ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

อุ้มแอลพีจี 5 ปี 1.3 แสนล้าน พลังงานขู่ผุดปั๊มใหม่อนาคตมีแต่มืดมน


ภาคขนส่งยอดใช้ขยับขึ้น ภาคครัวเรือนลดลงเยอะ
เผยกองทุนน้ำมันจ่ายเงินชดเชยแอลพีจีให้ ปตท.ตั้งแต่ปี 51 จนถึงขณะนี้ไปแล้ว 1.32 แสนล้าน คาดปีนี้ไทยต้องนำเข้า 1.6 แสนตันต่อเดือน เตือนเจ้าของปั๊มแอลพีจีมือใหม่ระวังเจ๊ง หากรัฐขยับราคาแอลพีจีในภาคขนส่ง เพราะจะทำให้คนหันไปใช้แก๊สโซฮอล์



นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า กองทุนน้ำมันได้ใช้เงินจ่ายชดเชยการนำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รวมทั้งสิ้น 132,856 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการชดเชยการนำเข้าตั้งแต่ปี 51-เดือน มี.ค.56 รวม 105,057 ล้านบาทและการชดเชยให้กับโรงกลั่นน้ำมัน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.54-เดือน มี.ค.56 อีก 27,795 ล้านบาท ซึ่งการชดเชยดังกล่าวยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการนำเข้า โดยในปีนี้คาดว่าประเทศไทยจะมีการนำเข้าแอลพีจี 160,000 ตันต่อเดือนเทียบกับปีที่ผ่านมามีการนำเข้า 144,000 แสนตันต่อเดือน

ทั้งนี้ ในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมามีสถานีบริการแอลพีจีเปิดให้บริการทั่วประเทศรวม 1,441 แห่ง เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี 1,045 แห่งถึง 396 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขยายสถานีในต่างจังหวัด เนื่องจากความต้องการแอลพีจีในภาคขนส่งขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะราคาแอลพีจีในปัจจุบันที่ 21.38 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ถือว่าเป็นราคาที่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับราคาน้ำมันส่งผลให้ยอดการใช้แอลพีจีในภาคขนส่งเดือน ก.พ.เฉลี่ย 4,549 ตันต่อวันเพิ่มขึ้น 50.3% ซึ่งเป็นอัตราที่เพิ่มในสัดส่วนที่สูงมาก

“ปริมาณปั๊มแอลพีจีที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ธพ.ได้แสดงความเป็นห่วงผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของปั๊มแอลพีจี เนื่องจากในอนาคต หากรัฐบาลปรับขึ้นราคาแอลพีจีในภาคขนส่งให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง จะส่งผลกระทบให้ปั๊มหลายแห่งประสบปัญหาการขาดทุนได้ เพราะหากแอลพีจีมีราคาแพงขึ้นผู้ใช้รถยนต์คงชะลอการเติมแก๊ส หรือไปเติมน้ำมันโซฮอล์แทน”

นายวีระพลกล่าวว่า ปริมาณการใช้แอลพีจีในภาพรวมของเดือน ก.พ.อยู่ที่ 594,281 ตันเพิ่มขึ้น 10.7% เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค. แบ่งเป็นการใช้ในภาคครัวเรือน 196,515 ตัน ลดลง 13.7%, อุตสาหกรรม 48,750 ตัน ลดลง 6.3%, ปิโตรเคมี 221,640 ตันเพิ่มขึ้น 30.8% และภาคขนส่ง 127,376 ตัน เพิ่มขึ้น 45.1% แต่หากคิดเป็นรายวันภาคขนส่งมีความต้องการใช้งาน 4,549 ตัน เพิ่ม 50.3% “ผลของการใช้แอลพีจีในปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้ยอดการนำเข้าแอลพีจีในเดือน ก.พ. อยู่ที่ 181,000 ตันสูงสุดในรอบ 10 เดือนและกองทุนน้ำมันต้องชดเชยส่วนต่างราคาให้ ปตท.รวม 3,396 ล้านบาท และประเมินว่าในเดือน มี.ค.-พ.ค. ก็จะมีแนวโน้มนำเข้าสูงต่อเนื่องเฉลี่ย 170,000-180,000 ตันต่อเดือน”

สำหรับยอดการใช้น้ำมันในภาพรวมของเดือน ก.พ. พบว่า  กลุ่มน้ำมันเบนซินมียอดการใช้เฉลี่ยวันละ 21.84 ล้านลิตรเพิ่ม 4.6% แบ่งเป็นน้ำมัน เบนซิน 2.2 ล้านลิตร, แก๊สโซฮอล์ 95 และ 91 รวม 19.6 ล้านลิตร ขณะที่ยอดใช้น้ำมันดีเซลอยู่ที่วันละ 59.5 ล้านลิตร เพิ่ม 1.7% เนื่องจากเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรและฤดูหีบอ้อย หากหมดฤดูเก็บเกี่ยวยอดการใช้ดีเซลจะลดลงโดยเดือนมี.ค. คาดว่ามีการใช้ดีเซลเพียง วันละ 48.4 ล้านลิตร

นอกจากนี้ ในส่วนของปริมาณการนำเข้าน้ำมันรวมของประเทศไทย ในเดือน ก.พ.อยู่ที่ 987,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลง 5.8% มีมูลค่ารวม 107,840 ล้านบาท ลดลง 2.5% ขณะที่ปริมาณส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปอยู่ที่ 134,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลง 36.2% มูลค่า 14,141 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.ที่ 40.6%.

ไทยรัฐออนไลน์

    โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
    27 มีนาคม 2556, 05:45 น.

ปตท.-ก.พลังงาน ‘คู่หู’ แห่งการเอาเปรียบและผูกขาด

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - จับตารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ใช้แผนสงบสยบแรงต้าน พร้อมใช้อำนาจการเมืองผูกขาดเบ็ดเสร็จเร่งรัดแปลงสภาพปตท. ให้กลายเป็นบริษัทเอกชนเต็มรูปแบบในชั่วพริบตา เช่นเดียวกับการออกพ.ร.ก.กู้เงินฯ ที่ดันทุรังจนสำเร็จ รวมถึงกม.ปรองดองตามแผนนิรโทษกรรม “นายใหญ่” ที่รอยัดเข้าสภามัดมือชก
      
       แม้ความพยายาม ในการแปรรูป ปตท. ให้พ้นจากสภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่เปิดประเด็นโดย ดร.โกร่ง-วีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ ( กยอ.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กิตติรัตน์ ณ ระนอง จะถูกสังคมต่อต้านอย่างหนัก จนทำให้รัฐบาลแสดงท่าทีไม่กล้าเสี่ยงเดินหน้าท้าทายกระแส แต่มองอีกมุม ก็อาจเป็นไปได้ว่า ‘ทีท่ารับฟังไม่แข็งขืน’ อาจเป็นไปเพื่อลดกระแสโจมตีที่รัฐบาลกำลังเผชิญอยู่รอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบ พ.ร.ก. กู้เงินฟื้นฟูเยียวยาน้ำท่วม 3.5 แสนล้านบาท ที่รัฐบาลยังให้คำตอบหรืออธิบายถึงความจำเป็นเร่งด่วนแก่สาธารณะชนได้ไม่กระจ่างนัก
      
       แต่ไม่ว่าอย่างไร คนไทยทั้งประเทศก็ไม่ควรปล่อยให้มูลเหตุจูงใจและนัยเบื้องหลังในการมุ่งแปรรูป ปตท. ให้กลายเป็นบริษัทเอกชนเต็มรูปแบบเป็นเพียงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วผ่านเลยไปโดยไม่ตั้งคำถามต่อการกระทำอันไม่ชอบมาพากลนี้
      
       เหตุใด จึงมีความพยายามผลักดัน ปตท. ให้กลายเป็นบริษัทมหาชน โดยกระทรวงการคลังจะโอนหุ้น 2 เปอร์เซ็นต์ให้กองทุนวายุภักษ์ถือครองทั้งที่กองทุนดังกล่าวจะหมดอายุในปี พ.ศ. 2556 , การขึ้นราคาก๊าซ NGV ก่อนหน้านี้มีความเกี่ยวพันหรือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการแปรรูปด้วยหรือไม่, สิ่งใดคือมูลเหตุจูงใจให้เกิดการพยายามเล่นแร่แปรธาตุตัวเลขหนี้ โดยใช้การลดหนี้ของปตท. มาเป็นข้ออ้าง ทั้งที่ในความเป็นจริง ตัวเลขหนี้เหล่านั้นยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่มีความเสี่ยง
      
       จริงหรือไม่ ที่ทรัพยากรทางพลังงานในอ่าวไทย กำลังส่งกลิ่นหอมหวนยั่วน้ำลายบรรดานักธุรกิจการเมืองเป็นอย่างยิ่ง จนต้องพยายามทุกรูปแบบเพื่อให้มีการแปรรูป อันเป็นช่องทางให้ผู้คิดคดนำทรัพยากรชาติไปเป็นสมบัติของตนจะได้มีสิทธิ์ถือครองอย่างเต็มตัว
      
       ก่อนที่สมบัติของแผ่นดินอย่างทองคำสีดำซึ่งก็คือน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาลที่คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของอันชอบธรรมจะถูกฉ้อโกงและหยิบฉวยไปมากกว่านี้ สังคมต้องร่วมกันสืบสาวถึงความไม่ชอบมาพากลของ ปตท.ที่ล้วนผูกโยงแนบแน่นกับกระทรวงพลังงานอย่างตัดไม่ขาด ไม่ว่าการหมกเม็ด เอาเปรียบผู้บริโภค การดำเนินธุรกิจอย่างไร้ธรรมาภิบาลโดยมีรัฐสนับสนุน ก่อเกิดแนวทาง ‘ทุนครอบงำนโยบายรัฐ’ อย่างเต็มรูปแบบ
      
       วันนี้ จึงถึงเวลาที่ประชาชนคนไทยจะต้องรู้เท่าทันปตท. ,กระทรวงพลังงาน และบรรดานักธุรกิจการเมืองที่กำลังจ้อง ‘ฮุบ’ รัฐวิสาหกิจแห่งนี้ แม้ยังทำไม่ได้ในเร็ววัน แต่คงอีกไม่นานเกินรอ หากสังคมยังเพิกเฉยต่อการคอรัปชั่นระดับ ‘กลืนกินทรัพยากรของชาติ’ จนหมดไส้หมดพุง
      
       ขุมทรัพย์อ่าวไทย แหล่งปิโตรเลียมคุณภาพเยี่ยมที่สุดของโลก
      
       เมื่อปตท. เป็นธุรกิจที่มีกำไรมหาศาลและมียอดขายเกินหนึ่งล้านล้านบาทต่อปี จึงไม่แปลกที่จะมีพรรคการเมืองพยายามเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับผ่านช่องทางสำคัญอย่างกระทรวงพลังงาน ไม่ต่างจากวันนี้ที่ผู้กุมบังเหียนในกระทรวงพลังงาน ก็คืออดีตขุมพลสำคัญแห่งชินคอร์ป ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแวดวงการเมืองล้วนมองกระทรวงพลังงานด้วยแววตาหิวกระหาย ไม่ใช่กระทรวงเล็กกระทรวงน้อยที่ไร้ผลประโยชน์ให้สูบกิน
      
       ตรงกันข้าม การนั่งเก้าอี้กระทรวงนี้เปรียบเสมือนหุ้นส่วนคนสำคัญที่มีเอี่ยวกับเจ้าของบ่อทองคำก็ว่าได้ ซึ่งการเปรียบเปรยที่ว่านั้น ไม่ใช่เรื่องเกินจริงแม้แต่น้อย ดังข้อมูลที่อดีตวิศวกรวางท่อส่งน้ำมัน ผู้เคยสัมผัสใกล้ชิดและรู้ตื้นลึกหนาบางในการดำเนินธุรกิจของปตท. เป็นอย่างดี วิเคราะห์ถึงปัจจัยอันส่งผลให้ธุรกิจพลังงานของไทยเป็นที่หมายปอง
      
       “ถ้าเราไปดูข้อมูลการวิจัยของต่างประเทศ ณ ตอนนี้ เช่น ข้อมูลใน ciafactbook.com ของอเมริกา หรือ tapismalaysia ซึ่งเป็นข้อมูลพลังงานของไทยที่มาเลเซียกำลังสนใจ ข้อมูลจำนวนมากเหล่านั้นได้ชี้ชัดว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ภูมิภาคนี้มีความสำคัญและจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในยุคหลัง เรามีเทคโนโลยีที่ดีขึ้นในการหาทรัพยากร ซึ่งพบว่าอัตราการขุดเจาะแล้วเจอนั้น มีสูงมากในอ่าวไทย ยิ่งไปกว่านั้น แหล่งน้ำมันที่ดีที่สุดในโลกและแพงที่สุดในโลกก็อยู่ในอ่าวไทยนี่เอง ขณะที่มาเลเซียเขามีแหล่งน้ำมันที่อ่าวคาพิส อยู่ในรัฐตรังกานู เลยออกไปประมาณ 200 กิโลเมตรจากอ่าวไทย ซึ่งตรังกานูก็อยู่ใกล้ๆ กับปัตตานี แล้วปัตตานีก็อยู่ในอ่าวไทย น้ำมันดีๆ จึงอยู่ในอ่าวไทยทั้งหมด ซึ่งเป็นน้ำมันที่เบา กลั่นง่าย ได้เบนซินเยอะ มีกำมะถันต่ำ จึงมีราคาสูงกว่าน้ำมันดูไบถึง 10-15 เปอร์เซ็นต์ น้ำมันคุณภาพดีที่สุดอยู่ที่นี่ทั้งนั้น
      
       “ตอนนี้ผู้รู้ทางพลังงานเขารู้กันหมดแล้วว่าดินแดนแถวนี้มันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางพลังงาน ซึ่งถ้าถามว่าพรรคการเมืองต่างๆ เขามองเห็นไหม? ผมว่าเขาเห็นแล้วล่ะ แล้วทุกคนก็พยายามที่จะเข้ามาเล่นเกมนี้ ดังนั้น คนไทยต้องรับรู้ข้อมูลให้มากขึ้นว่าตรงนี้คือแผ่นดินทองจริงๆ แต่ทรัพย์สินเหล่านี้มันไม่ได้ไหลมาสู่ประชาชนคนไทยเท่านั้นเอง เพราะมีอำนาจทางการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอ”

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความพร้อมร่วมงานและพร้อมดำเนินการตามนโยบายนายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน คนใหม่
       ปตท. กับ กระทรวงพลังงาน ‘พาร์ตเนอร์’ แห่งการเอาเปรียบและผูกขาด
      
       เดิมที ปตท. เป็นองค์กรของรัฐ 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ปตท. จึงมีสิทธิพิเศษเหนือองค์กรทั่วไป เช่น สิทธิที่ถือหุ้นมีโรงกลั่นหลายๆ โรงได้พร้อมกัน ซึ่งโรงกลั่นแต่ละโรงนั้น มีกำลังการผลิตเกิน 100,000 บาเรลต่อวัน โดยโรงกลั่นที่มีกำลังการผลิตในปริมาณดังกล่าวนั้น ในไทยมีอยู่ 6 โรงด้วยกัน โดยมี 1โรงเป็นของเอสโซ่ และอีก 5 โรง เป็นของ ปตท.
      
       ในการควบคุมบริษัทใดบริษัทหนึ่งนั้น ไม่จำเป็นต้องถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ แค่เพียงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุด ก็สามารถแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการ แต่งตั้งประธานกรรมการบริหารได้ เพราะฉะนั้น ปตท. ที่ถือหุ้นใน 5 โรงกลั่น จึงควบคุมโรงกลั่นได้ทั้งหมด และจะตั้งราคาอย่างไรก็ได้ สามารถกำหนดหรือชี้วัดความต้องการน้ำมันสำเร็จรูปในเมืองไทย ปรับราคาขึ้นได้ตามใจชอบ นั่นคือสิทธิพิเศษซึ่งคนอื่นทำไม่ได้ เพราะผิดกฏหมายเรื่องการแข่งขันทางการค้า แต่ ปตท. ทำได้ เนื่องจากยังมีความเป็น ‘รัฐ’ อุ้มอยู่
      
       นอกจากนั้น ปตท. ค่อนข้างจะได้เปรียบเรื่องการขนส่งก๊าซและผูกขาดท่อส่งก๊าซต่างๆ นับตั้งแต่ปากหลุมขุดเจาะไปจนถึงโรงแยกก๊าซ กระทั่งถึงโรงงานต่างๆ ที่ใช้ก๊าซ และด้วยความเป็นรัฐ ปตท. ก็ผูกขาดการขนส่งได้อีกเช่นกัน ซึ่งนับเป็นข้อเสียอย่างยิ่ง เพราะเมื่อ ปตท. ผูกขาดท่อส่งก๊าซ โรงแยกก๊าซก็ไม่เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะวัตถุดิบไม่พอแต่เพราะไม่มีใครคิดจะสร้างโรงแยกก๊าซ เนื่องจากไม่มีใครอื่นที่มีท่อส่งก๊าซมาจากทะเล เพราะปตท.ผูกขาดมาตั้งแต่ต้น 
      
       การผูกขาดและเอาเปรียบประชาชนที่อดีตวิศวกรด้านธุรกิจพลังงานวิเคราะห์นั้น สอดคล้องกับข้อมูลบางส่วนในสำนวนคำฟ้องที่มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินและพวกรวม 6 คน ยื่นต่อศาลปกครอง ให้ดำเนินคดีต่อ บริษัท ปตท. จำกัด ( มหาชน) และ กระทรวงการคลัง เพื่อขอให้ศาลทวงคืนสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้มาจากอำนาจมหาชนของรัฐ และขอให้เพิกถอนใบหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้มาโดยวิธีฉ้อฉล
      
       ซึ่งในสำนวนที่มีความยาวราว 30 หน้านั้น มีตอนหนึ่งระบุว่า
      
       ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ( บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ) เป็นผู้ประกอบการรายเดียวในกิจการก๊าซธรรมชาติ โดยควบคุมตั้งแต่ธุรกิจท่อส่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย โรงแยกก๊าซธรรมชาติ จนถึงการค้าก๊าซธรรมชาติเหลว ( แอลพีจี) และก๊าซเอ็นจีวี โดยก๊าซแอลพีจีที่ผลิตได้ในประเทศมีปริมาณเพียงพอต่อการใช้ของภาคประชาชนทั้งภาคครัวเรือนและยานยนต์ แต่กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการในเครือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 นำไปใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี…
      
       การกระทำดังกล่าว เป็นเหตุให้ต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีปีละกว่า 400,000 ตัน ก๊าซแอลพีจีที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีราคาสูงกว่าที่ผลิตภายในประเทศ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ขอให้รัฐชดเชยค่าก๊าซแอลพีจีที่นำเข้าจากเงินกองทุนน้ำมันที่เรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำมัน และผู้ใช้น้ำมันเป็นผู้รับภาระ แต่ผู้ใช้ก๊าซแอลพีจีในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการในเครือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการชดเชยราคาก๊าซแอลพีจีจากเงินกองทุนน้ำมัน ที่ประชาชนผู้ใช้น้ำมันเป็นผู้จ่าย คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ที่มีหน้าที่ในการดูแลกองทุนน้ำมัน เป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในกิจการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ยินยอมให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในเครือของผู้ถูกฟ้องดีที่ 1 ได้ประโยชน์จากก๊าซแอลพีจี ในราคาอิงผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีซึ่งต่ำกว่าราคาแอลพีจีในตลาดโลก โดยไม่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ทั้งที่ประชาชนทั่วไปต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมัน จึงเท่ากับว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในเครื่อของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ประโยชน์ แต่ประชาชนเสียประโยชน์ โดยอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในเครือของผู้ถูกฟ้องคดีที่1 สามารถซื้อก๊าซแอลพีจีได้ในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโลก และนำมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์อื่นขายให้ประชาชนและส่งออกในราคาตลาดโลก ผู้ถูกฟ้อง คดีที่ 1 เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการกระทำนี้ และผู้ใช้น้ำมันเป็นผู้รับภาระ… 
      
