ทวงคืน ปตท.

ทรัพย์สินของแผ่นดิน พลังงานของชาติ ...จะปล่อยให้คนไม่กี่ตระกูล ครอบครองและกอบโกยผลประโยขน์ - ทวงคืน ปตท.. เพื่อให้เป็นสมบัติของลูกหลานคนไทยทุกคน...◕‿◕..

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จับตาแก้ กม.ต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียม


จับตาแก้ กม.ต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียม


ปตท.สผ. ลุ้นต่อสัมปทานปิโตรเลียม
Dailynews 8/10/2007

นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปรายละเอียด ต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียมแหล่ง บงกช ของบริษัท ปตท.สผ.และบริษัทเชฟรอน เพื่อเตรียมเสนอ ครม.ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ หลังจากที่คณะกรรมการปิโตรเลียมได้เห็นชอบในหลัก การมาตั้งแต่เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ยอมรับว่าที่ผ่านมาใช้เวลาในการพิจารณานานเพราะต้องรอบคอบในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายที่เข้มงวดขึ้น

ทั้งนี้การต่อสัญญาสัมปทานแหล่งบงกชมีระยะเวลา 10 ปี จากเดิมที่จะหมดสัญญาเก่าในปี 55 โดยของเชฟรอนในแหล่ง บี 10 บี 11 บี 12 และ บี 13 และ ปตท.สผ.ในแหล่ง บี 15 บี 16 และบี 17 ซึ่งจะทำให้มีเงินลงทุนเข้ามาในไทยตลอด 10 ปี ประมาณ 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 400,000-500,000 ล้านบาท แยกเป็นเงินลงทุนของเชฟรอน 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และ ปตท.สผ. 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ.

ขนเม็ดเงินลงทุน 4.5 แสนล้าน! 
Thairath [8 ต.ค. 50 - 05:00]

นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) เปิดเผยว่า การต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียมแหล่งบงกช ของบริษัท ปตท.สผ.สำรวจปิโตรเลียม และบริษัทเชฟรอน ใกล้ได้ข้อสรุปในเงื่อนไขต่างๆแล้ว ก่อนเสนอให้ ครม.พิจารณาเดือน พ.ย.นี้ ซึ่งการต่อสัญญาสัมปทานแหล่งบงกชมีระยะเวลา 10 ปี จากเดิมที่หมดสัญญาในปี 2555 โดยเชฟรอนขอสัมปทานในแหล่ง บี 10 บี 11 บี 12 และบี 13 และ ปตท.สผ.ในแหล่ง บี 15 บี 16 และบี 17 จะทำให้มีเงินลงทุนเข้ามาในไทยตลอด 10 ปี ของสัญญา 450,000 ล้านบาท สำหรับผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษที่กระทรวงการคลังจะได้รับตามที่ตกลงไว้ในสัญญานั้น เชฟรอนจะจ่ายให้กระทรวงการคลัง ปีละ 25,000 ล้านบาท และ ปตท.สผ.จ่ายให้ปีละ 14,000 ล้านบาท

นายไกรฤทธิ์ยังกล่าวถึงการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมว่า ได้รับความสนใจจากนักลงทุนค่อนข้างมาก ซึ่งเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมปีนี้จะอยู่ที่ 40,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากที่ปี 2549 ที่ 36,000 ล้านบาท

แก้ กม.ต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียม
ข่าวเศรษฐกิจวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2555 19:40น.

นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางเตรียมการจัดหาสัมปทานปิโตรเลียมในอนาคต เนื่องจากแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมที่ดำเนินการโดย บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. ที่แหล่งบงกชในอ่าวไทยและสัมปทานที่ร่วมทุนของบริษัท เชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิตอีกหลายโครงการ จะหมดอายุลงใน 10 ปี ข้างหน้า หรือในปี 2565 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ดังนั้นคณะทำงานจะดูความเป็นไปได้ในการแก้กฎหมาย เพื่อต่ออายุสัมปทานเพิ่มจากเดิมที่กฎหมายกำหนดให้ผู้รับสัมปทานสามารถต่ออายุได้ 1 ครั้ง หรือดำเนินการผลิตออกไปได้อีก 10 ปี ซึ่งสัมปทานดังกล่าวได้ใช้สิทธิ์การต่ออายุสัมปทานไปแล้ว

ทั้งนี้ รัฐบาลต้องการให้ผู้รับสัมปทานเดิมได้ต่ออายุสัญญามากกว่าการเปิดประมูลสัมปทานใหม่ เพราะจะทำให้เกิดการลงทุนสำรวจได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อรักษาเสถียรภาพกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติ โดยคาดว่าคณะทำงานจะได้แนวทางที่ชัดเจนภายใน 1 ปี


กมธ.วุฒิสภา พร้อมใช้ พ.ร.บ.คำสั่ง เรียก รมว.พลังงาน แจงสัมปทานปิโตรเลียม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 กรฎาคม 2555 ที่ห้องรับรอง 2 อาคารรัฐสภา 2 มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและการเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่มี น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว. กทม. เป็นประธาน มีวาระพิจารณาประเด็นการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม ครั้งที่ 21 ของกระทรวงพลังงาน การประชุมครั้งนี้ไม่มีตัวแทนจากกระทรวงพลังงานเข้าชี้แจง โดย กมธ. ได้หารือกันถึงประเด็นดังกล่าว ซึ่ง น.ส.รสนาระบุกับที่ประชุมว่า กมธ. ได้ส่งหนังสือให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานตอบคำถามเพิ่มเติมจำนวน 7 ข้อ ประกอบด้วย
1. การคิดค่าภาคหลวงในอัตรา 5-15 เปอร์เซ็นต์ตามรายหลุมเจาะหรือคิดเป็นผลผลิตทั้งแหล่ง
2. ขอทราบขั้นตอนการตรวจสอบเพื่อทราบปริมาณปิโตรเลียมที่แท้จริงเพื่อใช้คำนวณค่าภาคหลวง
3. ขอรายละเอียดผลตอบแทนพิเศษของแต่ละแหล่งสัมปทานปิโตรเลียม ทั้งการให้สัมปทานครั้งแรกและการต่อสัมปทานปิโตรเลียม
4. การโอนหรือขายสัมปทานปิโตรเลียมให้บุคคลอื่นทุกรายการพร้อมราคา
5. เปรียบเทียบข้อแตกต่างของกฎหมาย กฎระเบียบในการให้สัมปทานปิโตรเลียม ทั้งการสำรวจและขุดเจาะของประเทศไทย กับประเทศพม่า กัมพูชา บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย โบลิเวีย และเวเนซูเอลา
6. มีกระบวนการตรวจสอบหรือพิจารณาการใช้ดุลพินิจหรือหลักเกณฑ์ที่มีธรรมาภิบาลมากน้อยเพียงใด
7. มีหลักเกณฑ์ที่ไม่ให้ผู้คืนสัมปทานปิโตรเลียมเดิมมาประมูลใหม่หรือไม่

ปูด อธิบดีซุ่มแก้ กม. ต่อสัมปทานแหล่งบงกช

ทั้งนี้ สิ่งที่ กมธ. ให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ สัญญาสัมปทานปิโตรเลียมในแหล่งสิริกิติ์และแหล่งบงกช โดยเฉพาะแหล่งบงกชที่เป็นแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ที่สุดในทะเล มีปริมาณกว่า 1 หมื่นล้านลิตรต่อปี กำลังจะหมดสัญญาสัมปทาน ซึ่งมีกระแสข่าวออกมาว่าจะมีการแก้กฎหมายเพื่อให้มีการต่อสัญญาสัมปทานอีก 10 ปี ทั้งที่บริษัทผู้รับสัมปทานเคยได้สิทธิการต่อมาแล้วครั้งหนึ่ง 
ทาง กมธ. เห็นว่า การต่อสัมปทานดังกล่าวควรได้รับการทักท้วง เนื่องจากการเก็บผลประโยชน์ของการให้สัมปทานในแหล่งบงกชนั้นใช้รูปแบบ “ไทยแลนด์วัน” แหล่งปิโตรเลียมดังกล่าวควรจะเป็นของประเทศ มากกว่าให้มีการต่อสัญญาสัมปทานแล้วทำให้ประเทศชาติเสียประโยชน์
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี เลขานุการ กมธ. กล่าวว่า แหล่งบงกชมีการต่ออายุสัมปทานไปแล้ว 10 ปี และตามกฎหมายบริษัทผู้รับสัมปทานไม่สามารถต่อสัญญาสัมปทานได้แล้ว แต่มีข่าวในหนังสือพิมพ์ว่าทางอธิบดีพยายามตั้งทีมเพื่อแก้กฎหมายต่อสัญญาสัมปทานอีก ซึ่งหลุมปิโตรเลียมนี้ยังสามารถนำปิโตรเลียมขึ้นมาได้อีกหลายปี ถ้าขึ้นมาแล้วเป็นของหลวงทั้งหมด ประเทศไทยสามารถที่จะลืมตาอ้าปากได้เลย เพราะถ้านำจำนวนน้ำมันดิบ 1 หมื่นล้านลิตร คูณ 20 บาท จะได้เงินจำนวนมากมายมหาศาล ดังนั้น แหล่งบงกชจึงควรที่จะมีการประมูลโอเปอเรเตอร์ (ผู้ผลิต) ผู้มาปฏิบัติมากกว่าผู้มาสัมปทาน เช่น ให้ ปตท.สผ. มารับทำตรงนี้โดยแบ่งไป 10 % ของมูลค่าจะดีกว่าหรือไม่ เพราะความเสี่ยงของการขุดเจาะน้ำมันจะอยู่ในช่วงแรกเท่านั้นว่าจะเจอปิโตรเลียมหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมา กมธ. ได้ขอเอกสารการให้สัมปทานจากกระทรวงพลังงานแต่ไม่เคยได้รับแต่อย่างใด

เล็งเปิดอภิปราย ม. 161

นายคำนูน สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะ กมธ. ได้เสนอต่อที่ประชุมว่า กมธ. ต้องยืนยันให้นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมาชี้แจงต่อ กมธ. เพราะมีคำถามในเชิงนโยบายที่ข้าราชการประจำไม่สามารถที่จะตอบได้ ที่สำคัญคือปรัชญาการให้สัมปทานของประเทศไทยที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงก็จะผิดไปตลอด ระบบคิดของการให้สัมปทานของประเทศไทยคือให้เพื่อการส่งออก 100 % คนไทยมีทรัพยากรของเราเกือบ 50 % แต่เป็นกรรมสิทธิของผู้ได้รับสัมปทาน โดยให้มีการเปิดขายไปต่างประเทศได้ทั้งหมด แต่เวลาเราซื้อจะซื้อเข้ามาในราคาตลาดโลกบวกค่าขนส่ง
อย่างไรก็ตาม การที่มีการชะลอสัมปทานรอบที่ 21 นั้น ควรจะมีการทบทวนรากฐานของการให้สัมปทานทั้งหมด ดังนั้น รมว.พลังงานต้องมาตอบ และเมื่อ รมว. ไม่มาตอบ กมธ. ต้องทำหนังสือยืนยันไปอีกครั้งหนึ่งว่าให้ รมว.พลังงานมาตอบต่อ กมธ. ในครั้งต่อไปในวันที่ 9 สิงหาคมนี้ ทั้งนี้หากไม่มา กมธ. จะใช้ พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและฯ พ.ศ. 2554 ในการเชิญ รมว.พลังงานมาชี้แจงต่อ กมธ.
นอกจากนี้ ในการเปิดสมัยประชุมสามัญทั่วไปนั้น ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 161 ได้เปิดช่องให้สมาชิกวุฒิสภาสามารถขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติได้ ซึ่งการให้สัมปทานปิโตรเลียมนั้นเป็นต้นทางของปัญหาทั้งหมดของประเทศ ถ้าสามารถปฏิรูปตรงนี้ได้ก็ปฏิรูปประเทศได้
ทั้งนี้มาตรา 161 บัญญัติว่า “สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสมาชิกวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ”

