ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

ก.พลังงาน แหกตา ปชช.ซ้ำซาก






Goosoogong
ข้อมูลเรื่องตัวเลขน้ำมันดิบของไทยที่ผลิตได้และขายออกไป มีการบอกข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และนำมาใช้ทำโฆษณาหลอกประชาชน

จากรายงานสถานการณ์พลังงานไทยปี 2555 หน้า 4 ของ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน พบว่า การแสดงปริมาณปิโตรเลียมที่สามารถใช้ผลิตน้ำมันสำเร็จรูปได้ ก.พลังงาน ไม่ยอมแสดงการผลิตคอนเดนเสทในพื้นที่ร่วมไทย-มาเลเซีย อีก 97,000 บาร์เรลต่อวัน (ที่มาข้อมูลจากเว็บไซต์กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ) และก๊าซโซลีนธรรมชาติอีก 19,000 บาร์เรลต่อวัน (ข้อมูล จากสนพ.เอง อยู่ในส่วนการผลิตก๊าซธรรมชาติ) รวมตัวเลขที่หายไป 116,000 บาร์เรลต่อวัน 

ขณะที่การส่งออกน้ำมันดิบในภาพรวม ก.พลังงาน ไม่รายงานสิ่งที่เรียกว่า การส่งออก
อื่นๆ” 59,000 บาร์เรลต่อวัน (ข้อมูล จาก สนพ.เอง) ซึ่งจะทำให้ตัวเลขการส่งออกน้ำมันดิบของไทยที่แท้จริงสูงถึง 1 แสนบาร์เรลต่อวัน และเป็นที่สงสัยว่า คอนเดนเสท ที่ผลิตได้จากประเทศไทย มีการส่งออกรวมอยู่ในตัวเลขนี้หรือไม่ 

รานงานสถิติพลังงาน ปี 2554 ระบุยอดน้ำมันดิบ+คอนเดนเสท 2 แสนกว่า บาร์เรล/วัน
EPPO STAT - Energy Statistics of Thailand 2012 รายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย 2555



ก.พลังงาน "โกหก แหกตา ปชช. ตลอด" แล้วยังจะเชื่อถืออะไร แบบไหนได้อีก...ดูอันนี้ - เอกสาร เชฟรอน แจงว่า "สูบได้น้ำมันดิบวันละ 1 แสนบาร์เรล ส่งให้ไทยออยล์ บางจาก 4 หมื่น อีก 6 หมื่น ส่งออก..." ดูหน้าที่ 16-17 -http://www.chevronthailand.com/download/Chevron_profile.pdf







วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

เปิดรายงาน กมธ.วุฒิสภา ตรวจสอบ”รายได้รัฐจากสัมปทานปิโตรเลียม” และ “ตัวเลขส่งออกน้ำมันของไทย!”