       นอกจากนั้น การผูกขาดธุรกิจพลังงานโดย ปตท. ยังลุกลามบานปลายมาถึงการปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีอย่างไม่เป็นธรรมด้วย เนื่องจากในความเป็นจริง ราคาของก๊าซเอ็นจีวีหรือก๊าซธรรมชาติในตลาดโลก ตามข้อมูลที่ปรากฏใน Nymex naturalgas price graph นั้น ก๊าซเอ็นจีวีมีราคาอยู่ที่สองบาทกว่าต่อกิโลกรัม ข้อมูลของไนเม็กซ์แสดงให้เห็นว่าปริมาณก๊าซหนึ่งล้านบีทียู ราคา สองเหรียญหรือสองดอลล่าร์กว่า ซึ่งหนึ่งล้านบีทียูก็คือยี่สิบแปดกิโลกรัม เมื่อนำยี่สิบแปดกิโลกรัมหารสองเหรียญกว่า ก็มีค่าเท่ากับสองบาทกว่าเท่านั้น
      
       “แต่ทุกวันนี้ ปตท. ใช้ราคา 14-15 บาทขายประชาชนแล้วบอกว่านี่เป็นต้นทุนที่แท้จริง ไม่มีบริษัทเอกชนที่ไหนเขาทำได้ อยู่ดีๆ เอกชนผลิตอะไรที่ไม่มีประสิทธิภาพแต่ใช้ต้นทุนสูง แล้วไปขายประชาชน ไปผลักภาระให้ประชาชนนี่ไม่มีทางทำได้ แต่ที่ปตท. ทำได้นี่เพราะรัฐออกหน้าแทนตลอด กระทรวงพลังงานออกหน้าแทนตลอด รัฐมนตรีกกระทรวงพลังงานออกหน้าแทนตลอด เพราะเขาเป็นของรัฐ 
      
       “วันนี้ เมื่อได้ขึ้นราคาเสร็จสมอารมณ์หมายแล้วจะเปลี่ยนเป็นเอกชน ก็หมายความว่าเขาได้ใช้สิทธิของรัฐไปเยอะแยะมากมาย ตั้งแต่ผูกขาดท่อส่ง ตั้งแต่ขึ้นราคากาซเอ็นจีวีโดยอ้างว่าต้นทุนสูง ซึ่งในความเป็นจริงบอกได้เลยในตลาดโลก ใครผลิตด้วยต้นทุนสูงเจ๊งหมด เพราะเมื่อไม่สามารถผลักภาระไปให้ผู้บริโภคได้ เขาก็จะหันไปหาคนที่ผลิตได้ถูกกว่า ขณะที่ในเมืองไทย เมื่อปตท. เป็นเพียงผู้ผลิตรายเดียว จะขายในราคาต้นทุนซึ่งเป็นต้นทุนไม่มีประสิทธิภาพก็ได้ รัฐก็ยอม ทั้งที่ในอเมริกา ราคาก๊าซยี่สิบแปดกิโลกรัมต่อสองเหรียญ เขาบอกกำไร แต่ในไทยบอกว่าต้องขึ้นราคาเป็น 14-15 บาทจึงจะคุ้มทุน”
      
       จริงอยู่ ที่ความเป็นรัฐทำให้ผู้บริโภครับภาระค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ดี เมื่อจะเปลี่ยนเป็นเอกชน สิทธิพิเศษนานัปการที่ ปตท. ได้รับ ซึ่งเปรียบเสมือน ‘อ้อยเข้าปากช้าง’ นั้น ปตท. ย่อมไม่ยอมคายออกมาง่ายๆ
      
       “เมื่อนำเอาสิทธิพิเศษของรัฐไปมอบให้บริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจและกำลังจะเป็นเอกชน สิทธิพิเศษหรือสิ่งที่เขากินเข้าไปแล้วนั้น ไม่เชื่อว่าเขาจะคืน เพราะราคาก๊าซเอ็นจีวีที่ปรับตัวสูง เขาก็ได้ไปแล้ว ผูกขาดท่อ ผูกขาดโรงกลั่นก็ทำได้แล้ว เป็นการผูกขาดเบ็ดเสร็จ หรือแม้แต่การซื้อแก๊ส ไม่มีวันที่จะซื้อแก๊สจากปากหลุมของผู้ที่ผลิตถูกที่สุดได้ เพราะท่อแก๊สก็เป็นของปตท. ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีหลุมแก๊สหนึ่ง ‘บริษัทเอ’ ผลิตได้ในราคาต่ำกว่าปตท. อยากขายให้ “บริษัทบี” ในราคาถูก แต่ไม่มีทางทำได้เลย เพราะ ‘บริษัทเอ’ ซึ่งเป็นบริษัทขุดเจาะนี้เขาต้องขายให้กับปตท.ก่อน เพราะปตท.ผูกขาดท่อแก๊ส เขาต้องขายให้ปตท. แล้วปตท.ก็ต้องกินค่าหัวคิวให้เสร็จสรรพก่อน จึงไปขายต่อให้ “บริษัทบี” ในราคาสูง
      
       “ถามว่า เราจะยกบริษัทที่ผูกขาดขนาดนี้ให้กลายเป็นเอกชนไปเลยงั้นหรือ? มันเป็นเรื่องอันตรายมากๆ ดังนั้น จริงๆ แล้วเราต้องถอยหลังกลับ ต้องกลับมาอีกด้านหนึ่งเลย นั่นคือ ปตท. ควรต้องกลับมาเป็นของรัฐด้วยซ้ำไป เพราะตราบใดที่ปตท.ยังสนุกสนานกับการมีอำนาจผูกขาดทั้งโรงกลั่น ทั้งการกำหนดราคาต้นทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพ ขณะที่ต้นทุนในตลาดโลกราคาอยู่ที่สองบาท แต่คุณกลับบอกว่าราคา 14 บาท โดยที่รัฐออกหน้า กระทรวงพลังงานออกหน้าแทน รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานออกหน้าแทน ถ้าเป็นบริษัทเอกชนบอกแบบนี้ คิดว่ารัฐจะออกหน้าแทนหรือ ตรงกันข้าม คงไปตรวจสอบกันใหญ่เลย ว่าทำไมมันแพงขนาดนี้”
      
       เพราะฉะนั้น ในความเห็นของอดีตวิศวกรผู้คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงธุรกิจพลังงานผู้นี้ จึงมองว่าการแปรรูปหรือการขายหุ้น ปตท. ออกไป 2 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้การผูกขาดเป็นไปอย่างเบ็ดเสร็จยิ่งขึ้น ดังนั้น สิ่งที่เหมาะสมก็คือ เราควรจะทำให้ปตท. คืนกลับมาเป็นของรัฐ หรือหากยังต้องการแปรรูปให้เป็นเอกชนอย่างถูกต้องเหมาะสมและมีธรรมาภิบาล ปตท. ก็ควรจะคืนสิทธิคืนอำนาจทั้งหมดแก่รัฐ เช่นไม่ควรผูกขาดโรงกลั่นถึง 5 โรง ควรมีสิทธิ์ถือครองได้เพียงแค่โรงเดียว เพื่อให้เกิดการแข่งขันกันอย่างเสรี หรือแม้แต่เรื่องท่อแก๊สก็ควรต้องเป็นของหลวง ท่อแก๊สต้องเปรียบเสมือซุปเปอร์ไฮเวย์ ที่ไม่ว่ารถยี่ห้อไหน คันไหนๆ ก็วิ่งได้ ประชาชนคนไหนก็ใช้บริการได้ แต่ทุกวันนี้ ปตท. ผูกขาดทั้งหมด จึงเป็นเหตุให้ไม่มีใครตั้งโรงแยกแก๊ส เพราะไม่มีท่อส่งแก๊ส ทั้งที่ทุกวันนี้ แก๊สในอ่าวไทยมีการผลิตติดอันดับต้นๆ ของโลก”
      
       ขยะเน่าเหม็น เรื่องหมกเม็ดในปตท
      
       ในความเห็นของอดีตวิศวกรที่ ‘คลุกวงใน’ ธุรกิจพลังงานมาช้านานผู้นี้ สิ่งซึ่งน่าเป็นห่วงของประเทศไทยก็คือการเมืองเรายังไม่ก้าวไปสู่จุดที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง การเมืองส่วนใหญ่ยังเป็นธุรกิจการเมือง และเมื่อเป็นธุรกิจนั่นหมายความว่ามันย่อมเกี่ยวพันกับการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อพรรค มิใช่ต่อประชาชน ดังนั้น ตราบใดที่การเมืองของเรายังเป็นอยู่เช่นนี้ เมื่อต้องตัดสินใจในเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวพันกับนโยบาย จึงมักหนีไม่พ้นวังวนเดิมๆ ที่เกี่ยวพันกับคำว่า ‘ผลประโยชน์’ ซึ่งในปตท. ก็มีสิ่งที่หมกเม็ดไว้หลายเรื่อง และตราบใดที่ยังไม่ก้าวสู่การเป็นเอกชนเต็มตัว ตราบนั้นสถานะของความเป็นรัฐ ก็จะยังคงปกป้อง ‘ขยะหมกเม็ด’ เหล่านั้นได้ดีอยู่
      
       “สิ่งที่หมกเม็ดนั้นก็อย่างเช่นเรื่องก๊าซเอ็นจีวี ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงสิ่งที่เรียกว่า ‘ทุนครอบงำนโยบายแห่งรัฐ’ เพราะในความเป็นจริง ก๊าซเอ็นจีวีที่ผลิตจากหลุมก๊าซในอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยนั้น มีความบริสุทธิ์มาก คือมี ‘มีเทน’ สูงถึง 90 กว่าเกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ ขณะที่ก๊าซซึ่งได้จากทะเลมีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ถึง 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ หมายความว่า ถ้าคุณไปเติมก๊าซที่ภาคอีสานนะ รถวิ่งได้เร็วฉิวเลย ซึ่งในมาตรฐานโลก เขาระบุไว้เลยว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในก๊าซเอ็นจีวีนั้น ต้องมีได้แค่ 0-3 เปอร์เซ็นต์ 
      
       “แต่ในประเทศไทย กระทรวงพลังงานได้ออกกฏระเบียบมาว่า ให้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 18 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายความว่า ก๊าซทางอิสานซึ่งเป็นก๊าซคุณภาพดีเกือบจะเป็นมีเทนร้อยเปอร์เซ็นต์ สามารถนำคาร์บอนไดออกไซด์ไปใส่ได้ 18 เปอร์เซ็นต์ เขาปรับมาตรฐานให้ต่ำลงมาเท่ากัน ทั้งที่จริงแล้ว สิ่งที่ถูกต้องและควรทำคือ ควรจะปรับมาตรฐานที่ต่ำให้สูงขึ้น พยายามทำให้มีมีเทนเพิ่มมากขึ้น แทนคาร์บอนไดออกไซด์ แต่กระทรวงพลังงานกลับออกกฏให้นำคาร์บอนไดออกไซด์ไปใส่ ดังนั้น ถ้าคุณเติมก๊าซเอ็นจีวีในถังไปร้อยกิโล คุณจะได้ก๊าซจริงๆ ไปแค่ 82 เปอร์เซ็นต์ อีก 18 เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่คุณกลับต้องจ่ายเงินในราคาเอ็นจีวี และคนที่ต้องจ่ายคือประชาชน ที่ต้องจ่ายถึงกิโลกรัมละ 14-15 เสมือนว่ามันเป็นก๊าซที่มีพลังงานอยู่เต็ม ทั้งที่จริงๆ แล้ว คาร์บอนไดออกไซด์มันเป็นก๊าซเสีย
      
       “การที่กระทรวงพลังงานออกกฏแบบนี้ ก็คือการเอาเปรียบผู้บริโภค คือการขายขยะในราคาเอ็นจีวี ควรจะถูกฟ้องด้วยซ้ำไป และที่สำคัญก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็เป็นก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก แต่บริษัทกลับประกาศตัวว่าตัวเองมีธรรมาภิบาล ปลูกป่าเยอะๆ ทั้งที่การปลูกป่าของเขาทั้งหมด ยังไม่อาจทดแทนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เขาใส่ลงไปในก๊าซเอ็นจีวี รวมถึงการขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีที่ปรับขึ้นสวนทางกับตลาดโลก ต้องมีคำถามกลับไปว่า กระทรวงพลังงานมีอะไรกับปตท. หรือเปล่า ทำไมเห็นกราฟราคาก๊าซในตลาดโลกดิ่งลงเหวแล้วยังยอมให้ปตท. ขึ้นราคา การขึ้นราคาก๊าซสวนทางตลาดโลกนั้น เรื่องนี้มีเงื่อนงำ มันไม่โปร่งใส เมื่อ ปตท. อ้างข้อมูลลอยๆ แล้วปลัดกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานก็เชื่อ โดยไม่เปิดกราฟตลาดโลกดูเลยงั้นหรือ นี่จึงเป็นที่มาที่ทำให้เชื่อว่า ปตท. หรือรัฐ โดยข้าราชการประจำหรือข้าราชการการเมืองเองนั้น ไม่โปร่งใส 
       
       "แล้วก็คงตอบคำถามไม่ได้หรอกว่าทำไมจึงขึ้นราคาสูงถึง 14 บาท การที่เขาให้เหตุผลว่าเป็นต้นทุนที่แท้จริงนั้น ลองเปรียบเทียบกัน ถ้ามีแม่บ้าน 2 คน คนหนึ่งขี่จักรยานไปซื้อหมู อีกคนนั่งโรสลอยด์ไปซื้อหมู ถามว่าเป็นต้นทุนจริงไหม? คำตอบคือ เป็นต้นทุนจริงทั้ง 2 กรณี แต่เป็นต้นทุนที่มีประสิทธิภาพงั้นหรือ คำถามก็คือ ขณะที่อเมริกาขายก๊าซเอ็นจีวีได้ในราคาสองบาทต่อกิโลกรัม แต่ทำไมประเทศไทยกลับต้องขายต้องในราคาสูงถึง 15 บาท ทั้งที่ขุดในอ่าวไทย หากเป็นเช่นนี้กระทรวงพลังงานมีปัญหาแล้ว
      
       “นี่เป็นผลของการที่เราปล่อยให้บริษัทหนึ่งมีขนาดใหญ่มากจนสามารถครอบงำนโยบายรัฐได้ การที่ก๊าซเอ็นจีวีมีขายอยู่เจ้าเดียว แล้วรัฐก็รับประกัน ทั้งยังปล่อยให้มีการผูกขาดด้วย เหล่านี้ถือเป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 84 รัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่าต้องเป็นการแข่งขันเสรี แต่นี่เป็นการผูกขาด ผิดรัฐธรรมนูญแน่นอน”
       …
       เงื่อนงำมากมายเกี่ยวกับปตท. ที่ประชาชนต้องคอยติดตามและตรวจสอบ อาจส่งผลให้ ‘ระหว่างทาง’ ของการแปรรูปเป็นเอกชน ต้องเสี่ยงต่อการถูกขุดคุ้ยถึงเรื่องหมกเม็ดต่างๆ ดังนั้น หากมองในอีกแง่หนึ่งแล้ว คนปตท. ก็อาจไม่ปรารถนาที่จะก้าวสู้การเป็นเอกชนนัก ต่างจากความต้องการของกลุ่มทุนทางการเมืองที่มีความพยายามผลักดันให้รัฐวิสาหกิจแห่งนี้ก้าวสู่ความเป็นบริษัทเอกชนที่ผูกขาดธุรกิจพลังงานอย่างเบ็ดเสร็จในวันหนึ่งวันใดข้างหน้า
        
       *หมายเหตุ  ผู้สนใจข้อมูลกราฟราคาก๊าซเอ็นจีวีในตลาดโลก ( Nymex naturalgas price)  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
       http://www.wtrg.com/daily/gasprice.html
       สำหรับข้อมูลการนำเข้า-ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของไทย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
       https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/th.html
       ส่วนผู้สนใจรายงานของสำนักข่าว Bloomberg ที่ระบุถึงคุณภาพน้ำมันในอ่าวทาพิสของมาเลเซีย ซึ่งเป็นน่านน้ำที่เชื่อมต่อกับอ่าวไทย คลิกอ่านข้อมูลได้ที่
       http://translate.google.co.th/translate?hl=th&sl=th&tl=en&u=http%3A%2F%2Fwww.bloomberg.com%2Fapps%2Fnews%3Fpid%3Dnewsarchive%26sid%3DaQ6JH.w5UlNY%26refer%3Denergy
       

ปตท. มหาชน กับอำนาจพิเศษ ผูกขาด

นอกจากการผูกขาดทางการค้าพลังงานแล้ว ปตท. ยังมีอำนาจทาง กม. พิเศษอีกมากมาย ภาษีป้าย ก็ยังถูกยกเว้น เรียกเก็บไม่ได้ เงิน 3 หมื่น ที่ทำเรื่องยื่นไปถึงไหนๆ ตามดูกันครับ

คลิ๊กขวาที่รูป เปิดในหน้าใหม่ ขยายดู






วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

แฉขุมทรัพย์ปตท.ทุกรัฐบาลอุ้มผูกขาดธุรกิจ โยนภาระผู้บริโภค



ทีดีอาร์ไอจี้ ก.พลังงาน แจงคำนวณต้นทุนเอ็นจีวี-แอลพีจี สับเละรัฐเลือกข้างอุ้ม ปตท. ผูกขาดธุรกิจฟันส่วนแบ่งตลาดเว่อร์ 85% โยนภาระให้ประชาชน ย้ำชัดเป็นขุมทรัพย์ของนักการเมืองและข้าราชการ ดันพรรคพวกนั่งกรรมการโกยค่าตอบแทนรายละกว่า 3 ล้าน ไร้มืออาชีพตัวจริงทำหน้าที่ เตือนประชาชนเริ่มไม่พอใจเป็นวงกว้าง ระวังเป็นระเบิดเวลา และเป็นเหตุให้รัฐพับแผนลดถือหุ้น ปตท. เหลือ 49%...

