมัน 70-80% ก็คือบริษัท ปตท. ซึ่งต้นทุนในความเป็นจริงแล้วมีเรื่องซับซ้อนในระบบของ ปตท.เยอะมาก เช่น เรื่องราคาน้ำมันที่ตั้งขึ้นมา คือขายในประเทศแต่คิดราคาสิงคโปร์ ซึ่งราคาสิงคโปร์จะรวมค่าขนส่ง ประกันภัยค่าเดินเรือจากสิงคโปร์เข้ามาในไทยด้วยซึ่งไม่ควรคิด เพราะการเอาราคาขายปลีกของสิงคโปร์มาเป็นฐานของเราแล้วบวกภาษี และกองทุนน้ำมันเข้าไปด้วย ทำให้ราคาน้ำมันของไทยแพงลิ่ว คำถามก็คือทำไมสิงคโปร์คิดได้แล้วผู้บริหารไทยจึงคิดไม่ได้
นอกจากนี้ กองทุนน้ำมันฯ ไม่ได้ใช้ในการรักษาระดับราคาน้ำมันแล้ว เพราะว่ามีการปล่อยราคาน้ำมันลอยตัว ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงเท่าไร น้ำมันในประเทศก็สูงเท่านั้น การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันก็เป็นการดับเบิ้ลราคาเข้าไปอีก ทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกสูงขึ้นไปอีกโดยไม่มีความจำเป็น ส่วนเรื่องการใช้ก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.ผูกขาดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติอยู่เพียงรายเดียว วิธีแก้ปัญหาต้องเปิดเสรีการนำเข้าก๊าซแอลพีจี ราคาก็จะลงมาเอง ไม่ใช่ไปใช้วิธีการชดเชยให้กับ ปตท.แบบนี้ แต่ต้องให้ ปตท.มาแข่งขันในตลาดแบบคนอื่นเขา ฉะนั้นกองทุนน้ำมันจึงเป็นมะเร็งสำหรับผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคไม่ได้ต้องการ มันกลายมาเป็นการเสียซ้ำซ้อน โดยไม่มีประโยชน์อะไรสำหรับผู้บริโภค แต่มีประโยชน์กับผู้ค้าน้ำมันบางรายเท่านั้น ซึ่งก็คือบริษัท ปตท.
นายคมสันยังกล่าวอีกว่า กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหนังสือถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เสนอให้มีการยกเลิกกองทุนน้ำมันโดยนำเสนอประเด็นเหตุแห่งการยกเลิกว่ามาจากการจัดตั้งกองทุนน้ำมันขัดต่อกฎหมายหลายฉบับเพียงอย่างเดียวนั้น ส่วนตัวมองว่าทำให้น้ำหนักของมูลเหตุการณ์เสนอยกเลิกยังอ่อนเกินไป เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้วจากที่ตนได้ทำงานศึกษาเรื่องพลังงานมาต่อเนื่อง ยังมีข้อมูลว่านอกจากการจัดตั้งกองทุนน้ำมันฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ยังทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายด้วย เพราะการจัดเก็บมีลักษณะเป็นการจัดเก็บภาษี
ทั้งนี้ จากโครงสร้างราคาน้ำมันและราคาก๊าซเมื่อรวมเป็นราคาขายปลีกให้แก่ประชาชนผู้บริโภคจะพบว่า การจัดเก็บเงินต่างๆ ในราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและราคาก๊าซ (LPG) จะประกอบด้วยราคาน้ำมัน หรือก๊าซ (LPG) บวกภาษี บวกเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยเรียกเก็บจากผู้ค้าน้ำมัน ซึ่งผู้ค้าน้ำมันได้ผลักภาระการส่งภาษี เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และเงินกองทุนอื่นให้แก่ประชาชนผู้บริโภครับภาระแทนในราคาขายปลีก โดยนำภาษีและเงินเข้ากองทุนต่างๆ รวมอยู่ในราคาน้ำมันขายปลีกให้แก่ผู้บริโภค ส่งผลให้ประชาชนผู้บริโภคเป็นผู้รับภาระภาษีและเงินเข้ากองทุนต่างๆ โดยตรง
นอกจากนี้ หากพิจารณาการจัดเก็บภาษีต่างๆ จะพบว่าการจัดเก็บภาษีเกือบทุกประเภท จะดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติซึ่งออกโดยรัฐสภาทั้งสิ้น เช่น ภาษีสรรพสามิตเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจจาก มาตรา 7 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ปี 2527 และมาตรา 3 พ.ร.บ.พิกัดภาษีสรรพาสามิต ปี 2527 ภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจประมวลรัษฎากร หมวด 4 มาตรา 77/2 หรือแม้แต่เงินส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ก็เรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปี 2535 หมวด 4 มาตรา 35 แต่เงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กลับมีการเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจของนายกรัฐมนตรีที่เป็นอำนาจฝ่ายบริหาร ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2547 ลงวันที่ 23 ธ.ค. 47 เรื่องกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ในการจัดเก็บ
“ตามหลักการคลังมหาชน การเก็บเงินจากประชาชนของภาครัฐนั้นจะต้องใช้ฐานอำนาจตามกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารจะจัดเก็บภาษีได้ต่อเมื่อฝ่ายนิติบัญญัติได้มอบอำนาจการจัดเก็บให้แก่ฝ่ายบริหาร ถือเป็นหลักการสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายบริหารเรียกเก็บภาษีตามอำเภอใจ ดังนั้น การจัดเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมในลักษณะภาษี จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้กระทำให้เป็นไปตามหลักการ และต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการจัดเก็บ การใช้จ่าย และอัตราการจัดเก็บภาษีนั้นไว้ในพระราชบัญญัติอย่างชัดเจน และหากพิจารณาจาก พ.ร.ก.กำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 มาตรา 3 ที่นายกรัฐมนตรีอ้างใช้ฐานในการมีคำสั่งจัดตั้งกองทุนน้ำมัน ก็ไม่พบว่ามีการให้อำนาจแก่นายกฯในการเรียกเก็บเงินในลักษณะ “ภาษี” หรือให้อำนาจนายกฯ ในการจัดตั้ง “กองทุน” ใดเพื่อเป็นฐานการเรียกเก็บเงินจากประชาชนในลักษณะ “ภาษี” ได้ แต่ประการใด”