27 พฤศจิกายน 2012
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยพับลิก้ารายงานว่า คณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน ในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาตรวจสอบเรื่อง“ส่วนแบ่งรายได้ของรัฐจากสัมปทานปิโตรเลียม” ที่มี น.ส.รสนา โตสิตระกูล เป็นประธานอนุ กมธ.ซึ่งเป็นการศึกษาธรรมาภิบาลในระบบพลังงานของประเทศภาค 3 และกมธ.เตรียมที่จะรายงานต่อที่ประชุมวุฒิสภาในวันที่ 28 พฤศจิกายนนี้ หากที่ประชุมวุฒิสภาเห็นชอบกับรายงานฉบับดังกล่าว ก็จะดำเนินการส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาข้อเสนอแนะต่อไป
การศึกษาและตรวจสอบกรณีส่วนแบ่งรายได้ของรัฐจากสัมปทานปิโตรเลียม เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้ออกประกาศเรื่องการให้สัมปทานการขุดเจาะแหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทยครั้งที่ 21 ประกาศฉบับดังกล่าวได้ลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวัน 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยระบุพื้นที่ที่จะให้สัมปทานรวมจำนวน 22 แปลง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 45,999 ตารางกิโลเมตร ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและในอ่าวไทยจำนวน 4 แปลง
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลและมีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประเทศ ได้ชี้แจงต่อ กมธ.ศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาลว่า กระทรวงพลังงานยังไม่มีนโยบายทบทวนหรือเปลี่ยนแปลงผลตอบแทนที่รัฐได้รับจากการให้สัมปทานปิโตรเลียม ที่มีการแก้ไขส่วนแบ่งล่าสุดเมื่อปี 2532 และใช้อยู่ในสัมปทาน Thailand III (ไทยแลนด์ทรี) โดยยืนยันว่ายังเป็นผลตอบแทนที่เหมาะสม
พรบ.ปิโตรเลียมล้าหลัง ทำชาติเสียหาย
การเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ในปี 2555 กระทรวงพลังงานจะยังคงเก็บค่าภาคหลวงในอัตราเดิมที่ร้อยละ 5-15 และภาษีปิโตรเลียมร้อยละ 50 แม้ว่าราคาน้ำมันดิบในปัจจุบันจะแตกต่างกันมากเมื่อเทียบกับปี 2532 ซึ่งน้ำมันดิบในขณะนั้นมีราคาเพียง 18 เหรียญต่อบาร์เรล แต่ในปัจจุบัน น้ำมันดิบมีราคาสูงถึง 80-120 เหรียญต่อบาร์เรล การที่กระทรวงพลังงานยืนยันว่าจะไม่มีการปรับปรุงส่วนแบ่งให้เหมาะสมกับยุคสมัย จะทำให้ประเทศชาติได้รับความเสียหายอย่างมหาศาล
ภายหลังที่ประชาชนทราบถึงนโยบายการให้สัมปทานรอบใหม่ โดยไม่มีการแก้ไขส่วนแบ่งให้มีความเป็นธรรมนี้ ก็เกิดกระแสต่อต้านคัดค้านและเรียกร้องให้รัฐบาลชะลอการให้สัมปทานครั้งที่ 21 ออกไปก่อน จนกว่าจะมีการทบทวนเพื่อแก้ไขส่วนแบ่งให้รัฐได้รับผลประโยชน์จากการให้สัมปทานปิโตรเลียมที่สูงขึ้นกว่าในปัจจุบัน
กมธ.ศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา จึงมอบหมายให้คณะอนุ กมธ.เสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน เร่งตรวจสอบและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสัมปทานปิโตรเลียมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเร่งด่วน พร้อมกับเสนอแนวทางการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับว่าด้วยการเก็บสัมปทานปิโตรเลียมให้ก้าวทันต่อยุคสมัย และสอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในรอบทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของประเทศให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
โดยอนุ กมธ. ได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลในแง่มุมต่าง ๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยการเชิญหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ เอกชน บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา มาให้ข้อมูลและความเห็น รวมถึงการศึกษาจากแหล่งข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
อนุกมธ.ลงพื้นที่สำรวจการขุดเจาะปิโตรเลียมเขตทวีวัฒนา กทม. โดยมีอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเป็นผู้ชี้แจง ที่มาภาพ : bangkokbiznews.com
จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยเริ่มมีการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2464 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงว่าจ้างนักธรณีวิทยาชาวอเมริกันมาสำรวจเฉพาะส่วนบนบก ทำให้ค้นพบพื้นที่ที่มีน้ำมันหลายแหล่ง ทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ การผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งดังกล่าว เช่น ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ยังคงมีต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ยุคใหม่ของการสำรวจปิโตรเลียมเริ่มขึ้นเมื่อรัฐบาลอนุญาตให้บริษัทเอกชนเข้ามาสำรวจและผลิตปิโตรเลียมภายใต้พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และเพื่อให้การประกอบกิจการปิโตรเลียมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เพื่อเป็นกฎหมายหลักในการควบคุมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทาน ต่อมา สมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เทคโนโลยีการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมก้าวหน้าไปกว่าสมัยแรก ๆ ทำให้สามารถขยายการสำรวจจากแหล่งบนบกไปสู่แหล่งในทะเลได้ และทำให้ค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบในอ่าวไทย ที่มีศักยภาพสูงและมีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา
กระทรวงพลังงานหมกเม็ดข้อมูลนำเข้าน้ำมันดิบเพื่อการส่งออก-วัตถุดิบปิโตรเคมี
การค้นพบในยุคนี้กลายเป็นจุดกำเนิดยุคทองของแหล่งพลังงานปิโตรเลียมในประเทศไทย รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณจำนวนมากโดยมอบหมายให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ซึ่งในขณะนั้นเป็นรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน ให้ทำหน้าที่การวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการนำก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นทรัพยากรของประชาชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศเป็นครั้งแรกในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2524
ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 จนถึง พ.ศ. 2555 ประเทศไทยมีการขุดเจาะสำรวจแหล่งปิโตรเลียมทางทะเลและบนบกรวมทั้งหมด 852 หลุม และมีหลุมที่พัฒนาเพื่อผลิตปิโตรเลียมทั้งก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท และน้ำมันดิบสำหรับจำหน่ายเชิงพาณิชย์ รวม 4,804 หลุม กระทรวงพลังงานได้เผยแพร่ในเว็บไซต์ว่า ประเทศไทยสามารถขุดเจาะและผลิตก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ คอนเดนเสท และก๊าซโซลีนธรรมชาติในปี 2555 ในปริมาณเทียบเท่าน้ำมันดิบคือประมาณวันละ 968,000 บาร์เรล หรือ 153 ล้านลิตรต่อวัน
นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานได้รายงานว่า ประเทศไทยมีการส่งออกน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปสูงถึง 300,000 บาร์เรลต่อวัน เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ไทยส่งออกน้ำมันดิบ 1.8 ล้านบาร์เรล หรือประมาณ 300 ล้านลิตร และคาดว่าปี 2555 ไทยจะส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้ถึง 75 ล้านบาร์เรล หรือ 11,925 ล้านลิตร
โดยที่กระทรวงพลังงานให้ข้อมูลต่อสาธารณชนว่าประเทศไทยมีพลังงานน้อยมาก เป็นประเทศที่ต้องพึ่งพิงการนำเข้าพลังงาน แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนว่าปิโตรเลียมที่นำเข้านั้นมีจำนวนหนึ่งเป็นการนำเข้าเพื่อ
1. กลั่นแล้วส่งออกเป็นน้ำมันสำเร็จรูป
2. ชดเชยปิโตรเลียมที่ขุดได้จากในประเทศแล้วนำไปใช้เป็นวัตถุดิบของธุรกิจปิโตรเคมี
3. เป็นปิโตรเลียมที่นำเข้าเพื่อชดเชยปิโตรเลียมทั้งก๊าซและน้ำมันดิบที่ขุดได้จากในประเทศที่มีการส่งออก
นอกจากนี้ คณะอนุ กมธ. ยังได้ค้นพบข้อมูลที่แตกต่างจากข้อมูลที่กระทรวงพลังงานเผยแพร่ทางสื่อสารธารณะ จากแหล่งข้อมูลต่างประเทศที่เป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจปิโตรเลียม ซึ่งมองเห็นศักยภาพอย่างสูงของประเทศไทยในการผลิตปิโตรเลียม และมีการจัดอันดับประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตปิโตรเลียมในอันดับต้นๆ ของโลก ได้แก่ สถาบัน Energy Information Administration (EIA) ของสหรัฐอเมริกา ได้จัดอันดับประเทศไทยเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในอันดับที่ 24 และเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบในอันดับ 32 จากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก
ไทยผลิตน้ำมันเหนือ 8 ประเทศโอเปก
ในปี 2554 กลุ่มโอเปกซึ่งมีประเทศสมาชิก 12 ประเทศ ระบุไว้ในรายงานประจำปี OPEC Annual Statistical Bulletin 2010/2011 ว่าประเทศไทยสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้เหนือกว่าสมาชิกกลุ่มโอเปกถึง 8 ประเทศ ได้แก่ อิรัก คูเวต โอมาน ไนจีเรีย เวเนซุเอลา ลิเบีย แองโกลา และเอกวาดอร์ ประเทศไทยผลิตได้น้อยกว่าเพียง 4 ประเทศ ได้แก่ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และแอลจีเรีย
ส่วนน้ำมันดิบ (รวมคอนเดนเสทและก๊าซโซลีนธรรมชาติ) ประเทศไทยผลิตได้ในอัตราใกล้เคียงกับหนึ่งในประเทศสมาชิกโอเปก คือ เอกวาดอร์
สหรัฐนำเข้าน้ำมันดิบจากไทย แต่ได้ใช้ราคาถูกกว่าคนไทย
แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบติดอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบไปขายต่างประเทศตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกาก็เป็นหนึ่งในลูกค้าของไทย แต่ปรากฏว่า ราคาน้ำมันเบนซินที่ขายแก่ประชาชนทั่วไปในกรุงเทพฯ กลับมีราคาแพงกว่าที่ขายภายในประเทศสหรัฐอเมริกาถึงลิตรละ 10-14 บาท ทั้งที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่พึ่งพิงการนำเข้าน้ำมันดิบจากทั่วโลก
โดยปัจจุบัน ราคาน้ำมันเบนซินสำเร็จรูปของไทยมีราคาแพงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งที่ผลิตน้ำมันดิบบางส่วนได้เองในประเทศ และเป็นประเทศที่ผลิตปิโตรเลียมติดอันดับต้นๆ ของโลก ดังนั้น ปัญหาพลังงานไทยจึงเกิดจากการบริหารจัดการของภาครัฐเอง
อนุ กมธ. ได้พบว่า นอกจากราคาน้ำมันเบนซินที่ขายในประเทศมีราคาแพงกว่าหลายประเทศแล้วยังพบอีกว่า ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ประเทศไทยยังได้รับผลประโยชน์เข้ารัฐในแต่ละปีจากการให้สัมปทานปิโตรเลียมต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีการผลิตปิโตรเลียมด้วยกันแล้ว ประเทศไทยได้รับผลตอบแทนจากการให้สัมปทานน้อยกว่าประเทศที่ผลิตปิโตรเลียมได้น้อยกว่าไทยอีกด้วย
อนุ กมธ. พบว่า ขณะที่ปริมาณการผลิตปิโตรเลียมในประเทศเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ราคาปิโตรเลียมในตลาดโลกก็ปรับตัวสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดเช่นกัน แต่ส่วนแบ่งที่รัฐได้รับจากการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติยังคงต่ำมาก ซึ่งเกิดจากพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และแก้ไขส่วนแบ่งในปี 2532 นั้นตามไม่ทันความเปลี่ยนแปลงของราคาปิโตรเลียมในตลาดโลก
เมื่อวันที่ 2 ก.ค.2555 น.ส.รสนา โตสิตระกูล ประธานคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาล (ขวา) และ พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ประธานเครือข่ายสภาธรรมภิบาล (ซ้าย) ร่วมกันแถลงข่าวที่รัฐสภา เรียกร้องให้มีการขึ้นค่าภาคหลวงฯ
เมื่อวันที่ 2 ก.ค.2555 น.ส.รสนา โตสิตระกูล ประธานคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาล (ขวา) และ พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ประธานเครือข่ายสภาธรรมภิบาล (ซ้าย) ร่วมกันแถลงข่าวที่รัฐสภา เรียกร้องให้มีการขึ้นค่าภาคหลวงฯ
ปัจจุบันประเทศไทยได้รับส่วนแบ่งจากสัมปทานน้ำมันดิบ คอนเดนเสท และก๊าซธรรมชาติ ในอัตราเพียงประมาณร้อยละ 30 ของมูลค่าปิโตรเลียมที่ขุดได้จากในประเทศ หากเปรียบเทียบกับประเทศพม่าที่มีการผลิตปิโตรเลียม และอยู่ในอันดับโลกที่ต่ำกว่าไทยถึง 12 อันดับ แต่กลับได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์มากถึงร้อยละ 80-90
ส่วนกัมพูชา แม้จะยังไม่มีการผลิตปิโตรเลียม แต่ก็ได้กำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ของรัฐสูงกว่าไทยมาก โดยทั้งพม่าและกัมพูชามีการกำหนดส่วนแบ่งกำไรนอกเหนือจากเก็บค่าภาคหลวงและภาษีเงินได้
อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ แจงเหตุไทยได้ส่วนแบ่งรายได้ต่ำกว่าเพื่อนบ้าน
อย่างไรก็ตาม “อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ” ชี้แจงเหตุผลที่รัฐบาลไทยไม่ปรับปรุงส่วนแบ่งรายได้ของรัฐจากสัมปทานปิโตรเลียมให้อยู่ในระดับเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า ก่อนที่จะมีการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ในปี 2555 เพราะเหตุผล 3 ประการ คือ
1. การที่ประเทศพม่าได้รับส่วนแบ่งจากสัมปทานมากกว่าไทย เพราะประเทศพม่ามีขนาดและปริมาณสำรองปิโตรเลียมใหญ่กว่าของไทย
2. ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานขนาดเล็ก ทำให้มีต้นทุนในการขุดเจาะสูงกว่าประเทศอื่นที่มีแหล่งพลังงานเป็นแอ่งใหญ่
3. ประเทศไทยมีสภาพทางธรณีวิทยาที่ขุดเจาะยากกว่าทุกประเทศในอาเซียน และสัดส่วนที่จะค้นพบแหล่งพลังงานมีอัตราต่ำ ทำให้ต้นทุนในการขุดเจาะสูง อนุ กมธ. ได้พบข้อมูลที่แตกต่างจากเหตุผลของกระทรวงพลังงาน ดังนี้
1) จากรายงานประจำปี 2553 ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ระบุชัดเจนว่า ผลการขุดเจาะสำรวจแหล่งปิโตรเลียมทั้งหมดในประเทศไทย จะพบปิโตรเลียมร้อยละ 71 ในขณะที่ผู้บริหารของบริษัท ปตท.สผ. เคยให้สัมภาษณ์ในรายการ “Money Channel” เมื่อเดือนสิงหาคม 2555 ว่า “สถิติการขุดเจาะทั่วโลกพบปิโตรเลียมร้อยละ 30 ถือว่าเก่ง อ่าวไทยเราคุ้นเคย เวลาสำรวจก็จะประสบความสำเร็จมากกว่าพม่า” แสดงว่าอัตราการพบปิโตรเลียมในประเทศไทยสูงถึงร้อยละ 71 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก จึงขัดแย้งกับข้อมูลของอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติที่ว่า สัดส่วนการค้นพบพลังงานในประเทศไทยมีอัตราต่ำ ทำให้ต้นทุนการขุดเจาะสูง
2)บริษัท HESS ซึ่งเป็นบริษัทขุดเจาะน้ำมันสัญชาติอเมริกันได้รายงานข้อมูลต้นทุนเฉลี่ยในการขุดเจาะน้ำมันต่อบาร์เรลต่อเหรียญสหรัฐไว้ทั่วโลก พบว่า ในเอเชียมีต้นทุนต่ำสุดต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยทั่วโลก โดยในปี 2555 มีต้นทุน 10.62 เหรียญต่อบาร์เรล ในขณะที่เกณฑ์เฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 17.40 เหรียญต่อบาร์เรล ส่วนต้นทุนต่ำที่สุดในโลกกลับพบว่าราคาน้ำมันดิบในเอเชียที่บริษัท HESS ขุดได้มีราคาสูงกว่าทุกภูมิภาคของโลก คือ มีราคา 111.71 เหรียญต่อบาร์เรลในปี 2554 และสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของราคาน้ำมันดิบทั่วโลกที่ราคา 89.99 เหรียญต่อบาร์เรล ในปีเดียวกันบริษัท HESS ลงทุนขุดเจาะในประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ 80 ของการลงทุนในเอเชีย จึงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าต้นทุนการขุดเจาะในประเทศไทยไม่ได้สูงอย่างที่มีการกล่าวอ้าง
3) กรณีที่มีการอ้างว่า พม่ามีปริมาณสำรองปิโตรเลียมใหญ่กว่าประเทศไทยจึงได้ผลตอบแทนสูงกว่าเป็นคำกล่าวที่ปราศจากข้อมูล เนื่องจากประเทศไทยไม่เคยเจาะสำรวจปริมาณสำรองของแหล่งพลังงานของตนเองเลย จึงทำให้ประเทศไทยไม่มีสิ่งที่เรียกว่าข้อมูลโดยตรง หรือ “First Hand Information” กระทรวงพลังงานจึงเพียงแต่รับและเชื่อข้อมูลของผู้รับสัมปทานฝ่ายเดียวว่ามีน้อยเพื่อให้จ่ายผลประโยชน์ในอัตราต่ำ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต่างจากการบริหารจัดการของประเทศอื่น ที่ต้องเจาะสำรวจศักยภาพปิโตรเลียมเสียก่อนแล้วจึงให้สัมปทาน ตัวอย่างเช่น ประเทศกัมพูชาได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อประเมินปริมาณปิโตรเลียมถึง 2 ราย จึงทำให้ประเทศกัมพูชามีอำนาจต่อรองผลประโยชน์ให้กับประเทศได้มากกว่าไทย
แต่ที่สำคัญคือข้อมูลของสถาบัน EIA ได้จัดอันดับการผลิตก๊าซของไทยอยู่ที่อันดับ 24 ของโลกส่วนพม่าอยู่ที่อันดับ 38 ส่วนประเทศกัมพูชายังไม่ติดอันดับโลก
หลักคิดของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติในการส่วนแบ่งรายได้จากสัมปทานปิโตรเลียม คือ ทรัพยากรปิโตรเลียมก่อนขุดขึ้นมาเป็นสิ่งที่ไม่มีมูลค่า ไม่นับเป็นต้นทุน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้แสดงวิธีคำนวณส่วนแบ่งรายได้ โดยเอาเงินลงทุนของบริษัทเอกชนที่รับสัมปทานมาหักออกจากมูลค่าปิโตรเลียมที่ขุดได้จากแผ่นดินไทย เหลือเท่าไหร่จึงนำมาแบ่งกันระหว่างรัฐกับเอกชนในสัดส่วนใกล้เคียงกันในอัตราส่วนรายได้รัฐ:รายได้เอกชนคิดเป็นร้อยละ 55:45
วิธีคิดเช่นนี้เป็นวิธีคิดที่ถือว่าผืนแผ่นดินไทยที่บรรพบุรุษได้สละชีวิตเลือดเนื้อปกป้องแผ่นดินนี้มาเป็นสิ่งที่ไม่มีมูลค่า จึงสามารถปล่อยให้เอกชนทั้งสัญชาติไทยและต่างประเทศเข้ามาจับจองสัมปทานราคาถูกเพื่อสร้างผลกำไรอย่างเต็มที่
วิธีคิดเช่นนี้แตกต่างโดยสิ้นเชิงจากวิธีคิดตามหลักการลงทุนที่เป็นสากล ที่ต้องคิดการแบ่งผลประโยชน์ตามสัดส่วนการลงทุน โดยรัฐลงทุนด้วยทรัพยากร ส่วนเอกชนลงทุนด้วยอุปกรณ์และการบริหารจากข้อมูลตัวเลขที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติชี้แจงเกี่ยวกับส่วนแบ่งรายได้จากสัมปทานปิโตรเลียมเป็นดังนี้
• มูลค่าปิโตรเลียมจากแผ่นดินไทย (2524-2555) 3.415 ล้านล้านบาท
• หักเงินลงทุนในการประกอบกิจการปิโตรเลียม 1.461 ล้านล้านบาท
• คงเหลือรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1.954 ล้านล้านบาท
• รัฐได้ส่วนแบ่ง 1.074 ล้านล้านบาท = ร้อยละ 55
• เอกชนได้ส่วนแบ่ง 0.88 ล้านล้านบาท = ร้อยละ 45
กำไรเข้ากระเป๋าเอกชน 60% รัฐได้ 31%
เมื่อนำตัวเลขของกรมเชื้อเพลิงฯ มาคำนวณตามหลักการคิดส่วนแบ่งตามสัดส่วนการลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน รัฐลงทุนด้วยทรัพยากรมีมูลค่า 3.415 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70 แต่ได้ผลตอบแทน 1.074 ล้านล้านบาท เท่ากับได้ผลตอบแทนต่อการลงทุนเพียงร้อยละ 31 ส่วนเอกชนลงทุน 1.461 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 แต่ได้ผลตอบแทน 0.88 ล้านล้านบาท คิดเป็นผลตอบแทนต่อการลงทุนร้อยละ 60 จึงเห็นได้ว่ารัฐได้ผลตอบแทนต่อการลงทุนต่ำกว่าเอกชนถึงครึ่งต่อครึ่ง ดังนั้น ส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่รัฐได้รับจึงเป็นสัดส่วนที่ไม่เป็นธรรม
ยิ่งกว่านั้น ส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่ได้รัฐได้รวมภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่ตามกฎหมายได้ระบุว่าเก็บร้อยละ 50 ในจำนวนดังกล่าวได้รวมภาษีนิติบุคคลร้อยละ 30 อยู่ด้วย ภาษีนิติบุคคลนั้นเป็นสิ่งที่บุคคลและนิติบุคคลที่มีรายได้ต้องเสียภาษีเงินได้ให้แก่รัฐอยู่แล้ว การนำมารวมไว้ทำให้ส่วนแบ่งของรัฐดูสูงขึ้น แต่เมื่อหักภาษีส่วนนี้ออกไป ผลตอบแทนของรัฐจากสัดส่วนการลงทุนจะต่ำกว่านี้มาก
เรื่องปัญหาความทับซ้อนทางผลประโยชน์ในการกำกับกิจการปิโตรเลียม จากการศึกษาของอนุ กมธ.พบว่า ปัญหาพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งในการบริหารจัดการทรัพยากรด้านปิโตรเลียมของไทย เกิดจากปัญหาการขาดธรรมาภิบาลในการกำกับดูแล เพราะเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงพลังงานไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารในบริษัทธุรกิจพลังงาน และรับผลประโยชน์ตอบแทนที่เชื่อมโยงกับผลประกอบการจากธุรกิจพลังงาน ทำให้เกิดบทบาทที่เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม ซึ่งมีผลทำให้ข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชนเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประเทศขาดความเที่ยงตรง และอาจขาดความน่าเชื่อถือ