เมื่อวันที่ 26 ม.ค. ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวเห็นด้วยต่อการปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวี ว่า ที่ผ่านมา นโยบายการอุดหนุนก๊าซเอ็นจีวีและแอลพีจีไม่ยั่งยืน เพราะราคาขายปลีกที่ถูกกว่าราคาตลาด ทำให้มีการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง รวมทั้งมีการลักลอบนำก๊าซแอลพีจีออกนอกประเทศ ทำให้เป็นรูรั่วทางการเงิน อย่างไรก็ตาม ได้แสดงความกังขาต่อต้นทุนก๊าซเอ็นจีวีและแอลพีจีที่แท้จริง ซึ่งทำให้ประชาชนถูกมัดมือชก เนื่องจากราคาขายปลีกที่ทางกระทรวงพลังงานอ้างถึงเป็นราคาที่บวกต้นทุนของผู้ประกอบการ ไม่ใช่ราคาตลาด เนื่องจากตลาดพลังงานไทยเป็นตลาดที่ผูกขาด ตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ แบบเบ็ดเสร็จ โดย ปตท. และบริษัทในเครือ ทำให้ไม่มีราคาตลาดที่สามารถอ้างอิงได้ มีแต่ตัวเลขต้นทุนตามที่ที่ปรึกษากระทรวงพลังงานคำนวณขึ้นมา

นอกจากนี้ มองว่า รัฐควรทำหน้าที่ในการกำกับดูแลธุรกิจผูกขาดเพื่อคุ้มครองประชาชน แต่แนวนโยบายด้านพลังงานตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน กลับสะท้อนว่ารัฐอยู่ข้างผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการแอบโอนโครงข่ายท่อก๊าซที่ผูกขาดให้แก่ ปตท. และสิทธิประโยชน์ที่ ปตท. เคยได้รับในช่วงที่มีการนำ ปตท. เข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี พ.ศ. 2544

รวมถึงการขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีเพียงกิโลกรัมละ 1 บาท สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ จัดเก็บเพิ่มขึ้นถึง 12 บาท และยังมีการเปิดทางให้ ปตท. เข้าเทกโอเวอร์ธุรกิจกลั่นน้ำมันหลายแห่ง จนกระทั่ง ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทกลั่นน้ำมัน 5 แห่ง ใน 6 แห่ง ยกเว้นเอสโซ่ แห่งเดียวเท่านั้นที่ยังไม่ถูกเทกโอเวอร์ ส่งผลให้ ปตท. และบริษัทในเครือ ผูกขาดธุรกิจการกลั่นน้ำมัน โดยมีส่วนแบ่งตลาดการกลั่นน้ำมันสูงถึงร้อยละ 85 ส่งผลให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจต่อเนื่อง เช่นเดียวกับธุรกิจปั๊มน้ำมัน

"การที่รัฐบาลเลือกที่จะเข้าข้าง ปตท. ตลอดมาเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ สำหรับระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบไทยๆ เนื่องจากกำไรอันมหาศาลของ ปตท. โดยปี พ.ศ. 2553 มีกำไร 167,376 ล้านบาท ถือเป็นขุมทรัพย์ของผู้กุมอำนาจนโยบาย ทั้งที่เป็นนักการเมืองและข้าราชการประจำ หากเข้าไปดูโครงสร้างกรรมการ ปตท. ทุกยุคทุกสมัย จะพบแต่ข้าราชการกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานอัยการ เป็นหลัก โดยมีนักธุรกิจที่มีสายโยงใยกับการเมืองเข้ามาร่วมด้วย  เช่นในปัจจุบันมีนักธุรกิจสายโทรคมนาคมเข้าเป็นกรรมการ ปตท.  ไม่น่าเชื่อว่าธุรกิจที่มีรายได้เกือบ 2 ล้านล้านบาท จะไม่มีมืออาชีพทางด้านพลังงาน กฎหมายพลังงาน หรือธุรกิจพลังงานที่เข้ามาบริหารจัดการเลย"

นอกจากนี้แล้ว รายงานการวิจัยของ ดร.ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ ยังระบุว่า ค่าตอบแทนคณะกรรมการของ ปตท. ในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งสูงถึง 42 ล้านนั้น หรือกรรมการต่อคนเกือบ 3 ล้านบาท สูงกว่าค่าใช้จ่ายในหมวดเดียวกันนี้ของ Statoil ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของนอร์เวย์ ที่มีรายได้ธุรกิจเป็นสองเท่าของ ปตท. และมีการประชุมกรรมการถึง 27 ครั้งต่อปี ทำให้เกิดความสงสัยว่า ค่าตอบแทนสูงลิ่วนั้น เป็นไปเพื่อที่จะซื้อใจกรรมการ ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดชะตากรรมของ ปตท.หรือไม่

ดังนั้น จึงมองว่าการผูกขาดโดยเสรีของ ปตท. เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะในยุคที่ราคาน้ำมันแพง ซึ่งต้องมีการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดหาแหล่งพลังงานเพื่อที่จะประหยัดเงินตรา แต่ระบบที่ผูกขาดแบบสมบูรณ์ที่เป็นอยู่ ไม่เอื้อต่อสิ่งเหล่านี้ และที่น่าเป็นห่วง ทั้งรัฐบาลและหน่วยงานที่กำกับดูแล ต่างดูเหมือนจะไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับปัญหานี้  โดยผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลจะเข้าไปมีส่วนได้เสียกับ ปตท. เกือบหมด

ส่วนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะผู้ซื้อก๊าซรายใหญ่ กลับไม่มีปฏิกริยาต่อราคาค่าก๊าซที่รับซื้อ เพราะต้นทุนทั้งหมดสามารถผ่านต่อไปยังค่าไฟฟ้า โดยผู้บริโภคเป็นผู้รับภาระ ในขณะที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลมิให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจพลังงานมิได้ดำเนินการแต่อย่างใดเพื่อที่จะสลายอำนาจผูกขาดของ ปตท. มีการออกกฎ กติกาเพื่อที่จะให้ผู้ประกอบการรายอื่น สามารถเชื่อมต่อและเช่าใช้โครงข่ายท่อก๊าซที่ ปตท. ผูกขาดในปัจจุบัน แม้จะปฏิบัติหน้าที่มาแล้วถึง 4 ปี

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาไม่มีรัฐบาลใดจะกล้า หรืออยากเข้าไปสลายขุมทรัพย์ของ ปตท. เพื่อผลประโยชน์ของประเทศ โดยส่วนตัวเชื่อมั่นว่า การผูกขาดของ ปตท. เป็นเพียงระเบิดเวลา เพราะความไม่พอใจยิ่งแพร่หลายในกลุ่มประชาชนในวงกว้างมากขึ้น ดังที่สะท้อนจากบล็อกต่างๆ หรือการแสดงความคิดเห็นในบทความในสื่อที่เกี่ยวกับ ปตท. ไม่ว่าจะหนังสือพิมพ์ฉบับใดๆ เป็นมุมมองในด้านลบเกือบทั้งหมด ความไม่ไว้วางใจรัฐบาลนั้น ก็สะท้อนให้เห็นชัดเจนแล้ว เมื่อแผนที่จะลดการถือหุ้นของภาครัฐใน ปตท. ให้เหลือร้อยละ 49 นั้น เป็นอันต้องพับไป

ดังนั้น เพื่อคลายข้อกังขาของสาธารณชน ทางกระทรวงพลังงานควรออกมาชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการคำนวณต้นทุนก๊าซเอ็นจีวี และหลักเกณฑ์ในการขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี ที่ดูเหมือนจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจปิโตรเคมีโดยเฉพาะ ตามที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ตั้งคำถาม.

ไทยรัฐออนไลน์

    โดย ไทยรัฐออนไลน์
    26 มกราคม 2555, 11:08 น.

บทสรุปพลังงานอ่าวไทย-กัมพูชาของใคร (แก้ไข)


วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บทสรุปพลังงานอ่าวไทย-กัมพูชาของใคร

ดร.รักไทย บูรพ์ภาค : ที่ปรึกษาประจำสำนักงานใหญ่ธนาคารโลกด้านนโยบายพลังงาน/สิ่งแวดล้อม และรองผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงานมหาวิทยาลัยMIT สหรัฐอเมริกา


  
       วัสดีอีกครั้งทุกๆ ท่าน อาทิตย์นี้ผมอยู่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. มีเหตุการณ์ภัยธรรมชาติมากมาย ไหนจะแผ่นดินไหว ไหนจะพายุเฮอริเคนเข้า ก็ต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอ ทุกๆ ท่านก็ต้องรักษาตัวด้วยเพราะตอนนี้ที่เมืองไทยก็เหมือนว่าจะเข้าช่วงฤดูฝนแล้ว รักษาตัวด้วยนะครับทุกท่าน
  
       กลับมาเรื่องที่ผมสัญญาว่าจะนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเรื่องแหล่งพลังงานพื้นที่ทับซ้อนนี้ ก่อนอื่นบอกก่อนว่าทุกท่านต้องทำใจเป็นกลางแล้วมองตามภาพข้างล่าง สอง
ภาพนี้








มองกันตามข้อมูลนี้ ผมได้มาจากกระทรวงพลังงานภายในของสหรัฐอเมริกา (U.S. Department of the Interior ซึ่งดูแลด้านนี้) ข้อมูลอันนี้ตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับแหล่งพลังงานในภูมิภาคของเราตามรูปเลย ถ้ามองคร่าวๆ ตามตะเข็บชายแดนบริเวณไทย-กัมพูชาจะเห็นว่ามันอยู่ในแหล่งพลังงานใต้พิภพที่เรียกว่า (Thai Cenozoic Basins)??? หมายความว่ายังไง หมายความว่าแหล่งพลังงานบนพื้นที่ทับซ้อนถ้าดูจากข้อมูลทางธรณีวิทยาที่เห็นก็ต้องบอกว่าเป็นแหล่งพลังงานของไทย ท่านผู้อ่านพอจะเห็นภาพหรือยังว่าคราวนี้ถ้าเรามองย้อนกลับแล้วจะเกี่ยวอะไรกับเหตุการณ์พื้นที่ทับซ้อนในช่วง 2-3 ปีนี้ หรือไม่ขอตั้งข้อสังเกตว่า
  
       1. ถ้าการที่จะมีข้อมูลของสหรัฐอเมริกามาตีพิมพ์เรื่องนี้เมื่อปีที่แล้วเป็นไปได้ หรือไม่ว่าข้อมูลดิบน่าจะมีก่อนหน้านี้ถึง 3-4 ปีแล้ว
  
       2. เป็นอีกหนึ่งเหตุผลหรือเปล่าที่ทางกัมพูชาพยายามทำให้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนแล้วทางเขาจะได้ผลประโยชน์ด้วยซึ่งทางฝั่งเขาไม่น่าจะมีสิทธิแต่แรก
  
       คราวนี้เพื่อความชัดเจน ผมเขียนจดหมายไปถึงผู้ที่จัดทำข้อมูลชุดนี้ที่ทำงานอยู่ที่กระทรวงพลังงานภายในของสหรัฐอเมริกา ผลปรากฏว่าทางเขาไม่ตอบอะไรเลย (ปกติติดต่ออะไรเขาตอบเสมอ) อาจจะเป็นเพราะว่าทางอเมริกาไม่อยากยุ่งหรือว่ามีบริษัทน้ำมันสัญชาติอเมริกาเข้าไปเอี่ยวกับทางฝั่งกัมพูชารึป่าวอันนี้ผมไม่ทราบ... แล้วจากข้อมูลที่ได้ประเด็นข้อตกลงเรื่องนี้ควรจะเป็นอย่างไรซึ่งก่อนหน้านี้มีผู้ใหญ่ประจำกระทรวงบอกว่า แบ่งพลังงานอ่าวไทยเขมรวิน-วิน 50:50 ตรงพื้นที่ทับซ้อนใกล้ฝั่งใครเอาไป80:20” วิน-วินจริงรึครับ?? 
  
       ถ้าจากข้อมูลชุดนี้ ท่าทางว่าฝั่งกัมพูชาเขาจะวินอย่างเดียวละครับเนี่ย เพราะทางเขาไม่มีสิทธิ์ตั้งแต่แรกแล้วมันควรจะเป็นอย่างไรละ ถ้าถามผมโดยยึดผลประโยชน์ของชาติไทบเป็นหลักและอิงตามสากลควรจะเป็นอย่างนี้
  
       1. แหล่งน้ำมันฝั่งใครของประเทศนั้น เราก็คงไม่อยากไปเอาของเขาอยู่แล้ว
  
       2. บนพื้นที่ทับซ้อนไทยต้องไม่ต่ำกว่า 80% เพราะเป็นแอ่งพลังงานของเราแต่แรก แต่เข้าใจว่ากลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเราอาจจะต้องให้เขาบ้างเพื่อจะได้มีการนำพลังงานมาใช้ทั้งสองฝ่าย โดยต้องเปิดเผยข้อมูลการขุดเจาะทั้งสองฝ่าย (ในกรณีที่เรามีข้อมูลทุกอย่างพร้อม และตัดสินใจจะนำพลังงานมาใช้)
  
       3. แหล่งน้ำมันบริเวณฝั่งกัมพูชาเนื่องจากว่าอยู่ในแอ่งเดียวกับเรา (Thai Cenozoic Basins) เขาต้องรายงานข้อมูลการขุดเจาะรวมถึงวันที่จะเจาะในรัศมี 4-5 กิโลเมตรนับจากเขตแดนทางกัมพูชาไปในประเทศกัมพูชา และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากเราในกรณีที่หลุมเจาะใกล้เขตแดนระหว่างประเทศในระยะ 4-5กิโลเมตรทำไมต้องเป็นแบบนี้??? เพราะป้องกันทางฝั่งกัมพูชาใช้เทคโนโลยีในการเจาะมาลักลอบเอาน้ำมันของเรา เพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยีการเจาะแบบแนวนอน (Horizontal Drilling) ซึ่งแต่ก่อนมีแบบแนวตั้งแบบเดียว (Vertical Drilling) และช่วงท่อแนวนอนนี้สามารถยึดไปได้ประมาณ 3-4 กิโลเมตร ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีบางประเทศนำไปใช้ในการลักลอบน้ำมันใต้ดิน (บางแหล่งชั้นน้ำมัน Connect กันหมด) และรัฐบาลเรารวมไปถึงคนไทยเราต้องรู้ทันด้วย ตามรูปประกอบจาก Internet ข้างล่าง

ซึ่งข้อตกลงนี้ก็ต้องให้นักกฎหมายและนักธรณีวิทยามาดูด้วย เพราะผมพูดในเชิงนโยบายและประสบการณ์ของผมด้านพลังงานและขุดเจาะน้ำมัน สุดท้ายนี้ผมเชื่อว่าถ้าคนไทยเราสามัคคีกันผลประโยชน์ต้องตกเป็นของคนไทยแน่นอน ดูอย่างทีมวอลเลย์บอลหญิงของเราสิเป็นตัวบอกได้ดีเลยครับ ผมขอฝากข้อมูลหรือบทความนี้ไปถึงคนไทยทุกคนและรัฐบาลใหม่ด้วย ขอขอบคุณครับ

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

“วิกฤตไฟฟ้า 5 เมษา” วิกฤตเทียมในวิกฤตจริงและทางออก

โดย ประสาท มีแต้ม24 มีนาคม 2556
บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาจะเล่นไม่เลิกกับเหตุการณ์ที่รัฐมนตรีพลังงานได้สร้างกระแสให้สังคมไทยต้องตกอกตกใจในเรื่องที่จะเกิดไฟฟ้าดับในช่วงก่อนสงกรานต์หรือที่เรียกกันว่า “วิกฤตไฟฟ้า 5 เมษายน” แต่ต้องการจะเสนอวิธีการออกจากวิกฤตอย่างยั่งยืนที่ปฏิบัติได้จริงของประเทศเยอรมนี
      
        ในปี 2555 ประเทศไทยใช้ไฟฟ้าคิดเป็นเงินถึง 5.5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 17% นอกจากนี้ยังมีแผนการที่จะสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกปีละประมาณ 2 แสนล้านบาท ดังนั้น เรื่องไฟฟ้าจึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่จะมองข้ามไปได้
      
        นอกจากนี้ ท่านผู้อ่านจะสังเกตได้ว่า ในระยะ 10 ปีมานี้ ไม่ว่าจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ไหน ก็จะได้รับการต่อต้านจากคนในพื้นที่ทุกแห่งเช่นกัน บางพื้นที่ถึงขั้นฆ่าผู้นำชาวบ้าน (เช่นคดี คุณเจริญ วัดอักษร ที่ศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิต แต่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง) แต่ทุกคนก็ต้องการใช้ไฟฟ้าเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ
      
        มันเลยไม่เพียงแต่ดูแปลกๆ ในสังคมไทยเรา แต่มันกำลังนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงในสังคมไทยที่ผมเชื่อว่าคนไทยเราซึ่งรักสงบโดยดีเอ็นเอทุกคนคงไม่อยากจะเห็น
      
        ดังนั้น ถ้าเราปรารถนาอย่างจริงใจที่จะเห็นทางออกของปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืน เราก็ควรจะต้องค้นหาความจริงตามหลักอริยสัจ 4 คือเริ่มต้นจากการรู้จักปัญหาและเหตุของปัญหา พร้อมกับหาตัวอย่างดีๆ ของประเทศอื่นที่เขาสามารถแก้ปัญหาได้แล้ว
      
        แม้รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานจะออกมาบอกว่า “สามารถแก้ปัญหาได้แล้ว ไฟฟ้าจะไม่ดับแล้ว” แต่การค้นหาความจริงและการเรียนรู้ก็จำเป็นต้องมีกันต่อไป
      
       จะเลิกรากันไปเฉยๆ หรือ “นิรโทษกรรม” กันง่ายๆ คงจะไม่อารยะเป็นแน่! 
      
       มาเริ่มต้นกันที่ “วิกฤตไฟฟ้า 5 เมษา” ซึ่งผมเรียกว่า “วิกฤตเทียม” กันก่อน แต่จะขอกล่าวอย่างสั้นๆ นะครับ
      
       เริ่มแรกรัฐมนตรีพลังงานบอกว่า สาเหตุที่ไฟฟ้าจะดับเพราะแหล่งก๊าซที่เป็นเชื้อเพลิงหลักคือก๊าซธรรมชาติ (68% ของเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าทั้งหมด) มีปัญหา ทั้ง 2 แหล่งจากประเทศพม่าที่ต้องหยุดซ่อมตามปกติทุกปี และอีก 1 แหล่งจากท่อก๊าซไทย-มาเลเซียที่เจออุบัติเหตุถูกสมอเรือลากเสียหาย ทำให้กำลังสำรองของโรงไฟฟ้าเหลือเพียง 2% (จากที่เคยมี 20%) ซึ่งเป็นสภาพที่เสี่ยงอย่างมากต่อการเกิดไฟฟ้าดับในบริเวณกว้างทั้งประเทศ โดยจะดับอยู่นานถึงเป็น 10 วัน
      
       ใครจะไม่ตกใจมั่ง! 
      