นายคมสันยังกล่าวด้วยว่า เมื่อการจัดเก็บเงินเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เป็นลักษณะของภาษีที่เรียกเก็บจากการประกอบการและบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ (LPG) โดยฝ่ายบริหารได้ออกคำสั่งใช้อำนาจรัฐบังคับจัดเก็บจากผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง และทำให้ภาระทางภาษีนั้นตกแก่ประชาชนโดยไม่สมัครใจ และการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงยังมีลักษณะเป็นรายได้ของรัฐที่ถูกนำไปใช้โดยไม่เป็นผลประโยชน์ตอบแทนโดยตรงเช่นเดียวกับผู้เสียภาษีที่ไม่ได้รับผลตอบแทนโดยตรง เพราะเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ประชาชนได้จ่ายไปนั้นไม่ได้พิจารณาจากสัดส่วนของประโยชน์ที่ผู้จ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้รับจากรัฐ แต่การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นมีขึ้นเพื่อนำรายได้จากเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้จ่ายในกิจการอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีหรือชดเชยภาคขนส่ง เป็นการอุดหนุนเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของผู้ประกอบการเพียงบางรายอันเป็นการขัดต่อหลักความเท่าเทียมกันเรื่องภาษี ประกอบกับผู้จ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วจะไม่อาจเรียกคืนเงินดังกล่าวที่ชำระไปได้ จึงทำให้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีลักษณะเป็น “ภาษี” ที่ไม่ชอบด้วยหลักการการจัดเก็บภาษี ไม่ชอบด้วยมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญ ปี 50 เพราะกระทบสิทธิเสรีภาพประชาชนโดยไม่มีกฎหมายรองรับ
การจัดเก็บโดยอาศัยเพียงคำสั่งนายกรัฐมนตรี ยังไม่ชอบด้วยหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษีอากร และยังปราศจากฐานอำนาจในการเรียกเก็บ ในลักษณะภาษี ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดแย้งกับหลักกฎหมายการเงิน การคลัง และงบประมาณ และยังไม่มีการนำเงินที่จัดเก็บได้ส่งคลังก่อน จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.เงินคงคลัง ปี 2491 ด้วย เมื่อการจัดตั้งกองทุนฯ และการจัดเก็บเงินเข้ากองทุน ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ดังนั้นตรา พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญไปด้วย และเมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของตั้งสถาบันฯ ที่มีเจตนาเพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศไม่ให้สูงเกินกว่าระดับที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ก็เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะเมื่อไม่มีการกำหนดให้ราคาน้ำมันขายปลีกเป็นราคาที่ปรับขึ้นลงตามราคาในท้องตลาด การใช้กองทุนเพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันขายปลีกจึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงแต่อย่างใด ซึ่งแม้ปัจจุบันจะมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 50 ไปแล้ว แต่คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 ก็ขัดต่อหลักการสำคัญในการปกครองประเทศที่เป็นจารีตประเพณีซึ่งยึดถือกันมาแม้ในขณะที่การปฏิวัติหรือรัฐประหารก็ตาม และยังขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายอีกหลายฉบับ จึงสมควรที่จะมีการียกเลิกเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนต่อไป จึงอยากให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้พิจารณาถึงข้อมูลดังกล่าวด้วย
กระแส "ปฏิรูปพลังงาน" กับการขานต่อของสื่อหัวเขียว !!!
ล้วงแผนคืนความสุข!...“คืนน้ำมันราคาถูกให้คนไทย ฝันนี้เป็นไปได้หรือ?”
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 10 มิ.ย. 2557 05:06
ณ เวลาที่ประเด็นโครงสร้างพลังงาน ได้ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง ทั้งจากนานาทัศนะของเหล่ากูรูด้านพลังงาน ทั้งจากเสียงเซ็งแซ่แห่งความสงสัยของเหล่าประชาชนตาดำๆ ว่า สุดท้ายแล้วเราจะได้ใช้น้ำมันถูกลงจากเดิมหรือไม่....
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีหลายฟากฝ่ายต่างกล่าวถึงข้อดีและข้อเสียของการยุบกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปในแง่ต่างๆ มากมาย บางฝ่ายมองว่าเป็นเรื่องดี เพราะจะทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาดโลก ประชาชนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ จึงไม่ต้องใช้เงินตัวเองอุดหนุนแก๊สแอลพีจีอีกต่อไป แต่ในขณะที่อีกฝ่าย ไม่่เห็นด้วย เพราะในอนาคตข้างหน้า จะไร้ซึ่งกลไกใดๆ ที่จะนำมาใช้อุดหนุนราคาน้ำมัน
กระนั้น จึงทำให้ช่วงนี้มีการแชร์ข้อมูลต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อเท็จจริงและที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงปะปนอยู่ทั่วโซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งหลายกระแสก็พูดกันไปว่า หาก คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) เข้ามาปฏิรูปโครงสร้างพลังงานทั้งระบบ จะมีผลให้ราคาน้ำมันลดลงมาถึงลิตรละ 10 บาท
ทว่าจึงไม่แปลกแต่อย่างใด หากกระแสปฏิรูปพลังงานจะกลับมาเป็นประเด็นร้อนแรงและตกเป็นข้อร้องเรียนของเหล่าประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า เพราะฉะนั้น โจทย์ใหญ่ที่ คสช.จะต้องเจอและวัดใจกันไปเลยก็คือ คสช. จะกล้าปฏิรูปพลังงานตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำหรือไม่ ?