ข้อเสนอแนะของอนุ กมธ.เสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา

จากการศึกษาและตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว อนุ กมธ. เห็นว่า เนื่องจากทรัพยากรปิโตรเลียมมีความสำคัญยิ่งต่อประเทศ เป็นทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด และมีราคาสูงขึ้น อนุ กมธ. จึงมีความเห็นและข้อเสนอต่อรัฐบาลดังนี้
1. เสนอให้พิจารณาและทบทวนแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 โดยเฉพาะการทบทวนและแก้ไขในเรื่องต่อไปนี้
1.1) เรื่องสัดส่วนผลประโยชน์สุทธิที่รัฐพึงได้จากผลผลิตปิโตรเลียมทุกชนิด โดยควรถือหลักการแบ่งจาก “ปริมาณผลผลิตที่ได้” ตามปริมาณที่เกิดขึ้นจริงโดยไม่อิงราคา เพื่อหลีกเลี่ยงข้อโต้แย้งเรื่องราคาและคุณภาพที่แท้จริงของปิโตรเลียมที่ผลิตได้ ซึ่งรัฐควรกำหนดส่วนแบ่งให้ประเทศได้รับไม่ต่ำกว่าประเทศที่มีผลผลิตใกล้เคียงกัน หรือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80-90 ของปริมาณปิโตรเลียมที่ผลิตได้จากทุกแหล่งของประเทศไทย
1.2) เรื่องการเพิ่มอำนาจในการต่อรองเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศกล่าวคือ ควรแก้ไขกฎหมายเรื่องการเป็นเจ้าของอุปกรณ์การขุดเจาะ อุปกรณ์การขุดเจาะของเอกชนที่นำเข้ามาถึงพื้นที่ขุดเจาะบนแผ่นดินไทยให้ตกเป็นของรัฐโดยทันที เช่นเดียวกับหลักการให้สัมปทานของบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ทั้งนี้เพื่อรัฐจะได้มีอำนาจในการต่อรองเรื่องผลประโยชน์ใหม่ และสามารถรักษาส่วนแบ่งที่ดีขึ้นในการต่ออายุสัมปทาน หรือเพื่อป้องกันผลประโยชน์ของรัฐจากความเปลี่ยนแปลงหรือความผันผวนใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตทั้งเรื่องปริมาณและราคาปิโตรเลียม รวมไปถึงเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบปริมาณการผลิตได้อย่างถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรม แก่ผู้รับสัมปทาน และแก่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากร
2. เสนอให้พิจารณาและทบทวนแก้ไขพระราชบัญญัติภาษีปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 โดยเฉพาะการทบทวนและแก้ไขมาตราที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการให้เก็บภาษีปิโตรเลียมร้อยละ 50 ด้วยเหตุผลดังนี้
2.1) การระบุดังกล่าว ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่า รัฐได้ผลตอบแทนจากสัมปทานปิโตรเลียมสูง ทั้งที่ความเป็นจริงคือ ภาษีปิโตรเลียมร้อยละ 50 ตามกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ ได้รวมภาษีนิติบุคคลร้อยละ 30 อยู่ด้วย จึงเห็นควรให้แยกภาษีนิติบุคคลออกจากภาษีปิโตรเลียม เพื่อความเสมอภาคและความเป็นธรรม
2.2)การศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการเก็บภาษีปิโตรเลียมจากประเทศอื่นๆ เพื่อประกอบการทบทวนแก้ไขกฎหมายไทยให้มีประสิทธิภาพขึ้น ตัวอย่างเช่น ตามกฎหมายของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศพม่าและกัมพูชา ทั้งสองประเทศมีการเก็บค่าภาคหลวงจากสัมปทานปิโตรเลียมร้อยละ 10 และร้อยละ 12.5 ตามลำดับ โดยทั้งสองประเทศได้แยกการเก็บภาษีนิติบุคคลร้อยละ 30 ออกจากภาษีปิโตรเลียม โดยเพิ่มการเก็บส่วนแบ่งกำไรแทนการเก็บภาษีปิโตรเลียม กล่าวคือ ประเทศพม่าเก็บส่วนแบ่งกำไรจากน้ำมันดิบเพิ่มอีกในอัตราร้อยละ 50-80 และเก็บส่วนแบ่งกำไรจากก๊าซธรรมชาติอีกร้อยละ 45-80 ขณะที่ประเทศกัมพูชาเก็บส่วนแบ่งกำไรจากน้ำมันดิบอีกร้อยละ 40-60 และเก็บส่วนแบ่งกำไรจากก๊าซธรรมชาติอีกร้อยละ 35 เป็นต้น
3.ควรมีการแก้ไขปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนของข้าราชการระดับสูงในกระทรวงพลังงาน รัฐควรยึดหลักปฏิบัติสากลที่ให้ความสำคัญในการแยกบทบาทระหว่างผู้กำกับดูแลออกจากบทบาทการเป็นผู้ปฏิบัติในธุรกิจเอกชน เพื่อทำให้กลไกการตรวจสอบความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันมีผลในทางปฏิบัติจริง และเพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของประเทศในด้านปิโตรเลียมมีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ
4. ควรมีการดำเนินการทบทวนและปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอที่ 1 ถึง 3 ให้เสร็จสิ้นก่อนการเปิดให้สัมปทานรอบที่ 21 และก่อนการต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียมทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