       ความจริงปรากฏในเวลาต่อมาว่า คำแถลงดังกล่าวไม่เป็นความจริงที่จะนำไปสู่ปัญหาดังกล่าวครับ เพราะว่า
      
       (1) ท่อก๊าซไทย-มาเลเซียได้ซ่อมเสร็จแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ก่อนที่รัฐมนตรีแถลงเสียอีก
      
       (2) โรงไฟฟ้าที่รับก๊าซจากพม่าได้ถูกออกแบบให้สามารถใช้น้ำมันแทนได้ เมื่อก๊าซไม่มาตามนัดก็ไม่มีปัญหาจนไฟฟ้าดับ แต่อาจจะต้องเสียค่าไฟฟ้าแพงหน่อยเท่านั้นเอง
      
       (3) ก๊าซจากพม่ามี 2 แหล่ง แต่มีปัญหาเพียงแหล่งเดียว แต่รัฐมนตรีบอกว่าจำเป็นต้องหยุดเดินไฟฟ้าทั้งหมด เพราะต้องนำก๊าซทั้งสองแหล่งที่มีค่าความร้อนไม่เท่ากันมาผสมกัน ดังนั้นเสียไปหนึ่งจึงเท่ากับเสียสอง
      
       ผมได้ค้นข้อมูลการใช้ก๊าซทั้งสองแหล่ง (ซึ่งเป็นข้อมูลของกระทรวงพลังงานนั่นแหละ) พบว่า ก๊าซจากแหล่งหนึ่งถูกนำมาใช้ก่อนแหล่งที่สองนานถึง 2 ปี ดังนั้นที่ว่าต้องผสมกันจึงไม่เป็นความจริง นอกจากนี้ยังพบว่าในแต่ละปี สัดส่วนของก๊าซทั้งสองก็ไม่คงที่ บางเดือน 1 ต่อ 4 และบางเดือน 2 ต่อ 3 ถ้าผสมกันจริงสัดส่วนนี้ควรจะคงที่หรือใกล้เคียงกับค่าคงที่ คล้ายกับเครื่องแกงส้ม สัดส่วนของหอมกับกระเทียมต้องเกือบคงที่ จะผิดเพี้ยนไปบ้างก็คงไม่กี่กลีบหรอกนะ
      
       (4) รัฐมนตรีอ้างว่า ได้มีการเจรจากับพม่าเพื่อขอเลื่อนเวลาการซ่อมไปในช่วงที่การใช้ไฟฟ้าไม่สูง (เช่น ธันวาคม หรือมกราคม) แล้ว แต่ทางพม่ายอมเลื่อนให้ได้แค่ 1 วัน ทั้งๆ ที่ บริษัท ปตท.จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ถึง 1 ใน 4
      
       (5) รัฐมนตรีรวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ. (ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี) ได้บอกว่าจะแก้ปัญหาโดยการเจรจาขอซื้อไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซีย (ในราคาหน่วยละ 15 บาท-ซึ่งชาวญี่ปุ่นที่นั่งฟังอยู่ด้วยถามผมว่า ทำไมแพงจัง) ความจริงก็คือว่า เป็นการแลกไฟฟ้ากันเพราะความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของแต่ละประเทศไม่ตรงกัน (โครงการเขาบอกว่า The Thailand-Malaysia HVDC Interconnection is comprised of two 300 MW converter stations joined by a 110 km long 300 kV DC transmission line. The system provides for exchange of energy and peaking power between the two countries.) โครงการนี้ได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ 21 ธันวาคม 2545 หลังจากวันที่ตำรวจตีหัวชาวบ้านที่คัดค้านโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซียเพียง 1 วัน
      
       ที่ผมต้องเล่ามาทั้ง 5 ข้อนี้ก็เพราะต้องการจะพิสูจน์ว่า นี่คือ “วิกฤตเทียม” ในวิกฤตจริง
      
       ผมยังมีอีก 2 ประเด็นคือ วิกฤตจริงคืออะไร และทางออกจากวิกฤตจริงที่ยั่งยืนคืออะไร
       วิกฤตจริงคืออะไร
      
       ผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ.(คุณสิทธิพร รัตโนภาส) เคยประกาศผ่านจอโทรทัศน์ตั้งแต่ประมาณปี 2538 ว่า “จะไม่ยอมให้ให้ประเทศไทยใช้ก๊าซผลิตไฟฟ้าเกิน 50%” เพราะเป็นการเสี่ยงเกินไป เหมือนนำไข่ไปใส่รวมกันไว้ในตะกร้าใบเดียว แต่ด้วยอิทธิพลของพ่อค้าพลังงานได้ทำให้มีการใช้ก๊าซเพิ่มขึ้นเป็น 72% เฉยเลย
      
       นอกจากนี้ นโยบายพลังงานรวมทั้งแผนกำลังผลิตไฟฟ้า (พีดีพี) ก็ถูกผูกขาดโดยบริษัท ปตท.ที่ผูกขาดระบบท่อก๊าซทั้งหมดของประเทศ พ่อค้าถ่านหินก็ใช่ย่อย การจัดทำแผนก็ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน แม้กฎหมายได้กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วม แต่บางครั้งก็แอบไปรับฟังกันในค่ายทหาร ซึ่งผู้คัดค้านเข้าไม่ได้ บางแผนแอบเอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยัดเข้าไปอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย
      
       มันน่าอนาถจริงๆ นี่เป็นวิกฤตจริงและเป็นวิกฤตที่ถาวรเสียด้วย กรณี 5 เมษายน เป็นเพียงวิกฤตปลอม เป็นวิกฤตเทียมที่ตั้งอยู่บนวิกฤตจริงเท่านั้น
      
       ประเด็นสุดท้าย คือทางออกอย่างยั่งยืน กรุณาอย่าเพิ่งเบื่อนะครับ สิ่งดีๆ สำหรับคนรุ่นเราและลูกหลานของเรากำลังจะตามมา นั่นคือตัวอย่างดีๆ จากประเทศเยอรมนี
      
       ผมเคยเรียนผ่านคอลัมน์ “โลกที่ซับซ้อน” ว่าประเทศเยอรมนีได้ใช้เชื้อเพลิงหลายชนิด ทั้งนิวเคลียร์ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานหมุนเวียน โดยมีสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในปี 2555 ถึง 22% เพิ่มจากปีก่อนถึง 2% นอกจากนี้ รัฐบาลเยอรมนียังมีความพยายามแบบทะเยอทะยานตามแผนการที่จะให้ถึง 30% ในปี 2563 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า ซึ่งก็น่าจะเกินเป้าโดยไม่ต้องลุ้น
      
       ถ้าเราสามารถยกโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของเยอรมนีซึ่งได้แก่ พลังน้ำ ชีวมวล ลม แสงอาทิตย์และพลังความร้อนใต้ผิวโลก มาใช้ในเมืองไทย จะสามารถใช้ได้ถึง 83% ของที่คนไทยใช้ทั้งหมด ดังนั้น วิกฤตต่างๆ ไม่ว่าจริงหรือปลอมจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย
      
       ในบทความนี้ ผมจะนำเสนอข้อมูลการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเฉพาะที่เป็นก๊าซชีวภาพ (biogas) ซึ่งได้แก่ก๊าซที่ผลิตจากขี้วัว ขี้หมู ของเสียจากโรงฆ่าสัตว์ และโรงอาหารคน เป็นต้น
      
       ไบโอก๊าซดังกล่าวนี้ ประเทศไทยเรามีเยอะมาก อาจจะมากกว่าประเทศเยอรมนีเสียด้วยซ้ำ เพราะเราเป็น “ครัวของโลก” ถ้าของเสียเหล่านี้ถูกจัดการไม่ดีจะกลายเป็นปัญหาเชิงสิ่งแวดล้อม
      
       กลับมาที่เยอรมนี ในช่วงเวลา 10 ปี จาก 2543 ถึง 2553 จำนวนโรงไฟฟ้าจากไบโอก๊าซได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 1,050 เป็น 6,000 หรือเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 20% ในขณะที่กำลังผลิตรวมในปี 2553 ถึง กว่า 2,500 เมกะวัตต์ ซึ่งถ้าผลิตอย่างเต็มกำลัง 100% จะเกือบเพียงพอสำหรับใช้ในภาคใต้ของประเทศไทยได้ทั้ง 14 จังหวัด
      
       ที่น่าสังเกต ขนาดของโรงไฟฟ้าเป็นขนาดเล็ก เฉลี่ยโรงละ 0.42 เมกะวัตต์เท่านั้นเอง ต่างจากในบ้านเราเป็นอย่างมากที่นิยมสร้างกันที่ขนาด 9.9 เมกะวัตต์ ซึ่งฟังดูแปลกๆ เพราะกฎหมายระบุว่า ถ้าสร้างตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไปต้องมีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
      
       ศรีธนญชัยกันดีแท้นะประเทศไทยเรา! สมควรแล้วที่ชาวบ้านจึงต้องออกมาคัดค้านกันทุกแห่งหน ขอท่านผู้อ่านโปรดเข้าใจความจริงอันนี้ด้วย
       กราฟข้างต้นนี้มาจากงานวิชาการในวารสารฉบับหนึ่ง โปรดสังเกตนะครับว่า ในบางช่วงมีการเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ แต่ในบางปีมีการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด เช่น ในปี 2009 เป็นต้น ทั้งนี้เพราะมีการปรับปรุงในรายละเอียดของกฎหมายฉบับหนึ่งที่เรียกว่า ”กฎหมายเพื่อให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนเป็นอันดับแรก (Law for the Priority of Renewable Energies)” 
      
        สาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าวมี 3 ข้อ คือ ขาดข้อใดข้อหนึ่งจะเพี้ยนทันที
      
       ข้อที่ 1 ใครก็ตามที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ ให้สามารถป้อน (Feed In) กระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งได้ก่อนและไม่จำกัดจำนวน
      
       ประเทศไทยเรามีระบบโควตาครับ เช่น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (ใกล้ๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กทม.) ได้ลงทุนติดตั้งด้วยเงินลงทุนประมาณ 1 ล้านบาท แต่ทางการไฟฟ้านครหลวงไม่รับซื้อ แต่รับไฟฟ้าไปฟรีๆ ในวันหยุดทำการ
      
       เจ้าของโรงงานหีบน้ำมันปาล์มที่สุราษฎร์ธานี พยายามที่จะทำโรงไฟฟ้าชีวมวลจากของเสียแต่ปรากฏว่า การไฟฟ้าภูมิภาคไม่รับซื้อ โดยอ้างว่า “เรามีโควตาแค่ 3 ราย คุณเป็นรายที่ 4”
      
       ข้อที่ 2 เป็นสัญญาระยะยาวประมาณ 20-25 ปี สัญญาในประเทศไทยประมาณ 5 ปี แล้วใครจะกล้ามาลงทุนหากไม่ใช่พวกเดียวกันกับผู้มีอำนาจอนุญาต
      
       ข้อที่ 3 ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น (บ้าง) ให้เป็นภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ
      
       เรื่องพลังงานเป็นเรื่องที่ซับซ้อนก็จริงครับ แต่ไม่ได้ซับซ้อนจนเกินไป เราสามารถทำความเข้าใจได้ ที่รัฐมนตรีคนแล้วคนเล่าสามารถออกมาเป็น “เด็กเลี้ยงแกะ” สร้างเรื่องเท็จให้คนตกใจได้ปีแล้วปีเล่า เพราะสังคมไทยยังไม่รู้เท่าทันเท่าที่ควร
      
       งานวิจัยในเอกสารที่ผมอ้างถึง (The expansion of biogas fuelled power plants in Germany during the 2001–2010 decade: Main sustainable conclusions for PolandWojciech M. Budzianowski , Izabela Chasiak, Wroclaw University of Technology) ได้สรุปว่าสาเหตุที่โรงไฟฟ้าไบโอก๊าซได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็เพราะ 4 ปัจจัยต่อไปนี้ คือ
      
       หนึ่ง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สอง แรงจูงใจด้านทางการเงินจากกฎหมาย ดังกล่าว สาม การแสวงหาเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้น และ สี่ ความเข้มแข็งของภาคเกษตรเยอรมนี
      
       ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ เกษตรกรไทยโดยรวมยังอ่อนแอ แม้พวกเขาจะเป็นเจ้าของขี้หมู ขี้วัวซึ่งใช้ทำไบโอก๊าซ (รวมถึงเป็นเจ้าของดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน) แต่พวกเขายังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบชนชั้นกลางได้ พวกเขาออกมาคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในขอบเขตทั่วประเทศ เพราะเขากลัวผลกระทบที่ทำลายวิถีชีวิต ทำลายแหล่งอาหาร และทำลายสุขภาพ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหิน
      
       ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมาส่วนหนึ่งก็เพื่อให้ข้อมูลกับชาวบ้านที่จังหวัดกระบี่ที่กำลังค้นหาความจริงกับกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน 800 เมกะวัตต์ (เวทีเสวนาวันที่ 27 มีนาคม นี้) ทั้งๆ ที่ของเสียจากการเกษตรในจังหวัดกระบี่เพียงจังหวัดเดียวก็สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากเกินพอสำหรับคนกระบี่ทั้งจังหวัด หรือเลี้ยงอีก 2 จังหวัดใกล้เคียงก็ยังได้ (หมายเหตุ จากร่างรายงาน EHIA กรณีโรงไฟฟ้ากระบี่ ระบุว่า ในปี 2554 กระบี่ใช้ไฟฟ้า 53.03 ล้านหน่วย นั่นคือ ถ้าแปลงเป็นการใช้โรงไฟฟ้าด้วยอัตราเฉลี่ยของประเทศไทยก็ประมาณ 13-15 เมกะวัตต์เท่านั้น)
      
       แต่เจ้าของโครงการกลับเลือกใช้ถ่านหิน เพราะอะไร? 

วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

จับตา ผู้บริหารใหม่ ปตท.


“วิเชษฐ์-เบญจา” จ่อนั่งบอร์ด ปตท. “ณอคุณ” ยันลาออกไม่มีขัดแย้ง“เพ้ง”แค่เปิดโอกาสให้คนอื่นทำงาน



“ณอคุณ” อ้างลาออกประธานบอร์ดไม่ได้ขัดแย้งกับ “เพ้ง” อยากเปิดโอกาสคนอื่นเข้ามาทำงานแทนบ้าง กระทรวงพลังงานเผยประธานบอร์ดคนใหม่ต้องมีคุณสมบัติรับคำสั่ง “ทักษิณ” ได้โดยตรง ระบุชื่อ 2 คนมีสิทธิ์ลุ้นขึ้นแท่น “วิเชษฐ์ เกษมทองศรี” และ “เบญจา หลุยเจริญ”
แหล่งข่าวกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงการยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บมจ.ปตท. ของนายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ว่า นายณอคุณได้มีการแจ้งต่อบอร์ดเป็นการภายในว่า อยู่ในตำแหน่งบอร์ด ปตท.มานานกว่า 5 ปีแล้ว จึงอยากเปลี่ยนบทบาทของตัวเองไปทำงานในส่วนนโยบายด้านอื่นบ้าง เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในตำแหน่งนี้แทน พร้อมทั้งยืนยันว่าไม่ได้มีอะไรที่เป็นข้อขัดแย้งในการทำงานกับ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน เพราะมีอะไรก็สามารถที่จะพูดคุยกันได้โดยตรงอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นรุ่นพี่รุ่นน้องกันในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยกัน
แหล่งข่าวกล่าวว่า ปัจจุบันบอร์ด ปตท.มีทั้งสิ้น15 ท่าน ซึ่งตามระเบียบเปิดทางให้คนนอกขึ้นเป็นประธานบอร์ด ปตท.  โดยไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นปลัดกระทรวงพลังงานเท่านั้น ซึ่งในการคัดเลือกประธานบอร์ดจะเป็นการเลือกกันเองระหว่างบอร์ด ไม่ได้แต่งตั้งมาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  เพียงแต่ในทางปฏิบัติบอร์ดจะเสนอชื่อบุคคลที่สามารถทำงานประสานกับนโยบายกับทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้
“นับตั้งแต่ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เข้ามานั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มีการเปลี่ยนแปลงบอร์ด ปตท.เพียงคนเดียว คือ นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี ซึ่งถือว่ามีความสนิทสนมกันดีทางการเมืองกับนายพงษ์ศักดิ์ โดย ปตท.ซึ่งเป็นองค์กรพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศนั้น เป็นที่รู้กันดีว่าคนที่จะมาเป็นประธานบอร์ด ปตท.จะต้องมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีด้วย  เพื่อที่จะสามารถสั่งการมาที่บอร์ดได้โดยตรง “แหล่งข่าวกล่าว     ดังนั้น จึงมีการคาดหมายว่าคนที่จะเป็นประธานบอร์ดแทนนายณอคุณ น่าจะเป็นนายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งเพิ่งจะเข้ามาเป็นบอร์ด ปตท.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือไม่ก็ นางเบญจา หลุยเจริญ อธิบดีกรมศุลกากร ซึ่งอยู่ในบอร์ด ปตท.อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม มีข่าวว่ามีการทาบทามตัว นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตซีอีโอ ปตท. ให้เข้ามาเป็นประธานบอร์ดด้วย เพราะถือเป็นอีกคนที่ พ.ต.ท.ทักษิณต้องการอยากใช้งาน และเคยโทร.สายตรงถึงกันเป็นการส่วนตัวมาแล้ว โดยหากประธานบอร์ดเป็นนายประเสริฐ ซึ่งรู้เรื่องภายในองค์กร ปตท.ดีอยู่แล้ว ก็สามารถที่จะทำงานตอบโจทย์การเมืองได้ทันที
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การลาออกจากประธานบอร์ด ปตท.ของ นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เนื่องจากที่ผ่านมาถูกเครือข่ายภาคประชาชนกลุ่ม  ส.ว.รสนา โตสิตระกูล คัดค้านการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม โดยโจมตีมาตลอดว่า การให้ข้าราชการระดับสูงกระทรวงพลังงาน มานั่งในตำแหน่งบอร์ดรัฐวิสาหกิจในการกำกับดูแล เป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน ทำให้การปรับราคาค่าพลังงานต่างๆ  เป็นการเอื้อต่อรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเข้าทางฝ่ายการเมืองที่ต้องการปรับตัวนายณอคุณออกจากบอร์ดอยู่แล้ว เนื่องจากอยู่ในตำแหน่งนี้มากว่า 5 ปีแล้ว และจะช่วยให้ฝ่ายการเมืองตัดสินใจ เรื่องการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มได้ดียิ่งขึ้น.
แหล่งข่าว/เครดิตภาพประกอบข่าว  http://www.thaipost.net



 “ณอคุณ” อ้างลาออกประธานบอร์ดไม่ได้ขัดแย้งกับ “เพ้ง” อยากเปิดโอกาสคนอื่นเข้ามาทำงานแทนบ้าง กระทรวงพลังงานเผยประธานบอร์ดคนใหม่ต้องมีคุณสมบัติรับคำสั่ง “ทักษิณ” ได้โดยตรง ระบุชื่อ 2 คนมีสิทธิ์ลุ้นขึ้นแท่น “วิเชษฐ์ เกษมทองศรี” และ “เบญจา หลุยเจริญ”
    แหล่งข่าวกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงการยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บมจ.ปตท. ของนายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ว่า นายณอคุณได้มีการแจ้งต่อบอร์ดเป็นการภายในว่า อยู่ในตำแหน่งบอร์ด ปตท.มานานกว่า 5 ปีแล้ว จึงอยากเปลี่ยนบทบาทของตัวเองไปทำงานในส่วนนโยบายด้านอื่นบ้าง เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในตำแหน่งนี้แทน พร้อมทั้งยืนยันว่าไม่ได้มีอะไรที่เป็นข้อขัดแย้งในการทำงานกับ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน เพราะมีอะไรก็สามารถที่จะพูดคุยกันได้โดยตรงอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นรุ่นพี่รุ่นน้องกันในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยกัน
    แหล่งข่าวกล่าวว่า ปัจจุบันบอร์ด ปตท.มีทั้งสิ้น15 ท่าน ซึ่งตามระเบียบเปิดทางให้คนนอกขึ้นเป็นประธานบอร์ด ปตท.  โดยไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นปลัดกระทรวงพลังงานเท่านั้น ซึ่งในการคัดเลือกประธานบอร์ดจะเป็นการเลือกกันเองระหว่างบอร์ด ไม่ได้แต่งตั้งมาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  เพียงแต่ในทางปฏิบัติบอร์ดจะเสนอชื่อบุคคลที่สามารถทำงานประสานกับนโยบายกับทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้
    “นับตั้งแต่ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เข้ามานั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มีการเปลี่ยนแปลงบอร์ด ปตท.เพียงคนเดียว คือ นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี ซึ่งถือว่ามีความสนิทสนมกันดีทางการเมืองกับนายพงษ์ศักดิ์ โดย ปตท.ซึ่งเป็นองค์กรพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศนั้น เป็นที่รู้กันดีว่าคนที่จะมาเป็นประธานบอร์ด ปตท.จะต้องมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีด้วย  เพื่อที่จะสามารถสั่งการมาที่บอร์ดได้โดยตรง “แหล่งข่าวกล่าว     ดังนั้น จึงมีการคาดหมายว่าคนที่จะเป็นประธานบอร์ดแทนนายณอคุณ น่าจะเป็นนายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งเพิ่งจะเข้ามาเป็นบอร์ด ปตท.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือไม่ก็ นางเบญจา หลุยเจริญ อธิบดีกรมศุลกากร ซึ่งอยู่ในบอร์ด ปตท.อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม มีข่าวว่ามีการทาบทามตัว นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตซีอีโอ ปตท. ให้เข้ามาเป็นประธานบอร์ดด้วย เพราะถือเป็นอีกคนที่ พ.ต.ท.ทักษิณต้องการอยากใช้งาน และเคยโทร.สายตรงถึงกันเป็นการส่วนตัวมาแล้ว โดยหากประธานบอร์ดเป็นนายประเสริฐ ซึ่งรู้เรื่องภายในองค์กร ปตท.ดีอยู่แล้ว ก็สามารถที่จะทำงานตอบโจทย์การเมืองได้ทันที
    แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การลาออกจากประธานบอร์ด ปตท.ของ นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เนื่องจากที่ผ่านมาถูกเครือข่ายภาคประชาชนกลุ่ม  ส.ว.รสนา โตสิตระกูล คัดค้านการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม โดยโจมตีมาตลอดว่า การให้ข้าราชการระดับสูงกระทรวงพลังงาน มานั่งในตำแหน่งบอร์ดรัฐวิสาหกิจในการกำกับดูแล เป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน ทำให้การปรับราคาค่าพลังงานต่างๆ  เป็นการเอื้อต่อรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเข้าทางฝ่ายการเมืองที่ต้องการปรับตัวนายณอคุณออกจากบอร์ดอยู่แล้ว เนื่องจากอยู่ในตำแหน่งนี้มากว่า 5 ปีแล้ว และจะช่วยให้ฝ่ายการเมืองตัดสินใจ เรื่องการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มได้ดียิ่งขึ้น. 