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่

http://webboard.seri...า/page__st__100

แนวโน้มการลงทุนในอินโดจีนกำลังสูงขึ้น อินโดจีนยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สิน ใด ๆ ต่อผู้ลงทุน ถ้าถูกโอน เป็นของรัฐ จะทำอย่างไร

ความหวาดกลัวของนักลงทุนที่ไปลงทุนในต่างแดนมีอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นภาวะความผันผวนทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐ การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราและการที่รัฐบาลที่รับการลงทุนเปิดกิจการแข่งขันกับนักลงทุน เป็นต้น

ในช่วงทศวรรษ ถึงสองทศวรรษที่ผ่านมา รัฐผู้รับการลงทุนได้มีมาตรการที่ทำให้บริษัทต่างประเทศ มีความหวาดกลัวมากยิ่งขึ้น นั่นคือมาตรการ “โอนเป็นของชาติ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะเป็นการโอนเอา กิจการของบริษัทต่างประเทศ ซึ่งเข้ามาลงทุนกระทำการผลิตในรัฐของตน เช่นบริษัทขุดเจาะน้ำมัน บริษัท ทำเหมืองแร่ บริษัทที่เข้ามาทำกิจการสาธารณูปโภค เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า การขนส่ง การคมนาคม ซึ่งบริษัทต่างประเทศเหล่านี้ต่างนำเทคโนโลยี ทรัพย์สินที่มีค่ามาลงทุนในรัฐเจ้าของดินแดน

แต่ในที่สุด รัฐก็จะพยายามหาหนทางเอากิจการอันมีมูลค่าและมีประโยชน์อย่างมหาศาลมาเป็นของรัฐด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา ดังกรณี

คดี BP EXPLORATION CO., (LIBYA) LTD. กับ ARABIAN GULF EXPLORATION CO., LTD. บริษัท BP ได้ทำสัญญาสัมปทานกับรัฐบาลลิเบีย โดยให้ทำการขุดค้นแสวงหาประโยชน์ในดินแดนที่กำหนดเป็นเวลา 50 ปี รัฐบาลลิเบียได้ออกกฎหมายโอนกิจการบริษัทเป็นของชาติ โดยโอนความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สินรวมถึงบรรดาสิทธิต่าง ๆ และหุ้นของบริษัท BPไปเป็นของบริษัท ARABIAN GULF EXPLORATION CORPERATION

คดี TEXACO OVERSEA PETROLEUM CO. LTD. กับ LYBYAN NATIONAL OIL COM-PANY บริษัท TEXACOได้ทำสัมปทานกับรัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของลิเบียภายหลังรัฐบาลลิเบียได้ออกกฎหมายเพื่อโอนกิจการไปเป็นของ LYBYAN NATIONAL OIL COMPANY ในระหว่างปี ค.ศ. 1973-1974

การโอนเป็นของชาติหรือ NATIONALIZATION นั้นหมายถึง “การใดอันกระทำโดยอำนาจมหาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายบุคคลในประเภทแห่งกิจการใด ๆ มาเป็นของรัฐหรือองค์กรของรัฐทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและ ต้องมีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วย”

ส่วนวิธีการโอนนั้น รัฐผู้ทำการโอนแต่เพียงหุ้นของบริษัทที่ทำกิจการนั้น ๆ มาเป็นของรัฐ ซึ่ง ทำให้บริษัทไม่สูญเสียสภาพนิติบุคคลยังคงเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการต่าง ๆ ต่อไป หรือเวนคืนทรัพย์ของบริษัทมาเป็นของรัฐ โดยการประกาศยกเลิกบริษัทเสียแล้วจัดตั้งองค์การของรัฐขึ้นเพื่อดูแลกิจการทรัพย์สินที่โอนมานั้นต่อไปก็ได้

ไม่ว่าจะเป็นการโอนด้วยวิธีใดดังกล่าวก็ตาม รัฐผู้โอนก็จะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ถือหุ้น หรือบริษัทแล้วแต่กรณีด้วย เว้นเสียแต่จะเป็นการโอนโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลงโทษผู้ที่ค้ากับศัตรู ซึ่งจะไม่มีการให้ค่าสินไหมทดแทนแต่อย่างใด

ในอดีตนั้นถือว่า การโอนทรัพย์สินของคนต่างด้าวเป็นของชาตินั้นเป็นการละเมิดต่อสิทธิอันได้มาแล้วโดยชอบธรรมของคนต่างด้าวนั้น เช่นคดี MAVROMMATIS JERUSALEM COUCESSION CASE

อังกฤษยกเลิกสัมปทานที่ MAVROMMATIS ได้รับมาจากสัญญาที่กระทำกับตุรกี ศาลสถิต ยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินเมื่อ ค.ศ. 1925 ว่าการยกเลิกสัมปทานของอังกฤษนั้นเป็นการกระทำ ที่ไม่ถูกต้อง อังกฤษต้องเคารพต่อสิทธิที่เอกชนได้รับมาแล้วโดยชอบธรรม (ACQUIRED RIGHTS)

หรือคดี THE DELEGOA BAYCASE ระหว่างสหรัฐฯ กับโปรตุเกส รัฐบาลโปรตุเกสยึดทางรถไฟสร้างโดยนาย MURDO คนสัญชาติอเมริกัน อนุญาตตุลาการตัดสินให้โปรตุเกสใช้ค่าเสียหาย แก่สหรัฐฯ โดยถือว่ารัฐบาลโปรตุเกสเป็นผู้ผิดสัญญา

แต่กฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบัน รับรองสิทธิของทุกรัฐในการโอนทรัพย์สินของคนต่าง-ด้าวเป็นของชาติตน สาเหตุที่กฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบันให้รัฐโอนทรัพย์สินของคนต่างด้าวเป็นของชาติได้ เนื่องมาจากหลังอธิปไตยถาวรของรัฐ (PERMANENT SOVEREIGNTY) เหนือทรัพย์สินทรัพยากรธรรมชาติและกิจการทางธุรกิจดังที่สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ลงมติต่อเนื่องยืนยันหลักการนี้หลายครั้งหลายหนและยังปรากฎในมาตรา 2 วรรค 1 บทที่ 2 ของกฎบัตรว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ในทางเศรษฐกิจของรัฐ (CHARTER OF ECONOMIC RIGHTS AND DUTIES OF STATES)

คำว่า อธิปไตย “ถาวร” นี้หมายความว่า รัฐผู้มีอธิปไตยเหนือดินแดนของตนย่อมไม่สูญไป ซึ่งความสามารถตามกฎหมายในอันที่จะเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมายหรือวิธีการในการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของตนทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้มีข้อตกลงใด ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการแสวงหาประโยชน์นั้น ๆ ไว้แล้ว หรือไม่ก็ตาม

เมื่อการโอนเป็นของชาติเป็นสิ่งที่ทำได้เสมอโดยชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ ในที่นี้จึงจะอธิบายให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ที่จะทำให้การโอนเป็นของชาตินั้นมีผลสมบูรณ์ กล่าวคือ

เมื่อเข้าหลักดังกล่าว หากรัฐเห็นเหมาะสม รัฐก็จะดำเนินการเรียกร้องในนามของรัฐเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเสียหายจากรัฐผู้โอนโดยอาจดำเนินการทางการทูต หากรัฐได้ใช้สิทธิคุ้มครองทางการทูตต่อเอกชนผู้ได้รับความเสียหาย

คดีที่เกิดขึ้นระหว่างเอกชนกับรัฐที่ก่อให้เกิดความเสียหายจะกลายมาเป็นคดีระหว่างประเทศ ระหว่างรัฐที่ก่อให้เกิดความเสียหาย กับรัฐเจ้าของสัญชาติของเอกชนที่ได้รับความเสียหายทันที

รัฐเจ้าของสัญชาติสามารถจะสวมสิทธิทุกอย่างที่เอกชนมีอยู่ในการต่อสู้คดีกับรัฐที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเมื่อรัฐเจ้าของสัญชาติดำเนินคดีจนถึงที่สุด และได้รับชดใช้ค่าเสียหายแล้ว การแบ่ง ค่าเสียหายแก่เอกชนคนชาติของตนตามสัดส่วนเท่าใดนั้นย่อมอยู่ในดุลพินิจของรัฐเจ้าของสัญชาติแต่ ผู้เดียว

เพราะสิทธิในการให้ความคุ้มครองทางการทูตต่อคนชาติเป็นเรื่องเฉพาะตัวของรัฐ รัฐจะปฏิเสธหรือจะยอมรับที่จะใช้สิทธิดังกล่าวก็ได้

การแก้ไขความเสียหายโดยสนธิสัญญาการลงทุนที่จะมิให้การลงทุน หรือกิจการหรือทรัพย์สินของผู้ลงทุน ถูกบังคับโอนเป็นของรัฐโดยประเทศผู้รับการลงทุนเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง และเกือบทุกสนธิ-สัญญามีข้อกำหนดในเรื่องนี้

ทั้งนี้เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันว่ารัฐมีอำนาจเหนือบุคคลและสิ่งของดินแดนของตน รัฐจึงมีสิทธิที่จะบังคับโอนกิจการหรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนชาวต่างประเทศไปเป็นของรัฐได้

ฉะนั้นสนธิสัญญาเกี่ยวกับการลงทุนจึงได้กำหนดเป็นหลักประกันและเงื่อนไขที่ประเทศผู้รับการลงทุนจะโอนกิจการและทรัพย์สินเป็นของรัฐไว้ เช่น เป็นการโอนไปเพื่อประโยชน์สาธารณะและต้องมีการจ่ายค่าทดแทน

เหตุผลในการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการโอนกิจการหรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนไปเป็นของรัฐไว้ในสนธิสัญญาเพราะสินธิสัญญาเป็นกลไกอันหนึ่งในกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศ คู่สัญญาจะต้องผูกพันและปฏิบัติตาม