ย้อนอดีต เพื่อเข้าใจปัจจุบัน และแก้ไขอนาคต


 ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีการเปลี่ยนแปลงผันผวนค่อนข้างมาก ขณะที่การบริโภคน้ำมันของทั้งโลกที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จาก 77.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี ค.ศ.2001 เป็น 83.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี ค.ศ.2005 (Scholtens and Wang (2008)) โดยมีสาเหตุมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ผ่านมา และโดยเฉพาะจากการเพิ่มขึ้นอย่างมากของอุปสงค์น้ำมันดิบในประเทศจีนและอินเดีย อันเป็นผลมาจากการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศนี้
     ความต้องการใช้พลังงานของประเทศไทย ได้ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจเช่นกัน ช่วงระหว่าง ค.ศ.1981-2000 ความต้องการใช้พลังงานของประเทศไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยในอัตรา 8.6% ต่อปี โดยภาคอุตสาหกรรมไทยมีความต้องการใช้น้ำมันคิดเป็นประมาณ 29.8% ของอุปสงค์ต่อพลังงานขั้นสุดท้าย (Total final energy demand) ทั้งหมดของประเทศในปี ค.ศ.1981 และเพิ่มขึ้นเป็น 32.4% ในปี ค.ศ.2000
     ขณะที่ภาคขนส่งซึ่งเป็นภาคที่มีส่วนแบ่งของความต้องการใช้พลังงานสูงที่สุด มีการขยายตัวของส่วนแบ่งความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายจาก 46.1% ในปี ค.ศ.1981 มาเป็น 47.6%
     ประเทศไทยซึ่งมีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดและเป็นประเทศเล็ก อีกทั้งยังต้องพึ่งพิงการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก จึงยากที่ประเทศไทยจะหลีกเลี่ยงผลกระทบจากภาวะความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผลสืบเนื่องที่ตามมาไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ ปัญหาเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอย และปัญหาการว่างงานที่มักจะเกิดขึ้นภายหลังวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกในแต่ละครั้ง
     สำหรับการศึกษานี้ จะเน้นเฉพาะเรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบจากความผันผวนที่เพิ่มมากขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่จะมีต่อเศรษฐกิจมหภาคของไทย รวมทั้งนัยเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก
ความสำคัญของพลังงานนำเข้าจากต่างประเทศต่อระบบเศรษฐกิจไทย
 
     ประเทศไทยเป็นประเทศขนาดเล็กที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันเป็นจำนวนมากตลอดมา โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละปี พลังงานรวมขั้นสุดท้ายที่ใช้เพื่อการบริโภคในประเทศ (final modern energy consumption) นั้น เป็นพลังงานที่ได้มาจากการนำเข้า (commercial primaryenergy import (net)) คิดเป็นสัดส่วนสูงมากกว่า 90% ของพลังงานขั้นสุดท้ายที่ใช้เพื่อการบริโภคทั้งหมดในประเทศ ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยสองประการ คือ ประเทศนั้นๆ มีความจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานขั้นต้นเพื่อใช้ในการบริโภคในประเทศเป็นอย่างมาก และ/หรือการแปรรูปพลังงานเบื้องต้น (primary energy) ไปเป็นพลังงานขั้นสุดท้าย (final energy) ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
     ประเทศไทยต้องนำเข้าพลังงานเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะพบว่าเพิ่มสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าช่วงปีตั้งแต่ พ.ศ.2543 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการนำเข้าพลังงานประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่น้ำมันดิบในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยเป็นการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับพลังงานอื่นๆ นั่นเอง
     และในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ประเทศไทยได้มีการนำเข้าพลังงานเมื่อเทียบกับ GDP ที่เพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ นี้ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกก็มีแนวโน้มที่ปรับตัวสูงและผันผวนมากขึ้นด้วย ดังจะเห็นได้จากสถิติข้อมูลของราคาน้ำมันดิบดูไบ ที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาเฉลี่ย 15.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ.2538 มาอยู่ที่ราคาเฉลี่ย 86.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ.2550
     ผลจากความผันผวนของราคาน้ำมันตลาดโลก ทำให้รัฐบาลไทยในขณะนั้นตัดสินใจใช้นโยบายตรึงราคาจำหน่ายน้ำมันในประเทศผ่านกลไกเครื่องมือของรัฐ คือ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยตรึงราคาน้ำมันขายปลีกในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม พ.ศ.2547 และตรึงราคาน้ำมันดีเซลอย่างเดียวต่อไปอีกถึงมิถุนายน 2548 โดยใช้วิธีการกู้เงินจากสถาบันการเงิน และใช้วิธีออกพันธบัตรเพื่อระดมทุนเข้ามาอุดหนุนราคาน้ำมัน ผลจากการดำเนินนโยบายดังกล่าว ทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีภาระหนี้สูงถึง 82,988 ล้านบาท
     
     ผลจากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบของไทยในปี พ.ศ.2549 คิดเป็นเงิน 596 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับการนำเข้าพลังงานอื่นๆ ทั้งหมดแล้ว ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าพลังงานสุทธิโดยรวมของไทยในปี พ.ศ.2549 สูงเป็น 9% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

โครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศไทย
     
เหตุผลที่ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศมาก เนื่องจากประเทศไทยมีความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายที่เป็นพลังงานเชิงพาณิชย์ที่สูงกว่าที่สามารถผลิตได้เอง ซึ่งพลังงานเชิงพาณิชย์ ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้า นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีสัดส่วนความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายที่เป็นพลังงานเชิงพาณิชย์สูงถึง 82.6% ขณะที่พลังงานใหม่และหมุนเวียนจะมี 17.4% ในปี พ.ศ.2549 อย่างไรก็ตาม น้ำมันสำเร็จรูปจะมีสัดส่วนการใช้ในประเทศไทยสูงที่สุดเท่ากับ 50% พลังงานใหม่และพลังงานหมุนเวียนเท่ากับ 17% ไฟฟ้า 17% ถ่านหิน 12% และก๊าซธรรมชาติ 4%
     ความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่จะมาจากสาขาเศรษฐกิจใหญ่ๆ จำนวนสามสาขาด้วยกัน ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมการผลิต (คิดเป็น 38%) สาขาขนส่ง (36%) และสาขาบ้านอยู่อาศัย (14%) ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะคิดเป็น 88% ของความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของทั้งประเทศไทยในปี พ.ศ.2549
โครงสร้างราคาและภาษีพลังงานในประเทศไทย
    
สูตรราคาน้ำมันที่ใช้อยู่ในปัจจุบันประกอบด้วย ราคาขายน้ำมันหน้าโรงกลั่น และราคาขายปลีกที่สถานีบริการ โดยที่ราคาหน้าโรงกลั่นจะประกอบด้วย ราคาต้นทุนหน้าโรงกลั่นบวกด้วยภาษีสรรพาสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และเงินกองทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ส่วนราคาขายปลีกที่หน้าสถานีบริการจะเท่ากับต้นทุนราคาน้ำมันที่โรงกลั่น (ประมาณ 55% ของราคาขายปลีก) บวกด้วยภาษีต่างๆ ตามที่กล่าวไปแล้ว (ประมาณ 35%) และค่าการตลาดของผู้ค่าน้ำมัน (ประมาณ 10%) ทั้งนี้ ทำให้ในแต่ละปี รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีพลังงานเป็นจำนวนมาก
     เมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนของรายได้รัฐบาลจากพลังงานแต่ละประเภทสำหรับปี 2550 จะเห็นว่า รายได้จากภาษีสรรพสามิตเป็นแหล่งรายได้ใหญ่ที่สุด มีสัดส่วนสูงที่สุดถึง 46% ของรายได้รัฐบาลทั้งหมดจากพลังงาน
แบบจำลองและผลการศึกษา
     
แบบจำลองที่ใช้ในการศึกษานี้ ได้พัฒนามาจากแบบจำลอง dynamic general equilibrium model เพื่อใช้ศึกษาผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีต่อเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทย และจากแบบจำลองของการศึกษาสามารถแสดงได้ ดังนี้ สมมุติว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความผันผวนสูงมากขึ้นเท่ากับ 1 หน่วย ค่าความเบี่ยงเบน (standard deviation) ของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกแล้ว จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจมหภาค ดังนี้
-ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้น้ำมันดิบ
     ส่งผลให้ผู้ประกอบการผลิตต้องทำการลดการใช้ปริมาณน้ำมันดิบให้น้อยลงจากแนวโน้มในระยะยาว โดยขนาดการลดลงของความต้องการใช้น้ำมันดิบนำเข้าในไตรมาสแรกภายหลังเกิดความผันผวนของราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น เท่ากับประมาณ 0.7% จากแนวโน้มระยะยาว ก่อนที่จะค่อยๆ ปรับตัวเข้าหาแนวโน้มในระยะยาว
-ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ปัจจัยทุน
     ผู้ประกอบการผลิตมีการใช้ปัจจัยทุนลดลงทันทีจากแนวโน้มในระยะยาวในไตรมาสที่ 1 เท่ากับ 2.5% เนื่องจากปัจจัยทุนเป็นปัจจัยการผลิตที่ต้องใช้ประกอบกับปัจจัยการผลิตประเภทน้ำมันดิบนั่นเอง
-ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงการทำงาน
     ผู้ประกอบการผลิตจะทำการลดชั่วโมงการทำงาน (หรือการจ้างแรงงาน) ลงทันทีจากแนวโน้มระยะยาวในไตรมาสที่ 1 เท่ากับประมาณ 2.3%
-ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าผลผลิต
     จะส่งผลให้การใช้ปัจจัยการผลิตทุกชนิดลดลงจากแนวโน้มในระยะยาว และส่งผลทำให้มูลค่าของผลผลิตโดยรวมในประเทศมีค่าลดลงด้วย โดยจะลดลงประมาณ 4% ในไตรมาสที่ 1 ก่อนจะค่อยๆ ปรับตัวเข้าสู่แนวโน้มในระยะยาว
-ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงระดับการบริโภคของภาคเอกชน
     ระดับการบริโภคของภาคเอกชนจะลดลงทันทีในไตรมาสที่ 1 เท่ากับประมาณ 2.5%
-ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภาระหนี้ของภาครัฐ
     จะมีผลทำให้ครัวเรือนมีรายได้น้อยลง และทำให้ลดการถือพันธบัตรรัฐบาลลงด้วย
-ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ
     เนื่องจากต้องใช้เงินเพื่อนำเข้าน้ำมันเป็นมูลค่าที่สูงขึ้น ทำให้ต้องลดการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศลง ส่งผลให้ครัวเรือนถือพันธบัตรต่างประเทศลดน้อยลงในช่วงแรกๆ
มติชน    วัน : 2008-07-07

ตอบโจทย์...สัมปทานน้ำมัน เพื่อใคร? ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง


ตอบโจทย์...สัมปทานน้ำมัน เพื่อใคร? ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง



ตอบโจทย์...สัมปทานน้ำมัน เพื่อใคร?
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
http://hilight.kapook.com/view/85270
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก รายการตอบโจทย์

          เชื่อหรือไม่ว่า จากการสำรวจเรื่องแหล่งพลังงานที่มีอยู่ทั่วโลกโดยประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ประเทศไทยนั้นสามารถผลิตน้ำมันได้เป็นอันดับที่ 32 ของโลก และยังผลิตก๊าซธรรมชาติได้เป็นอันดับที่ 24 ของโลก แต่ทว่า...คำถามที่ค้างคาใจคนไทยหลาย ๆ คนก็คือ เมื่อเป็นเช่นนี้ "แล้วทำไมคนไทยถึงใช้น้ำมันราคาแพง?"...รายการตอบโจทย์ ทางช่องไทยพีบีเอส เมื่อคืนวันที่ 25 เมษายน จึงได้เชิญ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา มาพูดคุยกันถึงเรื่องนี้...