ตั้ง 'วิเชษฐ์ เกษมทองศรี'นั่งประธานบอร์ด ปตท .คนใหม่



ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) วันนี้ (22 ก.พ.) มีมติแต่งตั้ง นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี   อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการบริษัทคนใหม่ แทนนายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ที่ลาออกเมื่อวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา
ขณะที่มีแนวโน้มว่า นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.จะเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการ ปตท. ด้วย
ทั้งนี้ นายวิเชษฐ์ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในยุคพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นอดีตแกนนำของพรรคไทยรักไทย ซึ่งนายวิเชษฐ์เพิ่งได้รับแต่งตั้งเข้ามาเป็นกรรมการ(อิสระ)ของปตท.แทนพล.ต.พฤณท์ สุวรรณทัต เมื่อวันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา
นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี เกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ที่อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายชัยวัฒน์ กับนางสุภาพร เกษมทองศรี สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนยีบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากวิทยาเขตบพิตรพิมุข ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ต่อมาจึงได้เข้ารับการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ จากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา (วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักวรรดิ) เมื่อปี พ.ศ. 2529 และปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปี พ.ศ. 2541
นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในระหว่างปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2540 ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ และเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในปี พ.ศ. 2544[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
ในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[4]




















วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556

พรบ.ปิโตรเลี่ยมแก้ไข ฉบับที่7 พ.ศ.2555 (ยังไม่ได้กรอง)



http://www.parent-youth.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539381226&Ntype=5

 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสม โดยข้อเท็จจริงที่แหล่งปิโตรเลียมในประเทศส่วนใหญ่เป็นแหล่งทั้งเล็กทังใหญ่        ทงยังมีแหล่งพลังงานในประเทศที่ขุดพบอีกหลายแหล่ง แต่การให้ผลตอบแทนเป็นค่าภาคหลวงมีน้อยสุดในแถบเอเซียและยังน้อยกว่าหลายประเทศทั่วโลก.  อีกท้ังการมอบสัมปทานหรือการปรับเพิ่มลดค่าสัมปทาน  ยังเป็นอำนาจที่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา66. 67    85(4). สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ฉบับพศ2550. และ มีความเป็นธรรมแก่ประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศ มีศักดิและสิทธิเท่าเทียมกันในกรได้รับผลประโยชน์จากทรัพยากรแผ่นดินอย่างเท่าเทียมกัน.   ทุกคน.   จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

    มาตรา 1 พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 7) .. 2555

     มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

     มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้  ( ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)

มาตรา ๘๔ ให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงดังต่อไปนี้
  
  (ในกรณีที่เสียเป็นตัวเงิน ให้เสียในอัตราร้อยละสิบสองครึ่ง.   เจ็ดสิบของมูลค่าปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่าย หรือ
     (ในกรณีที่เสียเป็นปิโตรเลียม ให้เสียเป็นปริมาณที่มีมูลค่าเท่ากับหนึ่งในเจ็ด.      สามในสี่    ของมูลค่าปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่าย แต่ถ้าเป็นกรณีน้ำมันดิบที่ส่งออก ให้เสียเป็นปริมาณที่มี มูลค่าเท่ากับหนึ่งในเจ็ด.        สามในสี่    ของปริมาณน้ำมันดิบที่ส่งออกคูณด้วยราคาประกาศ และหารด้วยราคามาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม


                  

มาตรา ๘๕ ในการคำนวณมูลค่าปิโตรเลียมสำหรับเสียค่าภาคหลวงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(สำหรับปริมาณ ให้ถือเอาปริมาณปิโตรเลียมที่มีอุณหภูมิ ๖๐ องศาฟาเรนไฮท์ และความดัน ๑๔. ปอนด์ต่อหนึ่งตารางนิ้วเป็นเกณฑ์
(สำหรับราคา ให้ถือราคาดังต่อไปนี้
(น้ำมันดิบที่ส่งออก ให้ถือราคาประกาศ
(น้ำมันดิบที่ส่งชำระเป็นค่าภาคหลวงสำหรับน้ำมันดิบที่มิได้ส่งออกให้ถือราคาตลาด
(น้ำมันดิบที่ส่งชำระเป็นค่าภาคหลวงสำหรับน้ำมันดิบที่ส่งออก ให้ถือราคามาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(ปิโตรเลียมที่ส่งชำระเป็นค่าภาคหลวงเฉพาะส่วนที่มิใช่น้ำมันดิบ ให้ถือราคาตลาด
(ปิโตรเลียมนอกจาก (ถึง (ให้ถือราคาที่ขายได้จริงในกรณีที่มีการขาย และให้ถือราคาตลาดในกรณีที่มีการจำหน่าย
ทั้งนี้ ให้คิดมูลค่าปิโตรเลียม  สถานที่ขายหรือจำหน่ายในราชอาณาจักรที่อธิบดีและผู้รับสัมปทานจะได้ตกลงกัน แต่สำหรับน้ำมันดิบที่ส่งออก ให้คิดมูลค่า  สถานที่ส่งออก และในกรณีที่สถานที่ขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียมตาม (แตกต่างไปจากสถานที่ขายหรือจำหน่ายที่ได้ตกลงกัน ให้ปรับปรุงราคาโดยคำนึงถึงความแตกต่างของค่าขนส่งระหว่างสถานที่ขายหรือจำหน่ายนั้นกับสถานที่ขายหรือจำหน่ายที่ได้ตกลงกันแล้วด้วย

มาตรา 4ให้ยกเลิกความในมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .. 2514และให้ใช้ความต่อไปนี้  ( ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)
มาตรา 91 อธิบดี  คณะกรรมการปิโตรเลี่ยม มีอำนาจประเมินค่าภาคหลวงและเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อ
(ผู้รับสัมปทานมิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงภายในเวลาที่กำหนด
(ผู้รับสัมปทานยื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนค่าภาคหลวงที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป
(ผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกของอธิบดีหรือไม่ตอบคำถามของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตรวจสอบค่าภาคหลวงโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่สามารถแสดงหลักฐานในการคำนวณค่าภาคหลวง

มาตรา 5ให้ยกเลิกความในมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .. 2514และให้ใช้ความต่อไปนี้  ( ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)
มาตรา ๙๒ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรา ๙๑ อธิบดี   คณะกรรมการปิโตรเลี่ยม มี อำนาจ
(จัดทำรายการลงในแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงที่เห็นว่าถูกต้องเมื่อมิได้มีการยื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวง
(แก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงหรือในเอกสารที่ยื่นประกอบแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงเพื่อให้ถูกต้อง
(กำหนดมูลค่าของปิโตรเลียมตามราคาตลาดในเมื่อมีการจำหน่ายหรือมีการขายโดยมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(กำหนดจำนวนค่าภาคหลวงตามที่รู้เห็นหรือพิจารณาว่าถูกต้องเมื่อมีกรณีตามมาตรา ๙๑ ()




มาตราให้แก้ไขมาตราที่   98 ใน พรบ.ปิโตรเลี่ยม ..2514 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ ( ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)
มาตรา ๙๘ เงินเพิ่มอาจงดหรือลดลงได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๙๙ เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์หรือภาวะการผลิตปิโตรเลียมค่าภาคหลวงตามพระราชบัญญัตินี้อาจลดลงเป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินร้อยละสามสิบ.      สิบ.  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๙๙ ทวิ เพื่อส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่บางพื้นที่ภายในแปลงสำรวจหรือในพื้นที่ผลิตของผู้รับสัมปทานที่มีสภาพทางธรณีวิทยาไม่เอื้ออำนวยหรือที่มีพลังผลิตของพื้นที่ลดลง และไม่อยู่ในแผนการสำรวจหรือแผนการผลิตของผู้รับสัมปทานให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจลดหย่อนค่าภาคหลวงให้แก่ผู้รับสัมปทานโดยทำความตกลงกับผู้รับสัมปทานเพื่อให้ผู้รับสัมปทานทำการสำรวจและพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ตามแผนซึ่งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะได้กำหนดขึ้น
ในการให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีเพื่อลดหย่อนค่าภาคหลวงตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการคำนึงถึงสภาพทางธรณีวิทยาและศักยภาพทางปิโตรเลียมของพื้นที่ดังกล่าว สถิติค่าใช้จ่ายในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน ความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมภายในประเทศ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในตลาด และผลได้ผลเสียอื่นๆ ของประเทศที่จะได้รับจากการเร่งรัดให้มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม
ค่าภาคหลวงที่จะลดหย่อนตามมาตรานี้ จะต้องเป็นค่าภาคหลวงที่เกิดจากกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานดำเนินการอยู่แล้วในแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิตนั้น หรือเป็นค่าภาคหลวงที่จะเกิดขึ้นจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดไว้ในแผน และการลดหย่อนดังกล่าวจะต้องไม่เกินร้อยละเก้าสิบ.    20.   ของจำนวนค่าภาคหลวงที่ผู้รับสัมปทานพึงต้องเสียสำหรับปิโตรเลียมทั้งหมดที่ผลิตได้ในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิตที่อยู่ในแปลงสำรวจนั้น หรือไม่เกินร้อยละเก้าสิบ.  20 ของจำนวนค่าภาคหลวงที่จะเกิดจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนด โดยระยะเวลาที่ได้รับลดหย่อนจะต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ทำความตกลงหรือวันที่เริ่มผลิต และในความตกลงกับผู้รับสัมปทานดังกล่าวจะมีเงื่อนไขหรือมีข้อกำหนดอย่างใดๆ ก็ได้ โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชนในพื้นที่แหล่งพลังงาน หากเป็นในทะเลขอให้เป็นประชาชนทั่วไป

มาตราให้แก้ไขมาตราที่   99 ใน พรบ.ปิโตรเลี่ยม ..2514 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้  ( ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)
มาตรา ๙๙ ตรี ในพื้นที่ที่สภาพทางธรณีวิทยาบ่งชี้ว่าการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่นั้นจำเป็นต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากหรือการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่นั้นไม่อาจดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการอาจให้สัมปทานสำหรับพื้นที่ดังกล่าวโดยลดหย่อนค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมที่เริ่มผลิตขึ้นมาจากพื้นที่นั้นตามจำนวนปิโตรเลียมที่จะกำหนดไว้ในสัมปทานก็ได้แต่พื้นที่ที่กำหนดให้สัมปทานดังกล่าวจะต้องมีขนาดไม่เกินสองร้อยตารางกิโลเมตร และค่าภาคหลวงที่จะลดหย่อนต้องไม่เกินกว่าร้อยละเก้าสิบ 20.  ของจำนวนค่าภาคหลวงที่จะพึงเสีย โดยระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับลดหย่อนค่าภาคหลวงจะต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่เริ่มผลิตปิโตรเลียมจากพื้นที่ผลิตในการให้สัมปทานตามมาตรานี้จะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดๆ ก็ไ
ในการให้คำแนะนำของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้นำหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๙๙ ทวิ วรรคสอง มาใช้บังคับ
การเปิดให้สัมปทานตามวรรคหนึ่ง ให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*กำหนดข้อผูกพันในด้านปริมาณเงินและ/หรือปริมาณงานขั้นต่ำสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมที่ผู้ขอสัมปทานจะต้องปฏิบัติหากได้รับสัมปทานจากรัฐบาล โดยได้รับการลดหย่อนค่าภาคหลวงตามมาตรานี้
 โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชนในพื้นที่แหล่งพลังงาน หากเป็นในทะเลขอให้เป็นประชาชนทั่วไป

มาตราให้แก้ไขมาตราที่  100 ใน พรบ.ปิโตรเลี่ยม ..2514. และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้   ( ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)
มาตรา ๑๐๐ ในการเก็บค่าภาคหลวงจากบุคคลตามมาตรา ๘๘ จากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้รับสัมปทาน รัฐมนตรีจะมอบให้กรมสรรพสามิตเก็บแทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*ก็ได้

หมวด  ทวิ
ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ
มาตรา ๑๐๐ เบญจ ให้เรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจากผลกำไรปิโตรเลียมประจำปี ในอัตราที่กำหนดจาก “ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร” โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
(ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่ไม่เกิน ,๘๐๐ บาท ไม่ต้องเสียผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ
(ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่เกิน ,๘๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๑๔,๔๐๐ บาท ให้เรียกเก็บในอัตราร้อยละ  70 ของ ๒๔๐ บาทแรก และให้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ  ต่อทุก  ๒๔๐ บาท เศษของ ๒๔๐ บาท ให้ถือเป็น ๒๔๐ บาท
(ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่เกิน ๑๔,๔๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๓๓,๖๐๐ บาท ให้เรียกเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ   70 ต่อทุก ๙๖๐ บาท เศษของ ๙๖๐ บาท ให้ถือเป็น ๙๖๐ บาท แต่ไม่เกิน ร้อยละ80
(ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่เกิน ๓๓,๖๐๐ บาท ขึ้นไป ให้เรียกเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 70ต่อทุก  ,๘๔๐ บาท เศษของ,๘๔๐ บาท ให้ถือเป็น ,๘๔๐ บาท
แต่ทั้งนี้ จะเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษเกินร้อยละ ๗๕.  80 ของผลกำไรปิโตรเลียมในแต่ละปีไม่ได้

มาตรา ๑๐๐ ฉ “ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร” คือจำนวนรายได้ปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทานที่เกิดจากแปลงสำรวจในรอบปี หารด้วยผลบวกของความลึกสะสมรวมของหลุมเจาะปิโตรเลียมทั้งหมดซึ่งผู้รับสัมปทานได้ลงทุนเจาะไปแล้วในแปลงสำรวจนั้นกับ “ค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ”
การกำหนดค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตรตามมาตรานี้มีความมุ่งหมายเพื่อให้เกิดสัดส่วน ระหว่างรายได้ของผู้รับสัมปทานที่ได้มาจากปิโตรเลียมที่ผลิตในแปลงสำรวจ กับความพยายามในการลงทุนของผู้รับสัมปทานและสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจนั้น



อัตราค่าธรรมเนียม
                  

() คำขอสัมปทาน                                  ฉบับละ ๕๐,๐๐๐         บาท
() ค่าสงวนพื้นที่แต่ละแห่ง
เศษของตารางกิโลเมตร ให้คิด                ตารางกิโลเมตรละ
ค่าธรรมเนียมตามอัตราส่วน                   ๒๐๐,๐๐๐          บาท ต่อปี
() ค่ารังวัด ตามความยาวของระยะที่วัด
กิโลเมตรหรือเศษของกิโลเมตรละ                          ๕๐๐                   บาท
()   ค่าหลักเขตบนพื้นดิน                           หลักละ ,๐๐๐           บาท



บัญชีอัตราค่าภาคหลวง
                  

ร้อยละของมูลค่าปิโตรเลียม
ที่ขายหรือจำหน่ายในรอบเดือน

ขั้นที่  ปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขาย
หรือจำหน่ายได้ในรอบเดือน
ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาเรล                                                   ๕. 50
ขั้นที่  ปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขาย
หรือจำหน่ายได้ในรอบเดือน
ส่วนที่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาเรล
แต่ไม่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาเรล                                             .๒๕ 70
ขั้นที่  ปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขาย
หรือจำหน่ายได้ในรอบเดือน
ส่วนที่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาเรล
แต่ไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาเรล                                       ๑๐ 70
ขั้นที่  ปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขาย
หรือจำหน่ายได้ในรอบเดือน
ส่วนที่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาเรล
แต่ไม่เกิน ๖๐๐,๐๐๐ บาเรล                                             ๑๒.. 70
ขั้นที่  ปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขาย
หรือจำหน่ายได้ในรอบเดือน
ส่วนที่เกิน ๖๐๐,๐๐๐ บาเรล                                             ๑๕. 70
ปริมาณปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่ายในรอบเดือน หมายถึงปริมาณปิโตรเลียมทั้งหมดทุกชนิดที่ผู้รับสัมปทานขายหรือจำหน่ายได้ในเดือนนั้น


 มาตราให้ยกเลิกข้อความในมาตราที่  4 ใน พรบ.ปิโตรเลี่ยมฉบับที่สาม.  ..2522. และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)

     มาตรา  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        “มาตรา ๒๖ ระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามสัมปทานให้มีกำหนดไม่เกินสามสิบปี       สิบปี  นับแต่วันถัดจากวันสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม แม้จะมีการผลิตปิโตรเลียมในระหว่างระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมด้วยก็ตาม
        ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานประสงค์จะขอต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมให้ผู้รับสัมปทานยื่นคำขอต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมก่อนสิ้นระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมไม่น้อยกว่าหกเดือน
        การต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมให้กระทำได้เมื่อผู้รับสัมปทานได้ปฏิบัติตามสัมปทานทุกประการและได้ตกลงในเรื่องข้อกำหนด ข้อผูกพัน และเงื่อนไขที่ใช้อยู่ทั่วไปในขณะนั้นก่อนสิ้นระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
        การต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมให้กระทำได้เพียงครั้งเดียวเป็นเวลาไม่เกินสิบปี”



     มาตรา  ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        “รายงานตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นความลับและมิให้เปิดเผยจนกว่าพ้นสองปี นับแต่วันที่สัมปทานสิ้นอายุ หรือถูกเพิกถอน แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเป็นรายงานเกี่ยวกับพื้นที่ที่ผู้รับสัมปทานคืนตามมาตรา ๓๖ ระยะเวลาสองปีให้นับแต่วันคืนพื้นที่ ทั้งนี้เว้นแต่
     (เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติราชการแก่ส่วนราชการ หรือบุคคลซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ
     (เป็นการนำข้อสนเทศจากรายงานนั้นไปใช้ในการเรียบเรียง และเผยแพร่รายงานหรือบันทึกทางวิทยาศาสตร์ เทคนิค หรือสถิติ โดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีแล้ว ทั้งนี้ต้องหลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อสนเทศด้านพาณิชย์ให้มากที่สุด หรือ
     (ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับสัมปทานให้เปิดเผยได้ แต่การให้หรือไม่ให้ความยินยอมของผู้รับสัมปทานต้องกระทำโดยไม่ชักช้า”

มาตรา10 ให้ยกเลิกข้อความในมาตราที่  4 ใน พรบ.ปิโตรเลี่ยมฉบับที่สี่.  ..2532. และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)
     มาตรา  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        "มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการปิโตรเลียมประกอบด้วย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมสรรพากร ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม และบุคคลซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินหกคนจากการเสนอชื่อของภาคประชาชน.  จากตัวแทนภาคประชาสังคม กรรมการวิธีการได้มาให้ภาคประชาสังคมเลือกกันเองจากตัวแทนภาคประชาสังคมมี่มีผลงานกว่าสิบปี ไม่มีประวัติิเสื่อมเสีย
        บุคคลซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนที่แต่งตั้งต้องไม่เป็นข้าราชการในส่วนราชการที่มีกรรมการโดยตำแหน่งสังกัดอยู่
        คณะกรรมการจะแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งหรือบุคคลอื่นเป็นเลขานุการคณะกรรมการก็ได้"