ไขข้อข้องใจ เหตุไฉน คนไทยใช้น้ำมันแพง?
โครงสร้างราคาน้ำมันของไทย และประเทศอื่นๆ จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
1. น้ำมันดิบ - ขณะนี้ ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นจะอยู่ที่ประมาณ 25-26 บาท ซึ่งราคาน้ำมันแต่ละประเภทจะไม่แตกต่างกันมาก แต่จะมีส่วนที่แตกต่างกันในเรื่องของอัตราการจัดเก็บ เพราะน้ำมันดิบที่ประเทศไทยสั่งซื้อมาจากแหล่งต่างๆ จะบรรทุกมาทางเรือเข้าโรงกลั่นน้ำมัน เพ่ือกลั่นมาเป็นน้ำมันสำเร็จรูปต่อไป ดังนั้น ราคาจึงแตกต่างกันในส่วนของค่าขนส่ง หากนำเข้ามาจากแดนไกลมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะมีราคาสูงขึ้นมากเท่านั้น
2. ภาษี - การจัดเก็บภาษีของแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกัน บางประเทศเรียกเก็บภาษีจากผลิตภัณฑ์ในอัตราที่สูงมาก เช่น ประเทศต่างๆ ในโซนยุโรป ราคาน้ำมันจะแพงมาก ตกลิตรละ 60-80 บาทต่อลิตร เนื่องจากประเทศเหล่านี้ถือว่าน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษ แต่สำหรับบางประเทศ ราคาน้ำมันกลับมีราคาถูก เนื่องจากเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมัน จึงสามารถจัดเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำ เช่น กลุ่มประเทศโอเปก (OPEC)
3. ค่าการตลาด - ส่วนนี้ คือ กำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบธุรกิจโรงกลั่น บริษัทน้ำมันรายใหญ่และผู้ค้าปลีกน้ำมันรายย่อย เช่น ปั๊มน้ำมัน กำไรส่วนนี้นำมารวมกันแล้วเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 2-3 บาทต่อลิตร ซึ่งใน 2-3 บาทต่อลิตร ยังแบ่งเป็น ค่าการกลั่นประมาณ 1-1.50 บาท/ลิตร ค่าการตลาดของผู้ค้ารายใหญ่ ประมาณ 0.50-1.00 บาท/ลิตร และของผู้ค้ารายย่อยอีกประมาณ 0.50-1.00 บาท/ลิตร แล้วแต่ประเภทของการลงทุน ซึ่งราคาค่าการตลาดจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4-5 ของราคาขายปลีก จึงถือว่าเป็นจำนวนที่ไม่มากนัก
โดยสรุปแล้ว สาเหตุที่ราคาน้ำมันสูงกว่าราคาจริง จึงมาจากการจัดเก็บภาษี เพราะมีทั้งภาษีสรรพสามิต (น้ำมันเบนซินถึงลิตรละ 7 บาท แก๊สโซฮอล์ลิตรละ 6.30 สตางค์ น้ำมันดีเซล ตอนนี้เก็บต่ำ เหลือเพียง 0.0005 บาทต่อลิตร) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเทศบาล มิหนำซ้ำยังต้องเก็บเงินเรียกเข้ากองทุนน้ำมัน (น้ำมันเบนซิน ลิตรละ 8.50 บาท ถ้าเป็นแก๊สโซฮอล์ ลิตรละ 7.20 บาท และน้ำมันดีเซล 2.80 บาท) เพราะฉะนั้น ราคาน้ำมันจึงสูงกว่าราคาจริง ดังนี้ น้ำมันเบนซินจะมีราคาที่เพิ่มขึ้นประมาณ 21 บาท หรือร้อยละ 41-42 ของราคาขายปลีก แก๊สโซฮอล์จะมีราคาเพิ่มขึ้นประมาณ 10 กว่าบาท คิดเป็นร้อยละ 30 ของราคาขายปลีก ขณะที่น้ำมันดีเซลจะมีราคาเพิ่มขึ้นน้อย คือประมาณร้อยละ 10 ของราคาขายปลีก
ส่องนานาทัศนะ ยกเลิกกองทุนน้ำมัน ดี - ร้าย มาดูกัน!
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และกลุ่มปฏิรูปโครงสร้างพลังงานระยะยาวเพื่อความยั่งยืน ได้แสดงความเห็นในประเด็นยุบ-ไม่ยุบกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้ ‘ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์’ ฟังว่า ตนเห็นด้วยกับข้อเสนอเรื่องการยุบกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากโครงสร้างราคาน้ำมันควรสะท้อนกลไกตลาดโลก และเพื่อไม่ให้ผู้ที่จะขึ้นมาเป็นรัฐบาล นำกองทุนน้ำมันฯ มาอุดหนุนราคาพลังงาน และใช้เป็นเครื่องมือในการทำนโยบายประชานิยม
ดังนั้น ผลที่เกิดขึ้นหากยกเลิกเงินกองทุนน้ำมันทันที คือ ราคาเบนซิน 95 จะลดทันที 10 บาท/ลิตร ราคาอี 10 จะลดลงตามกองทุนที่เก็บ แต่อี 20 จะเพิ่มขึ้น 1.05 บาท อี 85 จะเพิ่มขึ้น 11.60 บาท/ลิตร ดีเซลลดลง 25 สต. ราคาแอลพีจีทุกภาคส่วนจะมีราคาเดียวกัน คือ 26 บาท/กก. ซึ่งเป็นราคาที่เฉลี่ยระหว่างราคาโรงแยกก๊าซฯ โรงกลั่นฯ และการนำเข้าแอลพีจีที่บวกค่าขนส่งที่ 919 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ราคาเฉลี่ย 26 บาท/กก. หมายถึงราคาครัวเรือนและขนส่งจะขยับขึ้นจากที่ขณะนี้อยู่ที่ 22.63 บาท/กก. และ 21.38 บาท/กก.ตามลำดับ ส่วนภาคอุตสาหกรรมราคาจะลดลงจากที่อยู่ที่ 30.13 บาท/กก.