          เริ่มแรกคงต้องถามก่อนเลยว่า ประเทศไทยมีทรัพยากรน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ติดอันดับโลกอย่างที่ประเทศสหรัฐอเมริกาสำรวจมาจริงหรือไม่? ซึ่ง ม.ล.กรกสิวัฒน์ ก็บอกว่า ทรัพยากรของประเทศไทยติดอันดับโลกอย่างที่สำรวจมาจริง ถือว่าไม่ขี้เหร่เลย และสหรัฐอเมริกายังยกให้ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของโลกด้วยซ้ำ ส่วนทรัพยากรน้ำมันนั้น เราได้อันดับที่ 32 ใกล้เคียงกับประเทศเอกวาดอร์ ซึ่งอยู่ในกลุ่มโอเปค 
          อย่างไรก็ตาม ม.ล.กรกสิวัฒน์ ยังให้ไปดูเรื่องความหมายของน้ำมันดิบที่ใช้กันอยู่ในตอนนี้ด้วย เพราะทางกระทรวงพลังงานไม่ได้อธิบายให้ประชาชนเข้าใจคำว่า "น้ำมันดิบ" อย่างชัดเจนเท่าใดนัก ว่า สิ่งที่เรียกรวมเป็นน้ำมันดิบนั้น ได้รวมสิ่งที่เรียกว่า "คอนเดนเสท" เข้าไปด้วย ถ้าจะพูดให้ชาวบ้านเข้าใจก็คือ เหมือนกับหัวกะทิของน้ำมันดิบ พวกนี้จะมีราคาแพง ถ้านำมากลั่นจะได้เบนซินเยอะ ได้ดีเซลพอสมควร ไม่ค่อยมีน้ำมันเตา 

          ทั้งนี้ การที่ตนนำเรื่องอันดับโลกมาพูดนี้ ไม่ได้หมายความว่า ประเทศไทยมีพลังงานมาก สามารถใช้เปลืองได้ แต่อยากให้ดูว่า ทำไมประเทศที่มีอันดับโลกต่ำกว่าเรา จึงได้ผลประโยชน์จากพลังงานมากกว่าเรา ซึ่งตนก็ได้สอบถามกระทรวงพลังงานไป ทางกระทรวงได้ตอบกลับมาว่า เป็นเพราะเรามีศักยภาพต่ำ และมีกระเปาะเล็ก แต่ตนกลับเห็นว่า เรื่องกระเปาะเล็ก หรือกระเปาะใหญ่นั้นมันพิสูจน์ไม่ได้เลย ไม่มีใครจะดำดินลงไปดูได้ สิ่งที่เราพิสูจน์ได้คือ ปริมาณที่เราสามารถผลิตได้ต่อวันต่างหาก 

ตอบโจทย์...สัมปทานน้ำมัน เพื่อใคร?

          "ในเมื่อสิ่งที่เราจับต้องได้มันยืนยันแล้วว่า เรามีมากกว่าหลาย ๆ คน แต่หลาย ๆ คนที่มีน้อยกว่าเรา กลับได้ประโยชน์มากกว่าเรา ยกตัวอย่าง ประเทศโบลิเวีย ซึ่งมีก๊าซธรรมชาติมาก ได้ผลประโยชน์ตอบแทนจากก๊าซธรรมชาติเข้าประเทศถึง 82% แต่ประเทศไทยเรามีอันดับสูงกว่าโบลิเวีย 9 อันดับ แต่เราได้ผลตอบแทนน้อยกว่า เป็นเพราะอะไร?" 
ม.ล.กรกสิวัฒน์ ตั้งคำถาม

          อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน ยังกล่าวต่อว่า ต้องบอกว่าประเทศไทยโชคร้ายมาก จากที่ตนเคยอ่านกฎบัตรในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่เขาใช้เป็นสากล เขาบอกว่าก่อนให้สัมปทานปิโตรเลียม รัฐจะต้องสำรวจปริมาณสำรองเสียก่อน เหมือนเรามีบ้านเราก็ต้องดูว่าบ้านเราเป็นอย่างไร จะได้ขายได้ราคาดี ๆ จากนั้นค่อยเรียกผู้ประมูลมาประมูลว่า ตรงนั้นมีน้ำมันปริมาณเท่าไร ผู้ประมูลจะได้จ่ายให้ประเทศเราในราคาสูง ประเทศไทยก็จะได้รายได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

          แต่กระทรวงพลังงานกลับไม่ให้ผู้ประมูลมาดูบ่อน้ำมันเลย เหมือนกับเราจะขายบ้าน แต่ไม่ให้คนซื้อบ้านเข้ามาดูสภาพบ้านก่อนเลย ทำให้คนซื้อไม่มั่นใจ ก็ต้องจ่ายให้เราน้อย ซึ่งทางกระทรวงได้ยอมรับต่อคณะอนุกรรมการฯ แล้วว่า ไม่เคยจ้างใครสำรวจปริมาณสำรองน้ำมันเลย ตนจึงได้ถามในที่ประชุมว่า "ทำไมถึงไม่จ้างใครมาสำรวจ" คำตอบที่ได้คือ "ไม่มีงบประมาณ"

          ทั้งนี้ หลายคนอาจสงสัยว่า ต้องใช้งบประมาณมากขนาดไหนหรือ ถึงไม่มีงบประมาณสำรวจปริมาณน้ำมันสำรอง ตรงนี้ ม.ล.กรกสิวัฒน์ ระบุว่า กลุ่มปิโตรเลียมเมืองไทยมีรายได้ถึง 5 แสนล้านบาท รายได้ 1% ของทั้งหมดคือ 5 พันล้านบาท หากแบ่งส่วนนี้ออกมาใช้สำรวจต้องบอกว่าพอเสียยิ่งกว่าพอ แต่ท่านก็ไม่ทำ ข้อมูลที่เอาออกมาพูดกันนั้น มาจากผู้ขุดเจาะทั้งนั้น ซึ่งผู้ขุดเจาะก็มีผลประโยชน์ในเรื่องนี้
ตอบโจทย์...สัมปทานน้ำมัน เพื่อใคร?

          "แล้วผู้ขุดเจาะเขาจะบอกเราหรือว่ามีน้ำมันมากมายเหลือเฟือ ขืนบอกอย่างนั้นเราก็ขอแก้กฎหมายเอาผลประโยชน์เยอะ ๆ ถูกต้องไหม ดังนั้น ข้อมูลที่รับฝ่ายเดียวมันขัดต่อหลักธรรมาภิบาลสากล และขัดต่อหลักการจัดการที่ดี คือ Check and Balance ตรวจสอบและถ่วงดุล ที่เราไม่มีในการให้สัมปทานบ่อน้ำมันเลย"

          เมื่อถามว่า "นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไทยใช้น้ำมันแพงใช่หรือไม่?" ม.ล.กรกสิวัฒน์ แจกแจงให้ฟังว่า นี่คือรากฐานเลยว่า เรามี แต่เราไม่เคยมีข้อมูลของเราเอง แต่เรากลับไปบอกให้ผู้ขุดเจาะเอาข้อมูลมาให้หน่อย แต่ผู้ขุดเจาะก็เป็นคนที่มีผลประโยชน์ในบ่อน้ำมันนั้น

          "ตามหลักการบริหารจัดการที่ดี ใครเขาทำกันแบบนี้? ถ้าเราอ้างว่าเป็นเพราะกฎหมาย ก็อย่าลืมว่า กฎหมายนั้นจัดทำโดยมนุษย์ ดังนั้นเราแก้ได้ มูลค่าปิโตรเลียมตอนนี้มากถึง 5 แสนล้านบาท เป็นเงินมหาศาล ทำไมเราจะเจียดงบประมาณไปสำรวจเองไม่ได้ เมื่อสำรวจแล้วออกมาแบบไหนก็แบบนั้นแหละ"


          เมื่อพูดถึงเรื่องปริมาณสำรองของน้ำมันที่บอกกันว่า อีก 8 ปีจะหมดแล้วนั้นเป็นเรื่องจริงไหม ม.ล.กรกสิวัฒน์ บอกว่า สมัยที่ตนเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยก็มีคนบอกว่า อีก 20 ปี น้ำมันก็จะหมดแล้วเช่นกัน ตอนนี้ก็เกินแล้ว แล้วมีใครรับผิดชอบไหม ต้องบอกว่าการบอกผิดทำให้การวางนโยบายผิดพลาดได้ 

          ทั้งนี้ ตนเคยไปอ่านงบการเงินของ ปตท. ที่เขาเปิดเผยในตลาดหลักทรัพย์ น่าตกใจมาก เพราะคำว่าปริมาณสำรองในความหมายของ ปตท. ไม่เหมือนกับของสหรัฐอเมริกา โดย ปตท. เขียนไว้ว่า น้ำมันที่เจอในใต้ดินทั้งหมดไม่นับเป็นปริมาณสำรอง จะนับเฉพาะที่ทำสัญญาขายแล้วเท่านั้นแต่ของสหรัฐฯ นับทั้งหมด ตนเคยถามผู้บริหารของ ปตท.สผ. แล้วในเรื่องนี้ก็ได้คำตอบมาว่า เพราะเขาเข้มงวดกว่าทางสหรัฐฯ

          อย่างไรก็ตาม ม.ล.กรกสิวัฒน์ กลับมองว่า การไม่นับเช่นนี้จะทำให้ปริมาณสำรองน้อยลง ซึ่งจะดีต่อผู้ขุดเจาะที่จะบอกรัฐบาลได้ว่า ในเมื่อปริมาณสำรองมีแค่ไหน รัฐจะมาเอาปริมาณมากมายได้อย่างไร 


          "สรุปง่าย ๆ เลย สมมติ ปริมาณสำรองขุดได้ 30 ปี แต่เขาทำสัญญาขายไว้ 8 ปี เขาก็บอกว่า มี 8 ปีนะ ไม่ได้มี 30 ปี ก็เขียนอยู่แล้วว่านับเฉพาะที่ทำสัญญาขายแล้ว แบบนี้จะนับเป็นปริมาณสำรองตามมาตรฐานสากลได้หรือไม่ มันก็ไม่ได้ ดังนั้น วันนี้แผ่นพับของกระทรวงจึงออกมาว่า น้ำมันจะหมดใน 8 ปี ผมถามหน่อยว่ามันบนความหมายอะไร เพราะ ปตท. กำหนดความหมายไว้อีกแบบหนึ่ง อย่างนี้ขุดเจอเท่าไรก็ไม่นับรวม"

ตอบโจทย์...สัมปทานน้ำมัน เพื่อใคร?