 มาตรา11 ให้ยกเลิกข้อความในมาตราที่  16แห่ง พรบ.ปิโตรเลี่ยมฉบับ.  ..2514 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)    
        “มาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ และให้มีหน้าที่ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และความเห็นแก่รัฐมนตรี     โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชน.ในพื้นที่แหล่งพลังงาน หากเป็นในทะเลขอให้เป็นประชาชนทั่วไป  ในเรื่องดังต่อไปนี้
     (การให้สัมปทานตามมาตรา ๒๓
     (การต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมตามมาตรา ๒๕
     (การต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามมาตรา ๒๖
     (การต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามมาตรา ๒๖
     (การอนุญาตให้ผู้รับสัมปทานรับบริษัทอื่นเข้าร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา ๔๗
     (การอนุญาตให้โอนสัมปทานตามมาตรา ๕๐
     (การเพิกถอนสัมปทานตามมาตรา ๕๑
     (การสั่งให้ผู้รับสัมปทานจัดหาปิโตรเลียมเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามมาตรา ๖๐
     (การห้ามส่งปิโตรเลียมออกนอกราชอาณาจักรตามมาตรา ๖๑
     (๑๐การสั่งให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียมตามมาตรา ๘๓
     (๑๑การรับชำระค่าภาคหลวงเป็นเงินตราต่างประเทศตามมาตรา ๘๗
     (๑๒การลดหย่อนค่าภาคหลวงให้แก่ผู้รับสัมปทานตามมาตรา ๙๙ ทวิ และ มาตรา ๙๙ ตรี
     (๑๓เรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย”

     มาตรา12 ให้ยกเลิกข้อความในมาตราที่  22แห่ง พรบ.ปิโตรเลี่ยมฉบับ.  ..2514 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ตัวใหญ่ แทนคำเดิม)     
        "มาตรา ๒๒ รัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจ     และโดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชนในพื้นที่แหล่งพลังงานหากเป็นในทะเลขอให้เป็นประชาชนทั่วไป
     (ให้สัมปทานตามมาตรา ๒๓
     (ต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมตามมาตรา ๒๕
     (ต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามมาตรา ๒๖
     (อนุมัติให้เปลี่ยนแปลงปริมาณงานตามมาตรา ๓๐
     (อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานรับบริษัทอื่นเข้าร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา ๔๗
     (อนุญาตให้โอนสัมปทานตามมาตรา ๕๐
     (แจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบว่ารัฐบาลจะเข้าใช้สิทธิประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งด้วยความเสี่ยงภัยแต่ฝ่ายเดียวตามมาตรา ๕๒ ทวิ
     (ลดหย่อนค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมตามมาตรา ๙๙ ทวิ และมาตรา ๙๙ ตรี
     (กำหนดค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจตาม มาตรา ๑๐๐ ฉ”


   มาตรา13 ให้ยกเลิกข้อความในมาตราที่  26แห่ง พรบ.ปิโตรเลี่ยมฉบับ.  ..2514 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ).๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

        “มาตรา ๒๖ ระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามสัมปทานให้มีกำหนดไม่เกินยี่สิบปี  สิบปี.  นับแต่วันถัดจากวันสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม แม้จะมีการผลิตปิโตรเลียมในระหว่างระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมด้วยก็ตามี”

     มาตรา ๙ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียมพ.๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..๒๕๑๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        “มาตรา ๒๘ ในการให้สัมปทาน รัฐมนตรีมีอำนาจให้ผู้ขอสัมปทานได้รับสัมปทานไม่เกินรายละสี่แปลงสำรวจ เว้นแต่ในกรณีที่รัฐมนตรีพิจารณาเห็นสมควร อาจให้ผู้ขอสัมปทานได้รับสัมปทานเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแปลงสำรวจก็ได้ แต่เมื่อรวมพื้นที่ของแปลงสำรวจทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินสองหมื่นตารางกิโลเมตร
        เขตพื้นที่แปลงสำรวจที่มิใช่อยู่ในทะเล ให้เป็นไปตามที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่แปลงสำรวจที่มิใช่อยู่ในทะเล จะกำหนดให้มีพื้นที่เกินแปลงละสี่พันตารางกิโลเมตรไม่ได้
        เขตพื้นที่แปลงสำรวจในทะเล ให้เป็นไปตามที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เขตพื้นที่แปลงสำรวจในทะเลให้รวมถึงพื้นที่เกาะที่อยู่ในเขตแปลงสำรวจนั้นด้วย
        บทบัญญัติในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การให้สัมปทานสำหรับแปลงสำรวจในทะเลที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนดว่าเป็นแปลงสำรวจที่มีน้ำลึกเกินสองร้อยเมตรในกรณีดังกล่าวรัฐมนตรีมีอำนาจให้ผู้ขอรับสัมปทานได้รับสัมปทานตามจำนวนแปลงสำรวจและจำนวนพื้นที่ของแปลงสำรวจทั้งหมดที่รัฐมนตรีพิจารณาเห็นสมควร”

     มาตรา ๑๐ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔
        “ในกรณีที่ปรากฏว่าปริมาณงานตามที่กำหนดไว้ในช่วงข้อผูกพันช่วงหนึ่งๆของสัมปทานไม่เหมาะสมกับสภาพทางธรณีวิทยาของพื้นที่สัมปทาน หรือในกรณีที่มีเทคโนโลยีการสำรวจปิโตรเลียมที่ทันสมัยขึ้น เมื่อผู้รับสัมปทานขอเปลี่ยนแปลงข้อผูกพันด้านปริมาณงาน ให้รัฐมนตรีมีอำนาจอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงข้อผูกพันดังกล่าวได้ตามความเหมาะสมและถ้าการเปลี่ยนแปลงข้อผูกพันนั้นทำให้ผู้รับสัมปทานใช้จ่ายเงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ต้องใช้จ่ายตามข้อผูกพันเดิม ผู้รับสัมปทานต้องจ่ายเงินส่วนที่ลดลงให้แก่กรมทรัพยากรธรณีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีอนุมัติ”

     มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความใน (ของมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่.๒๕๑๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        "(เมื่อครบสี่ปีนับแต่วันเริ่มระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม ต้องคืนพื้นที่ร้อยละห้าสิบของพื้นที่แปลงสำรวจแปลงนั้น แต่ถ้าเป็นแปลงสำรวจที่กรมทรัพยากรธรณี กำหนดว่าเป็นแปลงสำรวจในทะเลที่มีน้ำลึกเกินสองร้อยเมตรให้คืนพื้นที่ร้อยละสามสิบห้าของพื้นที่แปลงสำรวจแปลงนั้น”

     มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        "มาตรา ๓๙ ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานใช้สิทธิคืนพื้นที่แปลงสำรวจในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองหรือช่วงที่สาม ถ้าเป็นการคืนพื้นที่ทั้งหมดที่เหลืออยู่ของแปลงสำรวจแปลงใดให้ผู้รับสัมปทานพ้นจากข้อผูกพันทั้งหมดสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานยังมิได้ปฏิบัติไปในแปลงสำรวจแปลงนั้น ทั้งนี้เว้นแต่ข้อผูกพันที่กำหนดไว้ในสัมปทานให้ผู้รับสัมปทานต้องปฏิบัติภายในระยะเวลาก่อนการคืนพื้นที่ และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
        มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานใช้สิทธิคืนพื้นที่แปลงสำรวจบางส่วนครั้งหนึ่งหรือหลายครั้งในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สอง ให้ผู้รับสัมปทานได้รับการลดหย่อนในการปฏิบัติตามข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมที่ยังคงเหลืออยู่ในแปลงสำรวจแปลงนั้น ดังต่อไปนี้
     (ในกรณีที่การคืนพื้นที่นั้นกระทำในระหว่างปีที่สี่ นับแต่วันเริ่มระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้น ถ้าพื้นที่ที่คืนไม่เกินพื้นที่ที่ต้องคืนตามมาตรา ๓๖ ผู้รับสัมปทานไม่มีสิทธิได้รับการลดหย่อนในการปฏิบัติตามข้อผูกพันในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สอง แต่ถ้าพื้นที่ที่คืนครั้งหนึ่งหรือหลายครั้งรวมกันเกินพื้นที่ที่ต้องคืนตามมาตรา ๓๖ แล้ว ให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับการลดหย่อนในการปฏิบัติตามข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองนับแต่วันเริ่มต้นของช่วงข้อผูกพันนั้น ทั้งนี้ ตามอัตราส่วนของพื้นที่ที่คืนแต่ละครั้งเฉพาะส่วนที่เกินพื้นที่ที่ต้องคืนตามมาตรา ๓๖ กับพื้นที่ที่ผู้รับสัมปทานยังถืออยู่ในวันเริ่มต้นของช่วงข้อผูกพันช่วงที่สอง หักด้วยพื้นที่ที่ต้องคืนตามมาตรา ๓๖ หรือตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่ยังเหลืออยู่ในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองนับแต่วันที่มีการคืนแต่ละครั้งกับระยะเวลาทั้งสิ้นของช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองสุดแต่อัตราใดจะน้อยกว่า
     (ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานใช้สิทธิคืนพื้นที่หลังจากสิ้นปีที่สี่นับแต่วันเริ่มระยะ เวลาสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้น ให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับการลดหย่อนในการ ปฏิบัติตามข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองนับแต่วันเริ่มต้นของ ปีที่ห้าของระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้น ทั้งนี้ ตามอัตราส่วนของพื้นที่ที่คืน แต่ละครั้ง กับพื้นที่ที่ผู้รับสัมปทานถืออยู่ในวันเริ่มต้นของปีที่ห้า หรือตามอัตราส่วนของระยะเวลา ที่ยังเหลืออยู่ในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สองนับแต่วันที่มีการคืนแต่ละครั้ง กับระยะเวลาทั้งสิ้นของช่วง ข้อผูกพันช่วงที่สองนับจากวันเริ่มปีที่ห้าสุดแต่อัตราใดจะน้อยกว่า
        ภายใต้บังคับมาตรา ๓๙ ในการใช้สิทธิคืนพื้นที่แปลงสำรวจบางส่วนในช่วง ข้อผูกพันช่วงที่สาม ผู้รับสัมปทานไม่มีสิทธิได้รับการลดหย่อนในการปฏิบัติตามข้อผูกพัน สำหรับ การสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้นในช่วงข้อผูกพันช่วงที่สาม”

   มาตรา14  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔๒ ทวิแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .. 2514.  (ตัวใหญ่แทนคำเดิม)
        "มาตรา ๔๒ ทวิ เมื่อผู้รับสัมปทานได้รับความเห็นชอบของอธิบดี ให้ผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ผลิตตามมาตรา ๔๒ แล้ว ให้ผู้รับสัมปทานยื่นแผนการผลิตในรายละเอียดสำหรับพื้นที่ผลิตดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและผู้รับสัมปทานต้องเริ่มทำการผลิตปิโตรเลียมตามแผนภายในสี่ปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีตามมาตรา ๔๒ ถ้าผู้รับสัมปทานไม่เริ่มทำการผลิตปิโตรเลียมภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมสำหรับพื้นที่ที่ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่ผลิตนั้นสิ้นสุดลง
        ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานประสงค์จะขอขยายระยะเวลาเริ่มทำการผลิตปิโตรเลียมออกไปจากกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้รับสัมปทานแจ้งเป็นหนังสือพร้อมด้วยเหตุผลให้อธิบดีทราบล่วงหน้าก่อนสิ้นสุดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งไม่น้อยกว่าหกเดือน ถ้าอธิบดีเห็นว่าการที่ผู้รับสัมปทานไม่สามารถเริ่มทำการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ผลิตนั้นมิใช่ความผิดของผู้รับสัมปทาน ให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจอนุญาตให้ขยายระยะเวลาเริ่มทำการผลิตออกไปได้ตามที่เห็นสมควร แต่การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาเริ่มทำการผลิตปิโตรเลียมให้กระทำได้ไม่เกินคราวละสองปีและให้อนุญาตขยายได้ไม่เกินสองคราวและ โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชน.ในพื้นที่แหล่งพลังงาน หากเป็นในทะเลขอให้เป็นประชาชนทั่วไป

        ตลอดระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ผลิต ผู้รับสัมปทานจะต้องทบทวนแผนการผลิตปิโตรเลียมตามวรรคหนึ่ง แล้วแจ้งผลการทบทวนเป็นหนังสือต่ออธิบดี คณะกรรมการ.   ทุกปี และถ้าผู้รับสัมปทานประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแผนการผลิตปิโตรเลียม ให้ผู้รับสัมปทานได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อนจึงจะเปลี่ยนแปลงแผนการผลิตปิโตรเลียมได้”

     มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        "มาตรา ๔๕ เมื่อสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงใด และ ผู้รับสัมปทานได้รับสิทธิผลิตปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้นแล้วผู้รับสัมปทานมีสิทธิสงวน พื้นที่ในแปลงสำรวจแปลงนั้นไว้ได้ไม่เกินร้อยละสิบสองครึ่งของพื้นที่เดิมของแปลงสำรวจแปลงนั้น ตามระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานกำหนดแต่ต้องกำหนดไม่เกินห้าปีนับแต่วันสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้น แต่ผู้รับสัมปทานจะคืนพื้นที่แปลงสำรวจที่ขอสงวนไว้นั้นก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
        ในการสงวนพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อการสงวนพื้นที่ได้เป็นไปโดยถูกต้องแล้วผู้รับสัมปทานย่อมมีสิทธิสำรวจปิโตรเลียมในพื้นที่ที่สงวนไว้นั้นได้ และให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าสงวนพื้นที่ล่วงหน้าเป็นรายปีตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
        ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานพบปิโตรเลียมในเขตพื้นที่ที่สงวนไว้และประสงค์จะผลิตปิโตรเลียม ให้นำมาตรา ๔๒ มาใช้บังคับ”


     มาตรา ๑๖ให้ยกเลิกความใน (ของมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        "(ไม่ชำระค่าภาคหลวงหรือผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ”

     มาตรา ๑๗ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๒ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔
        "มาตรา ๕๒ ทวิ ในกรณีที่รัฐมีความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ รัฐบาลอาจขอให้ผู้รับสัมปทานเร่งรัดการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่ผู้รับสัมปทานได้สงวนไว้ตามมาตรา ๔๕ ก็ได้ โดยเสนอแผนการผลิตในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่กำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะตามโครงสร้างของแหล่งปิโตรเลียม
        ถ้าพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาไม่เอื้ออำนวย รัฐบาลจะเสนอให้มีการลดหย่อนค่าภาคหลวงตามมาตรา ๙๙ ทวิ และ/หรือ เสนอเพิ่มค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจตามมาตรา ๑๐๐  (สำหรับพื้นที่นั้นหรือไม่ก็ได้
        ถ้าผู้รับสัมปทานไม่สามารถเจรจาทำความตกลงกับรัฐบาลได้ภายในสิบสองเดือนนับแต่วันที่ผู้รับสัมปทานได้รับข้อเสนอจากรัฐบาลตามวรรคหนึ่งและรัฐบาลเห็นว่าการเร่งรัดการผลิตปิโตรเลียมดังกล่าวเป็นความจำเป็นแก่เศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลมีสิทธิแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานทราบว่ารัฐบาลจะเข้าใช้สิทธิประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่นั้นด้วยความเสี่ยงภัยแต่ฝ่ายเดียว
        เมื่อรัฐบาลได้แจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบถึงการเข้าใช้สิทธิดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าสิทธิตามสัมปทานของผู้รับสัมปทานเฉพาะในพื้นที่ที่ได้กำหนดขึ้นตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลง และรัฐบาลมีอำนาจมอบหมายให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือผู้หนึ่งผู้ใดเข้าประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าวได้
        หากในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าวมีผลกำไรปิโตรเลียมประจำปีตามมาตรา ๑๐๐ จัตวา ของหมวด  ทวิ เกิดขึ้นให้รัฐบาลนำผลกำไรปิโตรเลียมประจำปีดังกล่าวชำระคืนเงินลงทุนอันเป็นรายจ่ายที่ผู้รับสัมปทานได้ใช้จ่ายในพื้นที่ดังกล่าว ให้แก่ผู้รับสัมปทานจนกว่าจะครบจำนวน และในการคำนวณผลกำไรขาดทุนสำหรับการประกอบกิจการ ปิโตรเลียมของรัฐตามมาตรานี้ ให้คำนวณดังเช่นการคำนวณสำหรับการประกอบกิจการปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทานอื่น แต่มิให้มีค่าลดหย่อนพิเศษตามมาตรา ๑๐๐ ตรี (เพื่อนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่าย
        ในระหว่างการประกอบกิจการปิโตรเลียมของรัฐบาลตามมาตรานี้ ผู้รับสัมปทานมีสิทธิขอเข้าร่วมทุนกับรัฐบาลได้ โดยใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อกำหนดว่าด้วยการประกอบกิจการปิโตรเลียมโดยการเสี่ยงภัยลงทุนแต่ฝ่ายเดียว ของสัญญาร่วมทุนระหว่างผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยที่ให้ผลดีที่สุดแก่ผู้รับสัมปทาน แต่การขอใช้สิทธิเช่นนั้นจะต้องแจ้งให้รัฐบาลทราบอย่างช้าภายในสามปีนับแต่วันที่รัฐบาลได้เข้าใช้สิทธิประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรานี้
        ถ้ารัฐบาลไม่เริ่มต้นประกอบกิจการปิโตรเลียมอย่างจริงจังในพื้นที่ที่กำหนดขึ้นตามวรรคหนึ่งภายในระยะเวลาสองปี นับแต่วันที่สิทธิตามสัมปทานของผู้รับสัมปทานนั้นสิ้นสุดลงตามวรรคสี่ผู้รับสัมปทานมีสิทธิร้องขอให้รัฐบาลคืนสิทธิในพื้นที่ดังกล่าวให้แก่ตนโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อรัฐมนตรีภายในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ครบกำหนดสองปีดังกล่าว และในกรณีที่มีการคืนสิทธิในพื้นที่ ให้ขยายอายุสัมปทานของผู้รับสัมปทานเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับพื้นที่นั้นออกไปเท่ากับระยะเวลาที่รัฐบาลได้เข้าใช้สิทธิตามมาตรานี้ และรัฐบาลมีสิทธิได้รับคืนเงินที่ได้ลงทุนไปในพื้นที่ดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าที่การลงทุนนั้นได้เกิดประโยชน์แก่ผู้รับสัมปทาน"

     มาตรา ๒๐ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        "มาตรา ๗๖ ผู้รับสัมปทานต้องรายงานผลการประกอบกิจการปิโตรเลียมต่อกรมทรัพยากรธรณีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนด
        รายงานตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นความลับและมิให้เปิดเผยจนกว่าจะพ้นหนึ่งปี นับแต่วันที่กรมทรัพยากรธรณีได้รับรายงานหรือพึงได้รับรายงานตามวรรคหนึ่งเว้นแต่
     (เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติราชการแก่ส่วนราชการหรือบุคคลซึ่งมีหน้าที่ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ
     (เป็นการนำข้อสนเทศจากรายงานนั้นไปใช้ในการเรียบเรียงและเผยแพร่รายงานหรือบันทึกทางวิทยาศาสตร์ เทคนิคหรือสถิติ โดยได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้ว ทั้งนี้ ต้องหลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อสนเทศด้านพาณิชย์ให้มากที่สุด หรือ
     (ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับสัมปทานให้เปิดเผยได้ แต่การให้หรือไม่ให้ความยินยอมของผู้รับสัมปทานต้องกระทำโดยไม่ชักช้า
        ความในวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่รายงานเกี่ยวกับการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ผลิตและรายงานเกี่ยวกับพื้นที่ที่ผู้รับสัมปทานได้คืนพื้นที่แล้วตามมาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๓๗"