หากประเทศไม่ปฏิบัติตาม เช่น มีการโอนเป็นของรัฐ ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา ถือได้ว่ารัฐผู้โอนนั้นละเมิดหรือปฏิบัติผิดกฎหมายระหว่างประเทศ ก็จะเปิดโอกาสให้ประเทศคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งดำเนินการตามกฎหมายระหว่างประเทศได้ทันที

ผิดกับการใช้ DIPLOMATIC PROTECTION ซึ่งต้องผ่านกระบวนการตามข้างต้นก่อน ทำให้ ผู้เสียหายได้รับการชดใช้เยียวยาช้ากว่ากรณีรัฐได้ละเมิดสนธิสัญญา

สำหรับประเทศไทยได้มีบทบัญญัติกฎหมายภายในที่ให้ความคุ้มครองนักลงทุน หลายฉบับ เช่น พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พ.ร.บ. นิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2522

แม้แต่ในรัฐธรรมนูญเองก็มีบทบัญญัติการไม่โอนกิจการเป็นของรัฐอยู่เช่นกัน อีกทั้งปัจจุบันประเทศไทยได้ทำสนธิสัญญาที่เกี่ยวกับการลงทุนทั้งในรูปความตกลงเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรง และสนธิสัญญาร่วมมือทางเศรษฐกิจ กับประเทศต่าง ๆ เช่น เยอรมนี, สหรัฐอเมริกา, เนเธอร์แลนด์, แคนาดา

แต่สถานการณ์ขณะนี้ การลงทุนได้มีการเคลื่อนย้ายไปสู่ภูมิภาคอื่นอาทิ การลงทุนในปิโตรเลียมในประเทศเวียดนามตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 80 เป็นต้นมา

และเมื่อเดือนตุลาคมศกนี้บริษัทมิตซูบิชิออยล์ ได้รับสัมปทานการขุดเจาะน้ำมันบริเวณนอก ชายฝั่งตอนใต้ของเวียดนาม

หรือการลงทุนจากบริษัทพรีเมียร ออยล์ ฟิลด์ (อังกฤษ) บริษัทเทคชาโกและบริษัทนิปปอนออยล์ โค (ญี่ปุ่น) ที่เริ่มขุดเจาะบ่อน้ำมันเยนตากุน นัมเบอร์ วัน นอกชายฝั่งพม่า

และในประทศลาว ได้มีการเปิดการประมูลโครงการวางสายโทรศัพท์เชื่อมเวียงจันทน์กับหลวงพระบางและปากซานกับปากเซ มีมูลค่าประมาณ 600 ล้านบาท

สิ่งที่ควรพิจารณาก็คือ ประเทศเหล่านี้มีบทบัญญัติกฎหมายที่คุ้มครองและให้หลักประกันกับ นักลงทุนมากแค่ไหน ที่เห็นได้ก็คือ ประเทศเวียดนามยังไม่มีกฎหมายอาญา ไม่มีกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่มีกฎหมายล้มละลาย ที่เป็นระบบอย่างชัดเจน

เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นจึงเป็นปัญหาผู้ลงทุนจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้อย่างไร และสิ่งที่ น่าจับตามองอีกประการหนึ่งก็คือ ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจะซ้ำรอยเดิมหรือไม่

พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 กฎหมายทาสและใบอนุญาตให้อเมริกาปล้นประเทศไทย

โดย ประพันธ์ คูณมี16 สิงหาคม 2555 14:33 น.



ทำไมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงชูธงเรียกร้องให้ปฏิรูปประเทศไทยครั้งใหญ่ นอกจากประเด็นเรื่องทางการเมือง สังคม การศึกษา และปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม ที่พันธมิตรฯ ได้หยิบยกขึ้นมาพูด และวิพากษ์วิจารณ์ให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนถึงความล้มเหลวของระบอบการเมืองการปกครองของไทยที่มีความจำเป็นเร่งด่วน สมควรได้รับการแก้ไขอย่างถึงที่สุด
       
       หนึ่งในปัญหารูปธรรมที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเสวนากันอย่างกว้างขวาง มีข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์เป็นระบบ ที่สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจการเมือง ร่วมกับกลุ่มทุนปล้นประเทศ ขูดรีดเอาเปรียบประชาชน ก็คือปัญหาเรื่องพลังงานปิโตรเลียม อันเป็นทรัพยากรของประชาชนทั้งชาติร่วมกัน แต่ถูกกลุ่มทุนสามานย์ และนักการเมืองที่ฉ้อฉล ทุจริต ขายชาติ สมคบกันปล้นสะดมเอาไป เพื่อความเข้าใจต่อปัญหานี้ ว่าคนไทย ประเทศไทยถูกปล้นและเอาเปรียบอย่างไร จากต่างชาติ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจอเมริกา จำเป็นที่คนไทยต้องศึกษาและเข้าใจกฎหมาย อันเป็นเครื่องมือและใบอนุญาตให้มหาอำนาจร่วมกับกลุ่มทุนนักการเมืองไทย ปล้นพลังงานของประเทศ ฮุบเอาผลประโยชน์ไปอย่างหน้าด้านๆ ภายใต้ข้ออ้างตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายที่ว่านั้นก็คือ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 โดยเหตุที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นกฎหมายทาส และใบอนุญาตปล้นประเทศไทย เพราะกฎหมายฉบับนี้ มีประเด็นที่บ่งบอกให้เห็นลักษณะเช่นนั้น และมีประเด็นที่จะต้องได้รับการยกเลิก หรือแก้ไขหลายประเด็น ดังนี้
       
       1. พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ตราขึ้นและประกาศใช้เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2514 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 88 ตอนที่ 43 ฉบับพิเศษหน้า 1/23 เมษายน 2514 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จึงเป็นกฎหมายที่เริ่มประกาศใช้ครั้งแรกในยุคสมัยที่ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งในยุคนั้นถือเป็นจักรวรรดินิยมหรือนักล่าอาณานิคมยุคใหม่ กำลังแผ่ขยายอำนาจเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งนอกจากเข้ามาแสดงแสนยานุภาพทางทหาร ประกาศเป็นผู้นำค่ายโลกเสรี เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยม ทำตัวเป็นพี่เบิ้มที่จะปกป้องประชาคมโลก แต่ขณะเดียวกัน ก็กรุยทางให้บริษัททางธุรกิจยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของอเมริกาเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้ ประเทศไทยเป็นเป้าหมายหนึ่งของมหาอำนาจ จักรวรรดินิยมอเมริกา ดังจะเห็นได้จากประวัติการดำเนินงานกว่า 5 ทศวรรษของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ที่เข้ามามีบทบาทครอบงำธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 จนถึงปัจจุบัน ดังปรากฏประวัติและการดำเนินงานของบริษัทเชฟรอนในประเทศไทย
       
       ประวัติและการดำเนินงาน
       
        กว่า 5 ทศวรรษของการดำเนินงานในประเทศไทย
       
       พ.ศ. 2555 ฉลองครบรอบ 50 ปี ของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
       
       พ.ศ. 2554 ผลิตก๊าซครบ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2554 ผลิตน้ำมันครบ 300 ล้านบาร์เรล
       
       พ.ศ. 2554 ผลิตก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่ผลิตปลาทอง ระยะที่ 2 เป็นครั้งแรก
       
       พ.ศ. 2554 ฉลองครบรอบ 30 ปี เอราวัณ แหล่งก๊าซธรรมชาติแห่งแรกในอ่าวไทย
       
       พ.ศ. 2554 ฉลองการผลิตน้ำมันครบ 200 ล้านบาร์เรลจากพื้นที่ผลิต B8/32
       
       พ.ศ. 2554 เปิดศูนย์ขนส่งทางอากาศแห่งใหม่ที่ จ.นครศรีธรรมราช
       
       พ.ศ. 2553 ผลิตคอนเดนเสทครบ 300 ล้านบาร์เรล
       
       พ.ศ. 2553 ครบรอบ 30 ปีศูนย์เศรษฐพัฒน์ จ.สงขลา
       
       พ.ศ. 2552 ผลิตก๊าซครบ 9 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2551 ผลิตก๊าซครบ 8 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2550 ได้รับสัมปทานแปลงใหม่อีก 4 แปลงได้แก่ G4/50, G6/50, G7/50 และ G8/50 โดยเชฟรอนเป็นผู้ดำเนินการในสามแปลงแรก
       
       พ.ศ. 2550 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติสำหรับแปลงสัมปทานหมายเลข 10-13 ในอ่าวไทย กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยเชฟรอนจะจัดส่งก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นที่อัตรา 500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 เป็นต้นไป
       
       พ.ศ. 2550 ได้รับการต่ออายุสัมปทานการผลิตในอ่าวไทยแปลง 10-13 อีก 10 ปี (พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2565)
       
       พ.ศ. 2550 ผลิตก๊าซธรรมชาติส่งเข้าท่อก๊าซเส้นที่ 3 ของปตท. เฉลี่ยวันละ 240 ล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2549 ผลิตก๊าซครบ 7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2549 ได้รับสัมปทานในอ่าวไทยเพิ่มเติมอีก 2 แปลงได้แก่ จี 4/48 (ครอบคลุมพื้นที่ 504 ตารางกิโลเมตร) และจี 9/48 (ครอบคลุมพื้นที่ 252 ตารางกิโลเมตร)
       
       พ.ศ. 2549 สร้างสถิติยอดผลิตน้ำมันบรรลุ 70,000 บาร์เรลต่อวันบนพื้นที่ผลิตบี 8/32
       
       พ.ศ. 2548 ควบรวมกิจการระหว่างยูโนแคล คอร์ปอเรชั่นกับเชฟรอน คอร์ปอเรชั่น และเปลี่ยนชื่อจากบริษัทยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด เป็นบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด
       
       พ.ศ. 2548 ผลิตก๊าซครบ 6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2547 ประสบความสำเร็จในการขุดเจาะหลุมสำรวจ 4 หลุมที่แปลง A ประเทศกัมพูชา
       
       พ.ศ. 2547 ประสบความสำเร็จในการขุดเจาะหลุม 1 หลุมที่ลันตา 1 และ ลันตา 2 ในแปลง จี 4/43
       
       พ.ศ. 2547 ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นด้านบริหารความปลอดภัยจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
       
       พ.ศ. 2546 ผลิตก๊าซครบ 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2546 ผลิตน้ำมันดิบครบ 5 ล้านบาร์เรล
       
       พ.ศ. 2546 เซ็นสัญญาแปลง จี 4/43 และ แปลง 9A ในอ่าวไทย
       
       พ.ศ. 2545 สร้างสถิติยอดผลิตน้ำมันบรรลุ 60,000 บาร์เรลต่อวันบนพื้นที่ผลิตบี 8/32
       
       พ.ศ. 2545 ลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแหล่งเอราวัณและแหล่งยูโนแคล 2/3 ลดราคาก๊าซธรรมชาติรวมมูลค่า 10,294 ล้านบาทภายในระยะเวลา 10 ปี
       