          ม.ล.กรกสิวัฒน์ ยืนยันว่า สิ่งที่เขาพูดนั้นนำมาจากเอกสารของ ปตท. เอง ซึ่งรายงานต่อผู้ถือหุ้นตนจึงอยากถามกระทรวงว่า เวลาให้สัมปทานไปก็ไม่ทำตามมาตรฐานสากล แล้วพอมาดูเรื่องปริมาณสำรองก็ยิ่งไม่ตรงกับมาตรฐานสากลอีก แบบนี้ 2 มาตรฐานหรือไม่ ทุกอย่างมันขัดต่อกฎบัตรของมาตรฐานสากลเกือบทุกข้อ และทางกระทรวงก็ยังไม่คิดแก้ไข แม้ที่ผ่านมาจะมีการแก้ไข พ.ร.บ. เกี่ยวกับเรื่องนี้ถึง 6 รอบ แต่ก็ยังน่าผิดหวัง เพราะยิ่งแก้ยิ่งแย่ลง

          อย่างไรก็ตาม เคยมีคนพูดว่า น้ำมันที่ขุดได้จากประเทศไทยมีคุณภาพไม่เทียบเท่าฝั่งยุโรป แต่ ม.ล.กรกสิวัฒน์ ได้ให้ข้อมูลว่า แล้วทราบหรือไม่ว่า "น้ำมันในอ่าวไทยเป็นน้ำมันที่แพงที่สุดในโลก?" พร้อมระบุว่า สถาบันปิโตรเลียมของออสเตรเลียเป็นผู้ยืนยันเรื่องนี้ โดยมีบ่อน้ำมันแหล่งหนึ่งอยู่ระหว่างชายแดนไทย-มาเลเซียนั้น แพงกว่าน้ำมันเบรนท์ทะเลเหนือ ประมาณ 7 เหรียญต่อบาร์เรล แสดงว่า น้ำมันที่อ่าวไทยไม่ได้คุณภาพห่วยแน่นอน เพราะน้ำมันที่ขุดได้เขาส่งไปกลั่นที่สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ แต่ก็สงสัยว่า ทำไมไทยไม่กลั่นใช้เอง

          ม.ล.กรกสิวัฒน์ เล่าด้วยว่า ตนเคยดูกฎหมายเกี่ยวกับน้ำมันของอินโดนีเซียที่เขียนไว้ดีมาก โดยระบุว่า ใครจะมาขุดเจาะปิโตรเลียม ต้องเอาน้ำมันที่ขุดได้ขายภายในประเทศอินโดนีเซียก่อน ให้ใช้ในประเทศให้พอก่อน ถ้าไม่เพียงพอก็ห้ามส่งออก ซึ่งน้ำมันของประเทศอินโดนีเซียก็มีคุณภาพเดียวกันกับเรา เขาสามารถกลั่นได้ แต่ทำไมเรากลั่นเองไม่ได้ 

          "แปลว่า นโยบายพลังงานไม่ได้กำหนดโดยรัฐ อินโดนีเซียเขาไม่ได้สนใจเรื่องกลั่นน้ำมันได้หรือไม่ได้ แต่เขาสนใจว่า น้ำมันที่เขามีเขาต้องใช้เองก่อน จะได้ไม่ต้องนำเข้ามาก แต่กฎหมายของประเทศไทยเขียนว่า "น้ำมันที่ขุดได้ก็ส่งออกได้เลย" จะเพียงพอใช้ในประเทศหรือไม่ก็ไม่เกี่ยว ของไทยแม้จะมีใช้ไม่เพียงพอก็สามารถส่งออกได้ แบบนี้แปลว่าอะไร? อยากให้คิดตามต่อด้วยว่า การที่เรามีไม่พอแล้วยังส่งออกอีก คนส่งออกได้ค่าหัวคิวไหม ก็ได้ถูกไหม แล้วการนำเข้ามาทดแทนก็มีคนได้ค่าหัวคิวเช่นกัน สรุปว่ามีคนได้ประโยชน์จากการทำเช่นนี้ ถ้าเรามีเอง ใช้เอง ก็ไม่ต้องเสียค่าหัวคิว"
          ในประเด็นดังกล่าว ม.ล.กรกสิวัฒน์ เคยถามไปยังกระทรวงเช่นกันว่า ทำไมเราต้องส่งน้ำมันออก ซึ่งคำตอบที่ได้มามี 3 อย่าง คือ  คำตอบแรก "น้ำมันเราไม่ดี ต้องส่งออก" แต่เรื่องนี้ ม.ล.กรกสิวัฒน์ ก็แย้งว่า เป็นไปไม่ได้ เพราะหากน้ำมันไม่ดี เราส่งไปสหรัฐฯ ไม่ได้หรอก เพราะมาตรฐานสิ่งแวดล้อมเขาสูงมาก แล้วเขาก็นำเข้าเป็นอันดับ 1
ตอบโจทย์...สัมปทานน้ำมัน เพื่อใคร?

          คำตอบที่ 2 ที่กระทรวงตอบมาก็คือ เพราะ "น้ำมันของเราดีเกินไป" ซึ่ง ม.ล.กรกสิวัฒน์ ก็สงสัยว่า ถ้าน้ำมันดีเกินไปแล้วคนไทยไม่มีสิทธิ์จะได้ใช้หรือ จึงเกิดคำตอบที่ 3 ตามมาว่า "น้ำมันเมืองไทยไม่เหมาะสมกับโรงกลั่นไทย" ตนจึงถามกลับไปว่า แล้วทำไมเราจึงไม่ทำโรงกลั่นให้เหมาะสมกับน้ำมันของเรา ซึ่งเขาก็บอกว่า เพราะน้ำมันของเรามีสารปรอทมาก ซึ่งก็จริง แต่สารปรอทมันมีอยู่ในน้ำมันทั้งโลก ในอินโดนีเซียก็มี ที่เทกซัสก็มีมาก แต่เขาติดตัวกำจัดปรอทไว้ก็จบ ทั้งโลกเขาก็ทำกันแบบนี้ 

          พร้อมกันนี้ ม.ล.กรกสิวัฒน์ ยังได้บอกกับทางกระทรวงไปว่า นโยบายพลังงานและสิ่งที่ท่านตอบมาทั้งหมดถูกเขียนโดยเอกชนทั้งสิ้น นโยบายพลังงานของชาติต้องถูกเขียนบนผลประโยชน์ของประชาชน นี่คือหน้าที่ของรัฐที่ดี วันนี้อยู่ที่ว่าเราจะทำหรือไม่ทำต่างหาก เมื่อมีข้อมูลมายืนยันมากขึ้นก็ยิ่งชี้ให้เห็นว่า นโยบายพลังงานของเราไม่ได้เอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้งแล้ว แต่เอาผลประโยชน์ของธุรกิจพลังงานมากกว่า

          ทั้งนี้ ในการประมูลสัมปทานของไทยนั้น ไม่ได้ใช้วิธีใครจ่ายเงินรัฐมากกว่าก็ได้ไป แต่ใช้วิธีใครเขียนโครงการได้ดีกว่าก็ได้ไป ในราคาที่จ่ายเท่ากัน นี่คือสิ่งที่ ม.ล.กรกสิวัฒน์ มองว่า ควรจะแก้ไข เพราะขัดต่อกฎบัตรในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมเช่นกัน และในอาเซียนก็ไม่มีใครใช้แบบเรา มีแต่ประเทศไทยประเทศเดียวที่ไม่มีส่วนแบ่งกำไร ส่วนแบ่งรายได้ หรือส่วนแบ่งการผลิต 

          มาถึงตรงนี้ ก็น่าสงสัยว่ามีผลประโยชน์อะไรอื่น ๆ กลับมาหรือไม่ ประเทศไทยจึงยอมรับสภาพเช่นนี้... ม.ล.กรกสิวัฒน์ กล่าวว่า ไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ใช้ระบบสัมปทาน คือยกให้เขาไปเลย แต่ประเทศอื่นจะใช้คำว่า "แบ่งปันกันระหว่างเจ้าของสัมปทานและผู้มาขุดเจาะ" ทำให้เราไม่ได้ส่วนแบ่งใด ๆ อย่างไรก็ตาม เราจะได้ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ซึ่งนี่คือตัวปัญหา เพราะรัฐระบุว่า จะเก็บเงินกับผู้รับสัมปทาน 0-75% ฟังดูเหมือนมาก แต่ปีที่แล้วเราเก็บจริงแค่ 1% ของมูลค่าทั้งหมดของปิโตรเลียมของเราเท่านั้น และเกณฑ์ในการเก็บนั้นตรวจจากความลึก แบบนี้ประชาชนก็ไม่สามารถตรวจสอบได้เลย

ตอบโจทย์...สัมปทานน้ำมัน เพื่อใคร?

          "วันนี้ประชาชนต้องตระหนัก เพราะเป็นเจ้าของบ่อน้ำมันตัวจริง เรามีสิทธิ์ที่จะบอกทางท่านอธิบดีว่า วันนี้เรามีมรดกของแผ่นดิน คือ บ่อน้ำมัน บ่อก๊าซ ไม่รู้ว่าท่านจัดการอย่างไรถึงทำให้คนไทยยากจน ทำให้ทรัพย์สมบัติของเรากลายเป็นของแพง และเราเดือดร้อน หลายประเทศไม่มีพลังงานเลย ต้องนำเข้าอย่างเดียว อย่างประเทศพม่าไม่มีโรงกลั่น นำเข้าน้ำมันเบนซินจากไทย แต่เขาขายถูกกว่าเรา"

          ถ้าเช่นนั้น สมมติว่า ม.ล.กรกสิวัฒน์ ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ควรจะทำอะไรบ้างเพื่อดูแลผลประโยชน์ของคนไทย ทาง ม.ล.กรกสิวัฒน์ ระบุว่า ต้องทำให้ทุกอย่างโปร่งใส ในต่างประเทศมีบ่อน้ำมันอะไรเท่าไรเขาจะเปิดหมด และให้ประชาชนเขียนติได้ ดังนั้น กระทรวงต้องแสดงความโปร่งใส ให้ข้อมูลทั้งหมด ให้ประชาชนรู้สึกว่าได้ประโยชน์จริง ๆ จากการขุดน้ำมัน ขุดก๊าซในเมืองไทย และขอให้มีการประมูลสัมปทานจริง ๆ ไม่ใช่แค่เขียนโครงการ แล้วสุดท้ายอธิบดีก็มาแก้ทีหลังแบบนี้ รวมทั้งสำรวจปริมาณสำรองด้วย

          ในตอนท้าย ม.ล.กรกสิวัฒน์ เรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปการบริหารจัดการเรื่องปิโตรเลียมใหม่ทั้งหมด และให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย เพราะที่ผ่านมากระบวนการดังกล่าวไม่โปร่งใสเลย ข้อมูลก็หาได้ยากยิ่ง ประชาชนเข้าไม่ถึง 

ตอบโจทย์...สัมปทานน้ำมัน เพื่อใคร?