     มาตรา ๒๑ให้ยกเลิก (ของมาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔
     มาตรา ๒๒ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียมพ.๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..๒๕๑๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        "มาตรา ๘๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๙ มาตรา ๙๙ ทวิ และมาตรา๙๙ ตรี ให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานผลิตได้ในแต่ละแปลงสำรวจ ดังต่อไปนี้
     (ในกรณีที่เสียเป็นตัวเงิน ให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงตามมูลค่าปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่ายได้ในเดือนนั้น ในอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราค่าภาคหลวงท้ายพระราชบัญญัตินี้ หรือ
     (ในกรณีที่เสียเป็นปิโตรเลียม ให้เสียเป็นปริมาณปิโตรเลียมที่คำนวณเป็นมูลค่าได้เท่ากับจำนวนค่าภาคหลวงที่พึงเสียเป็นตัวเงินตาม (ทั้งนี้ โดยให้คำนวณปิโตรเลียมที่เสียเป็นค่าภาคหลวงรวมเป็นปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่วยด้วย
        มูลค่าปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่ายได้ในเดือนนั้นตาม (หมายถึงมูลค่าปิโตรเลียมทั้งสิ้นที่ผู้รับสัมปทานขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียมทุกชนิดในรอบเดือน
        สำหรับปิโตรเลียมที่ผลิตได้จากพื้นที่ผลิตในแปลงสำรวจที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนดว่าเป็นแปลงสำรวจในทะเลที่มีน้ำลึกเกินสองร้อยเมตร ให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงเป็นจำนวนร้อยละเจ็ดสิบของจำนวนค่าภาคหลวงที่ต้องเสียตามวรรคหนึ่ง"

      มาตรา14  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 99 ทวิแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .. 2514.  (ตัวใหญ่แทนคำเดิม)   "มาตรา ๙๙ ทวิ เพื่อส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการสำรวจและ/หรือพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่บางพื้นที่ภายในแปลงสำรวจหรือในพื้นที่ผลิตของผู้รับสัมปทาน ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาไม่เอื้ออำนวยและไม่อยู่ในแผนการสำรวจหรือแผนการผลิตของผู้รับสัมปทาน ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ มีอำนาจลดหย่อนค่าภาคหลวงให้แก่ผู้รับสัมปทานโดยทำความตกลงกับผู้รับสัมปทานเพื่อให้ผู้รับสัมปทานทำการสำรวจและ/หรือพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ตามแผนซึ่งกรมทรัพยากรธรณีจะได้กำหนดขึ้นตามที่จะได้ตกลงกันและ โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชนในพื้นที่แหล่งพลังงาน หากเป็นในทะเลขอให้เป็นประชาชนทั่วไป



        ถ้าผู้รับสัมปทานไม่พอใจในผลการประเมินของอธิบดี ให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธิ ร้องขอต่อศาลเพื่อให้กำหนดค่าภาคหลวงใหม่ได้ แต่ต้องร้องขอภายในระยะเวลาไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการประเมินและให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าภาคหลวงได้ตามที่เห็นสมควร ถ้าผู้รับสัมปทานไม่ร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าค่าภาคหลวงเป็นไปตามการประเมินของอธิบดี
        ในการให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีเพื่อลดหย่อนค่าภาคหลวงตามวรรคหนึ่ง ให้ คณะกรรมการคำนึงถึงสภาพทางธรณีวิทยาและศักยภาพทางปิโตรเลียมของพื้นที่ดังกล่าว สถิติค่าใช้จ่ายในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาคล้ายคลึงกันความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมภายในประเทศ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในตลาด และผลได้ผลเสียอื่นๆ ของประเทศที่จะได้รับจากการเร่งรัดให้มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม
        ค่าภาคหลวงที่จะลดหย่อนตามมาตรานี้ จะต้องเป็นค่าภาคหลวงที่เกิดจากกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานดำเนินการอยู่แล้วในแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิตนั้น หรือเป็นค่าภาคหลวงที่จะเกิดขึ้นจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนดไว้ในแผน และการลดหย่อนดังกล่าวจะต้องไม่เกินร้อยละสามสิบ.  ของจำนวนค่าภาคหลวงที่ผู้รับสัมปทานพึงต้องเสียสำหรับปิโตรเลียมทั้งหมดที่ผลิตได้ในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิตที่อยู่ในแปลงสำรวจนั้น หรือไม่เกินร้อยละสามสิบของจำนวนค่าภาคหลวงที่จะเกิดจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนด แล้วแต่กรณี โดยระยะเวลาที่ได้รับลดหย่อนจะต้องไม่เกินสี่ปีนับแต่วันที่ได้ ทำความตกลงหรือนับแต่วันที่อธิบดีได้ให้ความเห็นชอบในการกำหนดพื้นที่ผลิตตามมาตรา ๔๒ สำหรับพื้นที่ผลิตแต่ละแห่งที่อยู่ในพื้นที่ที่กำหนดในแผนของกรมทรัพยากรธรณี แล้วแต่กรณี และในความตกลงกับผู้รับสัมปทานดังกล่าว จะมีเงื่อนไขหรือมีข้อกำหนดอย่างใดๆ ตามควรแก่กรณีก็ได้
        มาตรา ๙๙ ตรี ในพื้นที่ที่สภาพทางธรณีวิทยาบ่งชี้ว่าการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่นั้นจำเป็นต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมาก รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการอาจให้สัมปทาน สำหรับพื้นที่ดังกล่าวโดยลดหย่อนค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมที่เริ่มผลิตขึ้นมาจากพื้นที่นั้นตามจำนวนปิโตรเลียมที่จะกำหนดไว้ในสัมปทานก็ได้ แต่พื้นที่ที่กำหนดให้สัมปทานดังกล่าวจะต้องมีขนาดไม่เกินสองร้อยตารางกิโลเมตรและค่าภาคหลวงที่จะลดหย่อนต้องไม่เกินกว่าร้อยละสามสิบของจำนวนค่าภาคหลวงที่จะพึงเสียโดยระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับลดหย่อนค่า ภาคหลวงจะต้องไม่เกินสามปีนับแต่วันที่อธิบดีได้ให้ความเห็นชอบในการกำหนดพื้นที่ผลิตตามมาตรา ๔๒ สำหรับพื้นที่ผลิตแต่ละแห่ง
        ในการให้คำแนะนำของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้นำหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๙๙ ทวิ วรรคสอง มาใช้บังคับ และในการให้สัมปทานตามมาตรานี้มิให้นับรวมเป็นจำนวนแปลงสำรวจหรือเป็นพื้นที่ของแปลงสำรวจตามข้อจำกัดของการให้สัมปทานตามมาตรา ๒๘
        การเปิดให้สัมปทานตามวรรคหนึ่ง ให้กรมทรัพยากรธรณีกำหนดข้อผูกพันในด้านปริมาณเงินและ/หรือปริมาณงานขั้นต่ำสำหรับการสำรวจปิโตรเลียม ที่ผู้ขอสัมปทานจะต้องปฏิบัติหากได้รับสัมปทานจากรัฐบาล โดยได้รับการลดหย่อนค่าภาคหลวงตามมาตรานี้"




     มาตรา ๑๐๐ ทวิ ในหมวดนี้
     "รายได้ปิโตรเลียมหมายความว่า รายได้ของผู้รับสัมปทานที่เกิดจากแปลง สำรวจแต่ละแปลง ทั้งนี้ เฉพาะรายได้ตามรายการที่กำหนดในมาตรา ๑๐๐ตรี ()
     "รายจ่ายปิโตรเลียมที่เป็นทุนหมายความว่า รายจ่ายที่เป็นทุนที่ผู้รับสัมปทานได้ใช้จ่ายลงทุนไปในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแต่ละแปลงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา ๑๐๐ ตรี ()
     "รายจ่ายปิโตรเลียมตามปกติและจำเป็นหมายความว่า รายจ่ายตามปกติและจำเป็นที่ผู้รับสัมปทานได้ใช้จ่ายไปในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแต่ละแปลง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา ๑๐๐ ตรี (แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยรายจ่ายที่เป็นทุนและเงินที่ได้ชำระเป็นผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ถ้ามี
     "ค่าลดหย่อนพิเศษหมายความว่า จำนวนเงินลดหย่อนที่รัฐบาลกำหนดตามมาตรา ๑๐๐ ตรี (สำหรับแปลงสำรวจแต่ละแปลง"
     มาตรา ๑๐๐ ตรี รายได้ปิโตรเลียม รายจ่ายปิโตรเลียมที่เป็นทุน รายจ่ายปิโตรเลียมตามปกติและจำเป็น และค่าลดหย่อนพิเศษในหมวดนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
        (รายได้ปิโตรเลียม หมายความเฉพาะจำนวนรวมของรายได้ตามรายการ ดังต่อไปนี้
           (ยอดเงินได้จากการขายปิโตรเลียม
           (มูลค่าของปิโตรเลียมที่จำหน่าย
           (มูลค่าของปิโตรเลียมที่ส่งชำระเป็นค่าภาคหลวง
            (ยอดเงินได้เนื่องจากการโอนทรัพย์สินหรือสิทธิใด  อันเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียม
     มูลค่าของปิโตรเลียมตาม (และ (ให้คำนวณตามมาตรา ๘๕ และในกรณี ที่มีการโอนสัมปทานตามมาตรา ๔๘ ยอดเงินได้เนื่องจากการโอนทรัพย์สินหรือสิทธิใด  ตาม (ต้องไม่ต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีครั้งสุดท้ายของบริษัทผู้โอนในวันที่การโอนมีผล
        (รายจ่ายปิโตรเลียมที่เป็นทุน ได้แก่ รายจ่ายที่เป็นทุนตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
        (รายจ่ายปิโตรเลียมตามปกติและจำเป็น ได้แก่ รายจ่ายตามปกติและจำเป็นตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยรายจ่ายที่เป็นทุนและเงินที่ชำระเป็นผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ถ้ามี รายจ่ายปิโตรเลียมตามปกติและจำเป็นจะต้องเป็นรายจ่ายที่ผู้รับสัมปทานสามารถพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจแก่อธิบดีว่าเป็นรายจ่ายตามปกติและจำเป็นในการประกอบกิจการปิโตรเลียมตามปกติวิสัย
        (ค่าลดหย่อนพิเศษ ได้แก่ จำนวนเงินที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเป็นครั้งคราวในขณะที่ให้สัมปทาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เงินจำนวนนี้ รัฐบาลยินยอมให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธินำมาคำนวณรวมกับรายจ่ายในลักษณะที่เสมือนเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนของแปลงสำรวจแต่ละแปลง เพื่อนำมาหักออกจากรายได้ปิโตรเลียมอันจะเป็นการลดผลกำไรของผู้รับสัมปทานในการเสียผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษให้แก่รัฐบาลตามหมวดนี้ค่าลดหย่อนพิเศษเป็นมาตรการสำหรับชักจูงให้มีการลงทุนเพื่อประกอบกิจการปิโตรเลียมในประเทศไทย โดยรัฐบาลจะกำหนดจำนวนโดยคำนึงถึงสภาวะการแข่งขันในการลงทุนระหว่างประเทศ
     ในกรณีที่รายได้หรือรายจ่ายตามมาตรานี้เกี่ยวพันกับแปลงสำรวจหลายแปลง และไม่สามารถแบ่งแยกกันได้โดยชัดแจ้ง ให้คำนวณรายได้หรือรายจ่ายของแปลงสำรวจแต่ละแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
     มาตรา ๑๐๐ จัตวา ให้คำนวณกำไรขาดทุนสำหรับการประกอบกิจการปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแต่ละแปลง เป็นรายปีตามรอบระยะเวลาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และรายได้ปิโตรเลียมเมื่อได้หักผลบวกของรายจ่ายปิโตรเลียมที่เป็นทุน รายจ่ายปิโตรเลียมตามปกติและจำเป็นและค่าลดหย่อนพิเศษแล้ว ผลอันนี้ย่อมเป็น "ผลกำไรปิโตรเลียมประจำปีหรือ "ผลขาดทุนปิโตรเลียมประจำปีแล้วแต่กรณี
     ในกรณีที่มี "ผลกำไรปิโตรเลียมประจำปีให้นำ "ผลขาดทุนปิโตรเลียมประจำปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันไปหักลดหย่อนได้และถ้าหากยังมีผลขาดทุนปิโตรเลียมประจำปีคงเหลือเป็นจำนวนเท่าใดก็ให้นำไปหักลดหย่อนในรอบระยะเวลาบัญชีต่อๆ ไปได้เพียงเท่าจำนวนที่เหลืออยู่
     ในรอบระยะเวลาบัญชีใด การประกอบกิจการปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงใดมี "ผลกำไรปิโตรเลียมประจำปีให้ผู้รับสัมปทานเสียผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษให้แก่รัฐบาล ตามบทบัญญัติในหมวดนี้
     


         มาตรา15  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 5) .๒๕50 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน (ตัวใหญ่แทนคำเดิม)
        "มาตรา ๙๙ ทวิ เพื่อส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่บางพื้นที่ภายในแปลงสำรวจหรือในพื้นที่ผลิตของผู้รับสัมปทาน ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาไม่เอื้ออำนวยหรือที่มีพลังผลิตของพื้นที่ลดลง และไม่อยู่ในแผนการสำรวจหรือแผนการผลิตของผู้รับสัมปทานให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจลดหย่อนค่าภาคหลวง ให้แก่ผู้รับสัมปทานโดยทำความตกลงกับผู้รับสัมปทานเพื่อให้ผู้รับสัมปทานทำการสำรวจและ พัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ตามแผนซึ่งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะได้กำหนดขึ้น
        ในการให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีเพื่อลดหย่อนค่าภาคหลวงตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการคำนึงถึงสภาพทางธรณีวิทยาและศักยภาพทางปิโตรเลียมของพื้นที่ดังกล่าว สถิติค่าใช้จ่ายในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน ความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมภายในประเทศ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในตลาด และผลได้ผลเสียอื่นๆ ของประเทศที่จะได้รับจากการเร่งรัดให้มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม
        ค่าภาคหลวงที่จะลดหย่อนตามมาตรานี้ จะต้องเป็นค่าภาคหลวงที่เกิดจากกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานดำเนินการอยู่แล้วในแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิตนั้น หรือเป็นค่าภาคหลวงที่จะเกิดขึ้นจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดไว้ในแผน และการลดหย่อนดังกล่าวจะต้องไม่เกินร้อยละเก้าสิบ สามสิบของจำนวนค่าภาคหลวงที่ผู้รับสัมปทานพึง ต้องเสียสำหรับปิโตรเลียมทั้งหมดที่ผลิตได้ในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิตที่อยู่ในแปลงสำรวจนั้น หรือไม่เกินร้อยละเก้าสิบของจำนวนค่าภาคหลวงที่จะเกิดจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรม เชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดโดยระยะเวลาที่ได้รับลดหย่อนจะต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ทำความตกลงหรือวันที่เริ่มผลิต และในความตกลงกับผู้รับสัมปทานดังกล่าวจะมีเงื่อนไขหรือมีข้อกำหนดอย่างใดๆ ก็ได้"
าตรา ๑๐๐ เบญจ ให้เรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจากผลกำไรปิโตรเลียมประจำปี ในอัตราที่กำหนดจาก "ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตรโดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
        (ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่ไม่เกิน ,๘๐๐ บาท ไม่ต้องเสียผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ
        (ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่เกิน ,๘๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๑๔,๔๐๐ บาท ให้เรียกเก็บในอัตราร้อยละ .  70 ของ ๒๔๐บาทแรก และให้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ  ต่อทุกๆ ๒๔๐ บาท เศษของ ๒๔๐ บาท ให้ถือเป็น ๒๔๐ บาท
        (ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่เกิน ๑๔,๔๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๓๓,๖๐๐ บาท ให้เรียกเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ  ต่อทุกๆ๙๖๐ บาท เศษของ ๙๖๐ บาท ให้ถือเป็น ๙๖๐ บาท
        (ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่เกิน ๓๓,๖๐๐ บาท ขึ้นไป ให้เรียกเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ  ต่อทุกๆ ,๘๔๐ บาท เศษของ ,๘๔๐ บาท ให้ถือเป็น ,๘๔๐ บาท
     แต่ทั้งนี้ จะเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษเกินร้อยละ ๗๕ 80. ของผลกำไรปิโตรเลียมในแต่ละปีไม่ได้
     มาตรา ๑๐๐  "ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตรคือจำนวนรายได้ปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทานที่เกิดจากแปลงสำรวจในรอบปี หารด้วยผลบวกของความลึกสะสมรวมของหลุมเจาะปิโตรเลียมทั้งหมดซึ่งผู้รับสัมปทานได้ลงทุนเจาะไปแล้วในแปลงสำรวจนั้นกับ "ค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ"
     การกำหนดค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตรตามมาตรานี้มีความมุ่งหมายเพื่อให้เกิดสัดส่วน ระหว่างรายได้ของผู้รับสัมปทานที่ได้มาจากปิโตรเลียมที่ผลิตในแปลงสำรวจ กับความพยายามในการลงทุนของผู้รับสัมปทานและสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจนั้น
     การคำนวณ "ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตรตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
        (รายได้ปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทานในแปลงสำรวจในรอบปีให้นำมาคำนวณเฉพาะรายการตามมาตรา ๑๐๐ ตรี () () () (และให้ปรับมูลค่าด้วยค่าเงินเฟ้อและค่าการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
        () "ค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจหมายความถึงจำนวนความลึกเป็นเมตรของหลุมเจาะปิโตรเลียมในแปลงสำรวจที่รัฐบาลยินยอมให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธินำมาใช้เป็นเกณฑ์คำนวณเพื่อลดการเสียผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษค่าคงที่ดังกล่าวนี้ รัฐมนตรีจะได้ประกาศกำหนดในการเปิดให้สัมปทานและระบุไว้ในสัมปทาน โดยคำนึงถึงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ และสถิติค่าใช้จ่ายในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาคล้ายคลึงกับแปลงสำรวจที่เกี่ยวข้อง ประกาศค่าคงที่ดังกล่าวจะกำหนดเงื่อนไขสำหรับการเพิ่มค่าคงที่ในกรณีโครงสร้างที่มีสภาพทางธรณีวิทยาที่ไม่เอื้ออำนวยไว้ด้วยก็ได้
        (ความลึกสะสมรวมของหลุมเจาะปิโตรเลียมทั้งหมดซึ่งผู้รับสัมปทานได้เจาะในแปลงสำรวจ ได้แก่ ผลรวมของความลึกเป็นเมตรตามแนวหลุมของหลุมเจาะปิโตรเลียมทุกหลุมซึ่งผู้รับสัมปทานได้เจาะในแปลงสำรวจนั้น ตั้งแต่เริ่มต้นประกอบกิจการปิโตรเลียม จนถึงวันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้โดยให้รวมความลึกของหลุมเจาะที่ผู้รับสัมปทานได้เจาะตามวิธีการสำรวจ อนุรักษ์และผลิตปิโตรเลียมที่ดี แม้ว่าจะไม่มีการผลิตปิโตรเลียมจากหลุมดังกล่าว แต่ไม่ให้รวมหลุมเจาะที่ได้มีการผลิตปิโตรเลียมไปแล้วเป็นปริมาณเกินกว่าหนึ่งแสนบาเรลและเป็นหลุมเจาะที่ผู้รับสัมปทานได้ทำการสละหลุมนั้นแล้ว

  มาตรา16ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .. 2532(ตัวใหญ่แทนคำเดิม)    มาตรา 35 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานได้รับความยินยอมจากรัฐมนตรีตามมาตรา ๓๖   โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชนในพื้นที่แหล่งพลังงาน หากเป็นในทะเลขอให้เป็นประชาชนทั่วไป บรรดาบทบัญญัติทั้งหลายนอกจากบทบัญญัติว่าด้วยค่าธรรมเนียมอันเป็นค่ารังวัดและค่าหลักเขตบนพื้นดินแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่ผู้รับสัมปทานสำหรับสัมปทานที่ได้ออกให้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ยังคงใช้บังคับต่อไปสำหรับผู้รับสัมปทานดังกล่าว