       พ.ศ. 2545 ฉลองครบรอบ 40 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
       
       พ.ศ. 2545 ได้รับสัมปทานการสำรวจในแปลง A ประเทศกัมพูชา
       
       พ.ศ. 2545 แผนกวิเคราะห์และควบคุมผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้รับรางวัลประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพ ISO 9001
       
       พ.ศ. 2544 ขุดเจาะหลุมน้ำมันในแนวนอน (horizontal monobore oil well) หลุมแรกในอ่าวไทย
       
       พ.ศ. 2544 สร้างสถิติผู้นำการผลิตน้ำมันในอ่าวไทยบรรลุ 38,000 บาร์เรลต่อวัน
       
       พ.ศ. 2544 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการของแท่นกระบวนการผลิตน้ำมันแหล่งปลาทอง นับเป็นแท่นกระบวนการผลิตปิโตรเลียมแท่นแรกที่สร้างและประกอบในประเทศไทย
       
       พ.ศ. 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดแหล่งก๊าซไพลินในอ่าวไทย
       
       พ.ศ. 2543 ผลิตก๊าซครบ 4 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2543 ค้นพบแหล่งน้ำมันชบา ได้รับสัมปทานการสำรวจแหล่งจามจุรีเหนือ
       
       พ.ศ. 2542 ประสบผลสำเร็จเพิ่มผลผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่ในการขุดเจาะหลุมก๊าซตามแนวนอนเป็นหลุมแรกที่หลุม “ตราด A-07” ณ ความลึก 1,990 เมตร (6,530 ฟุต)
       
       พ.ศ. 2542 ห้องปฏิบัติการตรวจสอบสงขลาของยูโนแคลได้รับใบรับรองมาตรฐาน มอก. 1300 (ISO/IEC Guide 25) จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
       
       พ.ศ. 2542 ค้นพบแหล่งน้ำมันดิบปริมาณเชิงพาณิชย์ในอ่าวไทย ในแปลงสำรวจที่ 10A และ 11A
       
       พ.ศ. 2542 ขุดเจาะหลุมก๊าซในแนวนอนหลุมแรกในอ่าวไทย
       
       พ.ศ. 2542 เริ่มการผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งเบญจมาศในวันที่ 1 กรกฎาคม โดยเชฟรอนเป็นผู้ผลิตในวันที่ 1 ตุลาคม
       
       พ.ศ. 2542 เชฟรอนควบรวมกิจการกับ Rutherford Moran Oil Corp. ในวันที่ 17 มีนาคม
       
       พ.ศ. 2541 ฉลองครบรอบ 36 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
       
       พ.ศ. 2541 เซ็นสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลวกับ ปตท.
       
       พ.ศ. 2540 ได้รับรางวัลประกาศนียบัตร ISO 14001 ในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
       
       พ.ศ. 2540 ผลิตก๊าซธรรมชาติครบ 3 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2540 ติดตั้งแท่นผลิตก๊าซ 3 ขาแท่นแรกที่ก่อสร้างในประเทศไทย
       
       พ.ศ. 2540 เริ่มการผลิต ณ แหล่งทานตะวันในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ และค้นพบแหล่งมะลิวัลย์
       
       พ.ศ. 2539 ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแหล่งไพลินกับ ปตท.
       
       พ.ศ. 2538 ค้นพบแหล่งเบญจมาศ และเริ่มต้นพัฒนาแหล่งทานตะวัน
       
       พ.ศ. 2538 ขยายศูนย์เศรษฐพัฒน์ให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีปิโตรเลียมที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ โดยการเพิ่มหน่วยฝึกอบรมปฏิบัติการฉุกเฉินและสถานีความปลอดภัยในน้ำ
       
       พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลประกาศนียบัตรรับรองระดับสามขั้นสูง ด้านการจัดการสุขภาพและความปลอดภัย จากสถาบัน DNV ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ดำเนินการรับรองความปลอดภัยตามระบบ International Safety Rating System (ISRS)
       
       พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นด้านการบริหารความปลอดภัยของกระทรวงอุตสาหกรรม มอบให้โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
       
       พ.ศ. 2537 ผลิตก๊าซครบ 2 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2535 ค้นพบแหล่งทานตะวันในอ่าวไทย
       
       พ.ศ. 2534 ได้รับสัมปทานการสำรวจปิโตรเลียมแปลง B8/32
       
       พ.ศ. 2533 ผลิตก๊าซครบ 1 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
       
       พ.ศ. 2533 ติดตั้งสถานีเรดาร์ตรวจอากาศนอกฝั่งที่แหล่งก๊าซสตูล
       
       พ.ศ. 2531 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับที่ 3 กับ ปตท.
       
       พ.ศ. 2525 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับที่ 2 กับ ปตท.
       
       พ.ศ. 2524 เริ่มผลิตก๊าซส่งขึ้นฝั่งที่โรงแยกก๊าซของ ปตท. จังหวัดระยอง
       
       พ.ศ. 2523 ก่อตั้งศูนย์เศรษฐพัฒน์ เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีปิโตรเลียมสำหรับพนักงานชาวไทย
       
       พ.ศ. 2521 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับแรกกับ ปตท.
       
       พ.ศ. 2516 ประสบความสำเร็จค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติปริมาณเชิงพาณิชย์แหล่งแรกของประเทศ ในแปลงหมายเลข 12 ซึ่งภายหลังตั้งชื่อว่าแหล่ง “เอราวัณ”
       
       พ.ศ. 2511 ได้รับสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมแปลงหมายเลข 12 และ 13 ในอ่าวไทย
       
       พ.ศ. 2505 บริษัทยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด เป็นบริษัทแรกที่ได้รับอนุมัติสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมจากรัฐบาลไทย บริเวณที่ราบสูงโคราช
       
       เมื่อพิจารณาถึงช่วงเวลาที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ กับการเข้ามาดำเนินกิจการด้านปิโตรเลียมซึ่งหมายความถึงการสำรวจ ผลิต เก็บรักษา ขนส่ง ขาย หรือจำหน่ายปิโตรเลียม และคำว่า “ปิโตรเลียม” หมายความว่า น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว สารพลอยได้และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จึงสอดคล้องอย่างลงตัวว่านับแต่ประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว บริษัทจากประเทศมหาอำนาจอเมริกา คือ บริษัท เชฟรอน เท่านั้น ที่เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์เต็มๆ จากพ.ร.บ.ฉบับนี้
       
       จากนั้นจึงมีบริษัทจากประเทศมหาอำนาจอื่นๆ เช่น อังกฤษ ติดตามมา บริษัทสัญชาติไทยอย่างการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท.ก็เกิดขึ้นตามมาในภายหลัง แต่ท้ายที่สุดก็ถูกแปรรูปไปเป็นของเอกชนและทุนต่างชาติ ดังที่เป็นอยู่ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 จึงเป็นเพียงกฎหมายทาส และเป็นเครื่องมืออนุญาตให้ทุนต่างชาติ ทุนสามานย์และนักการเมืองไทย ปล้นประเทศ และขายชาติโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นมรดกบาปให้คนไทยต้องรับกรรม ใช้พลังงานน้ำมันในราคาที่แพงที่สุด เป็นอันดับ 8 ของโลกอย่างทุกวันนี้

2. พิจารณาจากเนื้อหาสาระของ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 รวมทั้งที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมทั้งสิ้นรวม 5 ครั้ง คือ โดยฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2516 สมัยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2522 โดยมีรองนายกรัฐมนตรีนายสมภพ โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2532 สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 5 ปี พ.ศ. 2534 สมัยนายอานันท์ ปันยารชุน
      
        และฉบับที่ 6 พ.ศ. 2550 สมัยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จะเห็นได้ว่าตลอดระยะเวลา 41 ปี นับแต่มีพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศใช้ ไม่ปรากฏว่ามีคณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาลชุดใดรวมถึงสภาผู้แทนราษฎรคณะใดสนใจที่จะปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน เนื้อหาสาระของกฎหมายโดยส่วนใหญ่ยังคงเดิมและยังเป็นการเอื้อประโยชน์เฉพาะกลุ่มธุรกิจพลังงานที่เป็นบริษัทของทุนข้ามชาติทั้งสิ้น โดยผู้เขียนเห็นว่าสาระสำคัญๆ ที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ควรจะได้มีการทบทวนเปลี่ยนแปลงและแก้ไขหรือกระทั่งยกเลิกในบางมาตราที่มิได้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ซึ่งผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะต่อสังคมเพื่อพิจารณาดังนี้
      
        2.1 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ ได้บัญญัติคำนิยามที่สำคัญๆ ซึ่งผู้เขียนขอยกมาพูดถึงบางส่วนดังนี้
      
        “กิจการปิโตรเลียม” หมายความว่า การสำรวจ ผลิต เก็บรักษา ขนส่ง ขาย หรือ จำหน่ายปิโตรเลียม
      
        “ปิโตรเลียม” หมายความว่า น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลวสารพลอยได้ และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และอยู่ในสภาพอิสระ ไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นของแข็ง ของหนืด ของเหลว หรือก๊าซ และให้หมายความรวมถึงบรรดาไฮโดรคาร์บอนหนักที่อาจนำขึ้นมาจากแหล่งโดยตรง โดยใช้ความร้อนหรือกรรมวิธีทางเคมี แต่ไม่หมายความรวมถึง ถ่านหิน หินน้ำมัน หรือหินอื่นที่สามารถนำมากลั่นเพื่อแยกเอาน้ำมันด้วยการใช้ความร้อนหรือกรรมวิธีทางเคมี
      
        “น้ำมันดิบ” หมายความว่า น้ำมันแร่ดิบ แอสฟัลท์ โอโซเคอไรท์ ไฮโดรคาร์บอนและบิทูเมนทุกชนิดที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ไม่ว่าในสภาพของแข็ง ของหนืด หรือ ของเหลว และให้หมายความรวมถึงก๊าซธรรมชาติเหลวด้วย
      
        พิจารณาจากคำนิยามที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับ “กิจการปิโตรเลียม”, “ปิโตรเลียม” และคำว่า “น้ำมันดิบ” ในยุคสมัยปี พ.ศ. 2514 ครั้งที่ประเทศไทยเริ่มมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม ประเทศไทยยังไม่มีบุคลากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของการปิโตรเลียมเลย แม้มีก็คงเป็นจำนวนน้อยมากและในจำนวนนั้น ส่วนใหญ่ก็ต้องทำงานหรือเป็นลูกจ้างให้กับบริษัททุนข้ามชาติที่เป็นเจ้าของธุรกิจพลังงานยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างบริษัท เชฟรอน จำกัด ทั้งสิ้น และบุคคลที่มีบทบาทในการร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็ล้วนแต่เป็นคนที่ได้รับข้อมูลความคิดทางกฎหมายจากที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญที่เป็นตัวแทนของบริษัทต่างชาติทั้งสิ้น
      