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ได้แสดงทรรศนะที่แตกต่างกับนายปิยสวัสดิ์ คือ ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอการยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากกองทุนน้ำมันมีไว้เพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ไม่ใช่เพื่อการอุดหนุนราคาตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และแนะนำให้ปรับการจัดเก็บเงินสมทบกองทุนน้ำมันให้เป็นธรรมมากขึ้น โดยการลดการจัดเก็บเงินจากผู้ใช้เบนซิน และโซฮอล์ลง แต่ไปเพิ่มการจัดเก็บเงินจากผู้ใช้แอลพีจี และดีเซล โดยเห็นว่าจะทำให้โครงสร้างราคาบิดเบือน และดีเซลได้ถูกตรึงราคามานานกว่า 3 ปีแล้ว
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงาน มีความเห็นว่า กองทุนน้ำมันควรจะต้องมีอยู่ แต่จะต้องมีหน้าที่หลักตามจุดประสงค์เดิม คือการรักษาเสถียรภาพของราคาพลังงาน ทันทีที่ราคาน้ำมันแพงก็เข้าแทรกแซง เพื่อให้ประชาชนและหน่วยธุรกิจไม่เดือดร้อนกับการผันผวนของราคา และน่าจะใช้กองทุนนี้ในการเพิ่มสำรองน้ำมันของประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงของพลังงาน ซึ่งมีการสำรองอยู่เพียงแค่ประมาณ 40 วันเท่านั้น
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้บริหารผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ยังคงยืนยันว่า ไม่เห็นด้วยหากภาครัฐจะมีการยุบกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากในอนาคตข้างหน้าจะไม่มีกลไก หรือเครื่องมือในการดูแล หากเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมัน อีกทั้งยังจะทำให้ราคาผันผวน รวมถึงราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวลดลง ขณะที่ราคาแก๊ส LPG ก็จะปรับตัวสูงขึ้นในทันที
นายชายน้อย เผื่อนโกสุม รักษาการผู้อำนวยการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) หรือ สบพ. ได้แสดงมุมมองถึงเรื่องนี้ว่า หากยกเลิกกองทุนน้ำมัน ราคาน้ำมันจะถูกลงจริง แต่ราคาแอลพีจีจะสูงขึ้น เพราะทุกวันนี้เงินที่เก็บจากน้ำมันยังไม่พอมาชดเชยราคาแอลพีจี
ยุบกองทุนน้ำมัน! คำนวณราคาน้ำมัน อยู่ที่เท่าไหร่ ?
แก๊สโซฮอล์ 95 ราคาลิตรละ 40.75 บาทต่อลิตร ราคาหน้าโรงกลั่นอยู่ที่ 25.77 บาท ภาษี 2 ชนิด รวมกัน ที่ 9.59 บาท และเงินที่ต้องนำส่งกองทุนน้ำมัน คือ 3.55 บาทต่อลิตร หากยกเลิกจะเหลือลิตรละ 37.20 บาทต่อลิตร เช่นเดียวกับ แก๊สโซออล์ 91 หากยกเลิกเงินกองทุนน้ำมันก็จะเหลือ ลิตรละ 36.84 บาท
E 20 ปัจจุบัน ราคาลิตรละ 35.78 บาทต่อลิตร ราคาหน้าโรงกลั่น 26.1 บาท ค่าการตลาด 2.7 บาท ภาษีที่ 8.5 บาท แต่ E 20 ได้รับเงินอุดหนุน จากกองทุนน้ำมันที่ลิตรละ 80 สตางค์ เพราะเป็นนโยบายของภาครัฐที่ต้องการดึงดูดให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานทดแทน แต่ถ้ายกเลิกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ก็จะไม่มีเงินมาอุดหนุนน้ำมันชนิดนี้้ จึงทำให้ราคาดีดขึ้นไปอยู่ที่ 36.58 บาท
E85 อยู่ที่ลิตรละ 24.38 บาท ได้รับเงินอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันที่ลิตรละ 11.25 บาท หากยกเลิกก็จะทำให้ราคาพุ่งขึ้นทันทีที่ 35.63 บาท
ดีเซล เชื้อเพลิงแห่งต้นทุนสำคัญของสินค้า ปัจจุบันราคาอยู่ที่ลิตรละ 29.99 บาท ราคาหน้าโรงกลั่นอยู่ที่ 25.36 บาท ภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเก็บที่ 0.005 บาทต่อลิตร รวมกับค่าการตลาดอยู่ที่ 2.17 บาท ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มน้ำมันเบนซิน ปัจจุบันต้องนำเงิน ส่งกองทุนน้ำมัน 25 สตางค์ หากยกเลิก ดีเซลจะเหลือลิตรละ 29.80 บาทต่อลิตร
แอลพีจี ภาคขนส่ง ราคาหน้าโรงกลั่นอยู่ที่ 10.87 บาท ค่าการตลาด 3.47 บาท ภาษี 3.79 บาท เงินเข้ากองทุนน้ำมัน 3.47 บาท แต่ถ้ายกเลิกเก็บเงินเข้ากองทุน ราคาแอลพีจีในภาคขนส่งจะเหลือ ที่ 20.95 บาท
อย่างไรก็ตาม กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะช่วยอุดหนุนราคาน้ำมัน E 85 และ E 20 มากที่สุด เนื่องจากส่วนใหญ่รถที่ใช้เชื้อเพลิง E85 และ E20 จะเป็นรถในสายการผลิต ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา โดยปัจจุบันรถยนต์ทั่วประเทศที่แยกตามชนิดเชื้อเพลิง กว่าร้อยละ 70.17 เป็นรถที่ใช้น้ำมันเบนซิน โดยเป็นดีเซลร้อยละ 24.81 แอลพีจี ร้อยละ 3.18 ซีเอ็นจี หรือ เอ็นจีวี ร้อยละ 1.08 และอื่นๆ คือรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและระบบไฮบริด
มิใช่่ว่า การทำธุรกิจจะต้องไร้ซึ่งกำไร แต่จะดีกว่าไหม หากการแสวงหากำไรทางธุรกิจ จะยืนอยู่บนพื้นฐานแห่งความพอเหมาะพอดี ถึงเวลาวัดใจ คสช. กล้าพอไหม ปฏิรูปพลังงานไทยทั้งระบบให้เป็นธรรมต่อประชาชน...อีกหนึ่งโจทย์ใหญ่ อีกหนึ่งความหวังจากประชาชนตาดำๆ ที่ฝากไว้แก่ คสช. ... สุดท้ายแล้วคำตอบจะเป็นภาพฝัน หรือ ความสุข อีกไม่นาน จะได้รู้คำตอบไปพร้อมกัน!
วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษาคดีแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (เดิม)
คนไทยอาจได้ใช้พลังงานถูกลง...เนื ่องจากการขายหุ้นอาจเป็นโมฆ ะได้ยากส์
วันนี้ (6 มิ.ย.) ที่สำนักงานศาลปกครอง นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรประชาชนเพื ่อประชาธิปไตย (พธม.) เข้ายื่นคำร้องต่อศาลปกครอง กลางผ่าน นายอลงกต ไผ่พูล ผู้อำนวยการกลุ่มรับฟ้องศาล ปกครองกลาง ทวงถามความคืบหน้าคดีที่ อดีตแกนนำ พธม.โดยมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นด ิน ยื่นฟ้องบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และกระทรวงการคลัง เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 เมื่อปี 54 กรณีขอให้ศาลพิพากษาให้กระท รวงการคลัง ดำเนินการทวงคืน ปตท. กลับมาเป็นสมบัติของแผ่นดิน เหมือนก่อนที่จะมีการขายหุ้ น ปตท.ทอดตลาด
โดยนายสุวัตรกล่าวว่า ได้ยื่นคำร้องนี้เมื่อวันที ่ 22 ก.ย. 54 เนื่องจากเห็นว่าการเปิดขาย หุ้นเพิ่มทุนของ ปตท.ในขณะนั้นจำนวน 750 ล้านหุ้น ทำไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ โดยพบว่ามีผู้ได้หุ้นไปก่อน เวลา 09.30 น.ซึ่งเป็นเวลาเปิดขายหุ้นถ ึง 863 ราย อีกทั้งยังมีผู้ได้รับหุ้นไ ปมากกว่า 1 ใบจองตามที่กำหนดไว้ถึง 428 ราย และจากการตรวจสอบพบว่าผู้ที ่ได้รับหุ้นไปส่วนใหญ่เป็นน ักการเมือง จึงเห็นว่าการขายหุ้นดังกล่ าวน่าจะเป็นโมฆะ
วันนี้ (6 มิ.ย.) ที่สำนักงานศาลปกครอง นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรประชาชนเพื
โดยนายสุวัตรกล่าวว่า ได้ยื่นคำร้องนี้เมื่อวันที
ข่าวศาลปกครอง
ครั้งที่ 49/2550
ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษาคดีแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
วันนี้เวลา 10.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 2 นายจรัญ หัตถกรรม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด นายธงชัย ลำดับวงศ์ นายเกษม คมสัตย์ธรรม นายชาญชัย แสวงศักดิ์ และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการศาลปกครองสูงสุดในองค์คณะ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 ซึ่งเป็นคดีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับพวก ยื่นฟ้องคณะรัฐมนตรีกับพวกต่อศาลปกครองสูงสุดว่า กระบวนการและขั้นตอนการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นไปโดยมิชอบ ขอให้ศาลปกครองสูงสุดเพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ ประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายพิเศษที่ฝ่ายนิติบัญญัติมอบให้ฝ่ายบริหารดำเนินการเปลี่ยนสภาพหรือเปลี่ยนสถานะของรัฐวิสาหกิจจากประเภทองค์การของรัฐตามที่กฎหมายจัดตั้งขึ้นให้เป็นรูปแบบบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน จำกัดได้ โดยไม่ต้องเสนอกฎหมายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ หากรัฐบาลมีนโยบายที่จะนำทุนบางส่วนหรือทั้งหมด ของรัฐวิสาหกิจใดมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัท ให้กระทำได้ตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการเริ่มต้นแปรรูปรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 13 กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติในหลักการ เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้เปลี่ยนทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัทแล้ว จึงไปสู่ขั้นตอนการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ซึ่งรวมถึงการแต่งตั้งและดำเนินการของคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ดังนั้น การดำเนินการในทุกขั้นตอนจึงมีความสำคัญ เมื่อได้ดำเนินการเสร็จสิ้นในแต่ละขั้นตอนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงจะดำเนินการในขั้นตอนสุดท้าย คือ การตราพระราชกฤษฎีกาที่มีผลเป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่อไปได้
ในขั้นตอนก่อนการตราพระราชกฤษฎีกาแปรรูป ปตท. ทั้งสองฉบับดังกล่าวมีปัญหาที่ศาลต้องวินิจฉัยว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการดำเนินการของคณะกรรมการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัททั้งสามคนที่ได้รับการแต่งตั้ง ซึ่งประกอบด้วย นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และนายธีระ วิภูชนิน รองกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ ความรู้ ประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของ ปตท. และทางการเงินและบัญชี อันเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 16 วรรคสอง แล้ว การที่นายปิยสวัสดิ์ และนายเชิดพงษ์ มีสถานะเป็นข้าราชการระดับสูงในองค์กรของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการของ ปตท. บุคคลทั้งสองได้รับมอบหมายจากทางราชการให้เข้าเป็นกรรมการหรือประธานกรรมการในนิติบุคคลที่เป็นผู้ร่วมทุนกับภาครัฐเพื่อประโยชน์ขององค์กรของรัฐ มิใช่เพื่อประโยชน์เฉพาะตัวของนายปิยสวัสดิ์ และนายเชิดพงษ์ จึงไม่อาจถือว่านายปิยสวัสดิ์ และนายเชิดพงษ์ เป็นผู้มีส่วนได้เสียอันมีคุณสมบัติต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท จึงชอบด้วยมาตรา 16 ส่วนกรณีที่นายวิเศษ จูภิบาล ผู้บริหารสูงสุดของ ปตท. และนายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าถือหุ้นของบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าข้อยกเว้นมาตรา 18 ประกอบกับมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่กำหนดมิให้นำข้อห้ามการถือครองหุ้นหรือการเป็นกรรมการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการในบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นจากการเปลี่ยนทุนเป็นหุ้น มาใช้บังคับกับกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจและข้าราชการประจำที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง และการเข้าถือหุ้นของนายวิเศษ และนายมนูเกิดขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนสภาพมาเป็น บมจ. ปตท จึงไม่มีผลกระทบต่อกระบวนการเปลี่ยนสภาพของ ปตท. ส่วนในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน นั้น คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทจัดให้มีการประกาศรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนสภาพ ปตท.