          และหากถามว่า ถ้าลองคำนวณตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางดูว่า จริง ๆ คนไทยควรใช้น้ำมันราคาเท่าไรนั้น ม.ล.กรกสิวัฒน์ ระบุว่า ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีการค้าเสรี เอากำไรกันเต็มที่ ยังขายน้ำมันเบนซินประมาณ 25-29 บาทกว่าต่อลิตร ดังนั้น ราคาน้ำมันของเราตอนนี้กำลังป่วยแล้ว ยิ่งมีปัญหาตั้งแต่ต้นทาง ไม่ว่าจะมาจากการขุดเจาะ โรงกลั่น หรือกองทุนน้ำมัน หากไม่แก้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นภาระของคนไทยทั้งประเทศ และจะเป็นปัญหาด้านการแข่งขันทางเศรษฐกิจต่อประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมด

ตอบโจทย์...สัมปทานน้ำมัน เพื่อใคร?

          "เรื่องพลังงานเป็นปัญหาที่สะสมมานานแล้ว ผมไม่ได้โทษรัฐบาลนี้ ต้องบอกว่ารัฐบาลนี้เป็นครั้งแรกที่มาดูกระทรวงพลังงาน และถ้าใครมาแก้ไขได้ ไม่ว่าจะเลือกตั้งกี่ครั้งก็ชนะ ตอนนี้ประชาชนกำลังรอคำตอบและการแก้ไขอยู่ หากแก้ไปทีละจุดก็แก้ได้ เพียงแต่ว่าจะแก้หรือไม่แก้เท่านั้นเอง หากไม่แก้ ในระยะกลาง จนถึงระยะยาว เราจะสู้ประเทศอื่นในอาเซียนไม่ได้เลย เพราะเราจะใช้พลังงานแพงเกินกว่าคนที่ไม่มีพลังงานด้วยซ้ำไป ผมไม่ได้บอกว่า น้ำมันต้องราคาถูกนะ แต่ราคาต้องเป็นธรรม และต้องโปร่งใสกว่านี้" ม.ล.กรกสิวัฒน์ กล่าวในที่สุด

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

โรงกลั่นไทยออยส์


โรงกลั่นไทยออยส์
หากจะท้าวความถึงกรณีการขายโรงกลั่นน้ำมันให้กับ บ.ไทยออยล์ ในสมัยที่นายอานันท์เป็นนายกฯ คาดว่าหลายคน คงอยากจะรู้ว่ามีความเป็นมาเช่นไร

กรณีการขายโรงกลั่นน้ำมันให้แก่บริษัทไทยออยล์ จำกัด ถือเป็นอีกกรณีแห่งความอัปยศของนายอานันท์ ปันยารชุน ที่ไม่อาจปฏิเสธการตัดสินใจครั้งนี้ของนายอานันท์ ปันยารชุน ไม่เพียงแต่ไร้เหตุผลและไร้ความโปร่งใสเท่านั้น  หากแต่ยังเป็นการทำให้ชาติสูญเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาล เพียงเพื่อหวังที่จะให้พรรคพวกของตัวเองได้ผลประโยชน์จากชาติ เท่านั้น

ใครที่บอกว่านายอานันท์ รักชาติ รักประเทศไทย กรณีของไทยออยล์ จะเป็นกรณีตัวอย่างที่เป็นจริงอีกกรณีหนึ่ง ซึ่งจะชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่านายอานันท์ไม่ใช่บุคคลเช่นนั้น

โรงกลั่นน้ำมันถูกสร้างขึ้นในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพื่อหวังให้เป็นฐานการผลิตในการส่งเสริมการลงทุนแก่อุตสาหกรรมทุกภาค ให้ได้ใช้น้ำมันในราคาที่ถูกลง 

รวมทั้งต้องการมีโรงกลั่นน้ำมันภายในประเทศเองจะสามารถช่วยเสริมความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและการทหารให้แก่รัฐบาลในยามที่เกิดสงคราม รัฐจึงมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมศึกษา 
ความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันดังกล่าว แต่ในช่วงนั้นประเทศไทยยังไม่มีประสบการณ์ และไร้ซึ่งบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจในการก่อสร้าง การดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันมาก่อน การหาเอกชนเข้ามาดำเนินการจัดสร้างและประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมัน ในประเทศไทยจึงเกิดขึ้น โดยกลุ่มของนักธุรกิจฮ่องกง ซึ่งต่อมาใช้ชื่อเป็นไทยว่า "นายเชาวน์ เชาวน์ขวัญยืน" เป็นผู้ดำเนินการ

"นายเชาวน์ เชาวน์ขวัญยืน" ได้ตั้งบริษัทขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโรงกลั่นน้ำมันไทย จำกัด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทไทยออยล์ จำกัด ในปี 2528) การดำเนินการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันเสร็จเรียบร้อย อย่างที่ต้องการ ในขณะเดียวกันธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันไทย ก็เป็นไปอย่างดียิ่ง 

สร้างกำไรให้กับบริษัทโรงกลั่นน้ำมันไทยอย่างมหาศาล
จึงได้เสนอขออนุญาตเช่าและดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันต่อไป 

โดยมีข้อเสนอว่าจะสร้างโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มอีกโรงหนึ่ง 
เพื่อขยายกำลังการผลิต 

ซึ่งในสัญญาเช่าระบุราคาเช่าไว้ว่า ค่าเช่าโรงกลั่นทีโอซี 1 
โรงกลั่นทีโอซี 2 และค่าเช่าที่ดินในปี 2524 

ราคา 186.73 ล้านบาท และเพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ทุกปี 

ในปี 2534/35 ค่าเช่าทั้งสองกรณีเป็นเงิน 817.26 ล้านบาท
และนับจากปี 2535 ไปจนถึงปี 2544 เป็นอันสิ้นสุดสัญญาเช่า 

รัฐจะได้เงินค่าเช่า รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 13.458 ล้านบาท

** ประเด็นนี้เป็นข้อน่าสงสัยเนื่องจากปี 2535 
รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน กลับตัดสินใจขายโรงกลั่น
น้ำมันทั้ง 2 แห่งไปในราคาแค่เพียง 8,764 ล้านบาทเท่านั้น

ซึ่งตอนนี้เองการเข้ามาของนายเกษม จาติกวณิช 
กับกลุ่มของ นายเชาวน์ เชาวน์ขวัญยืน ได้เปลี่ยนชื่อโรงกลั่น
น้ำมันไทยเป็นโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์

ความสัมพันธ์ระหว่าง นายเกษม จาติกวณิช กับ
นายอานันท์ ปันยารชุน นั้นลึกซึ้ง การก้าวขึ้นมาเป็นนายกฯ
ของนายอานันท์ ปันยารชุน 

ดูเหมือนจะเป็นการสร้างความหวังให้กับบริษัทไทยออยล์ 
ซึ่งมีนายเกษม จาติกวณิช เป็นประธานกรรมการ

การกระทำครั้งนี้ของรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน 
จึงไม่โปร่งใส ขัดกับหลักการ และเหตุผลที่เอื้อประโยชน์
ต่อประเทศชาติอย่างสิ้นเชิง 

โดยเฉพาะนักการเมืองที่รู้เรื่องธุรกิจน้ำมันดีอย่าง 
นายวัฒนา อัศวเหม ซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ 

และเป็นพ่อค้าส่งน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 
ออกมาฉะแหลกรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน 

โดยให้เหตุผลว่าการขายโรงกลั่นน้ำมันครั้งนี้ไม่โปร่งใส
และราคาขาย 8,000 กว่าล้านบาทนั้น เป็นราคาที่ถูกเกินไป 

ซึ่งนายวัฒนาเองก็พร้อมที่จะซื้อในราคา 15,000 ล้านบาท
รัฐบาลนายอานันท์ ขายโรงกลั่นทั้งสองในราคาแค่ 8,000 กว่า
ล้านบาท ราคานี้ถูกเกินไปและรัฐบาลก็ไม่เปิดประมูล 

ซึ่งไม่ถูกต้อง...!!!

........................................
อีกหนึ่งตัวตนคนขายชาติ ในคราบผู้ดี(รัตนโกสินทร์)
รู้อย่างนี้แล้วต้องยึดทรัพย์คืนแผ่นดินให้หมดทั้งตระกูลครับ
ช่วยกันแชร์ ช่วยกันแฉไอ้จอมสร้างภาพแห่งประเทศไทย

ธรรมาภิบาลระบบพลังงานไทย

ข่าวเชิงวิเคราะห์ “ธรรมาภิบาลระบบพลังงานไทย” โดย...ทีมข่าวพิเศษ 
      
       (1) ปตท.โก่งราคาน้ำมัน-ก๊าซ สูบกินถึงติดรวยสุดในโลก
      
       (2) บิ๊ก ขรก.เอื้อ ปตท.ขัด รธน.-ผิดอาญา ม.157
      
       (3)"ขรก.เพื่อ ปตท."รวยอู้ฟู่ โบนัส-เบี้ยประชุม

      
       (4)"บิ๊กไฝ ปตท."ถ่างขาควบ 6 บริษัทฟันปีละ 22 ล้าน
      
       (5)ปตท.ขูดค่าส่งก๊าซฟันกำไรปีละ 2 พันล้าน
      
       (6)ปมพิรุธเล่ห์ ปตท.ขึ้นค่าส่งก๊าซ


  (7) เลิกผูกขาด-ห้าม ขรก.เพื่อ ปตท.
       