        เพราะในยุคสมัยนั้นบริษัทธุรกิจของคนไทยหรือรัฐวิสาหกิจของไทย ยังไม่มีบริษัทใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแต่อย่างใด การมีกฎหมายดังกล่าวประกาศใช้จึงเป็นการเปิดทางให้แก่บริษัทต่างชาติเพื่อเข้ามาทำธุรกิจ สำรวจ ขุดเจาะน้ำมันในประเทศไทยเป็นการเฉพาะเท่านั้น จึงนับว่าเป็นความเสียเปรียบของประเทศไทย คำนิยามดังกล่าวจึงให้ความหมายครอบคลุมในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ ที่บริษัทต่างชาติมีศักยภาพในการที่จะดำเนินธุรกิจสำรวจ ขุดค้น โดยครอบคลุมทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับกิจการปิโตรเลียม ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องน้ำมันดิบเท่านั้น คำนิยามดังกล่าวยังกินความไปถึงก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว สารพลอยได้และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และอยู่ในสภาพอิสระอีกด้วย ไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นของแข็ง ของเหลว ก๊าซ หรือของหนืด
      
        นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2532 รัฐบาลไทยโดยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี ยังได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 โดยตราเป็นพระราชบัญญัติปิโตรเลียม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2532 โดยให้ยกเลิกความในบทนิยาม คำว่า “น้ำมันดิบ” “น้ำมันดิบที่ส่งออก” ผลิต” และ “จำหน่าย” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
        “น้ำมันดิบ” หมายความว่า น้ำมันแร่ดิบ แอสฟัลท์ โอโซเคอไรท์ ไฮโดรคาร์บอนและบิทูเมน ทุกชนิดที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ไม่ว่าในสภาพของแข็ง ของหนืด หรือของเหลว และให้หมายความรวมถึงก๊าซธรรมชาติเหลวด้วย
      
        “น้ำมันดิบที่ส่งออก” หมายความว่า น้ำมันดิบที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร ไม่ว่าการส่งออกน้ำมันดิบจะกระทำโดยผู้รับสัมปทานหรือผู้อื่น และให้หมายความรวมถึงส่วนของน้ำมันดิบที่ผู้รับสัมปทานได้ขายหรือจำหน่ายในราชอาณาจักร และได้มีการนำน้ำมันดิบดังกล่าวไปกลั่นเป็นผลิตภัณฑ์และผลิตภัณฑ์นั้นถูกส่งออกจากราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตามปริมาณที่คำนวณได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน มาตรา 89 (1)
      
        “ผลิต” หมายความว่า ดำเนินการใดๆ เพื่อนำปิโตรเลียมขึ้นจากแหล่งสะสม และให้หมายความรวมถึง ใช้กรรมวิธีใดๆ เพื่อทำให้ปิโตรเลียมอยู่ในสภาพที่จะขาย หรือ จำหน่ายได้ แต่ไม่หมายความถึงกลั่น ประกอบอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียม ประกอบ อุตสาหกรรมโรงแยกก๊าซ โรงทำก๊าซให้เป็นของเหลวหรือโรงอัดก๊าซ “จำหน่าย” หมายความว่า
      
        (1) ส่งน้ำมันดิบไปยังโรงกลั่นน้ำมัน หรือสถานที่เก็บรักษาเพื่อการกลั่นน้ำมันไม่ว่า โรงกลั่นน้ำมันหรือสถานที่เก็บรักษาจะเป็นของผู้รับสัมปทานหรือไม่
      
        (2) ส่งก๊าซธรรมชาติไปยังโรงแยกก๊าซ โรงทำก๊าซให้เป็นของเหลว โรงอัดก๊าซ หรือสถานที่เก็บรักษาเพื่อกิจการดังกล่าวไม่ว่าโรงแยกก๊าซ โรงทำก๊าซให้เป็นของเหลว โรงอัดก๊าซ หรือสถานที่เก็บรักษาดังกล่าวจะเป็นของผู้รับสัมปทานหรือไม่
      
        (3) นำปิโตรเลียมไปใช้ในกิจการใดๆ ของผู้รับสัมปทานหรือของผู้อื่นโดยไม่มีการขาย หรือ
      
        (4) โอนปิโตรเลียมโดยไม่มีค่าตอบแทน
      
        การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว โดยการขยายความหมายของคำนิยามให้มีขอบเขตกว้างขวางเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น ล้วนแต่เป็นการเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบการ ให้สามารถปล้นสะดมเอาทรัพยกรธรรมชาติ โดยเฉพาะแหล่งปิโตรเลียมทั้งหลายในประเทศไทยและสารพลอยได้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไปโดยชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น โดยไม่ได้จำแนกแยกแยะหรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของชาติและอนุชนลูกหลานแต่อย่างใด บริษัทต่างชาติใดที่ได้รับสัมปทานและใบอนุญาตให้สำรวจ ผลิต ขาย หรือจำหน่าย ปิโตรเลียมในประเทศไทย ย่อมมีสิทธิสำรวจขุดค้น ปล้นเอาทรัพยากรของประเทศไทยได้ทุกอย่างตามคำนิยามในกฎหมาย

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เจาะขุมอำนาจการเมือง-เครือข่ายข้าราชการ ครอบงำธุรกิจพลังงาน