ในหนังสือพิมพ์รายวันติดต่อกัน 6 ฉบับ ฉบับละ 1 วัน ได้แก่ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 สิงหาคม2544 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 22 สิงหาคม 2544 หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 23 สิงหาคม 2544 หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 24 สิงหาคม 2544 หนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น ฉบับวันที่ 25 สิงหาคม 2544 และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม 2544 และจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในวันที่ 8 กันยายน 2544 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค โดยได้แจกเอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็น รวมถึงร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นด้วย มีผู้ลงทะเบียน 1,877 คน ผู้ลงทะเบียนหน้างาน 263 คน มีผู้เข้าร่วมประชุม 733 คน และจัดให้มีการถ่ายทอดเสียงทั้งทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 11 แม้ว่าการดำเนินการประกาศทางหนังสือพิมพ์จะมิได้ประกาศลงในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยฉบับเดียวกันติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามข้อ 9 (1) ของระเบียบว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่การประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีการจำหน่ายอย่างแพร่หลายถึง 6 ฉบับ ฉบับละหนึ่งวันเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 วัน โดยเป็นหนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาไทย ถึง 4 ฉบับ และฉบับภาษาอังกฤษอีก 2 ฉบับ แต่ละฉบับมีกลุ่มผู้อ่านแตกต่างกันออกไปและหนังสือพิมพ์ดังกล่าวมียอดตีพิมพ์ของแต่ละฉบับในแต่ละวัน คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 876,544 ฉบับ เดลินิวส์ 600,000 ฉบับ มติชน 540,000 ฉบับ กรุงเทพธุรกิจ 105,000 ฉบับ บางกอกโพสต์ 70,000 ฉบับ และเดอะ เนชั่น 58,000 ฉบับ เมื่อพิจารณาถึงจำนวนการตีพิมพ์เฉพาะหนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาไทยที่มีการประชาสัมพันธ์และกลุ่มเป้าหมายของการประชาสัมพันธ์แล้ว ศาลเห็นว่า การประชาสัมพันธ์มีความหลากหลายและเป็นระยะเวลาเพียงพอเพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลได้อย่างทั่วถึงแล้ว การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจึงชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ศาลจึงเห็นว่า กระบวนการและขั้นตอนที่ได้กระทำก่อนการตราพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในส่วนของบทบัญญัติในพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 นั้น มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ในขณะที่ ปตท. มีสถานะเป็นองค์การของรัฐ นั้น ปตท.ได้ใช้เงินทุนจากรัฐและใช้อำนาจมหาชนของรัฐเวนคืนที่ดิน ตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการของรัฐ ที่ดินที่เวนคืนดังกล่าวจึงกลับมาเป็นของรัฐหรือของแผ่นดิน ตามมาตรา 16 ประกอบมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เมื่อ ปตท. ได้เวนคืนที่ดินตามแนวท่อก๊าซธรรมชาติจากจังหวัดระยองมายังจังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อของ ปตท. ซึ่งเป็นกิจการของรัฐ ที่ดินที่เวนคืนจึงเป็นทรัพย์สินของรัฐหรือของแผ่นดินที่ใช้เพื่อกิจการของรัฐ และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตามมาตรา 1304(3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเป็นที่ราชพัสดุ ตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 โดยมี ปตท. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนรัฐและเป็นผู้ใช้ประโยชน์โดยไม่เสียค่าตอบแทนให้รัฐ ส่วนการที่ ปตท. ใช้อำนาจรัฐเหนือที่ดินของเอกชนเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ ซึ่งเป็นระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นไปเพื่อกิจการของรัฐนั้น ปตท.กระทำการในฐานะที่เป็นองค์การของรัฐ บังคับแก่อสังหาริมทรัพย์ของเอกชน และจ่ายเงินค่าทดแทนโดยอาศัยทรัพย์สินของรัฐ ดังนั้น สิทธิเหนือทรัพย์สินของเอกชนที่เกิดจากการใช้อำนาจของ ปตท. จึงเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินที่ก่อตั้งขึ้นด้วยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 อันเป็นทรัพยสิทธิของรัฐและเป็นอสังหาริมทรัพย์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อใช้ประโยชน์ของแผ่นดิน โดยเฉพาะ ตามมาตรา 1304(3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และจัดเป็นที่ราชพัสดุ