     มาตรา ๓๖ ผู้ที่ได้รับสัมปทานอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีสิทธิยื่นคำขอเพื่อให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่แปลงสำรวจที่ยังมิได้มีการผลิตและขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียมก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับได้ การยื่นคำขอให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ และในการนี้ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ พร้อมทั้งบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ..๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..๒๕๓๒ มาใช้บังคับกับแปลงสำรวจนั้นทุกมาตรา เว้นแต่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม ขนาดพื้นที่แปลงสำรวจตามสัมปทานและการคืนพื้นที่ โดยให้ผู้รับสัมปทานยังคงมีสิทธิเช่นเดิม ตามมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๖ และมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
        การยื่นหนังสือตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อได้ยื่นคำขอต่ออธิบดีแล้ว ให้ผู้รับสัมปทานทำความตกลงกับรัฐบาลเกี่ยวกับการกำหนดค่าลดหย่อนพิเศษและการแสดงรายการเกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษตามบทบัญญัติในหมวด  ทวิ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ โดยดำเนินการตามระเบียบที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนดในการดำเนินการทำความตกลงดังกล่าว ให้ผู้รับสัมปทานทำความตกลงเบื้องต้นกับกรมทรัพยากรธรณีให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคำขอ ถ้าไม่สามารถทำความตกลงเบื้องต้นดังกล่าวได้ภายในกำหนดเวลา ให้ถือว่าคำขอนั้นไม่มีผลเว้นแต่รัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้ขยายเวลาออกไปได้ตามความจำเป็นแต่ต้องไม่เกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ยื่นคำขอ
        ความตกลงกับรัฐบาลจะมีผลต่อเมื่อรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีให้ความยินยอมแก่ผู้รับสัมปทานที่ได้ยื่นคำขอตามมาตรานี้ และเมื่อรัฐมนตรีให้ความยินยอมแล้วให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานทราบ
        ให้แปลงสำรวจในสัมปทานที่ผู้รับสัมปทานได้ขอใช้สิทธิและได้รับความยินยอม จากรัฐมนตรีตามมาตรานี้ อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้กับพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ .๒๕๓๒ ตั้งแต่วันที่ผู้รับสัมปทานได้รับหนังสือแจ้งความยินยอมของรัฐมนตรีตามวรรคสาม โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชนในพื้นที่แหล่งพลังงาน หากเป็นในทะเลขอให้เป็นประชาชนทั่วไป และให้สัมปทานเดิมของผู้รับสัมปทานยังคงใช้บังคับได้ไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะได้มีการออกสัมปทานปิโตรเลียมเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ต่อไปและในกรณีที่ผู้รับสัมปทานที่ยื่นคำขอเป็นผู้ที่ได้รับสัมปทานในแปลงสำรวจบนบกในระหว่างวันที่  กุมภาพันธ์ .๒๕๒๕ ถึงวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้รับสัมปทานดังกล่าวพ้นจากเงื่อนไขการชำระผลประโยชน์รายปีและโบนัสรายปีตามที่กำหนดในสัมปทาน
        การเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่ของผู้รับสัมปทานตามพระราชบัญญัตินี้ย่อมไม่กระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนใดๆ ที่ผู้รับสัมปทานได้เสียหรือจะต้องเสียให้แก่รัฐบาลตามที่กำหนดไว้ในสัมปทานเดิม ก่อนวันที่สัมปทานเดิมจะสิ้นสุดลงตามวรรคสี่ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้รับสัมปทานในอันที่จะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากรัฐบาล

     มาตรา ๓๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
นส ยิ่งลักษณ์   ชิณวัตร.
นายกรัฐมนตรี


ประชาชนถูกหลอกหรือรัฐบาลถูกหลอกกันแน่
หมายเหตุเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ด้วยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันหลายประการ เนื่องจากในขณะที่ตราพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับปิโตรเลียมในประเทศไทยไม่มากนัก แต่หลังจากนั้นได้มีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมากขึ้นและได้ข้อมูลทางธรณีวิทยาของประเทศมากขึ้นจนอาจบ่งชี้ได้ว่า แหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทยส่วนใหญ่น่าจะมีขนาดเล็ก (Marginal field)นอกจากนี้ สภาพการณ์เกี่ยวกับปิโตรเลียมในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมากทั้งในด้านแหล่งปิโตรเลียมที่ค้นพบใหม่ในภูมิภาคเดียวกันกับประเทศไทย และในด้านราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำลง เป็นเหตุให้การลงทุนสำหรับการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมภายในประเทศไม่ขยายตัวเท่าที่ควร.     ดังนั้น เพื่อจูงใจให้การสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องอันจะช่วยให้การนำทรัพยากรปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ได้ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ตลอดจนเพื่อปรับปรุงแก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งปรับปรุงมาตรการในการเร่งรัดการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ด้วยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันหลายประการ เนื่องจากในขณะที่ตราพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับปิโตรเลียมในประเทศไทยไม่มากนัก แต่หลังจากนั้นได้มีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมากขึ้นและได้ข้อมูลทางธรณีวิทยาของประเทศมากขึ้นจนอาจบ่งชี้ได้ว่า แหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทยส่วนใหญ่น่าจะมีขนาดเล็ก (Marginalfield) นอกจากนี้สภาพการณ์เกี่ยวกับปิโตรเลียมในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมากทั้งในด้านแหล่งปิโตรเลียมที่ค้นพบใหม่ในภูมิภาคเดียวกันกับประเทศไทยและในด้านราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำลง เป็นเหตุให้การลงทุนสำหรับการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมภายในประเทศไม่ขยายตัวเท่าที่ควร.      (ข้อูลนี้ไม่ถูกต้อง).  ดังนั้น เพื่อจูงใจให้การสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องอันจะช่วยให้การนำทรัพยากรปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ได้ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ตลอดจนเพื่อปรับปรุงแก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องต่าง  ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งปรับปรุงมาตรการในการเร่งรัดการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ).๒๕๓๔

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐.๒๕๓๔ ได้ยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทน สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ เพื่อให้ผู้รับสัมปทานที่เคยได้รับยกเว้นภาษีการค้า ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแทน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้




*พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม.๒๕๔๕ .๒๕๔๕

มาตรา ๗๗ ในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ให้แก้ไขคำว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน” คำว่า “ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม” เป็น “ปลัดกระทรวงพลังงาน” คำว่า “กรมทรัพยากรธรณี” เป็น “กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ” และคำว่า “อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี” เป็น “อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ”

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม .๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง  ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้นเพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้







พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ .๒๕๕๐


กล่องข้อความ: พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๖)ภูมิพลอดุลยเดช ..
ให้ไว้  วันที่  ตุลาคม .๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

     พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
     โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
     จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

     มาตรา  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ .๒๕๕๐"


     มาตรา ๓ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม(ฉบับที่ .๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        "มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการปิโตรเลียมประกอบด้วยปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมสรรพากร เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทน กระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินห้าคนซึ่งคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในสาขาธรณีวิทยา วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงินกฎหมาย หรือสาขาอื่นอันจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการปิโตรเลียม ซึ่งเสนอชื่อโดยภาคประชาสังคม ตัวแทนภาคประชาสังคม 5คนเป็นกรรมการวิธีการได้มาให้ภาคประชาสังคมเลือกกันเองจากตัวแทนภาคประชาสังคมมี่มีผลงานกว่าสิบปี ไม่มีประวัติิเสื่อมเสีย
เป็นกรรมการ
        ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นข้าราชการในส่วนราชการที่มีกรรมการโดยตำแหน่งสังกัดอยู่
        ให้อธิบดีเป็นกรรมการและเลขานุการ และอธิบดีจะแต่งตั้งข้าราชการในกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
        มาตรา ๑๖ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
     “จำหน่าย” หมายความว่า
     (ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีตามมาตรา ๒๒
     (ให้ความเห็นชอบแก่อธิบดีตามมาตรา ๒๒/
     (ทำความตกลงราคาขายก๊าซธรรมชาติในราชอาณาจักรตามมาตรา ๕๘
     (อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามมาตรา ๖๕
     (มีคำสั่งเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา ๖๙
     (มีคำสั่งเกี่ยวกับการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์โดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๗๐
     (ดำเนินการอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่รัฐมนตรี มอบหมายหรือตามที่กฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ"

     มาตรา  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๖/ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔
        “มาตรา ๑๖/ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
     (มีสัญชาติไทย
     (ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
     (ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
     (ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
     (ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิก สภาท้องถิ่นผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งรับผิดชอบในการบริหารพรรค การเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง

     (ไม่เป็นกรรมการ หรือผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการจัดการหรือมีส่วนได้เสียในนิติบุคคลหรือองค์กรที่ดำเนินธุรกิจหรือดำเนินกิจการด้านปิโตรเลียม และไม่ประกอบอาชีพหรือ วิชาชีพอื่นใดที่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ขัดแย้งกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการ"
ไม่มีส่วนได้เสียในด้่นพลังงานใดๆ
     มาตรา  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        "มาตรา ๑๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
        ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
        มาตรา ๑๘ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
     (ตาย
     (ลาออก
     (คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่หรือหย่อนความสามารถ
     (ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖/
        เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงก่อนวาระ ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิก็ได้ ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้
        ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว"

     มาตรา  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        "มาตรา ๒๒ รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ.   โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชนในพื้นที่แหล่งพลังงาน หากเป็น  มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
     (ให้สัมปทานตามมาตรา ๒๓
     (ต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมตามมาตรา ๒๕
     (ต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามมาตรา ๒๖
     (อนุมัติให้เปลี่ยนแปลงปริมาณงานตามมาตรา ๓๐
     (อนุมัติให้โอนข้อผูกพันระหว่างแปลงสำรวจตามมาตรา ๓๓
     (อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานรับบริษัทอื่นเข้าร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา ๔๗
     (อนุญาตให้โอนสัมปทานตามมาตรา ๕๐
     (เพิกถอนสัมปทานตามมาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๓
     (แจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบว่ารัฐบาลจะเข้าใช้สิทธิประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งด้วยความเสี่ยงภัยแต่ฝ่ายเดียวตามมาตรา ๕๒ ทวิ
     (๑๐สั่งให้ผู้รับสัมปทานจัดหาปิโตรเลียมเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามมาตรา ๖๐
     (๑๑ประกาศห้ามส่งปิโตรเลียมออกนอกราชอาณาจักรตามมาตรา ๖๑
     (๑๒สั่งให้ผู้รับสัมปทานร่วมกันผลิตปิโตรเลียมตามมาตรา ๗๒
     (๑๓สั่งให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียมตามมาตรา ๘๓
     (๑๔อนุมัติให้ชำระค่าภาคหลวงเป็นเงินตราสกุลต่างประเทศตามมาตรา ๘๗
     (๑๕ลดหย่อนค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมตามมาตรา ๙๙ ทวิ และมาตรา ๙๙ ตรี
     (๑๖กำหนดค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจตามมาตรา ๑๐๐ 
        การดำเนินการตาม () () (หรือ (๑๕ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี"

     มาตรา  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๒/ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔
        "มาตรา ๒๒/ อธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชนในพื้นที่แหล่งพลังงานหากเป็น มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
     (ขยายอายุสัมปทานตามมาตรา ๒๗
     (อนุมัติการกำหนดพื้นที่ผลิตตามมาตรา ๔๒
     (อนุญาตให้ขยายระยะเวลาเริ่มผลิตตามมาตรา ๔๒ ทวิ
     (มอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าดำเนินการบำบัดปัดป้องความโสโครกอัน เนื่องจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมแทนหรือร่วมกับผู้รับสัมปทานตามมาตรา ๗๕
     (ให้ความเห็นชอบแผนงานและประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าดำเนินการรื้อถอนแทนหรือร่วมกับผู้รับสัมปทานตามมาตรา ๘๐/"

     มาตรา  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        "มาตรา ๒๗ ในกรณีที่การสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมหรือการเก็บรักษาหรือขนส่ง ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่กระทบกระเทือนต่อการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงใด ต้องหยุดชะงักลงเป็นส่วนใหญ่เพราะเหตุที่มิใช่ความผิดของผู้รับสัมปทาน ถ้าผู้รับสัมปทาน ประสงค์จะขอขยายอายุสัมปทาน ให้แจ้งต่ออธิบดีคณะกรรมการภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ทราบถึงเหตุที่มิใช่ ความผิดของผู้รับสัมปทานนั้น ในกรณีเช่นนี้ให้อธิบดีคณะกรรมการขยายอายุสัมปทานในส่วนที่เกี่ยวกับแปลง สำรวจแปลงนั้นออกไปเท่ากับระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานสามารถพิสูจน์ได้ว่าการสำรวจหรือผลิต ปิโตรเลียมต้องหยุดชะงักลงเพราะเหตุที่มิใช่ความผิดของผู้รับสัมปทาน"

     มาตรา  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        "มาตรา ๒๘ ในการให้สัมปทาน ให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดเขตพื้นที่แปลงสำรวจโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
        เขตพื้นที่แปลงสำรวจที่มิใช่อยู่ในทะเล ให้กำหนดพื้นที่ได้ไม่เกินแปลงละสี่พันตารางกิโลเมตร
        เขตพื้นที่แปลงสำรวจในทะเล ให้รวมถึงพื้นที่เกาะที่อยู่ในเขตแปลงสำรวจนั้นด้วย"

     มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..๒๕๑๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        "มาตรา ๓๓ การโอนข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจ ระหว่างแปลงหนึ่งกับอีกแปลงหนึ่งจะกระทำได้เมื่อมีเหตุอันสมควร และได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีคณะกรรมการแล้ว"

     มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
nbsp;       "มาตรา ๔๒ ก่อนผลิตปิโตรเลียมจากที่ใดที่หนึ่งในแปลงสำรวจ ผู้รับสัมปทาน ต้องแสดงว่าได้พบหลุมปิโตรเลียมที่มีสมรรถนะเชิงพาณิชย์และได้กำหนดพื้นที่ผลิตถูกต้องแล้ว และเมื่อได้รับอนุมัติจากอบิดณะกรรมการแล้วจึงจะผลิตปิโตรเลียมจากพื้นที่ผลิตนั้นได้"

        "มาตรา ๕๑ รัฐมนตรีมีอำนาจเพิกถอนสัมปทาน เมื่อผู้รับสัมปทาน
     (ไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมตามที่กำหนดในสัมปทานตามมาตรา ๓๐
     (ไม่วางหลักประกันหรือวางหลักประกันไม่ครบจำนวนตามมาตรา ๘๐/
     (ไม่ชำระค่าภาคหลวงตามหมวด  หรือผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษตามหมวด  ทวิ
     (ไม่ชำระภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
     (ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานปิโตรเลียมที่ดี
     (ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัมปทานว่าเป็นเหตุเพิกถอนสัมปทานได้"



     มาตรา ๑๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ).๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        "มาตรา ๙๙ ทวิ เพื่อส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่บางพื้นที่ภายในแปลงสำรวจหรือในพื้นที่ผลิตของผู้รับสัมปทาน ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาไม่เอื้ออำนวยหรือที่มีพลังผลิตของพื้นที่ลดลง และไม่อยู่ในแผนการสำรวจหรือแผนการผลิตของผู้รับสัมปทานให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจลดหย่อนค่าภาคหลวง ให้แก่ผู้รับสัมปทานโดยทำความตกลงกับผู้รับสัมปทานเพื่อให้ผู้รับสัมปทานทำการสำรวจและ พัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ตามแผนซึ่งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะได้กำหนดขึ้น
        ในการให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีเพื่อลดหย่อนค่าภาคหลวงตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการคำนึงถึงสภาพทางธรณีวิทยาและศักยภาพทางปิโตรเลียมของพื้นที่ดังกล่าว สถิติค่าใช้จ่ายในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน ความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมภายในประเทศ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในตลาด และผลได้ผลเสียอื่นๆ ของประเทศที่จะได้รับจากการเร่งรัดให้มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม
        ค่าภาคหลวงที่จะลดหย่อนตามมาตรานี้ จะต้องเป็นค่าภาคหลวงที่เกิดจากกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานดำเนินการอยู่แล้วในแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิตนั้น หรือเป็นค่าภาคหลวงที่จะเกิดขึ้นจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดไว้ในแผน และการลดหย่อนดังกล่าวจะต้องไม่เกินร้อยละเก้าสิบ สามสิบของจำนวนค่าภาคหลวงที่ผู้รับสัมปทานพึง ต้องเสียสำหรับปิโตรเลียมทั้งหมดที่ผลิตได้ในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิตที่อยู่ในแปลงสำรวจนั้น หรือไม่เกินร้อยละเก้าสิบของจำนวนค่าภาคหลวงที่จะเกิดจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรม เชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดโดยระยะเวลาที่ได้รับลดหย่อนจะต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ทำความตกลงหรือวันที่เริ่มผลิต และในความตกลงกับผู้รับสัมปทานดังกล่าวจะมีเงื่อนไขหรือมีข้อกำหนดอย่างใดๆ ก็ได้"

     มาตรา ๒๐ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งและวรรคสองของมาตรา ๙๙ ตรี แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ .๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        "มาตรา ๙๙ ตรี ในพื้นที่ที่สภาพทางธรณีวิทยาบ่งชี้ว่าการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ นั้นจำเป็นต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากหรือการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่นั้นไม่อาจดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโดยการมีส่วนร่วมและยินยอมของประชาชนในพื้นที่แหล่งพลังงานหากเป็นในพื้นที่ทะเลให้เป็นประชาชนทั่วไปอาจให้สัมปทานสำหรับพื้นที่ดังกล่าวโดยลดหย่อนค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมที่เริ่มผลิตขึ้นมาจากพื้นที่นั้นตามจำนวนปิโตรเลียมที่จะ กำหนดไว้ในสัมปทานก็ได้แต่พื้นที่ที่กำหนดให้สัมปทานดังกล่าวจะต้องมีขนาดไม่เกินสองร้อย ตารางกิโลเมตร และค่าภาคหลวงที่จะลดหย่อนต้องไม่เกินกว่าร้อยละเก้าสิบของจำนวน ค่าภาคหลวงที่จะพึงเสีย โดยระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับลดหย่อนค่าภาคหลวงจะต้องไม่ เกินห้าปีนับแต่วันที่เริ่มผลิตปิโตรเลียมจากพื้นที่ผลิตในการให้สัมปทานตามมาตรานี้จะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดๆ ก็ได้
        ในการให้คำแนะนำของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้นำหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๙๙ ทวิวรรคสอง มาใช้บังคับ"

     มาตรา ๒๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐๔ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
        "มาตรา ๑๐๔ ผู้รับสัมปทานผู้ใดผลิตปิโตรเลียมโดยมิได้รับอนุมัติจากอธิบดี ตามมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท"

     มาตรา ๒๒ ให้คณะกรรมการปิโตรเลียมตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมี การแต่งตั้งคณะกรรมการปิโตรเลียมขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

     มาตรา ๒๓ บรรดากฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง เงื่อนไข หรือข้อผูกพันที่ออกหรือกำหนดตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง เงื่อนไข หรือข้อผูกพันที่ออกหรือกำหนดตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

     มาตรา ๒๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี







หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติปิโตรเลียม .๒๕๑๔ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสม โดยข้อเท็จจริงที่แหล่งปิโตรเลียมในประเทศส่วนใหญ่เป็นแหล่งขนาดเล็ก หรือมีสภาพทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อน ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงมากและแหล่งปิโตรเลียมหลายแหล่งเริ่มมีกำลังการผลิตลดต่ำลง ทำให้ผู้ประกอบการปิโตรเลียมมีความเสี่ยงในการลงทุนสูง ไม่จูงใจผู้ประกอบการให้ทำการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมเพิ่มเติมจากแหล่งปิโตรเลียมในสัมปทานทำให้ประเทศเสียโอกาสทางเศรษฐกิจในการนำทรัพยากรปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ กฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมในปัจจุบันไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนอีกทั้งการพิจารณาอนุมัติและอนุญาตของรัฐเกี่ยวกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีกระบวนการหลายขั้นตอน ตลอดจนในปัจจุบันประเทศต่าง  โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเดียวกันและใกล้เคียงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในประเทศของตน เพื่อดึงดูดนักลงทุนซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการปิโตรเลียมข้ามชาติกลุ่มเดียวกัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีความคล่องตัวในการดำเนินการ และสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

หมายเหตุนี้ตรงข้ามกับความจริงทั้งสิ้น