19 สิงหาคม 2012
นายนพนันท์ วรรณเทพสกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ขวามือ)
นายนพนันท์ วรรณเทพสกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ขวามือ)
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2555 นายนพนันท์ วรรณเทพสกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนองานวิจัยหัวข้อ “บริษัทกึ่งรัฐวิสาหกิจกึ่งเอกชน อำนาจและอิทธิพลในการสร้างความยิ่งใหญ่ของทุนพลังงานไทย หลังวิกฤติ 2540” ต่อที่ประชุมในเวทีสัมมนาทางวิชาการ ซึ่งจัดโดยศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานวิจัยชิ้นนี้อธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจพลังงาน ในช่วงปี 2549-2555 โดยมีการยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจพลังงาน กรณีของการใช้เครือข่ายอำนาจรัฐเข้ามาแสวงหาประโยชน์ มานำเสนออย่างเป็นรูปธรรม
นายนพนันท์กล่าวว่า หลังวิกฤติปี 2540 เป็นต้นมา องค์กรที่มีลักษณะกึ่งรัฐ-กึ่งเอกชน เริ่มแตกกิ่งก้านสาขา อย่างกรณีของบริษัท ปตท. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แตกบริษัทลูก บริษัทหลาน เข้ามาครอบคลุมธุรกิจพลังงานอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงหลังคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ทำรัฐประหารในปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ทำให้กลุ่มธุรกิจพลังงานมีอำนาจและอิทธิพลสูงมากต่อการกำหนดนโยบายพลังงาน
การแผ่อิทธิพลผ่านเครือข่ายดังกล่าวนี้มีกระบวนอย่างไร ต้องทำความเข้าใจโครงสร้างของกิจการพลังงานก่อน เริ่มจากเครือข่ายธุรกิจของกลุ่ม ปตท.
บริษัท ปตท. มี 2 บทบาท โดยบทบาทแรกเป็นรัฐวิสาหกิจ มีกระทรวงการคลังถือหุ้น 51% ส่วนอีกด้านหนึ่งมีฐานะเป็นบริษัทเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ปตท. จึงมีฐานะเป็นทั้งองค์กรกึ่งรัฐ-กึ่งเอกชน
นิยามบริษัทกึ่งรัฐ-เอกชน
จากนั้น บริษัท ปตท. แตกกิ่งก้านสาขาไปถือหุ้นบริษัทลูกอีกหลายบริษัท เช่น ถือหุ้นบริษัท ปตท.สผ. 65.29%, ถือหุ้นบริษัทพีทีที โกลบอล เคมีคอล 48.92% และถือหุ้นบริษัทไทยออยล์ 49.10%
ถัดจากบริษัทลูก ก็แตกเป็นบริษัทหลาน เช่น บริษัท ปตท. ร่วมกับบริษัทพีทีที โกลบอล เคมีคอล แตกแขนงออกไปถือหุ้นบริษัท พีทีที ฟีนอล ทำธุรกิจปิโตรเคมี, บริษัท ปตท. ร่วมกับบริษัท พีทีที ฟีนอล เข้าไปถือหุ้นบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ ทำธุรกิจผลิตไฟฟ้า, บริษัท ปตท. ร่วมกับไทยออยล์พาวเวอร์ ถือหุ้นบริษัทผลิตไฟฟ้าอิสระ เป็นต้น
ขณะที่กลุ่ม กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจ มีกระทรวงการคลังถือหุ้น 100% กฟผ. ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (บจ.) แต่ไปถือหุ้น บจ. 2 แห่ง คือ บริษัท ผลิตไฟฟ้า (EGCO) และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งไปลงทุนทำธุรกิจที่แท้จริง จากนั้นก็แตกลูกแตกหลานออกไปอีก เช่น EGCO ไปถือหุ้นอยู่ในบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก
งานวิจัยระบุว่า “องค์กรกึ่งรัฐ-กึ่งเอกชน” จะได้รับสิทธิพิเศษ 2 รูปแบบ หรือ 2 ออปชั่นให้เลือกใช้ได้ในยามคับขัน คือ สิทธิประโยชน์จากความเป็นรัฐวิสาหกิจ และสิทธิประโยชน์จากการเป็นบริษัทเอกชนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ฯ
สิทธิประโยชน์จากการเป็นรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ กู้เงินจากแหล่งต่างๆ มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน, เมื่อเกิดข้อพิพาทถูกดำเนินคดีในชั้นศาล มีอัยการสูงสุดเป็นผู้จัดทำคำแก้ต่าง และเมื่อมีปัญหาประเด็นข้อกฎหมาย มีสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นที่ปรึกษา
ส่วนสิทธิพิเศษด้านประโยชน์จากการเป็นบริษัทเอกชน คือ ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับกระทรวงการคลัง แถมยังได้รับสิทธิส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ นี่คือสิทธิประโยชน์ที่บริษัทกึ่งรัฐ-กึ่งเอกชนจะได้รับ
สำหรับการใช้อำนาจผ่านระบบข้าราชการและทางการเมืองในธุรกิจกลุ่มพลังงาน มี 2 รูปแบบ คือ 1. เป็นอำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ กำหนดกฎเกณฑ์ หรือ ออกใบอนุญาตตามกฎหมาย 2. ใช้อำนาจและอิทธิพลผ่านเครือข่ายข้าราชการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย หรือโครงการที่ต้องการ
โครงสร้างการใช้อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่
แจงเครือข่ายข้าราชการครอบงำกิจการพลังงาน
โครงสร้างการใช้อำนาจรัฐกำกับดูแลกิจการพลังงาน ปัจจุบันมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่กระทรวงพลังงาน โดยข้าราชการระดับสูงกระทรวงพลังงานเข้าไปนั่งเป็นกรรมการ กำหนดนโยบายพลังงานของประเทศทุกชุด อาทิ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.), คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.), คณะกรรมการจัดวางแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (พีดีพี 2010)
นอกจากนี้ยังดึงข้าราชการระดับสูงจากส่วนราชการอื่นมาร่วมเป็นกรรการด้วย เช่น คณะกรรมการจัดวางแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า มีเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ), ผู้ว่าการ กฟผ., กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. เป็นกรรมการ
ส่วน กพช. ซึ่งเป็นคณะกรรมการระดับชาติ มีเลขาธิการกฤษฎีกา, เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ นั่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ขณะที่ กบง. มีเลขาธิการกฤษฎีกา เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ นั่งเป็นกรรมการ ร่วมกับปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องอีกหลายกระทรวง
ปลัดพลังงาน-ผอสนพ1
ปลัดพลังงาน-ผอ.สนพ. ผู้กุมเครือข่ายตัวจริง
งานวิจัยระบุว่า หากพิจารณาลงไปในรายละเอียด ตั้งแต่คณะกรรมการระดับชาติไปจนถึงคณะกรรมการระดับกระทรวง อาทิ กบง. คณะกรรมการปิโตรเลียม คณะกรรมการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง คณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมพลังงานทดแทน ฯลฯ เครือข่ายทั้งหมดนี้ จะพบว่ามีปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) นั่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการทุกชุดที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และกำกับดูงานกิจการพลังงาน
นอกจากนี้ ยังมีการกระจายอำนาจไปยังระดับอธิบดีกรมสำคัญๆ อีกหลายหน่วยงาน เช่น อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ นั่งเป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการปิโตรเลียมแห่งชาติ ซึ่งมีอำนาจอนุมัติสัมปทานสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียมให้กับภาคเอกชน รวมถึงมีอำนาจลดหย่อน หรือกำหนดค่าภาคหลวง ขณะที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน นั่งเป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง มีอำนาจออกใบอนุญาตจัดตั้งคลังน้ำมันเชื้อเพลิง และการขนส่งน้ำมันผ่านท่อ เป็นต้น
ปลัดพลังงาน-ผอสนพ2
รายงานวิจัยชี้ว่า อำนาจในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแล ตกอยู่ในมือของกลุ่มข้าราชการระดับสูงในสังกัดกระทรวงพลังงาน เช่น กพช. กำกับดูแลกิจการพลังงาน, คณะกรรมการปิโตรเลียม มีอำนาจอนุมัติสัมปทานปิโตรเลียม เป็นต้น
ส่วนคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ชื่อก็บอกว่ากำกับกิจการพลังงานทั้งหมด แต่ข้อเท็จจริงมีอำนาจแค่กำหนดอัตราค่าผ่านท่อก๊าซและค่าไฟฟ้าเท่านั้น ส่วนเรื่องการจัดหาก๊าซและน้ำมันดิบไปจนถึงปลายทางคือโรงแยกก๊าซ ซึ่งเป็นธุรกิจต้นน้ำมาจนถึงปลายน้ำ กกพ. ไม่มีอำนาจเข้าไปกำกับดูแล เพราะกฎหมายไม่ได้บัญญัติเอาไว้ ธุรกิจก๊าซจึงเกิดการผูกขาดโดยธรรมชาติมาจนถึงปัจจุบัน
งานวิจัยระบุต่อว่า หลังเกิดเหตุการณ์รัฐประหารปี 2549 พบว่ามีข้าราชการใช้อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ไปสนับสนุนกิจกรรมของภาคเอกชน อยู่หลายรายการ เช่น ก่อนที่จะมีการจัดตั้ง กกพ. ตาม พ.ร.บ.กำกับกิจการพลังงาน 2550 ขณะนั้นธุรกิจท่อส่งก๊าซอยู่ในการกำกับดูแลของ สนพ. โดย สนพ.ได้มีการจัดทำคู่มือคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติ และอัตราค่าบริการขนส่งก๊าซธรรมชาติ ต่อมาได้มีการอนุมัติให้มีการปรับขึ้นค่าผ่านท่อก๊าซ ทำให้บริษัท ปตท. มีกำไรเพิ่มขึ้นทันที เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในช่วงจังหวะที่ ปตท. กำลังถูกดำเนินคดีในศาลปกครอง กรณีคัดค้านการแปรรูปบริษัท ปตท. และศาลยังไม่มีคำพิพากษาออกมา
และในปีเดียวกันนี้เอง มีการใช้อำนาจรัฐเกิดขึ้นอีกหลายรายการ เช่น กรณี กกพ. ก็มีมติให้ขยายอายุการใช้งานของท่อส่งก๊าซ และโรงแยกก๊าซ ทำให้ราคาจำหน่ายก๊าซ ณ โรงแยกก๊าซปรับตัวสูงขึ้น ถัดมาก็เป็นกรณี สนพ. อนุญาตโครงการขนส่งน้ำมันผ่านระบบท่อไปยังภาคเหนือและภาคอีสาน พร้อมกับให้ ปตท. เพิ่มทุนในบริษัทแทปไลน์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับสัมปทานขนส่งน้ำมันในบริเวณนั้น
สำหรับบริษัท ปตท. แม้แปรรูปมานานกว่า 10 ปี แต่ที่รายงานวิจัยฉบับนี้เลือกนำเสนอเฉพาะกิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2550-2555 เนื่องจากช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีการใช้อำนาจหน้าที่ของทางราชการ เพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ธุรกิจพลังงานมากที่สุด นอกจากประเด็นที่กล่าวไปแล้ว ก็ยังมีหลายตัวอย่าง เช่น กรณีการใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จ่ายเงินชดเชยให้กับโรงกลั่นน้ำมันที่ผลิตน้ำมันดีเซล และเบนซินตามมาตรฐานยูโร 4, นำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปชดเชยเอ็นจีวีอย่างไม่เหมาะสม และกรณีการนำเงินกองทุนน้ำมันไปชดเชยการนำเข้าแอลพีจีจากต่างประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้รับประโยชน์ตามไปด้วย
และนี่คือตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ที่เกิดขึ้นของผู้บริหารหน่วยงานกำกับดูแลกิจการพลังงาน
ผลประโยชน์ทับซ้อน-ข้าหลวงพลังงานสวมหมวก 2 ใบ
นอกจากนี้ รายชื่อข้าราชการระดับสูงที่ไปนั่งเป็นคณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับกิจการ พลังงานตามที่กล่าวมาในข้างต้น ไม่ได้มีบทบาทตามตำแหน่งหน้าที่เฉพาะในหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น เครือข่ายข้าราชการเหล่านี้ ยังไปนั่งเป็นกรรมการในบริษัทพลังงาน ยกตัวอย่าง ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นกรรมการอยู่ใน กพช., กบง. และเป็นประธานคณะกรรมการปรับปรุงแผนพีดีพี โดยตำแหน่งหน้าที่ ขณะเดียวกันก็ไปนั่งประธานกรรมการ บริษัท ปตท. และเป็นกรรมการใน กฟผ. ส่วนผู้อำนวยการ สนพ. เป็นกรรมการใน กพช.และ กบง. อีกฝากหนึ่งก็ไปนั่งเป็นกรรมการ กฟผ. อธิบดีกรมในสังกัดกระทรวงพลังงาน ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน
ปรากฏการณ์ผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างบทบาทรัฐกับบทบาทภาคเอกชนมีให้เห็น อีกหลายตัวอย่าง แม้กระทั่งส่วนราชการอื่นที่ถูกดึงเข้ามาร่วมกำหนดนโยบาย ก็มีปัญหาในประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อนเช่นเดียวกัน อาทิ เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ เป็นกรรมการ กพช.และ กบง. ขณะเดียวกันก็ไปนั่งเป็นกรรมการ ปตท. ด้วย
สวมหมวก 2 ใบ
รายงานวิจัยระบุว่า ในสมัยนายพรชัย รุจิประภา เป็นประธานคณะกรรมการ กบง. โดยตำแหน่ง คณะกรรมการ กบง. มีมติให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันไปลงทุนปลูกปาล์มน้ำมัน หรือการนำไปอุดหนุนในน้ำมันอี 20 และ อี 85 ขณะที่หมวกอีกใบหนึ่งของนายพรชัยในขณะนั้นคือนั่งเป็นกรรมการ บริษัท ปตท. ต่อมาเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2550 คณะกรรมการ ปตท. มีมติให้จัดตั้งบริษัท กรีน เอ็นเนอยี่ ที่มี ปตท. ถือหุ้น 100% ไปลงทุนในธุรกิจปาล์มน้ำมัน