       ASTVผู้จัดการรายวัน - การผูกขาดตัดตอน เอาเปรียบคู่แข่งขันทางธุรกิจ เอาเปรียบประชาชนของปตท. รวมถึงบิ๊กข้าราชการสวมหมวกหลายใบที่เอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชนในร่างรัฐวิสาหกิจ ถึงเวลาต้องเลิกให้หมด เพื่อไม่ให้ชาวบ้านถูกขูดรีดไปมากกว่านี้
       
       การถูกเอารัดเอาเปรียบของประชาชนผู้ใช้น้ำมันและก๊าซฯ โยงไปถึงผู้ใช้ไฟฟ้า เป็นประเด็นที่รัฐบาลซึ่งอาสาเข้ามาบริหารบ้านเมืองเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน ต้องเข้ามาแก้ไขในเชิงโครงสร้างของปัญหา ซึ่งมี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบรรดาบิ๊กข้าราชการที่สวมหมวกหลายใบ เป็นตัวการสำคัญ
       
       ในข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา กรณีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของเจ้าพนักงาน ของรัฐกับบทบาทกรรมการบริษัทเอกชนด้านพลังงานนั้น
       
       เรื่องนี้ถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบสูงสุดของรัฐและเจ้าพนักงานของรัฐ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องมีการวางกรอบนโยบายกำกับดูแลกิจการพลังงานให้ชัดเจนและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาดตัดตอนในธุรกิจพลังงาน และเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน และสังคมโดยรวมอย่างแท้จริง
       
       ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 5 เรื่องแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 7 ว่าด้วยเรื่องแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ มาตรา 84 (1) ได้บัญญัติหน้าที่ของรัฐไว้ว่า รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรม
       
       และในมาตรา 84 (5) ซึ่งบัญญัติถึงหน้าที่ของรัฐไว้อีกว่า "รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจโดยกำกับให้การประกอบกิจการมีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และคุ้มครองผู้บริโภค"
       
       ส่วนการให้ข้าราชการไปเป็นกรรมการบริษัท รัฐบาลควรทบทวนนโยบายนี้ใหม่ เพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลและกำหนดนโยบายแห่งรัฐที่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลสากล เนื่องจากการให้ข้าราชการเป็นกรรมการของบริษัทที่กำกับจะทำให้ข้าราชการคนเดียวมีบทบาทที่ขัดแย้งกันถึง 3 สถานะ คือ
       
       หนึ่ง ผู้กำกับดูแลและกำหนดนโยบายของรัฐ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อภาคธุรกิจ ที่สร้างความเป็นธรรมในการแข่งขันของภาคเอกชนและต่อผู้บริโภค
       
       สอง เป็นกรรมการของบริษัทธุรกิจที่ต้องกำกับดูแล ซึ่งต้องสร้างกำไรสูงสุดให้กับธุรกิจนั้น
       
       และ สาม เป็นผู้ถือหุ้นของธุรกิจที่ต้องกำกับ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนไป กล่าวคือ
       
       ประการแรก การเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจของเจ้าพนักงานของรัฐให้ถือว่าเป็นการทำหน้าที่ของรัฐเพื่อเข้าไปกำกับดูแลไม่ให้สังคมโดยรวมได้รับความเสียหายจากการประกอบธุรกิจพลังงาน และต้องมีกฎข้อห้ามมิให้รับค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์ที่สะท้อนและเชื่อมโยงไปกับผลประกอบการหรือกำไรสุทธิของภาคธุรกิจนั้น ๆ
       
       ประการที่สอง ห้ามไม่ให้เจ้าพนักงานของรัฐเข้าไปเป็นกรรมการในบริษัทเอกชนใด ๆ โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อยกเว้น
       
       กมธ. ยังเสนอแนะว่า ต้องมีข้อกำหนดให้รัฐวิสาหกิจและบริษัทธุรกิจด้านพลังงานต้องมีหน้าที่ตามกฎหมายในการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการดำเนินกิจการ ต่อหน่วยงานการกำกับดูแลด้านกิจการพลังงาน ด้านเศรษฐกิจของรัฐและต่อสาธารณชน เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลอย่างแท้จริง
       
       อีกทั้งยัง ต้องยกเลิกสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่ทำให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เปรียบบริษัทเอกชนอื่น ๆ จนไม่สามารถทำให้เกิดการแข่งขันได้อย่างแท้จริง เช่น การผูกขาดการขายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติให้กับรัฐ การผูกขาดในธุรกิจการแยกก๊าซ การผูกขาดในธุรกิจขนส่งก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
       
       ส่วนกรณีการปรับอัตราค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติ (ค่าผ่านท่อก๊าซฯ) ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นเรื่องที่ขัดกับหลักธรรมาภิบาลและไม่สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังเป็นอยู่ การขึ้นค่าบริการดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อประชาชนวงกว้างที่จะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูงขึ้น
       
       ดังนั้น นอกจากรัฐบาลควรให้มีการยกเลิกการปรับขึ้นอัตราค่าบริการส่งก๊าซฯ โดยเร็วแล้ว คณะอนุกรรมาธิการฯ มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ดังนี้
       
       (1) ควรให้มีการทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณราคาค่าก๊าซฯและค่าบริการส่งก๊าซฯใหม่ โดยให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เนื่องจาก "คู่มือการคำนวณราคาค่าก๊าซธรรมชาติและค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติ" ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ให้ความเห็นชอบและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2551
       
       และ กกพ.ได้ใช้คู่มือดังกล่าวเป็นกรอบในการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติและอัตราค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติใหม่นั้น ขัดต่อคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยเฉพาะการให้สิทธิแก่ บมจ.ปตท.ในการเป็นผู้ประเมินราคาทรัพย์สินท่อก๊าซใหม่ ทั้ง ๆ ที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด
       
       (2) ควรให้รัฐบาลได้ติดตามตรวจสอบการคืนท่อก๊าซฯ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยการใช้อำนาจมหาชนของรัฐและเงินภาษีของประชาชน ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2550 จากรายงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แจ้งว่าการส่งมอบทรัพย์สินจาก บมจ. ปตท. คืนให้รัฐตามคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดยังไม่ครบถ้วน
       
       (3) รัฐบาลไม่ควรปล่อยให้เกิดการ "ผูกขาด" ในธุรกิจบริการส่งก๊าซฯ เนื่องจากระบบท่อขนส่งก๊าซฯ เป็นดังสายเลือดหลักของระบบพลังงานไทย ผู้ที่ครอบครองสิทธินี้จึงสามารถผูกขาดระบบพลังงานไทยได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ส่งผลให้เกิดเป็นลูกโซ่ของการผูกขาด
       
       เริ่มตั้งแต่การรับซื้อก๊าซธรรมชาติ ณ หลุมขุดเจาะ ผูกขาดในธุรกิจโรงแยกก๊าซ ผูกขาดในธุรกิจค้าส่งก๊าซ และผูกขาดในธุรกิจ NGV เพราะโครงสร้างในลักษณะนี้ ผู้ประกอบการรายอื่นจะถูกกีดกันออกไปโดยปริยาย จึงส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพในกิจการปิโตรเลียมของไทยโดยตรง
       
       ดังนั้น รัฐในฐานะเจ้าของท่อก๊าซฯ ส่วนใหญ่ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด จึงควรใช้ความเป็นเจ้าของท่อก๊าซส่งเสริมให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในธุรกิจก๊าซฯ ตั้งแต่ต้นทางคือการรับซื้อก๊าซจากปากหลุม ไปจนถึงธุรกิจกลางน้ำคือโรงแยกก๊าซ และธุรกิจปลายน้ำ คือสถานีบริการ ซึ่งสุดท้ายผลประโยชน์ก็จะตกอยู่กับรัฐและประชาชน
       
       (4) รัฐบาลควรยกเลิกการปรับขึ้นอัตราค่าบริการส่งก๊าซฯ โดยเร็วและทบทวนนโยบายการกำหนดค่าบริการค่าส่งก๊าซฯ ใหม่
       
       คณะกรรมาธิการฯ ยังมีความเห็นต่อความรับผิดชอบของรัฐบาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจในการกำหนดค่าบริการในการประกอบกิจการพลังงาน ดังนี้
       
       หนึ่ง ตามข้อบัญญัติในมาตรา 64 และ 65 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 กำหนดว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กำหนดนโยบายและแนวทางการกำหนดอัตราค่าบริการในการประกอบกิจการพลังงาน โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการของผู้ได้รับอนุญาตแต่ละประเภท
       
       สอง อำนาจที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าแม้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะเป็นองค์กรอิสระและเป็นผู้ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงค่าบริการขนส่งก๊าซฯ แต่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในฐานะประธานและกรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ก็มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงค่าบริการดังกล่าวเช่นกัน เนื่องจาก กพช. เป็นผู้กำหนดนโยบายและแนวทางการกำหนดค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติ และ กกพ. คือผู้ตัดสินใจภายใต้นโยบายที่ กพช. ได้อนุมัติไว้
       
       ถึงเวลาทบทวนราคาน้ำมันใหม่
       

       ประเทศไทย ไม่ได้พึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบและก๊าซฯ จากต่างประเทศทั้งหมด เรามีแหล่งน้ำมันดิบ หลุมก๊าซฯ ซึ่งสามารถผลิตก๊าซและน้ำมันได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีโรงกลั่นน้ำมันถึงขั้นส่งออกได้ด้วย แต่ทำไมราคาก๊าซฯ และน้ำมันถึงไม่ได้ถูกลง ถึงเวลาที่ต้องทบทวนเรื่องนี้กันใหม่เสียแล้ว
      
       ปัจจุบัน ประเทศไทยมีแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบขนาดใหญ่ที่ดำเนินการผลิตแล้วรวมกันกว่า 50 แหล่ง (ข้อมูลจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ) สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว และน้ำมันดิบได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันไทยสามารถผลิตพลังงานรวมกันได้ถึง 721,500 บาร์เรลต่อวัน หรือเท่ากับ 115 ล้านลิตรต่อวัน (รายละเอียดในตาราง)
       

       ประเทศไทย ยังสามารถพึ่งตนเองในการผลิตวัตถุดิบในการกลั่นน้ำมันกว่าร้อยละ 40 ของการใช้ในประเทศ
      
       โดย พ.ศ. 2551 ประเทศไทยสามารถผลิตวัตถุดิบเฉพาะที่สามารถนำไปกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปได้ เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว และก๊าซโซลีนธรรมชาติ อันเป็นผลผลิตส่วนหนึ่งของก๊าซธรรมชาติที่ได้จากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ มีปริมาณรวมกว่า 36 ล้านลิตรต่อวัน หรือเท่ากับ 13,246 ล้านลิตรต่อปี หรือเท่ากับ 1 ใน 3 ของปริมาณการผลิตของประเทศกาตาร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกกลุ่มโอเปก
      
       ขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศอยู่ที่ 35,219 ล้านลิตรต่อปี ตามการศึกษาข้อมูลจากกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
      
       แต่แหล่งน้ำมันดิบและแหล่งก๊าซฯ ซึ่งผลิตได้ในประเทศ รวมทั้งการกลั่นที่สามารถทำได้เองในประเทศ กลับไม่ได้ทำให้ราคาถูกลงเหมือนดังเช่นสินค้าอื่นๆ ที่ผลิตได้ในประเทศ เพราะรัฐบาลอนุญาตให้ใช้ราคาอิงตลาดสิงคโปร์บวกด้วยค่าโสหุ้ยต่างๆ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลควรต้องมีการทบทวนเรื่องนี้ใหม่