ต่อมา เมื่อ ปตท. เปลี่ยนสภาพไปเป็นบริษัทมหาชนจำกัด คือ บมจ. ปตท. ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลเอกชนแล้ว บมจ.ปตท. จึงไม่อาจมีอำนาจมหาชนของรัฐ รวมทั้งไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของ ปตท. ที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแทนรัฐได้ จึงต้องโอนสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวกลับไปเป็นของรัฐ ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงมีหน้าที่แยกสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวออก และโอนให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนรัฐให้เสร็จสิ้นก่อนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ตามบทบัญญัติในมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 และปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการมีข้อสังเกต เสนอต่อคณะรัฐมนตรีว่า หากจะมีการแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจัดตั้งเป็นบริษัทแยกออกจากบริษัทจัดซื้อและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติในลักษณะการแบ่งแยกตามกฎหมาย ตั้งแต่แรกจะทำให้การกำกับดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงควรศึกษาแนวทางที่จะแยกบริษัทท่อส่งก๊าซธรรมชาติก่อนจะทำการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มิฉะนั้นอาจจะแยกบริษัทท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้ยาก หากไม่สามารถแยกบริษัทท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้ก่อนการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ก็ให้แยกบริษัทท่อส่งก๊าซธรรมชาติภายใน 1 ปี หลังการขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีให้คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทรับข้อสังเกตนี้ไปประกอบการพิจารณา แต่ปรากฏว่า คณะรัฐมนตรีกลับมีมติอนุมัติให้โอนกิจการ อำนาจ สิทธิ รวมทั้งสินทรัพย์และทุนทั้งหมดของ ปตท. ไปให้ บมจ. ปตท. ทั้งหมด และพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 ก็มิได้มีบทบัญญัติที่เป็นการจำกัดสิทธิ อำนาจ และทรัพย์สินที่ บมจ. ปตท.ได้มาโดยอำนาจมหาชนของรัฐแต่อย่างใด ต่อมา บมจ.ปตท. มีหนังสือที่ 530/20/63 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 ถึงปลัดกระทรวงการคลัง เรื่อง ขอยกกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้มาโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เมื่อ พ.ศ.2529 ให้กระทรวงการคลัง เนื้อที่รวมประมาณ 32 ไร่ ซึ่งเป็นการยอมรับว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวควรโอนให้เป็นของกระทรวงการคลัง ดังนั้น โดยอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 คณะรัฐมนตรีจึงต้องโอนสินทรัพย์ของ ปตท. ที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน ให้กระทรวงการคลัง โดย บมจ.ปตท. ยังคงมีสิทธิในการใช้ที่ราชพัสดุหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ ปตท. เคยมีอยู่ต่อไป โดยต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายได้แผ่นดินตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
สำหรับในส่วนของพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 นั้น ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ได้มีการเปลี่ยนสภาพ ปตท.ไปเป็น บมจ. ปตท. และได้นำหุ้นของ บมจ. ปตท. เข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2544 หากมีการเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เพื่อให้สาธารณสมบัติของแผ่นดินทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ กลับไปเป็นของ ปตท. ดังเดิม ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่า อาจก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ทั้งต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศโดยเฉพาะความมั่นคงด้านพลังงาน ทั้งยังอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดทุนรวมถึงตลาดเงิน และบุคคลภายนอกที่มีนิติสัมพันธ์กับ บมจ. ปตท. ทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายตามมาอีกนานัปการด้วยเมื่อพิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นดังกล่าว ประกอบกับการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่พยายามแก้ไขปัญหา รวมทั้งฝ่ายนิติบัญญัติโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติดำเนินการตราพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม2550 ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ บัญญัติให้มีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานรวมทั้งกิจการก๊าซธรรมชาติด้วย และการออกใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน ทั้งเป็นผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบการวางระบบโครงข่ายพลังงาน โดยในบทบัญญัติมาตรา 104 มาตรา 105 และมาตรา106ได้บัญญัติสาระสำคัญเกี่ยวกับการใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์ในกิจการพลังงาน และการใช้อำนาจมหาชนของรัฐของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานไว้ และในบทเฉพาะกาล ได้บัญญัติให้คณะกรรมการกำกับการใช้อำนาจของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวเป็นผู้ใช้อำนาจมหาชนของรัฐแทนคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเป็นการชั่วคราวแล้ว อีกทั้งคำฟ้องในประเด็นการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ ทรัพย์สินและสิทธิการใช้ที่ดินในระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐที่โอนให้แก่ บมจ. ปตท. ซึ่งเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีผลโดยตรงต่อความไม่ชอบด้วยกฎหมายของบทบัญญัติในมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 จึงเป็นหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ที่จะต้องกระทำ การแก้ไขการกระทำ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นว่านั้น ให้ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อพิเคราะห์เหตุแห่งการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาและบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 รวมทั้งวิธีการแก้ไขความไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่จำต้องเพิกถอนบทบัญญัติในมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว อีกทั้งเหตุแห่งความไม่ชอบ ด้วยกฎหมายเช่นว่านั้น มิได้มีความร้ายแรงถึงขนาดที่จะเพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 ตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า
พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ร่วมกันกระทำการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิ ในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิของ บมจ.ปตท. ทั้งนี้ ให้เสร็จสิ้นก่อนการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ส่วนคำขอตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า ที่ขอให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิและประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจสิทธิและประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 นั้นให้ยก
สำนักงานศาลปกครอง
วันที่14 ธันวาคม 2550
Download คำสั่งศาลปกครองฉบับเต็ม
วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557
แปลกแต่จริงครับ !!! ทรัพย์สินของ "อานิกกับปิยสวัสดิ์" มีไม่ถึง 500 ล้านบาท
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=725554750835401&set=a.213360575388157.54801.100001426476823&type=1&theater
ทรัพย์สินของ
"อานิกกับปิยสวัสดิ์"...ไม่เพิ่มขึ้นเลย
ทั้งๆที่อยู่ในแวดวง ทรัพย์พลังงานไทย มานานหลายปี แปลกแต่จริงครับ !!! (ใครมีข้อมูลเพิ่มเติมช่วยแจ้งด้วย)
เปิดกรุสมบัติ ครม.” สุรยุทธ์ 1″
หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)เปิดบัญชีทรัพย์สิน
และหนี้สินของคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในรัฐบาล “พล.อ.สุรยุทธ์
จุลานนท์” เป็นนายกรัฐมนตรี กรณีเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 9
ตุลาคม 2549 ดังนี้
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน
มีทรัพย์สิน 383,665,702.28 บาท
นางอานิก อัมระนันทน์(คู่สมรส)
มีทรัพย์สิน 82,950,447.78 บาท
รวม 466.5 ล้าน
https://soclaimon.wordpress.com/2010/09/02/เปิดกรุสมบัติ-ครม-สุรยุ/
รวม 466.5 ล้าน
https://soclaimon.wordpress.com/2010/09/02/เปิดกรุสมบัติ-ครม-สุรยุ/
เปิดกรุสมบัติ ครม.” อภิสิทธิ์ ″
21
พฤษภาคม ที่ผ่านมา
"อำพน กิตติอำพน" ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท
การบินไทย จำกัด (มหาชน) แถลงผลการประชุมบอร์ดว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบให้เลิกจ้าง
"ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์" พ้นจากตำแหน่งดีดี โดยจะทำตามสัญญาการเลิกจ้าง
คือแจ้งล่วงหน้า 1 เดือน พร้อมจ่ายชดเชย 6 เดือน รวมเป็นเงินราว 6 ล้านบาท
ทรัพย์สินของ "อานิกกับปิยสวัสดิ์" ที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. ปลายปีที่แล้ว มากกว่า 478.5 ล้านบาท
ทรัพย์สินของ "อานิกกับปิยสวัสดิ์" ที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. ปลายปีที่แล้ว มากกว่า 478.5 ล้านบาท
เริ่มจาก
สินทรัพย์ ที่เป็นเงินฝาก
อานิก แจ้งไว้ 2.5 ล้าน ปิยสวัสดิ์ 4.2 ล้าน
เงินลงทุน
อานิก 81.4 ล้าน ปิยสวัสดิ์ 97.2 ล้าน
ที่ดิน
อานิก 3.1 ล้าน ปิยสวัสดิ์ 203 ล้าน
โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง
อานิก
22.6 ล้าน ปิยสวัสดิ์ 57 ล้าน
รถยนต์ อานิก 2.7 ล้าน
ทรัพย์สินอื่นๆ ปิยสวัสดิ์ แจ้งไว้ 5.7 ล้าน
สิ่งที่น่าสนใจคือ
สองคน ไม่มีหนี้ สักบาทเดียว
รวมแล้ว
คู่สมรส นี้ มีสินทรัพย์ รวมกันทะลุ
478.5 ล้าน
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=05-2012&date=24&group=4&gblog=249
หมายเหตุ - วันที่ 28 ก.ย. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เผยแพร่บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนี้ 1.กรณีเข้ารับตำแหน่งของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ เมื่อวันที่ 10 ส.ค.54 2.กรณีพ้นจากตำแหน่งของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 25 ส.ค.54 และ 3.กรณีเข้ารับตำแหน่งของ ส.ส. เมื่อวันที่ 2 ส.ค.54
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=05-2012&date=24&group=4&gblog=249
หมายเหตุ - วันที่ 28 ก.ย. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เผยแพร่บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนี้ 1.กรณีเข้ารับตำแหน่งของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ เมื่อวันที่ 10 ส.ค.54 2.กรณีพ้นจากตำแหน่งของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 25 ส.ค.54 และ 3.กรณีเข้ารับตำแหน่งของ ส.ส. เมื่อวันที่ 2 ส.ค.54
นางอานิก
อัมระนันทน์ และคู่สมรส (ปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์)
ทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน
478,591,852 บาท
วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ปิยสวัสดิ์ ฟ้องแอดมินเพจ ทวงคืนพลังงานไทย (สำเนาคำฟ้อง)
วิธีปกป้องตัวเองของคนแอบดี คนฉ้อฉล ก็จะใช้ กม.นี่แหระครับ ปิดความชั่วฉ้อฉลของตน
โจรแจ้งตำรวจจับโจร เรื่องแบบนี้ ก็มีมาทุกยุคสมัย
คนลำบาก ก็คนน้อยๆ คนด้อยโอกาสของสังคม เอาเถอะจะลองสู้ดูสักตั้ง
อยากรู้ว่า ตุลาการศาล วินิจฉัยแบบไหนกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)