ถัดมาเป็นกรณีของนายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน กพช. และประธานคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (พีดีพี) เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 กพช. มีมติเห็นชอบแผนพีดีพี 2010 ในเวลาต่อมา คณะกรรมการ ปตท. ก็อนุมัติให้กลุ่มบริษัท ปตท. จัดตั้งบริษัท บี.กริม เอนเนอจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด แล้วไปร่วมทุนกับ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จำกัด (BIP) กลายเป็นบริษัท บี.กริม บีไอพี เพาเวอร์ จำกัด ก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง แสดงให้เห็นว่ามีการใช้ตำแหน่งหน้าที่ราชการ เกื้อหนุนกับบริษัทเอกชนที่ตนทำงานอยู่ให้สามารถขยายการลงทุนได้อย่างสะดวก
นอกจากนี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในปี 2550 ช่วงนั้นมีการผลักดันให้ติดตั้งระบบผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้าร่วมกัน พร้อมกับจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในโครงการก่อสร้างศูนย์ราชการ ตัวละครเอก คือ อธิบดีกรมธนารักษ์ ซึ่งสวมหมวกถึง 3 ใบ กล่าวคือ หมวกใบแรกนั่งเป็นกรรมการการไฟฟ้านครหลวง หมวกใบที่ 2 นั่งเป็นกรรมการบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ เมื่อเปลี่ยนไปสวมหมวกใบที่ 3 ก็นั่งเป็นกรรมการบริษัท ปตท. หลังจากที่คณะกรรมการบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ บรรจุโครงการติดตั้งระบบผลิตพลังงานความร้อนฯ เข้าไปอยู่ในโครงการศูนย์ราชการ วันที่ 26 ตุลาคม 2549 คณะกรรมการ ปตท. ก็มีมติให้ ปตท. ทำโครงการผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จากนั้นวันที่ 20 มิถุนายน 2550 คณะกรรมการ ปตท. มีมติให้จัดตั้ง บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด หลังจากก่อตั้งบริษัทเสร็จเรียบร้อย ก็เข้ามารับงานในโครงการนี้ โดยไม่ต้องมีการประมูล หรือประกวดราคาแต่อย่างใด
รายงานวิจัยได้ชี้อีกว่า นับตั้งแต่ปี 2549 ถึงปี 2554 ในระดับนโยบายของรัฐบาล ได้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับพลังงานหลายฉบับ อาทิ ในสมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ แก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 ทำให้เกิดค่าลดหย่อนค่าภาคหลวงปิโตรเลียม รวมถึงการอนุมัติแปลงสัมปทานใหม่ๆ โดยไม่จำกัดแปลงสำรวจให้กับธุรกิจพลังงานหลายกลุ่ม และในปีเดียวกันนั้น ได้มีการแก้ไข พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐาน สำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 5 และ 6) พ.ศ. 2550 เพื่อเปิดทางให้ข้าราชการระดับสูงไปนั่งเป็นกรรมการในบริษัทลูกของรัฐ วิสาหกิจได้หลายแห่งโดยไม่ผิดกฎหมาย แต่มีข้อแม้ว่า แต่งตั้งเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทแม่ก่อน จากนั้นคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจถึงจะส่งชื่อไปนั่งในบริษัทลูกที่เป็นเครือ ข่ายได้
ต่อมาในช่วงปี 2552-2553 สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศประเภทโครงการ หรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งในด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพจำนวน 11 รายการ กรณีนี้เป็นเหตุการณ์ความขัดแย้งเกิดขึ้นในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง เหตุการณ์ได้บานปลายไปจนกระทั่งศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งระงับโครงการลงทุน 76 โครงการ เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาคดี
76 โครงการที่ถูกศาลระงับ
สำหรับกรณีตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะเป็นกรณีที่มีการใช้อำนาจทางการเมือง ผสมผสานกับเครือข่ายข้าราชการ ในระดับรัฐบาล ปี 2550 หลังจาก ครม. เห็นชอบแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติฉบับที่ 3 กระทรวงพลังงานได้ออกมาตรการมารับลูกต่อทันที ด้านหนึ่งทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยตรึงราคาพลังงาน อีกด้านหนึ่งทำให้มีเงินไหลออกจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงส่งไปให้ธุรกิจ พลังงาน และบางครั้งจ่ายชดเชยมากเกินสมควร
ขณะเดียวกันในระดับของบริษัทกึ่งรัฐ กึ่งเอกชน คณะกรรมการของบริษัทเหล่านี้ ก็ทยอยออกมติให้มีการขยายลงทุนในโครงการต่างๆ หลายโครงการ ยกตัวอย่าง กลางปี 2550 หลังจากที่มีการแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมเสร็จ กระทรวงพลังงานก็ชงเรื่องให้ ครม. อนุมัติลดหย่อนค่าภาคหลวงปิโตรเลียม พร้อมกับมอบอำนาจให้กระทรวงพลังงาน มีอำนาจขยายอายุแหล่งสัมปทาน ต่อมากระทรวงพลังงานก็ดำเนินการออกสัมปทานปิโตรเลียมให้กับแหล่งปิโตรเลียม 4 ฉบับ
ขณะที่ในระดับของกลุ่มข้าราชการ ที่ไปนั่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการปิโตรเลียม ได้ทำเรื่องเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แนะนำให้โอนอำนาจในการสำรวจ และกำหนดเขตพื้นที่แปลงสำรวจไปให้อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จากนั้นบริษัท ปตท.สผ. ก็ได้รับแปลงสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยหลายแปลง พร้อมกับมีการลงนามในสัญญาซื้อ-ขายก๊าซธรรมชาติระหว่างบริษัท ปตท. กับ ปตท.สผ ต่อมามีการนำประเด็นเรื่องอำนาจในการอนุมัติระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติฉบับที่ 3 มาอ้างอิงกับแผนพีดีพี 2510 ในที่สุดแผนการลงทุนในกิจการท่อส่งก๊าซของ ปตท. มูลค่า 1 แสนล้านบาท ก็ผ่านความเห็นชอบจากรัฐบาล ทำให้บริษัท ปตท. สามารถปรับขึ้นค่าผ่านท่อก๊าซ ส่วน กฟผ. ได้ขึ้นค่าไฟฟ้า
กลุ่มธุรกิจพลังงานขยายการลงทุนอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งประชาชนในพื้นที่มาบตาพุดอดทนต่อปัญหาขยะมลพิษอุตสาหกรรมไม่ไหว รวมตัวกันมายื่นคำร้องต่อศาลปกครอง ให้ระงับโครงการลงทุนปิโตรเคมี ไฟฟ้า ท่อส่งก๊าซ และกิจกรรมอื่นๆ รวม 76 โครงการ ในจำนวนนี้เป็นโครงการของกลุ่มบริษัท ปตท. 24 โครงการ ส่วนที่เหลือเป็นกลุ่มอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจปิโตรเคมี เช่น กลุ่มปูนซิเมนต์ไทย กลุ่มธนาคารกรุงเทพ โครงการของนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)
ใช้อำนาจราชการผสมการเมือง
เปิดกระบวนการปลดล็อคคดีมาบตาพุด
รายงานวิจัยกล่าวถึงกรณีของมาบตาพุดว่า มีการใช้อำนาจการเมืองผสมผสานเครือข่ายอำนาจของข้าราชการ หากดูตามแผนภาพที่นำเสนอจะมี 5 ขั้นตอนดังนี้ คือ
ขั้นตอนที่ 1 กลุ่มธุรกิจของ ปตท. และ กฟผ.ให้ความเห็นทางเทคนิคต่อคณะกรรมการพิจารณากำหนดประเภทกิจการว่า โครงการประเภทไหนที่อาจจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของประชาชน
ขั้นตอนที่ 2 กระทรวงอุตสาหกรรมและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ส่งไปคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ขั้นตอนที่ 3 จากนั้นทำเรื่องส่งไปหารือข้อกฎหมายกับคณะกรรมการกฤษฎีกา
ขั้นตอนที่ 4 คณะกรรมการกฤษฎีกา แนะนำให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ ซึ่งเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำรายชื่อโครงการที่อาจจะส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน อย่างรุนแรง ส่งมาที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เพื่อออกประกาศรายชื่อโครงการที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
และขั้นตอนสุดท้าย คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ นำประกาศรายชื่อ 11 โครงการที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง อุทธรณ์ต่อศาลปกครองยกฟ้อง และในที่สุด ศาลปกครองมีคำสั่งปลดล็อคให้ 74 โครงการ จากทั้งหมด 76 โครงการ ทั้งหมดเป็นกระบวนการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มข้าราชการ กลุ่มธุรกิจพลังงาน และกลุ่มมวลชนที่เดือดร้อนจากปัญหามลพิษอุตสาหกรรม ต้องสู้กันในเรื่องของความรู้ การกำหนดนิยามว่าการลงทุนประเภทไหนที่จะส่งผลต่อสุขภาพอย่างรุนแรง ตามประกาศฯ ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กำหนดว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น หากมีการขยายกำลังการผลิตเกิน 35% ของกำลังการผลิตเดิม จะต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างเข้มงวดกว่าปกติ (H.I.A.) แต่การลงทุนของบริษัทพลังงาน ณ ขณะนั้นมีกำลังผลิตแค่ 20% เท่านั้น ทุกโครงการจึงไม่เข้าข่าย ตามประกาศของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ส่วนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กำหนดนิยามว่า หากมีการขยายกำลังการผลิตเกิน 100 ตันต่อวัน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1 ถือเป็นกิจการที่มีผลต่อสุขภาพอย่างรุนแรง ส่วนกรณีที่เป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2A ต้องขยายกำลังการผลิตเกิน 700 ตันต่อวัน ถึงจะอยู่ในข่าย
ปรากฏว่าบริษัทพีทีที อาซาฮี เคมีคอล และบริษัทพีทีที ฟีนอล ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนั้น เป็นกลุ่มที่ผลิตสารเคมีก่อมะเร็งกลุ่ม 2A มีกำลังการผลิตไม่เกิน 200 ตันต่อวัน โครงการลงทุนปิโตรเคมีของ ปตท. จึงไม่เข้าข่ายประกาศของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ นี่คือประเด็นข้อสงสัย ส่วนโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติไม่อยู่ในประกาศโครงการที่ต้องทำ H.I.A.
ปลัดพลังงานรวยเละ! รับค่าตอบแทนสูงกว่าเงินเดือน 4.5 เท่า
รายงานวิจัยได้ชี้ถึงเรื่องผลประโยชน์ จากการที่เครือข่ายข้าราชการไปนั่งทับซ้อนกันอยู่ในองค์กรรัฐกับองค์กรเอกชน โดยหมวกใบหนึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์กรภาครัฐ ส่วนอีกใบเป็นกรรมการบริษัทเอกชน ซึ่งงานวิจัยได้ทำการสำรวจในช่วงปี 2549-2552 กระทรวงพลังงานมีการเปลี่ยนแปลงปลัดกระทรวงถึง 3 คน โดยในปี 2549 นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน นั่งเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจและเอกชนรวม 7 แห่ง ซึ่งต่อมาในช่วงปี 2551-2552 กระทรวงการคลังมีการแก้ไขระเบียบการเป็นตัวแทนในรัฐวิสาหกิจ จึงยอมลดลงมาเหลือแค่แค่ 3 ตำแหน่ง ทำให้ผลตอบแทนที่ได้รับปรับตัวลดลงเล็กน้อย
ค่าตอบแทนกรรมการ
หากนำผลตอบแทนค่าเบี้ยประชุมและเงินโบนัสที่ได้รับ จากการไปนั่งเป็นกรรมการในกลุ่มธุรกิจพลังงาน คำนวณ ณ ปี 2552 พบว่า ปลัดกระทรวงพลังงานมีรายได้สูงกว่าเงินเดือนข้าราชการรวมค่าตำแหน่งถึง 4.5 เท่าตัว
นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งปันผลประโยชน์ กระจายไปยังกลุ่มข้าราชการระดับสูง ทั้งข้าราชการระดับปลัดกระทรวงและอธิบดีกรมนอกกระทรวงพลังงานกันอย่างทั่ว ถึง เช่น ค่าตอบแทนกรรมการที่ไปนั่งเป็นกรรมการ บริษัท ปตท. เคมีคอล ประมาณ 2.75 ล้านบาทต่อคน กรรมการบริษัทราชบุรีโฮลดิ้งประมาณ 1.15 ล้านบาทต่อคน ซึ่งตลอด 5 ปีที่ผ่านมา จะมีข้าราชการมานั่งเป็นกรรมการในบริษัทกึ่งรัฐ-กึ่งเอกชนเหล่านี้ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป คนเก่าออก คนใหม่มาสวมแทน เสมือนเป็นส่งไม้ต่อสืบทอดอำนาจกันต่อไป
ผลตอบแทนกรรมการบริษัทกึ่งรัฐ กึ่งเอกชน
รายงานวิจัยสรุปว่า การเข้ามาครอบงำธุรกิจพลังงาน ไม่ได้เกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์รัฐประหารปี 2549 เท่านั้น แต่มันเกิดขึ้นมาตั้งนานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสีไหน (แดง สีเหลือง ฟ้า) เข้ามาบริหารประเทศ ก็จะมีการใช้อำนาจทางการเมืองผสมผสานกับอำนาจของข้าราชการ เข้ามาเกื้อหนุนให้ธุรกิจพลังงานขยายตัวเติบใหญ่ต่อไป
เส้นทางการเติบโตของธุรกิจพลังงาน
หมายเหตุ: อ่านงานวิจัยบริษัทกึ่งรัฐวิสาหกิจกึ่งเอกชนอำนาจและอิทธิพลในการสร้างความยิ่งใหญ่ของทุนพลังงานไทย หลังวิกฤติ 2540

จาก - http://thaipublica.org/2012/08/the-dominant-political-power-and-network-officials/

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รัฐบาลเล่นกลราคาน้ำมัน-ก๊าซ รีดเงินประชาชน-ปตท.รวยอื้อ

รายงานการเมือง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์16 สิงหาคม 2555 07:53 น.
       
       สุภาษิตโบราณที่ใช้กันจนมาถึงทุกวันนี้เพื่อเตือนสติผู้หญิง คือ “มีผัวผิดคิดจนตัวตาย” น่าจะนำมาปรับใช้กับคนไทยในยุคปัจจุบันได้ว่า “เลือกพรรคผิดคิดจนประเทศพัง” เพราะเพียงแค่ 1 ปีความฉิบหายก็มาเคาะประตูบ้านจนคนไทยแทบตั้งรับไม่ทัน
       
       เรียกว่าเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า แต่น่าแปลกที่สื่อยักษ์ใหญ่เงียบกริบ ไม่สนใจนโยบายแหกตาโกหกเอาคะแนนเสียงสุดท้ายทำไม่ได้ก็ไม่มีการทวงถาม เหลือสื่ออยู่เพียง “ASTVผู้จัดการ” ที่ยังปักหลักสู้กับทุนสามานย์อย่างทรหด


       
       ก็เพียงพอที่จะทำให้คนบางกลุ่มตาสว่างมองเห็นอันตรายที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กำลังขับรถพาคนไทยลงสู่หุบเหวแห่งหายนะ จากนโยบายประชานิยมบ้าคลั่งที่กำลังจะสะสมเป็นหนี้ท่วมบ้านเมือง รวมถึงการจำนำข้าวกำลังจะเป็นจำนำประเทศในไม่ช้านี้
       
       ประเด็นที่กำลังจะกลายเป็นทุกข์หนักของคนไทย คือ การลอยตัวแก๊สหุงต้มในปีหน้า และการทยอยลอยตัวแอลพีจีภาคขนส่ง ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2555 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน หรือ กบง.มีมติปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคขนส่ง 25 สตางค์ต่อกิโลกรัม จาก 21.13 เป็น 21.38 บาทต่อกิโลกรัม และจากนี้ไปจะทยอยปรับขึ้นทุกเดือนจนเท่ากับราคาตลาดโลก
       
       ในวันเดียวกัน กบง.ยังปรับลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันในส่วนของเบนซิน 95 ปรับลด 60 สตางค์ต่อลิตร เหลือ 6.50 บาทต่อลิตร เบนซิน 91 ลด 1.50 บาทต่อลิตร เหลือ 5.20 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ปรับลด 50 สตางค์ เหลือ 1.30 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 ปรับลด 1.20 บาทต่อลิตร ทำให้ต้องนำเงินไปชดเชย 1 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 20 ชดเชยเพิ่ม 30 สตางค์ต่อลิตร รวมเป็นการชดเชยเพิ่ม 1.30 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์อี 85 ชดเชยเพิ่ม 20 สตางค์ต่อลิตร เป็นชดเชยรวม 12.70 บาทต่อลิตร
       
       ขณะที่ดีเซลไม่เก็บเข้ากองทุนน้ำมัน ส่งผลให้กองทุนน้ำมันติดลบเพิ่มจาก 15 ล้านบาทต่อวัน เป็นติดลบ 37 ล้านบาทต่อวัน
       
       ที่หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อจะชี้ให้เห็นถึงความผิดปกติในการบริหารกองทุนน้ำมัน ทั้งเรื่องหลักคิดและวิธีปฏิบัติ ซึ่งประโยชน์มิได้ตกอยู่กับประชาชน แต่คนที่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย คือ “ผู้ถือหุ้น ปตท.!”
       
       ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม กบง.ก็เพิ่งจะปรับลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันในส่วนของน้ำมันเบนซิน 91 ลง 40 สตางค์ แทนที่จะทำให้ราคาขายปลีกลดลงกลับพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ทำลายสถิติในยุคอภิสิทธิ์ซึ่งสูงสุดในวันที่ 30 เมษายน 2554 ราคา 44.34 บาท แต่ยุคยิ่งลักษณ์​10 สิงหาคม 55 ทุบสถิติไปอยู่ที่ 44.55 บาทแพงกว่ายุคอภิสิทธิ์ 21 สตางค์ ทั้งๆ ที่ราคาน้ำมันดิบถูกกว่าถึง 22 ดอลลาร์สิงคโปร์
       
       แต่ที่แพงขึ้นคือ การเพิ่มค่าการตลาดของ ปตท.ที่เพิ่มจากเดิม 0.4125 บาท เป็น 1.3178 บาท เพิ่มขึ้น 0.9053 บาท หรือ 219.46%
       
       คำถามคือ ราคาน้ำมันดิบในตลาดสิงคโปร์ที่ ปตท.ใช้อ้างอิงมันนิ่งคงที่ แต่ ปตท.ปรับขึ้นราคาเพราะต้องการกำไรเพิ่มโดยที่ต้นทุนเท่าเดิม และรัฐบาลผ่าน กบง.ก็ใช้กองทุนน้ำมันไปรองรับการแสวงหากำไรของ ปตท.ด้วยการปรับลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เพื่อให้คนไทยไม่รู้สึกว่าน้ำมันแพงสวนทางราคาตลาดโลก จนทำให้กองทุนน้ำมันติดลบ 15 ล้านบาทต่อวัน แต่ ปตท.ได้กำไรจากค่าการตลาดเพิ่ม 219.46%
       
       เป็นการใช้กองทุนน้ำมันมาบริหารเพื่อ ปตท. ไม่ใช่เพื่อประชาชน 
       
       ไม่ต่างจากกรณีล่าสุดที่มีการปรับลดเงินเข้ากองทุนน้ำมันยกตัวอย่างเบนซิน 91 ลดการจัดเก็บ 1.50 บาท ทำในวันเดียวกับการประกาศขึ้นราคาแอลพีจีอีก 25 สตางค์ ซึ่งคนที่ได้ประโยชน์คือ ปตท.ที่จะได้กำไรเพิ่มขึ้น กบง.ก็ใช้วิธีบริหารอารมณ์คนไทยด้วยลดการจัดเก็บเงินในส่วนเบนซินและอีกหลายชนิดลงอีก ทั้งที่เพิ่งปรับลดไปเพียงแค่ 4 วัน ไม่มีเรื่องราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกใด ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากทำให้คนไทยส่วนหนึ่งรู้สึกว่าจ่ายเบนซินน้อยลง
       
       ส่วนแอลพีจีภาคขนส่งขึ้นก็ช่างมันเพราะไม่ได้เติม โดยไม่ทันคิดว่าสุดท้ายนโยบายลอยตัวแอลพีจีภาคขนส่งจะวนกลับมาเป็นภาระของประชาชนในที่สุด คือ ราคาสินค้าจะขยับขึ้นอีกระลอกจากภาระต้นทุนภาคขนส่งที่สูงขึ้น นอกจากนี้กองทุนน้ำมันยังติดลบเพิ่มอีก 38 ล้านบาทต่อวันด้วย
       
       สุดท้ายแล้วคนใช้เบนซินที่ดีใจว่าราคาน้ำมันลด ก็จะต้องไปจ่ายเพิ่มเป็นค่าข้าวแกงที่แพงขึ้น และสินค้าอื่นๆ ที่จะทยอยปรับราคาตามมา อีกทั้งยังต้องแบกภาระจากหนี้กองทุนน้ำมันที่จะเพิ่มสูงขึ้น
       
       เพราะรัฐบาลจะต้องกู้เงินเพิ่มเพื่อไปโปะกองทุนน้ำมันที่ติดลบ โดยในปัจจุบันมีการเปิดวงเงินกู้เอาไว้แล้ว 3 หมื่นล้านบาท แต่คนที่มีแต่ได้กับได้คือ “ผู้ถือหุ้น ปตท.” ที่จะได้กำไรเพิ่มขึ้นจากการลอยตัวก๊าซทุกชนิดตามนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
       
       การบริหารงานแบบนี้เท่ากับทำลายกองทุนน้ำมันซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการรักษาเถียรภาพด้านราคาเพื่อให้มีความผันผวนน้อยที่สุด และอุดหนุนพลังงานทดแทนแอลพีจี และเอ็นจีวี อย่างชัดเจน เพราะนอกจากจะไม่สามารถอุดหนุนแอลพีจีได้อย่างที่เคยทำแล้ว กองทุนยังติดลบ จากการบริหารด้วยการนำการเมืองมานำหน้านโยบายพลังงาน และการนำกำไรของ ปตท.มานำหน้าชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
       
       คนไทยกำลังต้องเผชิญกับภาวะสินค้าที่แพงขึ้นจากต้นทุนภาคขนส่งที่สูงขึ้น คนไทยกำลังต้องเผชิญกับการกินข้าวแกงในราคาที่แพงขึ้น เพราะก๊าซหุงต้มจะเพิ่มขึ้นประมาณ 178 บาทต่อถังในปีหน้า
       
       ขณะที่กองทุนน้ำมันกลับติดลบ สร้างหนี้ให้คนไทยต้องแบกภาระแล้ว 3 หมื่นล้านบาท เงินส่วนนี้หายไปไหน ในเมื่อคนไทยยังใช้น้ำมันแพงแทบจะไม่แตกต่างจากเดิม แถมกำลังจะต้องใช้แอลพีจี เอ็นจีวี ในราคาตลาดโลก กองทุนน้ำมันก็ติดลบ แล้วใครที่ได้ประโยชน์จากการบริหารที่ผิดพลาดอย่างตั้งใจในเรื่องนี้ ถ้าไม่ใช่ ปตท.
       
       ปตท.กำลังรุดหน้าเติบโตแบบก้าวกระโดดมีกำไรในปี 2554 กว่าแสนล้านบาท และในปี 55 เพิ่งติดอันดับ 1 ใน 100 บริษัทใหญ่ที่สุดของโลก โดยนิตยสารธุรกิจชื่อดัง “ฟอร์จูน” ได้เปิดเผยว่า ปตท.ติดอันดับ 95 ปรับจากปีที่แล้วซึ่งอยู่อันดับ 128 และเป็นบริษัทเดียวของประเทศไทยที่ติดอันดับ 1 ใน 500 ของการจัดอันดับบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลกจากนิตยสารฟอร์จูน
       
       ร่ำรวยปันผลกันไม่หวาดไม่ไหว จนลืมไปว่า ปตท.คือรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลกำต้องดูแลให้มีการส่งกำไรคืนกลับให้ประเทศและประชาชน แต่วันนี้รัฐบาลสนับสนุนให้ ปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจเพื่อนายทุน
       
       ขูดรีดคนไทยไปเพิ่มกำไรให้ ปตท.อย่างน่ารังเกียจที่สุด